ที่มาของชื่อประเพณียี่เป็ง

ต้นกำเนิดของประเพณียี่เป็งหรือการลอยโคมมาจากชาวล้านนา ซึ่งเป็นประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ นับเป็นเวลายาวนานกว่า 700 ปี ที่ชาวล้านนาได้รับอิทธิพลการดำเนินชีวิตมาจากพระพุทธศาสนา

ยี่เป็ง เป็นภาษาทางภาคเหนือ โดยคำ “ยี่” แปลว่า สอง ส่วนคำ “เป็ง” แปลว่า เพ็ญ หรือ เพ็ง ซึ่งหมายถึงคืนที่พระจันทร์เต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 การนับเดือนของชาวล้านนาก็นับได้ 12 เดือน เหมือนแบบสากลทั่วไป แต่จะนับตามจันทรคติ ซึ่งนับเดือนตุลาคมเป็นเดือน 1 หรือเดือนเกี๋ยง ดังนั้น เดือนพฤศจิกายน ก็จะเป็นเดือนยี่ หรือเดือน 2 ชาวล้านนาเรียกประเพณีนี้ว่า “ป๋าเวณียี่เป็ง” ซึ่งตรงกับประเพณีลอยกระทงที่ยึดถือปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป

และยังมีความเชื่อกันว่า ประเพณีนี้อาจมีต้นกำเนิดมาจากพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม เพื่อบูชาพระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ซึ่งเป็นพระเป็นเจ้าทั้ง 3 ของพราหมณ์ ต่อมาผู้ที่หันมานับถือศาสนาพุทธก็ได้ทำพิธียกโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมฆทานที ประเทศอินเดีย

ชาวท้องถิ่นล้านนาจะเรียกโคมลอยนี้ว่า “ว่าว” ซึ่งมีทั้งชนิดที่ลอยในตอนกลางวัน(ว่าวโฮม-ว่าวควัน) ชนิดที่ลอยกลางคืน(ว่าวไฟ) และโคมชนิดที่ใช้แขวนตามบ้านเรือน

ประเพณีการลอยโคมยี่เป็งของทางภาคเหนือในช่วงเทศกาลลอยกระทง ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีกิจกรรมมากมายที่ทางสถานที่นั้นๆ จัดขึ้น เช่น การประกวดขบวนแห่กระทง การประกวดนางนพมาศ การออกร้านขายของและกระทง เป็นต้น ครั้นถึงเวลาที่แต่ละคนต่างปล่อยโคมลอยขึ้นสู่บนท้องฟ้า ก็จะดูสวยงามเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

คำเพลงต่างๆ

นอกจากคำกานท์ที่มีข้อบังคับตามฉันทลักษณ์ที่อธิบายมาแล้วข้างต้นนี้ ยังมีคำร้องซึ่งเรียกว่าเพลงอีก ๒ อย่างคือ “เพลงร้องกลอนสด” ซึ่งถือเอาทำนองที่ร้องเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง และ “เพลงคลอเสียง” ซึ่งถือเอาทำนองเสียงดนตรีเป็นใหญ่อีกอย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าเพลงทั้ง ๒ อย่างนี้ถือเอาทำนองร้องและทำนองดนตรีเป็นใหญ่  ซึ่งนับว่าเป็นศิลปะอีกประเภทหนึ่งต่างหาก  ไม่เกี่ยวกับตำราฉันทลักษณ์นี้ก็ดี  แต่ก็ยังมีถ้อยคำที่เกี่ยวกับฉันทลักษณ์อยู่บ้าง จึงนำมาแสดงไว้พอเป็นเค้าแห่งความรู้ ดังต่อไปนี้

๑. เพลงร้องกลอนสด  เพลงพวกนี้มักร้องด้นเป็นกลอนสด เป็นสำนวนแก้กันระหว่างชายหญิงบ้าง ระหว่างคู่แข่งขันกันบ้าง บางทีพรรณนาเรื่องต่างๆ ตามชนิดของเพลง และเรียกชื่อต่างๆ กัน เช่น เพลงปรบไก่, เพลงฉ่อย, เพลงโคราช ฯลฯ  ส่วนทำนองที่ร้องและลูกคู่รับนั้นเป็นศิลปะอีกทางหนึ่ง ไม่ใช่หน้าที่ซึ่งจะกล่าวในตำรานี้ ส่วนที่เกี่ยวกับฉันทลักษณ์นี้ก็มีเฉพาะการดำเนินกลอนของเพลงพวกนี้  ซึ่งถึงจะมีมากอย่างก็รวมลงได้เป็น ๒ ชนิด คือ ชนิดกลอนฉ่อย และชนิดกลอนร่าย ดังจะอธิบายทีละชนิดต่อไปนี้

กลอนฉ่อย  มีวิธีดำเนินกลอน บทหนึ่งมี ๒ วรรค และวรรคหนึ่งมีตั้งแต่ ๕ คำ ถึง ๘ คำ ซึ่งเกี่ยวกับศิลปะของผู้ร้อง คือ วรรคที่มีคำน้อยก็เอื้อนให้ยาวออก วรรคที่มีคำมากก็ร้องรวบรัดให้สั้นเข้า และมีสัมผัสดังแผนต่อไปนี้
silapa-0486 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ สัมผัส ส่ง, รับ ท้ายกลอนฉ่อยนี้จะต้องเป็นคำเดียวกันเสมอ เช่น “มา” ส่งไปบทหน้าก็ต้องรับเป็นสระ อา เรื่อยไปจนจบเพลง ดังนั้นต่อไปจะเขียนเพลง “ฉ่อย” คำเดียวเท่านั้น ขอให้เข้าใจตามนี้

อนึ่ง สัมผัสฉ่อยนี้ ถ้าเอาไปใช้ในกลอนร่าย จะต้องแยกเป็น ฉ่อย, รองฉ่อย และรับฉ่อยอีก จงดูในตัวอย่างแผนกกลอนร่ายข้างหน้า
………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุ  แผนและตัวอย่างข้างบนนี้ ทำไว้ให้ดูพอเป็นเค้าเท่านั้น ที่จริงหาได้มีคำวรรคละ ๘ เสมอไปไม่  โดยมากมักจะเป็นวรรคละ ๖ คำ หรือ ๗ คำเป็นส่วนมาก  ถึงจะมีน้อยหรือมากไปบ้างผู้ร้องก็อาจจะเอื้อน หรือรวบรัดให้ถูกทำนองได้ดังกล่าวแล้ว ส่วนสัมผัสบังคับ (สัมผัสนอก) นั้น มีสัมผัสสลับอยู่ท้ายวรรคต้น  และเชื่อมสลับอยู่ต้นวรรคที่ ๒ ตั้งแต่คำที่ ๑ ถึงคำที่ ๕ แต่คำที่ ๔ เป็นเพราะกว่าอื่น และสัมผัส ส่ง รับ ฉ่อย  ซึ่งอยู่ต้นวรรคที่ ๒ (คือวรรคจบบท) นั้น จะต้องเป็นสระเดียวกันเสมอไป  เช่นบทที่ ๑ ส่ง “มา” ถ้ามีบทต้น คำ “มา” ก็เป็นสัมผัสรับด้วย จึงเรียกรวมว่า “ส่ง รับ” แล้วบทที่ ๒ ก็ต้อง “รับส่ง” “สา” ต่อไป เป็นดังนี้เรื่อยไป จนถึงทอดลงท้ายเพลงแล้วก็ ส่งรับ สระอื่นต่อไป หรือจะคงเป็นสระเดิมก็ได้  ไม่มีข้อบังคับเพลงที่ส่งรับกันด้วยสระไอ เรียกกันว่า “เพลงไร” ที่ส่งรับด้วยสระอา เรียกว่า “เพลงรา” และส่งรับด้วยสระอี ก็เรียกว่า “เพลงรี” ดังนี้เป็นต้น  ทั้งนี้ไม่สำคัญ หรือจะเรียกตามสระว่า “เพลงอา” “เพลงไอ” “เพลงอี” ฯลฯ ก็ได้  ซึ่งต่อไปจะเรียก “สัมผัสฉ่อย”

อนึ่ง เพลงกลอนสดนี้มักนิยมสัมผัสในเป็นสัมผัสอักษร เป็นข้อสำคัญส่วนหนึ่งทีเดียว เช่น สัมผัสชิด, สัมผัสคั่น และสัมผัสโยนไขว้กันอย่างกลบท บางแห่งถึงแก่ทิ้งสัมผัสนอกเสียบ้างก็มี  ส่วนสัมผัสในที่เป็นสระท่านก็นิยมใช้เหมือนกัน  ดังจะคัดตัวอย่างเพลงฉ่อยของเก่ามาให้ดู ต่อไปนี้

silapa-0487 - Copy
silapa-0488 - Copy

เพราะเพลงนี้ใช้เป็นกลอนสด  จึงอนุญาตให้ใช้สัมผัสขอไปทีได้มาก  ดังตัวอย่างสระสั้นกับสระยาว เช่น “สิก” กับ “อีก” ข้างบนนี้เป็นต้น  แต่ถ้าจะแต่งให้ได้แบบแผนแล้วก็ควรใช้ให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์เป็นการดี

กลอนร่าย  คำร่ายนี้มีใช้เรียกเป็น ๓ อย่าง คือ
๑. เรียกคำกานท์ที่แต่งรวมกับโคลงต่างๆ ซึ่งรวมเรียกว่าลิลิต ดังกล่าวมาแล้วอย่างหนึ่ง
๒. เรียกเพลงดนตรีว่าเพลงร่ายอีกอย่างหนึ่ง
๓. และเรียกเพลงกลอนสดว่ากลอนร่าย ซึ่งเป็นคู่กับกลอนฉ่อย ดังจะอธิบายต่อไปนี้อีกอย่างหนึ่ง

ถ้าจะว่าตามระเบียบแล้ว เขาขึ้นต้นกลอนร่ายก่อนเสมอ เช่น ในการร้องไหว้ครูก็ดี หรือบอกเรื่องราวที่จะเล่นต่อไปเป็นต้นก็ดี เขามักร้องเป็นกลอนร่ายทั้งนั้น ต่อเมื่อดำเนินเรื่องหรือกล่าวแก้กัน เขาจึงร้องเป็นกลอนฉ่อย แต่เพราะกลอนร่ายใช้ในการด้นอธิบายข้อความต่างๆ จึงมีแบบแผนไม่คงที่ บางบทก็ยาวบางบทก็สั้น แล้วแต่ผู้ร้องจะพรรณนาไป  ซึ่งรวบรวมย่อๆ เป็น ๓ ชนิด ดังจะอธิบายต่อไปข้างหน้านี้
………………………………………………………………………………………….
๑ ตัวอย่างนี้เป็นกลอนเพลงฉ่อยที่ว่าแก้กัน หรือพรรณนาทั่วไป แต่คำที่เขาร้องบางแห่ง เช่น เพลงลิเก เป็นต้น เขาไม่ร้องเช่นนี้เสมอไป บางทีเขาก็เอากลอนคำร้องดังกล่าวข้างต้น ดังตัวอย่าง

silapa-0488 - Copy1
เช่นนี้เป็นกลอนอย่างบทดอกสร้อย ให้ผุ้ศึกษาสังเกตไว้ด้วย
………………………………………………………………………………………….
อนึ่ง กลอนร่ายของเพลงนี้ ไม่มีสัมผัส มาจากบทต้นอย่างคำกานท์อื่นๆ ซึ่งสัมผัส สลับ รับ รอง ส่ง ดังอธิบายมาแล้ว แต่มีสัมผัส ส่ง รับ อยู่ที่คำท้ายบท  คือคำท้ายบทต้นส่งเป็นสระไอ คำท้ายบทที่ ๒ ก็ต้องเป็นสระไอ  เป็นการส่งและรับกันเช่นนี้เรื่อยไปอย่างสัมผัสฉ่อยที่กล่าวมาแล้ว แปลกแต่สัมผัสกลอนร่ายนั้นต้องมี ๒ รวด รวดต้น เรียก รวดส่ง ซึ่งอย่างน้อยก็เป็นกลอนฉ่อย ๒ วรรค  ซึ่งคำท้ายเป็นสัมผัสส่งกลอนฉ่อยหรือจะมีต่อไปอีกก็ได้ และรวดท้ายก็เรียก รวดรับ ซึ่งต้องเป็นกลอนฉ่อยเสมอไป ตอนจบรวดนี้ จะต้องมีคำรับฉ่อย คือ รับรวดส่งเสียก่อน แล้วจึงมีคำส่งรับร่าย อีกคำหนึ่งจึงจะจบกลอนร่าย และคำ ส่งรับ ท้ายกลอนร่ายนี้ ต้องเป็นสระเดียวกัน อย่างเดียวกับคำ ส่งรับ ท้ายกลอนฉ่อย ซึ่งต่อไปจะเขียนว่า “สัมผัสร่าย” หรือ “ร่าย” กลอนร่ายนี้มีรวดส่งมากบ้างน้อยบ้างต่างๆ กัน แต่รวดรับเป็นอย่างเดียวกันทั้งนั้น จะรวบรวมทำแผนและชักตัวอย่างมาให้ดูทีละชนิด ดังต่อไปนี้

ชนิดที่ ๑ กลอนร่ายที่รวดส่งเป็นกลอนฉ่อย มีแผนดังนี้
silapa-0489 - Copy
ดังตัวอย่างที่ผูกให้ดูต่อไปนี้
silapa-0490 - Copy
หมายเหตุ  คำประพันธ์อื่นๆ มักจะมีสัมผัส ส่ง อยู่ท้ายบทต้นแล้วมีสัมผัสรับ อยู่กลางบทที่สอง แล้วก็มีสัมผัสรอง เชื่อมรอง แล้วจึงมีส่งอยู่ท้ายต่อไป และสัมผัส รับ ส่ง นี้ คู่หนึ่งๆ ก็ไปอย่างหนึ่งจะซ้ำกันไม่ได้ แต่เพลงกลอนสดนี้ สัมผัส รับ ส่ง อยู่ที่ท้ายบททั้งนั้น และต้องเป็นสระเดียวกันด้วย เช่น รับ ส่ง เป็นสระไอ ก็เป็นไอตลอดไปจนจบกลอน อย่างที่อธิบายไว้ในกลอนฉ่อยข้างต้นแล้ว ส่วนกลอนร่ายที่กล่าวนี้มีแปลกออกไปก็คือ บท ๑ อย่างน้อยมี ๔ วรรค (คือมีกลอนฉ่อย ๒ บท) ได้แก่เอากลอนฉ่อย ๒ บท มารวมเป็นบท ๑ ของกลอนร่าย แต่มีสัมผัสเป็น ๒ รวด รวดต้นเรียกว่า รวดส่ง (คือกลอนฉ่อยบทต้น) และรวดที่ ๒ เรียกว่า รวดรับ (คือกลอนฉ่อยบทท้าย) แต่คำสัมผัสรับของรวดส่งนั้นอยู่หน้า “สัมผัสร่าย” อีกทีหนึ่ง ดังที่หมายไว้ในตัวอย่างข้างบนนี้ คือ บท ๑ สัมผัสส่งคือ “ชา” และสัมผัสรับคือ “ผา” ในบท ๒ สัมผัสส่งคือ “เกล้า” สัมผัสรับ คือ “เจ้า” และคำต่อสัมผัสรับออกไปคือ “—ใหญ่” และ “—ไป” นั้นเป็น “สัมผัสร่าย” ประจำกลอน คือเป็นสระไอก็ต้องเป็นไอเรื่อยไปจนจบกลอน ดังอธิบายข้างต้น

ชนิดที่ ๒ คือร่ายที่มีสัมผัสรวดส่งมากขึ้นอีก ๒ วรรค  ตามตัวอย่างข้างบนนี้มีสัมผัสรวดส่งอย่างย่อ  แต่โดยมากสัมผัสรวดส่งมักจะมียืดยาวกว่านี้ ซึ่งแล้วแต่ผู้ร้องจะร้องให้หมดข้อความ แล้วจึงลงสัมผัสรวดรับ  ซึ่งมีจำกัด ๒ วรรค ตามตัวอย่างข้างบนนี้เหมือนกันหมด

ที่จริงสัมผัสรวดส่งนี้ก็เหมือนกับสัมผัสสลับ รับ รอง ส่ง ของกลอน กาพย์ ฉันท์ ที่อธิบายมาแล้วนั้นเอง  แต่เพลงกลอนร่ายนี้ไม่มีสัมผัสรับมาจากบทต้นอย่างบทกานท์ประเภทอื่น มีรับส่งกันอยู่ที่คำท้ายบทแห่งเดียวเท่านั้น

เทียบตัวอย่างกาพย์ยานี

silapa-0491 - Copy

ถ้าเป็นเพลงกลอนร่ายแล้ว สัมผัสรับเช่น “ชัย” และ “แสง” ซึ่งถ้าจบรวดส่งเพียงนี้ก็เป็นสัมผัส “ส่งฉ่อย” แต่ถ้าจะมีรวดส่งต่อไปอีกก็เป็น “สัมผัสฉ่อย” คำท้ายบทต่อออกไปก็เรียกว่า “รองฉ่อย” อย่างเดียวกับคำ “ไฟ” และ “แดง”  ซึ่งเป็นสัมผัสรองของกาพย์ยานีข้างบนนี้ และคำจบรวดส่งก็เรียกว่า “ส่งฉ่อย” อย่างชนิดที่ ๑ เทียบได้กับคำ “แสง” และ “ธร” ซึ่งเป็นสัมผัสส่งของกาพย์ยานีข้างบนนี้ ดังจะทำแผนให้ดูต่อไปนี้

แผนกลอนร่ายที่มีรวดส่งเพิ่มขึ้นอีก ๒ วรรค
silapa-0492 - Copy
ตัวอย่างเทียบกับกาพย์ยานี
silapa-0492 - Copy1
ตัวอย่างข้างบนนี้จะเห็นได้ว่า รวดส่ง ตรงกับกาพย์ยานี ผิดกันอยู่ที่สัมผัส “รับ” กลายเป็น “ฉ่อย” ซึ่งจะใช้คำใดๆ ก็ได้ แต่ต้องให้รับกับ “รอง” และ “เชื่อมรอง” ก็แล้วกัน ส่วน “รอง” กลายเป็น “รองฉ่อย” เชื่อมรองกลายเป็น “เชื่อมรองฉ่อย” เพราะกลอนร่ายไม่มี รับ ในกลางบท มีเฉพาะรับส่งท้ายบท คำเดียวที่เรียกว่า “สัมผัสร่าย” เท่านั้น ดังจะหาตัวอย่างมาไว้ให้ดูหลายๆ บท เพื่อเป็นที่สังเกตต่อไปนี้

ตัวอย่างกลอนร่ายเพลงไร
silapa-0493 - Copy
๒ บทนี้เป็น เพลงไร จะทอดจบลงเพียงนี้ หรือจะต่อไปอีกกี่บทก็ได้ ตามทำนองเพลงของเขา แต่ต้องให้สัมผัส “ร่าย” เป็นสระไอเสมอไป

ตัวอย่างเพลงรา เพื่อให้สังเกตสัมผัสอักษรต่างๆ ของเขาไว้

silapa-0494 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ กลอนร่าย ๒ บทนี้ ไม่อยู่แห่งเดียวกัน ที่นำมารวมติดต่อกันไว้นี้เพื่อแสดงว่าเป็นเพลง “ไร” (หรือไอ) ด้วยกัน ย่อมติดต่อกันได้ และข้อสำคัญที่สุด คือจะให้เห็นว่าเขาเล่นสัมผัสอักษรอย่างกลบทเป็นข้อสำคัญเพียงไร
………………………………………………………………………………………….
๑ ตามตัวอย่างข้างบนนี้ ย่อมไม่ตรงกับของเดิมของเขาอยู่บ้าง เพราะบางแห่งเขาใช้คำไม่สุภาพ  จึงต้องแก้ให้สุภาพเพื่อเป็นตัวอย่างอันดีแก่กุลบุตร

อนึ่ง ได้อธิบายไว้แล้วว่า เพลงกลอนสด ท่านไม่นิยมสระยาวสระสั้นนัก ดังจะเห็นได้ในตัวอย่างข้างบนนี้ เช่นบทที่ ๑ ส่ง “พิน” รับ “ตีน” บทที่ ๒ รวดรับสัมผัสสลับ เป็น “พลาง” เชื่อมสลับเป็น “หลัง” และบทที่ ๓ สลับเป็น “ชาย” เชื่อมสลับเป็น “ลัย” ทั้งนี้เพราะการด้นด้วยปากต้องขอไปที แต่ถ้าจะทำเป็นลายลักษณ์อักษร ก็ควรทำให้ถูกแบบคือ ยาวรับยาว และสั้นรับสั้น

และขอให้สังเกตคำในวรรคหนึ่งๆ ด้วย  ซึ่งมีวรรคละ ๕ คำ ถึง ๘ คำ ทั้งนี้ย่อมเป็นศิลปะของผู้ร้องที่จะเอื้อนให้จังหวะเหมาะกัน แต่เพื่อช่วยให้สะดวกในการร้องก็ควรบรรจุคำเป็นกลางๆ คือ วรรคละ ๖-๗-๘ คำเป็นดี
………………………………………………………………………………………….
ชนิดที่ ๓ กลอนร่ายที่มีสัมผัสรวดส่งซับซ้อนกัน กลอนร่ายที่ใช้ขึ้นต้น เช่น ไหว้ครู ก็ดี หรือกล่าวเกริ่นปรารภเรื่องราวที่จะเล่นต่อไป เป็นต้น ก็ดี เขาใช้รวดส่งซับซ้อนกันมากกว่าที่ได้อธิบายมาแล้วก็ได้ ซึ่งถ้าจะย่อลงให้เข้าใจง่ายก็เป็น ๒ วิธี ดังนี้

(ก) คือใช้รวดส่งเป็นกลอนฉ่อยให้มากออกไปจากชนิดที่ ๒ แล้วจึงลงท้ายรองฉ่อย ส่งฉ่อยอย่างชนิดที่ ๒ ดังจะผูกตัวอย่างไว้ให้สังเกตต่อไปนี้

เพิ่มกลอนฉ่อยเข้าอีกกลอนหนึ่ง ดังจะเพิ่ม บทที่ ๑ ให้ดูต่อไปนี้
บทที่ ๑ เพิ่มฉ่อยอีก ๑ บท
silapa-0495 - Copy
บทที่ ๒ เพิ่มฉ่อยอีก ๒ บท

silapa-0495 - Copy1

หมายเหตุ  ตัวอย่างข้างบนนี้ให้ไว้เพียงเติมฉ่อยลง ๒ บทเท่านั้น ที่จริงจะเติมกลอนฉ่อยลงไปอีกกี่บทก็ได้ เมื่อจะจบลงรองฉ่อย, ส่งฉ่อย แล้วก็ลงรวดรับ นับว่าจบร่ายบทนั้น

(ข) อีกวิธีหนึ่งกลับกันกับข้อ (ก) ได้แก่รวดส่งตั้งต้นด้วยกลอนร่ายชนิดที่ ๒ ก่อน  คือขึ้นต้นเป็นกลอนฉ่อย รองฉ่อย ส่งฉ่อย แต่ยังไม่ทันส่งจบทีเดียว  ต่อไปนี้จะเพิ่มกลอนฉ่อยลงสักกี่บทก็ได้  ถึงฉ่อยบทสุดท้ายก็ลงส่งฉ่อยจบแล้วขึ้นรวดรับทีเดียวอย่างกลอนร่ายชนิดที่ ๑ ซึ่งไม่ต้องมีวรรครองฉ่อย ดังจะผูกตัวอย่างไว้ให้ดูจากบทที่ ๓ ต่อไปนี้

บทที่ ๓ เติมฉ่อยข้างท้าย

silapa-0496 - Copy

ตามตัวอย่างข้างบนนี้ จะเติมกลอนฉ่อยเข้าข้างท้ายอีกสักกี่บทก็ได้ แต่ต้องให้ส่งรับฉ่อยกันเรื่อยมา  เมื่อจบรวดส่งก็ลงสัมผัสส่งฉ่อยไม่ต้องมีรองฉ่อยอย่างข้างต้น แล้วก็ขึ้นรวดรับอย่างกลอนร่ายอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

ประเภทคำฉันท์ต่างๆ

คำฉันท์แบบโบราณคือคำกานท์สันสกฤตและบาลี ซึ่งนักปราชญ์คัดเอามาจากคัมภีร์ “วุตโตทัย” (ปากตลาดเรียกว่า “มุตโต” หรือ “ม่อโต”) แต่เลือกเอาเฉพาะที่แต่งเป็นภาษาไทยได้  และเติมสัมผัสทางภาษาไทยเราเข้าด้วย  ดังตัวอย่างในตำราจินดามณี แต่บทใดที่เหมาะกับภาษาไทย ท่านก็ไม่ทำตัวอย่างไว้

ตามตำราวุตโตทัย  ท่านจัดฉันท์วรรณพฤติไว้มากมาย ตั้งแต่บาทละ ๖ คำ จนถึงบาทละ ๒๒ คำ ในแบบพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระปรมานุชิตฯ ทรงแต่งไว้เป็นตัวอย่างหมดทุกฉันท์ ทั้งเหมาะและไม่เหมาะกับภาษาไทย  แต่ในที่นี้จะนำมาอธิบายเฉพาะฉันท์ที่นิยมแต่งกันมากในภาษาไทยเท่านั้น ดังนี้

(๑) วิชชุมมาลาฉันท์ (อ่าน วิด-ชุม-มาลา ว่าระเบียบสายฟ้า) มีบาทละ ๘ คำ เป็นครุทั้งนั้น ๔ บาทเป็นคาถา ๑
………………………………………………………………………………………….
๑ ฉันทร์ในตำราวุตโตทัย ท่านแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
ก. ฉันท์วรรณพฤติ คือฉันท์ที่กำหนด คำครุ คำลหุ เป็นเกณฑ์ ที่เรานำมาใช้ในภาษาไทยประเภท ๑

ข. ฉันท์มาตราพฤติ คือ ฉันท์ที่กำหนดจังหวะยาว และสั้น คือ คำลหุ นับเป็น ๑ มาตราคำครุนับเป็น ๒ มาตรา และบาทหนึ่งนับเอามาตราเป็นเกณฑ์ ไม่กำหนดตัวอักษรอย่างฉันท์วรรณพฤติ ฉันท์ประเภทนี้น่าจะใช้การขับร้องตามประเพณีของเขา ไม่ไพเราะทางไทยเราเลย สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระปรมานุชิตฯ ทรงนิพนธ์ไว้ก็มี แต่ก็เพื่อให้เป็นตัวอย่างทางความรู้เท่านั้น ผู้ต้องการความรู้ควรดูพระนิพนธ์ของท่าน ในที่นี้จะไม่นำมาอธิบายเลย

ส่วนฉันท์วรรณพฤติ ก็จะอธิบายเฉพาะที่ใช้มากเป็นสามัญเท่านั้น ฉันท์อื่นๆ จะทำบัญชี ครุ ลหุ และคณะวรรคไว้ให้ทราบ เพื่ออยากแต่งเล่นจะได้แต่งได้
………………………………………………………………………………………….
ข้อบังคับในภาษาไทย  ท่านแยกบาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๔ คำ แต่ท่านเติมสัมผัสเข้า เพื่อให้ไพเราะทางภาษาไทย ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0444 - Copy
ตัวอย่าง
silapa-0445 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ วิธีอ่านฉันท์  ท่านมีวิธีอ่านช่วยผู้ฟังให้เข้าใจคำที่อ่านอยู่บ้าง เช่นตัวอย่าง “ชัยบานเวไนยชาติ” ข้อบังคับให้อ่านเป็นครุว่า “ไช-บาน, เว-ไน-ชาติ” แต่คำสามัญอ่านว่า “ไช-ยะ-บาน, เว-ไน-ยะ-ชาติ” อย่างคำสมาสบาลี ถ้าจะอ่านตรงตามบังคับ ผู้ฟังคงไม่ทราบความหมายทันท่วงที ท่านจึงให้อ่านเอียงไปทางเสียงสามัญว่า “ไชยบาน, เวไนยชาติ” คือออกเสียง ยฺ เล็กน้อย อย่างอักษรนำซึ่งยอมให้ใช้เป็นครุพยางค์เดียวได้ เช่น “พฺยาธิ, สฺวาท, สฺมัย” เป็นต้น อนึ่งคำครุซึ่งอ่านบังคับให้อ่านเป็นครุ เช่น “จรดล, ถลมารค” (ในตัวอย่างต่อไปนี้) ซึ่งคำสามัญอ่าน “จอ-รา-ดล, ถล-ละ-มารค” ถ้าจะอ่านว่า “จะ-ระ-ดล, ถะ-ละ-มารค” ก็จะขัดหูผู้ฟังเช่นกัน จึงควรอ่านให้ใกล้คำสามัญ แต่ให้เป็นลหุตามข้อบังคับดังนี้ “เจาะ-ระ-ดล, โถ็-ละ-มารค”

ฉะนั้น ในการอ่านฉันท์ ท่านแยกเป็นลหุหลายพยางค์ ก็ควรถือเอาคำที่อ่านเป็นสามัญเป็นหลักอ่านก่อน แล้วจึงอ่านให้เป็นเสียงสั้นตามคณะฉันท์ของท่านด้วย เช่นตัวอย่างในฉันท์กฤษณาสอนน้อง ดังนี้
silapa-0445 - Copy1
หมายเหตุ  ฉันท์นี้ตามแบบของท่านต้องให้จบในบาทจัตวา  ซึ่งนับว่าจบคาถาบทหนึ่ง ถ้าจะพูดถึงสัมผัสทางภาษาไทยแล้ว บทหนึ่งมี ๒ รวด คือท้ายบาทโทจบรวดหนึ่ง ที่คำส่ง-“แจง” และท้ายบาทจัตวาจบอีกรวดหนึ่ง ตรงคำส่ง-“โลกา” แต่ตามแบบของท่านต้องให้จบในบาทจัตวา อนึ่งการใช้เสียงวรรณยุกต์ของฉันท์ทั่วไป ท่านใช้อย่างเดียวกับคำกาพย์ทั้งนั้น จงดูเรื่องเสียงวรรณยุกต์ของกาพย์ยานีข้างต้นนี้

๒. มาณวกฉันท์ (อ่าน “มาณะ-วก-กะ-ฉัน” ว่า ฉันท์เด็กหนุ่ม) ฉันท์นี้มีบาทละ ๘ คำ ครุ ลหุ ดังนี้  silapa-0446 - Copy          ทุกบาท และ ๘ บาทเป็นคาถา ๑

