ทศพิธราชธรรม

ตามรูปศัพท์ ทศพิธราชธรรม แปลว่าธรรมสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือธรรมที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ ๑๐ อย่าง หมายความว่าผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการปกครองไพร่ฟ้าประชาชนนั้นพึงดำเนินการทศพิธราชธรรมปกครองด้วยธรรม ๑๐ อย่างนี้ นี้เป็นความหมายของทศพิธราชธรรมที่ถือปฏิบัติมาแต่โบราณกาล ซึ่งทางพระพุทธศาสนาได้สอนว่าหากพระเจ้าแผ่นดิน ทรงตั้งมั่นอยู่ในธรรม ๑๐ อย่างนี้แล้ว ก็จะทรงปกครองไพร่ฟ้าประชาชนให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ไพร่ฟ้าจะหน้าใสกันทั่วหน้า

สำหรับผู้มีอำนาจหน้าที่ในการปกครอง ซึ่งมิใช่พระเจ้าแผ่นดิน ก็ควรเจริญรอยตามพระเจ้าแผ่นดินโดยนำเอาหลักธรรม ๑๐ อย่างนี้มาปฏิบัติในการปกครอง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมตามอุดมการณ์แห่งการ ปกครอง

หลักธรรม ๑๐ อย่างนั้น ได้แก่
๑. ทาน การให้ คือการสละทรัพย์สิ่งของเพื่อบำรุงเลี้ยงดูช่วยเหลือ ประชาราษฎร์ผู้ยากไร้ เข็ญใจ และบำเพ็ญกุศลสาธารณประโยชน์ตามความเหมาะสมแก่สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของประชาชนผู้ยากไร้

๒. ศีล ความมีศีล คือมีความประพฤติดีงาม มีระเบียบวินัย รักษา ความประพฤติทางกาย ทางวาจาได้เรียบร้อย โดยเว้นจากกายทุจริต วจีทุจริต ประพฤติแต่กายสุจริต และวจีสุจริต

๓. บริจาค การเสียสละ คือการบริจาคจตุปัจจัยบำรุงพระพุทธศาสนา ถวายไทยธรรมแก่พระภิกษุสงฆ์หรือสมณะ ชีพราหมณ์ เป็นการอุปถัมภ์ พระพุทธศาสนาให้วัฒนาถาวรตลอดจนการเสียสละความสุขส่วนตัว ประโยชน์ส่วนตัวเพื่อความสุขและประโยชน์ของส่วนรวม คือประเทศชาติ หรือความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

๔. อาชชวะ ความซื่อตรง คือซื่อสัตย์สุจริต ไร้มายา ปฏิบัติภารกิจ โดยสุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน

๕. มัททวะ ความอ่อนโยน คือมีอัธยาศัยอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง หยาบคาย หรือกระด้าง แสดงกิริยาสุภาพนุ่มนวล ละมุนละไม ชวนให้เกิด ความเคารพจงรักภักดีและยำเกรง

๖. ตปะ การบำเพ็ญตบะ คือมีอุตสาหะในการบำเพ็ญเพียรเพื่อเผา กิเลส ลดกิเลสโดยการรักษาอุโบสถศีลเป็นประจำทุกวันพระ รวมทั้งการรู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่หมกมุ่นหรือหลงติดอยู่ในกามสุข

๗. อักโกธะ ความไม่โกรธ คือไม่พิโรธโกรธขึ้งโดยผลุนผลัน ไม่แสดงความเกรียวกราด ไม่ลุอำนาจความโกรธ จนเป็นเหตุให้กระทำการต่างๆ ผิดพลาดเสียธรรม มีเมตตาธรรมประจำใจ รู้จักใช้สติยับยั้งระงับความขุ่นเคืองไว้ได้ ไม่แสดงความดุดันโหดเหี้ยมทางจิตให้ปรากฏ

๘. อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน คือไม่บีบคั้น กดขี่ข่มเหงใครให้ เดือดร้อน เช่น ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ขู่เข็ญ บังคับใคร ไม่ลงโทษผู้ไม่มีความผิด มีจิตกรุณาแก่คนทั่วไป ไม่เป็นคนหาเรื่องกลั่นแกล้ง หรือเสกสรรปั้นแต่งเรื่อง เพื่อบีบบังคับผู้อื่นให้ยอมรับการกระทำบางอย่างอันเป็นความผิด ตลอดจนไม่ขู่เข็ญผู้อื่นให้กระทำหรือละเว้นการกระทำ อันเป็นความผิดความเสื่อมเสีย แก่ผู้อื่น ไม่รีดไถผู้อื่น เป็นต้น

๙. ขันติ ความอดทน คืออดต่อการที่ยังไม่ได้สิ่งที่ตนต้องการ ทน ต่อการได้รับสิ่งที่ตนไม่ต้องการ ตลอดจนอดทนต่อความลำบาก ความตรากตรำ และความเจ็บใจ เมื่อทำสิ่งใดถูกต้องแล้ว แม้จะมีผู้เห็นผิดคัดค้านหรือกล่าวโจมตีอย่างไร ก็ไม่ท้อถอย หรือแม้จะมีใครกล่าวเสียดสีถากถาง เย้ยหยันอย่างไร ก็ทนพังได้ ไม่แสดงอาการน้อยเนื้อตํ่าใจและเลิกล้มการกระทำความดี

๑๐. อวิโรธนะ ความไม่ประพฤติผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากทำนอง คลองธรรม คือความไม่ประพฤติฝ่าฝืนลบล้างตัวบทกฎหมายและจารีตประเพณีอันดีงามของบ้านเมือง ตลอดจนไม่ประพฤติผิดระเบียบแบบแผน กฎบังคับ หรือความนิยมอันดีงามของสังคม

ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระองค์ผู้ทรงเป็นรัตนกวีเอกของชาติไทย ได้ทรงนิพนธ์ เป็นบทลิลิตไว้อย่างไพเราะยิ่งว่า

๑. ทานํ
พระเปรมปฏิบัติเบื้อง        ทศธรรม์ ถ้วนแฮ
ทานวัตรพัสดุสรรพ์        สิ่งให้
ทวยเถมิลมั่วหมู่พรร-        ณีพกพวก แคลนนา
วันละ วันตั้งไว้            หกห้างแห่งสถาน ฯ

๒. สิลํ
เถลิงการกุศลสร้าง        เบญจางค ศีลเฮย
เนืองนิวัทธฤๅวาง        ว่างเว้น
บำเทิงหฤทัยทาง            บุญเบื่อ บาปนา
แสวงสัคมัคโมกข์เร้น        รอดรื้อสงสาร ฯ

๓. ปรํจฺจาคํ
สมภารพระก่อเกื้อ        การก ธรรมแฮ
ชินศาสนุประถัมภก        เพิ่มตั้ง
จตุราปัจจเยศยก            บริจาค ออกเอย
อวยแด่ชุมชีทั้ง            ทั่วแคว้นแขวงสยาม ฯ

๔. อาชฺชวํ
พระงามอุชุภาพพร้อม        ไตรพิธ ทวารเฮย
กายกมลภาษิต            ซื่อซร้อง
บำเพ็ญเพิ่มสุจริต        เจริญสัตย์ สงวนนา
สิ่งคดปลดเปลื้องข้อง        แต่ครั้งฤๅมี ฯ

๔. มทุทวํ
ปรานีมาโนชน้อม        มฤธู
ในนิกรชนชู            ชุ่มเฝ้า
พระเอื้อพระเอ็นดู        โดยเที่ยง ธรรมนา
อดโทษโปรดเกศเกล้า        ผิดพลั้งสั่งสอนฯ

๖. ตปํ
สังวรอโบสถสร้าง        ประดิทิน
มาสประมาณวารถวิล        สี่ถ้วน
อัษฎางคิกวิริยิน-            ทรีย์สงัด กามเอย
มละอิสริยฺสุขล้วน        โลกซร้องสรรเสริญ ฯ

๗. อกฺโกธํ
ทรงเจริญมิตรภาพเพี้ยง    พรหมมาน
ทิศทศจรดทุกสถาน        แผ่แผ้ว
ชัคสัตว์เสพย์สำราญ        รมย์ทั่ว กันนา
เย็นยิ่งจันทรกานต์แก้ว    เกิดน้ำฉ่ำแสง ฯ

๘. อวิหิสํ
เสด็จแสดงยศเยือกหล้า    แหล่งไผท
เพื่อพระกรุณาใน        เขตรข้า
บกอปรบก่อภัย            พิบัติเบียด เบียนเอย
บานทุกหน้าถ้วนหน้า        นอบนิ้วถวายพร ฯ

๙. ขนฺตํ
ถาวรอธิวาสน์ค้า            ขันตี ธรรมฤๅ
ดำฤษณ์วิโรธราคี        ขุ่นข้อน
เพ็ญผลพุทธบารมี        วิมุติสุข แสวงนา
เนืองโลกโศกเสื่อมร้อน    สิ่งร้ายฤๅพาน ฯ

๑๐. อวิโรธนํ
พระญาณยลเยี่ยงเบื้อง    โบราณ รีตนา
ในนิตยราชศาสตร์สาร        สืบไว้
บแปรประพฤติพาล        แผกฉบับ บูรพ์เฮย
โดยชอบกอบกิจไท้        ธเรศตั้งแต่ปาง ฯ

ไป่วางขัตติยวัตรเว้น        สักอัน
ทั่วทศพิธราชธรรม์          ท่านสร้าง
สงเคราะห์จัตุราบรร        สัชสุข เสมอนา
สังคฤหพัสดุอ้าง            สี่ไส้สืบผล ฯ
  (เตลงพ่าย หน้า ๑๘๕ – ๑๘๘)

ทางพระพุทธศาสนาสอนว่า ทศพิธราชธรรมนี้เป็นหัวใจสำคัญในการ ปกครอง พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นประมุขของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ได้ทรงเคารพและยึดเป็นแนวทางในการบริหารประเทศตลอดมา พระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ใดทรงดำรงมั่นอยู่ในธรรม ๑๐ อย่างนี้ ย่อมได้รับการยกย่องเทิดทูนว่า เป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรม จะเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนและประชาชนจะถวายความจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง

ที่มา:พิทูร มลิวัลย์

เหตุแห่งมรณะ๔ ประการ

มวลสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เมื่อมีเกิดแล้วก็ย่อมมีดับไป มีเที่ยงแท้แน่นอน ย่อมเปลี่ยนแปรไปตามสภาวะของสังขารธรรมทั้งหลาย เหตุแห่งการสิ้นไปมี ๔ ประการ คือ
๑. อายุขัย    ๒. กรรมขัย
๓. อุภยขัย    ๔. อุปัจเฉทกรรมขัย

คนที่เกิดมาแล้วสิ้นชีวิตแต่เด็กบ้าง เป็นหนุ่มเป็นสาวบ้าง เป็นคนเฒ่าชราบ้าง อุปมาเหมือนตะเกียงไส้หมด ก็อายุขัยย่อมดับ สุดแต่ว่าไส้ยาวหรือสั้น ยาวก็อยู่ได้นาน สั้นก็ดับเร็ว เรียกว่า อายุขยะ หมายถึง ความสิ้นไปแห่งอายุ

บางคนเกิดมาแล้ว ยังมีสมควรสิ้นชีวิต ได้ประกอบคุณงามความดีไว้ และมาสิ้นชีวิตไปตามผลกรรมที่ตนกระทำไว้ อุปมาเหมือนตะเกียงเมื่อน้ำมันยังมีอยู่ก็ยังส่องสว่าง เมื่อนํ้ามันหมดก็ย่อมดับ เรียกว่า กรรมขยะ หมายถึง ความสิ้นไปแห่งกรรม

บางคนเกิดมาสิ้นทั้งอายุ สิ้นไปทั้งกรรม อุปมาเหมือนตะเกียงหมดทั้ง น้ำมัน หมดทั้งไส้ เรียกว่า อุภยขยะ หมายถึง ความสิ้นไปแห่งอายุและกรรม

บางคนเกิดมาแล้วมีอันตรายต่างๆ มาเบียดเบียน บีฑา เช่น ถูกเขาตี ถูกเขาฆ่า ถูกเขาแทง ตกต้นไม้ ตกนํ้าตาย รถควํ่าตายปัจจุบันทันด่วน อุปมาเหมือน ตะเกียงที่จุดไว้ เกิดอุปัทวเหตุมีลมพัดกระโชกมาทำให้ตะเกียงนั้นดับ เรียกว่า อุปัจเฉทกรรมขยะ หมายถึง ความสิ้นไปเพราะมีกรรมเข้าไปตัดรอน อุปัจเฉทกรรม เป็นกรรมเข้าไปดัดรอน บางทีคนกำลังกระทำความดี แต่อุปัจเฉทกรรมเข้าไป ทำให้เกิดผลเสียก็มี

กรรมอันเป็นเหตุแห่งกรรมทั้งหลาย ๔ คือ
๑. ชนกกรรม        กรรมแต่งให้เกิด
๒. อุปัตถัมภกกรรม    กรรมสนับสนุน
๓. อุปปีฬกกกรรม    กรรมบีบคั้น
๔. อุปฆาฏกกรรม    กรรมเข้าไปตัดรอน

กรรมที่สามารถยังสัตว์ให้เคลื่อนจากภพหนึ่ง แล้วไปเกิดในอีกภพหนึ่ง เปรียบด้วยบิดาผู้ให้กำเนิดบุตร จากนั้นไปก็หมดหน้าที่ ชื่อว่า ชนกกรรม

กรรมที่ไม่อาจแต่งให้เกิดได้เอง ต่อเมื่อชนกกรรมแต่งให้เกิดแล้ว จึงเข้า สนับสนุนส่งเสริม เปรียบเหมือนแม่นมผู้เลี้ยงทารกที่คนอื่นให้เกิดแล้ว กรรมนี้ เป็นสภาค (ส่วนสนับสนุน) กับชนกกรรม ถ้าชนกกรรมเป็นกุศลแต่งให้เกิดข้างดี กรรมนี้ก็เข้าสนับสนุนทารกผู้เกิดนั้นให้มีความสุขปราศจากทุกข์ เจริญรุ่งเรือง ตรงกับคำว่าโชติโชติปรายโน หมายถึง รุ่งเรืองมาแล้ว รุ่งเรืองต่อไปภายหน้า ถ้าเป็นอกุศลแต่งให้เกิดข้างเลว ก็เข้าสนับสนุนซํ้าเติมให้ได้ทุกข์หายนะยิ่งขึ้น ตรงกับคำว่า ตโม ตมปรายโน หมายถึงมืดมาแล้วมืดไปในภายหน้า หรือจะว่าอีกนัยหนึ่งว่า ชนกกรรมเป็นกรรมเดิม กรรมนี้เป็นกรรมเพิ่มพูน สนับสนุน ซํ้าเติม ให้ดีให้เลวร้ายได้ ชื่อว่า อุปัตถัมภกกรรม

กรรมที่เป็นวิสภาค (เข้ากันไม่ได้) กับชนกกรรม เมื่อชนกกรรมแต่งให้ เกิดแล้ว กรรมนี้ก็เข้าไปบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมไม่ให้ผลเต็มที่ ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ถ้าชนกเป็นกุศลแต่ปฏิสนธิข้างดี กรรมนี้เข้าไปบีบคั้นให้อ่อนกำลัง ตรงกับคำว่า ตโม โชติปรายโน หมายถึงมืดมาแล้วมีสว่างรุ่งเรืองไปในภายหน้า กรรมนี้เข้าบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมฉันใด พึงเข้าใจว่าเข้าไปบีบคั้นผลแห่ง อุปัตถัมภกกรรมฉันนั้น ชื่อว่า อุปปีฬกกรรม

กรรมที่เป็นวิสภาค (เข้ากันไม่ไต้) กับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เหมือนกัน แต่เป็นสภาค (เข้ากันได้) กับอุปปีฬกกรรม แต่ให้ผลรุนแรงกว่า ย่อมจะตัดรอนผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกรรม ให้ขาดสิ้นทีเดียว แล้วจึงให้ผลแทนที่ ชื่อว่า อุปฆาตกรรม กรรม ๔ ประการนี้ จัดตามกิจที่เป็นหน้าที่

นอกจากนี้ยังมีกรรมอีก ๔ ประการ คือ
๑. ปัญจานันตริยกรรม    (ครุกรรม)
๒. อาสันนกรรม            (กรรมเมื่อจวนเจียนจะตาย)
๓. อาจิณณกรรม        (พหุลกรรม, กรรมที่ทำเนืองนิตย์)
๔. กตัตตากรรม            (กรรมสักว่าทำ)

ครุกรรม เป็นกรรมหนักที่สุดกว่ากรรมชนิดอื่นๆ ทั้งหมด ท่านจึงเรียกว่า ครุกรรมในฝ่ายอกุศล จัดเป็นอนันตริยกรรม ส่วนในฝ่ายกุศล ท่านจัดเป็นสมาบัติ ๘ กรรมอันใดทั้งหลายแหล่ที่มีอยู่แต่เมื่อมีกรรมนี้ ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่น เปรียบเหมือนคนอยู่ในที่สูง เอาสิ่งต่างๆ มีก้อนหินบ้าง ชิ้นไม้บ้าง กระดาษบ้าง ทิ้งลงมาจากที่สูง สิ่งใดมีนํ้าหนักมากกว่า ก็จะตกลงถึงพื้นดินก่อน ส่วนสิ่งใดที่เป็นของเบา ย่อมจะตกถึงพื้นดินในภายหลัง ท่านจึงจัดเป็นอนันตริยกรรม เพราะเป็นกรรมที่มีโทษมาก และอนันตริยกรรมนั้นมี ๕ ประการด้วยกัน คือ

๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปปาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต
๕. สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน

กรรมที่กล่าวมานี้ ชื่อว่า ปัญจานันตริยกรรม

กรรมที่บุคคลกระทำเมื่อเวลาใกล้จะตาย เมื่อไม่มีกรรมอย่างอื่น คือผู้ตายไม่ได้ทำกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดไว้จนชิน กรรมนี้ แม้จะมีกำลังอ่อนสักเพียงไร ก็ย่อมจะให้ผลเป็นปัจจุบันทันด่วนได้เหมือนกัน เปรียบเหมือนโคที่แออัดกันอยู่ในคอก พอนายโคบาลเปิดประตูออก โคตัวใดยืนอยู่ริมคอกประตูนั้น แม้จะเป็นโคแก่มีกำลังน้อยก็ตาม ย่อมออกก่อนกว่าโคตัวที่ยืนอยู่ในคอก กรรมนี้ ชื่อว่า อาสันนกรรม

กรรมที่ทำมามาก ทำมาจนเคยชิน หรือเคยประพฤติสั่งสมมา กรรมนี้ เป็นอาเสวนปัจจัย เมื่อไม่มีครุกรรม ย่อมให้ผลก่อนกว่ากรรมอื่น เป็นกรรมที่รองลงมาจากครุกรรม เปรียบเหมือนนักมวยปลํ้า คนใดมีกำลังแข็งแรง ว่องไว มีปฏิภาณไหวพริบก็ย่อมจะชนะไปฉะนั้น กรรมนี้ชื่อว่า อาจิณณกรรม

กรรมที่บุคคลกระทำลงไป มิได้มีความตั้งใจจงใจ เมื่อกรรมอื่นไม่มี กรรมนี้จึงให้ผล กรรมนี้ชื่อว่า กตัตตากรรม

นอกจากนี้ยังมีกรรมอีก ๔ ประการ คือ
๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม    กรรมให้ผลในภพนี้
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม    กรรมให้ผลต่อเมื่อเกิดแล้วในภพหน้า
๓. อปราปรเวทนียกรรม    กรรมให้ผลในภพต่อๆ ไป
๔. อโหสิกรรม            กรรมให้ผลสำเร็จแล้ว

กรรมที่เป็นกรรมอันแรงกล้า ให้ผลในทันตาเห็น คือ ผู้กระทำกรรม ย่อมได้รับผลในอัตตภาพปัจจุบันนั่นเอง แต่ถ้าผู้กระทำ กระทำกาละไปเสียก่อนที่จะได้รับผลของกรรมนี้ ก็กลายเป็นอโหสิกรรมไป กรรมนี้ชื่อว่า ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม

กรรมที่ให้ผลเบากว่า เป็นกรรมที่รองลงมา คือให้ผลต่อเมื่อผู้ทำเกิดแล้ว ในภพถัดไป ถ้าไม่ได้ช่องโอกาสที่จะให้ผลในภพถัดไป ก็กลายเป็นอโหสิกรรมไป กรรมนี้ชื่อว่า อุปัชชเวทนียกรรม

กรรมที่ให้ผลเพลาที่สุด และสามารถให้ผลต่อเมื่อพ้นภพหน้าไปแล้ว ได้ช่องโอกาสเมื่อใดก็ย่อมให้ผลเมื่อนั้น เปรียบเหมือนสุนัขไล่เนื้อ ไล่ตามทันเข้าในที่ใด ก็ย่อมเข้ากัดในที่นั้น กรรมนี้ชื่อว่า อปราปรเวทนียกรรม

กรรมที่ล่วงเลยไปแล้วเลิกให้ผล เป็นกรรมหาผลมิได้ เปรียบเหมือนพืช ที่หมดยาง เพาะปลูกไม่งอกขึ้นได้อีกฉะนั้น กรรมนี้ชื่อว่า อโหสิกรรม
สัตว์ทั้งหลาย เมื่อใกล้จะตาย ผู้ที่ทำอกุศลกรรมไว้มาก ก็จะไปบังเกิด ในนรกอบายภูมิ มองเห็นเปลวไฟ เห็นต้นไม้งิ้วเหล็ก เห็นพระยายมถือไม้ฆ้อน ถือหอก ดาบ มาลากพาเอาตัวไป ถ้าตายไปจะได้ไปบังเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะแลเห็นก้อนเนื้อ ถ้าตายไปบังเกิดในสวรรค์ ก็จะแลเห็นต้นกัลปพฤกษ์ เห็นเรือนทอง ปราสาทแก้วงามตระการตา เห็นหมู่เทพยดาฟ้อนรำ ขับร้อง ถ้าไปบังเกิดเป็น เปรต ก็จะแลเห็นแกลบแลข้าวลีบ มีความกระหายนํ้า ก็จะแลเห็นเป็นเลือดแลหนอง ถ้าตายไปจะไปบังเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน เช่น นก เนื้อ สุกร สุนัข เป็นต้น ก็จะแลเห็นป่าและต้นไม้ ก่อไผ่ เป็นต้น

ด้วยอำนาจกุศลธรรมคุณงามความดี หรืออกุศลธรรม บาปกรรมอันชั่วช้า บางคนเกิดมาเป็นคนมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ บางคนเกิดมาเป็นคนยากจนเข็ญใจ บางคนเกิดมามีผิวพรรณงามผ่องใส บางคนเกิดมาอัปลักษณ์ตํ่าต้อย บางคนเกิดมามีอวัยวะสมประกอบ บางคนอวัยวะไม่สมประกอบ บางคนเป็นเจ้าขุนมูลนาย บางคนเป็นข้ารับใช้ บางคนเป็นคนดี บางคนเป็นคนชั่ว บางคนมีปรีชา ฉลาด เฉียบแหลม บางคนโง่เขลาเบาปัญญา บางคนศึกษาเล่าเรียนรู้จำแตกฉานในพระอภิธรรม บางคนมิได้ศึกษาเล่าเรียน มิได้สดับตรับฟัง ทั้งเป็นการยากแท้ยิ่งในอันที่จะฟังให้เข้าใจ

สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในมนุษยภูมิเป็นปัญจกัณฑ์ กล่าวไว้โดยย่อเพียงเท่านี้

ที่มา:สิทธา พินิจภูวดล

แดนต่างๆ ในไตรภูมิกถา

นรกภูมิ
นรก เป็นแดนหนึ่งในอบายภูมิ ๔ คนตกนรกเพราะมีจิตใจชั่วและทำ ความชั่ว ซึ่งเกิดจากความโลภ ความโกรธ และความหลง การทำชั่วนั้นมีทั้ง ทางกาย วาจา และใจ ทางกาย ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์และเป็นชู้ ทางวาจา ไตรภูมิกถาได้แก่ พูดเท็จ พูดส่อเสียดยุยง พูดคำหยาบนินทาป้ายร้าย และพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล ทางใจ ได้แก่ หลงผิด พยาบาท และปองร้าย

เมืองนรกนั้น แยกย่อยเป็นนรกต่างๆ ได้แก่ นรกใหญ่ ๘ ขุม ซ้อนกันอยู่ใต้ดินเป็นชั้นๆ ลึกลงไปเรียงลำดับจากสูงไปหาตํ่าได้ดังนี้คือ สัญชีพนรก กาฬสุตตนรก สังฆาฏนรก โรรุวนรก มหาโรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก และมหาอวจีนรก แต่ละขุมมีกำแพงเหล็กแดงลุกเป็นไฟอยู่เสมอ ล้อมสี่ด้าน ข้างบนและพื้นล่างก็เป็นเหล็กแดงลุกเป็นไฟอยู่เช่นกัน สัตว์นรกนั้นจะถูกไฟเผาไหม้ตัวอยู่ตลอดเวลา นอกจากนรกใหญ่แล้วยังมีนรกบ่าวและนรกเล็กๆ เป็นบริวารอีกมากมาย นับรวมนรกทั้งหมดได้ ๔๕๖ ขุม

พระยายมราช ซึ่งเป็นใหญ่ในเมืองนรกนั้นเป็นผู้พิจารณาตัดสินว่า ผู้ใดจะได้ขึ้นสวรรค์หรือตกนรก ตามบุญและบาปที่ได้กระทำไว้ ผู้ใดทำบุญ เอาไว้ เทวดาก็จะตราบัญชีลงในแผ่นทองสุก แต่ถ้าทำบาปเทวดาก็จะตราบัญชี ลงในแผ่นหนังหมา

บาปกรรมที่ทำให้คนตกนรกใหญ่ ๘ ขุม ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส
ได้แก่
๑. ไม่รู้จักบาปบุญและคุณของพระรัตนตรัย
๒. ตระหนี่ทรัพย์ ไม่ให้ทาน และห้ามผู้อื่นทำทาน
๓. ไม่รักพี่น้อง ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่มีเมตตากรุณา
๔. ลักทรัพย์ของผู้อื่น
๕. เป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น
๖. พูดเท็จ พูดส่อเสียดยุยง พูดคำหยาบนินทาป้ายร้ายและพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล
๗. ดื่มสุราเมามาย
๘. ไม่เคารพยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่ นักบวชและครูบาอาจารย์

บาปกรรมอย่างอื่นนอกจากที่กล่าวมานี้ ทำให้คนไปตกนรกบ่าว ๑๖ ขุม ซึ่งอยู่ล้อมรอบสัญชีพนรก มีดังนี้

๑. ผู้ที่ชอบทำร้ายหรือชิงเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยใช้กำลัง ตายไปเกิดในเวตรณีนรก ถูกยมบาลไล่พุ่งแทง ให้ตกลงไปในแม่น้ำเวตรณี ถูกทรมานด้วยเหล็กแดงเผาไหม้

๒. ผู้ที่ด่าว่านักบวช ผู้มีศีล ตลอดจนพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ตายไปเกิดในสุนัขนรก ถูกสุนัขนรกรุมขบกัดและถูกฝูงแร้งกาจิกตอด

๓. ผู้ที่กล่าวให้ร้ายแก่ผู้มีศีลโดยไม่เป็นความจริง ทำให้ท่านเจ็บ อาย ตายไปเกิดในสโชตินรก ถูกทุบตีด้วยค้อนเหล็กแดง

๔. ผู้ที่หลอกลวงผู้อื่นให้บริจาคทรัพย์ทำบุญ แล้วกลับนำทรัพย์นั้นไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว ตายไปเกิดในอังคารกาสุนรก ถูกยมบาลไล่ต้อนฟันแทง ให้ตกลงไปในหลุมถ่านไฟแดง และถูกรดศีรษะด้วยถ่านไฟแดง

๕. ผู้ที่ตีนักบวช ผู้มีศีลตายไปเกิดในโลหกุมภีนรก ถูกยมบาลจับโยนลงในหม้อเหล็กแดง

๖. ผู้ที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ตายไปเกิดในอโยทกนรก ถูกยมบาลเอาเชือก เหล็กแดงรัดคอให้ขาด แล้วเอาหัวลงไปทอดในหม้อเหล็กแดง

๗. ผู้ที่เอาข้าวลีบหรือแกลบ ฟาง ปลอมปนกับข้าวเปลือกพราง ขายให้ผู้อื่น ตายไปเกิดในถุสปลาสนรก ถูกทรมานให้ลงไปในแม่น้ำซึ่งลุกเป็นไฟ เมื่ออยากอาหารก็ได้กินข้าวลีบและแกลบที่ลุกเป็นไฟ

๘. ผู้ที่ลักทรัพย์สินของผู้อื่น หรือกล่าวให้ร้ายผู้อื่นว่าเป็นโจร หรือ หลอกลวงเอาทรัพย์ของผู้อื่น ตายไปเกิดในสัตติหตนรก ถูกยมบาลใช้หอก ชนักไล่พุ่งแทงจนร่างแหลก

๙. ผู้ที่ฆ่าปลาและหาบมาขายในตลาด ตายไปเกิดในพิลสนรก ถูก ยมบาลเอาเชือกเหล็กแดงคล้องคอลากไปทอดเหนือแผ่นเหล็กแดง ล้วนแทงด้วยหอกชนัก แล้วจึงแล่เนื้อออกเรียงขาย

๑๐. ผู้ใดเป็นข้าราชการเรียกเก็บส่วยสาอากรมากกว่ากำหนด (กระทำฉ้อราษฎร์บังหลวง) หรือกล่าวร้าย ทุบตี ตลอดจนฆ่าผู้ที่รักตน ตายไปเกิดในโปราณมิฬหนรก ถูกลงโทษให้อยู่ในแม่นํ้าซึ่งเต็มไปด้วยอาจม และต้องกินอาจมนั้นต่างข้าวต่างนํ้าทุกวัน

๑๑. ผู้ที่ทำร้ายพ่อแม่ พระสงฆ์ ผู้มีคุณ และผู้มีศีล ตายไปเกิดในโลหิตปุพพนรก ถูกลงโทษให้อยู่ในแม่นํ้าซึ่งเต็มไปด้วยเลือดและหนอง ต้อง กินเลือดและหนองนั้น เมื่อเลือดและหนองตกถึงท้องก็กลายเป็นไฟไหม้พุ่งออกทางทวาร

๑๒. ผู้ใดเจรจาซื้อสิ่งของผู้อื่นแล้วโกหกว่าจะให้เงิน และโกงเอาสิ่งของผู้อื่นด้วยตาชั่ง หรือทะนานแล้วไม่ให้เงินแก่เขา ตายไปเกิดในโลหพิฬส นรก ถูกยมบาลใช้คีมดึงลิ้นออกมาแล้วเอาเบ็ดซึ่งเป็นเหล็กแดงเกี่ยวลากไป ผลักไปเหนือแผ่นเหล็กแดง

๑๓. ผู้ชายที่เป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น และผู้หญิงที่มีชู้ ตายไปเกิดในสังฆาฏนรก ถูกยมบาลใช้หอกแทงร่างกายจนขาดวิ่นและถูกฝังในแผ่นเหล็ก แดงครึ่งตัว แล้วมีภูเขาเหล็กแดงกลิ้งมาทับ

๑๔. ผู้ชายที่เป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น ตายไปเกิดในอวังสิรนรก ถูก
ยมบาลจับ ๒ เท้าหย่อนหัวลงไปในขุมนรกนั้น แล้วเอาค้อนเหล็กแดงตี จนยับย่อย

๑๕. ผู้ชายที่เป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น และผู้หญิงที่มีชู้ ตายไปเกิดใน โลหสิมพลีนรก ถูกทรมานให้ปีนต้นงิ้วซึ่งมีหนามเป็นเหล็กแดงลุกเป็นไฟ

๑๖. ผู้ใดมีความหลงผิด ไม่รู้จักบุญ ทำแต่บาป ตายไปจะต้องตก นรกชื่อ มิจฉาทิฏฐินรก ได้รับทุกข์ทรมานหนักยิ่งกว่านรกทั้งหลายที่กล่าว
มาแล้ว จะถูกยมบาลใช้อาวุธที่ลุกเป็นไฟทิ่มแทงฆ่าฟันให้เจ็บปวดอยู่ตลอดเวลา

นอกจากนี้ มีนรกพิเศษเรียกว่า โลกันตนรก อยู่นอกกำแพงจักรวาล มืดสนิท แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึง จะมีแสงสว่างชั่วแวบเดียวก็ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์ เสด็จลงมาปฏิสนธิในพระครรภ์พระมารดา หรือเมื่อพระองค์ประสูติ ตรัสรู้ ตรัสเทศนาพระธรรมจักร หรือเสด็จปรินิพพานเท่านั้น บาปที่ทำให้คนต้องไปตกนรกขุมนี้ก็คือ ทำร้ายพ่อแม่ นักบวช ครูบาอาจารย์ และยุยงให้พระสงฆ์แตกกัน สัตว์ในโลกันตนรกนี้มีลักษณะดังค้างคาวตัวใหญ่เกาะที่กำแพงจักรวาล เวลาหิวก็จะจับกันกิน เมื่อพลาดตกลงไปในนํ้าซึ่งเย็นจัด ตัวก็จะเปื่อยแหลกและตายทันที แล้วก็กลับกลายเป็นตัวขึ้นมาอีก ต้องทนทุกขเวทนาอยู่ในนั้นชั่วพุทธันดรกัลป์หนึ่ง

จะเห็นได้ว่า ภาพของนรกที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นความ เจ็บปวดทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสของคนนรก (หรือสัตว์นรก) หรือผู้ที่ประพฤติผิดต่างๆ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ภาพของนรกเต็มไปด้วยเปลวไฟ และอาวุธต่างๆ ที่ยมบาลใช้ทรมานคนนรกก็ร้อนจนเป็นเหล็กแดง ทุกสิ่งทุกอย่างในนรกเป็นไฟทั้งสิ้น ภาพต่างๆ เหล่านี้ สร้างความรู้สึกหวาดกลัวขึ้นในจิตใจผู้อ่านได้ ซึ่งนับได้ว่ามีผลในทางสั่งสอนจริยธรรม ให้คนกลัวบาป ไม่กล้ากระทำสิ่งผิด เพราะเมื่อตายไปอาจต้องไปทนทุกข์ทรมานในแดนนรกก็ได้

ติรัจฉานภูมิ
ติรัจฉานภูมิเป็นแดนของสัตว์เดรัจฉานซึ่งปฏิสนธิได้ทั้ง ๔ แบบ (โยนิ ๔) สัตว์เดรัจฉานเวลาเดินจะควํ่าอกลงเบื้องล่าง รู้จักสืบพันธุ์ รู้จักกินอาหาร และรู้จักตาย อย่างที่ในไตรภูมิกถากล่าวว่า ฝูงติรัจฉานย่อมพลันด้วยกามสัญญา อาหารสัญญา และมรณสัญญา แต่สัตว์เดรัจฉานไม่มีธรรมสัญญา เหมือนอย่างมนุษย์ คือ ไม่รู้จักบุญ บาป ไม่รู้จักเลี้ยงชีวิตด้วยการทำมาค้าขาย หรือทำไร่ไถนา ตายไปสู่อบายภูมิทั้งสิ้น

ไตรภูมิกถาได้กล่าวถึงสัตว์เดรัจฉานที่เป็นใหญ่หรือที่มีกำลังอำนาจ มากไว้ ดังนี้

ราชสีห์ มี ๔ ชนิด ได้แก่
๑. ติณสีห์ ตัวมันดังปีกนกเขา กินหญ้าเป็นอาหาร
๒. กาฬสีห์ ตัวดำดังวัวดำ กินหญ้าเป็นอาหาร
๓. ปัณฑุรสีห์ ตัวเหลือง กินเนื้อเป็นอาหาร
๔. ไกรสรสีห์ ปาก ท้อง และปลายเท้าแดง ตัวขาวดังหอยสังข์ งาม สง่า ร้องเสียงดังไปไกลได้ ๓ โยชน์ สัตว์อื่นๆ ได้ยินเสียงไกรสรสีห์จะตกใจ แล้วหนีไปสิ้น

ช้างแก้ว มี ๑๐ ตระกูล เรียกชื่อต่างๆ กันไป แต่ที่รู้จักกันดีก็คือ ตระกูลฉัททันต์ อาศัยอยู่ในคูหาทอง

ปลาใหญ่ มี ๗ ตัว คือ ติมิ ติงมิงคล ติมิรปิงคล อานนท์ ติมินทะ อัชฌนาโรหะ และมหาติมิระ ลำตัวยาวตั้งแต่ ๒๐๐ โยชน์ ถึง ๑,๐๐๐ โยชน์ ปลาใหญ่ติมิรปิงคลนั้น ลำตัวยาว ๕๐๐ โยชน์ เมื่อเคลื่อนไหวจะทำให้เกิดฟองคลื่นในมหาสมุทรได้ ส่วนปลาอานนท์และปลาอื่นๆ ซึ่งตัวใหญ่กว่าก็จะมีกำลังมากยิ่งขึ้นไปอีก

พญาครุฑ เป็นสัตว์เดรัจฉานที่มีความเป็นอยู่ดังเทวดาในสวรรค์ มีฤทธิ์เดชเนรมิตรกายได้ เป็นใหญ่ในหมู่พวกนก พญาครุฑและบริวารอาศัยอยู่บนต้นงิ้วซึ่งขึ้นเรียงรายรอบสระใหญ่ที่มีชื่อว่า สิมพลีสระ บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ พญาครุฑนั้นมีลักษณะใหญ่โตถึง ๑๕๐ โยชน์ มีกำลังมาก จับนาคกินเป็นอาหาร

นาค เป็นสัตว์ที่มีอยู่ทั้งในนํ้าและบนบก สามารถเนรมิตกายเป็นสัตว์ อะไรก็ได้ หรือเนรมิตกายเป็นเทวดา เทพธิดาก็ได้ ที่อยู่ของนาคเรียกว่า นาคพิภพ เป็นแผ่นดินขาวงามดังแผ่นเงินยวง มีสระใหญ่หลายแห่งเป็นที่อยู่ที่เล่นของนาค มีปราสาทแก้ว เงิน ทอง งดงามยิ่ง เมืองของนาคราชนั้นกล่าวไว้ว่า อยู่ใต้เขาพระหิมพานต์ งามดังไตรตรึงษ์ของพระอินทร์

ราชหงส์ มีปราสาทอยู่ในคูหาทองคำในเขาคิชฌกูฏ

สัตว์เดรัจฉานนั้นนอกจากจะเป็นอาหารของสัตว์ด้วยกันเองแล้ว ยัง เป็นอาหารของคนและถูกคนนำมาใช้งานให้ได้รับทุกข์ทรมานอีกด้วย
ติรัจฉานภูมิจึงเป็นแดนมีทุกข์อีกแดนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในติรัจฉานภูมินี้มิได้กล่าวไว้ว่า บุคคลกระทำความชั่วอย่างไร จึงต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

เปรตภูมิ
เปรตภูมิ เป็นแดนของพวกเปรต เปรตปฏิสนธิได้ทั้ง ๔ แบบ มีทั้งพวกที่อยู่ในนํ้า บนยอดเขา และพวกที่อยู่กลางเขา เปรตบางพวกมีความเป็นอยู่ดีเหมือนเทวดา คือมีวิมานทิพย์ บางพวกมีพาหนะท่องเที่ยวไปตามอำเภอใจ และมีอายุยืน บางพวกเป็นเปรตเฉพาะเวลาข้างขึ้น เป็นเทวดาข้างแรม บางพวกเป็นเปรตตอนข้างแรม และเป็นเทวดาตอนข้างขึ้น

ลักษณะของเปรตบางพวกน่าเกลียด และน่าเวทนามาก ต้องทุกข์ ทรมานเพราะอดข้าวอดนํ้าต้องกินสิ่งโสโครกเน่าเหม็นและกินเนื้อหนังของตนเอง คนที่ตายไปเป็นเปรตนั้น ก็เพราะกระทำบาปต่างๆ ไว้ สรุปได้ดังนี้

๑. ริษยาคนมั่งมี ดูถูกคนยากไร้
๒. ล่อลวงเอาทรัพย์สินผู้อื่นมาเป็นของตน
๓. ตระหนี่ ไม่ยอมให้ทาน และยังห้ามปรามผู้อื่นไม่ให้ทำทานด้วย
๔. ฉ้อโกงเอาทรัพย์สินของสงฆ์มาไว้เป็นของตน
๕. กล่าวขวัญครูบาอาจารย์และพระสงฆ์ (คงหมายถึงติเตียนด่าว่า)
๖. ติเตียนและยุยงให้พระสงฆ์ผิดใจกัน
๗. ให้ยาแก่หญิงมีครรภ์กินเพื่อให้แท้งลูก
๘. โกรธเคืองและแช่งด่าสามีที่ทำบุญแก่พระสงฆ์
๙. ปลอมปนข้าวลีบในข้าวดีแล้วหลอกขาย
๑๐. ทำร้ายทุบตีพ่อแม่
๑๑. ไม่ยอมให้ข้าวเป็นทาน โดยโกหกว่าหาข้าวไม่ได้ และยังสบถอีกว่าไม่ได้โกหก
๑๒. ลักเนื้อของผู้อื่นมากิน แล้วปฏิเสธและยังสบถว่าไม่ได้ลัก
๑๓. กลางวันเป็นพรานล่าเนื้อ กลางคืนจำศีล
๑๔. เป็นนายเมืองตัดสินความไม่เที่ยงธรรมและชอบกินสินจ้าง
๑๕. ถวายภัตตาหารพระสงฆ์ด้วยของเหลือเดน
๑๖. ถวายภัตตาหารพระสงฆ์ด้วยเนื้อสัตว์ที่มีเล็บและไม่มีเล็บ
๑๗. ด่าและสบประมาทพระสงฆ์ กล่าวเท็จต่อพระสงฆ์และผู้เฒ่า ผู้แก่
๑๘. ข่มเหงคนเข็ญใจ
๑๙. เผาป่าทำให้สัตว์ถูกไฟไหม้ตาย

อสุรกายภูมิ
อสุรกายภูมิ เป็นแดนของพวกอสูรหรืออสุรกาย ซึ่งปฏิสนธิได้ทั้ง ๔ แบบ พวกนี้รูปร่างน่าเกลียด บางพวกผอมบางไม่มีเลือดเนื้อราวกับใบไม้แห้ง มีแต่ความทุกข์ยาก บางพวกท้องยาน ปากใหญ่ หลังหัก จมูกเบี้ยว แต่มีบริวารราวกับพระอินทร์ ที่อยู่ของพวกอสูรหรืออสูรพิภพนั้นอยู่ใต้ดินใต้เขาพระสุเมรุ ลึกลงไปประมาณ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีเมืองใหญ่ ๔ เมือง ซึ่งงดงามด้วยปราสาท ราชมนเทียร ประดับประดาด้วยทองและแก้ว ๗ ประการ เป็นเมืองของพระยาอสูร

ราหู เป็นพระยาอสูรตนหนึ่งซึ่งมีกำลังอำนาจแกล้วกล้ากว่าพระยาอสูรทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตริษยาความงามของพระอาทิตย์และพระจันทร์ จึงมักจะแกล้งทำให้รัศมีพระอาทิตย์และพระจันทร์เศร้าหมองที่เรียกว่า สุริยคาธ หรือ จันทรคาธ