ข้อบังคับในภาษาไทย  ท่านแบ่งบาทหนึ่งเป็น ๒ วรรค วรรคหนึ่งมี ๔ คำ มีครุอยู่หน้าและท้ายวรรค กลางวรรคเป็นลหุ ๒ คำ และท่านจัดสัมผัสเติมเข้าให้เหมาะดังแผนซึ่งคล้ายกับวิชชุมมาลาฉันท์ ดังนี้
silapa-0446 - Copy1
ตัวอย่าง
silapa-0447 - Copy
หมายเหตุ  ฉันท์บาทละ ๘ คำทั้งสองอย่าง สมัยนี้มีผู้นิยมแต่งมาก จึงทำแผนไว้ด้วย ข้อสำคัญนอกจาก ครุ ลหุ ตามแบบแล้ว  ท่านยังกำหนดให้มีสัมผัสเชื่อมสลับ ดังนี้ คือ

วิชชุมมาลาฉันท์ให้มีสัมผัสเชื่อมสลับ ในคำที่ ๒ วรรคท้ายของ บาทเอก และ บาทตรี

มาณวกฉันท์ให้มีสัมผัสเชื่อมสลับ ในคำที่ ๑ วรรคท้ายของ บาทเอก และ บาทตรี  ซึ่งเป็นข้อสำคัญเกี่ยวกับทำนองอ่านด้วย อันผู้แต่งจะละเสียไม่ได้

๓. อินทรวิเชียรฉันท์ (อ่าน “อิน-ทอ-ระ-วิเชียรฉันท์” ว่า ฉันท์เพชรพระอินทร์) ฉันท์นี้ท่านนำมาแต่งเป็นภาษาไทยก่อน ในชั้นต้นท่านไม่กำหนดครุลหุให้ชื่อว่า “กาพย์ยานี” ครั้นต่อมาท่านแต่งให้มีข้อบังคับครุ ลหุขึ้นอีก แต่ยังคงแบ่งวรรค และกำหนดสัมผัสอย่างกาพย์ยานีอยู่อย่างเดิม ท่านให้ชื่อว่า “อินทรวิเชียรฉันท์” มีผู้นิยมแต่งมากนับว่าเป็นฉันท์ในภาษาไทยบทหนึ่ง

คณะทางบาลี  บาทหนึ่งมี ๑๑ คำ ท่านจัดเป็น ครุ ลหุ ดังนี้
silapa-0448 - Copy
และ ๔ บาท นับเป็นคาถา ๑ ดังตัวอย่างบาลีว่า-“ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ” (นิ เป็นลหุ แต่อยู่ท้ายบทต้องลากเสียงยาว ท่านยอมให้เป็นครุได้)

คณะทางภาษาไทย ท่านแบ่งบาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คำ วรรคท้าย ๖ คำ รวม ๒ บาทเป็นบท ๑ และมีสัมผัสดังแผนต่อไปนี้
silapa-0448 - Copy1
ตัวอย่างภาษาไทย
silapa-0449 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ กิจการ  การแยกคำครุออกเป็นคำลหุนั้น ตามหลักที่ถูกต้องก็คือให้ถือตามศัพท์เดิมของเขา เช่น ผล (ผะละ), พล (พะละ), สุข (สุขะ), นย (นะยะ), กุศล (กุศะละ) ฯลฯ ไทยนำมาอ่านเป็น ผน, พน, สุก, นัย, กุสน ตามลำดับ ดังนี้  เมื่อแต่งฉันท์เราแยกอ่านให้เป็นลหุตามศัพท์เดิมของเขาได้ แต่ขอให้ฟังง่าย จึงควรอ่าน “โผ็ละ, โพ็ละ, สุขะ, นะยะ, กุโศ็ละ” ตามลำดับดังกล่าวมาแล้วเท่านั้น (ถึงจะอ่านตามศัพท์เดิมก็ไม่นับว่าผิด)

แต่สังเกตดูฉันท์โบราณท่านแยกออกตามที่ไทยเขียนด้วย คือเสียงสะกดบางคำท่านลดตัวสะกดออก เอาตัวตามมาเป็นตัวสะกด เช่น กิจจ์, นิจจ์, รชฺชกาล, ทุฏฐกรรม, วุฑฺฒิ ฯลฯ โดยมากเป็นวรรค จ กับวรรค ฎ ฏ หรือถ้าตัวสะกดกับตัวตามเป็นตัวเดียวกัน ท่านมักลดตัวสะกดเสีย เช่นตัวอย่างข้างบนนี้ ไทยมักเขียนเป็น “กิจ, นิจ, รัชกาล, ทุฐกรรม, วุฒิ” ตามลำดับ ดังนั้นท่านจึงแยกเป็นลหุ ๒ ได้ เช่น กิจการ ( ุ ุ ั    ) ในตัวอย่างข้างบนนี้ ที่จริงวิธีนี้เป็นการขอไปที่มากอยู่  เพราะบางศัพท์จะทำให้เข้าใจความเขวไปก็ได้ เช่น “นิจฐาน” จะแปลว่าที่เที่ยงตรงก็ได้ (จาก นิจฺจฐาน) หรือจะแปลว่าที่ต่ำก็ได้ (จาก-นีจฐาน) เพราะรัสสระกับทีฆะท่านก็ใช้สับเปลี่ยนกันได้เช่นกัน

๒ อนึ่งอักษรนำทั้งหลายท่านแยกได้เป็น ๒ อย่าง เช่น “แถลง, แสดง” จะแยกเป็น ๒ คำว่า “ถะ-แหลง, สะ-แดง (ุ ั)” ก็ได้ หรือจะให้เป็นคำครุคำเดียวว่า “แถลง, แสดง” (ั) ก็ได้ ดังตัวอย่างข้างบนนี้ ข้อสำคัญผู้อ่านจะต้องตรวจคณะ ครุ ลหุ ของฉันท์นั้นๆ เสียก่อน จึงจะอ่านได้ถูกต้อง คือบังคับให้อ่าน ๒ คำ ก็ให้อ่านแยกออกเป็น ๒ พยางค์ ถ้าบังคับให้อ่านคำเดียว ก็ให้รวบรัดเข้าเป็นพยางค์เดียว

๓ และคำสระ ฤ สันสกฤตบางคำ  ไทยก็ใช้อย่างอักษรนำด้วย เช่น “นฤวัฒนา” ข้างบนนี้ เพราะอ่านให้กล้ำกันสนิทไม่ได้
………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุ  ฉันท์นี้ท่านกำหนดไว้เพียงบาทเอก  และบาทโทเท่านั้น เพราะจบสัมผัสรวดหนึ่ง นับว่าจบบทหนึ่งข้างไทย  ดังนั้นท่านจึงบังคับไว้ว่าต้องจบในบาทโท ผิดกับฉันท์บาทละ ๘ คำข้างต้นนี้  ซึ่งท่านต้องให้จบในบาทจัตวา

อนึ่งฉันท์ประเภทบาทละ ๑๑ คำนี้ มีหลายประเภทด้วยกัน เรียกชื่อต่างๆ กัน  ซึ่งที่จริงก็คล้ายคลึงกับอินทรวิเชียรฉันท์ทั้งนั้น  จึงไม่อธิบายให้พิสดารในที่นี้  แต่จะทำบัญชีประกอบกับแผนย่อๆ ไว้ข้างท้ายสำหรับผู้ต้องการความรู้

๔. โตฎกฉันท์  (อ่าน-โต-ดก-กะ-ฉันท์) ฉันท์นี้มีคณะทางบาลีบาทละ ๑๒ คำ มีคำละหุ ๒ คำ ครุ ๑ (ส.คณะ) เป็น ๔ ชุดดังนี้

silapa-0450 - Copy
คณะทางภาษาไทย  ท่านแบ่งเป็นบาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๖ คำ และมีสัมผัสก็อย่างเดียวกับฉันท์ที่กล่าวมาแล้ว ดังแผนต่อไปนี้

silapa-0450 - Copy1
ตัวอย่างภาษาไทย
silapa-0451 - Copy
หมายเหตุ  ตัวอย่างนี้ท่านแต่งเรื่องธรรมะยืดยาว แต่ของเก่าของท่านใช้แต่งเป็นฉันท์ตลก ซึ่งประกอบด้วยกลบทต่างๆ ให้เหมาะกับวิธีอ่านฉันท์นี้ จะสังเกตได้ตามตัวอย่างของเก่าของท่าน ว่า

“วรเดชผลิต         วรสิทธิพิศาล
วรฤทธิกราญ        รณรงควิชัย
วรเกียรติตโป        ปวโรสุประไพ
วรองควิไล            ยวิลาสประภา ฯลน”

ดังนี้จะเห็นได้ว่าท่านเล่นคำ วร ในต้นบาท  ทั้งนี้แล้วแต่ผู้แต่งจะหาเรื่องให้เหมาะลักษณะของฉันท์นี้

๕. วสันตดิลกฉันท์ (อ่าน-ว-สัน-ตะ-ดิ-ลก-กะ-ฉันท์) หรือเรียกตามภาษาไทยว่า “ฉันท์วสันตะ-ดิหลก” ก็ได้ ฉันท์นี้มีคณะทางบาลี บาท ๑ มี ๑๔ คำ และ ๔ บาทเป็นคาถา ๑ อย่างฉันท์อื่นๆ มีครุ ลหุในบาทหนึ่งๆ ดังนี้
silapa-0451 - Copy1
อย่างคำบาลีถวายพรพระบท หาหํุ ส หสฺ ส ม ภิ นิมฺ มิต สา วุ ธนฺตํ ฯลฯ
………………………………………………………………………………………….
๑ กษณะ อ่านเป็นลหุ ๒ พยางค์ คือ กฺ ษ ต้องอ่าน กฺ ให้เบาที่สุด ษ ให้หนัก อย่างอักษร ควบเท่ากับ ษหณะ หรือขะหณะ

๒ ทุฐกาม, ทุจริต ศัพท์เดิมเป็น ทุฏฐกาม, ทุจฺจริต (ั ุ ั) แต่ท่านบังคับให้เป็นลหุ ๒ ครุ ๑ (ุ ุ ั) เป็นการขอไปทีดังกล่าวแล้ว
………………………………………………………………………………………….
คณะทางภาษาไทย  ท่านแบ่งเป็นบาทละ ๒ วรรค  คือวรรคต้น ๘ คำ วรรคท้าย ๖ คำ และ ๒ บาทเป็นบท ๑ ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0452 - Copy
ตัวอย่างภาษาไทย
บาทเอก ๏ เสนออรรถพิพัฒนศุภมง-    คลลักษณ์๑ ประจักษ์ความ
บาทโท    ครบสี่และมียุบลตาม        ชินราชประกาศแสดง ฯ
บาทเอก ๏  ขันตีก็นีรมนโทษ            ฤพิโรธร้ายแรง
บาทโท    ออมอดทุพจน์ผรุสแสดง    ก็ บ๒ ตอบ บ๒ ต่อคำ ฯ

หมายเหตุ  ฉันท์วสันตดิลกนี้ ท่านนับว่าไพเราะที่สุด รองลงไปก็คือฉันท์อินทรวิเชียร นับว่าสำคัญอย่างพระเอกนางเอกของบทละครทีเดียว ดังนั้นท่านจึงแต่งในเรื่องเกี่ยวกับการเศร้าโศก  การพรรณนาชมเชย ฯลฯ ซึ่งชวนให้ผู้ฟังรู้สึกไพเราะ ซาบซึ้งในใจ

๖. มาลินีฉันท์  ฉันท์นี้มีคณะทางบาลี บาท ๑ มี ๑๕ คำ และ ๔ บาท เป็นคาถา ๑ อย่างฉันอื่นๆ และในบาทหนึ่งๆ มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0453 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ ลักษณ์  คำนี้ขาดสัมผัสเชื่อมสลับ  ซึ่งบาทเอกต้องมีตามแผน และตรวจดูทั้งหมดของท่าน มีพลาดอยู่ ๒ แห่งเท่านั้น  จึงสังเกตได้ว่าเป็นสมัยที่เริ่มนิยมใช้เชื่อมสลับในบาทเอกขึ้นก็ได้ ท่านจึงไม่กวดขันนัก เพราะของเก่าท่านก็ไม่นิยมใช้เชื่อมสลับหรือเชื่อมรองเลยเช่นตัวอย่าง  ปางเสด็จประพาสวนอนานต์ ศิขรินทรโจษจรร (ไม่มีเชื่อมสลับและบาทเอกบทอื่นก็ไม่มีเช่นกัน)

๒ คำ “แล” (เดี๋ยวนี้เราใช้และ) และคำ “บ) (ที่แปลว่าไม่) เป็นคำเสียงสั้นก็ได้ ท่านยอมให้ใช้เป็นลหุได้ แต่คำ “บ, บ่” ท่านก็ใช้เป็น ครุ ได้บ้างเหมือนกัน เพราะอ่านเสียงยาวก็ได้ ข้อสังเกตก็คือใช้เป็นลหุก็ให้อ่านเสียงสั้น ใช้เป็นครุก็ให้อ่านเสียงยาว
………………………………………………………………………………………….
คณะทางภาษาไทย  บาทหนึ่งท่านแบ่งเป็น ๓ วรรค วรรคต้น ๘ คำ วรรคที่ ๒ ๔ คำ และวรรคที่ ๓ มี ๓ คำ ส่วนสัมผัสรวด ๑ ก็จบในบาท ๑ ดังนั้นท่านจึงกำหนดว่าบาท ๑ เป็นบท ๑ เพราะมีสัมผัสจบรวด ผิดกับฉันท์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0453 - Copy1

silapa-0453 - Copy2
………………………………………………………………………………………….
๑ ตามตัวอย่างที่คัดมาไว้นี้ ท่านมุ่งหมายต่างกับของเก่า คือต้องการจะอธิบายข้อธรรมะให้เป็นเรื่องติดต่อกันไปด้วย และต้องการแสดงตัวอย่างฉันท์มาลินีด้วย  ดังนั้นท่านจึงใช้คำลหุจากคำบาลีโดยมาก บางแห่งท่านก็ยอมให้เป็น “ขอไปที” เช่น “วินิจฉัย” ท่านต้องการให้เป็น “ ุ ุ ั” ซึ่งที่จริงศัพท์เดิมเป็น “วินิจฉัย” (ุ ั ั)
………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุ  ตามตัวอย่างนี้บาทหนึ่งท่านจัดเป็นบทหนึ่งของฉันท์ไทย ซึ่งมิได้กำหนดบาทเอก บาทโท ดังนั้นท่านจึงมิได้บังคับว่าต้องแต่งให้จบในบาทโท คือจะแต่งให้จบในบาทไรก็ได้๑  ฉันท์นี้ท่านนำมาแต่งเป็นภาษาไทยนานมาแล้ว  แต่เพราะวรรคต้นมีลหุอยู่ข้างหน้าถึง ๖ คำ  จึงเป็นการยากที่จะหาคำลหุในภาษาไทยได้  ท่านจึงเอาคำบาลีที่แยกเป็นลหุได้มาใช้  และมักจะใช้แต่งพรรณนาซ้ำๆ เป็นเชิงกลบท ดังตัวอย่างของเก่าท่านดังนี้

๏ นิกรวิหค๒มั่วมูล        ร้องจะแจ้งจรูญ       จรุงใจฯ
๏ นิกรวิหคสบสมัย        ร้องระวังไพร          พนัสสถานฯ
๏ นิกรวิหคชื่นบาน        ชมพระสมภาร        ธเสด็จจรฯ
๏ นิกรวิหคประเอียงอร   บิน ณ อัมพร          ก็ร่อนเรียงฯ

ตามตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่าท่านแต่งเฉพาะพรรณนาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หาได้แต่งเป็นเรื่องยืดยาวไม่

๗. สัททุลลวิกกีฬิตฉันท์ (อ่านสัด-ทุน-ละ-วิก-กี-ฬิ-ตะ-ฉันท์ ซึ่งท่านเรียกกันว่า ฉันท์เสือผยอง หรือเสือคะนอง) ฉันท์นี้มีคณะทางบาลี บทหนึ่งมี ๑๙ คำ และ ๔ บาทเป็นคาถา ๑ เช่นฉันท์อื่นๆ มีครุ ลหุ ในบาทหนึ่งดังนี้
silapa-0454 - Copy
คณะทางภาษาไทย  บาท ๑ ท่านแบ่งเป็น ๓ วรรค คือวรรคต้น ๑๒ คำ วรรคที่ ๒ มี ๕ คำ และวรรคที่ ๓ มี ๒ คำ และในบาทหนึ่งมีสัมผัสจบรวดหนึ่ง นับว่าบาท ๑ เป็นบท ๑ ในภาษาไทย คือจะแต่งจบลงในบาทใดก็ได้ อย่างฉันท์มาลินี ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0455 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ การกำหนดคณะฉันท์บท ๑ ก็คือจบสัมผัสรวด ๑ คือถ้าจบสัมผัสรวด ๑ ในบาทโท ท่านก็นับว่าจบบทโทเป็นบท ๑ แต่ฉันท์ที่มีบาทละมากคำตั้งแต่มาลินีขึ้นไป มีสัมผัสจบรวดในบาทหนึ่งๆ ทั้งนั้น ดังนั้นในแบบฉันท์จารึกในวัดโพธิ์ท่านใช้บาท ๑ เป็นบท ๑ ทั้งนั้น  จึงเห็นควรจะกำหนดตามของท่าน  แต่ในฉันทลักษณ์ของเก่ากำหนดไว้ว่า ๒ บาท เป็นบท ๑ ทั้งนั้น น่าจะเป็นการผิดพลาดจึงไม่นิยมตาม

๒ นิกรวิหคมั่วมูล  ควรอ่านให้ถูกหูผู้ฟังว่า “นิเกาะ-ระ-วิ-โหะ-คะ-มั่ว-มูล”
………………………………………………………………………………………….

ตัวอย่างภาษาไทย
silapa-0455 - Copy1
หมายเหตุ  ฉันท์นี้สังเกตดูในบทละครสันสกฤต  ท่านนิยมว่าเป็นฉันท์ไพเราะ  จึงมักจะแต่งในบทพระเอก และนางเอก หรือบทที่จะให้ไพเราะอื่นๆ แต่มาแต่งในภาษาไทย ฟังดูไม่สู้เพราะเลย เพราะแต่งยาก มีลหุสลับกัน  ซึ่งจะหาคำภาษาไทยมาใช้ไม่ค่อยได้ และคำในวรรคก็ไม่ค่อยเท่ากัน ทำให้อ่านยาก  ดังนั้นท่านจึงใช้แต่งเป็นคำนมัสการ คำยอพระเกียรติ คำที่เป็นข้อธรรมะที่ใช้คำบาลีได้มากๆ เป็นต้น

อนึ่งฉันท์ที่มีบาทละมากคำ เช่น ฉันท์บทนี้ จะอ่านให้จบบาทโดยไม่ทอดจังหวะในกลางบาทเลยไม่ได้  ดังนั้นท่านจึงกำหนดไว้ให้ทอดจังหวะ ในคำที่เท่านั้นเท่านี้ตามแต่จะเหมาะ จึงเรียกว่า “ยติ” แต่จังหวะทางบาลีจะเอามาเป็นแบบทางภาษาไทยก็ไม่ได้ เพราะไทยมีสัมผัสและแบ่งวรรคต่างกับเขาเราจึงควรทอดจังหวะให้เหมาะกับการอ่านให้ไพเราะทางเรา  ดังนั้นฉันท์บทนี้วรรคแรกมีถึง ๑๒ คำ จึงควรมีทอดจังหวะในระหว่างเล็กน้อย
silapa-0456 - Copy

ก็ทอดจังหวะตามวรรค แต่คำท้ายวรรคที่ ๒ ต้องทอดจังหวะให้นานแล้วจึงขึ้นวรรคที่ ๓

๘. อีทิสะฉันท์  มักเรียกกันว่า “ฉันท์ อีทิสัง” ฉันท์บทนี้ของเก่าท่านมิได้ทำแบบไว้ แต่สมัยนี้ท่านนิยมแต่งกันมาก  จึงนำมาอธิบายเพื่อเข้าใจตามสมควร ฉันท์นี้ตามบาลีมีบาทละ ๒๐ คำ และ ๔ บาทเป็น คาถา ๑ และในบาทหนึ่งมี ครุ ลหุ สลับกันเรื่อยไป ๑๘ คำ แล้วลงท้ายบาทเป็นครุ ๒ คำ หรือจะว่าหัวและท้ายบาทเป็นครุ กลางบาทมีลหุ ครุ สลับกัน ๙ คู่ก็ได้ ท่านจัดคณะทางบาลีไว้ดังนี้
silapa-0456 - Copy1
ท่านจึงจำย่อๆ ว่า “รช รช รช คค” แต่ต้องจำ ๒ ชั้น สู้สังเกตอย่างไทยไม่ได้

คณะทางภาษาไทย  บาทหนึ่งท่านแบ่งเป็น ๓ วรรค คือวรรคต้น ๙ คำ วรรคที่ ๒ มี ๘ คำ และวรรคที่ ๓ มี ๓ คำ และมีสัมผัสจบรวด ๑ ในบาท ๑ ฉะนั้นบาทหนึ่งจึงเป็นบท ๑ ทางภาษาไทย อย่างมาลินีฉันท์ ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0456 - Copy2
ตัวอย่างภาษาไทย
บทที่ ๑ ๏ เสวกาอุสาหกรรมกาย, ประกอบ ณ วัตตบรร-ยาย, นุสาสน์สารฯ
บทที่ ๒ ๏ ทราบสมั-ยเห-ตุโดยประมาณ อดีตอนาคตานุญาณ, ขจ่างใจฯ

หมายเหตุ  ฉันท์บทนี้ที่นิยมแต่งกันมากก็เล่นคำสั้นยาว (ลหุ ครุ) เป็นคู่ๆ กันไป เป็นการไพเราะขึ้นคล้ายกลบทชนิดหนึ่ง ดังนั้น ในการทอดจังหวะ จึงควรทอดจังหวะตรงคำครุเสมอไป  แต่ครุต้นบาทต้องทอดให้นานหน่อย แล้วทอดจังหวะที่ครุเรื่อยไป จบวรรคก็ทอดให้ยาว ท้ายวรรคที่ ๒ ยาวกว่าที่อื่น วรรคที่ ๓ ไปทอดที่คำท้ายทีเดียว

สังเกตดูท่านแต่งในเรื่องที่คิดวิตกหรือโกรธ แล้วรำพึงจุกจิก หรือตื่นเต้นในสิ่งต่างๆ เป็นต้น วิธีทอดจังหวะควรเป็นดังนี้

๏ เส-, วกา, อุสา, หะกำ, มหาย; ประกอบ, ณวัต, ตะบัน, ระยาย; นุสาสน์สารฯ อย่าลืมอ่านให้ช่วยหูผู้ฟังดังกล่าวแล้วด้วย  เฉพาะฉันท์บทนี้ต้องอ่านคำ ครุ วรรคหน้าต้น (เส- – -) ให้ยาวสักหน่อย แต่ไม่ต้องขาดเสียงส่วนคำจบวรรคต้องทอดจังหวะให้ขาดเสียง แต่คำจบบทต้องทอดให้นานกว่าอื่นอย่างคำท้ายบทของฉันท์อื่นๆ

๙. สัทธราฉันท์  ฉันท์บทนี้บาท ๑ มี ๒๑ คำ และ ๔ บาทเป็นคาถา ๑ อย่างฉันท์อื่นๆ นับว่าเป็นฉันท์ยืดยาวมากกว่าเพื่อนในบรรดาฉันท์ที่ไทยนำมาใช้ จัดคณะตามบาลี มีครุ ลหุ ดังต่อไปนี้
silapa-0457 - Copy
ท่านสังเกตย่อๆ คณะว่า “ม ร ภ น ย ย ย” และท่านกำหนดการทอดจังหวะที่เรียกว่า “ยติ” กำกับไว้ด้วย คือ คำที่ ๓ คำที่ ๗ และต่อไป ๗ คำ ทอดครั้ง ๑ จนจบบท  ดังทำเครื่องหมายจุลภาคไว้ข้างใต้แผนนั้นแล้ว และฉันท์มีปรากฏในภาษาที่รู้กันทั่วไปก็คือ อัญเชิญเทวดา ซึ่งบาทต้นว่าดังนี้

“สคฺเคกา, เมจรูเป, คิริสิขรตเต, จนฺตลิกฺเขวิมาเน” และมีในคาถาเริ่มมงคลสูตร ซึ่งบาทต้นมีว่า

“เยสนฺตา, สนฺตจิตฺตา, ติสรณสรณาเอตฺ-ถโลกนฺตเรวา” ซึ่งอยู่ในหนังสือสวดมนต์ ๗ ตำนาน และ ๑๒ ตำนาน

คณะทางภาษาไทย  บาท ๑ ท่านแบ่งเป็น ๔ วรรค คือวรรคต้น ๗ คำ วรรคที่ ๒ มี ๗ คำ วรรคที่ ๓ มี ๔ คำ และวรรคที่ ๔ มี ๓ คำ และมีสัมผัส ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0458 - Copy
ตัวอย่างภาษาไทย
บทที่ ๑ ๏ หมู่มาตย์ผู้ปรี, ชญาณชล, วรวจนนุสนธิ์, สรรพะเพ็ญผล, ภิวัฒนา,ฯ

บทที่ ๒ ๏ เจริญศีลสัตย์วัต, ตจรรยา, นิรมหิจ๑  และปรารพภะจินดา, ประโยชน์สนองฯ

หมายเหตุ  การทอดจังหวะในวรรคต้น ท่านทอดลงคำที่ ๔ ดังที่ใส่จุลภาคไว้ข้างใต้ วรรคต่อๆ ไปก็ทอดที่ท้ายวรรคทั้งนั้น และฉันท์นี้ก็มีแบบมาแต่โบราณเหมือนกัน แต่ท่านไม่แต่งดำเนินเรื่องยืดยาว คือ ท่านมักแต่งเฉพาะเรื่อง เช่น คำนมัสการ เรื่องอธิษฐานหรือเชื้อเชิญเทวดาอย่างแบบบาลี และเรื่องยอพระเกียรติ ฯลฯ  ซึ่งไม่ติดต่อกันยืดยาว อย่างเดียวกับสัททุลลวิกกีฬิตฉันท์ที่กล่าวมาแล้ว
………………………………………………………………………………………….
๑ มหิฉ ศัพท์เดิมเป็น “มหิจฺฉ” (ุุ  ั ุ) แปลว่า ปรารถนาใหญ่ คือโลภอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ นิรมหิจฺฉ ก็คือไม่มีปรารถนาใหญ่ แต่ในที่นี้ท่านใช้ “นิรมหิฉ” เพื่อต้องการให้เป็นลหุทั้งหมด (ุ ุ ุ ุ ุ ุ) จึงเอาตัว จ สะกดออกเสียเป็นการขอไปที
………………………………………………………………………………………….
๑๐. วิธีแต่งฉันท์ให้เป็นเรื่องราวติดต่อกัน  คำฉันท์เหล่านี้ถ้าจะแต่งเฉพาะบท จะเลือกแต่งบทใดก็ได้ตามใจสมัคร ควรให้เนื้อเรื่องเหมาะกับทำนองฉันท์ได้มากก็ยิ่งดี  แต่ถ้าจะแต่งเป็นเรื่องติดต่อกันยืดยาวแล้วไซร้  ก็จะต้องกะเรื่องตอนหนึ่งๆ ให้เหมาะกับทำนองฉันท์นั้นๆ ด้วย ดังได้อธิบายไว้ในข้อหมายเหตุท้ายตัวอย่างฉันท์นั้นๆ แล้ว และข้อสำคัญของการแต่งฉันท์นั้นก็ปรับปรุงถ้อยคำให้เพราะพริ้ง และพยายามให้คำให้ง่าย ให้ผู้ฟังทั้งหลายเข้าใจแจ่มแจ้งมากเท่าใดก็ยิ่งดีเท่านั้น

แต่อุปสรรคของการแต่งฉันท์  ส่วนใหญ่ก็อยู่ที่การหาศัพท์ที่ง่ายๆ ในภาษาไทยเอามาแต่งให้ถูกต้องตามข้อบังคับคณะฉันท์ยาก เพราะภาษาไทยเรามีคำลหุน้อย จำเป็นต้องเอาคำบาลีและสันสกฤตมาใช้เป็นพื้น แม้จนคำมีตัวสะกดเช่น “สัตย์, รมย์” ท่านก็ยังแยกใช้เป็นลหุว่า “สะ ตะยะ และ ระ มะ ยะ” ก็มี, “ระมัย” ก็มี เป็นต้น ซึ่งเป็นการขอไปที

เพราะการแต่งฉันท์เป็นการลำบากดังกล่าวมาแล้วนี้ ท่านจึงเอากาพย์ทั้ง ๓ คือ ยานี ฉบัง และสุรางคนางค์เข้ามาประสมด้วย เพื่อให้ง่ายเข้า คือเรื่องราวอันใดที่ยาก จะใช้อินทรวิเชียรฉันท์ก็ยิ่งยากขึ้น  ท่านจึงแต่งเป็นกาพย์ยานีแทน  เรื่องใดที่ต้องเล่ายืดยาว ท่านก็มักแต่งเป็นกาพย์ฉบังหรือกาพย์สุรางคนางค์แทน  เพื่อให้ความสั้นและง่ายเข้า แม้คำฉันท์ทั้งหลาย ท่านก็มิได้แต่งบทใดบทหนึ่งจนจบเรื่อง คือท่านเลือกแต่งเป็นบท เพื่อให้สะดวกและเหมาะแก่เนื้อเรื่อง

ทำเนียบฉันท์วรรณพฤติ  ฉันท์วรรณพฤติที่นำมาอธิบายข้างต้นนี้เป็นฉันท์ที่นักปราชญ์โบราณนำมาอธิบายไว้เพื่อใช้แต่งในภาษาไทย และมีเพิ่มเติมบ้าง คือ วิชชุมมาลาฉันท์, มาณวกฉันท์ มีบาทละ ๘ คำ และอีทิสะฉันท์ มีบาทละ ๒๐ คำ  ซึ่งเป็นของแปลกท่านยังมิได้อธิบายได้ ทั้งสมัยนี้ก็นิยมแต่งกันมาก จึงนำมาอธิบายไว้เพื่อเป็นแบบต่อไป และยังมีฉันท์อื่นๆ อีกมากที่ท่านนิยมแต่งกันในสมัยนี้  แต่โดยมากก็เป็นฉันท์ ๑๑ และฉันท์ ๑๒ เป็นพื้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายฉันท์อินทรวิเชียร และฉันท์โตฎกอยู่มาก จึงไม่นำมาอธิบายไว้ แต่จะทำทำเนียบบัญชีฉันท์ไว้ ตามตัวอย่างแบบฉันท์วรรณพฤติของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมประปรมานุชิตชิโนรส แต่จะงดฉันท์ที่อธิบายไว้แล้ว ดังนี้