แม้ว่าราหูจะมีอำนาจยิ่งใหญ่เพียงใดก็ยังเกรงกลัวต่อองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ราหูจะรีบวางพระอาทิตย์และพระจันทร์ทันทีที่ได้ยินพุทธฎีกาของพระพุทธเจ้าให้ปล่อยพระอาทิตย์และพระจันทร์เป็นอิสระ

ในอสุรกายภูมิก็เช่นเดียวกับดิรัจฉานภูมิ ที่มิได้กล่าวไว้ว่าบุคคลทำความผิดเช่นไรจึงจะไปเกิดเป็นอสูรหรืออสุรกาย

แดนทั้ง ๔ ที่กล่าวมาแล้วนี้ คือ นรกภูมิ ดิรัจฉานภูมิ เปรตภูมิ และ อสุรกายภูมิ รวมเรียกว่าจตุราบายภูมิ หรือทุคติภูมิ ได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อ ในเรื่องชาติหน้า ว่าบุคคลจะต้องชดใช้ผลกรรมในชาติหน้านั่นเอง

มนุสสภูมิ
สัตว์ที่เกิดในมนุสสภูมินี้ ปฏิสนธิได้ทั้ง ๔ แบบ แต่มักจะเกิดแบบ ชลามพุชโยนิ มากกว่าแบบอื่น บุตรที่เกิดมานั้นแบ่งได้เป็น ๓ ลักษณะ คือ อภิชาติบุตร อนุชาติบุตร และอวชาติบุตร

อภิชาตบุตร หมายถึงบุตรที่เฉลียวฉลาดมีเชาว์ปัญญา รูปงาม และ มียศศักดิ์สูงยิ่งกว่าพ่อแม่

อนุชาติบุตร หมายถึงบุตรที่มีภูมิปัญญาและรูปโฉมเสมอกับพ่อแม่

อวชาติบุตร หมายถึงบุตรที่ตํ่ากว่าพ่อแม่ทุกประการ

นอกจากจะแบ่งมนุษย์โดยเปรียบเทียบกับพ่อแม่แล้ว ยังแบ่งมนุษย์ ตามลักษณะการทำบุญทำบาปได้อีก ๔ ประการ คือ คนนรก คนเปรต คนดิรัจฉาน และคนมนุษย์ ซึ่งเท่ากับเป็นการแบ่งชั้นของบุคคลว่าแตกต่างกัน ด้วยการกระทำดังนี้

คนนรก หมายถึงคนที่ทำบาปฆ่าสัตว์ แล้วถูกตัดตีนสินมือได้รับ ทุกขเวทนา จัดเป็นบุคคลชั้นตํ่าสุดในสังคม

คนเปรต หมายถึงคนที่ไม่เคยทำบุญมาก่อน เกิดมาเป็นคนเข็ญใจ ยากไร้ รูปร่างไม่งดงาม จัดเป็นบุคคลชั้นที่ ๒ คือไม่ทำความดี แต่ก็ไม่เบียดเบียนใคร

คนดิรัจฉาน หมายถึงคนที่ไม่รู้จักบุญและบาป ไม่มีความเมตตากรุณา ไม่รู้จักยำเกรงผู้ใหญ่ ไม่รู้จักปฏิบัติต่อพ่อแม่ครูอาจารย์ และไม่รู้จักรักพี่รักน้อง กระทำบาปอยู่เสมอ จัดเป็นบุคคลชั้นเลวในสังคม แต่ยังไม่เลวเท่าคนนรก

คนมนุษย์ หมายถึงคนที่รู้จักบุญและบาป มีความเกรงกลัวและละอาย ต่อบาป มีเมตตากรุณา รู้จักยำเกรงผู้ใหญ่ และรู้จักคุณของพระรัตนตรัย คนประเภทนี้ได้ชื่อว่า มนุษย์ธรรม เป็นบุคคลที่ดีที่สุดในสังคม

ที่อยู่ของมนุษย์ คือ ทวีปทั้ง ๔ ได้แก่ ชมพูทวีป ซึ่งเราอาศัยอยู่นี้ บุรพวิเทหะ ซึ่งอยู่ทางตะวันออก อุตตรกุรุ ซึ่งอยู่ทางเหนือ และอมรโคยาน ซึ่งอยู่ทางตะวันตก

บุรพวิเทหะ อุดตรกุรุ และอมรโคยาน เป็นทวีปในอุดมคติ ผู้คนใน ๓ ทวีปนี้มีอายุยืนนานกว่าผู้คนในชมพูทวีป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในอุตตรกุรุ จะมีอายุยืนถึง ๑,๐๐๐ ปี ทั้งนี้เพราะคนเหล่านี้อยู่ในศีล ๕ ไม่เคยกระทำบาปใดๆ เรื่องการกำหนดอายุของคนนี้ แสดงความเชื่อที่ว่า คนที่ทำแต่กรรมดี ย่อมจะอายุยืนกว่าคนที่ทำแต่กรรมชั่ว

ไตรภูมิกถาได้บรรยายถึงแผ่นดินอุตตรกุรุ ลักษณะผู้คน และสังคมอันเป็นอุดมคติของคนในอุตตรกุรุไว้อย่างน่าสนใจ ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้

แผ่นดินอุตตรกุรุ มีภูเขาทองล้อมรอบ พื้นดินราบเรียบ งดงามด้วยไม้นานาพรรณแผ่กิ่งก้านสาขาร่มรื่น ต้นไม้เหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของคนอุตตรกรุ เครื่องใช้ต่างๆ ในบ้านจะบังเกิดขึ้นมาเอง เป็นต้นว่า เสื่อ ฟูก หมอน บ้าน บนต้นไม้จะงดงามราวกับปราสาท ในสระนํ้าบึงหนองก็จะเต็มไปด้วยดอกบัว นานาพรรณ ส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่ว

ลักษณะผู้คนและความเป็นอยู่ คนอุตตรกุรุมีใบหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือ ๔ มุม รูปร่างไม่สูงไม่ต่ำ ไม่อ้วนไม่ผอม ผู้หญิงทุกคนงามหมดและไม่รู้จักแก่เฒ่า งามดังสาวอายุ ๑๖ ปี ส่วนผู้ชายก็เช่นกัน งามดังหนุ่มอายุ ๒๐ ปีทุกคน คนอุตตรกุรุไม่มีความกลัวในสิ่งใดเลย มีแต่ความสุขสบายไม่ต้องทำมาหากินใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีความเดือดร้อนใดๆ เลย แม้แต่ข้าวในนาก็เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องปลูก ข้าวชนิดพิเศษนี้เรียกว่า สัญชาตสาลี เกิดเองและแตกรวงออกมาเป็นข้าวสารเลย เมื่อต้องการจะหุงข้าว ก็นำหม้อข้าวไปวางบนศิลาชื่อโชติปาสาณ แล้วจะเกิดเป็นไฟลุก และเมื่อข้าวสุกไฟก็จะดับเอง ซึ่งนับว่าสะดวกสบายมาก ส่วนอาหารอื่นๆ หากต้องการสิ่งใดก็จะเกิดขึ้นมาเองเช่นกัน คนอุตตรกุรุเมื่อกินข้าวสาลีนั้นแล้วจะไม่เจ็บป่วยเป็นอะไรทั้งสิ้น เมื่อปรารถนา
ทรัพย์สิ่งใดก็จะนึกหาได้จากต้นกัลปพฤกษ์ มีชีวิตที่สุขสนุกสนานกับการร้องรำทำเพลง คนอุตตรกุรุทุกคนไม่ถือว่าเสื้อผ้าเครื่องประดับต่างๆ เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง สามารถจะใช้ร่วมกันได้ จึงไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งใดๆ ทั้งสิ้น

ชีวิตครอบครัว หนุ่มสาวชาวอุตตรกุรุหากเกิดรักใคร่กันก็จะอยู่ด้วยกันโดยไม่ต้องมีพิธีแต่งงาน แต่ว่าจะเสพเมถุนกันน้อยมาก ผู้หญิงอุตตรกุรุ นั้น เวลาคลอดลูกจะไม่รู้สึกเจ็บแต่อย่างใด เมื่อคลอดแล้วจะไม่ให้ลูกกินนม ของตนและไม่ได้เลี้ยงลูกเอง แต่เด็กจะเติบโตขึ้นด้วยบุญของตัวเด็กนั้น

นี่ก็แสดงว่า แม่กับลูกไม่มีความผูกพันกัน เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะไปอยู่ รวมกลุ่มเด็กๆ ด้วยกัน เด็กผู้หญิงจะอยู่กลุ่มหนึ่ง เด็กผู้ชายจะอยู่อีกกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ดี แม่กับลูกหรือพ่อกับลูกจะไม่มีวันได้รักใคร่เป็นสามีภรรยากันโดยเด็ดขาด เพราะคนอุตตรกุรุเป็นผู้มีบุญนั่นเอง

เมื่อมีคนตายเขาจะไม่ทุกข์โศก เขาจะอาบนํ้าศพและแต่งตัวศพแล้ว นำไปไว้ในที่แจ้ง จากนั้นจะมีนกใหญ่ชนิดหนึ่งบินมาคาบเอาศพไปจาก แผ่นดินอุตตรกุรุ นกที่ว่านี้บางอาจารย์ว่าเป็นนกหัสดีลิงค์ บ้างก็ว่าเป็นนกอินทรี บ้างก็ว่าเป็นนกกด คนอุตตรกุรุนั้นตายแล้วย่อมได้ขึ้นสวรรค์ ทั้งนี้เพราะดำรงอยู่ในศีลห้า

พระยาจักรพรรดิราช ไตรภูมิกถาได้บรรยายถึงบุญญาบารมีของพระยาจักรพรรดิราชในชมพูทวีปไว้เพื่อแสดงให้เห็นว่า การเกิดมาเป็น พระยาจักรพรรดิราชผู้มียศศักดิ์อำนาจเป็นเจ้าโลกได้นั้นต้องเป็นผู้ที่เคยบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ มาแล้วมากมายแม้ในปัจจุบัน ก็ยังประพฤติปฏิบัติอยู่

พระยาจักรพรรดิราชนั้นทรงเป็นที่เคารพยำเกรงของคนทั้งหลาย พระองค์นั้นทรงคุณธรรมสูง ทรงสดับพระธรรมเทศนาและทรงศีล ๕ มิได้ขาด นอกจากนี้ ในวันอุโบสถพระองค์ก็ได้ทรงศีล ๘ และพระราชทานพระราชทรัพย์ให้เป็นทานแก่ผู้มาขอ หลังจากนั้นก็ทรงเจริญเมตตาภาวนา ด้วยอำนาจบุญสมภารเหล่านี้ พระองค์จึงทรงปราบได้ทั่วทั้งจักรวาล

พระยาจักรพรรดิราชสั่งสอนคนทั้งหลายให้รู้ธรรมเหมือนดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติมา พระองค์ได้ทรงสั่งสอนท้าวพระยาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้

๑. จงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม
๒. ตัดสินความด้วยความซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม
๓. ตั้งอยู่ในเบญจศีล
๔. เรียกเก็บข้าวเปลือกจากชาวนา ๑ ส่วนใน ๑๐ ส่วนเข้าเป็นของ หลวง
๕. เลี้ยงดูทหารทั้งหลายอย่าให้อดอยาก ใช้ทหารให้ทำงานแต่พอ สมควร อย่าให้หนักเกินไป และไม่ควรใช้คนเฒ่าคนแก่ทำงาน
๖. เก็บส่วยจากราษฎรด้วยความชอบธรรมตามแบบโบราณ อย่าได้เก็บมากเกินไป
๗. ให้พ่อค้ากู้เงินไปทำทุนค้าขายโดยไม่คิดดอกเบี้ย
๘. ให้ทรัพย์สินแก่บรรดาลูกเมียข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งหลาย
๙. เลี้ยงดูรักษาสมณพราหมณ์และนักปราชญ์ราชบัณฑิต และไต่ถามท่านเหล่านั้นถึงข้อธรรมต่างๆ
๑๐. ให้รางวัลแก่ผู้ที่ทำความชอบ ทำประโยชน์แก่ท้าวพระยา

พระยาจักรพรรดิราชทรงมีแก้ว ๗ ประการซึ่งเกิดด้วยบุญของพระองค์เท่านั้น ได้แก่ กงจักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ดวงแก้ว นางแก้ว ขุนคลัง แก้ว และลูกแก้ว แก้วทั้ง ๗ ประการนี้มีอำนาจศักดานุภาพมาก ดังจะได้กล่าว ต่อไปนี้

กงจักรแกว หรือจักรรัตนะ มีลักษณะงดงาม รัศมีรุ่งเรืองราวกับพระอาทิตย์ ลอยขึ้นมาจากท้องมหาสมุทร ผู้ใดได้เคารพบูชาก็จะสามารถ บำบัดรักษาความเจ็บไข้ได้ และยังบันดาลให้เกิดความรํ่ารวยอีกด้วย มีอำนาจมากสามารถพาพระยามหาจักรพรรดิราชและผู้ติดตามทั้งหลายเหาะไปในอากาศได้

ช้างแกว เป็นช้างเผือกอาจจะมาจากตระกูลฉัททันต์หรือตระกูลอุโบสถ ก็ได้ เป็นช้างเหาะได้ และสามารถจะพาพระยามหาจักรพรรดิราชและรี้พลทั้งหลายเหาะไปในอากาศได้

ม้าแก้ว หรือม้าพลาหกอัศวราช เหาะได้และพารี้พลทั้งหลายเหาะไปได้เช่นกัน

ดวงแก้ว หรือมณีรัตนะ ใหญ่เท่าดุมเกวียน ยาวสี่ศอก เป็นพระยาแก้ว มีบริวารแก้ว ๘๔,๐๐๐ ชนิด ลอยไปในอากาศได้ และมีรัศมีรุ่งเรืองงาม ดังรัศมีพระจันทร์วันเพ็ญ สามารถส่องสว่างในเวลากลางคืน

นางแก้ว เป็นหญิงงามเหาะมาจากแผ่นดินอุตตรกุรุ ผิวพรรณเกลี้ยง เกลาหมดจด รูปร่างกำลังดี มีรัศมีส่องสว่างออกจากตัว ผิวเนื้ออ่อนนุ่มดังสำลี เมื่อใดที่พระยามหาจักรพรรดิราชมีพระกายเย็น ตัวนางแก้วจะอุ่น แต่ถ้าพระสวามีมีพระกายร้อน ตัวนางแก้วจะเย็น นอกจากนี้กลิ่นกายนางแก้วยังหอมฟุ้งดังกลิ่นแก่นจันทน์บด กลิ่นปากก็หอมดังกลิ่นดอกบัว เป็นที่รักใคร่ของพระสวามี

ขุนคลังแก้ว เป็นมหาเศรษฐีมาก่อน แต่เมื่อมาเป็นขุนคลังแก้วจะมี อานุภาพราวกับผู้มีหูทิพย์ ตาทิพย์ เพียงคิดว่าจะได้แก้วแหวนเงินทองจากที่ใด ก็จะได้รับดังใจนึกทันที

ลูกแก้ว (ขุนพลแก้ว) เป็นผู้ที่ฉลาดรอบรู้ยิ่งกว่าโอรสองค์ใด รู้ใจคนทั้งหลายว่าใครดีใครชั่ว คอยช่วยแบ่งเบาพระราชกิจของพระราชบิดา

แก้วทั้ง ๗ ประการนี้จะกลับคืนสู่สภาพเดิม หรือปราศจากอำนาจต่างๆ หากสิ้นบุญของพระยามหาจักรพรรดิราช แต่สำหรับลูกแก้วนั้น หากได้ทำบุญเอาไว้มากก็อาจจะได้เป็นพระยามหาจักรพรรดิราชแทนพระราช บิดาก็ได้

ในตอนที่ว่าด้วยเรื่องพระยามหาจักรพรรดิราชนี้ ได้กล่าวถึงบุญบารมีของพระยาองค์หนึ่ง คือ พระยาศรีธรรมาโศกราช แห่งปาตลีบุตร มหานคร กับมเหสี คือ นางอสันธิมิตตา พระยาองค์นี้ทรงเป็นที่เคารพบูชาของท้าวพระยาทั้งหลายตลอดจนเทวดาและสัตว์ทั้งหลาย ทรงได้รับความจงรักภักดี บำรุงบำเรอจากเหล่าเทวดาและสัตว์ต่างๆ ซึ่งจะนำผลไม้และของแปลก ๆ จากป่าหิมพานต์มาถวายพระองค์ พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ มากมาย เป็นต้นว่า ทรงถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ๖ หมื่นรูปทุกเช้า ทรงสร้างวัดอโศการาม และพระมหาธาตุ ๘๙,๐๐๐ องค์ พระวิหารอีก ๘๔,๐๐๐ แห่ง ฝ่ายนางอสันธิมิตตาก็เป็นผู้มีบุญ ด้วยในชาติก่อนนั้นนางได้บูชาพระปัจเจกโพธิเจ้าองค์หนึ่งด้วยผ้าผืนหนึ่ง ในชาตินี้ นางจึงได้รับผลบุญตอบแทนอย่างใหญ่หลวงจากพระไพศรพณ์มหาราช คือได้รับผอบแก้วทิพย์ซึ่งบรรจุผ้าทิพย์ เอาไว้ไม่มีวันหมดสิ้น เรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นว่า การทำความดีย่อมได้รับผลดีตอบแทนนั่นเอง

เรื่องของผู้มีบุญนี้ นอกจากจะกล่าวถึงเรื่องราวของพระยาศรีธรรมาโศกราชและนางอสันธิมิตตาแล้ว ไตรภูมิพระร่วงยังได้กล่าวถึงเรื่องของโชติกเศรษฐีไว้ด้วย เป็นทำนองนิทานประกอบว่าโชติกเศรษฐีมีปราสาทแก้ว ๗ ชั้น อยู่ในนครราชคฤห์ รํ่ารวยมหาศาล มิขุมทองถึง ๔ ขุมอยู่ตามมุมปราสาท แต่ละขุมเต็มไปด้วยแก้วแหวนเงินทองซึ่งไม่มีวันหมดสิ้น ปราสาทของเศรษฐีผู้นี้มีกำแพงแก้วล้อมรอบถึง ๗ ชั้น ที่ประตูกำแพงแต่ละชั้นมียักษ์เฝ้าดูแลอยู่พร้อมด้วยบริวารยักษ์มากมาย เนื่องจากเศรษฐีมีสมบัติมากมายมหาศาลนี่เองเป็นเหตุให้พระเจ้าอชาตศัตรู โอรสของพระเจ้าพิมพิสารทรงปรารถนาจะแย่งชิงสมบัติเหล่านั้นมาเป็นของพระองค์ แต่พระเจ้าพิมพิสารทรงห้ามปรามไว้ ด้วย เหตุผลที่ว่าสมบัตินั้นเกิดเพราะบุญของเศรษฐี จึงไม่ควรจะไปแย่งชิงเอามา ต่อมาพระเจ้าอชาตศัตรูทรงสมาคมกับเทวทัต ได้เทวทัตเป็นครูและด้วยคำสอนของเทวทัต พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงแย่งชิงราชสมบัติมาจากพระราชบิดา และได้ทรงฆ่าพระราชบิดาด้วย จากนั้นก็ทรงยกกำลังไปสกัดบ้านโชติกเศรษฐี เพื่อจะชิงเอาปราสาทแก้วของโชติกเศรษฐี แต่ก็ถูกยักษ์ต้านทานตีแตกกระเจิง ไป พระเจ้าอชาตศัตรูทรงหลบหนีไปยังอารามพระพุทธเจ้า ได้ทรงพบกับโชติกเศรษฐีซึ่งกำลังนั่งฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าอยู่ เมื่อเศรษฐีได้รู้เรื่องการชิงสมบัติดังกล่าวนั้น จึงได้แสดงให้พระเจ้าอชาตศัตรูเห็นว่า สมบัติของตนนั้นเกิดด้วยบุญ ถ้าตนไม่ยกให้ผู้ใดก็ไม่มีใครจะเอาไปได้ ดังเช่น แหวน ๒๐ วงในนิ้วทั้ง ๑๐ ของตนนั้น ถ้าหากไม่ปรารถนาจะให้พระเจ้าอชาตศัตรู พระองค์ก็ไม่สามารถจะถอดเอาไปได้เลย พระเจ้าอชาตศัตรูไม่ทรงเชื่อ จึงได้ทรงพยายามถอดแหวนนั้นแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ในที่สุด เมื่อเศรษฐีเอ่ยปากถวายแหวนให้พระเจ้าอชาตศัตรู แหวนทั้ง ๒๐ วงนั้นก็หลุดลอยออกจากนิ้วมือของเศรษฐีทันที และด้วยความสังเวชใจ เศรษฐีจึงได้ลาบวชในพุทธศาสนา ได้บรรลุถึงอรหัตตผล เมื่อบวชแล้วสมบัติทั้งหมดของเศรษฐีก็จมหายลงไปในพื้นดิน นิทานเรื่องนี้ก็ได้แสดงให้เห็นว่าการที่คนเราจะมีทรัพย์สมบัติมากก็เพราะได้ทำบุญเอาไว้มากแต่ชาติก่อนนั่นเอง ใครทำบุญเอาไว้ ผลบุญก็ย่อมตอบสนองผู้นั้น ไม่มีใครอื่นมาแย่งผลบุญไปได้ เว้นแต่เราจะอุทิศให้เท่านั้น

ในเรื่องของการทำบุญเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไตรภูมิพระร่วงได้กล่าวไว้ มี ๑๐ ประการ คือ