๑. ฉันท์ ๖ คำ ชื่อ ตนุมัชฌาฉันท์
ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑-
silapa-0460 - Copy
๔ บาทเป็นบท ๑

ข. ตัวอย่างดำเนินกลอน-
silapa-0460 - Copy1
ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้มีเพียงเป็นแบบ  ไม่มีใครแต่งกัน

๒. ฉันท์ ๗ คำ ชื่อ กุมารลฬิตาฉันท์ (กุมาระละฬิตา-)
ก.ครุ ลหุ ในบาท ๑
silapa-0461 - Copy1
๔ บาทเป็นบท ๑

ข. ตัวอย่างดำเนินกลอน –
silapa-0461 - Copy2
ค. หมายเหตุ  ท่านไม่ใคร่นิยมแต่งกัน

๓. ฉันท์ ๘ คำ ชื่อ จิตรปทาฉันท์
ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑-
silapa-0461 - Copy3
แต่ภาษาไทยท่านแบ่งบาทหนึ่งเป็น ๒ วรรค วรรคละ ๔ คำ, และ ๔ บาท (๘ วรรค) เป็นบท ๑
silapa-0462 - Copy1
ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้ดำเนินกลอนคล้ายกับวิชชุมมาลาฉันท์ หรือมาณวกฉันท์  เพราะเป็นฉันท์ ๘ คำ ด้วยกัน  ต่างกันเพียงสัมผัสเชื่อมสลับเท่านั้น ถ้าสงสัยสัมผัสก็ดูฉันท์ทั้ง ๒ นั้นเป็นหลัก  แต่ที่จริงฉันท์บทนี้ท่านก็ไม่นิยมแต่งกันเลย มีพอไว้เป็นแบบเท่านั้น

๔. ฉันท์ ๙ คำ ชื่อ หลมุขีฉันท์ (หะ ละ มุขี-) ๒ บาท เป็นบท ๑
ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑-

silapa-0462 - Copy
ข. ดำเนินกลอน- ในภาษาไทย ใช้บาทละวรรคเช่นกัน ดังนี้
silapa-0463 - Copy
ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้ดำเนินกลอนแปลก คือมีสัมผัสรับ แล้วมีเชื่อมรับแล้วก็มีสัมผัสส่งทีเดียว ไม่มีสัมผัสรอง แต่ท่านทำไว้ให้ดูพอเป็นแบบเท่านั้น ไม่เห็นมีใครนิยมแต่งกันเลย เพราะแต่งก็ยาก และไม่เพราะด้วย

๕. ฉันท์ ๑๐ คำ ชื่อ รุมมวดีฉันท์
ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑-

silapa-0463 - Copy1
ข. ตัวอย่างดำเนินกลอน-  ท่านดำเนินกลอนบาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคละ ๕ คำ และ ๒ บาทเป็น ๑ บท ดังนี้
silapa-0463 - Copy2
ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้มีคณะสัมผัสคล้ายอินทรวิเชียร ต่างกันอยู่ที่สัมผัสเชื่อมสลับ เลื่อนมาอยู่ที่คำต้นของวรรคท้ายบาทเอกเท่านั้น

แต่ท่านก็ไม่นิยมแต่งกัน เพราะแต่งยาก และไม่เพราะเท่าฉันท์อินทรวิเชียรด้วย

๖. ฉันท์ ๑๑ คำ ฉันท์จำพวกนี้นอกจากอินทรวิเชียร ซึ่งตั้งไว้เป็นแบบแล้ว ยังมีฉันท์ชื่ออื่นๆ อีกที่ท่านนิยมแต่งในภาษาไทยมาก ดังตัวอย่างต่อไปนี้

อุเปนทรวิเชียรฉันท์ แปลว่า รองอินทรวิเชียร

ก. มีครุ ลหุ ต่างกับอินทรวิเชียร เพียงคำต้นบาทเป็นลหุ เท่านั้น ดังนี้
silapa-0464 - Copy
ข. ดำเนินกลอน- อย่างอินทรวิเชียร ดังตัวอย่าง
silapa-0464 - Copy1

อุปชาติฉันท์  ฉันท์นี้อย่างเดียวกับอุเปนทรวิเชียร กับอินทรวิเชียรสลับกัน

ก. มีครุ ลหุ ในบาทเอก และบาทจัตวา (หัวท้าย) เป็นฉันท์อุเปนทรวิเชียร และในบาทโทกับบาทตรี (ซึ่งอยู่กลาง) เป็นอินทรวิเชียร

ข. ดำเนินกลอน- อย่างเดียวกันคือ ๒ บาทเป็น ๑ บท แต่จะต้องให้จบลงในบทที่ ๒ เสมอไป จึงจะครบชุดของเขา ดังตัวอย่างต่อไปนี้
silapa-0465 - Copy
ค. หมายเหตุ  ฉันท์บทนี้ท่านก็นิยมแต่งกันมากเช่นเดียวกัน

อุปัฏฐิตาฉันท์ ท่านไม่ใคร่แต่งกัน
ก. ครุ ลหุในบาท ๑-

silapa-0465 - Copy1
ข. ดำเนินกลอน- อย่างเดียวกับอินทรวิเชียรดังนี้

silapa-0466 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ วจี ขาดสัมผัส เชื่อมสลับ เพราะเป็นชื่อสำคัญ “วจีบรม” (เพื่อนดีแต่พูด) ดังนั้น ท่านจึงยอมให้เสียสัมผัส และสงวนศัพท์ไว้  ซึ่งนับว่าสำคัญกว่าสัมผัส  ซึ่งไม่ใช่บังคับแท้ แต่สังเกตดูบทต่อไป ท่านก็รักษาสัมผัสนี้กวดขันเหมือนกัน
………………………………………………………………………………………….
สุมุขีฉันท์ ท่านไม่นิยมแต่งกัน
ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑-

silapa-0466 - Copy1
ข. ดำเนินกลอน- อย่างอินทรวิเชียร ดังนี้
silapa-0466 - Copy2
โทธกฉันท์ (อ่าน โท-ธก-กะ-ฉันท์) ท่านไม่ใคร่แต่งกัน
ก. มีครุ ลหุ และแยกวรรคในภาษาไทย ต่างออกไปตามที่ใส่จุลภาคไว้ข้างใต้ดังนี้
silapa-0466 - Copy3
ข. ดำเนินกลอน– ๒ บาทเป็นบท ๑ ตัวอย่าง

silapa-0467 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ ท่านทิ้งสัมผัสเชื่อมสลับ เพื่อสงวนศัพท์ เพราะไม่ใช่สัมผัสบังคับดังกล่าวมาแล้ว
………………………………………………………………………………………….

สาลินีฉันท์  มีแต่งกันอยู่บ้าง
ก. มีครุ ลหุ และแยกวรรค ๕ วรรค ๖ ดังนี้
silapa-0467 - Copy1
ข. ดำเนินกลอน-
silapa-0467 - Copy2
ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้คำท้ายถ้าแต่งให้คำล้อกันอย่างกลบทจะเพราะขึ้นอีกเช่น “ ุ ั ั ุ ั ั – จะคิดหนี ฤคิดไฉน, จะขุ่นจิต จะคิดจาง” และอื่นๆ อีกแล้วแต่เหมาะ

ธาตุมมิสสาฉันท์ (อ่าน ธา-ตุม-มิส-สา-ฉันท์) ท่านไม่ใคร่แต่งกัน

ก.บาทหนึ่งมีครุ ลหุ และแยกเป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๔ วรรคท้าย ๗ ดังใส่จุลภาคไว้ข้างใต้ดังนี้

silapa-0467 - Copy3
ข. ดำเนินกลอน-

silapa-0468 - Copy

ค. ข้อสังเกต ฉันท์นี้สัมผัสเชื่อมสลับบาทเอกนั้นอยู่คำที่ ๔ วรรคท้ายคือ คำ “จิต” ในตัวอย่าง

สุรสสิริฉันท์ (สุระ-สะ-สิริ-ฉันท์) ไม่ใคร่มีผู้แต่ง
ก. มีครุ ลหุ ในบท ๑- ดังนี้

silapa-0468 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน– บาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คำ วรรคท้าย ๖ คำ ตัวอย่าง

silapa-0468 - Copy2

ค. ข้อสังเกต  ฉันท์นี้สัมผัสเชื่อมสลับ อยู่ที่คำที่ ๕ วรรคท้าย บาทเอกคือคำ “กรม” ในตัวอย่าง แต่ท่านแต่งไว้พอเป็นตัวอย่างเท่านั้น  เพราะนำมาแต่งเป็นภาษาไทยไม่เพราะ

รโธทธตาฉันท์ (อ่าน ระ-โธด-ธะตา-ฉันท์) ไม่มีใครแต่ง

ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑ ดังนี้

silapa-0469 - Copy

ข. ดำเนินกลอน- บาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ตัวอย่าง

silapa-0469 - Copy1

ค. ข้อสังเกต  ฉันท์นี้สัมผัสเชื่อมสลับ อยู่ที่คำที่ ๒ วรรคท้าย “ณา” สังเกตดูทางภาษาไทยไม่เพราะเลย ท่านทำไว้พอเป็นแบบเท่านั้น

สวาคตาฉันท์ (อ่าน สะ-หวา-คะตา-ฉันท์) ไม่มีใครแต่ง

ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑ ดังนี้

silapa-0469 - Copy2

ข. ดำเนินกลอน- บาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ตัวอย่าง

silapa-0469 - Copy3

ค. ข้อสังเกต  สัมผัสเชื่อมของฉันท์ อยู่ที่คำที่ ๓ (จารณ์) ในบาทเอกวรรคท้าย และไม่เพราะทางภาษาไทยเช่นเดียวกัน

ภัททิกาฉันท์  ไม่มีใครแต่งเช่นกัน
ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑ ดังนี้

silapa-0470 - Copy

ข. ดำเนินกลอน– บาทหนึ่งเป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ตัวอย่าง

silapa-0470 - Copy1

ค. ข้อสังเกต  สัมผัสเชื่อมสลับ อยู่ที่คำที่ ๒ วรรคท้ายบาทเอก (ขลาด) ฉันท์นี้ก็มีแต่ที่ท่านทำไว้เป็นแบบเช่นกัน

๗. ฉันท์ ๑๒ คำ มีมากในภาษาบาลี แต่ไทยนำมาแต่งไม่มากนัก โดยมากนิยมแต่ที่ดำเนินกลอนวรรคต้น ๕ คำ ทำนองอินทรวิเชียร และวรรคต้น ๖ คำ วรรคท้าย ๖ คำ เป็นทำนองฉันท์ตลกอย่างโตฏกฉันท์ ซึ่งวางแบบไว้แล้ว ดังทำเนียบต่อไปนี้

อินทวงศฉันท์  ท่านนำมาแต่งเป็นภาษาไทยมาก
ก. ครุ ลหุ ในบท ๑ ดังนี้

silapa-0470 - Copy2

ดังตัวอย่างในบาลีว่า “พฺรหฺมาจโลกา ธิปตีสหมฺปติ” (ลหุปลายบาทเป็นครุ)

ข. ดำเนินกลอน– วรรคต้น ๕ คำ วรรคท้าย ๗ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0471 - Copy

ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้เป็นคู่กับฉันท์ต่อไปนี้

วังสัฏฐฉันท์  ท่านแต่งมากคล้ายอินทวงศ์ฉันท์
ก. ครุ ลหุ ผิดกับอินทวงศ์เพียงลหุต้นบาทเท่านั้น ดังนี้

silapa-0471 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน- ก็อย่างเดียวกัน ดังตัวอย่าง

silapa-0471 - Copy2

หมายเหตุ  ฉันท์อินทวงศ์และวังสัฏฐนี้เป็นคู่กัน คล้ายอินทรวิเชียร และอุเปนทรวิเชียร เพราะต่างกันที่มีครุ หรือ ลหุต้นบาทคำเดียวเท่านั้น แต่ท่านนิยมแต่งอินทวงศ์มากกว่า เพราะยึดเอาฉันท์บาลี “พฺรหฺมา จโลกาธิปตีฯ” (คำอาราธนาธรรม) เป็นหลัก และอาจแต่งให้เป็นกลบทสะบัดสะบิ้งในที่สุด วรรคท้ายก็ได้ด้วย เช่น “ ุ ั ุ ั” ตัวอย่าง ทุรนทุราย, ขจัดขจาย เป็นต้น ซึ่งแล้วแต่จะปรับปรุงให้เหมาะ

ภุชงคประยาต (งูเลื้อย) เป็นฉันท์ตลก ท่านนิยมแต่งมากอย่างเดียวกับ โตฎกฉันท์

ก. มีครุ ลหุ ดังนี้silapa-0472 - Copy

มีแบบบาลีว่าไว้ดังนี้ “สรชฺชํ สเสนํ สพนํธํุ นรินฺทํ” เป็นต้น

ข. ดำเนินกลอน- วรรคละ ๖ คำ อย่างโตฎกฉันท์ ดังตัวอย่าง

silapa-0472 - Copy1

ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้ท่านนิยมแต่งเฉพาะเรื่องที่เหมาะกับฉันท์คล้ายกับโตฎกฉันท์

ทุตวิลัมพิตมาลาฉันท์ มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0472 - Copy2

ข. ดำเนินกลอน- บาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคท้าย ๕ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0473 - Copy

ปุฏฉันท์ มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0473 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน– บาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0473 - Copy2

กุสุมวิจิตรฉันท์ มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0473 - Copy3

ข. ดำเนินกลอน- บาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคละ ๖ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0474 - Copy

ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้ไม่มีสัมผัสสลับและเชื่อมสลับ  เพราะต้นวรรคมีลหุทั้งนั้น

ปิยังวทาฉันท์ มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0474 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน- บาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๘ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0474 - Copy2

ลลิตาฉันท์ มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0474 - Copy3

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๒ วรรค วรรคต้น ๘ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0475 - Copy

ปมิตักขราฉันท์ มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0475 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คำ วรรคท้าย ๗ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0475 - Copy2

อุชชลาฉันท์  (อุด-ชลา-ฉันท์) มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้silapa-0475 - Copy3

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๒ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคท้าย ๕ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0476 - Copy

เวสสเทวีฉันท์ มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0476 - Copy1ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คำ วรรคท้าย ๗ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0476 - Copy2

หิตามมรสฉันท์  (อ่าน หิ-ตา-มะ-รด-สะ-ฉันท์) มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0476 - Copy3ข. ดำเนินกลอน– บาทละ ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คำ วรรคท้าย ๗ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0477 - Copy

กมลาฉันท์ หรือ กมลฉันท์ มีผู้แต่งอยู่บ้าง

ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0477 - Copy1ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๖ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0477 - Copy3

๘. ฉันท์ ๑๓ คำ มีอยู่ ๒ บาท แต่ไม่เหมาะกับภาษาไทย จึงไม่มีใครนิยมแต่ง  นอกจากท่านแต่งไว้เป็นแบบดังต่อไปนี้

ปหาสินีฉันท์ มีเฉพาะแบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0477 - Copy4

ข. ดำเนินกลอน– บาทละ ๒ วรรค วรรคต้น ๘ คำ วรรคท้าย ๕ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0478 - Copy

รุจิราฉันท์  มีเฉพาะแบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0478 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๒ วรรค วรรคต้น ๙ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0478 - Copy2

๙. ฉันท์ ๑๔ คำ  ฉันท์ ๑๔ คำนี้ มีเด่นอยู่ก็แต่ วสันตดิลก  ซึ่งท่านนิยมว่าเพราะ และแต่งกันทั่วไป ดังได้อธิบายมาแล้วในแบบเบื้องต้น และยัง
………………………………………………………………………………………….
๑ “ ว ฒ น” (รวมทั้งในตัวอย่างบทต่อไปด้วย) ท่านต้องการลหุ ๓ คำ จึงใช้ “วะ ฒะ นะ (ุ ุ ุ)” ที่ถูกต้องเป็น “วัฑฒน” หรือเขียนย่อเป็น “วัฒน” ซึ่งท่านต้องอ่านเป็นครุอยู่หน้าว่า “วัด-ฒะ-นะ(ั ุ ุ)” แต่ในที่นี้ท่านนำมาใช้เป็นการขอไปทีเพราะหาลหุให้ถูกต้องยาก ดังนั้นฉันท์ ๒ บทนี้ท่านจึงไม่นิยมแต่ง
………………………………………………………………………………………….
มีอีก ๒ บทที่ท่านทำเป็นแบบไว้ แต่ไม่นิยมแต่งในภาษาไทยเลย ดังนี้
ปราชิตฉันท์ (อ่าน ปะ-รา-ชิ-ตะ-ฉันท์) มีเฉพาะแบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0479 - Copy

ข. ดำเนินกลอน– บาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๗ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0479 - Copy1

ปหรณกลิกาฉันท์ (อ่าน ปะ-หะ-ระ-ณะ-กะ-ลิกา-ฉันท์) มีเฉพาะแบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0479 - Copy2

ข. ดำเนินกลอน-บาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๗ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0479 - Copy3

ค. หมายเหตุ  ฉันท์บทนี้ไม่มีสัมผัสสลับและเชื่อมสลับ มีแต่ รับ, รอง, ส่ง ที่ไม่นิยมแต่งในภาษาไทยก็เพราะมีลหุมาก

๑๐. ฉันท์ ๑๕ คำ มีอยู่ ๒ บท คือ มาลินีฉันท์ ซึ่งนิยมแต่งกันมาแต่โบราณแล้ว แต่ท่านมักแต่งใช้สัมผัสเป็นทำนองฉันท์ตลก และเลือกเฉพาะเรื่องให้เหมาะกับทำนองด้วย และมีอีกบทหนึ่งดังนี้

ปภัททกฉันท์ (ปะ-ภัท-ทะ-กะ-ฉันท์) มีเฉพาะแบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0480 - Copy

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๓ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคที่ ๒ วรรคที่ ๓ มีวรรคละ ๔ คำ บาท ๑ เป็นบท ๑ เพราะจบรวดสัมผัสในบาทเดียว ดังตัวอย่าง

silapa-0480 - Copy1

ค. หมายเหตุ  ฉันท์ที่กำหนดจบบทในบาท ๑ เช่นนี้  จะแต่งให้จบลงในบาทไรก็ได้ อย่างมาลินีฉันท์ที่อธิบายมาแล้ว

๑๑. ฉันท์ ๑๖ คำ  ฉันท์นี้ไม่เห็นนิยมแต่งกัน  มีอยู่เพียงบทเดียวคือ

วาณินีฉันท์  ซึ่งท่านตั้งไว้เป็นเพียงแบบเท่านั้น ดังนี้
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0480 - Copy2………………………………………………………………………………………….
๑ พิถารที่ถูกควรเป็นพิตฺถาร (จากวิตฺถาร) แต่ท่านต้องการลหุหน้า จึงลดตัวสะกดเสียเป็นพิถาร (ุ ั)

๒ ธิบาย คือ อธิบาย คำมี “อ” อยู่หน้า ท่านละ “อ” เสียได้ ซึ่งนิยมมาแต่โบราณแล้ว “อนุช” เป็น “นุช” “อภิรม” เป็น “ภิรม” ฯลฯ
………………………………………………………………………………………….
ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๓ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคท้ายมี ๖ คำ รวมบาท ๑ เป็นบท ๑ เพราะจบสัมผัสรวดหนึ่ง ซึ่งจะแต่งให้จบในบาทก็ได้ ดังตัวอย่าง

silapa-0481 - Copy

๑๒. ฉันท์ ๑๗ คำ มี ๓ บทด้วยกัน แต่ท่านแต่งไว้พอเป็นแบบเท่านั้นคือ

สิขิริณีฉันท์ ๑๗
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0481 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๓ วรรค วรรคต้น ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๗ คำ วรรคท้ายมี ๔ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0481 - Copy2

………………………………………………………………………………………….
๑ “ขติย” คือ ขัติย (ั ุ ุ) แต่ที่นี้ท่านแยกเป็นลหุทั้งนั้น เพื่อต้องการลหุเป็นการขอไปที ฉันท์ที่มีลหุมากๆ มักจะต้องเอาคำบาลีและสันสหฤตมาแยกเป็นลหุอย่างขอไปที โดยมากเช่นนี้ท่านจึงไม่นิยมแต่งกัน เพราะข้อสำคัญทำให้เสียรูปศัพท์เดิมด้วย
………………………………………………………………………………………….
หรณีฉันท์ ๑๗
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0482 - Copy

ข. ดำเนินกลอน– บาทละ ๓ วรรค วรรคต้น ๘คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำและวรรคที่ ๓ มี ๕ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0482 - Copy1

มันทักกันตาฉันท์ ๑๗
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0482 - Copy2

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๓ วรรค วรรคต้น ๑๐ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคท้ายมี ๓ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0483 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ “สวัสดิ” คือ “สฺวัสฺดิ” (ุ ั ุ) หรือจะแยกเป็น ส-วั-ส-ดิ(ุ ั ุ ุ) ก็ได้ และ “นิจ” คือ “นิจจ” (ั ุ) แต่ที่นี้ท่านแยกเป็นลหุทั้งนั้น เพื่อต้องการลหุเป็นการขอไปที
………………………………………………………………………………………….

ค.หมายเหตุ  ฉันท์นี้มีทำนองคล้ายคลึงกับฉันท์สัทธราฉันท์ ๒๑ จะแต่งแทนกันก็ได้

๑๓. ฉันท์ ๑๘ คำ  มีเฉพาะที่ท่านตั้งไว้เป็นแบบบทเดียวเท่านั้น คือ

กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์  (กุ-สุ-มิ-ตะ-ละ-ดา-เว็น-ลิ-ตา-ฉันท์)
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0483 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๓ วรรค วรรคต้น ๑๑ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคที่ ๓ มี ๓ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0483 - Copy2

ค. หมายเหตุ  วรรคต้นควรทอดจังหวะลงคำที่ ๕ เสียครั้ง ๑ ก่อนดังนี้
“มนตรีมาตย์ผู้ฉลาด, มละทุจริตธรรม์” ฯลฯ

๑๔. ฉันท์ ๑๙ คำ  ฉันท์ ๑๙ คำนี้ มีแบบที่ท่านแต่งกันมาแต่โบราณ คือ สัททุลลวิกกีฬิตฉันท์ (สันสกฤตว่า-ศารทูลวิกรีฑิตฉันท์) ดังได้อธิบายได้ โดยพิสดารข้างต้นนั้น เพราะท่านนิยมแต่งกันมาก ยังมีอีกบทหนึ่ง คือ

เมฆวิบผุชชิกาฉันท์ (เม-ฆะ-วิบ-ผุด-ชิ-ตา-ฉันท์) ท่านตั้งไว้เพียงเป็นแบบ

ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0484 - Copy

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๓ วรรค วรรคต้น ๑๒ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคที่ ๓ มี ๓ คำ ดังนี้

silapa-0484 - Copy1

ค. หมายเหตุ  วรรคต้นควรทอดจังหวะน้อยในคำที่ ๖ (บทที่ ๑ “—ตรี” ที่ ๒ “—ดา”)

ฉันท์ ๒๐ คำ มีอยู่เฉพาะอีทิสฉันท์ หรืออีทิสังฉันท์บทเดียวเท่านั้น ซึ่งอธิบายไว้เบื้องต้นแล้ว จึงไม่อธิบายซ้ำในที่นี้อีก

ฉันท์ ๒๑ คำ  ก็มีอยู่เพียงสัทธราฉันท์บทเดียว  และได้อธิบายไว้พิสดารในเบื้องต้นแล้ว เช่นกัน

ฉันท์ ๒๒ คำ เป็นฉันท์ยาวที่สุดในจำพวกฉันท์วรรณพฤติของบาลี ยังมิได้ตัวอย่างที่ท่านแต่งบาลีและไทย นอกจากที่ท่านแต่งเป็นแบบไว้ดังต่อไปนี้

ภัททกฉันท์ (ภัท-ทะ-กะ-ฉันท์) มีอยู่บทเดียวเท่านั้น
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0485 - Copy

ข. ดำเนินกลอน- เป็นบาทละ ๔ วรรค วรรคต้นๆ วรรคละ ๖ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0485 - Copy1

ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้มีบาทละ ๔ วรรค ดังนั้นท้ายวรรคต้นกับต้นวรรคที่ ๒ ท่านจึงใช้สัมผัสสลับและเชื่อมสลับแทรกลงได้  สัมผัสรับอยู่ท้ายวรรค ๒ สัมผัสรองอยู่ท้ายวรรค ๓ และสัมผัสส่งอยู่ท้ายวรรค ๔

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

คำกาพย์

ประเภทคำกาพย์  คำกาพย์ของไทยเราหมายถึงคำกานท์พวกหนึ่ง  ซึ่งต่างกับคำกลอนเพราะจัดวรรคต่างกัน ต่างกับคำโคลงและร่าย เพราะไม่นิยมเอกโท และต่างกับฉันท์ เพราะไม่นิยมครุ ลหุ แต่ท่านประพันธ์เข้ากับฉันท์ได้

กาพย์ที่เป็นสามัญมี ๓ ประเภท คือ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ครั้งโบราณหนังสืออ่านเล่นก็ดี หนังสือสอนอ่านก็ดี แม้จนหนังสือตำราบางอย่าง ท่านมักแต่งเป็นกาพย์ ๓ ประเภทนี้สลับกันแทนคำกลอนในสมัยนี้

กาพย์เหล่านี้ คงเป็นคำกานท์ดั้งเดิมของไทยเราอย่างเดียวกับโคลงและร่ายดังกล่าวมาแล้ว ครั้นอาจารย์ทางบาลีรวบรวมมาแต่งเป็นภาษาบาลี เรียกว่าคัมภีร์กาพย์  จึงเรียกว่า กาพย์ ตามภาษาบาลี

๑. กาพย์ยานี   ที่นิยมใช้แต่งสลับกับกาพย์ฉบัง และสุรางคนางค์  ในสมัยนี้มีสัมผัสมากกว่ากาพย์ยานีโบราณ ดังแบบข้อบังคับต่อไปนี้

คณะ  เหมือนโบราณ คือ บทหนึ่งมี ๒ บาท  บาทต้นเรียกว่า บาทเอก บาทท้ายเรียกว่า บาทโท และบาทหนึ่งมี ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ  รวมบาทหนึ่งเป็น ๑๑ คำทั้ง ๒ บาท  ดังนั้นท่านจึงเขียนชื่อไว้ข้างหน้า “ยานี ๑๑” บ้าง “ยานี” บ้าง บางทีก็เขียน “๑๑” บ้าง

สัมผัสนอก  ในส่วนสัมผัสนอก คือสัมผัสบังคับท่านใช้อย่างเดียวกับสัมผัสกลอนทุกอย่าง ต่างกันเพียงวรรคหนึ่งๆ มีคำน้อยกว่ากันเท่านั้น ดังจะทำแผนไว้ให้ดูต่อไปนี้
silapa-0429 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ คำกาพย์ แปลว่า คำของกวี ทางบาลีก็หมายความว่าฉันท์ แต่พระอาจารย์ทางบาลีได้รวบรวมเอาคำโคลงและคำกานท์อื่นๆ ของไทยที่ใช้อยู่ในสมัยนั้นมาแต่งเป็นภาษาบาลีให้ชื่อว่า “กาพยสารวิลาสินี” และ “กาพยคันถกะ” และกำหนดให้มีสัมผัสอย่างไทย  ซึ่งไม่เคยมีในภาบาลีเลย แต่ในส่วนโคลงร่ายของไทยมีบังคับ เอก โท ด้วย ท่านเว้นเสีย  เพราะภาษาบาลีไม่นิยม เอก โท  จึงเกิดมีโคลงตามแบบคัมภีร์กาพย์ไม่นิยม เอก โท ขึ้นดังกล่าวแล้ว

และกาพย์ ๓ ประเภทนี้  ท่านยังจำแนกเป็นประเภทละหลายชนิด โดยกำหนดวรรคและคำต่างๆ กัน และเรียกชื่อต่างๆ กันด้วย ครั้นต่อมาท่านเอาฉันท์บางบทของบาลีมาแต่งเป็นทำนองกาพย์เข้าอีก แต่มิได้นิยม ครุ ลหุ เคร่งครัดอย่างบาลีนัก  ดังนั้นกาพย์ ๓ ประเภทนี้ ท่านจึงแต่งปนเปกับฉันท์ก็ได้

๒ คำ “ยานี” ที่ใช้เรียกชื่อกาพย์ ๑๑ นี้ ท่านเรียกตามฉันท์อินทรวิเชียร  ซึ่งยกมาเป็นตัวอย่างว่า “ยานีธภูตานิสมาคตานิ” แต่ท่านลดข้อบังคับ ครุ ลหุ และเติมสัมผัสเข้าแทน และเรียกว่า กาพย์ยานี ตามตัวอย่างฉันท์นั้น ดังจะอธิบายต่อไปในข้อ “กาพย์พิเศษ” อีก
………………………………………………………………………………………….
และสัมผัสบทส่งต้นนี้จะต้องคล้องกับสัมผัสของบทต่อไป เช่นกลอนตามแผนข้างบนนี้ จะเห็นได้ว่า ๒ บาท จึงเป็นบทหนึ่ง เพราะจบรวดสัมผัสที่ท้ายบาทโท แต่ต้องแต่งให้จบลงที่ท้ายบาทโท จึงจะครบบท

สัมผัสใน  กาพย์ที่แต่งเป็นคำสวด เช่น กาพย์พระไชยสุริยา กาพย์ประถมมาลา เป็นต้น มักจะมีสัมผัสสระทุกวรรค และโดยมากเป็นสัมผัสชิดกัน ที่จริงจะใช้สัมผัสคั่นก็ได้ แต่วรรคหนึ่งๆ มีน้อยคำใช้สัมผัสคั่นลำบาก บางแห่งท่านก็ใช้สัมผัสอักษรแทนบ้าง แล้วแต่เหมาะ เพราะสัมผัสในไม่ใช่สัมผัสบังคับจะไม่มีเลยก็ไม่ผิด จงสังเกตตัวอย่างในกาพย์พระไชยสุริยา (ของสุนทรภู่) ต่อไปนี้
silapa-0430 - Copy
เสียงวรรณยุกต์  สำหรับกาพย์ยานีและกาพย์อื่นๆ ไม่มีบังคับอย่างกลอน คือในสัมผัสรวดหนึ่งจะมีเสียงวรรณยุกต์เสียงเดียวกันทั้งหมดก็ได้  ข้อสำคัญมีอยู่เพียงไม่ให้ส่งและรับเป็นคำเดียวกัน เช่น ส่ง กัน จะรับ กัน หรือ กัณฑ์, กรรณ์ ฯลฯ  ซึ่งมีเสียงอ่านอย่างเดียวกันไม่ได้ รวมความว่าจะใช้คำเสียงอ่านซ้ำกันอยู่ถัดกันไปไม่ได้ แต่ถ้าใช้คำต่อไปเป็นเสียงอื่นแล้ว คำที่สามก็ใช้ซ้ำกันเช่นนี้มีบ้าง เช่น