๑. ให้ทาน เป็นต้นว่า ข้าว นํ้า หมากพลู
๒. รักษาศีล อาจจะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๑๐
๓. ภาวนา เช่น สวดมนต์ สวดพระพุทธคุณ รำลึกถึงพระคุณพ่อแม่ และผู้มีพระคุณ
๔. นับคำนวณผลบุญทั้งหลายที่ได้กระทำไปแล้วแก่เทวดา มนุษย์ สัตว์ทั้งหลายที่มีคุณแก่เรา
๕. อนุโมทนาในการให้ทานของผู้อื่น ศรัทธาและร่วมให้ทานทำบุญกับผู้อื่น
๖. ปฏิบัติรับใช้พ่อแม่ ครูอาจารย์ และปัดกวาดวัดวาอาราม
๗. เคารพยำเกรงพ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ ครูบาอาจารย์และไม่ประมาทท่าน
๘. เทศนาธรรมสั่งสอนผู้อื่น
๙. หมั่นฟังพระธรรมเทศนา และหมั่นถามธรรมจากท่านผู้รู้
๑๐. เชื่อในพระรัตนตรัย พ่อแม่ ครูอาจารย์ และพระมหากษัตริย์

ต่อมาไตรภูมิกถาได้กล่าวถึงการตั้งครรภ์ของสตรีด้วยวิธีต่างๆ กัน มีหลายวิธีที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ เป็นแต่เพียงปรากฏในเรื่อง นิทานเท่านั้น

จากนั้นได้กล่าวถึงกำเนิดของมนุษย์แบบอุปปาติกโยนิ อัณฑชโยนิ และสังเสทชโยนิ โดยเล่านิทานประกอบพร้อมทั้งสั่งสอนในเรื่องบาปบุญไปด้วย เช่น เรื่องของนางอัมพปาลิกา ซึ่งเกิดแบบอุปปาติกโยนิในคาคบไม้มะม่วง เมื่อเกิดก็เติบใหญ่เป็นสาวทันที ด้วยบุญที่นางเคยรักษาศีลมั่นคงเมื่อบวชเป็นภิกษุณีในอดีตชาติ ทำให้ชาตินี้นางมีรูปโฉมงดงาม แต่ด้วยบาปกรรมที่อดีตชาติ เคยด่าว่านางเถรีอรหันต์ ทำให้นางอัมพปาลิกาต้องกลายเป็นนางนครโสภินี (ในชาติก่อนๆ นางก็เคยตกนรกและเกิดเป็นหญิงแพศยามาแล้ว) อย่างไรก็ตามนางอัมพปาลิกาผู้นี้มีความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างมากได้บวช และบรรลุถึงอรหันต์เป็นขีณาสพ และนิพพานไปในที่สุด

นิทานเรื่องต่อมาเล่าเรื่องการเกิดของมนุษย์แบบอัณฑชโยนิ กล่าวถึงพราหมณ์ผู้หนึ่งได้นางกินรีเป็นภรรยา ต่อมานางกินรีก็มีครรภ์และเกิด เป็นไข่ ๒ ฟอง นางกินรีได้ฟักไข่ๆ แตกออกเป็นมนุษย์ผู้ชาย ๒ คน พี่น้องทั้งสองนี้ ต่อมาได้บวชและบรรลุอรหัตตมรรคญาณ และนิพพานไปในที่สุด

เรื่องการเกิดแบบสังเสทชโยนินั้น เล่าเรื่องนางปทุมาวดีเกิดในดอกบัวและเวลาที่นางเดินไปที่ใดจะมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับเท้าของนางทุก ย่างก้าว ทั้งนี้เป็นด้วยผลบุญที่อดีตชาตินางเคยบูชาพระปัจเจกโพธิเจ้าด้วยดอกบัวหลวงและนางปรารถนาเช่นนั้น ต่อมานางปทุมาวดีได้เป็นชายาของพระยาพรหมทัตและได้ทรงครรภ์ประสูติเป็นราชกุมาร ๕๐๐ องค์ เจ้าราชกุมารผู้เป็นพี่อยู่ภายในรกแต่องค์เดียว อีก ๔๙๙ องค์นั้นติดอยู่แต่ภายนอกรก ทั้งนางปทุมาวดีและราชกุมาร ๔๙๙ องค์นั้นได้ชื่อว่าเกิดแบบสังเสทชโยนิ ส่วนเจ้าราชกุมารที่อยู่ในรกได้ชื่อว่าเกิดแบบชลามพุชโยนิ การที่นางปุมาวดี มีราชกุมารถึง ๕๐๐ องค์นี้ ก็เพราะอานิสงส์ที่นางได้ถวายข้าวตอกผสมนํ้าผึ้ง ๕๐๐ ก้อนแด่องค์พระปัจเจกโพธิเจ้าในอดีตชาติ และนางก็ปรารถนาจะมีลูกชาย ๕๐๐ คนด้วย ราชกุมารทั้ง ๕๐๐ องค์นี้ต่อมาได้ผนวชและตรัสรู้เป็นพระปัจเจกโพธิเจ้าทุกองค์

ต่อมา ไตรภูมิกถาได้กล่าวถึงการสิ้นชีวิตของสัตว์ทั้งหลายไว้ว่า มี ๔ ประการคือ

๑. อายุขัย    คือตายโดยมีอายุควรสิ้นแต่น้อย
๒. กรรมขัย  คือตายโดยที่อายุยังไม่ควรตาย
๓. อุภยขัย    คือตายเมื่ออายุแก่เฒ่า
๔. อุปัจเฉทกรรมขัย คือตายโดยอุบัติเหตุ

ในตอนท้ายของมนุสสภูมิได้กล่าวถึงผลของกรรมไว้ว่า ไม่ว่าบุญ หรือบาปจะส่งผลทั้งในชาตินี้และชาติหน้าและต่อๆ ไปจนกว่าจะนิพพาน เป็นความเชื่อที่ว่า ชาติหน้ามีจริง และได้สรุปไว้ว่า คนเราเมื่อตายไปแล้ว ชีวิตภายหน้าจะไปเกิดเป็นอะไรนั้น ขึ้นอยู่กับบุญและบาปที่ได้กระทำเอาไว้

ฉกามาพจร
เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงเทพยดาว่ามี ๓ จำพวก คือ
๑. สมมุติเทวดา ได้แก่ พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงทศพิธราชธรรม
๒. อุปปัติเทวดา ได้แก่ เทวดาบนสวรรค์ฉกามาพจรถึงพรหมโลก
๓. วิสุทธิเทวดา ได้แก่ พระพุทธปัจเจกโพธิเจ้า พระอรหันต์ พระ
ขีณาสพ

การปฏิสนธิของเทพยดาบนสวรรค์เป็นแบบอุปปาติกโยนิเพียงอย่าง
เดียว

ที่อยู่ของเทวดาคือ พิมานหรือวิมาน อยู่บนภูเขาหรือบนต้นไม้ใหญ่

สวรรค์ฉกามาพจร มีทั้งหมด ๖ ชั้น ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้

๑. จาตุมหาราชิกา เป็นสวรรค์ชั้นตํ่าสุด ตั้งอยู่เหนือจอมเขายุคันธร ซึ่งเป็นภูเขาอยู่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ สวรรค์ชั้นนี้มีเมืองใหญ่อยู่ ๔ เมือง งดงามอย่างที่ไม่พบในโลกมนุษย์ คือมีกำแพงเป็นทอง ประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ บานประตูเมืองเป็นแก้ว ในเมืองมีปราสาทแก้ว พื้นดินเป็นทอง เมืองทั้ง ๔ นี้ ตั้งอยู่ ๔ ทิศรอบเขาพระสุเมรุ โดยมีเทพยดาผู้เป็นใหญ่เรียกว่า พระยาจตุโลกบาล ปกครองเหล่า เทพยดา ครุฑ นาค และยักษ์ทั้งหลายตลอดถึงกำแพงจักรวาล กล่าวคือ ท้าวธตรฐปกครองด้านทิศตะวันออก ท้าววิรูปักข์ ปกครองด้านทิศตะวันตก ท้าววิรุฬหกปกครองด้านทิศใต้ และท้าวไพรศรพณ์ ปกครองด้านทิศเหนือ

การเกิดของเทพยดา ผู้ที่จะไปเกิดเป็นเทพยดาได้จะต้องได้กระทำบุญเอาไว้และจะไปเกิดในฐานะอะไรนั้นขึ้นอยู่กับสถานที่เกิด กล่าวคือ ถ้า เกิดในผ้าของเทพยดาองค์ใดก็ได้ชื่อว่าเป็นลูกสาวของเทพยดาองค์นั้น เกิดเหนือที่นอนก็ได้ชื่อว่าเป็นภรรยา เกิดแทบตีนแท่นก็เป็นสาวใช้ และเกิดที่ประตูปราสาทหรือที่กำแพงด้านในก็เป็นข้าเทพยดานั้นๆ แต่ถ้าหากเกิดนอกกำแพงในที่แดนของเทพยดาองค์ใดก็เป็นไพร่ฟ้าของเทพยดาองค์นั้น

๒. ดาวดึงษา เป็นสวรรค์ชั้นที่อยู่เหนือจาตุมหาราชิกา ตั้งอยู่เหนือ จอมเขาพระสิเนรุราชบรรพต (ภูเขาพระสุเมรุ) เป็นที่ตั้งของเมืองไตรตรึงษ์ ของพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ในหมู่เทพยดาทั้งหลาย ตัวเมืองกว้างขวางใหญ่โตมาก แต่ละด้านยาวถึง ๘ ล้านวา มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ในเมืองมีปราสาทแก้วงดงาม วิจิตรพิสดาร คือไพชยนตปราสาท นอกเมืองไตรตรึงษ์มีอุทยานทิพย์ ๕ แห่ง คือนันทวนุทยาน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน รสสกวัน และมหาพน นอกจากนี้ก็ยังมีสระโบกขรณีอีกหลายแห่ง เช่น นันทาโบกขรณี จุลนันทาโบกขรณี เป็นต้น

พระอินทร์มีช้างทรงลักษณะอัศจรรย์ชื่อ ไอยราวัณ ซึ่งความจริงแล้วคือ ไอยราวัณเทพบุตร แต่ได้เนรมิตตัวเป็นช้างเผือกสำหรับพระอินทร์ ประทับเสด็จไปในที่ต่างๆ ช้างไอยราวัณนี้หรือที่เรารู้จักกันทั่วไปว่า เอราวัณ เป็นช้างสูงใหญ่มหึมามีหัว ๓๓ หัว แต่ละหัวมีงา ๗ อัน งาแต่ละอันมีสระ ๗ สระ แต่ละสระมีกอบัว ๗ กอ บัวแต่ละกอมี ๗ ดอก ดอกบัวแต่ละดอกมี ๗ กลีบ แต่ละกลีบมีนางฟ้ายืนรำระบำบัพพะ ๗ คน นางฟ้าแต่ละคนมีสาวใช้ ๗ นาง เมื่อใดที่พระอินทร์เสด็จประทับเหนือแท่นแก้วในหัวช้างไอยราวัณนั้นชายาทั้ง ๔ ของพระอินทร์จะตามเสด็จไปเฝ้าด้วยเสมอ ชายาที่ประเสริฐที่สุด ก็คือ นางสุธัมมา อีก ๓ องค์ ก็คือ นางสุชาดา นางสุนันทา และนางสุจิตรา นอกจากนี้ ก็มีนางฟ้าอื่นๆ ที่เป็นชายาเช่นเดียวกันอีก ๙๒ คน และมีบรรดาสาวใช้ตามเสด็จไปบนหัวช้างด้วย บรรดานางฟ้าทั้งหลายที่มีหน้าที่บรรเลงดนตรีถวายพระอินทร์นั้น มีอยู่นางหนึ่งที่รู้จักกันดี คือนางเมขลา ซึ่งทำหน้าที่เป่าสังข์ถวาย เสียงดนตรีที่ปรากฏบนสวรรค์นี้ไพเราะเพราะพริ้งยิ่งนัก และมีความมหัศจรรย์มาก เครื่องดนตรีทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพิณ กลอง สังข์ บัณเฑาะว์ ปี่ สามารถจะดังขึ้นมาได้เอง หากมีผู้บรรเลงดนตรีชนิดใดขึ้นมา เครื่องดนตรีชนิดเดียวกันนั้นอีกหกหมื่นชิ้นก็จะบรรเลงได้เองอย่างไพเราะประดุจมีผู้บรรเลง ทีเดียว

พระจุฬามณีเจดีย์ เป็นพระเจดีย์อยู่บนสวรรค์นอกเมืองไตรตรึงษ์ เป็นที่ซึ่งพระอินทร์เสด็จไปนมัสการพร้อมด้วยบริวารอยู่เสมอๆ (แสดงถึงการทำความดีของเหล่าเทวดา)

นอกเมืองไตรตรึงษ์ไปทางทิศอีสาน มีอุทยานชื่อ บุณฑริกวัน ใน อุทยานนี้มีต้นไม้ใหญ่ (ไม้ทองหลาง) ต้นหนึ่งชื่อ ปาริกชาติกัลปพฤกษ์ ซึ่งออกดอกช้ามาก ร้อยปีดอกจึงบานครั้งหนึ่ง เมื่อบานแล้วจะส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปไกลนับแสนๆ วา ใต้ต้นไม้นี้มีแท่นศิลาแก้วชื่อว่า ปัณฑุกัมพล สีแดงเข้ม อ่อนนุ่มดังฟูก เมื่อพระอินทร์ประทับนั่งแผ่นศิลาจะอ่อนลึกลงไปถึงสะดือ เมื่อลุกขึ้นแผ่นศิลาก็จะเต็มขึ้นมาดังเก่า บริเวณใกล้ๆ กันนั้น มีศาลาใหญ่ชื่อ สุธัมมาเทพยสภาคศาลา เป็นที่ชุมนุมสดับธรรมของเหล่าเทพยดาทั้งหลาย ผู้ที่แสดงธรรมอาจจะเป็นพระอินทร์หรือเทพยดาองค์ใดองค์หนึ่งซึ่งเป็นผู้รู้ธรรม

ในตอนท้ายกล่าวสอนให้คนทำความดีเพื่อจะได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์ และเทพยดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงษา

๓. ยามา อยู่เหนือสวรรค์ชั้นดาวดึงษา เทพยดาในชั้นนี้อยู่ปราสาท ทองและปราสาทเงินซึ่งมีกำแพงล้อมรอบ เทพยดาผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นนี้ คือ สุยามเทวราช ชั้นยามานี้อยู่สูงกว่าพระอาทิตย์ จึงมองไม่เห็นพระอาทิตย์ แต่ที่เห็นกันก็ด้วยรัศมีของแก้วและรัศมีของเทพยดาเอง และเมื่อเห็นดอกไม้ทิพย์บานก็คือเวลารุ่ง ดอกไม้ทิพย์หุบ ก็คือเวลาคํ่า

๔. ดุสิตา อยู่เหนือสวรรค์ชั้นยามา งดงามด้วยปราสาทแก้วปราสาท เงิน และปราสาททอง มีกำแพงแก้วล้อมรอบ งามกว่าสวรรค์ชั้นยามา มีเทพยดาผู้เป็นใหญ่ คือ สันดุสิตเทพยราช เทพยดาในดุสิตนี้เป็นผู้รู้บุญรู้ธรรม สวรรค์ชั้นนี้เป็นที่สถิตของพระโพธิสัตว์ซึ่งจะลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในเมืองมนุษย์ พระศรีอาริยเมตตรัยก็สถิตอยู่ชั้นนี้

๕. นิมมานรดี อยู่เหนือสวรรค์ชั้นดุสิตา มีความงดงามยิ่งขึ้นไปอีก เทพยตาในชั้นนี้มีความสุขสมบูรณ์ ปรารถนาสิ่งใดก็สามารถจะเนรมิตได้ตามความพอใจ

๖. ปรนิมิตวสวัตตี เป็นสวรรค์ชั้นสูงสุด ประเสริฐด้วยสุขสมบัติยิ่งกว่าชั้นฟ้าทั้งหลาย หากมีใจปรารถนาสิ่งใดๆ เช่น อาหารทิพย์ ก็จะมีเทพยดาองค์อื่นคอยเนรมิตให้ทุกประการ สวรรค์ชั้นนี้มีผู้เป็นใหญ่ ๒ องค์ คือ ปรนิมิตวสวัตตีเทวราช เป็นใหญ่ฝ่ายเทพยดา และพระยามาราธิราช เป็นใหญ่ฝ่ายมาร

การสิ้นชีวิตของเทพยดา มี ๔ อย่าง คือ

๑. อายุขัย ได้แก่ สิ้นชีวิตตามอายุในชั้นฟ้านั้น
๒. บุญญขัย ได้แก่ สิ้นบุญก่อนถึงกำหนดอายุในชั้นฟ้านั้น
๓. อาหารขัย ได้แก่ สิ้นชีวิตเพราะสนุกจนลืมกินอาหาร
๔. โกธาพละ ได้แก่ สิ้นชีวิตเพราะความโกรธ เมื่อเทพยดาโกรธ หัวใจจะกลายเป็นไฟไหม้ตนเอง

ก่อนที่เทพยดาจะจุติ (สิ้นชีวิต) ๗ วัน จะเกิดนิมิต ๕ ประการ คือ

๑. เห็นดอกไม้ในวิมานของตนเหี่ยว และไม่หอม
๒. ผ้าทรงดูหม่นหมอง
๓. อยู่ไม่มีความสุข มีเหงื่อไคลไหลออกจากรักแร้
๔. อาสนะร้อนและแข็งกระด้าง
๕. กายของเทพยดานั้นเหี่ยวแห้ง เศร้าหมอง ไม่มีรัศมี

เรื่องนิมิตทั้ง ๕ นี้แสดงว่า แม้เทวดาก็ยังหมดความสุขได้ ไม่ใช่แต่มนุษย์เท่านั้น ดังนั้น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกโพธิเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลายจึงไม่ปรารถนาในสุขสมบัติ แต่ปรารถนาที่จะไปสู่นิพพานสุข

ในตอนท้ายของสวรรค์ภูมิ ได้สรุปถึงสาเหตุ ๓ ประการ ที่ทำให้คนกระทำบุญ ไม่กระทำบาปก็คือ ความไม่โลภ ไม่โกรธ และไม่หลง

พรหมโลก
พรหมโลกอยู่เหนือสวรรค์ปรนิมิตวสวัตตีขึ้นไปสูงมากสุดที่จะนับได้ พรหมโลกมีทั้งหมด ๒๐ ชั้น ชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๑๖ เรียกรวมว่า โสฬส เป็นที่อยู่ของรูปพรหม (พรหมมีรูป) ส่วนอีก ๔ ชั้นเป็นที่อยู่ของอรูปพรหม (พรหมไม่มีรูป) แต่ละชั้นมีชื่อเรียกต่างๆ กันไป

รูปพรหมภูมิ พรหมทั้งหลายที่เกิดในรูปพรหมภูมินี้เกิดด้วยอุปาติกโยนิ เพียงอย่างเดียวที่อยู่ของพรหมเป็นปราสาทแก้ว มีเครื่องประดับงดงามยิ่งกว่าปราสาทเทพยดาถึงพันเท่า ผู้ที่จะไปเกิดเป็นพรหมมีรูปนี้จะต้องภาวนาให้ได้รูปฌาน ๔ ยิ่งได้ฌานชั้นสูงมากขึ้นเมื่อตายไปก็จะได้ไปเกิดเป็นพรหมในชั้นสูงๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้ ผู้ซึ่งจะไปเกิดเป็นพรหมจึงเป็นพวกพราหมณ์และพวกฤษีแทบทั้งนั้น นอกจากนี้ก็อาจจะเป็นพวกเทวดาที่เข้าฌานบรรลุชั้นต่างๆ ตาม ที่มีกำหนดไว้

พรหมโลก ๕ ชั้น คือ ชั้นที่ ๑๒ ถึงชั้นที่ ๑๖ มีชื่อเรียกรวมว่า ปัญจพิธ สุทธาวาศ ผู้ใดได้ไปเกิดใน ๕ ชั้นนี้จะไม่คืนมาเกิดในเมืองมนุษย์อีกเลย จะเข้าสู่นิพพานในชั้นสุทธาวาศนั้น

ในพรหมโลกมีแต่พรหมผู้ชาย ไม่มีพรหมผู้หญิง ดังนั้นพรหมจึงพ้นแล้ว จากกามตัณหา ไม่มีเรื่องรูปรสกลิ่นเสียงและเครื่องบำรุงบำเรอความสุขอย่างพวก เทพยดา พรหมอยู่ได้ด้วยฌาน จิตของพรหมนั้นกอปรด้วยธรรม เช่นมีศรัทธา สติ หิริ (ละอาย) โอตัปปะ (กลัวบาป) ไม่โลภ ไม่โกรธ มีมุทิตา กรุณา และปัญญา เป็นต้น

อรูปพรหมภูมิ ที่อยู่ของอรูปพรหมมีทั้งหมด ๔ ชั้น เรียกว่า ปัญจฌานภูมิ อรูปพรหมจะมีแต่จิตไม่มีตัวตน ผู้ที่จะไปเกิดจะต้องภาวนาให้ได้อรูปฌาน ๔ และตั้งความปรารถนาให้ถึงสมาบัติในแต่ละชั้นพรหม สมาบัติยิ่งสูงก็ยิ่งจะไปเกิดในพรหมโลกชั้นสูงๆ ขึ้นไป จิตของอรูปพรหมกอปรด้วยธรรมต่างๆ เช่น เดียวกับรูปพรหม เป็นสุขด้วยสมาธิและมีศรัทธาบูชาพระพุทธเจ้าในโลกมนุษย์เช่นกัน

ต่อจากเรื่องพรหมโลก มีข้อความกล่าวถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่อง อนิจจัง หรือความไม่เที่ยงแท้ของสมบัติทางโลก แม้ยศศักดิ์จะสูงเพียงใด ก็ไม่ยั่งยืน มั่นคง

จากนั้นได้กล่าวถึงการเวียนว่ายตายเกิดบนสวรรค์ฉกามาพจรได้ แต่จะ ไม่มีโอกาสได้ไปเกิดในพรหมโลกเลย