“หอมกลิ่นพิกุลแกม        กับนางแย้มทรงกลิ่น สี
มลิลาสารภี                   งามกลิ่น สี น่าใคร่ชม”

เช่นนี้ใช้ได้ทุกแห่ง แต่ท่านไม่นิยม ข้อสำคัญท่านนิยมในรวดเดียวกัน ไม่ใช้ซ้ำกันเลย เป็นส่วนมาก๑

หมายเหตุ  ตามแผนข้างบนนี้  เป็นกาพย์ยานีนิยมสัมผัส  ซึ่งใช้กันอยู่บัดนี้  แต่กาพย์ยานีโบราณ ท่านใช้สัมผัสแต่ เชื่อม สลับ ในบาทเอกเท่านั้น ส่วนสัมผัสเชื่อมรองในบาทโทนั้นไม่ต้องมี เช่นตัวอย่างของเก่าของท่านดังนี้

บาทเอก  ชมพรรณบุปผา  ผกาแก้วพิกุลแกม (มีเชื่อมสลับ)
บาทโท    สารภียี่สุนแซม   ลดาดอกลำดวนดง (ไม่มีเชื่อมรอง)

และตัวอย่างในหนังสือมาลัย ดังนี้
บาทเอก  ในกาลอันลับล้น        พ้นไปแล้วแต่ครั้งก่อน (มีเชื่อมสลับ)
บาทโท    ภิกษุหนึ่งได้พระพร    ชื่อมาลัยเทพเถร (ไม่มีเชื่อมรอง)

๒. กาพย์ฉบัง  กาพย์นี้ท่านเรียกชื่อว่า “ฉบำ” ก็มี  บางทีก็เขียนเลขหมายไว้ข้างหน้าว่า “๑๖” เท่านั้นก็มี  เพราะกาพย์นี้บทหนึ่งมี ๑๖ คำ และมีข้อบังคับดังต่อไปนี้

คณะ  บทหนึ่งมีบาทเดียว จึงไม่มีบาทโทอย่างกาพย์ยานี และบาทหนึ่งๆ มี ๓ วรรค คือวรรคต้นมี ๖ คำ วรรคกลางมี ๔ คำ และวรรคท้ายมี ๖ คำ รวมเป็นบทหนึ่งมีบาทเดียว ๑๖ คำ  และเพราะมีบาทเดียวไม่กำหนดบาทเอก บาทโท จึงแต่งให้จบลงในบาทไรก็ได้ นับว่าครบบทหนึ่งเท่านั้น
………………………………………………………………………………………….
๑ ในกาพย์พระไชยสุริยาของสุนทรภู่ ท่านพยายามใช้เสียงวรรณยุกต์อย่างกลอนอยู่มาก เช่น ส่ง-เสียง-สามัญ-รับเสียงจัตวา เป็นต้น  แต่ที่ใช้ตรงกันข้ามกับที่ว่านี้ คือ ส่ง จัตวา รับสามัญก็มี เช่น

แม่นกปกปีกเคียง       เลี้ยงลูกอ่อนป้อนอาหาร(ส่งจัตวา)
ภูธรนอนเนินเขา        เคียงคลึงเคล้าเยาวมาลย์(รับสามัญ)

รวมความว่าท่านมิได้มีข้อบังคับเรื่องเสียงวรรณยุกต์เลย แต่ก็พยายามให้ใช้เสียงวรรณยุกต์ได้อย่างกลอนยิ่งมากยิ่งดี
………………………………………………………………………………………….
สัมผัส  กาพย์นี้ไม่มีสัมผัสสลับจึงจบรวดในบาทเอก-โท ได้  ซึ่งตามธรรมดาจบสัมผัสรวดหนึ่งท่านนับเป็นบทหนึ่ง  สัมผัสนอกของกาพย์นี้ตามแบบโบราณท่านใช้ ๓ แห่ง คือ คำสุดวรรคต้นเป็นสัมผัสรับ คำสุดวรรคกลางเป็นสัมผัสรอง และคำสุดวรรคท้ายเป็นสัมผัสส่ง ตามตัวอย่างของท่านดังนี้
silapa-0432 - Copy
๓. กาพย์สุรางคนางค์  บางทีก็ใช้ว่า “สุรางคณา” แต่ก็แปลว่านางฟ้าด้วยกันทั้ง ๒ อย่าง  บางทีท่านเขียนไว้ข้างหน้าว่า “๒๘” เท่านั้นก็มี  เพราะกาพย์นี้บทหนึ่งมี ๒๘ คำ  โดยปรกติที่ใช้กันแพร่หลายในบัดนี้มีข้อบังคับ ดังต่อไปนี้

คณะ  บทหนึ่งมีบาทเดียว ซึ่งมี ๗ วรรคด้วยกัน และวรรคหนึ่งๆ มี ๔ คำ  ซึ่งรวมเป็นบทหนึ่งมี ๒๘ คำ  ดังนั้นท่านจึงเรียกว่า กาพย์ ๒๘ ก็ได้ และเพราะกาพย์นี้มีบทละบาทเดียว คือไม่มีบาทโท จึงแต่งให้จบลงในบาทใดก็ได้อย่างกาพย์ฉบัง ไม่จำเป็นให้จบในบาทคู่เหมือนกาพย์ยานี

สัมผัส  มีระเบียบอย่างสัมผัสกลอน คือ มี สลับ รับ รอง ส่ง และมีเชื่อมสลับ เชื่อมรอง เช่นกัน แต่เติม-สลับ-และ-รอง ขึ้นอีกอย่างละรวดดังแผนต่อไปนี้
silapa-0433 - Copy

รวมความว่าสัมผัสรวดใหญ่ มีสัมผัสสลับต้นหนึ่ง ๓ วรรค คือ “กน” เป็นสลับหนึ่ง “ปน” เป็นรองสลับหนึ่ง และ “คน” เป็นเชื่อมสลับหนึ่ง แล้วจึงถึงรับของรวดใหญ่ “ไป” ซึ่งอยู่ท้ายวรรคนั้น และรองมี ๒ วรรค คือ “ธร” เป็นสลับสอง “นอน” เป็นเชื่อมสลับสองต่อแล้วจึงถึง “ไพร” อยู่ท้ายวรรค เชื่อมสลับสอง นับว่าเป็นรอง ๑ ของรวดใหญ่ แล้วถึงรอง ๒ ซึ่งอยู่ท้ายวรรคต่อไป (วรรค ๖) แล้วจึงถึงเชื่อมรอง ๒ ของรวดใหญ่อยู่ต้นวรรคส่งคือคำ “ไพ” แล้งจึงถึงส่งของรวดใหญ่ ซึ่งอยู่ข้างท้ายวรรค (วรรค ๗) คือคำ “สถาน” ต้องคล้องกับสัมผัสรับ วรรคที่ ๓ ของบทต่อไป เป็นดังนี้เรื่อยไป

แบบกาพย์สุรางคนางค์โบราณ  ก็ทำนองเดียวกับแผนข้างบนนี้ แต่ท่านไม่นิยมใช้สัมผัสเชื่อมต้นวรรค เป็นสัมผัสบังคับ คือใช้แต่สัมผัสสลับ รับ รอง ส่ง ตามแผนข้างบนนี้ เช่นตัวอย่างเดิมของท่าน ดังนี้
silapa-0434 - Copy
เสียงวรรณยุกต์  กาพย์นี้ก็นิยมใช้เสียงวรรณยุกต์เช่นเดียวกับกาพย์ยานี และกาพย์ฉบังเหมือนกัน จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำอีก

กาพย์พิเศษ  ได้แก่กาพย์ซึ่งมีข้อบังคับหรือวิธีประพันธ์แตกต่างออกไปจากกาพย์ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้ กล่าวโดยย่อมี ๒ ประเภท ดังนี้

(ก) คือประเภทกาพย์ที่อาจารย์ทางบาลีได้รวบรวมเอาคำกานท์ในภาษาไทยโบราณ เช่นคำโคลง คำร่าย และคำนำอื่นๆ ที่ใช้อยู่ในสมัยนั้นมาแต่งเป็นภาษาบาลี ใช้ชื่อว่าคัมภีร์กาพยสารวิลาสินี และกาพยคันถกะ เป็นต้น และคำกานท์เหล่านั้น ท่านให้ชื่อ “กาพย์” ทั้งสิ้น  ซึ่งที่จริงก็มีแบบบังคับอย่างโคลง ร่าย ฯลฯ ของไทยเราเดิมนั้นเอง  ต่างแต่ไม่มีบังคับ เอก โท เท่านั้น เพราะภาษาบาลีไม่มีวรรณยุกต์  กาพย์เหล่านี้ท่านนำมาแต่งเป็นโคลงในภาษาไทยก็มีอยู่บ้าง จึงได้รวบรวมมาอธิบายไว้ในแผนกโคลงข้างต้นนี้ รวมเรียกว่า “โคลงตามแบบคัมภีร์กาพย์”

(ข) ลำนำทั้ง ๓ ที่เราเรียกกาพย์ตามแผนข้างบนนี้ ท่านก็รวบรวมมาแต่งเป็นภาษาบาลีไว้ในคัมภีร์กาพย์นั้นด้วย แต่ท่านแบ่งออกไปเป็นหลายชนิดด้วยด้วย ทั้งใช้ชื่อตามภาษาบาลีต่างออกไปด้วย ที่จริงนอกจากตัวอย่างที่ท่านทำไว้ให้ดูแล้วก็ไม่มีที่อื่นอีก ฉะนั้นในที่นี้จะนำมากล่าวแต่เฉพาะที่ท่านใช้อยู่เท่านั้น ดังต่อไปนี้

(ค) กาพย์ยานีที่ใช้เป็นพิเศษ  กาพย์ยานีนอกจากที่แต่งรวมกับบทกาพย์ด้วยกัน ดังกล่าวมาแล้ว ท่านยังแต่งเข้ากับฉันท์ได้อีก เพราะมีข้อบังคับคล้ายฉันท์อินทรวิเชียร ต่างกันก็เพียงแต่ไม่นิยมครุลหุเท่านั้น เช่นตัวอย่างในคำกฤษณาสอนน้อง ดังนี้

“ตื่นก่อนเมื่อนอนหลัง        พึงเฝ้าฟังบรรหารแสดง
ตรัสใช้ระไวระแวง             ระวังศัพท์รับสั่งสาร” ดังนี้เป็นต้น

แต่ก็ไม่แปลกกับกาพย์ยานีโบราณ ส่วนที่ใช้เป็นพิเศษที่ควรนำมากล่าวให้พิสดารนั้น ดังต่อไปนี้

(ฆ) กาพย์ห่อโคลง กาพย์ยานีนี้ท่านแต่งสลับกันกับโคลง ๔ สุภาพ ให้เนื้อความเข้ากับโคลงนั้นด้วย นับว่าเป็นกาพย์พิเศษอย่างหนึ่ง เรียกชื่อว่า “กาพย์ห่อโคลง” ตามวิธีแต่งนั้น คือแต่งกาพย์ขึ้นบทหนึ่งก่อน แล้วแต่งโคลงให้มีเนื้อความเลียนกาพย์นั้นเป็นลำดับต่อลงมาบทต่อบท เป็นการประกวดความคิดกัน ซึ่งนับว่ายากอยู่ เพราะโคลงแบบหนึ่งมี ๗ ถึง ๙ คำ แต่กาพย์มีเพียงวรรคหนึ่ง ๕-๖ คำเท่านั้น จะต้องใช้ถ้อยคำให้ได้ความเท่ากันกับกาพย์บาทละวรรคด้วย ส่วนข้อบังคับก็เช่นเดียวกันกับโคลงกับกาพย์ยานี ซึ่งวางไว้ข้างบนนั้นเอง แต่ข้อบังคับพิเศษ สำหรับกาพย์ห่อโคลงดังนี้ คือ

ต้องแต่งกาพย์ยานีบทหนึ่ง ซึ่งมี ๔ วรรค สลับกับโคลงสี่สุภาพบทหนึ่ง ซึ่งมี ๔ บาท ให้เนื้อความในกาพย์วรรคหนึ่งเท่ากันกับโคลงบาทหนึ่งๆ ด้วยตามลำดับ และให้คำต้นวรรคกาพย์กับคำต้นบาทโคลงเป็นคำเดียวกันด้วย๑ ดังตัวอย่างของเก่าต่อไปนี้

กาพย์ยานี
“ช้างต้นเผือกพลายพัง        อีกสมวังเนียมกุญชร
ม้าต้นดั่งไกรสร                  สิงห์สีหราชอาจสงคราม

โคลง ๔ สุภาพ
ช้างที่นั่งพัง๒ ล้ำ        กิริณี
อีกพลายปราบไพรี      ราบได้
ม้าที่นั่งดังศรี             สิงหราช
สิงห์คึกอึกอาจให้       ปราบด้วยชำนาญ๓”

หมายเหตุ  ตามข้อบังคับมีว่า วรรคกาพย์กับบาทโคลงทุกคู่ต้องเป็นเนื้อความที่ถ่ายออกจากกัน คือเป็นอย่างเดียวกัน แต่ตามตัวอย่างข้างบนนี้มีเหลื่อมล้ำกันอยู่บ้าง แสดงว่านับว่าใช้ได้แล้ว เพราะคำประพันธ์โบราณท่านนิยมความไพเราะเป็นสำคัญ มาในสมัยนี้กวดขันข้อบังคับกันเป็นข้อสำคัญ  ก็ควรแต่งให้ได้ตามที่นิยมกัน แต่ข้อสำคัญยิ่งนั้นอยู่ที่ความไพเราะและให้ได้ความชัดเจน

อนึ่งกาพย์กับโคลงท่านแต่งเป็นบทๆ ไม่คล้องจองติดต่อกันก็มี ดังตัวอย่างข้างบนนี้ ถ้าเราจะแต่งให้คล้องจองกันอย่างลิลิตก็นับว่าไพเราะยิ่งขึ้น คือต้องให้ได้สัมผัสถูกต้องตามสัมผัสรับของโคลงและกาพย์ด้วย๔
………………………………………………………………………………………….
๑ ข้อนี้เห็นมีต่างกันบ้าง แต่ก็น้อยแห่ง น่าจะเป็นด้วยท่านไม่นิยมเข้มงวดนักกระมัง

๒ “พัง” ควรเป็นเอกตามข้อบังคับโคลง ๔  โคลงโบราณท่านไม่เข้มงวดในข้อบังคับนัก ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ท่านจึงไม่นิยมนัก

๓ ตัวอย่างกาพย์ห่อโคลงนี้ท่านเอากาพย์ขึ้นต้น และเอาโคลงไว้ทีหลัง ตามที่เขียนไว้นี้ แต่สังเกตดูคำอธิบายของท่าน น่าจะเห็นว่าควรแต่งโคลงขึ้นก่อนแล้วแต่งกาพย์เลียนโคลงนั้นภายหลัง เพราะท่านเปรียบโคลงเป็นต้นไผ่หรือต้นอ้อย และคำกาพย์นั้นเปรียบดังกาบ  ซึ่งห่อหุ้มต้นอ้อยและต้นไผ่อีกทีหนึ่ง  ซึ่งมักจะหุ้มให้มิดยาก เพราะบาทโคลงมีมากกว่าคำกาพย์วรรคหนึ่งๆ จึงเป็นของต้องใช้ความคิดรวบรัดข้อความ นับว่าเป็นศิลปะทางกวีดีอยู่ และตัวอย่างที่แต่งโคลงก่อนก็มีอยู่มาก เช่น กาพย์ห่อโคลงเห่เรือเป็นต้น มีข้อต่างกันอยู่ก็คือ ท่านไม่แต่งโคลงบท ๑ กาพย์บท ๑ สลับกันไปอย่างที่อธิบายไว้ในแบบ  แต่ท่านแต่งกาพย์เลียนตามโคลงไว้บทหนึ่งก่อน แล้วก็แต่งกาพย์บรรยายความต่อไปนี้เท่าไรๆ ก็ได้  เมื่อจบความแล้วจึงขึ้นโคลงใหม่ แล้วก็แต่งกาพย์ต่อไป อย่างข้างต้นที่อธิบายมานี้ท่านเรียก “กาพย์ห่อโคลง” เหมือนกัน

๔ สัมผัสของโคลงสุภาพนั้น คือรับคำที่ ๑-๒-๓ ของบาทต้น แต่รับโคลงดั้นต้องไปรับคำที่ ๕ ของบาท ๒ (ถ้าจะแต่งโคลงดั้นบ้างก็ต้องรับดังนี้) ส่วนสัมผัสรับของกาพย์ยานีนั้นต้องไปรับคำท้ายของบาทเอกอย่างกาพย์ยานีรับกัน
………………………………………………………………………………………….
อนึ่งกาพย์ห่อโคลงที่ท่านแต่งเป็นเรื่องยืดยาวนั้น  เห็นท่านแต่งโคลงขึ้นก่อนแล้วแต่งกาพย์เลียนโคลง และเพิ่มเติมอีกเท่าไรก็ได้ ดังนั้นจึงรวมความได้ว่ากาพย์ห่อโคลง แต่งได้ ๓ อย่างคือ

(๑) แต่งกาพย์ยานีก่อน แล้วแต่งโคลงเลียนบทต่อมา ตามตัวอย่างในแบบอย่างหนึ่ง
(๒) แต่งโคลงก่อนแล้วแต่งกาพย์เลียนบทต่อบทอย่างหนึ่ง
(๓) หรือแต่งโคลงก่อนแล้วแต่งกาพย์เลียน และแต่งกาพย์พรรณนาเพิ่มเติมอีก อย่างกาพย์ห่อโคลงเห่เรือเป็นต้นอีกอย่างหนึ่ง

ตัวอย่างกาพย์ห่อโคลงเห่เรือของเก่า
โคลง
ปางเสด็จประเวศด้าว        ชลาลัย
ทรงรัตน์พิมานชัย              กิ่งแก้ว
พรั่งพร้อมพวกพลไกร        แหนแห่
เรือกระบวนต้นแพร้ว          เพริศพริ้งพายทอง

กาพย์๑
พระเสด็จโดยแดนชล        ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย       พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแล่นเป็นขนัด            ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอน             สาครลั่นครั่นครื้นฟอง
ฯลฯ

และจะแต่งกาพย์พรรณนาต่ออีกเท่าไรก็ได้

(ง) กาพย์ฉบังที่ใช้เป็นพิเศษ  ในข้อนี้ดูไม่แปลกไปจากกาพย์ฉบังธรรมดานัก เป็นแต่ท่านนิยมแต่งกาพย์ฉบังนี้เป็นกลบทนาคบริพันธ์ชุกชุมเท่านั้น จึงนำมาอธิบายไว้ในที่นี้ด้วยดังต่อไปนี้
………………………………………………………………………………………….
๑ กาพย์นี้ท่านแต่งเพียงเลียนตามความให้ได้รับบาทโคลงบนเท่านั้น  หาได้เลียนคำให้เหมือนกันตามแบบข้างบนนี้ไม่ เข้าใจว่าท่านต้องการให้ได้เรื่องการไพเราะเท่านั้น ไม่เข้มงวดทางระเบียบนักสมัยนี้มักต้องการระเบียบด้วย ถ้าดำเนินตามตัวอย่างข้างบนนี้ได้ก็ยิ่งดี
………………………………………………………………………………………….
ฉบับนาคบริพันธ์ หรือนาคบริพันธ์ ๑๖ คือกาพย์ฉบับที่ท่านแต่งเป็นกลบทที่เรียกว่า นาคบริพันธ์ คือ ใช้สัมผัสผูกพันกันอย่างงูกลืนหางได้แก่ให้สัมผัสอักษร ๒ คำ ท้ายวรรค เกี่ยวพันกันกับ ๒ คำที่ขึ้นต้นวรรคต่อไป ตามแบบตัวอย่างของท่านดังนี้

บทที่ ๑ “ปางพระศาสดาจอมไตร  เสด็จประดิษฐานใน  ดุสิตมิ่งแมนสวรรค์
บทที่ ๒ แมนสวัสดิ์สมบัติอนันต์    อเนกแจจรร              พิพิธโภไคศูรย์
บทที่ ๓ โภไคสวรรยามากมูน    มากมายเพิ่มพูน      อนันต์เนื่องบริพาร” ฯลฯ

หมายเหตุ  ตัวอย่างข้างบนนี้ท่านแต่งเป็นนาคบริพันธ์ ๒ แห่ง คือ ๒ คำวรรคต้น กับ ๒ คำวรรคกลาง เช่น…..อนันต์, กับ อเนก….., หรือ…..มากมูน, กับ มากมาย…..เป็นต้น และ ๒ คำท้ายบท กับ ๒ คำที่ขึ้นบทใหม่ เช่น…..แมนสวรรค์, กับ แมนสวัสดิ์….., และ……โภไคศูรย์, กับ โภไคสวรรยา……เป็นต้น และคำต้นท่านใช้ซ้ำกัน  แต่คำที่ ๒ ไม่ซ้ำกัน แต่ได้สัมผัสอักษรกัน ดังตัวอย่างอื่นๆ เช่น-สมบัติ-สมบูรณ์, รังแก-รังเกียจ เป็นต้น

ที่จริงจะใช้เพียงสัมผัสอักษรสลับกัน เช่น สมบัติ-ทรงแบ่ง, และ รังแก-รู้กัน เป็นต้นก็ดี และจะใช้ได้ทั้งหมด หรือเว้นบ้างอย่างข้างบนนี้ก็ดี หรือใช้เพียงแห่งเดียวก็ดี  ถ้าใช้เป็นระเบียบเช่นนั้นเสมอไป ก็นับว่าเป็นนาคบริพันธ์ได้ทั้งนั้น ที่จริงกาพย์ฉบังนาคบริพันธ์นี้ก็เป็นเพียงกลบทเท่านั้น ข้อบังคับต่างๆ ก็เป็นทำนองเดียวกับกาพย์ฉบังทั้งนั้น ที่นำมากล่าวไว้ในที่นี้ก็เพราะมีแบบโบราณท่านนิยมแต่งกันโดยมากเท่านั้น  ถึงจะบกพร่องไปบ้างก็ไม่เป็นไร ดังบทต้นข้างบนนี้ท้ายวรรคต้นไม่เป็นนาคบริพันธ์ (จอมไตร-เสด็จประดิษฐานใน) ถึงจะเอากาพย์อื่นๆ เช่น ยานี มาแต่งเล่นบ้างก็ได้๑
………………………………………………………………………………………….
๑ ถ้าจะแต่งกาพย์ยานีให้เป็นนาคบริพันธ์บ้าง  ซึ่งเลียนจากกาพย์ พระไชยสุริยาดังนี้
“ขึ้นกกตกทุกข์ยาก        ทุกข์ยิ่งมากจากเวียงไชย
เวียงชื่นรมย์รื่นใจ        รื่นจิตต์ไม่คงอยู่นาน” เป็นต้น

หรือจะแต่งให้เป็นนาคบริพันธ์  เฉพาะแห่งเดียวให้เป็นระเบียบกันไปอย่างฉบังก็ได้ชื่อ “ยานีนาคบริพันธ์” หรือ “นาคบริพันธ์ ๑๑” ก็ได้เช่นกัน
………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุ  กาพย์ยานีและกาพย์ฉบังนี้  ท่านใช้แต่งเป็นคำพากย์โขนและหนังด้วย  โดยมากคำพากย์ฝ่ายพระราม  ท่านแต่งเป็นกาพย์ยานี แต่คำพากย์ฝ่ายยักษ์ท่านแต่งเป็นกาพย์ฉบัง  ส่วนวิธีแต่งนั้น เป็นไปอย่างกาพย์โบราณ ดังกล่าวมาแล้ว

(จ) กาพย์สุรางคนางค์ที่ใช้เป็นพิเศษ  กาพย์สุรางคนางค์ ท่านนำมาแต่งไว้เป็นบาลี ทั้งในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี และคัมภีร์คันถะ และเรียกชื่อต่างๆ กันด้วย  แต่ที่แต่งเป็นไทยท่านเรียกว่า สุรางคนางค์ทั้งนั้น แต่ในที่นี้จะอธิบายเฉพาะที่ท่านแต่งเป็นพิเศษในภาษาไทยเท่านั้นดังนี้

๑. กาพย์สุรางคนางค์ที่บังคับครุลหุ  กาพย์นี้ในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี ซึ่งท่านแต่งเป็นบาลีไว้มีบังคับครุ ลหุ ด้วย คือมีลหุ และครุสลับกันไปทุกวรรคจนจบบท  ตามตัวอย่างของท่านดังนี้

“สุสารโท มหิทฺธิโก มหาอิสี, สุปาทจกฺ-กลกฺขณี, วราหรี วรนฺททา ฯลฯ”

กาพย์นี้ ตามตัวอย่างที่แต่งเป็นไทย ท่านมิได้นิยมครุลหุตามแบบนี้ คือ แต่งอย่างกาพย์สุรางคนางค์โบราณดังกล่าวแล้วนั้นเอง  แต่มีบางแห่งที่แต่งเข้ากับฉันท์ ท่านนิยมให้มีครุ ลหุ ตามแบบนี้ด้วย จึงนับว่าเป็นกาพย์พิเศษส่วนหนึ่ง ดังแต่งไว้เป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

“ชะอมชบา มะกอกมะกา มะค่าและแค, ตะขบตะค้อ สมอแสม มะกล่ำสะแก ก็แลไสว” ดังนี้เป็นต้น

กาพย์นี้ท่านให้ชื่อว่า “กากคติ” (ทางเดินของกา แต่ในภาไทยท่านก็เรียกสุรางคนางค์เช่นกัน บางทีก็เขียนไว้ข้างหน้าว่า “๒๘” เท่านั้น

๒. กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒ คำ กาพย์สุรางคนางค์ธรรมดามี ๒๘ คำ คือ ๗ วรรค วรรคละ ๔ คำ แต่กาพย์นี้เติมวรรครองสลับเข้าอีกวรรคหนึ่ง รวมกับวรรครับเป็น ๘ วรรค จึงเป็น ๓๒ คำ ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0439 - Copy
ดังตัวอย่างเทียบให้ดูดังนี้
สุรางคนางค์ ๒๘ (ตัวอย่างเดิม)

สลับต้น                 รองสลับต้น             รับ
“สรวมชีพขอถวาย    บังคมโดยหมาย         ภักดีภิรมย์

สลับต่อ                    รอง๑            รอง๒        ส่ง
เสร็จจำนองฉันท์        จำแนกนิยม    วิธีนุกรม    เพื่อให้แจ้งแจง”

สุรางคนาง ๓๒ (เติมวรรครองสลับต้น ๒ เข้าอีกวรรคหนึ่ง) ดังนี้

silapa-0440 - Copy

หรือจะให้สัมผัสเชื่อมเข้าอีก ดังตัวอย่างข้างบนนี้ก็ได้ ที่จริงกาพย์สุรางคนางค์ ๓๒ นี้ ท่านตั้งชื่อไว้เป็นพิเศษเหมือนกัน แต่ที่ท่านแต่งในภาษาไทย ก็ใช้เรียก “สุรางคนางค์” หรือใส่ “๓๒” ไว้ข้างหน้า เท่านั้น เราควรเรียกว่า “สุรางคนางค์ ๓๒” ก็พอ

๓. กาพย์สุรางคนางค์ ๓๖ ที่เรียกว่ากาพย์ขับไม้ กาพย์ชนิดนี้ท่านใช้ร้องขับกับเพลง ซอ และบัณเฑาะว์ ในพิธีบางอย่าง เรียกกันทั่วไปว่า “กาพย์ขับไม้” ดำเนินกลอนอย่างสุรางคนางค์ และเพิ่มขึ้นอีก ๒ วรรค วรรคละ ๔ คำ รวมเป็น ๓๖ คำ จึงเป็นสุรางคนางค์ ๓๖ คำนั่นเอง ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0441 - Copy

วรรคที่เติมขึ้นนั้น คือ รองสลับต่อ กับ รอง๓ ที่ขีดเส้นใต้ไว้ตามระเบียบ ต้องแต่งกาพย์ขับไม้นี้ ๒ บท แล้วจึงแต่งโคลงขับไม้ต่ออีก ๒ บท สลับกันดังนี้จนจบ แต่โคลงที่ใช้ต่อกาพย์นี้ท่านไม่นิยม เอก นิยมแต่ โท เท่านั้น และโทคำที่ ๕ บาทต้นนั้น จะใช้ลงในคำที่ ๔ ก็ได้ อย่างโคลงธรรมดา และคำส่งท้ายบทของกาพย์หรือโคลง ต้องรับสัมผัสกับคำที่ ๕ บาทต้นของโคลงบทต่อไปด้วย  ถ้าบทต่อไปเป็นกาพย์ก็ต้องให้คล้องตามแบบบังคับกาพย์ ดังตัวอย่างของท่านแสดงไว้ดังนี้

silapa-0442 - Copy

(คำส่งนี้จะต้องไปเข้าสัมผัสกับคำรับท้ายวรรคที่ ๓ ของกาพย์ต่อไป เช่น คำว่า “ศรี” ที่บอกไว้ว่า “รับ” ข้างบนนี้)

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

คำโคลง ร่าย และลิลิต

ข้อบังคับคำโคลงทั่วไป  คำโคลงและร่ายนี้เป็นคำกานท์ดั้งเดิมของไทยเรา กล่าวคือ คำร่ายเป็นคำกานท์ที่ใช้กันแพร่หลายในสมัยโบราณ มีสัมผัสต้นวรรคปลายวรรคคล้องกันเรื่อยไป เช่น คำกาพย์พระมุนีของไทยเหนือ หรือแม้พระนามาภิไธยพระเจ้าแผ่นดิน นามขุนนางผู้ใหญ่ เป็นต้น ก็ใช้กัน ผิดกันที่มีวิธีแต่งยากกว่ากัน แต่ในสมัยต่อมา ท่านเอาร่ายกับโคลงมาแต่งเป็นเรื่องรวมกัน ซึ่งเรียกว่าลิลิต ดังจะกล่าวข้างหน้า

สมัยนี้คำโคลงเป็นของแต่งกันแพร่หลายมาก รองจากกลอนลงมา จึงขอยกคำโคลงขึ้นอธิบายก่อน ดังนี้

๑. คณะ  คณะของโคลงนั้นหาได้เป็นอย่างเดียวกันทั่วไปเหมือนคำกลอนไม่ กล่าวคือ จัดตามประเภทของโคลง ซึ่งมีประเภทใหญ่ ๒ ประเภท คือ โคลงสุภาพ และโคลงดั้น และทั้ง ๒ ประเภทนี้ยังมีประเภทย่อยลงไปอีก เช่น โคลง ๔, โคลง ๓ และโคลง ๒ เป็นต้น ดังนั้นข้อบังคับคณะจึงจำเป็นต้องกล่าวพร้อมกันไป ในข้ออธิบายโคลงประเภทนั้นๆ

๒. สัมผัส  สัมผัสนอกของโคลง  คือสัมผัสสระที่บังคับให้มีเฉพาะโคลงประเภทหนึ่งๆ จึงจำเป็นต้องนำไปกล่าวพร้อมกับประเภทของโคลงนั้นๆ ส่วนสัมผัสในนั้น ถึงแม้จะไม่เป็นข้อบังคับตายตัวก็จริง แต่ท่านก็นิยมใช้กันเป็นพื้น   ดังนั้นในที่นี้จะนำหลักที่ท่านใช้กันเป็นพื้นมากล่าวไว้พอเป็นที่สังเกตโดยทั่วๆ ไป ดังต่อไปนี้

สัมผัสในของโคลงนั้นท่านนิยมใช้อยู่ ๒ แห่ง คือ

ก. แห่งต้นคือ  ในวรรคที่มีคำ ๕ คำ ซึ่งโดยมากเป็นวรรคต้นๆ เพราะวรรคท้ายมักเป็น ๒ คำ หรือ ๔ คำทั้งนั้น  และใช้ได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร และท่านนิยมสัมผัสอักษรมากกว่าสัมผัสสระ และนับว่าสัมผัสชิดกันสละสลวยดีกว่าสัมผัสคั่นกันทั้งสระและอักษร  ยิ่งได้สัมผัสชิดเคล้ากันทั้งสระและอักษรด้วยก็ยิ่งดี ดังตัวอย่าง
silapa-0378 - Copy
ทั้งนี้เสกสรรขึ้นให้เห็นเฉพาะอย่าง  ตามปกติท่านมักประพันธ์เพียงให้ได้สัมผัสกันไม่เลือกชนิด ถือเอาการใช้ถ้อยคำเหมาะเจาะเป็นเกณฑ์

ข. แห่งที่สองนั้น  คือคำสุดวรรคต้น กับคำต้นวรรคท้าย ท่านมักนิยมให้ได้สัมผัสอักษรกัน นอกจากจำเป็นคือ คำหลายพยางค์ต้องสุดวรรคลงกลางคำที่เรียกว่ายัติภังค์ หรือมิฉะนั้นก็เนื้อความบังคับให้จำเป็นต้องใช้คำอื่นจึงจะได้ความดี  นอกจาก ๒ ข้อนี้บังคับแล้ว ท่านมักใช้สัมผัสอักษรเชื่อมกันเป็นพื้น ถ้าหาสัมผัสอักษรไม่ได้ ก็ใช้สัมผัสสระแทนได้บ้างแต่ไม่ได้ทั่วไป เพราะถ้าไปพ้องกับสัมผัสนอกเข้าก็จะทำให้สัมผัสนอกเลือนเสียความไพเราะไป  ดังจะนำโคลงพระลอมาเป็นตัวอย่าง ทั้งข้อ (ก) และข้อ (ข) ต่อไปนี้
silapa-0378 - Copy1

 

silapa-0379 - Copy
๓. คำเอกโท  นับว่าเป็นข้อบังคับของโคลงเป็นพื้น จะกล่าวต่อไปเฉพาะท่านบังคับเป็นแบบตามชนิดของโคลง

๔. คำขึ้นต้นและลงท้าย
คำขึ้นต้น  ซึ่งเกี่ยวกับโคลงมีอยู่อย่างหนึ่ง คือท่านตั้งกระทู้ขึ้นต้นให้แต่งเป็นโคลงต่อไป ที่เรียกว่า “โคลงกระทู้”

ส่วนคำลงท้าย สำหรับโคลงทั่วไป ซึ่งจำเป็นจะกล่าวในที่นี้นั้น ก็คือ “คำสร้อย” ซึ่งท่านแต่งเติมท้ายบาทของโคลงตามข้อบังคับ เพื่อให้ได้ความครบ ถ้าได้ความครบแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องใส่สร้อยลงไป แต่ก็มีหลักควรสังเกตอยู่ คือ คำสร้อยโคลงทั่วไปนั้นมีอยู่ ๒ คำ คำต้นนั้นมีหน้าที่ต่อคำข้างหน้าให้ได้ความครบ  ส่วนคำท้ายนั้นเป็นคำเสริมขึ้นให้เต็ม สร้อยมีหน้าที่ทำให้ความไพเราะขึ้นหรือชัดเจนขึ้นเท่านั้น ดังจะยกตัวอย่างมาให้ดูเช่น “รังรูปเหมมฤคอ้าง ฤาควร เชื่อเลย” ดังนี้ “เชื่อเลย” เป็นคำสร้อย คำต้น “เชื่อ” จำเป็นต้องเติมเพื่อให้ความครบว่า “ไม่ควรเชื่อ” แต่คำท้าย “เลย” เพิ่มให้เพราะขึ้นว่า “ไม่ควรเชื่อทีเดียว” เท่านั้น ถึงจะไม่ใส่ก็ได้ความ แต่ใช้คำเดียวไม่ถูกแบบสร้อยโคลง และคำท้ายสร้อยโคลงนี้ท่านจำกัดใช้เป็นพวกหนึ่งต่างหาก บางคำก็ตรงกับที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้  บางคำก็ผิดเพี้ยนกันไป ดังจะรวบรวมมาชี้แจงไว้พอเป็นที่สังเกตต่อไปนี้

“พ่อ, แม่, พี่” ฯลฯ ใช้ในที่เป็นคำเรียกผู้ฟังเพื่อให้ทราบหรือให้ตอบ เช่นตัวอย่าง “เจ็บจิต จริงพ่อ” หรือ “อย่างไร ฤาแม่” เป็นต้น

“นา, รา หรือ ฮา, เฮย, แฮ” ใช้ในที่บอกเล่าทั่วๆ ไป เช่น “ใช่คนอื่นนา” “ฟังคำ หน่อยรา” หรือ “หน่อยฮา, หน่อยเฮย, หน่อยแฮ” ตามแต่จะเหมาะ

“เลย” มักใช้คู่กับความปฏิเสธ เช่น ไม่- – เลย, อย่า – – เลย, เปล่า – – เลย เป็นต้น

“เทอญ” ใช้ในความขอร้องหรืออ้อนวอน เช่น “ไปเทอญ” “โปรดเทอญ” เป็นต้น

“อา” ใช้ในความคิดวิตกส่วนตัว เช่น “โอ้อก เราอา” เป็นต้น

“เอย” ใช้ในความปลอบโยนผู้อื่นหรือรำพึงอย่างเดียวกับคำ “เอ๋ย” เช่น “น้องเอ๋ย” หรือ “อกเอ๋ย” เป็นต้น

“นอ” ใช้ในความวิตกวิจารณ์อย่างคำ “หนอ” เช่น “ไฉนนอ, อาภัพจริงนอ” เป็นต้น

“บารนี” เป็นคำโบราณใช้เป็นคำสร้อยครบ ๒ คำ อย่างเดียวกับ เช่นนี้ดังนี้ เช่น “เจ็บใจ บารนี” ก็เท่ากับ “เจ็บใจ เช่นนี้”

“ฤา, รือ” ใช้แทนคำ “หรือ” ซึ่งเป็นคำถามก็ได้, ใช้เชื่อมประโยคต่อกับอีกบาทหนึ่งก็ได้

“แล” ใช้ในที่สิ้นเนื้อความก็ได้ เช่น “ฉะนี้แล” หรือในความว่า “แน่” เช่น “จริงแล” ก็ได้ หรือใช้แทน “และ” เชื่อมกับบาทต่อไปก็ได้

“ก็ดี” ใช้เป็นสร้อยได้ครบ ๒ คำในความเช่นเดิม

ข้อสังเกต  ข้อสำคัญจะต้องให้สร้อยเหล่านี้มีเนื้อความเข้ากันกับเนื้อความของโคลงข้างต้นเป็นข้อใหญ่  ซึ่งอาจจะเป็นทางสังเกตจากหลักที่อธิบายไว้ข้างบนนี้ได้พอแล้ว ที่จริงถึงแม้ว่าจะไม่ใช้คำเสริมสร้อยเหล่านี้เลย คือจะใช้คำพูดตรงๆ ใส่เป็นคำสร้อย เช่น “รังรูปเหมมฤคอ้าง ฤาควร เชื่อเลย” จะใช้ว่า “-ฤาควร เชื่อถือ” หรือ “เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย” จะใช้ว่า “- – อวดองค์ อรทัย” เป็นต้น ก็ไม่มีข้อห้าม และอาจจะพบโคลงโบราณมีอยู่บ้าง แต่น้อยแห่งเหลือเกิน ซึ่งเห็นได้ว่าท่านไม่นิยม เพราะไม่ไพเราะ จึงควรใช้คำเสริมสร้อยตามแบบของท่าน

โคลงสุภาพต่างๆ ต่อไปนี้จะกล่าวโคลงสุภาพก่อน เพราะเป็นของแพร่หลายเป็นที่ ๒ รองจากคำกลอนลงมา โคลงสี่สุภาพเป็นของแพร่หลายมากที่สุด และโคลงสุภาพเหล่านี้มีลักษณะต่างกับพวกโคลงดั้น ที่เห็นได้ง่ายก็คือวรรคท้ายของบาทที่สุดมี ๔ คำด้วยกันทั้งนั้น นอกจากนี้ก็ต้องสังเกตข้อบังคับต่างๆ ดังจะอธิบายทีละชนิดต่อไปนี้

๑. โคลงสี่สุภาพ  โคลงสี่สุภาพนี้ ท่านอธิบายแบบไว้ดังนี้
คณะ  บท ๑ มี ๔ บาท และบาทที่ ๑, ที่ ๒, ที่ ๓ นั้นมี ๒ วรรค วรรคต้นมี ๕ คำ วรรคท้ายมี ๒ คำ เหมือนกันทั้ง ๓ บาท ส่วนบาทที่ ๔ นั้น วรรคต้นมี ๕ คำ วรรคท้ายมี ๔ คำ รวมทั้ง ๔ วรรคจึงมี ๓๐ คำ ท้ายบาท ๑ และ บาท ๓ ถ้าความไม่ครบยอมให้เติมสร้อยได้อีก ๒ คำ และคำทั้ง ๓๐ นี้จัดเป็น ๓ พวก คือ

คำสุภาพ  คือคำธรรมดาไม่กำหนดเอกโทจะมีหรือไม่มีก็ได้ ๑๙ คำ
คำเอก คือคำที่บังคับไม้เอก หรือจะใช้คำตายแทนเอกก็ได้ ๗ คำ
คำโท คือคำที่บังคับให้มีไม้โทมี ๔ คำ รวมเป็น ๓๐ คำ คำเอกและคำโทนั้นท่านบังคับให้มีที่ใดบ้างจะทำแผนไว้ให้ดู

สัมผัส  สัมผัสในได้กล่าวไว้แล้ว ส่วนสัมผัสสระที่เป็นสัมผัสนอกนั้น สัมผัสส่งอยู่ท้ายบาท ๑ สัมผัสรับอยู่ท้ายวรรคต้นบาท ๒ และสัมผัสรองอยู่ท้ายวรรคต้นบาท ๓ และมีสัมผัสโทอีกคู่หนึ่ง คือสัมผัสส่งอยู่ท้ายบาท ๒ และสัมผัสรับอยู่ท้ายวรรคต้นบาท ๔ จงดูแผนต่อไปนี้
silapa-0381 - Copy
หมายเหตุ  เอกโท ที่ ๔-๕ วรรคต้นบาท ๑ นั้นจะใช้เอก โท เรียงกัน เช่น “กล่าวแล้ว ปดโป้” ก็ได้ หรือจะกลับโทแล้วเอก เช่น “แล้วกล่าวโป้ปด” ก็ได้ไม่ห้าม แล้วแต่เหมาะ

คำลหุอยู่หน้า เช่น “กระทะ, ประการ” ฯลฯ ก็ดี คำอักษรนำเช่น “สละ, สมาน” ฯลฯ ก็ดี ใช้เป็นคำเดียวได้ แต่ถ้าจะให้เป็นคำเอกต้องให้คำท้ายเป็นเอกหรือคำตาย จึงจะใช้ได้ เช่นในวรรคต้นบาท ๒ ว่า “เป็นดิลกโลกลือชา เชิดด้าว” เว้นแต่คำท้ายไม่ใช่เอก หรือคำตายดังว่า “เป็นประธานโลกลือชา เชิดด้าว” เช่นนี้ใช้ไม่ได้ แต่ถ้าจะแยกออกเป็น ๒ คำ เอาคำ “ประ” เป็นเอก เช่น “เป็นประธานโลกปรา กฎแจ้ง” หรือ “สองสมาน มิตรผา สุกพร้อม” เช่นนี้ใช้ได้ และการใช้คำคู่เป็นคำเดียวเช่นนี้ ในวรรคต้นควรมีได้ ๒ คู่ และในวรรคท้ายควรมีได้คู่ ๑ เป็นอย่างมาก เช่นตัวอย่างในบาทต้นว่า “ข้าขอประดิษฐ์ประดับถ้อย ประเดิมกลอน” แต่ถ้าเป็นอักษรนำที่อ่านรวบรัดให้สั้นเข้าได้อีก ในวรรคท้ายก็ใช้ได้ ๒ คู่ เช่น “สนิทเสน่ห์, เสมอสมร” เป็นต้น

สัมผัส  รวดต้นคือ ส่ง, รับ, รอง นั้น ท่านห้ามคำที่บังคับ ไม้เอก ไม้โท๑ และไม้ตรี  แต่ไม้ตรีที่บังคับคำตาย เช่น โต๊ะ แป๊ะ ฯลฯ ใช้ได้อย่างเดียวกับคำตายเสียงตรี เช่น แนะ แคระ แพะ ฯลฯ ส่วนคำ บังคับไม้จัตวา เช่น จ๋า, เอ๋ย ฯลฯ ใช้ได้อย่างเดียวกับจัตวาอื่นๆ เช่น หนา, ขา, เสีย ฯลฯ

ส่วนเสียงวรรณยุกต์จะเป็นเสียงเดียวกันทั้ง ๓ เช่น จิต, กิจ, ติด หรือ ใส, ไหน, ไข ฯลฯ หรือจะสลับกันเช่น กิจ, มิตร, ติด, กัน, หัน, มัน ฯลฯ ไม่ห้ามเลย เว้นแต่คำซ้ำกันจะอยู่ติดกัน เช่น การ, สาร หรือ สงฆ์, สรง, ลง, กร, สอน, ศร ฯลฯ ใช้ไม่ได้ เว้นแต่จะสลับกันเสีย เช่น การ, สาร, การ หรือ สงฆ์, ลง, สรง ฯลฯ เช่นนี้ใช้บ้างแต่น้อยเต็มที๒
………………………………………………………………………………………….
๑ สัมผัส รับ, รอง, ส่ง  พบในนิราศนรินทร์แห่งหนึ่งคือ “ลิ่ว” ในลิลิตพระลอ สังเกตได้ ๒ คือ “ต่าง” และ “ทั้ง” เข้าใจว่าคำเดิมของท่านคงเป็น “ลิว”

๒ สัมผัสเช่นนี้  ในตะเลงพ่ายทั้งเล่ม พบแห่งเดียวเท่านั้น คือ อภิรุม, ชุม, รุม น่ากลัว จะเผลอยิ่งกว่าเป็นการขอไปที
………………………………………………………………………………………….
คำจบบท  คือคำสุดท้ายของบาทที่ ๔ ท่านนิยมใช้เสียงจัตวา หรือสามัญ ๒ เสียงเท่านั้นเป็นพื้น เพราะเป็นคำจบ จะต้องอ่านเอื้อนลากเสียงยาว๑

ข้อพิเศษ  ข้อบังคับข้างบนนี้ อธิบายตามที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันนี้ แต่ยังมีข้อพิเศษซึ่งผิดจากที่อธิบายมาแล้วอยู่อีก นับว่าเป็นแบบพิเศษอีกแผนกหนึ่ง

สร้อยท้ายบาทสี่ ตามแบบข้างบนนี้ บังคับให้เติมสร้อยเฉพาะท้ายบาท ๑ กับบาท ๓ เท่านั้น แต่ในโคลง ๔ เข้าลิลิต เช่นลิลิตพระลอ ท่านใส่สร้อยลงท้ายบาท ๔ บ้างก็ได้ ทำนองเดียวกับสร้อยท้ายบทร่ายหรือท้ายบทโคลง ๒ และโคลง ๓ ซึ่งจะกล่าวข้างหน้าด้วย ดังตัวอย่างในลิลิตพระลอต่อไปนี้

บาท ๔ “สาวหนุ่มฟังเป็นบ้า อยู่แล้โหยหา ท่านนา”
และ “หมองดั่งนี้ข้าไว้ บอกข้าขอฟัง หนึ่งรา” เป็นต้น

โคลงโบราณ ท่านไม่ใคร่จะนิยมเคร่งครัดนัก ดังจะเห็นได้ในลิลิตพระลอ และโคลงกำสรวลศรีปราชญ์เป็นต้น  เพราะในสมัยต้นๆ คำเอกโทก็ยังไม่แน่นอนนัก  คำที่เราใช้เอกโทในสมัยนี้เช่น ต่าง ทั้ง โบราณท่านใช้ ตาง, ทัง อยู่มากมาย ดังนี้เป็นต้น

อนึ่งคำสระอำของคำแผลงเช่น กำแหง, จำเลย ฯลฯ ท่านมักใช้เป็นคำตายหรือคำเอกได้ มาจากท่านใช้ “เฉพาะ” หรือ “จำเพาะ”๒  เป็นอย่างเดียวกัน
………………………………………………………………………………………….
๑ คำที่สุดโคลง ๒ โคลง ๓ และร่ายมีใช้คำตาย เช่น กิจ นึก ฯลฯ อยู่บ้าง แต่โคลง ๔ นับว่าไม่นิยมใช้ทีเดียว

๒ เนื่องมาจากสูตรท่องครุ ลหุ โบราณว่า “เรากินแตง-โม” (คือ ม คณะว่า “เรากินแตง” ครุทั้ง ๓) “ผลอ้ายกะ-โต” (ต คณะ คือ “ผลอ้ายกะ” ครุ ๒ ลหุ ๑) “เฉพาะเจาะนาน” (น คณะว่า “เฉพาะเจาะ” ลหุ ๓) ครั้นต่อมาคำ “เฉพาะเจาะ” เลือนเป็น “จำเพาะเจาะ” จึงรวมเอาคำ “จำ” เป็นลหุไปด้วย เมื่อเป็นลหุก็เป็นคำตายได้และเป็นคำเอกได้ด้วย แต่ทางบาลีและสันสกฤตต้องเป็นครุ เพราะมีข้อบังคับว่า “นิคคหิตปราบโน” (คำมีนิคคหิตเป็นครุ)
………………………………………………………………………………………….
๒. โคลงสี่สุภาพจัตวาทัณฑี๑  โคลแบบนี้มีต่างกับโคลงสี่สุภาพอยู่แห่งเดียวเทานั้น คือ สัมผัสรับ ของโคลง ๔ สุภาพนั้นอยู่ที่คำที่ ๕ วรรคหน้าบาท ๒ แต่โคลงแบบนี้สัมผัสรับร่นมาอยู่คำที่ ๔ เท่านั้น  ข้อบังคับอื่นๆ อย่างเดียวกับโคลงสุภาพทั้งนั้น และท่านมักใช้แต่งคละกันไปกับโคลงสุภาพเป็นพื้น ดังตัวอย่าง
silapa-0384 - Copy
หมายเหตุ  แบบโคลงจัตวาทัณฑีที่ท่านวางไว้ในฉันทลักษณ์นั้นมีแปลกกับข้างบนนี้ คือ คำที่ ๓ ที่ ๔ ของวรรคหน้าบาทที่ ๒ และที่ ๓ ต้องให้ได้สัมผัสสระชิดกันด้วย ดังตัวอย่างที่ท่านแต่งกำกับไว้ต่อไปนี้
………………………………………………………………………………………….
๑ จัตวาทัณฑี  เป็นคำผูกขึ้นใช้ในภาษาไทย “จัตวา” ว่าสี่ “ทัณฑี” ว่ามีไม้เท้า หรือมีโทษ ที่นี้คงหมายถึงมีข้อบังคับ ‘จัตวาทัณฑี’ คงหมายความว่ามีบังคับให้รับกันในคำที่สี่นั้นเอง ส่วน “ตรีพิธพรรณ” ก็เช่นกัน-“ตรีพิธ” ว่าสามอย่าง “พรรณ” ว่าอักษร รวมความว่าให้รับกัน ในอักษรหรือคำที่สามนั้นเอง

๒ ลาญเข้า คงไม่ใช่ “แตกเข้า” แต่น่าจะเป็น “ลานเข้า” เอาความว่า ลานปลูกข้าว ที่เรียกเป็นสามัญ “ลานนา” นั้นเอง โปรดพิจารณาดู
………………………………………………………………………………………….
silapa-0385 - Copy
แบบต้นมีใช้มากทั้งลิลิตตะเลงพ่ายและลิลิตพระลอ  ดังตัวอย่างที่ยกมาให้ดูนั้น แต่แบบในฉันทลักษณ์นั้นน่าจะมีที่ใช้น้อย จึงไม่ค่อยพบ และสัมผัสสระชิดกันในบาท ๒ และ ๓ ก็มีเฉพาะโคลงจัตวาทัณฑีแบบนี้เท่านั้น  ส่วนโคลงตรีพิธพรรณ ซึ่งเป็นคู่กันก็ไม่มีอย่างนี้ ดังนั้นจึงนำมากล่าวไว้เป็นพิเศษ

๓. โคลงสี่สุภาพตรีพิธพรรณ  โคลงแบบนี้ก็มีทำนองเดียวกับโคลงสี่สุภาพ ต่างกันก็เพียงสัมผัสรับเลื่อนมาอยู่คำที่ ๓ วรรคหน้าบาทที่ ๒ เท่านั้นและท่านแต่งคละกันไปกับโคลงสี่สุภาพอย่างโคลงจัตวาทัณฑีเหมือนกัน แต่ท่านใช้น้อย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
silapa-0385 - Copy1
หมายเหตุ  โคลงจัตวาทัณฑีและโคลงตรีพิธพรรณนี้  สังเกตดูท่านมิได้ตั้งใจจะแต่งไว้ที่นั้นที่นี้ ตามวิธีประพันธ์อื่นๆ เมื่อถ้อยคำบังเอิญเหมาะจะให้เป็นโคลงชนิดนี้เข้า ณ ที่ใด ท่านก็ใส่ลงที่นั้น  ปนไปกับโคลงสี่สุภาพธรรมดา ซ้ำท่านมิได้บอกชื่อไว้ด้วย

๔. โคลงสองสุภาพ คณะ  ของโคลงสองสุภาพนี้คือ บท ๑ มี ๒ บาท บาทต้นมีวรรคเดียวและมี ๕ คำ เรียกว่าบาทส่งโทก็ได้ และบาทท้ายเรียกว่า บาทรับโทก็ได้ มี ๒ วรรค วรรคหน้าคือ รับโทมี ๕ คำ และวรรคหลังมี ๔ คำ อย่างโคลงสี่สุภาพดังแผนต่อไปนี้
silapa-0386 - Copy
เอกโท  บังคับให้มีเอก ๓ แห่ง และโท ๓ แห่ง และคำตายแทนเอกได้เช่นเดียวกับโคลงสี่ทั้งหลาย

คำสร้อย  ยอมให้ใส่ได้ ๒ คำต่อวรรคหลังของบาทท้าย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ลิลิตตะเลงพ่าย  “จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แล”

ลิลิตพระลอ  “ทำนองนาสิกไท้ คือเทพนิรมิตไว้ เปรียบด้วยขอกาม”

ทั้งนี้เป็นแบบที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน  ส่วนแบบพิเศษนั้นจะอธิบายรวมกับโคลงสามข้างหน้า

๕. โคลงสามสุภาพ  คณะ ของโคลงสามนี้ก็เป็นทำนองเดียวกับโคลงสองทั้งนั้น ผิดกันก็แต่เติมบาทต้นข้างหน้าเข้าอีกบาทหนึ่งมี ๕ คำ รวมเป็น ๓ บาท ด้วยกัน จึงเรียกว่าโคลงสาม ข้อบังคับอื่นๆ อย่างเดียวกับโคลงสองทั้งสิ้น ผิดกันอยู่ก็แต่คำท้ายของบาทต้น ต้องเชื่อมสัมผัสกับคำที่ ๑, ๒, ๓ ของบาทต่อไป คือบาทที่ ๒ และสัมผัสคู่นี้ต้องส่งและรับอย่างเดียวกันด้วย คือส่งคำสุภาพ เอก โท ก็ต้องรับคำสุภาพ เอก โท เช่นกัน ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0386 - Copy1
และสัมผัสคำท้ายบาทต้นกับคำที่ ๑, ๒, ๓ ของบาทที่ ๒ ที่ว่าต้องส่งและรับอย่างเดียวกันนั้น คือคำส่งสุภาพ เช่น “ฉัน กัน” ก็ต้องรับ “มัน ปัน” ถ้าส่งเอก เช่น “แม่ แน่น” หรือคำตายแทนเอก เช่น “ติด ชิด” ก็ต้องรับ “แผ่ แผ่น” หรือ “กิด ปิด” โดยลำดับ ถ้าส่งโท เช่น “ตั้ง พลั้ง” ก็ต้องรับโท เช่น “ทั้ง กั้ง” เป็นต้น นอกจากนี้ก็เช่นเดียวกับโคลงสุภาพทั้งนั้นดังตัวอย่างต่อไปนี้
silapa-0387 - Copy
หมายเหตุ  การเขียนเรียงให้ดูบาทละบรรทัดนี้ ก็เพื่อจะให้เห็นง่ายว่าการให้ชื่อโคลง ๒, ๓, ๔ นั้น ถือเอาจำนวนบาทของโคลง๑ นั้นๆ เป็นเกณฑ์ตามปกติโคลง ๒ โคลง ๓ นั้น  บทหนึ่งท่านเขียน ๒ บรรทัดเป็นพื้น คือ
………………………………………………………………………………………….
๑ โคลงโบราณยังมีอีกแบบหนึ่ง บท ๑ มี ๔ บาท แต่เรียกว่าโคลง ๕ เพราะบาท ๑ มี ๕ คำคล้ายโคลง ๒ โคลง ๓
………………………………………………………………………………………….
โคลง ๒ นั้นท่านเอาบาท ๑ กับบาท ๒ ไว้บรรทัดบน แล้วเอาวรรคท้ายไว้บรรทัดล่าง ส่วนโคลง ๓ นั้นเอาบาท ๑ กับบาท ๒ ไว้บรรทัดบน เอาบาทท้ายทั้งสองวรรคไว้บรรทัดล่าง เมื่อขึ้นบทใหม่ก็ย่อหน้าหรือใช้ฟองมันไว้หน้าตามระเบียบเขียนโคลง

ข้อพิเศษ  โคลง ๒ โคลง ๓ ที่อธิบายมาข้างบนนี้ เป็นแบบที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ แต่แบบโบราณท่านยังใช้ผิดจากนี้ออกไปเป็นพิเศษบ้าง ดังนี้

บาทที่ ๑ ที่ ๒ ของโคลง ๓ ถ้าแต่งเข้ากับร่ายที่ใช้คำมากกว่า ๕ ในวรรคหนึ่งก็ได้ คำใน ๒ บาทนี้ท่านใช้เกินกว่า ๕ บ้างก็มี และสัมผัสเชื่อมรับก็เลื่อนออกไปได้เช่นกัน ดังตัวอย่างในลิลิตพระลอดังนี้
silapa-0388 - Copy
วรรคสุดท้ายของโคลง ๒ โคลง ๓ ถ้าแต่งเข้ากับร่ายโบราณซึ่งวรรคท้ายมี ๕ คำ ท่านก็ใช้ ๕ คำ บ้างก็มีแต่คำเอกต้องเลื่อนไปอยู่ที่ ๒ และมีคำโทอยู่ที่ ๓ เช่นตัวอย่างในลิลิตพระลอ ดังนี้
silapa-0388 - Copy1

 

silapa-0389 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ ที่ค้นเอาโคลง ๒ มาให้ดู ๒ บาทติดกันนี้ เพื่อจะสังเกตว่าท่านตั้งใจใช้ ๕ คำจริงๆ ถึงบทต่อไปนี้ ท่านก็ใช้ ๕ คำเช่นกัน
………………………………………………………………………………………….
โคลงดั้นต่างๆ๒  โคลงดั้นทั้งหลายนับว่าเป็นประเภทใหญ่คู่กับโคลงสุภาพ  และมีหลายชนิดด้วยกัน เช่นเดียวกับโคลงสุภาพ และมีข้อแตกต่างกับโคลงสุภาพที่เห็นได้ง่าย ก็คือวรรคท้ายของบาทที่สุดมี ๒ คำ นอกจากนี้ก็ต่างกันตามข้อบังคับ ดังจะนำมาอธิบายทีละชนิดต่อไปนี้

๑. โคลงสี่ดั้นวิวิธมาลี๓  โคลงสี่ดั้นที่ใช้กันมี ๒ ชนิด คือ โคลงวิวิธมาลีนี้ชนิดหนึ่ง กับโคลงบาทกุญชร ซึ่งจะกล่าวข้างหน้าอีกชนิดหนึ่ง ทั้งสองชนิดนี้มีข้อบังคับคล้ายคลึงกันดังนี้

คณะโคลงสี่ดั้นวิวิธมาลี  บท ๑ มี ๔ บาท และบาท ๑ มี ๒ วรรค วรรคต้นมี ๕ คำ วรรคหลังมี ๒ คำ ทั้ง ๔ บาทจึงรวมเป็นบาทละ ๗ คำ บทหนึ่ง ๔ บาท มี ๒๘ คำ

สัมผัส  มีเป็นสัมผัสไขว้กัน ๒ คู่ คู่ส่งมาจากที่สุดของบทข้างต้นไปรับกับคำที่ ๕ บาท ๒ บทต่อมา และคู่ท้าย คือส่งอยู่ท้ายวรรคบาท ๑ ไปรับกับคำที่ ๕ บาท ๓ และสัมผัสคู่ท้ายนี้จะใช้สระเดียวมาตราเดียวกันเช่นคู่ต้นไม่ได้ ส่วนสัมผัสโทนั้นส่งที่วรรคท้ายบาท ๒ อย่างโคลงสุภาพ แต่ไปรับคำโทที่ ๔ ที่ ๕ ก็ได้ในบาท ๔ และคำที่สุดบทนี้ก็ไปรับคำที่ ๕ บาท ๒ ของบทต่อไป เช่นนี้ตลอดไป
………………………………………………………………………………………….
๑ กัน ขาดเอก สังเกตดูท่านไม่ใคร่กวดขันนัก จะอธิบายข้างหน้า
๒ โคลงดั้นนี้ น่าจะหมายถึงการแต่งดั้นๆ ไปไม่สู้เคร่งครัดตามแผนนัก สังเกตดูโคลงดั้นโบราณท่านไม่ใคร่นิยมเอกโทอย่างโคลงสุภาพ ยิ่งเป็นร่ายดั้นด้วย แม้คำวรรคหนึ่งๆ ก็น้อยบ้างมากบ้างไม่นิยมแน่นอน มาบัดนี้เรานิยมแน่นอนเข้ากลายเป็นแต่งยากกว่าโคลงสุภาพเสียอีก
๓ วิวิธมาลี แปลว่า มีระเบียบต่างๆ ชื่อนี้สังเกตดูไม่เกี่ยวกับลักษณะโคลงเลย หมายความเพียงให้เป็นชื่อเรียกโคลงแบบนี้เท่านั้น
………………………………………………………………………………………….
เอกโท  มีคำเอก ๗ และมีคำโท ๔ เช่นเดียวกับโคลงสุภาพ ต่างแต่คำโท คู่ในบาท ๔ นั้นมาอยู่คำที่ ๔ กับคำที่ ๕ ติดกันทั้งคู่และใช้รับสัมผัสโทได้ทั้งคู่ด้วย ข้อบังคับนอกจากนี้เป็นอย่างเดียวกับโคลง ๔ สุภาพ
silapa-0390 - Copy

ตัวอย่างจากโคลงดั้นพระราชพิธีแห่โสกันต์
silapa-0391
หมายเหตุ  ในข้อที่ว่าสัมผัสไขว้ ๒ คู่นั้น จะใช้สระเดียวมาตราเดียวกันทั้ง ๒ คู่ติดกันไม่ได้ จะเห็นได้จากสัมผัสคู่ต้นมือคือ “หาว” ท้ายบท ๑ กับ “ยาว” ที่ ๕ บาท ๒ ของบท ๑ ซึ่งเป็นสระอา มาตราเกอว และคู่สองคือคำ “ลา” ท้ายบาท ๑ กับคำ “ศา” ที่ ๕ บาท ๓ ของบท ๒ จะให้เป็นสระอามาตราเกอวเหมือนกันเช่น “ดาว, ขาว” ติดๆ กันไม่ได้  ถ้าเปลี่ยนมาตราเสียเช่น “ลา” กับ “ศา” ในตัวอย่าง หรือเป็น “ลาน, ขาน” ฯลฯ ก็ได้ทั้งนั้น แต่ถ้าจะเอาสัมผัสอื่นๆ มาคั่นเป็นคู่ท้ายเสียอย่างน้อยคู่ ๑ แล้วจะซ้ำกันก็ได้ท่านไม่ห้าม

อนึ่งสัมผัสรับโทในบาท ๔ นั้นรับได้ทั้งคำที่ ๔ หรือที่ ๕ ก็จริง แต่รับที่ ๕ เพราะกว่า ดังในตัวอย่าง “ฟ้า” กับ “จ้า” เป็นต้น

๒. โคลงสี่ดั้นบาทกุญชร๑  โคลงสี่ดั้นแบบนี้มีลักษณะเหมือนกับโคลงสี่ดั้นวิวิธมาลีที่กล่าวมาแล้วทุกอย่าง แต่เพิ่มสัมผัสเอกเข้าอีกคู่ ๑ เท่านั้น กล่าวคือคำเอกท้ายบาท ๓ บทต้น มาคล้องกับคำเอกที่ ๔ หรือที่ ๕ ในบาท ๑ ของบทต่อมา รวมความว่าคำท้ายบาทของโคลงแบบนี้ ย่อมเป็นสัมผัสส่งมาทั้ง ๔ บาท และต่างก็ไปรับสัมผัสกับคำที่ ๔ หรือที่ ๕ ของบาทที่ ๓ ซึ่งนับแต่บาทที่ส่งไปสลับกันเช่นนี้เรื่อยไป แต่ถ้าเป็นบาทที่ขึ้นต้น สัมผัสเอกบาทที่ ๑ และสัมผัสคำที่ ๕ บาทที่ ๒ ก็ไม่ต้องรับกับใคร ดังแผนต่อไปนี้

แผนโคลงสี่ดั้นบาทกุญชร

silapa-0393
………………………………………………………………………………………….
๑ บาทกุญชรแปลอย่างไทยว่ารอยเท้าช้าง ที่ให้ชื่อเช่นนี้ เพราะสัมผัสส่งกับสัมผัสรับอยู่เยื้องสลับกันไป เหมือนรอยเท้าช้างที่ก้าวเยื้องกัน
………………………………………………………………………………………….