มนุษย์มีโอกาสจะได้ไปเกิดในภูมิต่างๆ ยกเว้นพรหมโลก ๕ ชั้นที่เรียกว่า ปัญจสุทธาวาศ

เทวดาในฉกามาพจรก็อาจจะไปเกิดในภูมิต่างๆ ได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ถึง มรรคและผล ก็ไม่มีโอกาสจะไปเกิดในพรหมโลก ๕ ชั้นเช่นเดียวกัน ส่วนมากพรหมก็อาจจะไปเกิดในสุคติภูมิ แต่จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ
ในเรื่องอนิจจังนี้ ไตรภูมิกถาก็ได้แสดงให้เห็นอีกว่า แม้แต่โลกเราคือ แผ่นดินภูเขา และนํ้าก็ยังมีวันเสื่อมสลาย พร้อมกันนั้นก็ได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับสภาพลักษณะของสกลจักรวาลในความคิดของคนโบราณว่า ประกอบไปด้วย เขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง มีทวีปทั้ง ๔ อยู่ล้อมรอบ ๔ ทิศ เป็นที่อยู่ของพวกมนุษย์ ได้แก่ บุพพวิเทหะ ชมพูทวีป อมรโคยาน และอุตตรกุรุ เหนือเขาพระสุเมรุมี ไพชยนตปราสาทแห่งนครไตรตรึงษ์ ใต้เขาพระสุเมรุเป็นพิภพอสูร นอกเขาพระสุเมรุมีแม่นํ้าสีทันดรล้อมรอบ ๗ ชั้น สลับกับภูเขา ๗ ลูก ซึ่งเรียกชื่อว่า ภูเขา สัตตบริภัณฑ์ ได้แก่ ยุคันธร อิสินธร กรวิก สุทัศนะ เนมินธร วินันตกะและอัสสกัณณะ ถัดออกมาเป็นมหาสมุทรและมีแผ่นดินใหญ่อยู่ ๔ ด้านดังกล่าวแล้ว มีเขาจักรวาลเป็นกำแพงล้อมรอบมหาสมุทร ภายในจักรวาลระหว่างกำแพงถึงเขายุคันธร จะเป็นทางโคจรของพระอาทิตย์ (เทพบุตร) พระจันทร์ (เทพบุตร) และดวงดาวทั้งหลาย (ซึ่งเป็นเทพบุตรอยู่วิมานเช่นกัน) ก่อให้เกิดเป็นเวลากลางวัน กลางคืน ฤดูกาลต่างๆ และข้างขึ้นข้างแรม ระหว่างแผ่นดินใหญ่ทั้ง ๔ มีแผ่นดินเล็ก ๔ แห่ง เรียกว่าสุวัณณทวีป เป็นเมืองของพระยาครุฑ

ในแผ่นดินชมพูทวีปนั้น มีป่าหิมพานต์หรือเขาพิมพานต์ ซึ่งมีลักษณะ พิเศษพิสดารแตกต่างไปจากป่าทั่วๆ ไป เช่น มีต้นหว้าใหญ่มหึมาอยู่ต้นหนึ่ง ออกผลใหญ่ขนาดที่ว่า ถ้ายื่นมือล้วงเข้าไปเนื้อหว้า พอสุดแขนจึงถึงเมล็ด ส่วนนกที่มากินลูกหว้าก็มีขนาดใหญ่มากบางตัวใหญ่เท่าช้าง ใหญ่เท่าเรือนก็มี ยางลูกหว้าที่ตกลงมานั้นก็จะกลายเป็นทองสุก ชื่อว่าชมพูนุท นอกจากนี้ก็มีป่าไม้นารีผลซึ่งเป็นต้นไม้ประหลาด ออกลูกเป็นสตรีสาววัย ๑๖ ปี ป่าขนุนลูกใหญ่เท่าตุ่ม และอุดมไปด้วยสระนํ้า แม่น้ำ และภูเขาจำนวนมากมายเป็นต้นว่า สระฉัททันต์อันเป็นที่อาบนํ้าของพญาช้างฉันทันต์และบริวาร แม่นํ้า ๕ สายที่เรียกว่า ปัญจมหานที (คงคา ยมนา อจิรวดี มหิ และสรภู) และภูเขาไกรลาศ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองทองของพวกกินรีและเป็นที่สถิตของพระอิศวรด้วย

เมื่อกล่าวบรรยายถึงลักษณะของสกลจักรวาลแล้ว ก็มีข้อความกล่าวตักเตือนเร่งเร้าคนทั้งหลายให้กระทำแต่ความดีเพื่อไปสู่นิพพาน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นอมตยมหานครนิพพาน อันเป็นเมืองที่ไม่มีความทุกข์ ความโศก ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ไม่มีความตาย มีแต่ความสุขสบายเท่านั้น
ต่อจากนั้น ได้กล่าวถึงเรื่องโลกในสกลจักรวาลถึงแก่ความประลัย (ยกเว้นพรหมโลกบางชั้นที่อยู่สูงๆ ขึ้นไป) คือต้องสูญสิ้นหรือฉิบหายด้วยไฟ นํ้าและลม ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากฝูงคนทั้งหลายกระทำบาปกันมาก จึงเกิดวิปริตต่างๆ ทั่วทั้งจักรวาล เช่น ฝนฟ้าไม่ตก พืชพันธุ์แห้งตาย สัตว์นํ้าตายเกลื่อนกลาด พระอาทิตย์ค่อยๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้นทีละดวงๆ จนกระทั่งมีถึง ๗ ดวง เผาผลาญนํ้าในที่ต่างๆ ให้แห้งเหือด ปลาใหญ่ ๗ ตัวในแม่นํ้าสีทันดรถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์แผดเผากระทั่งเกิดเป็นนํ้ามันไหลออกมาไหม้เขาอัสสกัณณะ และไฟไหม้ลุกลามไปทุกแห่งทุกแดน ไม่ว่าจะเป็นแดนอบายภูมิ สุคติภูมิ หรือ พรหมโลกชั้นทุติยฌาน ระยะเวลาที่ไฟไหม้นั้นนานได้อสงไขย ๑ (อสงไขย แปลว่าเหลือที่จะนับได้) เมื่อไฟไหม้โลกนั้น พวกเทวดาและพรหมทั้งหลายต่างพากันหนีขึ้นไปอยู่บนพรหมโลกที่ไฟไหม้ไปไม่ถึง เมื่อดับไฟแล้ว ก็มีฝนตกใหญ่ เกิดนํ้าท่วม แผ่นดินทุกแห่งท่วมไปแม้กระทั่งสวรรค์และพรหมโลกชั้นที่ ๓ เป็นเวลาได้อสงไขย ๑ จากนั้นก็เกิดลมพายุพัดพานํ้าไปทำให้แผ่นดินค่อยๆ แห้งลง จนกระทั่งเกิดเป็นภูมิต่างๆ ดังเดิม ส่วนพวกเทวดาและพรหมทั้งหลายที่มีชีวิตรอดก็ลงมาอยู่ตามชั้นภูมิต่างๆ ดังเดิม สัตว์โลกต่างๆ ก็เกิดมีขึ้นเหมือนเดิม เกิดมีพระอาทิตย์ (พระสุริยเทพบุตร) พระจันทร์ (จันทรเทพบุตร) และดวงดาวต่างๆ ระยะเวลา ที่เกิดโลกใหม่นี้นับได้อสงไขย ๑

ในที่สุด ไตรภูมิกถาได้กล่าวถึงพระนิพพาน การกระทำบุญและธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระนิพพานอันเป็นอุดมคติยอดปรารถนาของชาวพุทธ

ความหมายของนิพพาน มีกล่าวไว้ว่า นิพพาน มี ๒ จำพวก คือ

๑. อุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ การสำเร็จอรหัตตผล หลุดพ้นจากกิเลส ยังมีขันธ์ ๕ อยู่
๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ การหลุดพ้นจากกิเลสและขันธ์ ๕

นอกจากนี้ ไตรภูมิกถายังกล่าวถึงการบรรลุพระนิพพานของพระพุทธเจ้า เอาไว้ด้วยว่ามี ๓ ประการ คือ

๑. กิเลสนิพพาน ได้แก่ ดับกิเลสด้วยการตรัสรู้สัพพัญญุตญาณใต้ต้น พระรัตนมหาโพธิ
๒. สกนธนิพพาน ได้แก่ การเสด็จดับขันธ์สู่พระนิพพาน
๓. ธาตุนิพพาน ได้แก่ การที่พระธาตุทั้งหลายจะมาชุมนุมกันใต้ต้น พระโพธิ์ และจะเกิดเป็นองค์พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาธรรมโปรดเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายแล้วจึงเสด็จเข้าสู่พระนิพพาน

หนทางที่จะไปสู่นิพพานนั้น เรียกว่ามรรค มี ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเป็นต้น และมรรคผลที่จะพึงบรรลุได้ด้วยการปฏิบัติตามมรรคนั้นมี ๘ ประการ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล  อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรคและอรหัตตผล นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงฌานสมาบัติต่างๆ อันเป็นหนทางนำไปสู่ความสุขในปัจจุบัน เรื่องราวในตอนนี้ ค่อนข้างยากสำหรับปุถุชนทั่วไปที่จะทำความเข้าใจ อย่างไรก็ตาม ในตอนจบของเรื่องก็ได้แสดงให้เห็นว่า บุคคลจะบรรลุนิพพานได้นั้น จะต้องสร้างสมบุญบารมี และตั้งความปรารถนาที่จะถึงซึ่งนิพพานไว้อย่างสมํ่าเสมอ การปฏิบัติดังกล่าว นี้จะต้องใช้เวลายาวนานมากสุดที่จะนับได้ จึงจะสำเร็จซึ่งพระนิพพาน.

ที่มา:สิทธา พินิจภูวดล

การอยู่เป็นสุขและการนิพพานในชีวิตปัจจุบัน

พระอริยบุคคลทุกชั้น สามารถอยู่เป็นสุขอย่างแท้จริงในชีวิตปัจจุบันได้ ด้วยการเข้าผลสมาบัติ และสามารถนิพพานในชีวิตปัจจุบันได้ด้วยการเข้านิโรธสมาบัติ การนิพพานในชีวิตปัจจุบันกล่าวคือ

การเข้าผลสมาบัติต้องพิจารณาเห็นสังขารโดยอาการต่างๆ ด้วยญาณทั้ง ๙ มีอุทยัพพยญาณ เป็นต้น แล้วอธิษฐานจิตให้ขึ้นสู่วิถีดังนี้

๑. บริกรรม – กำหนดรูปนาม
๒. อุปจาร – กำหนดรูปนามอีก
๓. อนุโลม – กำหนดรูปนามอีก
๔. อนุโลม – กำหนดรูปนามอีก
๕. อนุโลม – กำหนดรูปนามอีก
๖. ผลจิต – เสวยผลพระนิพพานตลอดเวลาที่อธิษฐาน

พระอริยเจ้าเข้าผลสมาบัติด้วยอริยผลจิต ดังนี้
๑. พระโสดาบัน เข้าผลสมาบัติด้วยโสดาปัตติผลจิต
๒. พระสกิทาคามี เข้าผลสมาบัติด้วยสกิทาคามีผลจิต
๓. พระอนาคามี เข้าผลสมาบัติด้วยอนาคามิผลจิต
๔. พระอรหันต์ เข้าผลสมาบัติด้วยอรหัตตผลจิต

เมื่อพระอนาคามีและพระอรหันต์ ที่สำเร็จรูปฌานมาแล้ว ต้องการจะเข้านิโรธสมาบัติดับสนิทอยู่นั้น ต้องทำตามลำดับชั้น ดังต่อไปนี้

๑. ทำฌานให้เกิดขึ้น ตั้งแต่ปฐมญาณ จนถึงวิญญาณัญจายตนฌานโดยลำดับ

๒. ออกจากฌานแล้ว พิจารณาสังขารหรือสภาวธรรมในองค์ฌานโดย ความเป็นอนิจฺจํ ความไม่เที่ยง ทุกฺขํ ความทุกข์ ทนไม่ได้ อนตฺตา สภาพที่ไม่ใช่ตัวตน ตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงวิญญาณัญจายตนฌานตามลำดับ

๓. ทำอากิญจัญญายตนฌานให้เกิดขึ้นแล้ว อธิษฐานเข้านิโรธสมาบัติ ตลอด ๗ วัน ไม่ให้บริขารเป็นอันตราย จะออกได้เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับสั่งหา คณะสงฆ์ต้องการให้ออก หรือเมื่อครบ ๗ วันแล้ว

๔. เมื่อขณะจะเข้านิโรธสมาบัตินั้น ทำอรูปฌานขั้นสูงสุด คือ เนว สัญญานาสัญญายตนฌานให้เกิดขึ้นแล้ว จิต เจตสิกจะดับลงไม่ได้เกิดขึ้นตลอด ๗ วัน ตามอธิษฐาน ไม่มีสัญญา – ความจำ และไม่มีเวทนา – ความรู้สึกสุขทุกข์เลย

๕. เมื่อออกจากนิโรธสมาบัตินั้น จะเกิดผลจิตหนึ่งขณะก่อนแล้วจึงลงสู่ ภวังค์และกลับคืนความรู้สึกเหมือนสภาพเดิม ถ้าเป็นอนาคามีบุคคล ก็ออกด้วยอนาคามีผลจิตหนึ่งขณะแล้วจึงลงสู่ภวังค์ ถ้าเป็นอรหัตตบุคคลก็ออกด้วยอรหัตตผลจิตหนึ่งขณะแล้วจึงลงสู่ภวังค์ ต่อจากนั้นจึงเกิดวิถีจิต กลับสู่สภาพเดิม

บุคคลที่จะภาวนาให้ได้พระนิพพานนั้น เมื่อว่าโดยสังเขปแล้ว ผู้มีปัญญาย่อมปรารถนาและระลึกถึงพระนิพพานอันประเสริฐว่า จะมีใครหนอที่สามารถจะนำมวลสรรพสัตว์ให้ดำเนินไปถึงพระนิพพานได้ ก็จะทราบได้ว่า ผู้ที่สร้างสมอบรมบารมีมาและเคยปรารถนาให้ถึงพระนิพพานอยู่ทุกทิวาราตรีโดยมิได้ขาดสาย ต้องใช้เวลาอันยาวนานถึง ๒ อสงไขยและแสนมหากัลป์เช่นนี้ ก็หาสามารถจะนำสรรพสัตว์ไปสู่พระนิพพานได้ไม่ แต่สามารถนำตนให้บรรลุถึงพระนิพพานได้ คือบำเพ็ญบารมีเพียงเท่านี้ก็สามารถจะบรรลุนิพพานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ แต่ไม่สามารถจะนำสัตว์ให้บรรลุถึงพระนิพพานได้

ส่วนบุคคลใดได้สร้างสมอบรมบารมีได้ถึง ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย และแสนมหากัลป์ และได้อธิษฐานไว้ว่า “จะนำสัตว์ทั้งหลายไปสู่พระนิพพาน” ทุกวันคืนมิได้ขาดสาย ผู้นั้นจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถนำสัตว์ทั้งปวงให้ถึงซึ่งพระนิพพานได้

เหล่าสรรพสัตว์ที่พระพุทธเจ้าทรงนำไปสู่พระนิพพานได้นั้น ต้องสร้าง บารมีมาแล้วแสนมหากัลป์ จึงจะสามารถตามเสด็จองค์สมเด็จพระบรมศาสดาไปถึงพระนิพพานได้ ส่วนเหล่าบุคคลที่สร้างสมอบรมบารมีได้ ๒ อสงไขย แสนมหากัลป์จะได้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ และสามารถนำสรรพสัตว์ไปสู่พระนิพพาน อันเป็นสถานที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปแล้ว

พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงโปรดเหล่าสัตว์ตลอดทั้งเทวดาทั้งหลายให้เข้าถึงพระนิพพาน นับได้ ๒๔ อสงไขย และ ๑๑,๐๐๐ โกฏ กับอีก ๑๐๐,๐๐๐ คน

ว่าด้วยพระนิพพานอันประเสริฐ ภูมิทั้ง ๓ และอนันตจักรวาล อันเป็น กัณฑ์ที่ ๑๑ โดยย่อจบแล้ว

ผู้ใดถึงพระนิพพานแล้ว ผู้นั้นก็ไม่พินาศฉิบหาย ไม่แปรปรวนไปมา ไม่ท่องเที่ยวอยู่ในไตรโลกอีก เพราะพระนิพพานมีสภาพสิ้นกิเลสแล้ว พ้นจากทุกข์ ทั้งปวง เป็นสันติสุข ไม่เหมือนพวกเหล่าสัตว์ที่ท่องเที่ยวอยู่ในไตรโลกนี้

คณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเซียน

วิปัสสนากรรมฐาน

พระโยคาวจรที่ได้ฌานถึงปัญจมฌานแล้วจะเจริญวิปัสสนาให้เกิดญาณขึ้นนั้น ต้องเจริญสติปัฏฐาน ตั้งสติกำหนดนามรูป (ปรมัตถ์) เช่น ยกเอาองค์ฌานในฌานที่ วิปัสสนากรรมฐาน๕ มาเป็นอารมณ์กรรมฐาน จึงเกิดญานขึ้นตามลำดับ ดังนี้
๑. สัมมสนญาณ – ญาณพิจารณาเห็นรูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง- สภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา – บังคับบัญชาไม่ได้
๒. อุทยัพพยญาณ – ญาณรู้เห็นรูปนามเกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป
๓. ภังคญาณ – ญาณรู้เห็นรูปนามดับไป
๔. ภยญาณ – ญาณรู้เห็นรูปนามเป็นภัย
๕. อาทีนวญาณ – ญาณรู้เห็นรูปนามว่ามีโทษ
๖. นิพพิทาญาณ – ญาณรู้เบื่อหน่ายในรูปนาม
๗. บุญจิตุกัมยตาญาณ – ญาณอยากรู้อยากจะออกหนีจากรูปนาม
๘. ปฏิสังขาญาณ – พิจารณาถึงอุบายที่จะพ้นจากรูปนาม
๙. สังขารุเปกขาญาณ – ญาณรู้วางเฉยในรูปนาม
๑๐. อนุโลมญาณ – ญาณรู้เห็นรูปนามสอดคล้องตามญาณเบื้องต้น

ทั้ง ๑๐ ญาณนี้ เป็นวิปัสสนาญาณ

เมื่อพระโยคาวจรได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนเกิดวิปัสนาญาณบรรลุโคตรภุญาณแล้ว ต่อจากนั้นก็ถึงวิโมกข์-ความหลุดพ้นจากโลกีย์ข้ามขึ้นสู่ขั้น โลกุตตระ อันได้แก่อริยมรรคญาณ และวิโมกข์ทั้ง ๓ นี้ จัดเป็นสมุจเฉทวิมุติ คือตัดกิเลสได้เด็ดขาด ที่ได้ชื่อเป็น ๓ อย่างนั้น ก็ด้วยอาศัยวิโมกขมุข คือปากทางเข้าสู่วิโมกข์ หรือประตูเข้าสู่อริยมรรคญาณ ๓ ประการ อันได้แก่

๑. อนัตตานุปัสสนา พิจารณาเห็นนามรูปเป็นอนันตา ชัดกว่าลักษณะ อื่นๆ ความหลุดพ้นโดยวิธีนี้เรียกว่า สุญญตวิโมกข์
๒. อนิจจานุปัสสนา พิจารณาเห็นนามรูปเป็นอนิจจัง ชัดกว่าลักษณะ อื่นๆ ความหลุดพ้นโดยวิธีนี้เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์
๓. ทุกขานุปัสสนา พิจารณาเห็นนามรูปเป็นทุกขัง ชัดกว่าลักษณะอื่นๆ ความหลุดพ้นโดยวิธีนี้เรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์

วิสุทธิ ๗ กับญาณ ๑๖
ปาติโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล และปัจจยสันนิสสิตศีล ปาริสุทธิศีล ๔ นี้ เป็นวิสุทธิที่ ๑ คือสีลวิสุทธิ, อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ สมาธิทั้ง ๒ อย่างนี้เป็นวิสุทธิที่ ๒ คือ จิตตวิสุทธิ, การกำหนดพิจารณาเห็นสังขารเป็นเพียงนามรูป พร้อมทั้งกำหนดรู้ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐานของนามรูปนี้เป็นวิสุทธิที่ ๓ คือ ทิฏฐิวิสุทธิ และเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ, การกำหนดพิจารณาเห็นปัจจัยแห่งนามรูปนี้เป็นวิสุทธิที่ ๔ คือ กังขาวิตรณวิสุทธิและเป็นปัจจัยปริคคหญาณ, เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมกำหนดพิจารณาเห็นสังขารธรรมคือนามรูปอันเป็นไปในภูมิที่ ๓ พร้อมทั้งเหตุปัจจัยโดยพิจารณาญาณไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กับทั้งพิจารณาญาณความ เกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งนามรูป และพิจารณาเห็นลักษณะแห่งมรรค และสิ่งมิใช่มรรค ด้วยกำหนดเห็นวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ มีโอภาส (แสงสว่าง) เป็นต้นว่า เป็นศัตรูหรือเป็นอุปสรรคแห่งมรรค นี้เป็นวิสุทธิที่ ๕ คือ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ และเป็นสัมมสนญาณ (และตรุณอุทัยพพยญาณ), เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมสลัด ศัตรูคือนิวรณ์ ๕ ออกจากจิตใจได้แล้ว เจริญวิปัสสนาต่อไปตามลำดับวิปัสสนาญาณ ทั้ง ๙ คือ (พลว) อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภรญาณ อาทีนวญาณ นิพพิพาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ และอนุโลมญาณ นี้เป็น (วิปัสสนาญาณ ๙) และเป็นวิสุทธิที่ ๖ คือ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เมื่อวิปัสสนาญาณแก่กล้า โลกุตรอัปปนาจิต (มัคคจิต) จักเกิดขึ้นนั้น กาลจักเป็นดังนี้ สังขารุเปกขาญาณ จะพิจารณาเห็นนามรูปเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชัดแจ้ง แล้วก็จะหยั่งลงสู่ภวังค์ ต่อแต่นั้น มโนทวาราวัชชนะก็จะเกิดขึ้น กำหนดนามรูปเป็นอารมณ์ โดยเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต่อจากนั้นอนุโลมญาณก็จะเกิดขึ้น ๓ ขณะ คือขณะที่ ๑ เรียกบริกรรม ขณะที่ ๒ เรียก อุปจาร และขณะที่ ๓ เรียก อนุโลม ต่อแต่นั้น โคตรภูญาณก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ หน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ สามารถครอบงำโดยปุถุชน ก้าวข้ามโคตรปุถุชนไป ย่างก้าวขึ้นสู่โคตรแห่งพระอริยะ ต่อแต่นั้น โลกุตรมรรค คือมรรคญาณ ก็จะเกิดขึ้น กำหนดรู้ทุกขสัจจะ ละสมุทัยสัจจะ และทำให้แจ้งซึ่งนิโรธสัจจะ คือเห็นพระนิพพานได้แจ่มแจ้ง ถัดจากนั้น ผลจิตหรือผลญาณก็จะเกิดขึ้น ๒-๓ ขณะ แล้วหยั่งลงสู่ภวังค์ ต่อแต่นั้น ก็จะเกิดปัจจเวกขณญาณ พิจารณาทบทวนดูมรรค ผล นิพพานที่ได้บรรลุแล้ว กับทั้งพิจารณาทบทวนดูกิเลสที่ละได้แล้วและที่ยังเหลืออยู่ ญาณทั้ง ๓ ข้อสุดท้าย อันได้แก่ มรรคญาณ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณนี้ เป็นวิสุทธิที่ ๗ คือญาณทัสสนวิสุทธิ