ตัวอย่างเลือกจากโคลงกำสรวลศรีปราชญ์
silapa-0394 - Copy
๓. โคลงสี่ดั้นจัตวาทัณฑีและตรีพิธพรรณ  โคลงทั้งสองแบบนี้ก็มีลักษณะเช่นเดียวที่มีในโคลงสี่สุภาพนั่นเอง  กล่าวคือโคลงดั้นบทใดมีคำที่ ๔ ของบาท ๒ เป็นสัมผัสรับ โคลงบทนั้นก็เรียกว่า “จัตวาทัณฑี” แต่คำที่ ๓ ของบาท ๒ เป็นสัมผัสรับ ก็เรียกว่า “ตรีพิธพรรณ” ถ้าโคลงวิวิธมาลีมีลักษณะเช่นนี้ ท่านก็เรียกว่า โคลงวิวิธมาลีจัตวาทัณฑี หรือตรีพิธพรรณ และถ้าเป็นโคลงบาทกุญชร ท่านก็เรียกว่าโคลงบาทกุญชรจัตวาทัณฑี หรือตรีพิธพรรณเช่นกัน ตามสัมผัสรับดังกล่าวแล้วที่มีในโคลงชนิดนั้นๆ

ที่จริงโคลง ๒ แบบนี้ ท่านแต่งคละกันไปกับโคลงดั้น ๒ ชนิดที่กล่าวมาแล้ว เพื่อสะดวกแก่สัมผัสเป็นบางบทเท่านั้นและในโคลงโบราณมักใช้ปนกันโดยมาก ดังตัวอย่างในกำสรวลศรีปราชญ์ต่อไปนี้ แต่ยกมาเฉพาะบทที่เป็นจัตวาทัณฑีและตรีพิธพรรณเท่านั้น
silapa-0395 - Copy
๔. ข้อพิเศษสำหรับโคลงสี่ดั้น  ข้อบังคับโคลงดั้นวิวิธมาลี และโคลงดั้นบาทกุญชรที่วางไว้ข้างบนนี้ นำมากล่าวเฉพาะที่ท่านนิยมใช้ในปัจจุบันนี้ แต่โคลงดั้นโบราณยังมีใช้เป็นข้อพิเศษอีกหลายอย่าง แต่ข้อพิเศษบางอย่างที่โบราณใช้ในโคลงทั่วไปได้แสดงไว้ในข้อพิเศษสำหรับโคลงสี่สุภาพแล้ว ในข้อนี้จะคัดมาไว้เฉพาะโคลงดั้นเท่านั้น ดังนี้

โคลงดั้นมหาวิวิธมาลีและมหาบาทกุญชร  โคลง ๑ ชนิดนี้แปลกจากแผนที่วางไว้ข้างบนนี้บ้างเล็กน้อย คือตามธรรมดาโคลงดั้น ๒ ชนิดนี้มีวรรคท้ายของบาทสี่ ๒ คำ อย่างโคลงดั้นทั้งหลายดังแผน
silapa-0396 - Copy
แต่โคลงมหาวิวิธมาลีและมหาบาทกุญชรนี้ มีบาทสี่เหมือนโคลงสุภาพ คือวรรคท้ายมี ๔ คำ ดังแผน
silapa-0396 - Copy1
จึงมีชื่อเติม “มหา” ข้างหน้าอย่างเดียวกับโคลงแบบคัมภีร์กาพย์ทั้งหลาย ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า๑ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

จากคำจารึกวัดพระเชตุพน
วิวิธมาลี  
“เรียงตัวบังอาจแกล้ง     กลึงหิน สิ้นแฮ
หินแห่งกัมโพชเพียง      ภาพปั้น
ปั้นปูนและมูลดิน           ดูเฉก นั้นนา
เฉกดั่งเทียนฝั้นทั้ง        ทั่วสถาน

มหาวิวิธมาลี
สถานบนสิมาเรียบไว้         หว่างแหวะ ช่องแฮ
แหวะใส่ประทีปนิจกาล       กอบสร้าง
สร้างสรรค์สิลาแกะ            การฉลัก แลพ่อ
ฉลักแฉละบัลลังก์ข้าง        เขตแคว้นสระบุรี”๒
………………………………………………………………………………………….
๑ โคลงตามแบบกาพย์วิลาสินีนั้นมีหลายแบบ เช่น วิวิธมาลี, และจิตรลดา เป็นต้น ซึ่งมีวรรคท้ายบาทสี่เป็น ๒ คำ ถ้าเติมคำมหาเป็น มหาวิชชุมาลี มหาจิตรลดา ฯลฯ ก็มีวรรคท้ายบาทสี่เป็น ๔ คำ ส่วนข้อบังคับอื่นๆ เหมือนกัน

๒ โคลงคู่นี้ท่านแต่งเป็นกลบทวัวพันหลัก (คือเอาคำสุดท้ายวรรคหน้ามาขึ้นต้นวรรคหลังด้วย)
………………………………………………………………………………………….
บาทกุญชร
“ศิลาลายขจิตแต่งตั้ง        ตามฉบับ บูรณ์พ่อ-
ไม้เม็ดทวาทศไทย           ทั่วแท้
ประตูละคู่สรรพ                เสร็จสลัก แลเฮย
บัวคว่ำหงายแล้แล้ว          ลาดผา

มหาบาทกุญชร
“หน้าขดานท้องไม้พนัก    เพนกเกย นั้นฤา
ประกอบศิลาลาย             เลื่อมคว้าง
อัฒจันทร์กั่นเลยลง         ลดหลั่น ล่างเลย
ระดับศิลาไศลข้าง          เขตแคว้นนครชล๑”

โคลงดั้นวิวิธมาลีเดี่ยว  ตามแบบที่ตั้งไว้ข้างบนนี้เป็นโคลงวิวิธมาลีคู่ คือ คำท้ายบทหน้าต้องส่งสัมผัสให้ คำที่ ๕ บาท ๒ ของบทหลังเกี่ยวกันเป็นคู่ๆ ตลอดไป  แต่ในที่นี้ท่านแต่งเฉพาะบท คือคำที่ ๕ บาท ๒ ไม่ต้องคล้องกับคำท้ายบทหน้าดังกล่าวไว้ในแผนนั้น อย่างเดียวกับโคลงสี่สุภาพ  ซึ่งแต่งเฉพาะไม่ต้องคล้องกับบทต่อไป ซึ่งเรียกว่าเข้าลิลิต๒  ดังจะกล่าวข้างหน้า ดังตัวอย่างในโคลงกำสรวลศรีปราชญ์

บทหน้า
“อยุธยาไพโรจน์ใต้           ตรีบูร
ทวารรุจีเรียงหอ                สรล้าย
อยุธยายิ่งแมนสูร              สุรโลก รังแฮ
ดุจสวรรค์คล้ายคล้าย        แก่ตา
………………………………………………………………………………………….
๑ โคลงมหาบาทกุญชรนี้ทั้งจัตวาทัณฑี(บาท ๓) และตรีพิธพรรณ (บาท ๒) ด้วย

๒ โคลง ๔ สุภาพที่แต่งติดๆ กันไปบางเรื่องท่านใช้ถ้อยคำท้ายบาทหน้าคล้องกับต้นบทหลังที่เรียกว่าเข้าลิลิต แต่บางแห่งท่านก็แต่งเฉพาะบทไม่ต้องคล้องกัน ส่วนโคลงดั้นนั้นต้องคล้องกันเพราะมีข้อบังคับไว้ในแผน  แต่โคลงดั้นโบราณท่านแต่งเป็นบทๆ ไม่คล้องกันมีเป็นข้อพิเศษ จึงควรสังเกตไว้เป็นความรู้
………………………………………………………………………………………….
บทหลัง
ยามพลบเสียงกึกก้อง        กาหล แม่ฮา
เสียงแฉ่งเสียงสาวทรอ     ข่าวชู้
อยุธยายิ่งเมืองทล            มาโนช กูเฮย
แตรตรลมข่าวรู้๑              ข่าวยาม

ดังนี้จะเห็นได้ว่าบทหลังนั้นเป็นโคลงดั้นวิวิธมาลีเดี่ยว คือคำที่ ๓-๔-๕ (เสียง,สาว,ทรอ) ในบทที่ ๒ ไม่ต้องรับกับคำท้ายของบทหน้า คือ “ตา” เลย ๒

สร้อยท้ายบาทสี่   โคลงดั้นโบราณท่านใช้คำสร้อยท้ายบาท ๔ เช่นเดียวกับโคลงสุภาพโบราณ  ซึ่งแสดงไว้ในข้อพิเศษโคลงสุภาพเหมือนกัน แต่ใช้สร้อยซ้ำเป็นพื้น กล่าวคือเติมสร้อยลงไปได้อีก ๒ คำ ให้คำท้ายสร้อยซ้ำกับคำสุดวรรคเสมอไป เช่นตัวอย่างบาท ๔ มีว่า “ไฉนจึงจักได้น้อง แนบทรวง” ดังนี้ และจะเติมลงไปอีก ๒ คำก็ได้ แต่ต้องให้ท้ายคำสร้อยเป็น “ทรวง” ซ้ำกับคำ “ทรวง” ท้ายบาท ๔ ดังนี้ เป็นต้น ดังตัวอย่างในโคลงดั้นต่อไปนี้

ลิลิตยวนพ่าย
“พระมาคฤโฆษเรื้อง           แรงบุญ ท่านนา
ทุกทั่วดินบุญเกรง              กราบเกล้า
พระมาเสด็จแสดงคุณ        ครองโลกย์ ไสร้แฮ
เอกษัตรซร้องเฝ้า              ใฝ่เห็น ขอเห็น”

โคลงกำสรวลศรีปราชญ์
“โฉมแม่จักฝากฟ้า            เกรงอินทร์ หยอกนา
อินทร์ท่านเทิดโฉมเอา      สู่ฟ้า
โฉมนางจะฝากดิน            ดินท่าน แล้วแฮ
ดินท่านขัดเจ้าหล้า           สู่สม สองสม”๓
………………………………………………………………………………………….
๑ “ข่าว” นี้ควรเป็นคำโทตามแผนโคลงดั้น  แต่ได้กล่าวมาแล้วว่าโคลงโบราณท่านไม่ใคร่นิยมเอกโทเคร่งครัดนัก

๒ ควรสังเกตไว้ด้วยโคลงดั้นบาทกุญชรเดี่ยวมีไม่ได้  เพราะมีข้อบังคับให้คำท้ายบาทบทหน้าทั้งสี่บาทต้องรับกับคำที่ ๓, ๔, ๕ ของ ๔ บาท ในบทหลังตามแบบจึงจะเรียกว่าบาทกุญชร ถ้าขาดไปก็ไม่ใช่โคลงบาทกุญชร

๓ ลิลิตยวนพ่ายและโคลงกำสรวลศรีปราชญ์มีคำสร้อยท้ายบาท ๔ เป็นสัมผัสซ้ำเช่นนี้ทั้งนั้น
………………………………………………………………………………………….
โคลงจัตวาทัณฑีและโคลงตรีพิธพรรณรับบาทสาม  ตามแผนที่วางไว้ว่า โคลงจัตวาทัณฑีมีสัมผัสคำที่ ๔ บาท ๒ และโคลงตรีพิธพรรณมีสัมผัสคำที่ ๓ บาท ๒ ทั้งโคลงสุภาพและโคลงดั้น ซึ่งใช้กันทั่วไปในปัจจุบันนี้แต่โคลงดั้นโบราณท่านใช้สัมผัสรับที่บาท ๓ ก็ได้ทั้ง ๒ ชนิด ดังตัวอย่างในโคลงดั้นต่อไปนี้

ลิลิตยวนพ่าย
บาท ๔ บทหน้า “เชิงชั่งเสียได้ผู้              รอบการย์
บทจัตวาทัณฑี  ลวงปล้นเมืองอาจอ้อม     ไพรี รอบแฮ
ลวงนั่งลวงลุกชาญ         ช่างใช้
ลวงลวงลาดหนีลวง        ลวงไล่ ก็ดี
พระดำ๑ รัสให้ให้            คอบความ”

บาท ๔ บทหน้า “คูควบสามชั้นซึ่ง          ขวากแขวง
บทตรีพิธพรรณ  เร่งหมั้นเหลือหมั้นยิ่ง    เวียงเหล็ก
มีกำ๒ แพงแลงเลือน     ต่อต้าย
หัวเมืองเต็กเสียงกล่าว  แก่บ่าว
ทังขวา๓ ทังซ้ายถ้วน    หมู่หมาย”

หมายเหตุ  บาทท้ายนี้มีทั้งจัตวาทัณฑี  และตรีพิธพรรณ แต่ข้อสำคัญที่ยกมาให้ดูนี้เพื่อให้ทราบว่า บาท ๓ ใช้รับอย่างตรีพิธพรรณก็ได้เท่านั้น

คำโทคู่ในบาท ๔  โคลงดั้นสมัยนี้นิยมคำโทคู่ในบาท ๔ อย่างเคร่งครัด
ตามแผนดังนี้silapa-0399 - Copy

โคลงโบราณก็นิยมเช่นนี้โดยมาก แต่ไม่เคร่งครัดนัก บางแห่งในวรรคต้นบาท ๔ ท่านก็ใช้โทเดี่ยวอย่างโคลงสุภาพ และมีมากแห่งด้วย ส่วนสัมผัสโทนั้น  ท่านถือเคร่งครัดก็คือคำโทท้ายบาท ๒ จะต้องมารับคำโทในบาท ๔ วรรคต้นนี้เป็นแน่นอนเท่านั้น ถ้ามีโทเดี่ยวก็รับคำ
………………………………………………………………………………………….
๑-๒ “ดำ” “กำ” โบราณใช้เป็นลหุได้ก็ต้องเป็นคำตาย ดังกล่าวแล้ว
๓ “ขวา” ขาดเอก เป็นด้วยท่านไม่นิยมนัก ดังกล่าวแล้ว
………………………………………………………………………………………….
ที่ ๕ ถ้ามีโทคู่ก็เลือกรับคำใดคำหนึ่งในคำที่ ๔ หรือ ๕ ๑ แต่มีแปลกอีกอย่างหนึ่ง คือ คำโทคู่นี้มีคำคั่นก็ได้ ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0400 - Copy
ข้อที่สังเกตได้ว่าท่านเอาคำโทที่ ๓ เป็นโทคู่นั้นก็คือท่านใช้รับสัมผัสโทกับคำโทท้ายบาท ๒ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
silapa-0400 - Copy1
………………………………………………………………………………………….

๑ โคลงดั้นโบราณที่ไม่เคร่งครัดเรื่องเอก โท นี้ เป็นการสมกับความหมายที่ว่าแต่งดั้นๆ ไปเป็นการขอไปที่ดังกล่าวมาแล้ว ซึ่งต่างกับโคลงดั้นสมัยนี้ ซึ่งนิยมเคร่งครัดอย่างโคลงสุภาพ กลับแต่งยากกว่าโคลงสุภาพเสียอีกซ้ำไป
………………………………………………………………………………………….
๕. โคลง ๒ และโคลง ๓ ดั้น  โคลง ๒ ชนิดนี้ก็คล้ายกับโคลง ๒ และโคลง ๓ สุภาพที่กล่าวแล้ว  ต่างแต่วรรคท้ายบทเป็น ๒ คำเท่านั้น ส่วนคำโท ในบาทสุดนั้นรวมเอาเข้ามาไว้เป็นโทคู่ในคำที่ ๔ ที่ ๕ วรรคต้นและรับกับคำโทข้างบนอย่างเดียวกับโคลง ๔ ดั้นทั้งหลาย และจำนวนเอก ๓ โท ๓ ก็มีอย่างเดียวกัน ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0401 - Copy
ตัวอย่างจากคำประพันธ์บางเรื่อง
silapa-0401 - Copy1
หมายเหตุ  โคลง ๒ โคลง ๓ ดั้นโบราณ ท่านก็นิยมใช้อย่างเดียวกับโคลง ๒ โคลง ๓ สุภาพโบราณซึ่งกล่าวมาแล้ว ให้สังเกตอย่างข้างต้นนั้น

โคลงพิเศษต่างๆ  นอกจากโคลงสามัญที่ได้แสดงมาแล้ว ยังมีโคลงแบบต่างๆ ซึ่งท่านนิยมแต่งกันมาแต่โบราณอีกหลายอย่าง ในที่นี้รวมเรียกว่าเป็นโคลงพิเศษ ดังจะรวบรวมมาไว้ต่อไปนี้

๑. โคลงกระทู้ต่างๆ  คือโคลงที่ต้องแต่งตามกระทู้ หมายความว่าเมื่อจะแต่งโคลงชนิดนี้ ซึ่งเป็นโคลง ๔ เป็นพื้น จะต้องตั้งคำที่นับว่าเป็นกระทู้ (หลัก) ไว้หน้าบาททั้ง ๔ บาทก่อน กระทู้นั้นจะเป็นคำๆ เดียวกัน เช่น ขอ, ขอ, ขอ, ขอ ดังนี้ก็ได้ หรือจะเป็นคำ ๔ คำ ซึ่งมีความหมายต่างๆ เช่น อย่า, ไว้, ใจ, ทาง ให้เรียงอยู่หน้าบาท บาทละคำ แล้วก็แต่งโคลงขยายความของกระทู้ให้ได้ความกว้างขวางออกไปก็ได้  ถ้าคำกระทู้อยู่หน้าบาทๆ ละคำ เรียกว่ากระทู้ ๑, ๒ คำ เรียกว่ากระทู้ ๒, ๓ คำเรียกว่ากระทู้ ๓ และ ๔ คำเรียกว่ากระทู้ ๔ แต่ตามธรรมดาเรียกว่ากระทู้ ๑, กระทู้ ๒ เป็นพื้น นอกนั้นก็มีเล็กๆ น้อยๆ ยิ่งกระทู้ ๔ ด้วยแล้วไม่ใคร่พบเลยทีเดียว ดังตัวอย่างต่อไปนี้

กระทู้ ๑ ๑  จูบ    จอมถนอมเกศเกล้า    บุตรา
ลูก    หลบสบนาสา           เสียดต้อง
ถูก    โฉมวรยุพา               ขวัญเนตร พี่เอย
แม่    อย่าถือโทษข้อง        ขุ่นแค้นเคืองเรียม

กระทู้ ๒ ๒     เพื่อนกิน     สิ้นทรัพย์แล้ว    แหนงหนี
หาง่าย        หลายหมื่นมี      มากได้
เพื่อนตาย   ถ่ายแทนชี        วาอาตม์
หายาก        ฝากผีไข้          ยากแท้จักหา

กระทู้ ๓ ๓    ป่าพึ่งเสือ         หมู่ไม้        มากมูล
เรือพึ่งพาย        พายูร        ยาตรเต้า
นายพึ่งบ่าว       บริบูรณ์        ตามติด มากแฮ
เจ้าพึ่งข้า          ค่ำเช้า        ช่วยสิ้นเสร็จงาน
………………………………………………………………………………………….
๑ ในแบบฉันทลักษณ์เดิม “อย่าเกียจอย่าคร้าน” การที่เอากระทู้ “จูบลูกถูกแม่” มาแทนนั้น เพราะเห็นว่าวิธีแต่งขยายความได้กว้างขวางและเหมาะดีสมควรเป็นแบบ

๒-๓ กระทู้ ๒, ๓ ตามแบบฉันทลักษณ์เดิมท่านคัดมาจากแบบสอนอ่านประถมมาลาอีกทีหนึ่ง
………………………………………………………………………………………….
กระทู้ ๔ ๑  ฝนตกแดดออก        แจ้          แจ่มแสง
นกกระจอกเข้ารัง      แฝง        ใฝ่เร้น
แม่ม่ายใส่เสื้อ           แดง        ดูฉาด
เอาเสื่อคลุมหลัง      เต้น         ต่อล้อหลอกฝน

หมายเหตุ  ข้อสำคัญของการแต่งโคลงกระทู้ต้องขยายความบทกระทู้ออกไปให้ได้ความแจ่มแจ้งและเหมาะเจาะไม่ซ้ำกัน เว้นไว้แต่กระทู้ที่ไม่มีความหมาย หรือมีความหมายกว้างเช่นนี้ ผู้แต่งเลือกหาความแต่งเอาเองตามแต่จะเห็นเหมาะ หรือบางทีผู้แต่งต้องการจะให้ขบขัน แต่งขยายความให้ต่างไปจากกระทู้ก็มีเป็นพิเศษ

อนึ่งในโคลงกระทู้นี้  ถึงจะตั้งกระทู้ไว้หน้าบาทไม่เท่ากันทุกบาท เช่น กระทุ้ “ช้าช้า, ได้, พร้าสองเล่ม, งาม”  ดังนี้ท่านก็ไม่ห้าม ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าต้องแยกกระทู้ออกให้ห่างกับเนื้อโคลง  และต้องให้ได้เอกโทของโคลงด้วย

และโคลงกระทู้นี้แต่งปนไปกับโคลง ๔ ได้ทุกชนิด แต่อย่าให้ก้าวก่ายชนิดกัน คือโคลงสุภาพก็ให้เป็นสุภาพด้วยกัน และโคลงดั้นก็ให้เป็นโคลงดั้นด้วยกัน

๒. ประเภทโคลงกลต่างๆ  โคลงกลต่างๆ นี้ ก็เป็นทำนองเดียวกับกลอนกลต่างๆ ที่อธิบายมาแล้ว กล่าวคือแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ

๑. โคลงกลบท  คือแบบโคลงที่ท่านกำหนดสัมผัสสระ สัมผัสอักษรหรือวางคำไว้ตรงนั้นตรงนี้เป็นแบบต่างๆ แล้วให้ชื่อต่างๆ กัน บางแบบก็เหมือนกลอนกลบท แล้วแตเหมาะ

๒. โคลงกลอักษร  คือแบบโคลงที่ท่านวางอักษรหรือถ้อยคำไว้ให้เป็นกลต่างๆ ซึ่งผู้อ่านจะต้องพยายามอ่านเอาเองให้ถูกต้องตามแบบโคลง และให้ชื่อต่างๆ เช่นกัน ดังจะยกตัวอย่างมาให้ดูพอเป็นที่สังเกตต่อไปนี้
………………………………………………………………………………………….
๑ กระทู้ ๔ นี้เคยได้ยินอยู่โคลงเดียวเท่านี้  จึงชักมาเป็นตัวอย่างเสียให้ครบ แต่ของเก่าบาท ๔ เป็น “สากกะเบือเหน็บหลัง” ดูไม่เหมาะจึงเปลี่ยนเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะที่จะเป็นแบบ
………………………………………………………………………………………….
๑. โคลงกลบทจากศิลาจารึกวัดพระเชตุพน
โคลงกลบทอักษรสลับ๑ คือ ในบาทหนึ่งๆ กำหนดให้อักษร ๒ ตัวสลับกันไปจนจบบาท (สร้อยไม่นับ) ดังนี้

วิวิธมาลี
“ผายสารพงศ์ศาสน์ผู้         ส่ำผอง  มาตย์แฮ
เร่งเตรียมเร่งเตรียมริ          ตริร้น
ทกกิจทกกองทำ                กอบทั่ว  สถานเฮย
แผกแบบพู้นเบื้องพ้น         เบี่ยงผัน ฯลฯ”

โคลงกลบทกินนรเก็บบัว  คือในวรรคหน้าของทุกบาทแห่งโคลงสุภาพให้มีคำที่ ๒ ซ้ำกับคำที่ ๔ แต่สำหรับโคลงดั้นในบาท ๔ ให้คำที่ ๑ ซ้ำกับคำที่ ๓ ดังนี้

วิวิธมาลี
“เช็ด หน้า บาน หน้า วาด         วิจิตร อุไรฤา
แทตย์ แบก แท่น แบก พบู        ทายเทิด ขรรค์เอย
มุข นอก มุข หน้าห้อง               แห่งละสอง ฯลฯ”

โคลงนาคบริพันธ์  คือให้คำท้ายบาท ๒ คำ  ได้สัมผัสอักษรกับ ๒ คำของบาทต้นต่อไป และใน ๒ คำนั้นให้คำต้นซ้ำกันด้วย (สร้อยไม่นับ) ดังนี้

วิวิธมาลี
“ตำบลหนแห่งห้อง            หอ ธรรม์ นั้นแฮ
หอ เทศน์สถานการเปรียญ        แรก สร้าง
แรก ใส่ขดานสวรรค์            สบ ทั่ว พื้นพ่อ
สบ ที่ชำรุดรื้อมล้าง            มละ บูรณ์

บทต่อไป มละ เบื้อง ฯลฯ

หมายเหตุ  ตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นโคลงดั้นวิวิธมาลีทั้งนั้น และยกเฉพาะบทต้นเท่านั้น บทต่อไปก็เช่นเดียวกัน ถ้าจะแต่งเป็นโคลงสุภาพก็แต่งได้เช่นกัน เว้นแต่บางแบบที่ติดขัดด้วยข้อบังคับ เช่นแบบกินนรเก็บบัว โคลงดั้นจะ
………………………………………………………………………………………….

๑ โคลงกลบทต่างๆ นี้ ในศิลาจารึกวัดพระเชตุพน ท่านเรียกว่า “กลอักษรสลับ” “กลกินนรเก็บบัว” ฯลฯ คงเป็นด้วยจะเรียกง่ายๆ ในที่นี้เรียกเต็มชื่อ ตามแบบกลอนกลบท
………………………………………………………………………………………….
ให้คำที่ ๒ ซึ่งเป็นเอกไปซ้ำกับคำที่ ๔ ซึ่งเป็นโทไม่ได้ จึงต้องร่นมาเป็นคำที่ ๑ ซ้ำกับคำที่ ๓ เป็นต้น และโคลงกลบทเหล่านี้ต่างแทรกเข้าในคำโคลงเรื่องยาวๆ ก็ได้ตามเหมาะแก่เรื่อง  แต่ต้องให้เป็นชนิดเดียวกับโคลงท้องเรื่อง คือสุภาพหรือดั้นก็ให้เป็นอย่างเดียวกัน

๒. โคลงกลอักษรจากศิลาจารึกวัดพระเชตุพน๑
โคลงกลอักษร  ชื่อ “ลักษณะซ่อนกล” คือโคลง ๔ แต่เขียนไว้ ๓ บรรทัด บรรทัดกลางเขียนควงกันไว้เป็นการซ่อนกล  ให้ผู้อ่านค้นอ่านเอาเองให้ถูกระเบียบการโคลงและให้ได้ความด้วย ดังนี้
silapa-0405 - Copy

วิธีอ่าน
“หะหายกระต่ายเต้น        ชมจันทร์
มันบ่เจียมตัวมัน             ต่ำต้อย
นกยูงหยั่งกระสัน           หาเมฆ
มันบ่เจียมตัวน้อย           ต่ำเตี้ยเดียรฉาน”

โคลงกลอักษร ชื่อ “ลักษณะซ่อนเงื่อน” คือโคลง ๔ แต่เขียนไว้ ๓ บรรทัดอย่างแบบข้างบน ต่างกันแต่เพียงอ่านคำในควงวรรคหน้าข้างล่างก่อน ซึ่งเป็นการตรงกันข้ามกับแบบข้างบนเท่านั้น ดังนี้

silapa-0406 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ โคลงกลอักษรต่างๆ นี้ ในศิลาจารึกวัดพระเชตุพน ท่านเรียกว่า โคลงกลบทและโคลงกลบมต่างๆ ท่านเรียกว่าโคลงกล ส่วนกลอนกลบทนั้นท่านเรียกไว้ชัดเจนว่า กลอนกลบทพวกหนึ่ง กลอนกลอักษรพวกหนึ่ง ดังอธิบายมาแล้วตามแบบของท่าน ดังนั้นเพื่อให้ได้ระเบียบแบบแผนสมกับที่จะเป็นตำราต่อไป จึงจัดโคลงกลให้เป็น ๒ ชนิด คือ โคลงกลบทชนิดหนึ่ง โคลงกลอักษรชนิดหนึ่ง อนุโลมตามกลอนของท่าน
………………………………………………………………………………………….

วิธีอ่าน
“จรีกางห่มหอกเสื้อ        แทงเขน
สองประยุทธ์ยืนยัน        ย่องย้อง
นางอั้วเพ่งผัวเอน         ควายเสี่ยว
สองประจัญมือจ้อง        จ่อแทง”

โคลงกลอักษร  ชื่อว่า “จองถนน” คือบรรจุคำไว้ในตาราง ๔ ช่องๆ ละแถว กับช่องด้านสกัดหัวท้ายช่องละ ๒ แถว ให้คิดอ่านเอาเองให้ได้ถูกตามแบบข้อบังคับโคลงและให้ได้ความด้วย ดังรูปต่อไปนี้
silapa-0406 - Copy1
วิธีอ่าน
ศศิธรจรแจ่มเรื้อง               ศศิธร
ผ่องแผ้วกลางอัมพร           ผ่องแผ้ว
ดาษดาวประดับสลอน        ดาวดาษ
ล้อมแวดจันทราแพร้ว         แวดล้อมศศิธร

หมายเหตุ  โคลงกลอักษรนี้มีมากมาย แล้วแต่กวีโบราณจะคิดขึ้น และให้ชื่อไว้ต่างๆ อย่างเดียวกับแม่ครัวให้ชื่อของกินที่ประดิษฐ์ขึ้น ฉะนั้น และแต่งไว้เพียงเป็นเครื่องทดลองปัญญากันเล่นเท่านั้น หาได้ใช้แต่งแทรกแซงลงในบทกวีใดๆ ไม่ ที่นำตัวอย่างบางบทมาไว้ที่นี้ก็เพื่อให้รู้แบบแผนโบราณสิ่งละอันพรรณละน้อย พอให้เข้าระเบียบกลอนกล โคลงกล ครบวิธีเท่านั้น และสมัยนี้ก็ไม่มีผู้นิยมใช้แล้ว

๓. โคลงตามแบบคัมภีร์กาพย์  โคลงจำพวกนี้ได้แก่โคลง ๔ ไทยที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่อาจารย์ทางภาษาบาลีรวบรวมคำเทศน์ต่างๆ ของไทย คือ โคลง ร่าย และกาพย์ (เช่นยานี, ฉบัง, สุรางคนางค์ ฯลฯ) แต่งขึ้นเป็นภาษาบาลีให้ชื่อว่า “คัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี” และ “คัมภีร์กาพย์คันถะ” ซึ่งที่จริงคำกานท์เหล่านี้ก็คล้ายกับคำกานท์ของเราทั้งนั้น แต่เพราะภาษาบาลีไม่นิยมวรรณยุกต์ คำโคลงเหล่านี้จึงไม่กำหนดวรรณยุกต์ด้วย เป็นแต่กำหนดคณะ และสัมผัส ตามที่ภาษาบาลีจะมีได้เท่านั้น

เพราะแบบโคลงเหล่านี้ มีในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๖ มากแห่ง และมีผู้นิยมประพันธ์ตามเสด็จด้วย จึงนำแบบโคลงเหล่านี้มาไว้เพื่อให้เป็นความรู้ต่อไป  และโคลงเหล่านี้ท่านเรียกเป็นคำบาลีว่า “กาพย์” ทั้งหมด ถ้าวรรคท้ายบท ๒ คำอย่างโคลงดั้น ท่านให้ชื่อเฉยๆ เช่น “วิชชุมาลี, จิตรลดา ฯลฯ” ถ้าวรรคท้ายบท ๔ คำอย่างโคลงสุภาพ ท่านเติมคำมหาเข้าอีกเป็น “มหาวิชชุมาลี, มหาจิตรลดา” เป็นต้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้

จากกาพย์สารวิลาสินีที่แต่งเป็นไทยเทียบไว้
silapa-0407 - Copy
ข. มหาวิชชุมาลี (ระเบียบสายฟ้าใหญ่) ทั้งสามบาทข้างต้นเหมือนวิชชุมาลี แต่วรรคท้ายบทเป็น ๔ คำ ตรงกับโคลงดั้นมหาวิวิธมาลี แต่ไม่กำหนดเอกโท

บาทสี่ “ตั้งกระหม่อมข้านิตย์    ต่อเท่าเมื่อมรณ์”

silapa-0408 - Copy
ฆ. มหาจิตรลดา (เถาวัลย์งามใหญ่) ก็เหมือนมหาวิวิธมาลีอย่างจัตวาทัณฑีนั้นเอง คือมีวรรคท้ายบทเป็น ๔ คำ ดังนี้

บาทสี่  “รัศมีเรืองกล้าแหล่ง        แห่งห้วงเวหา”

silapa-0408 - Copy1
จ. มหาสินธุมาลี (ระเบียบสายน้ำใหญ่) ต่างจากสินธุมาลีที่มีวรรคท้ายบาท ๔ เป็น ๔ คำ ซึ่งตรงกับโคลงสี่สุภาพธรรมดาที่ไม่กำหนดเอกโท ตัวอย่างบาท ๔ ท่านให้ไว้—“สัตบุรุษทั่วหล้า    ชมนิตย์ชื่อธรรม”
silapa-0409 - Copy
ช. มหานันททายี (ให้ความเพลินใหญ่) ๓ บาทต้นอย่างนันททายี แต่วรรคท้ายบทมี ๔ คำ ตรงกับโคลงสี่สุภาพที่จัตวาทัณฑีทั้งบาท ๒-๓ ตัวอย่างบาท ๔ ท่านให้ไว้

“เฉกพระพุทธเจ้า        เตือนโลกให้เห็นธรรม”
จากกาพย์คันถะที่แปลเทียบเป็นไทยไว้

ก. ทีฆปักษ์ (มีปีกยาว) ไม่เคยเห็นโคลงไทย มีคณะและสัมผัส ดังนี้
silapa-0409 - Copy1
ข. รัสสปักษ์ (มีปีกสั้น) ไม่เคยเห็นโคลงไทย มีคณะและสัมผัส ดังนี้
silapa-0410 - Copy
หมายเหตุ  ตามตัวอย่างภาษาไทยที่แต่งไว้นี้ ท่านพยายามให้ละม้ายโคลงไทย แม้เอกโทก็พยายามวางไว้ด้วย จึงปรากฏเป็นแบบโคลงเช่นนี้ ถ้าจะแต่งตามบาลีของท่านจริงๆ แล้ว จะไม่เห็นเป็นโคลงเลย และที่ท่านแต่งก็แต่งอย่างแบบตัวอย่างไทย

๔. โคลงโบราณชื่อมณฑกคติ (กบเต้น) โคลงห้า  โคลงแบบนี้เป็นของโบราณมีในประกาศแช่งน้ำพระพิพัฒน์สัตยา  ท่านนำมาอธิบายไว้ในฉันทลักษณ์เดิม เพื่อให้ครบแบบโคลงไทย ในที่นี้จึงอธิบายไว้ด้วยพอเป็นความรู้พร้อมกับนำตัวอย่าง ดังนี้

คณะ  ที่เรียกว่าโคลงห้าสำหรับโคลงนี้ หาได้เรียกตามจำนวนบาทอย่างโคลง ๒, โคลง ๓, โคลง ๔ ไม่  แต่กำหนดคำในบาทหนึ่งๆ มี ๕ คำ และมี ๔ บาทเป็น ๑ บท และในบาท ๔ นั้นเติมสร้อยได้ ๒ คำทั้ง ๔ บาท และคำสร้อยนั้นไม่ต้องลงท้ายสร้อยว่า “แล, แฮ, นา” ฯลฯ ดังโคลงธรรมดาเสมอไป จะลงห้วนๆ เป็นถ้อยคำธรรมดาก็ได้

สัมผัสและเอกโท  ส่วนสัมผัสนั้นเป็นโคลงบาทกุญชร  คือสัมผัสส่งอยู่ท้ายบท  ถ้ามีสร้อยก็อยู่ท้ายสร้อย  ส่วนสัมผัสรับนั้นต้องข้ามไปรับในบาทที่ ๒ คำใดคำหนึ่งในสี่คำต้น  ถ้ามีสร้อยคำที่ ๕ ก็รับได้และรับกันเหมือนร่าย คือคำเป็นรับคำเป็น คำตายรับคำตาย เอกรับเอก และโทรับโท ส่วนเอกโทนั้นบังคับแต่โทอยู่ท้ายบาท ๒  ถ้ามีสร้อยก็อยู่ท้ายสร้อยและสัมผัสโทรับที่ต้นบาท ๔ ได้ทั้ง ๔ คำ  ถ้ามีสร้อยรับโทคำที่ ๕ ก็ได้  ส่วนเอกนั้นไม่มีบังคับ ดังแผนต่อไปนี้

แผนโคลงมณฑกคติ
silapa-0411 - Copy

silapa-0412

silapa-0413
silapa-0414 - Copy

๕. โคลงที่แต่งเข้ากับกาพย์  คือ (ก) โคลง ๔ สุภาพที่แต่งเข้ากับกาพย์ยานี ซึ่งเรียกว่า “กาพย์ห่อโคลง” ซึ่งมีข้อบังคับเหมือนโคลง ๔ สุภาพนั่นเอง จะอธิบายในกาพย์ห่อโคลงต่อไป

(เขา) โคลงขับไม้ คือโคลง ๔ สุภาพที่ไม่นิยมเอก แต่งสลับกับกาพย์สุรางคนางค์ ซึ่งเรียกว่ากาพย์ขับไม้ จะอธิบายต่อไปในข้อกาพย์ขับไม้อีก

คำร่ายต่างๆ  คำร่ายเป็นคำกานท์เก่าแก่ของไทยเราคู่กับคำโคลง กล่าวคือ คำร่ายเป็นคำขับร้องกันสามัญทั่วไป  ส่วนคำโคลงนั้นเป็นคำกานท์ที่
………………………………………………………………………………………….
๑ โคลงแบบนี้เป็นของเก่าแก่มาก ท่องจำและคัดลอกกันหลายทอดจึงได้ตกหล่นและคลาดเคลื่อนไปมาก  ต่อเมื่อตรวจดูทั่วๆ ไปแล้วจัดวรรคตอนเสียใหม่เล็กน้อย ก็จะเห็นได้ว่าของท่านเป็นระเบียบเรียบร้อย ดังแผนที่วางไว้ข้างบนนี้ การที่นำตัวอย่างมาให้ดูมากๆ พร้อมด้วยวรรคตอนและบอกสัมผัสด้วยนี้ เพื่อจะให้สังเกตง่ายขึ้น แต่เพราะโคลงนี้ได้ใช้ท่องจำสวดอ่านเอื้อนจังหวะสั้นๆ ยาวๆ จึงตกหล่นไปบ้าง สังเกตได้ที่บางบทมี ๓ บาทเท่านั้น และสัมผัสก็ไม่รับกันตามที่เคยรับกันด้วย และบางแห่งก็แยกวรรคเคลื่อนคลาดเอาคำต้นวรรคท้ายมาเป็นสร้อยปลายวรรคต้น เลยทำให้ไม่คล้องจองกันดังแผนเลย เช่นคำ “ช่วยดู” ซึ่งเขียนไว้เป็นสร้อยของวรรคต้นต่อไปนี้

๑. “มารเฟียดไททศพลช่วยดู     แดนไตรจักรอยู่ค้อย
ธรมาครปรัตเยกช่วยดู               ห้าร้อยเฑียรแมนเดียว
๒. อเนกถ่องพระสงฆ์ช่วยดู        เชียวจรรยายิ่งได้(เขียวคือเชี่ยว)
ขุนหงส์ทองเกล้าสี่ช่วยดู           ชระอ่ำฟ้าใต้แผ่นหงาย”ฯ เป็นต้น

ดังนี้จะเห็นได้ว่าผิดระเบียบเดิมๆ หมด ถ้าเอาคำ “ช่วยดู” ไปไว้ต้นบทหน้า ก็จะเข้าระเบียบเดิมหมดดังนี้
“๑. มารเปียดไททศพล*๑
ช่วยดูแดนไตรจักร อยู่ค้อย*๒ (มีสร้อย)
ธรมาครปรัตเยก*๓ (ธรมาคร คงอ่านธนรมาก อย่างทรมานอ่านทนระมาน)
ช่วยดูห้าร้อย ๒ เฑียร แมนเดียว*๔
๒. อเนก๓ ถ่องพระสงฆ์*๕
ช่วยดูเชียวจรรยา ยิ่งได้๖ (มีสร้อย)
ขุนหงส์ทองเกล้าสี่*๗
ช่วยดูชระอ่ำฟ้าใต้ แผ่นหงาย*๘ (มีสร้อยจึงรับ ๕ ได้)
(*๗ และ *๘ ส่งต่อไปในบท ๓) และยังมีที่อื่นอีกมาก

อนึ่ง ข้อบังคับโทตรวจดูทั้งหมดมีรับตั้งแต่คำ ๒ ถึงคำ ๕ แต่รับคำ ๑ ไม่มี น่าจะเป็นบังเอิญ จึงตั้งแผนให้รับคำที่ ๑ ได้อย่างสัมผัสท้ายบาทอื่นด้วย
………………………………………………………………………………………………….
กวีประดิษฐ์ให้มีข้อบังคับพิสดารขึ้นไปอีกต่อหนึ่งดังกล่าวมาแล้ว คำร่ายต่างๆ ตามที่ตรวจค้นดูเห็นมีต่างๆ กัน แต่จะจำแนกประเภทตามฉันทลักษณ์เดิมซึ่งท่านจำแนกไว้เป้น ๔ ชนิด คือ ร่ายโบราณ, ร่ายสุภาพ, ร่ายดั้น และร่ายยาว จะได้แยกอธิบายข้างหน้าต่อไป

๑. ข้อบังคับทั่วๆ ไปของร่าย เพราะร่ายเป็นคำกานท์เก่าแก่ จึงมิได้มี ข้อบังคับมากมายนัก กล่าวทั่วไปก็มีดังนี้

คณะ บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ แต่มีตั้งแต่ ๕ วรรคขึ้นไปเป็นพื้น ส่วน ตอนจบนั้นบางชนิดก็จบลงห้วนๆ บางชนิดก็มีข้อบังคับซึ่งจะอธิบายข้างหน้า ส่วนคำในวรรคหนึ่งๆ นั้น โดยมากกำหนด ๕ คำ แต่บางชนิดน้อยกว่าหรือมากกว่าก็ได้ ดังจะแยกอธิบายข้างหน้าเช่นกัน

สัมผัส ที่เป็นพื้นของร่ายนั้น คือมีสัมผัสส่งท้ายวรรค และมีสัมผัสรับ เชื่อมต้นวรรคหน้าต่อไป เช่นนี้จนจบ และสัมผัสส่งและสัมผัสรับที่เชื่อมกับวรรคหน้าต่อๆ กันไปนี้ จะต้องเกี่ยวกับเสียงวรรณยุกต์ด้วย คือต้องส่งและรับ คำชนิดเดียวกัน เช่นส่งคำเป็นก็ต้องรับคำเป็น๑ ส่งคำตายก็ต้องรับคำตาย ส่งคำเอกก็รับคำเอก และส่งคำโทก็ต้องรับคำโท เป็นดังนี้เสมอไป และสัมผัสเชื่อมที่รับในวรรคต่อไปนั้น ถ้าเป็นร่ายวรรคละ ๕ คำ มักใช้รับคำที่ ๑-๒-๓ คำใดคำหนึ่ง แต่รับคำที่ ๓ นับว่าเพราะกว่าที่อื่น ถ้าคำในวรรคน้อยกว่าหรือมากกว่า ๕ คำก็รับร่นเข้ามาหรือยืดออกไปได้แล้วแต่จะเหมาะ  และสัมผัสส่งและรับดังอธิบายข้างบนนี้ต่อไปจะเรียกว่า “สัมผัสร่าย” และร่ายบางชนิดก็มีข้อบังคับในตอนจบอีก จะอธิบายไว้เฉพาะร่ายชนิดนั้นๆ ต่อไปข้างหน้า
………………………………………………………………………………………….
๑ คำเป็นในที่นี้ คือเสียงสามัญและเสียงจัตวา เช่น มา, หา, จ๋า, เขย, เผย เป็นต้น ส่วนคำตายนั้นได้แก่คำตายทั้งหมดตามอักขรวิธีแม้ที่มีไม้ตรีด้วย จะ, จ๊ะ, คะ, เคิด, จิต, มาด, อาจ, ขาด, ก๊ก, อ๊อด เป็นต้น ส่วนคำเอกโทคือคำที่มีไม้เอกโทบังคับข้างบน เช่น น่า, ผ่า, มั่น, หัน ฯลฯ และ น้า, ป้า, หมั้น, ครั้น เป็นต้น

อนึ่ง คำเป็นซึ่งบังคับไม้ตรี เช่น เก๊า, กุ๊ย เป็นต้น  ถึงแม้จะใช้ในที่บังคับเอกโทไม่ได้ก็ควรใช้รับกับเสียงตรีของอักษรต่ำ  ในที่ไม่มีบังคับเอกโทตามแผนได้ เช่น “น้า” “รับ” “ก๊า” และ ส่ง “กุ๊ย” “รับ” “คุ้ย” ดังนี้เป็นต้น
………………………………………………………………………………………….
๒. ร่ายโบราณ  ที่จริงคำร่ายทั้งหลายนับว่าเป็นของโบราณทั้งนั้น ที่เรียกว่า “ร่ายโบราณ” ในที่นี้หมายเฉพาะเป็นชื่อคำร่ายชนิดหนึ่งซึ่งมีชุกชุมในวรรณคดีโบราณ เช่น ลิลิตพระลอเป็นต้นเท่านั้น ซึ่งมีข้อบังคับดังนี้

คณะ  บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ แต่มักจะมีตั้งแต่ ๕ วรรคขึ้นไป เพราะถ้ามีสี่วรรคท่านก็มักแต่งเป็นโคลงสามเสียแทบทั้งนั้น และคำในวรรคหนึ่งๆ นั้น ท่านกำหนดไว้เป็นหลัก ๕ คำตลอดไปทุกวรรคจนจบ

คำสร้อย  ถ้าจะเติมสร้อยก็เติมได้อีก ๒ คำ อย่างสร้อยโคลงธรรมดา หรือจะเติมสลับไปทุกวรรคก็ได้ ซึ่งเป็นแบบที่ท่านแต่งเล่นเป็นพิเศษ

สัมผัส  มีสัมผัสส่งท้ายวรรค และสัมผัสเชื่อมรับคำที่ ๑-๒-๓ ของวรรคต่อไปอย่างสัมผัสส่งและรับของร่ายทั่วๆ ไปดังแสดงมาแล้ว และคำส่งวรรคท้ายบท คือคำจบบท ท่านห้ามคำบังคับไม้เอก, โท, ตรี, และคำตาย

แผนร่ายโบราณ
silapa-0416 - Copy
ตัวอย่างในลิลิตพระลอ (ตามฉันทลักษณ์เดิม)

“ชมข่าวสองพี่น้อง ต้องหฤทัยจอมราช พระบาทให้รางวัล ปันผ้าเสื้อสนอบ ขอบใจสูเอาข่าว มากล่าวต้องติดใจ บารนี”

หมายเหตุ  ระเบียบที่ว่าวรรคละ ๕ คำนั้น เป็นหลักที่ถูกต้องตามแผนที่ท่านวางไว้เท่านั้น แต่ของเก่าท่านใช้มากไปบ้าง น้อยไปบ้างก็มี ดังร่ายโบราณเบื้องต้นลิลิตพระลอต่อไปนี้

“ศรีสิทธิฤทธิชัย             ไกรกรุงอดุงเดชฟุ้งฟ้า
หล้าระรัวกลัวมหิมา          ระอาอานุภาพ
ปราบทุกทิศ ฤทธิรุกราน    ผลาญพระนคร
รอนลาวกาว ตาวตัดหัว     ตัวกลิ้งกลาดดาษดวน ฯลฯ”

ทั้งนี้ สังเกตได้ว่ามีลักษณะคล้ายร่ายดั้น ต่างกันก็เพียงร่ายนี้จบห้วนๆ ซึ่งผิดกับร่ายดั้น ซึ่งตอนจบมีข้อบังคับแปลกออกไป และบัดนี้ก็ไม่ใครนิยมแต่งกันแล้ว

๓. ร่ายสุภาพ  ร่ายแบบนี้ท่านนิยมแต่งกันแพร่หลายมาจนบัดนี้ และนิยมแต่งกันถูกต้องตามแบบแผน เช่นเดียวกับโคลงต่างๆ ที่แต่งกันในสมัยนี้ ข้อบังคับร่ายสุภาพนั้นมีดังนี้

คณะ  บทหนึ่งๆ มีตั้งแต่ ๕ วรรคขึ้นไป เพราะว่ามี ๓ วรรคหรือ ๔ วรรค ก็เป็นโคลง ๒ โคลง ๓ สุภาพดังกล่าวแล้ว และในวรรคหนึ่งๆ เบื้องต้นนั้นมีวรรคละ ๕ คำตลอดไป จะเป็นกี่วรรคก็ได้ไม่กำหนด แต่เมื่อจะจบนั้น ต้องเอาโคลงสุภาพเข้ามาต่อ

คำสร้อย มีได้ ๒ คำ ในที่สุดอย่างสร้อยโคลงธรรมดา หรือจะมีสลับวรรคอย่างร่ายโบราณก็ได้

สัมผัส มีสัมผัสส่งในท้ายวรรค และสัมผัสเชื่อมในวรรคต่อไป เป็นสัมผัสรับในคำที่ ๑-๒-๓ คำใดคำหนึ่ง ดังนี้เสมอไป  จนถึงวรรคสุดท้ายก็ให้สัมผัสส่งไปยังบาทต้นของโคลง ๒ สุภาพ  ซึ่งเป็นสัมผัสรับในคำที่ ๑-๒-๓ อย่างข้างต้น ส่วนสัมผัสส่งและรับที่เกี่ยวกับวรรณยุกต์ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ ดังแผนต่อไปนี้

แผนร่ายสุภาพ
silapa-0417 - Copy
ตัวอย่างร่ายสุภาพจากลิลิตพระลอ
“ข้าไหว้ถวายชีพิต                เผือข้าชิดข้าเชื่อ
เขือดังฤาเหตุใด(โคลง ๒)     ธมิไว้ใจเท่าเผ้า
สองแม่ณหัวเจ้า                    มิได้เอ็นดู เผือฤา”

หมายเหตุ  ควรสังเกตว่าโคลง ๒ สุภาพ, โคลง ๓ สุภาพ และร่ายสุภาพมีข้อบังคับแบบเดียวกัน ต่างแต่จำนวนวรรคเท่านั้น คือ (๑) โคลง ๒ สุภาพ มี ๒ บาท ๓ วรรค (๒) ถ้าเติมข้างหน้าโคลง ๒ เข้าอีกวรรคหนึ่งเป็น ๔ วรรค (๓ บาท) และส่งรับกันอย่างร่ายก็เรียกว่าโคลง ๓ สุภาพ (๓) แต่ถ้าเติมข้างหน้าโคลง ๓ เข้าอีกสักกี่วรรคก็ตาม และส่งรับกันอย่างร่ายดังกล่าวแล้วก็ได้ชื่อว่า ร่ายสุภาพทั้งนั้น

๔. ร่ายดั้น  ร่ายแบบนี้ท่านก็นิยมแต่งกันมากเหมือนกัน แต่สังเกตดูคำ ในวรรคหนึ่งๆ มักใช้ ๕ คำ อย่างร่ายสุภาพโดยมาก แต่ข้อบังคับของท่านจะน้อยหรือมากกว่า ๕ คำก็ได้ ดังนี้

คณะ  บทหนึ่งๆ มีตั้งแต่ ๕ วรรคขึ้นไป เพราะ ๔ วรรคตอนจบนั้นต้องเป็นบาท ๓ และบาท ๔ ของโคลง ๔ ดั้นเสมอไป และวรรคต้นๆ ถัดไปนั้น ท่านกำหนดว่า ๕ คำเป็นเหมาะ แต่เพราะเป็นโคลงดั้นท่านจึงไม่กำหนดแน่นอนอย่างร่ายสุภาพ คืออย่างน้อยเพียง ๓ คำ อย่างมากเพียง ๗-๘ คำ แต่เมื่อจบต้องจบด้วยบาท ๓ บาท ๔ ของโคลง ๔ ดั้น ซึ่งมีข้อบังคับอย่างโคลง ๔ ด้วย

คำสร้อย  เติมสร้อยได้ที่สุดร่ายอีก ๒ คำ  หรือจะเติมสร้อยในระหว่างวรรคก็ได้ อย่างร่ายอื่นๆ ที่กล่าวแล้ว

สัมผัส  สัมผัสส่งและรับของร่ายดั้นนี้ ก็อย่างเดียวกับร่ายอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว แต่เพราะร่ายดั้นมีคำในวรรคหนึ่งๆ ไม่เสมอกัน  คำรับสัมผัสเชื่อมจึงเลื่อนขึ้นลงตามจำนวนคำมากน้อย กล่าวคือ ถ้าเป็นวรรคละ ๕ คำ ก็ควรรับคำที่ ๑-๒-๓ ตามกล่าวมาแล้ว แต่เป็นวรรคละ ๓ หรือ ๔ คำ ก็ควรรับคำที่ ๑-๒ ถ้าเป็นวรรคละ ๖ คำ ก็เลื่อนไปรับได้ถึงคำที่ ๔ และถ้าเป็นวรรคละ ๗-๘ คำ ก็ควรเลื่อนไปรับได้ถึงคำที่ ๕ ข้อสำคัญก็คือไม่ให้คำรับต้นวรรคกับคำท้ายวรรค เป็นคำสัมผัสสระซ้ำกันเช่น “ขอเดชไตรรัตน์ จงขจัดภัยภิบัติ ให้ส่ำสัตว์สำราญ” ดังนี้ใช้ไม่ได้

และเมื่อตอนจบต้องเอาโคลงดั้น บาท ๓ บาท ๔ มาต่อท้ายดังแผนต่อไปนี้
silapa-0419 - Copy
ตัวอย่างร่ายดั้นจากฉันทลักษณ์
“ศรีสวัสดิวิวัฒนวิวิธ    ชวลิตโลกเลื่อง
เฟื่องฟูภูมิมณฑล    สกลแผ่นภพ     สบพิสัยสยาม
รามนรินทร์ภิญโญยศ    ปรากฏกระเดื่อง    เปื่องปราชญ์ปรีชาชาญ
(บาท ๓ โคลง ๔ ดั้น) ขานคุณทั่วทุกทิศ ขจรขจ่าง
(บาท ๔ โคลง ๔ ดั้น) ลือตระลอดฟ้าล้น แหล่งธรา”

หมายเหตุ  ตามตัวอย่างข้างบนนี้ คำสร้อยท้ายบาท ๓ และบาท ๔ เผอิญไม่มี แต่ถ้าจำเป็นจะให้มีก็ได้ตามแผนที่วางไว้ อนึ่งตามแผนข้างบนนี้เป็นแบบที่ใช้กันแพร่หลายมาจนบัดนี้ แต่ร่ายดั้นแบบโบราณท่านใช้แยกไปจากแผนนี้ก็มีบ้าง กล่าวคือตอนเมื่อเชื่อมกับบาท ๓ ของโคลง ๔ ดั้น ตามแผนวรรคต้นใช้ ๕ คำ มีเอกคำที่ ๓ และต้องให้คล้องกับวรรคร่ายข้างต้นด้วย แต่ร่ายดั้นโบรานบางแบบท่านใช้เหมือนวรรคร่ายดั้นธรรมดา จะน้อยกว่า ๕ คำ หรือเกินกว่า ๕ คำก็ได้  และคำเอกที่ ๓ ก็ไม่นิยม เป็นแต่ให้คล้องกับวรรคข้างต้นก็แล้วกันและวรรคต่อไปก็เช่นเดียวกัน ดังตัวอย่างร่ายดั้นเบื้องต้นโคลงศรีปราชญ์กำสรวลต่อไปนี้

“ศรีสิทธิ์วิวิธบวร    นครควรชม    ไกรพรหมรังสรรค์    สวรรค์แต่งแต้ม     แย้มพื้นแผ่นพสุธา    มหาดิลกภพ     นพรัตน์ราชธานี (บาท ๓) บุรีรมย์     เมืองมิ่ง    แล้วแฮ (สร้อย) (บาท ๔) ราเมศรไท้ต้องแต่งเอง”

ดังนี้จะเห็นได้ว่า “บุรีรมย์” ๓ คำท่านใช้เป็นวรรคหนึ่งและไม่กำหนดเอกด้วย เป็นแต่ให้คล้องกับ “ธานี” เท่านั้น