อนึ่ง ถึงทราบว่าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือวิปัสสนาที่เป็นตัวพาไปสู่ อริยมรรคนั้น ได้แก่วิปัสสนาญาณ ๓ ประการ คือ สังขารุเปกขาญาณอย่างเก่าที่สุด ๑ อนุโลมญาณ ๑ โคตรภูญาณ ๑ ผู้จะได้บรรลุอริยมรรคญาณ จะต้องผ่านญาณทั้ง ๓ นี้ กล่าวคือ

ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า ได้บรรลุวิปัสสนาญาณแล้ว เมื่อวุฏฐานคามินีวิปัสสนากำลังเป็นไปก้าวหน้าอยู่ ย่อมจะเห็นนามรูปเป็นอนัตตาชัดแจ้ง แล้วจะก้าวเข้าสู่มรรคญาณทันที นี้ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์

ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า ได้บรรลุวิปัสสนาญาณแล้ว เมื่อวุฏฐานคามินีวิปัสสนากำลังเป็นไปก้าวหน้าอยู่ ย่อมจะเห็นนามรูป เป็นอนิจจังชัดแจ้ง แล้วจะก้าวเข้าสู่มรรคญาณทันที นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์

ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้า ได้บรรลุวิปัสสนา ญาณแล้ว เมื่อวุฏฐานคามินีวิปัสสนากำลังเป็นไปก้าวหน้าอยู่ ย่อมจะเห็นนามรูป เป็นทุกขังชัดแจ้ง แล้วจะก้าวเข้าสู่มรรคญาณทันที นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ อริยมรรค จึงมีชื่อได้ ๓ อย่าง คือ ชื่อสุญญตวิโมกข์ เป็นต้น ด้วยการพิจารณาเห็นอารมณ์คือนามรูปเป็นอนัตตาเป็นต้น จึงสามารถบรรลุได้ แม้อริยผลก็มีชื่อได้ ๓ อย่าง คือชื่อว่า สุญญตวิโมกข์เป็นต้น เช่นเดียวกัน ด้วยเป็นสิ่งที่เกิดจากอริยมรรคนั้น แม้ผลสมาบัติก็เรียกชื่อได้ ๓ อย่าง มีชื่อว่า สุญญตวิโมกข์เป็นต้น

คณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเซียน

สมถกรรมฐาน

การปฏิบัติกรรมฐานเพื่อจะให้สำเร็จฌานที่ ๑ เป็นต้นนั้น จะต้องกำหนดนิมิต ๓ อย่างเป็นอารมณ์ คือ บริกรรมนิมิต การทำกรรมฐานโดยกำหนดเอานิมิต คือเครื่องหมายหรือภาพจุดใดจุดหนึ่งเป็นอารมณ์ อุคคหนิมิต การทำสมถกรรมฐานกรรมฐานกำหนดนิมิตติดตาเป็นอารมณ์ ปฏิภาคนิมิต การทำกรรมฐานกำหนด นิมิตเทียบเคียงเป็นอารมณ์ และเจริญภาวนา ๓ อย่าง คือ บริกรรมภาวนา การภาวนาชั้นบริกรรม อุปจารภาวนา ภาวนาชั้นได้สมาธิจิตเกือบแน่วแน่ อัปปนาภาวนา ภาวนาชั้นได้สมาธิจิตแน่วแน่

ดังนั้นพระโยคาวจร (ผู้บำเพ็ญเพียร) เจริญภาวนาทำจิตให้เป็นสมาธิ จนถึงชั้นแน่วแน่ โดยการกำหนดนิมิตเป็นอารมณ์กรรมฐาน จนนิมิตนั้นติดตา นิมิตกรรมฐานปรากฏชัดเจนทุกส่วน เจริญภาวนาไปจนใกล้เกิดฌาน กล่าวคือ ได้บรรลุอุปจารภาวนาอันเป็นกามาพจรสมาธิ กำจัดนิวรณ์ทั้ง ๕ คือ ความพอใจ ในกามความพยาบาท ความง่วงเหงาหดหู่ท้อถอย ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ และความสงสัย โดยใช้องค์ฌาน ๕ กำจัด องค์ฌาน ๕ นั้น คือ วิตก ยกจิตขึ้นสู่นิมิตกรรมฐาน เพื่อกำจัดความหดหู่ท้อถอย วิจารณ์ พิจารณานิมิตกรรมฐาน เพื่อกำจัดความ สงสัย ปิติ อิ่มเอิบใจในนิมิตกรรมฐาน เพื่อกำจัดความพยาบาท สุข ความสบายใจ ในนิมิต เพื่อกำจัดความฟุ้งซ่าน เอกัคคตา จิตมีอารมณ์อย่างเดียวแน่วแน่ กำจัดความพอใจในกาม

พระโยคาวจรเจริญภาวนา ตั้งแต่ขั้นบริกรรมกำหนดนิมิตเป็นอารมณ์ จนถึงขั้นอัปปนา มิสมาธิจิตแน่วแน่ อันเป็นขั้นรูปาวจรสมาธิ ได้แก่ สำเร็จฌานมีฌานที่หนึ่ง เป็นต้น

เมื่อพระยาโยคาวจรจะทำฌานให้สูงขึ้นไปกว่าฌานที่หนึ่งนั้น จะต้องฝึกจิตให้คล่องแคล่วจนชำนาญ ซึ่งเรียกชื่อว่า วสี มี ๕ ประการ คือ อาวัชชนวสี ชำนาญในการกำหนดองค์ฌาน สมาปัชชนวสี ชำนาญในการเข้าฌาน วุฏฐานวสี ชำนาญในการออกจากฌาน อธิฏฐานวสี ชำนาญในการอธิษฐานการเข้าฌาน และปัจจเวกขณวสี ชำนาญในการพิจารณาฌาน

เมื่อได้ปฏิบัติสมถกรรมฐานตามหลักที่ถูกต้องแล้วจนได้บรรลุถึงฌานที่ หนึ่งแล้ว ฝึกวสีจนชำนาญในฌานที่หนึ่ง ถือฌานที่หนึ่งเป็นหลัก พยายามกระทำเพื่อบรรลุฌานข้างหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งเป็นฌานที่ประณีตสุขุมยิ่งขึ้นโดยลำดับ มีฌานที่สองเป็นต้น และในการเจริญสมถกรรมฐานนี้ มีอารมณ์ที่จะถึงกำหนดดังต่อไปนี้

รูปกรรมฐาน
กสิณ คืออารมณ์สำหรับเพ่ง มี ๑๐ อย่างคือ ปฐวีกสิณ อารมณ์คือดิน อาโปกสิณ อารมณ์คือน้ำ เตโชกสิณ อารมณ์คือไฟ วาโยกสิน อารมณ์คือลม นิลกสิณ อารมณ์คือสีเขียว ปีตกสิณ อารมณ์คือสีเหลือง โลหิตกสิณ อารมณ์คือสีแดง โอทาตกสิณ อารมณ์คือสีขาว อากาสกสิณ อารมณ์คืออากาศ อาโลกกสิณ อารมณ์คือแสงสว่าง

อสุภะ ๑๐ ประการคือ อุทธุมาตกอสุภะ ศพขึ้นพอง วีนิลกอสุภะ ศพที่ ขึ้นเขียว วิปุพพกอสุภะ ศพที่มีนํ้าเหลืองไหลออก วิจฉิททกอสุภะ ศพที่ขาดเป็นท่อนๆ วิกขายิตกอสุภะ ศพที่สุนัขป่ากัดกิน วิกขิตตกอสุภะ ศพที่เขาทิ้งไว้ หตวิกขิตตกอสุภะ ศพที่ถูกฟันแล้วทิ้งไว้ โลหิตกอสุภะ ศพที่มีเลือดไหลออก ปุฬุวกอสุภะ ศพที่มีหมู่หนอน อัฏฐิกอสุภะ ศพที่มีแต่กระดูก

อนุสสติ ๑๐ คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวดานุสสติ อุปสมานุสสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ อาณาปานสติ

อัปปมัญญา ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

อาหาเรปฏิกูลสัญญา กำหนดอาหารที่กลืนเข้าไปให้เห็นว่าเป็นน่าเกลียด ๑ จตุธาตุววัตถาน กำหนดพิจารณาสังขารที่ประชุมกันเป็นร่างกายให้เห็นเป็นเพียงธาตุสี่ ๑ และอรูปกรรมฐาน ๔ คือ อากาสานัญจายตนะ เพ่งอากาศเป็นอารมณ์ วิญญานัญจยตนะ เพ่งวิญญาณเป็นอารมณ์ อากิญจัญญายตนะ เพ่งความไม่มีเป็น อารมณ์ เนวสัญญานาสัญญายตนะ เพ่งสัญญาที่ละเอียดเป็นอารมณ์

ในกรรมฐานทั้ง ๔๐ นี้ ปฏิภาคนิมิตย่อมได้เฉพาะในกรรมฐาน ๒๒ คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อานาปานสติ ๑ ส่วนบริกรรมนิมิต และ อุคคหนิมิต ทั้งสองอย่างข้างต้นนั้น ย่อมได้ในกรรมฐานทั้ง ๔๐ คือได้ในกรรมฐาน ๒๒ และในกรรมฐานที่เหลืออีก ๑๘

กรรมฐานที่เหลือ ๑๘ อย่างนั้น คือ อนุสสติ ๘ ซึ่งได้แก่ พุทธานุสสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ธัมมานุสสติ ระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ สังฆานุสสติ ระลึกถึงพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สีลานุสสติ ระลึกถึงข้อปฏิบัติที่รักษาเป็นประจำ จาคานุสสติ ระลึกการบริจาคทานต่างๆ เทวดานุสสติ ระลึกถึงเทพยดาผู้รักษาภูมิสถานต่างๆ อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความเข้าไปสงบแห่งจิตใจ และมรณานุสสติ ระลึกถึงความตายที่จะมาถึงอย่างแน่นอน ต้องรีบเร่งประกอบคุณงามความดีเข้าไว้ อัปปมัญญา ๔ คือ เมตตา ความรักใคร่ กรุณา ความสงสาร มุทิตา ความพลอยดีใจ และ อุเบกขา ความวางเฉย อาหาเรปฏิกูล สัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ และ อรูปกรรมฐาน ๔ คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระโยคาวจรเจริญสมถกรรมฐานนั้น ต้องกำหนดบัญญัติเป็นอารมณ์
ซึ่งมี ๒ อย่าง คือ ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ (อัตถบัญญัติ) บัญญัติตามธรรมชาติ หรือตามที่ชาวโลกนิยมเรียกกัน เช่น ภูเขา แม่น้ำ รถ คน เป็นต้น ๑ และปัญญาปนโตบัญญัติ (สัททบัญญัติ) บัญญัติตามภาวะที่ปรากฏหรือตามเสียงที่ได้ยินมี ๖ อย่างคือ

๑.  วิชชมานบัญญัติ บัญญัติอาศัยสิ่งที่มีสภาวะปรากฏอยู่ เช่น รูป เวทนา เป็นต้น
๒. อวิชชมานบัญญัติ บัญญัติอาศัยสิ่งที่ไม่มีสภาวะปรากฏอยู่ เช่น ภูเขา ต้นไม้ เป็นต้น
๓. วิชชามาเนนอวิชชมานบัญญัติ บัญญัติอาศัยสภาวะที่ไม่มีปรากฏอยู่กับสิ่งที่มีสภาวะปรากฏอยู่ เช่น เสียงคน เป็นต้น
๔. อวิชชามาเนนวิชชมานบัญญัติ บัญญัติอาศัยสิ่งที่มีปรากฏอยู่ กับสิ่งที่ไม่มีสภาวะปรากฏอยู่ เช่น คนมีศรัทธา คนมีวิญญาณ เป็นต้น
๕. วิชชมาเนน่วิชชมานบัญญัติ บัญญัติอาศัยสิ่งที่มีสภาวะปรากฏอยู่ทั้งสองอย่าง เช่น จักษุวิญญาณ เป็นต้น จึงรวมเป็นบัญญัติ ๗
๖. อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ บัญญัติอาศัยสิ่งที่ไม่มีสภาวะปรากฏ อยู่ทั้งสองอย่างรวมกัน เช่น โอรส พระราชา เป็นต้น

อรูปกรรมฐาน
พระโยคาวจรที่จะเจริญภาวนาเพื่อให้ได้อรูปฌาน ต้องเพ่งกสิณ ๙ อันใดอันหนึ่งก่อน แล้วจึงเพ่งอากาศ ความว่างโดยบริกรรมว่า อนนฺโต อากาโส ๆ- อากาศไม่มีที่สุดๆ จนสำเร็จอรูปฌานที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนะ เพ่งอากาศ – ความว่างเป็นอารมณ์เดียวนิ่งแน่วแน่เฉยอยู่

เมื่อพระโยคาวจรจะเจริญภาวนาอรูปฌานที่ ๒ ต่อไปก็เพ่งเอาวิญญาณ คือ อากาสานัญจายตนะ จิตนั้นเป็นอารมณ์แล้วบริกรรมว่า วิญญาณํ อนนฺตํๆ- วิญญาณไม่มีที่สุดๆ จนกระทั่งสำเร็จอรูปฌานที่ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนะ เพ่งวิญญาณเป็นอารมณ์อย่างเดียวนิ่งแน่วแน่เฉยอยู่

เมื่อพระโยคาวจรจะเจริญภาวนาอรูปฌานที่ ๓ ต่อไปก็เพ่งเอานัตถิภาวะ- ความไม่มีอะไรๆ โดยบริกรรมว่า นตฺถิ กิญฺจิๆ นิดหนึ่งก็ไม่มี น้อยหนึ่งก็ไม่มี จนกระทั่งสำเร็จอรูปฌานที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนะ เพ่งความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์อย่างเดียวนิ่งแน่วแน่เฉยอยู่

เมื่อพระโยคาวจรจะเจริญภาวนาเพื่อให้ได้อรูปฌานที่ ๔ ซึ่งเป็นอรูปฌานชั้นสูงสุดนั้น ก็เพ่งสัญญาของอากิญจัญญายตนะที่ละเอียดประณีต จะว่ามีก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีก็ไม่เชิงมาเป็นอารมณ์แล้วบริกรรมว่า เจตํ สนฺตํ เจตํ ปณีตํๆ นี้สงบ นี้ประณีต จนกระทั่งสำเร็จตบะเป็นอรูปฌานที่ ๔ คือเนวสัญญายตนะ เพ่งสัญญาอันสงบละเอียดประณีตอย่างเดียวนิ่งเฉยอยู่

คณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเซียน

วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน

บุคคลอีกจำพวกหนึ่ง ปฏิบัติกว่าจะถึงพระนิพพานนั้นจะต้องผ่านความ ยากลำบาก เพราะจะต้องเจริญภาวนาจนได้โลกุตตรฌาน อันเป็นทางนำไปสู่นิพพาน จะต้องพิจารณาดูความหมุนเวียนของสัตว์ในภพต่างๆ ดูอดีต ปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพานอนาคต ปัจจุบัน กาลที่ล่วงไปแล้ว กาลที่จะมาภายหลัง หรือกาลบัดนี้ และจะต้องเจริญ กสิณภาวนา ๑๐ (คือ ดิน นํ้า ลม ไฟ สีเขียว สีขาว สีแดง สีเหลือง อากาศ และแสงสว่าง) ด้วยการปฏิบัติอย่างสูงจึงจะได้ฌาน ๕ เมื่อบรรลุฌานที่ ๕ แล้วก็ อาจจะมีฤทธิ์ดำดินหรือเหาะเหินเดินอากาศได้ทุกหนทุกแห่ง ที่ว่าได้สมาบัติ ๘ คืออะไร สมาบัติ ๘ ได้แก่รูปฌาน ๔ คือ ฌานสมาบัติที่ ๒ ฌานสมาบัติที่ ๓ ฌานสมาบัติที่ ๔ และอรูปฌาน ๔ คือ อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจาย ตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ และเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ผู้ได้สมาบัติ ๘ แล้ว จะมองเห็นสรรพสิ่งต่างๆ ได้ด้วยอำนาจอภิญญา เช่นเมืองฟ้า เมืองสวรรค์ ผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ มองเห็นความสุขในสวรรค์ชั้นอินทร์ ชั้นพรหมทั้งหลาย มองเห็นเหมือนอยู่บนฝ่ามือ ดุจผลมะขามป้อมวางอยู่กลางใจมือ

อภิญญา ๖ คืออะไร อภิญญา ๖ ได้แก่ ทิพพจักขุ ทิพพโสต เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และอาสวักขยญาณ ผู้ที่ได้อภิญญา ๖ จะแสดงฤทธิ์ได้ทุกอย่าง เช่น ยกแผ่นดินขึ้นไว้บนกลางฝ่ามือ ยกภูเขาพระสุเมรุออกจากที่ตั้งได้ จะทำสิ่งใดก็ได้ทุกอย่างโดยไม่ยาก จะมองเห็นได้ไกล จะดูสิ่งใดๆ ก็ได้โดยไม่มีสิ่งใดมาปิดบัง เห็นเบื้องบนถึงพรหมโลก มองดูเบื้องตํ่าถึงนรก ภายใต้นํ้า และลมตลอดถึงมองออกไปมองข้ามมาด้วยทิพยจักขุญานอย่างชัดเจน แม้เสียงที่พูดจะเป็นเสียงเจรจาของหมู่เทวดา อินทร์พรหมในเมืองฟ้าเมืองสวรรค์ หรือเหล่า สัตว์ที่อยู่ในนรกก็ตาม ตลอดทั้งปลา เนื้อ นก สัตว์ดิรัจฉานชนิดไหนก็ตาม ก็จะได้ยินอย่างชัดเจน สามารถรู้จิตใจของผู้อื่นได้ รู้โดยไม่มีอะไรมาปิดบังได้ แม้ใจนั้นจะเป็นใจของเทวดา อินทร์ พรหม หรือใจของสัตว์ต่างๆ ก็ตาม ก็จะรู้อย่างกระจ่าง อีกทั้งระลึกชาติได้ รู้จักสถานที่อยู่ในชาติก่อนติดต่อกันหลายๆ ชาติ ที่เปลี่ยนแปลง เกิด ตาย โดยไม่มีสิ่งใดมาปิดบังได้ ทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลัง ตลอดร้อยกัลป์ รู้การเกิดขึ้นและตายมาแล้ว ดุจมองดูมะขามป้อมอยู่บนฝ่ามือฉะนั้น (อภิญญา ๕ เบื้องต้นนี้เป็นชั้นโลกิยะ)

เมื่อได้บรรลุอภิญญาที่ ๖ (อันเป็นชั้นโลกุตระ) แล้วสามารถรู้ความสิ้น อาสวกิเลส คือความเศร้าหมองใจไม่มีจิตคิดจะเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารอีกต่อไป มีแต่มุ่งมั่นเข้าสู่พระนิพพานอย่างเดียว สามารถกำจัดรูปขันธ์ ๒๕ เวทนาขันธ์ ๕ สัญญาขันธ์ ๒๐ สังขารขันธ์ ๔ และวิญญาณขันธ์ ๑๒ กำจัดมลทินทั้งปวงมุ่งไปสู่พระนิพพานอันประเสริฐแต่อย่างเดียว

การที่จะได้ฌานตามที่กล่าวมาต้องใช้ความพยายามอย่างหนักในการ เจริญภาวนา และเนื่องด้วยเป็นการยากมากที่จะกล่าวให้รู้อย่างแท้จริง

คณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเซียน

นิพพาน

นิพพานสมบัติเป็นสุขเกษมยิ่งนัก หาที่จะเปรียบปานมิได้ สมบัติพระอินทร์พระพรหม ถ้าจะเอามาเปรียบกับนิพพานสมบัติแล้ว ก็เป็นประดุจแสงหิ่งห้อยมาเปรียบกับแสงพระจันทร์ หรือมิฉะนั้นก็ดุจนํ้าติดอยู่ปลายผม เปรียบกับนํ้านิพพานในมหาสมุทรซึ่งลึกถึง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หรือ มิฉะนั้นก็ดุจเอาฝุ่นเปรียบกับเขาพระสุเมรุ จักรรัตนวระ อันประเสริฐแห่งพระนิพพานนั้นนับไม่ถ้วนเลย สมบัติในพระนิพพานนั้นมีสุขเหลือล้น หาอันใดเปรียบปานมิได้ ไม่มีการเจ็บไข้ได้ป่วยอะไร ไม่เฒ่าไม่แก่ ไม่ตาย ไม่ฉิบหาย ไม่พลัดพรากจากกันสักอย่าง เป็นสมบัติที่เลิศกว่าสมบัติ ในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก

นิพพานนั้นมี ๒ อย่าง คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดับกิเลสได้สิ้น แต่ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ยังเหลืออยู่

อีกอย่างหนึ่งคือ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดับกิเลส ได้สิ้น ทั้งขันธ์ ๕ ก็ไม่เหลือ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้น เมื่อคราวเสด็จนิพพานนั้น ทรงบรรลุถึงนิพพาน ๓ อย่างคือ กิเลสนิพพาน ดับกิเลส ขันธนิพพาน ดับขันธ์ ธาตุนิพพาน ดับธาตุ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้นเมื่อตรัสรู้ก็ตรัสรู้พระ สัพพัญญุตญาณภายใต้ต้นพระรัตนมหาโพธิ์ในวันเพ็ญเดือน ๖ ปีวอก วันพุธ ยามใกล้รุ่ง ตรงกับวันพฤหัสบดีของไทย ลาวว่า วันเต่ายี ในอนุราชฤกษ์ ในวันที่พระพุทธองค์ตรัสรู้นั้น พระจันทร์โคจรในราศีพฤศจิก เสวยฤกษ์ไพสาขะ ในกลางคืนวันพุธนั้น พระอังคารพระพุธ พระเกตุ และพระอาทิตย์โคจรในราศีพฤษภราศีเดียว พระศุกร์โคจรในราศีเมถุน พระเสาร์โคจรในราศีกรกฎ พระพฤหัสบดีออกก่อน

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่พระนิพพานนั้น เสด็จในวันเพ็ญเดือน ๖ ปีมะเส็ง ตรงกับวันอังคารของไทย ลาวว่าวันกาบยี่ยามใกล้รุ่ง เสวยฤกษ์ไพสาขะ พระอังคาร พระเกตุ และพระอาทิตย์ โคจรในราศีพฤษภ พระพฤหัสบดี และพระจันทร์โคจรราศีพฤศจิก พระพุธและพระศุกร์โคจรในราศีเมถุน พระเสาร์ โคจรในราศีมังกรออกก่อนพระอาทิตย์ เหตุการณ์เช่นนั้นชื่อว่า ขันธนิพพาน ได้ปรากฏแก่พระพุทธเจ้าของเราแล้ว พระธาตุทั้งมวลจะเสด็จมาประชุมรวมกัน ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และปรากฏนิมิตเป็นพระพุทธองค์ขึ้นอีก ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทวดาและมนุษย์แล้ว จึงเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานในวันเพ็ญ เดือน ๖ ปีชวด ไพสาขฤกษ์ ไทยว่า รวายสัน พระอาทิตย์ พระพฤหัสบดี พระเกตุ โคจรในราศีพฤษภ พระศุกร์โคจรในราศีเมถุน พระพุธโคจรในราศีกรกฎ พระเสาร์โคจรในราศีสิงห์ พระอังคารโคจรในราศีมีน พระจันทร์โคจรในราศีพฤศจิก เหตุการณ์อย่างนั้นชื่อว่าธาตุนิพพาน ได้มาถึงพระพุทธเจ้าของเราแล้ว

นิพพานมี ๓ ชื่อ คือ สุญญตนิพพาน – ดับโดยสูญไป อัปปณิหิตนิพพาน- ดับโดยไม่มีที่ตั้งแห่งทุกข์ – อนิมิตตนิพพาน – ดับโดยไม่มีเครื่องหมาย

หนทางที่จะไปสู่นิพพานนั้นคือ มรรค ๔ ผล ๔ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค- โสดาปัตติผล สกิทาคามีมรรค สกิทาคามีผล อนาคามีมรรค อนาคามีผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล

ในหนทางทั้ง ๘ สายนี้ใครดำเนินไปได้ ผู้ที่ดำเนินไปได้คือ ผู้ที่ละกิเลสได้ ๓๐๐ คือ รูปกิเลส ๑๘ อรูปกิเลส ๕๓ อาการกิเลส ๔ รวมเป็น ๗๕ ในกิเลสทั้ง ๗๕ นี้ แยกออกเป็นกิเลสภายใน ๗๕ กิเลสภายนอก ๗๕ จึงเป็น ๑๕๐ ในจำนวน ๑๕๐ นี้จัดเป็นฝ่ายเห็นผิดว่าเป็นตัวเป็นตน ๑๕๐ ความสงสัยลังเลใจ ๑๕๐ จึงเป็น ๓๐๐ ผู้ที่ละกิเลสทั้ง ๓๐๐ ได้เด็ดขาด ชื่อว่าได้ดำเนินถึงโสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผล จึงสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบัน คือผู้ถึงกระแสพระนิพพานเป็นครั้งแรก
ผู้ที่ละกิเลส ๓๐๐ ดังกล่าวมานั้นได้เด็ดขาด และยังละกิเลสอีก ๔๕๐ คือ ความกำหนัด ๑๕๐ ความโกรธฉุนเฉียว ๑๕๐ ความลุ่มหลง ๑๕๐ จึงรวมเป็น ๔๕๐ ผู้ละกิเลสได้อย่างนี้ชื่อว่า ได้ดำเนินถึงสกิทาคามีมรรค สกิทาคามีผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระสกิทาคามี คือผู้จะมาเกิดอีกครั้งเดียวก็จะนิพพาน

ผู้ที่ละกิเลส ๔๕๐ อย่างดังกล่าวมาได้เด็ดขาดและยังละความกำหนัดในกาม ๑๕๐ ความผูกใจปองร้าย ๑๕๐ จึงรวมเป็น ๓๐๐ เมื่อรวมกับที่ละได้เด็ดขาดมาก่อนจึงเป็น ๗๕๐ ผู้ละกิเลสได้อย่างนี้ชื่อว่าผู้ดำเนินถึงอนาคามิมรรคอนาคามิผล จึงสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระอนาคามี คือผู้ไม่หวนกลับมาสู่กามภูมิ จะไปถึงพรหมโลกชั้นสุทธาวาส แล้วก็จะนิพพานที่นั้น

ผู้ละกิเลส ๗๕๐ อย่างดังกล่าวมาได้เด็ดขาด และยังละกิเลสอีก ๗๕๐ คือ ความกำหนัดรักใคร่ พอใจในรูป ๑๕๐ ความกำหนัดรักใคร่พอใจในสิ่งที่มิใช่รูป ๑๕๐ ความเย่อหยิ่งถือตัว ๑๕๐ ความฟุ้งซ่าน ๑๕๐ ความไม่รู้ ๑๕๐ เมื่อรวมกับที่ละได้แล้ว ๗๕๐ จึงเป็น ๑,๕๐๐ ผู้ที่จะได้อย่างนี้ชื่อว่า ดำเนินถึงอรหัตตมรรค อรหัตตผล จึงสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ขั้นพระอรหันต์ คือผู้หมดกิเลส บริสุทธิ์ถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์ สำเร็จกิจทุกอย่าง จึงชื่อว่า เข้านิพพาน ดับกิเลสทุกอย่าง โดยไม่เหลือ

คณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเซียน

กำเนิดโลก

ฝนตกลงน้ำท่วมถึงพรหมโลกเป็นเวลา ๑ อสงไขย ฝนนั้นชื่อ สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัลป์ ต่อจากนั้นลม ๔ ชนิด ก็พัดห้วงให้เป็นภูมิเหมือนเก่าขึ้น ลม ๔ ชนิด คือ ปรจิตตวาต ภัตรวาต จักราวาต (ในมหากัปปโลกสัณฐานบัญญัติว่า ลม ๔ จำพวกนั้น คือ จำพวกหนึ่งชื่อ วาต จำพวกที่สองชื่อ วิสมวาต จำพวกที่สามชื่อ ปัจจวาต กำเนิดโลกจำพวกที่สี่ชื่อ วาตวัตตะ)พัดไปมาจนละลอกกลายเป็นแผ่นเหมือนปุ่มเปีอก กลายเป็นกลละเหมือนน้ำข้าว กลายเป็นอัมพุทะเหมือนข้าวเปียก กลายเป็นเปสิเป็นก้อน เป็นเปือก จนกระทั่งกลายเป็นภูมิทองเหมือนเดิม ดูแพรวพราวเป็นประกายงามยิ่งนัก เกิดเป็นปราสาทแก้วทั่วทุกแห่งเหมือนแต่ก่อน ชั้นนี้ เรียกว่ามหาพรหมภูมิ พรหมทั้งหลายก็ลงมาอยู่ชั้นนั้นเหมือนเดิม นํ้าก็แห้งลง ลมทั้ง ๔ ก็เร่งพัดนํ้าเป็นละลอกจนกลายเป็นเผณุ (ฟอง) จากเผณุกลายเป็นกลละเหมือนนํ้าข้าว จากกลละกลายเป็นอัมพุทะเหมือนข้าวเปียก จากอัมพุทะกลายเป็นเปสิ เป็นก้อนแล้วก็กลายเป็นแผ่นภูมิทองดังเก่า ดูแล้วงดงามยิ่งนักเหมือนแต่ก่อน เกิดเป็นปราสาทแก้ว ทุกแห่งเหมือนเดิม ชั้นนี้เรียกชื่อว่า พรหมปโรหิตาภูมิ

พรหมก็มาอยู่ในชั้นนั้นเหมือนเดิม นํ้าก็แห้งลงเรื่อยๆ ลมทั้ง ๔ ก็พัดนํ้าให้กลายเป็นฟอง จากฟองกลายเป็นตม และตมก็กลายเป็นข้น เป็นก้อนแล้วก็กลายเป็นแผ่นดินเหมือนเดิม ดูงดงามยิ่งนัก เกิดเป็นปราสาทแก้วทั่วทุกแห่งเหมือนเดิม ชั้นนี้เรียกว่า พรหมชั้นปาริสัชชาภูมิ ฝูงพรหมก็มาอยู่ชั้นเดิม น้ำก็แห้งลงเรื่อยๆ ลมทั้ง ๔ ก็พัดจนกลายเป็นฟอง จากฟองก็เป็นตม จากตมก็กลายเป็นก้อน แล้วก็กลายเป็นแผ่นภูมิทองอย่างเก่าดูงดงามยิ่งนัก เกิดเป็นปราสาทแก้ว ทั่วทุกแห่งเหมือนเดิม ชั้นนี้เรียกว่า ปรนิมิตวสวัดดี ฝูงเทพยดาก็ลงมาอยู่เหมือน เก่า ชั้นตํ่าลงมาเรียกว่า กามภูมิ และนํ้าก็แห้งลงเรื่อยๆ ลมทั้ง ๔ ก็พัดมากกว่าเดิม จนกลายเป็นแผ่นภูมิทองและเป็นปราสาทแก้ว ทั่วทุกแห่งเหมือนเดิม ชั้นนี้เรียกว่า นิมมานรดี ฝูงเทพยดาก็ลงมาอยู่เต็มวิมานเหมือนเก่า นํ้าก็แห้งลงเรื่อยๆ และลมทั้ง ๔ ก็พัดอยู่เหมือนเดิมจนข้นขึ้นเป็นแผ่นดินทอง เกิดเป็นปราสาทแก้วและวิมานของเทพยดาเหมือนเก่า ชั้นนี้เรียกว่า ดุสิตา ฝูงเทวดาก็ลงมาแต่ชั้นบนมาอยู่เหมือนเดิม นํ้าก็แห้งลง ลมทั้ง ๔ ก็ยังพัดเหมือนเดิม นํ้าขุ่นข้นงวดเข้าเป็นแผ่นดิน ทองดูเป็นประกายงาม เกิดเป็นวิมานแก้วของเทวดาเหมือนเก่า ชั้นนี้เรียกว่า ยามา เทวดาทั้งหลายก็จุติจากเบื้องบนลงมาอยู่เหมือนดังกล่าวมา

เมื่อนํ้าแห้งลงไปเรื่อยๆ ลมทั้ง ๔ ชนิดก็พัดจนเป็นฟอง จากฟองก็เป็นตม จากตมก็ข้นก็กลายเป็นก้อนแข็ง จนในที่สุดก็กลายเป็นแผ่นดินทองเหมือนเดิม ดูเป็นประกายงดงามยิ่งนักเหมือนแต่ก่อน เกิดเป็นปราสาททั่วทุกแห่ง ชั้นนี้ชื่อว่า ดาวดึงส์ มีเทวดาลงมาอยู่เหมือนแต่ก่อน น้ำก็ยิ่งลดลงแห้งไปเรื่อยๆ ลมทั้ง ๔ ชนิด ก็พัดจนเป็นฟอง เป็นตม และข้นเป็นก้อน ที่สุดจนกลายเป็นแผ่นดินเหมือนเก่าดูเป็นประกายงดงาม เกิดเป็นปราสาทแก้ว ทุกแห่งหน เป็นเขาพระสุเมรุราช สูงใหญ่เหมือนเดิม เกิดเป็นเขาทั้งเจ็ดเพื่อจะล้อมรอบเขาพระสุเมรุ และแม่นํ้า สีทันดรระหว่างเขาทั้งเจ็ดนั้น ล้อมรอบด้วยทวีปใหญ่ ๔ ได้แก่ บุรพวิเทหทวีป อมรโคยานทวีป ชมพูทวีป และอุตรกุรุทวีป และทวีปเล็กอีก ๒,๐๐๐ ล้อมรอบ เกิดเป็นป่าหิมพานต์ เกิดสระใหญ่ ๗ สระ ได้แก่ อโนดาต กัณณมุณฑะ รถการกะ ฉัททันต์ กุณาละ มันทากินี และสีหปปาตะ เกิดแม่นํ้าใหญ่ทั้ง ๕ สาย คือ คงคา อจิรวดี ยมุนา สรภู และมหี เกิดเป็นจักรวาล เกิดเป็นดาวดึงส์ สวรรค์ของพระอินทร์ เกิดเป็นจาตุมหาราชิกาภูมิ อันเป็นเมืองของพระจตุโลกบาล ต่อจากนั้นก็เกิดเป็นโลกมนุษย์ เกิดเป็นนรก เกิดเป็นเปรตวิสัย เกิดเป็นดิรัจฉานภูมิ เกิดเป็น อสุรกายภูมิ เหมือนที่เคยเกิดมาแล้ว เมื่อก่อนสูงใหญ่เท่าไร ก็สูงใหญ่เท่านั้น ไม่แตกต่างจากปางก่อนเลย ลมพัดเป็นฟองนํ้าซัดสาดไปมามีที่ตํ่ามีที่สูง มีที่ราบที่ตํ่ากลายเป็นแม่น้ำ ที่สูงกลายเป็นภูเขา ที่ราบกลายเป็นเรือกสวนไร่นา ป่าในชมพูทวีปที่เราอาศัยอยู่นี้จะเกิดเป็นพระมหาโพธิ์ก่อน ส่วนว่าไฟไหม้ก็ไหม้ถึงที่สุด สถานที่นั้นก็เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ทุกพระองค์ และสถานที่ว่านั้น ก็กลายเป็นชมพูทวีป พื้นที่สูงกว้างใหญ่ เมื่อดอกบัวจะเกิดก็เกิดที่นั้น มนุษย์เราจะเกิดก็เกิดที่นั้นโดยมาจากพรหมโลก

เมื่อนํ้าแห้งลงฝุ่นดีในผืนแผ่นดินนี้ได้มีกลิ่นรสอันโอชาอร่อยยิ่งนัก เหมือนดังละออง นิรุทกปายาส เหล่าพรหมที่สถิตอยู่ในชั้นอาภัสสรพรหม สิ้นบุญแล้วก็จุติจากอาภัสสรพรหมลงมาเกิดเป็นมนุษย์ ผุดเกิดมาเอง คนเหล่านั้น ยังไม่เป็นเพศหญิงเพศชายเหมือนดั่งพรหม มีรัศมีแผ่ซ่านรุ่งเรืองสดใสงดงาม มีฤทธิ์สามารถไปทางอากาศได้ ไม่ได้กินอะไร ความอิ่มเอิบใจเป็นอาหารต่างข้าวและนํ้า มีอายุยืนได้ ๑ อสงไขย

กาลผ่านมาโดยลำดับก็เป็นผู้หญิงผู้ชายเหมือนเมื่อก่อน พรหมทั้งหลายเห็นเช่นนั้นต่างก็พากันชิมรสดินต่างข้าวและนํ้าทุกวัน ด้วยเหตุที่พวกพรหมมีความคิดอันเป็นอกุศล ๓ อย่าง เกิดขึ้น คือ คิดทางกาม คิดพยาบาท คิดเบียดเบียน จึงทำให้รัศมีในร่างกายหายไปหมดสิ้น ความมืดจึงปกคลุมไปทั่วแผ่นดินมองไม่เห็นกัน เมื่อพวกเขาเห็นมืดมิดเช่นนั้นจึงรำพึงรำพันกันว่า พวกเราจะทำอย่างไร จึงจะเห็นหนทาง ด้วยอำนาจบุญกุศลของเขาเหล่านั้นจึงเกิดเป็นคืนเป็นวัน เป็นเดือน เหมือนแต่ก่อน และด้วยอำนาจอธิษฐานนั้น จึงเกิดเป็นดวงตะวันขึ้นดวงหนึ่งสูงได้ ๕๐ โยชน์ มีปริมณฑลได้ ๑๕๐ โยชน์ ทำให้ฝูงชนทั้งหลายได้มองเห็นหนทาง ได้มองเห็นกันและกัน และแสงของตะวันก็สว่างไสวรุ่งเรืองอยู่เช่นนั้น ฝูงชนต่างก็ยินดีปรีดายิ่งนัก จึงพากันกล่าวว่า เทพบุตรองค์นี้สามารถบรรเทาความมืดได้ ควรเรียกว่า พระสุริยะ (พระอาทิตย์)

เมื่อพระอาทิตย์ให้ความสว่างไสวตลอดวันแล้ว จึงพากันเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุราช พอลับเขาพระสุเมรุราชแล้วก็กลับมืดขึ้นอีก คนทั้งหลายเกิดความกลัวจึงกล่าวว่าเทพบุตรได้ให้ความสว่างรุ่งเรืองแจ่มจ้านับว่าเป็นการดีแล้ว แต่ยังมีมืดอยู่อีก น่าจะมีเทพบุตรที่สามารถบันดาลให้มีแสงสว่างในเวลากลางคืนได้ เหมือนเทพบุตรที่ลับสายตาไปแล้วนั้น

ด้วยอำนาจอธิษฐานของคนเหล่านั้นจึงเกิดดวงจันทร์ดวงหนึ่งใหญ่ มี แสงสว่างนวลงามยิ่งนัก มีขนาดย่อมกว่าดวงตะวัน ๑ โยชน์ ขึ้นสมดังปรารถนา

เดือนและตะวันคือ พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็มาจากพรหมโลกเพื่อ ส่องแสงสว่างให้คนในโลกนี้ได้เห็น เมื่อพวกเขาได้เห็นพระจันทร์และพระอาทิตย์ เช่นนั้นแล้ว ก็มีความยินดียิ่งนัก และปลาบปลื้มปิติยิ่งกว่าเก่า และกล่าวกันว่า เทพบุตรองค์นี้สามารถให้แสงสว่างให้เราได้เห็นหนทางดังใจปรารถนาประหนึ่ง รู้จิตใจของพวกเรา ที่เกิดมีแสงสว่างขึ้นในกลางคืน ควรเรียกว่า จันทรเทพบุตร เมื่อเกิดมีพระจันทร์ พระอาทิตย์แล้ว จึงเกิดดาวนักษัตร ๒๗ ดวง พร้อมด้วยหมู่ดาวดารากรทั้งหลาย

ต่อมาจึงเกิดมีวัน คืน เดือน ฤดู และปีทั้งหลายตั้งแต่บัดนั้น ผืนแผ่นดิน รุ่งเรืองท้องฟ้าระยิบระยับด้วยเดือน ตะวัน ตลอดปีเป็นอนันตอสงไขย เรียกว่า อสงไขยกัลป์

เมื่อพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาวต่างๆ เกิดขึ้นครั้งแรกนั้น วัน คืน เดือน ปี ก็เกิดขึ้นครั้งแรกเช่นเดียวกัน ถึงวันเพ็ญเดือน ๔ พระอาทิตย์ก็โคจรมาในราศีมีนเสวยฤกษ์อุตตาภัทร์ พระจันทร์โคจรครั้งแรกในราศีกันย์ เสวยฤกษ์ อุตตรผคุณขึ้น ทำให้เห็นหนทางได้ ๔ ทวีป พร้อมกันทั้งหมด พระอาทิตย์ก็ส่องแสงให้เห็น ๒ ทวีป พระจันทร์ก็ส่องแสงให้เห็น ๒ ทวีป หมุนเวียนไปเท่าๆ กัน

เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นในแผ่นดินชมพูทวีปของเรานี้รวมทั้งแผ่นดินบุพวี เทหทวีป คนใน ๒ ทวีป นั้นก็จะเห็นดวงอาทิตย์ เมื่อดวงอาทิตย์ตกในแผ่นดินของเรานี้ ก็จะมองเห็นรัศมีพระจันทร์ในอุตตรกุรุทวีปและอมรโคยานทวีป ในเวลาเดียวกัน ทั้งสองทวีป ตั้งแต่นั้นมาคนทั้งหลายจึงได้มองเห็นกันอยู่ในผืนแผ่นดินจนถึงไฟไหม้กัลป์ และเกิดกัลป์ใหม่ เรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัลป์ ทั้ง ๔ อสงไขย ชื่อว่า มหากัลป์