๕. ร่ายยาว  คือร่ายซึ่งท่านนิยมสัมผัสส่งท้ายวรรคและรับต้นวรรคคำใดๆ ก็ได้เป็นสัมผัสเชื่อมกันไปเช่นนี้จนจบ  ส่วนวรรณยุกต์เช่นเอกรับเอก โทรับโท ฯลฯ นั้น ท่านก็นิยมด้วยแต่ไม่เคร่งครัดอย่างร่ายอื่นๆ และร่ายยาวนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับร่ายโบราณมาก ต่างแต่ร่ายโบราณนั้น ท่านแต่งเข้ากับโคลงสุภาพทั้งหลายมีกำหนดคำในวรรคหนึ่งๆ ไว้ชัดเจนและมีสัมผัสและวรรณยุกต์ถูกต้อง ดังแผนที่วางไว้ข้างบนนี้ ส่วนร่ายยาวนั้นเป็นคำกานท์ ซึ่งท่านใช้ร้องและแต่ง เป็นคำสวดเรื่องต่างๆ เพื่ออ่านสู่กันฟังอย่างคำร้องเพลงหรือคำกล่อมลูกเป็นต้น แต่เพราะเขาใช้สัมผัสแบบร่ายดังกล่าวมาแล้ว จึงต้องนับเข้าในร่ายยาวส่วนคำในวรรคหนึ่งๆ จะใช้ ๕-๖ คำ หรือ ๖-๗ คำ หรือมากกว่านี้ก็ได้แล้ว แต่จะเหมาะ แม้สัมผัสก็ไม่เที่ยง จะรับที่ไหนก็ได้เป็นแต่ให้ห่างสัมผัสส่งต่อไป ยิ่งมากยิ่งดี แต่ส่งกับรับจะเป็นคำเดียวร่วมกันไม่ได้ ดังตัวอย่างคำร่ายยาวกาพย์พระมุนีของชาวอีสานต่อไปนี้

“พระมุนีอยู่หัวเป็นเจ้า          เว้าเมื่อหน้ายังกว้างกว่าหลัง
อนิจจังลูกหลานเต็มบ้าน     อย่าขี้คร้านประฮีตคลองธรรม
ให้บำเพ็ญภาวนาอย่าขาด    ให้ตักบาตรอย่าขาดวันศีล” เป็นต้น

อนึ่ง นามประตู, นามเมือง, นามขุนนางที่เป็นชุดกัน แม้จนพระปรมาภิไธยพระเจ้าแผ่นดิน ท่านก็ผูกให้คล้องกัน เป็นแบบร่ายยาวนี้เป็นพื้น ดังตัวอย่างย่อต่อไปนี้

นามประตู—วิเศษชัยศรี, มณีนพรัตน์, สวัสดิโสภา, เทวาพิทักษ์ เป็นต้น

นามกรุงเทพฯ “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยามหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต ศักรทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

นามขุนนางที่เป็นชุดกัน ประกอบวุฒิศาสน์ ประกาศวุฒิสาร ประการวุฒิสิทธิ์ ประกิตวุฒิสนธิ์ เป็นต้น

พระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๑ “พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราช รามาธิบดีศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนาถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศัย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาลาธิเบนทร์สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลคุณอักนิฐฤทธิราเมศวรมหันต์  บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร์ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประเทศคตมหาพุทธางกูรบรมบพิตร”

อนึ่งร่ายยาวที่ท่านแต่งเป็นเรื่องใหญ่ ก็คือ “ร่ายยาวมหาชาติ ๑๓ กัณฑ์” ที่พระท่านเทศน์มหาชาติอยู่ทุกวันนี้ และนับว่าเป็นวรรณคดีสำคัญของชาวไทยเรา ซึ่งใช้เล่าเรียนอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทุกวันนี้ ข้อสำคัญของการประพันธ์ร่ายยาวไม่ได้อยู่ที่ข้อบังคับตามแผนที่ว่าไว้ แต่อยู่ที่ใช้สัมผัสอักษรใช้ถ้อยคำให้เหมาะแก่เนื้อเรื่อง เช่น โศก, เศร้า, โกรธ ฯลฯ และเหมาะแก่ฐานะของบุคคลในเรื่อง เช่น ไพร่ ผู้ดี ฯลฯ ซึ่งเป็นศิลปะของการประพันธ์อีกแผนกหนึ่ง จึงไม่นำมาอธิบายในที่นี้ แต่จะยกตัวอย่างมาให้เห็นพอเป็นที่สังเกตบ้างดังต่อไปนี้

ก. กัณฑ์มหาพน  พรรณนาเขา (ให้เห็นภาพเด่นชัด)
“(พฺรหฺเม) ดูกรมมหาพราหมณ์พรหมบุตรบวชบรรพชาชาติทิชงคพิสัย, (เอสเสโล) แลถนัดในเบื้องหน้าโน่นก็เขาใหญ่ยอดเยี่ยมโพยมอย่างพะยับเมฆมีพรรณเขียวขาวดำแดงดูดิเรกดั่งรายรัตนนพมณีแนมน่าใคร่ชม ครั้นแสงสุริยะส่องระดมก็ดูเด่นดั่งดวงดาววาวแวววะวาบๆ ที่เวิ้งวุ้ง วิจิตรจำรัสจำรูญรุ่งเป็นสีรุ้งพุ่งพ้นเพียงคัคนัมพรพื้นนภากาศ บ้างก็เกิดก่อก้อนประหลาดศิลาลายแลละเลื่อมๆ ที่งอกง้ำเป็นแง่เงื้อมก็ชะงุ้มชะโงกชะง่อนผา”

ข. ทานกัณฑ์  พระมัทรีตัดพ้อพระเจ้าศรีสญชัย (ใช้คำง่ายๆ แต่เหมาะ)
“พระพุทธเจ้าข้า ขึ้นชื่อว่าบุตรเป็นที่สุดแสนเสน่หา ถึงจะชั่วช้าประการใดใจสามารถ เป็นหนามเสี้ยนเบียนประชาราษฎร์ควรห้ามเฝ้า จะตัดจากลูกเต้านั้นไม่ขาด เกล้ากระหม่อมเหมือนฝ่าละอองธุลีพระบาท ก็คงจะตัดพระลูกขาดได้คล่องๆ ไม่รู้หรือว่าช้างเผือกขาวผ่องต้องพระประสงค์ จะสอยดาวสาวเดือนลงถวายได้ แกล้งเสือกส่งจงใจให้ข้าศึก นี้หากว่าชาวเมืองเขาคิดลึกจึงชวนกันทูลความ พระองค์ขับเจ้าลูกเสียก็งามต้องตามที่ ฯลฯ”

ค. กัณฑ์ชูชก  พราหมณ์ตีเมีย (แสดงสำนวนไพร่)
“(อยํ อมิตฺตตาปนา) เสมือนนางทองอมิตตดานั้นใครไปสอนสั่ง (มหลฺลกพฺราหฺมณํ) ได้ผัวแก่ยังแต่ว่าจะตาย (สมฺมา ปฏิชคฺคิ) แต่ว่าความดีของแม่แกนี่มากมายหมั่นปฏิบัติผัว ถึงรูปเจ้าก็ไม่ชั่วเฉิดกว่าเอ็งสักสิบเท่า (กึหมชฺชถ) เอ็งเอ่ยกระไรเลยมาประมาทเราไม่เกรงกลัว ทุกวันนี้มึงสำคัญกูนี่เป็นผัวหรือเป็นข้า หา! กูนี่เป็นผัวหรือเป็นข้า หรือว่ามึงช่วยกูมานี่สักกี่ชั่ง ฯลฯ”

ฆ. กัณฑ์กุมาร สรรเสริญเกียรติคุณ (เพื่อปลูกศรัทธา)
“(อสฺสโม) อันว่าพระอาศรมบรมนิเวศน์วงกต เป็นที่เจริญพรตพรหมวิหาร แสนสนุกรัมณิยรโหฐานทิพพาอาสน์ ดั่งชะลอบัณฑุกัมพลศิลาลาดเลิศแล้วมาลอยลง สี่กษัตริย์เสด็จดำรงสำรวมกิจ ทรงเพศผนวชเป็นนักสิทธิ์สืบโบราณ โดยอุปนิสสัยสมภารหน่อพุทธางกูร ท้าวเธอก็สู้เสียสละซึ่งมไหสูรย์ ศวรรยางค์ ออกมาก่อสร้างซึ่งพระสมดึงสบารมี น้ำพระทัยท้าวเธอโปร่งเปรมปรีดิ์ปราโมทย์ ฯลฯ”

หมายเหตุ  ศัพท์บาลีที่ท่านแทรกไว้ในคำประพันธ์ตัวอย่างข้างบนนี้ เป็นวิธีประพันธ์คำเทศนาทั่วๆ ไป โดยยกศัพท์บาลีขึ้นไว้แล้วก็อธิบายเป็นคำประพันธ์อีกต่อหนึ่ง ที่ใช้วงเล็บคั่นไว้นั้นแสดงว่าเอาศัพท์บาลีออกเสียก็ได้ ไม่ทำให้สัมผัสเสียไปเลย แต่บางแห่งท่านแต่งให้ศัพท์บาลีคล้องกับคำประพันธ์ เมื่อเป็นเช่นนี้จะยกคำบาลีออกเสียมิได้ เพราะจะทำให้เสียสัมผัสไป ซึ่งผู้อ่านอาจจะทราบได้เอง

(ง) อนึ่งคำร่ายยาวนี้บางตอนท่านทอดวรรคยืดยาว ดังตัวอย่างข้างบนนี้ แต่บางตอนท่านก็ทอดวรรคสั้นๆ อย่างร่ายธรรมดา เช่นตัวอย่างในกัณฑ์ชูชก ตอนซ่อมแซมเรือนว่า “- – โย้ให้ตรงกรานไม้ยัน ค้ำจดจันจุนจ้องไว้ เกลากลอนใส่ซีกครุคระ มุงจะจะจากปรุโปร่ง แลตะละโล่งลอดเห็นฟ้า ขึ้นหลังคาครอบจากหลบ โก้งโค้งกบกดซีกกรอบ ผ่าไม้ครอบคร่อมอกไก่- – – ”  ดังนี้เป็นต้น

อนึ่ง ถ้าสัมผัสส่งกับสัมผัสรับของร่ายยาวนี้อยู่ห่างกันมากเกินควรไป ท่านมักจะสอดสัมผัสสลับแทรกเข้าในระหว่างก็ได้ คล้ายกับสัมผัสของกลอนและกาพย์ เพื่อให้เป็นสัมผัสเชื่อมติดต่อกันจะเป็นกี่คู่ก็ได้ แล้วแต่เหมาะดังแผนต่อไปนี้
silapa-0423 - Copy
โยงข้างบนเป็นสัมผัสส่งรับร่ายยาว  โยงข้างล่างเป็นสัมผัสสลับแทรกเข้ามาเช่นตัวอย่าง
silapa-0423 - Copy1
ระรัว – – ฯลฯ” ดังนี้ โรย และโหย เป็นสัมผัสร่ายยาวธรรมดา ส่วนนาง กับ ยาง, โยน กับ โหน เป็นสัมผัสสลับ ซึ่งแทรกเข้ามาเพื่อเชื่อมให้คล้องจองติดต่อกัน

บางทีสัมผัสรับของร่ายยาว  ซึ่งควรอยู่ต้นของวรรคต่อไปนั้น เมื่อทอดวรรคยาวมากและมีสัมผัสสลับแทรกเข้า ท่านเลยเอาสัมผัสรับนี้ไปไว้วรรคท้ายต่อไป คล้ายสัมผัสรับของกลอนสุภาพบ้างก็มี และสัมผัสรับนี้ก็กลายเป็นสัมผัสส่งร่ายยาววรรคต่อไปด้วยดังแผนต่อไปนี้
silapa-0424 - Copy
โยงข้างบนเป็นสัมผัสส่งรับร่ายยาว  โยงข้างล่างเป็นสัมผัสสลับแทรกเข้ามา ตัวอย่างที่เห็นง่ายคือ สัมผัสเพลงสรรเสริญพระบารมี  ซึ่งนับว่าเป็นร่ายยาวเหมือนกัน ดังนี้

“พระสยามินทร์พระยศยิ่งยงเย็นศิระเพราะพระบริบาล ผลพระคุณธรักษา ปวงประชาเป็นสุขศาสติ์ ขอบันดาล – – -” คำ “ศานติ์” เป็นสัมผัสส่งของร่ายยาวต่อไปอีกด้วย “ดาล” และต่อจากนี้ไปก็มีสัมผัสสลับเช่นเดียวกันดังนี้
“ขอบันดาลธประสงค์ใด จงสิทธิ์ดังหวังพระราชหฤทัย ดุจถวายชัย ชโย”

๖. ร่ายพิเศษของเก่า  ร่ายนี้คือร่ายที่อยู่เบื้องต้นโคลงมณฑกคติ  ที่อ่านแช่งน้ำพระพิพัฒน์สัตยา  ถ้าพิจารณาดูตามลักษณะร่ายก็นับเข้าอยู่ในร่ายยาว แต่เมื่อจบร่ายจะเอาโคลงมณฑกคติมาต่อนั้น ท่านเอาคำสุดท้ายร่าย (เบศ) มาต่อกับคำที่ ๓ บาทต้นของโคลง (เรศ) อย่างร่ายสุภาพต่อกับโคลงสุภาพดังจะคัดมาให้ดูเต็มตามแบบของท่าน เพื่อจะพิจารณาดูให้ถ่องแท้ดังนี้

ร่ายต้นโคลงแช่งน้ำพระพิพัฒน์สัตยา๑
ก. “โอมสิทธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเป็นแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุฑมาขี่ สี่มือถือสังข์จักร คทาธรณี ภีรุอวตาร อสุรแลงลาญทัก ททัคณีจรณาย

ข. โอมปรเวศวราย ผายผาหลวงอคร้าว ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทร์เป็นปืน ทรงอินทร์ชฎา สามตาพระแพร่ง แกว่งเพ็ชระกล้า ฆ่าภิฆน์จรรไร
………………………………………………………………………………………….
๑ ร่ายตัวอย่างนี้เป็น ๓ ร่ายด้วยกัน คือ (ก) ร่ายสรรเสริญพระนารายณ์ เมื่ออ่านจบแล้วเอาพระแสงศรปลัยวาตแทงน้ำ (ข) ร่ายสรรเสริญพระอิศวร เมื่ออ่านจบแล้วเอาพระแสงอัคนิวาตแทงน้ำ และ (ค) ร่ายสรรเสริญพระพรหม เมื่ออ่านร่ายนี้ก็ต่อโคลงมณฑกคติอีกบทหนึ่ง จึงเอาพระแสงศรพรหมาสตร์แทงน้ำ

ต้นฉบับเมของท่านบอกระยะแทงพระแสงนั้นๆ ไว้เป็นตอนๆ ที่มิได้คัดมาเต็มตามของท่านก็เพื่อจะให้เห็นลักษณะร่ายและโคลงล้วนๆ โดยชัดเจน
………………………………………………………………………………………….
ค. โอมชัยยะชัยโย โสฬสพรหมญาณ บานเศียรเกล้า เจ้าคลี่บัวทอง ผยองเหนือขุนห่าน ท่านรังก่อดินก่อฟ้า หน้าจตุรทิศ ไทมิตรดา มหากฤตราไตร อมไตยโลเกศ จงตรีศักดิ์ท่าน พิญาณปรมาธิเบศ
(ต่อโคลงมณฑกคติ)-ไทธเรศสุรสิทธิ
พ่อเสวยพรหมาณฑ์ ใช่น้อย
ประถมบุญภารดิเรก
บูรภพบรู้กี่ร้อย ก่อมา

ต่อนี้ไปก็ต่อกับบท ๑ ของโคลงมณฑกคติแช่งน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่อ้างมาแล้ว

คำลิลิต๑  คำประพันธ์ที่ท่านเอาร่ายต่างๆ และโคลงต่างๆ มาแต่งให้เข้าสัมผัสติดต่อกันไปจนจบเรื่องเรียกว่าลิลิต คำร่ายและที่แต่งเข้าลิลิตกันนั้น ท่านอธิบายไว้ว่าต้องให้ได้สัมผัสติดต่อกันไปจนจบเรื่อง และคำลิลิตนี้ท่านจัดเป็น ๒ ประเภท คือลิลิตสุภาพประเภท ๑ และลิลิตดั้นประเภท ๑ ดังจะแยกอธิบายต่อไปนี้

๑. ลิลิตสุภาพ  ได้แก่คำลิลิตที่เอาร่ายสุภาพและโคลงสุภาพต่างๆ มาแต่งเข้าสัมผัสติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน แต่มีข้อพิเศษออกไปจากนี้คือร่ายโบราณ ท่านใช้แต่งเข้าในลิลิตสุภาพด้วย และโคลงมหาวิวิธมาลี๒  คือโคลงวิวิธมาลีที่มีวรรคท้ายบาท ๔ เป็น ๕ คำ อย่างโคลงสุภาพ ท่านก็ใช้แต่งเข้าในลิลิตสุภาพได้ด้วย  แต่โคลงนี้ท่านแต่งเข้าในลิลิตดั้น ซึ่งจะกล่าวต่อไปก็ได้  เพราะสัมผัสข้างต้นเป็นทำนองดั้น  รวมความว่าลิลิตสุภาพมี ร่ายสุภาพ, ร่ายโบราณ, โคลงสุภาพต่างๆ และโคลงมหาวิวิธมาลี แต่งติดต่อเข้าสัมผัสกัน
………………………………………………………………………………………….
๑ คำลิลิต  ออกจากคำลิลิต ภาษาบาลีแปลว่า การรื่นรมย์ในอารมณ์ต่างๆ
๒ โคงบาทวิวิธมาลีนั้นท่านแต่งเข้ากับลิลิตสุภาพก็ได้ เพราะวรรคท้ายบาท ๔ เป็น ๔ คำ โคลงสุภาพ แต่งเข้ากับลิลิตดั้นก็ได้ เพราะสัมผัสรับเป็นอย่างโคลงดั้น แต่ถึงจะเข้ากับโคลงสุภาพท่านก็ใช้สัมผัสรับลิลิตอย่างโคลงดั้นนั้นเอง ดังตัวอย่างข้างบน
………………………………………………………………………………………….
วิธีเข้าสัมผัสลิลิตสุภาพ๑  ก็คือให้คำที่สุดร่ายหรือโคลงบทต้นไปเข้าสัมผัสกับคำที่ ๑-๒-๓ ของบทต่อไป ซึ่งจะเป็นร่ายหรือโคลงก็ตาม เป็นดังนี้เสมอไปจนจบลิลิตสุภาพ คำส่งสัมผัสลิลิตคือคำที่สุดร่ายและโคลงที่กล่าวมานี้ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับ คือท่านนิยมใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญ กับวรรณยุกต์จัตวาเป็นพื้น  แต่บางทีก็เป็นคำตายพลัดมาบ้าง เพราะท่านมิได้ห้าม ที่ห้ามเด็ดขาดนั้นคือ คำไม้เอก, โท, ตรี นับว่าใช้ไม่ได้ทีเดียว ส่วนสัมผัสรับลิลิตคือคำที่ ๑-๒-๓ ของร่ายและโคลงต่อไปนั้น  ก็เช่นเดียวกับสัมผัสร่ายซึ่งต้องเป็นเสียงสามัญหรือจัตวาตามสัมผัสส่ง คือส่งสามัญจะรับสามัญหรือจัตวาก็ได้ และส่งจัตวาจะรับจัตวาหรือสามัญก็ได้เช่นกัน และถ้าส่งคำตายก็ต้องรับคำตายอย่างสัมผัสร่ายดังกล่าวแล้ว

อนึ่งโคลงมหาวิวิธมาลีนั้น ท่านแต่งเข้ากับลิลิตสุภาพได้นั้นก็น่าจะเป็นด้วยวรรคท้ายของบาท ๔ มี ๔ คำ เข้าลักษณะโคลงสุภาพเท่านั้น ส่วนวิธีเข้าลิลิตท่านก็ใช้อย่างพวกโคลงดั้น คือสัมผัสรับลิลิต อยู่ที่คำที่ ๕ บาท ๒ หรือจะรับคำที่ ๓ ที่ ๔ ตามแผนโคลงตรีพิธพรรณและจัตวาทัณฑีก็ได้ ดังจะยกตัวอย่างลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นลิลิตสุภาพมาไว้เป็นที่สังเกตต่อไปนี้

คำส่งท้ายบทร่าย  “- -อุดมยศโยคยิ่งหล้า         ฟ้าพื้นฝึกบูรณ์”
โคลงมหาวิวิธมาลี     “บุญเจ้าจอมโลกเลี้ยง     โลกา
ระเรื่อยเกษมสุขพูน         ใช่น้อย
แสนสนุกนิ์ศรีอโยธยา      ฤาร่ำ ถึงเลย
ทุกประเทศชมค้อยค้อย   กล่าวอ้างเยินยอ”

ดังนี้คำ บูรณ์ กับ พูน เป็นสัมผัสเข้าลิลิตกัน และถ้าบทต่อไปเป็นโคลงมหาวิวิธมาลีอีก ก็ใช้รับเช่นนี้เรื่อยไป จนถึงร่ายหรือโคลงสุภาพ จึงใช้รับคำที่ ๑-๒-๓ ของวรรคต้น ดังอธิบายมาแล้ว
………………………………………………………………………………………….
๑ วิธีเข้าลิลิตสุภาพที่อธิบายข้างบนนี้อธิบายตามแบบฉันทลักษณ์เดิม ซึ่งนิยมใช้กันแพร่หลายในสมัยนี้ แต่สังเกตดูลิลิตสุภาพโบราณ ท่านเข้าลิลิตแบบนี้ก็มี ไม่เข้าตามแบบนี้ก็มี คือบางแห่งท่านก็ปล่อยไว้เฉยๆ ไม่เข้าสัมผัสกับบทต่อไป บางทีสัมผัสส่งเป็นเสียงสามัญหรือเสียงจัตวา แต่สัมผัสรับในบทต่อไปเป็นเอกหรือโทก็มี รวมความว่าท่านไม่นิยมเข้มงวดในวิธีเข้าลิลิตนี้มากนักอย่างในสมัยนี้
…………………………………………………………………………………………๒. ลิลิตดั้น  ได้แก่บทลิลิตที่เอาร่ายดั้นกับโคลงดั้นต่างๆ มาแต่งเข้าสัมผัสติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน และโคลงมหาวิวิธมาลีก็แต่งเข้าในลิลิตดั้นนี้ด้วยดังกล่าวมาแล้ว

วิธีเข้าสัมผัสลิลิต  ดั้นก็เป็นทำนองเดียวกับลิลิตสุภาพทั้งนั้น และสัมผัสรับเข้าเป็นร่ายดั้น และโคลง ๒ โคลง ๓ ดั้นก็ใช้คำที่ ๑-๒-๓ ของวรรคต้นเช่นกัน เว้นไว้แต่โคลง ๔ ดั้นต่างๆ ๑    ต้องรับคำที่ ๕ ของบาท ๒ แห่งบทต่อไป หรือจะรับคำที่ ๓ ที่ ๔ ตามแบบโคลงตรีพิธพรรณและจัตวาทัณฑีอย่างดั้นก็ได้เช่นเดียวกับที่ได้อธิบายไว้ในวิธีเข้าลิลิตสุภาพของโคลงวิวิธมาลีข้างต้นนี้พร้อมตัวอย่างนั้นแล้ว

๓. วิธีสอดสร้อยท้ายวรรคของร่าย ร่ายที่เข้าลิลิตทุกชนิดจะสอดสร้อยซ้ำๆ กันลงไปในท้ายวรรคทุกวรรคก็ได้  ถ้าเป็นร่ายสุภาพก็สอดสร้อยมาถึงโคลง ๒ ท้ายร่าย แล้วก็สอดสร้อยตามข้อบังคับโคลง ๒ ต่อไป ดังตัวอย่างในพระลอ ซึ่งท่านชักมาไว้ต่อไปนี้

“- – – อายแก่คนไสร้ท่านหัว นะพี่, แหนงตัวตายดีกว่า นะพี่, สองพี่อย่าถามเผือ นะพี่(โคลง ๒) เจ็บเผือเหลือแพร่งพร้อง, โอ้เอ็นดูรักน้องอย่าซ้ำจำตาย หนึ่งรา”

ถ้าเป็นร่ายโบราณใช้จบลงห้วนๆ ไม่มีโคลง ๒ ต่อ ดังนั้นจึงสอดสร้อยได้จนจบ ดังตัวอย่าง ซึ่งท่านชักมาจากลิลิตพระลอต่อไปนี้

“หวังสิ้นชนม์ด้วยไข้ แก่แม่รา, สิ้นชีพไท้ด้วยผี แก่แม่รา, ในบุรีเราแม่ลูก แก่แม่รา, แม่จะยาหยูกจงเต็มใจ แก่แม่รา, ดังฤาพ่อไปตายเมืองท่านม้วย แก่แม่รา, ด้วยหอกตาวหลาวดาบ แก่แม่รา, ด้วยกำซาบปืนยาดังนี้”
………………………………………………………………………………………….๑ โคลง ๔ ดั้นต่างๆ ที่นี้ คือ โคลงวิวิธมาลี, มหาวิวิธมาลี, บาทกุญชร และโคลงดั้นจัตวาทัณฑีและตรีพิธพรรณ ซึ่งล้วนแต่มีแผนใช้รับกันอยู่แล้วทั้งนั้น ซึ่งทั้งนี้อธิบายตามที่ท่านนิยมใช้กันในสมัยนี้ แต่โคลงดั้นโบราณ การเข้าลิลิตท่านก็ไม่นิยมเข้มงวดเช่นเดียวกับการเข้าลิลิตสุภาพเหมือนกัน เช่นท่านสอดโคลงวิวิธมาลีเดี่ยวลงไว้บางแห่ง ซึ่งไม่คล้องกับบทหน้าก็ได้ และการเข้าลิลิตอื่นก็เป็นทำนองเดียวกับลิลิตสุภาพทั้งสิ้น
………………………………………………………………………………………….
ตัวอย่างข้างบนนี้เป็นลิลิตสุภาพ  ถ้าเป็นลิลิตดั้นก็สอดสร้อยเช่นเดียวกัน แต่ลิลิตดั้นจะใช้ร่ายดั้น ซึ่งลงท้ายด้วยบาทที่ ๓, ที่ ๔ ของโคลง ๔ ดั้น ดังจะผูกตัวอย่างพอเป็นที่สังเกตต่อไปนี้

“อ้า! ยุวชนทหาร พ่อเอย, เธอหวังการเกื้อชาติเด่นชัด พ่อเอย, จึงปฏิบัติบ่มคุณควรยิ่ง พ่อเอย

บาท ๓ โคลงดั้น  
จงกอบสิ่งเกื้อกูล     แก่ชาติ     เราพ่อ
เพื่อสืบต่อตั้งสร้าง     ชาติเรา     เทอญนา”

หมายเหตุ  สร้อยบาท ๓ ว่า “เราพ่อ” หรือบาท ๔ ที่สุดร่ายว่า “เทอญนา” นี้จะใช้ว่า “พ่อเอย” ทั้งหมดก็ได้ ข้อสำคัญอยู่ที่ให้เนื้อความเข้ากันได้ และสร้อยร่ายเบื้องต้นที่ซ้ำกันว่า “นะพี่ๆ” เป็นต้น ก็เป็นเพราะท่านใช้ในเรื่องที่รำพันซ้ำๆ กัน ถ้าเป็นโวหารอย่างอื่นจะใช้สร้อยต่างๆ เช่น “นะพี่, จริงนา, เจียวแม่” เป็นต้นก็ได้ แต่ต้องให้ความเข้ากันเหมาะกับเรื่องเป็นสำคัญ

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

คำกลอน

ข้อบังคับคำกลอนทั่วไป คำกานท์ของไทย ถ้าจะจัดตามประวัติว่าไหนมีมาก่อนและไหนเกิดขึ้นภายหลังแล้ว ก็น่าจะเป็นตามลำดับที่เรียงไว้ในข้อ ๔ ประเภทคำกานท์ไทย คือ ร่าย โคลง กาพย์ ฉันท์
………………………………………………………………………………………….
๑ น่าจะใช้คำว่า “สักวาท์”
………………………………………………………………………………………….
และกลอน แต่ในตำรานี้ต้องการจะแสดงประเภทที่ง่ายและใช้แพร่หลายเป็นสามัญขึ้นต้น แล้วยกประเภทที่ยากและแพร่หลายน้อยกว่าเรียงขึ้นไปเป็นลำดับ โดยถือเอาความสะดวกในการสอนการเรียนเป็นข้อใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงจะอธิบายประเภทคำกลอนซึ่งผู้ศึกษาควรจะรู้ก่อน เพราะเป็นของง่ายและแพร่หลายทั่วไป ดังนี้

๑. คณะ คณะของคำกลอนท่านจัดเป็นบทๆ และบทหนึ่งๆ อย่างน้อย ต้องมี ๒ บาท เรียกว่า บาทเอก บาทโท เพราะที่สุดของสัมผัสซึ่งจะกล่าวข้างหน้าไปลงที่ท้ายบาทโท เพื่อจะให้จบสัมผัสจึงต้องให้จบในบาทโทเป็นคู่กันไป และบทหนึ่งจะมีกี่คู่ก็ได้

ในบาทหนึ่งๆ จัดเป็น ๒ วรรค เรียกวรรคสลับ วรรครับ (ในบาทเอก) และวรรครอง และวรรคส่ง (ในบาทโท) และในวรรคหนึ่งๆ นั้นบรรจุคำ ตั้งแต่ ๖ คำ ถึง ๙ คำ เป็นอย่างมาก กลอนคำร้องมักใช้ ๖-๗ หรือ ๘ คำเป็นพื้น และกลอนอ่านเล่น เช่นกลอนสุภาพหรือกลอนเสภา มักใช้ ๘ คำ หรือ ๙ คำเป็นพื้น โดยมากนิยม ๘ คำเป็นเกณฑ์ จึงเรียกว่ากลอนแปด ถ้าเป็นคำลหุจะใช้ ๒ พยางค์เป็นคำหนึ่งก็ได้ หรือถ้าเป็นคำอักษรนำจะแยกเป็น ๒ คำก็ได้ หรือรวบใช้เป็นคำเดียวก็ได้ ตามเห็นเพราะ

๒. สัมผัส  จะยกเอาสัมผัสนอกมาอธิบายก่อน เพราะเป็นสัมผัสบังคับ ดังนี้ กลอนมีสัมผัสนอกเป็น ๒ รวด รวดเล็กมีคู่หนึ่งเป็นสัมผัสสลับ ซึ่งเป็นสัมผัสอื่นแทรกเข้ามา อยู่ท้ายวรรคที่๑ จึงเรียกวรรคที่๑ นึ้ว่าวรรคสลับ ซึ่งไปรับกับต้นวรรคที่ ๒ เรียกว่า “เชื่อมสลับ” และรวดใหญ่มี ๒ คู่ คู่ต้นเป็นสัมผัสรับ อยู่ท้ายวรรคที่ ๒ ซึ่งเรียกว่า “วรรครับ” คือไปรับกับคำส่งในท้ายบาทโทข้างต้น ซึ่งถ