ในปีหนึ่งมี ๓ ฤดู คิมหันตฤดู หรือฤดูร้อน มี ๔ เดือน นับตั้งแต่เดือน ๔ แรม ๑ คํ่า ถึงเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ คํ่า วสันตฤดู หรือฤดูฝน มี ๔ เดือน นับตั้งแต่เดือน ๘ แรม ๑ คํ่า ถึงเดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ คํ่า เหมันตฤดู หรือฤดูหนาว มี ๔ เดือนนับตั้งแต่ เดือน ๑๒ แรม ๑ คํ่า ถึงเดือน ๔ ขึ้น ๑๕ คํ่า

ฤดูหนึ่งมี ๒ กาล รวมเป็น ๖ กาล คือ วสันตกาล นับตั้งแต่เดือน ๔ แรม ๑ คํ่า ถึงเดือน ๖ ขึ้น ๑๕ คํ่า มีนํ้าให้โทษคนทั้งหลาย คิมหันตกาล นับตั้งแต่เดือน ๖ แรม ๑ คํ่า ถึงเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ มีลมและไฟเป็นกำลังแก่คนทั้งหลาย วัสสิกกาล นับตั้งแต่เดือน ๘ แรม ๑ คํ่า ถึงเดือน ๑๐ ขึ้น ๑๕ คํ่า มีลมและไฟให้โทษคนทั้งหลาย สรทกาล นับตั้งแต่เดือน ๑๒ แรม ๑ คํ่า ถึงเดือน ๒ ขึ้น ๑๕ คํ่า มีไฟและนํ้าให้โทษ สิสิรกาล นับตั้งแต่เดือน ๒ แรม ๑ คํ่า ถึงเดือน ๔ ขึ้น ๑๕ คํ่า มีนํ้าให้โทษ

ในกาลทั้ง ๖ นี้ วสันตกาลเป็นก่อน (มีก่อน) คนทั้งหลายที่เกิดในแผ่นดิน ก็กินง้วนดินอันโอชะตามฤดูกาลเหล่านี้

โดยเหตุที่ปวงชนประมาณลืมตัวไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ไม่รู้จักความดี ความชั่ว ง้วนดีนที่พวกเขากินนั้นก็จมลงไปใต้ดิน มันจึงพูนขึ้นในกลีบดิน ดุจดอกเห็ดที่ตูม แล้วก็จมหายลงไปในแผ่นดิน เกิดเป็นเถาวัลย์ ที่ชื่อ ภทาลตา ขึ้นมาแทนคล้ายผักบุ้ง ซึ่งมีโอชารสยิ่งนัก คนทั้งหลายจึงกินเถาวัลย์นั้นต่างข้าวทุกวัน

เมื่อเวลาผ่านมานานเข้า คนทั้งหลายก็ประมาทมัวเมาไม่รู้จักบาปบุญ คุณโทษ เถาวัลย์ภทาลตาที่ว่านั้นก็หายไป ข้าวสาลีก็เกิดขึ้นเป็นลำต้น เป็นหน่อเป็นตอ เป็นข้าวสารขาวเองไม่ต้องทำ ไม่ต้องฝัด ไม่ต้องตาก ไม่มีแกลบ ไม่มีรำ เป็นข้าวสารเอง พอเอาข้าวสารนั้นใส่หม้อตั้งบนก้อนเส้าที่ชื่อว่า โชติกปาสาณ ไฟก็ลุกโชติช่วงขึ้นเอง ถ้าปรารถนาอยากจะได้กับข้าวอะไรก็จะได้กับข้าวทุกอย่าง เมื่อคนกินเข้าไปแล้วก็เกิดมีอาหารเก่าอาหารใหม่ แล้วก็ถ่ายเป็นอุจจาระออกมา เหมือนอย่างมนุษย์เรา ตั้งแต่นั้นจนกระทั้งบัดนี้ เมื่อพวกเขากินง้วนดินก็ดี กลีบดิน ซึ่งเหมือนดอกเห็ดที่ตูมก็ดี เชือกเถาภทาลตาก็ดี หามีอุจจาระไม่ เหมือนเทพยดาเสวยข้าวทิพย์ ฉะนั้น เมื่อกินอาหารจนอิ่มดีแล้ว อาหารนั้นก็จะถูกไฟธาตุเผา แล้วก็จะละลายหายไปในร่างกายสิ้น เมื่อใดได้กินข้าว เมื่อนั้นก็จะมีอุจจาระ

เมื่อได้กินข้าวแล้วก็เกิดราคะความกำหนัดตามวิสัยโลกธรรมของชายหญิง ตั้งแต่บัดนั้นมา ผู้ที่มีความโลภมากก็กลายเป็นสตรีไป ผู้ที่มีความโลภพอสมควรก็กลายเป็นบุรุษ บุรุษและสตรีก็เกิดขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เมื่อเกิดมีบุรุษสตรีขึ้นเช่นนั้นแล้ว พอเห็นกันเข้าก็มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ ชอบพอกันแล้วก็ร่วมเสพกามกันตามธรรมดาของโลก เหมือนกับที่มีมาในกัลป์ก่อนๆ ต่อจากนั้นจึงหาที่ปลูกบ้านปลูกเรือนอยู่ เพื่อปิดบังความละอายที่เป็นสภาพน่าละอายนั้น ครั้นเป็นคู่สามีภรรยากันแล้ว ก็ปลูกบ้านปลูกเรือนอยู่กันตามลำพัง แล้วก็ไปหาเอาข้าวสาลีมาไว้มากๆ เพื่อเก็บกินได้หลายๆ วัน เวลานั้นข้าวสาลีก็กลายเป็นแกลบเป็นรำเหมือนข้าวเปลือกของเราปัจจุบันนี้ ส่วนสถานที่ที่เคยงอกแตกออกเป็นข้าวสารก็ไม่งอกเหมือนอย่างเคย คนทั้งหลายเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น แล้วก็ประหลาดใจ จึงชุมนุมปรึกษาหารือเจรจาตกลงเพื่อแบ่งที่ดินทำกินกันว่า เมื่อก่อนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรม ปรารถนาสิ่งใดก็ได้ดังปรารถนา ไม่ได้กินอาหารอะไรก็ยังอิ่ม จะไปทางไหนก็ไปทางอากาศ มีที่นอนที่อยู่ก็เป็นสุข สำราญ ร่างกายก็มีรัศมีรุ่งเรืองไปทั่วจักรวาล ง้วนดินก็เกิดขึ้นมาเป็นประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุเราชวนกันโลภอาหารกินง้วนดิน รัศมีที่เคยรุ่งเรืองอยู่ในร่างกายเราก็หายไปหมดสิ้น ทำให้มืดมิดมองไม่เห็นกันจึงปรารถนาแสงสว่างอีก พระอาทิตย์และพระจันทร์จึงบังเกิดขึ้นให้แสงสว่างแก่พวกเรา เรากระทำความผิดอีก ง้วนดินก็หายไปกลายเป็นดังดอกเห็ดตูมขึ้นมาจากกลีบดินให้เรากินต่างข้าว เรากลับพากันทำความชั่วต่างๆ นานา กลีบดินที่เหมือนดอกเห็ดก็หายไปกลายเป็นเถาวัลย์ชื่อ ภทาลตา ขึ้นมาให้เรากินต่างอาหาร เรากระทำความชั่วหนักเข้าไปอีก เถาวัลย์ภทาลตาก็หายไปสิ้นอีก กลายเป็นข้าวสาลีที่ไม่ได้ปลูก หากเป็นข้าวสารมาเองให้เรากินเป็นอาหาร ข้าวสาลีที่ว่านี้ เราเก็บเอาจากที่ใดในตอนเย็น เช้าวันรุ่งขึ้น เราก็จะเห็นข้าวนั้นปรากฏอยู่ในที่นั้นเหมือนเดิม เมื่อไปเก็บเอาตอนเช้า ตกตอนเย็นก็จะปรากฏเห็นเกิดเต็มอยู่เหมือนเดิมหาร่องรอยเกี่ยวไม่มี บัดนี้พวกเราก่อกรรมทำทุจริตผิดศีลธรรมยิ่งกว่าแต่ก่อนอีก ข้าวสาลีก็กลายเป็นข้าวเปลือกไป และที่ที่เกี่ยวข้าวข้าวก็หายไปมีแต่ซังและฟางเปล่า จะเป็นรวงข้าวเหมือนเดิมไม่มีแก่เราอีกแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปพวกเราควรแบ่งปันที่ดินปักเขตแดนกัน เพื่อจะได้เพาะปลูกกินกันให้เป็นสัดส่วน จึงจะเป็นการถูกต้อง หลังจากพวกเขาตกลงกันแล้วจึงได้แบ่งปันที่ไร่ที่นาให้แก่กันและกันตั้งแต่บัดนั้นมา

ระยะนั้นคนบางคนเกิดความโลภขึ้น มีใจชั่วร้ายก็ไปชิงเอาที่ของคนอื่นเขา คนที่เป็นเจ้าของเดิมก็โกรธจึงไล่ตีด่ากันอยู่ ๒ – ๓ ครั้ง ต่อมาจึงประชุมปรึกษาหารือตกลงกันอีกว่าเวลานี้พวกเรากลายเป็นโจรหัวโจกก่อความวุ่นวายมาก เนื่องจากไม่มีใครเป็นหัวหน้าที่จะว่ากล่าวตักเตือนพวกเรา ดังนั้น ควรตั้งท่านผู้ใดผู้หนึ่งให้เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า เป็นผู้นำของพวกเรา พวกเราประพฤติผิดชอบชั่วดีอย่างใด ท่านจะได้พิจารณาตัดสินสั่งการไปตามความผิดชอบนั้น พร้อมกันนั้นจะได้เป็นผู้แบ่งปันเขตแดนที่อยู่ที่อาศัยทำกินให้แก่พวกเรา และพวกเราก็จะมอบที่ไร่ที่นาให้แก่ท่านผู้เป็นใหญ่นั้นมากกว่าพวกเรา ครั้นพวกเขาประชุมเจรจาตกลงกันเช่นนั้นแล้ว จึงอัญเชิญพระโพธิสัตว์เจ้าให้เป็นหัวหน้าเป็นผู้นำของพวกเขา และพวกเขาก็พร้อมใจกันทำพิธีราชาภิเษกพระโพธิสัตว์เจ้าขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีอิสริยยศ พร้อมมูลด้วยพระนาม ๓ ประการ คือ มหาสมมติราช เพราะคนทั้งหลายยินยอมพร้อมใจกันตั้งพระองค์ให้เป็นใหญ่ ขัตติยะ เพราะคนทั้งหลาย มอบความเป็นใหญ่ให้พระองค์ ทรงมีพระราชอำนาจแบ่งปันไร่นา ข้าวนํ้า ให้แก่อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง และราชา เพราะทรงเป็นที่พึงพอใจเคารพนับถือ ของคนทั้งหลาย

พระโพธิสัตว์เจ้าทรงเป็นมหาบุรุษ ปวงชนทั้งหลายอัญเชิญขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เพราะพระองค์ทรงพระสิริโฉมสง่างามยิ่งกว่าประชาชน มี พระปรีชาสามารถรอบรู้ยิ่งกว่าคนทั้งปวง ทรงมีพระทัยซื่อตรงประกอบบุญบารมี ยิ่งกว่าปวงอาณาประชาราษฎร พวกเขาเห็นดังนั้นแล้ว จึงพร้อมใจกันสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองและอบรมสั่งสอนพวกเขาเป็นประมุขของประเทศชาติสืบสันตติวงศ์ติดต่อกันมาตราบเท่าทุกวันนี้

คนบางคนเห็นความไม่เที่ยง ในสภาพการณ์ต่างๆ ที่เป็นไปในโลก และเห็นความชั่วเกิดขึ้นยิ่งเกิดความสังเวชสลดใจ จึงออกไปหาที่สงัด เช่น กุฏิ ศาลา และกระท่อม เป็นต้น แล้วรักษาศีลเจริญภาวนา เที่ยวออกบิณฑบาตเลี้ยงชีพ ตัดความโลภออกเสีย คนพวกนี้ชื่อพราหมณ์ ตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งบัดนี้ อีกพวกหนึ่งแจกไร่แจกนาให้คนอื่นทำ ตัวเองเพียงแต่คอยปกปักรักษา ค้าขายโดยชอบธรรม คนพวกนี้ชื่อว่าแพศย์ ติดต่อกันมาจนกระทั้งเดี๋ยวนี้ อีกพวกหนึ่งจะทำการสิ่งใด ก็ทำด้วยกำลังและความสามารถ ทำการฆ่าสัตว์นานาชนิดมาเลี้ยงชีพ คนพวกนี้ชื่อว่า พรานและเป็นศูทร์ สืบมาจนกระทั่งบัดนี้

คนทั้งหลายต้องทำการงานที่ลำบากยากเข็ญมาเลี้ยงชีพ ไม่ได้ทำมาหากินได้โดยง่ายเหมือนแต่ก่อน คนเหล่านั้นมีอายุยืนได้ถึง ๑ อสงไขย อยู่ต่อมาอายุก็ลดน้อยถอยลงเรื่อยๆ นานเข้าจนกระทั่งถึงมีอายุได้ ๑๐ ปี เป็นอายุไขยจึงตาย สาเหตุที่อายุ ปี เดือน ของคนทั้งหลายลดน้อยถอยลงนั้น เป็นเพราะคนในชั้นหลัง ต่อมาก่อกรรมทำชั่ว โลภ โกรธ หลง มากกว่าเดิม มวลหมู่เทพยดาทั้งหลายที่อยู่บนสวรรค์ก็ดี บนต้นไม้ก็ดี ก็ไม่มีคนนับถือหรือเกรงกลัว ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวนพเคราะห์ และดาวนักษัตรทั้งหลายก็ไม่โคจรไปตามราศีเหมือนแต่ก่อน ฤดูทั้ง ๓ ฤดูก็ดี กาลทั้ง ๖ กาลก็ดี ก็เปลี่ยนแปลงไปสิ้นไม่เหมือนเดิม ฝน ลม แดด ก็เปลี่ยนไป ทั้งต้นไม้ในแผ่นดินที่เคยเป็นยาก็ไม่เป็นยาเหมือนเก่า ฤดูกาลเปลี่ยนไป ปวงชนทั้งหลายจึงมีอายุลดน้อยถอยลง

สมัยใด คนไม่ได้ทำบาปมีแต่ไมตรีจิต สงเคราะห์ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หมู่เทพยดาทั้งหลายก็อภิบาลรักษา พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวนพเคราะห์ และดาวนักษัตรทั้งหลายก็โคจรไปตามราศี ไม่เปลี่ยนแปลง แดด ลม ฝน ก็ตกต้องตามฤดูกาล ปี เดือน วัน และคืน ไม้ที่เคยเป็นยา ก็กลับคืนเป็นยาตามปกติ คนทั้งหลายก็มีอายุยืนยาวยิ่งขึ้นเหมือนเดิม

อันสภาวการณ์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่เที่ยงแท้ย่อมแปรปรวนเปลี่ยนแปลง ไปมาดังกล่าวแล้ว บางคราวดีแล้วกลับชั่วร้าย แล้วก็กลับดีอีก ไม่เที่ยงเลย แม้คนในโลกก็ไม่เที่ยงเช่นเดียวกัน ผู้มีปัญญาควรรู้อาการอย่างนี้แล้วพิจารณาถึงความไม่เที่ยงในโลกที่เป็นอยู่นี้ แล้วมุ่งบำเพ็ญบุญกุศล เพื่อจะให้พ้นจากสภาพการณ์อันไม่เที่ยงนั้น จนกระทั่งได้เข้าถึงสมบัติอันสูงยิ่งคือ พระนิพพานอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ไม่รู้จักฉิบหายไม่พินาศ ไม่รู้จักตาย เป็นสมบัติที่ดีเลิศกว่าสมบัติทั้งหลายในโลกทั้ง ๓ นี้

คณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเซียน

นํ้าประลัยกัลป์

เมื่อไฟไหม้อย่างนั้น หมู่เทพยดาและพรหมทั้งหลายก็พากันหนีขึ้นไปสู่ ชั้นที่ไฟไหม้ไม่ถึงเบียดเสียดยัดเขียดกันอยู่เหมือนแป้งยัดทะนานอย่างนั้น ไฟไหม้โลกอยู่นานแสนนาน จึงมีฝนตกลงมาเม็ดหนึ่ง เมื่อเริ่มแรกฝนตกนั้น เม็ดฝนเท่าดินธุลี อยู่ต่อมาอีกนานจึงตกลงมาอีกเม็ดหนึ่งเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด อีกนานจึงตกลงมาอีกเม็ดนํ้าประลัยกัลป์หนึ่งเท่าเมล็ดถั่ว ต่อจากนั้นเวลาอีกเล็กน้อยจึงตกลงมาเท่าลูกมะขามป้อม โตขึ้นตามลำดับเท่าลูกมะขวิด เท่าควาย ช้าง บ้านเรือนใหญ่ขึ้นจนกระทั่งเท่าอุสุภะ คือ ใหญ่ได้ ๓๕ วา ประเดี๋ยวก็ใหญ่ขึ้นได้ ๒,๐๐๐ วา อีกนานก็ตกเม็ดหนึ่งมีขนาดโตขึ้นจาก ๑ โยชน์ เป็น ๒ – ๑๐ โยชน์ตามลำดับ อยู่ต่อมาอีกนานจึงตกโตขึ้น เป็น ๑๐๐ โยชน์ ถึง ๑๐๐,๐๐๐ โยชน์ จนเท่าจักรวาล ตกลงมาเหมือนดั่งนํ้าไหลออกมาจากกละออม ตุ่ม โอ่ง อันเดียว

ในเวลาต่อมาไม่นานนัก นํ้าก็ท่วมแผ่นดิน ท่วมจาตุมหาราชิกาสวรรค์ ของท้าวจตุโลกบาล ท่วมดาวดึงส์สวรรค์ของพระอินทร์ แล้วจึงท่วมสวรรค์ชั้นยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมิตสวัดดี น้ำแรงขึ้นจนกระทั่งท่วมถึงพรหมโลก ชั้นต้น ๓ ชั้น คือ ปาริสัชชา ปโรหิตา และมหาพรหม แล้วฝนจึงหยุดตก น้ำจึงนิ่งอยู่ ต่อจากนั้นก็ไม่มีฝน

เมื่อมีคำถามว่า นํ้าเต็มจากเบื้องล่างขึ้นไปถึงพรหมโลกนั้นเป็นอย่างไร และไม่ล้นจักรวาลได้อย่างไร

ตอบว่า มีลมชนิดหนึ่งเรียกว่า ลมอุกเขปวาตะ ลมนี้พัดเวียนรอบสระ ไม่ให้นํ้าล้นบ่าออกไปได้ นํ้าขึ้นเหมือนธมกรก ไม่ล้นออกนอก

ในกาลครั้งหนึ่ง มีพระพรหมตนหนึ่งชื่อว่า มหาพรหมาธิราช เสด็จลงมาดูนํ้าได้เห็นดอกบัวเกิดขึ้น จึงให้คำทำนายตามลำดับดังนี้

เห็นดอกบัว ๑ ดอก ทำนายว่า ในกัลป์นี้จะมีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ๑ พระองค์ และเรียกกัลป์นั้นว่า สารกัลป์ เห็นดอกบัว ๒ ดอก ทำนายว่า ในกัลป์นี้ จะมีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ๒ พระองค์ และเรียกกัลป์นั้นว่า มัณฑกัลป์ เห็นดอกบัวมี ๓ ดอก ทำนายว่า ในกัลป์นี้จะมีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ๓ พระองค์ และเรียกกัลป์นั้นว่า วรกัลป์ เห็นดอกบัวมี ๔ ดอก ทำนายว่า ในกัลป์นี้จะมีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ๔ พระองค์ และเรียกกัลป์นั้นว่า สารมัณฑกัลป์ เห็น ดอกบัวมี ๕ ดอก ทำนายว่า ในกัลป์นี้จะมีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ๕ พระองค์ และเรียกกัลป์นั้นว่า ภัททกัลป์ ถ้าไม่เห็นดอกบัวเลย ก็ทำนายว่า ในกัลป์นี้จะไม่มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น และเรียกกัลป์นั้นว่า สุญญกัลป์

ในดอกบัวมีบริขาร ๘ พร้อมมูล ได้แก่ ไตรจีวร บาตร มีดโกน กล่องเข็ม ประคดเอว และกระบอกกรองนํ้า ท้าวมหาพรหมก็นำเอาบริขาร ๘ นั้น ขึ้นไปไว้ในพรหมโลก เมื่อใดพระโพธิสัตว์เจ้าออกผนวช และจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท้าวมหาพรหมก็จะนำมาถวายในวันที่เสด็จออกผนวชนั้น

ครั้งหนึ่งมีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า โกณฑัญญะเสด็จ อุบัติขึ้นในสารกัลป์ ครั้งหนึ่งมีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ทรงพระนามว่า ติสสสัมมาสัมพุทธเจ้า และปุสสสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในมัณฑกัลป์ ครั้งหนึ่งมีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ ทรงพระนามว่า พระพุทธอัตถทัสสี พระธรรมทัสสี แสะพระปิยทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นในวรกัลป์

ครั้งหนึ่งมีพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ ทรงพระนามว่า พระตัณหังกร พระเมธังกร พระสรณังกร และพระทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นในสารมัณฑกัลป์

ครั้งนี้พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ทรงพระนามว่า พระพุทธกกุสันธ พระพุทธโกนาคมน์ พระพุทธกัสสป พระพุทธโคดม และพระพุทธศรีอาริย- เมตไตรย เสด็จอุบัติขึ้นในภัททกัลป์ที่เราอาศัยอยู่ปัจจุบันนี้

คณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเซียน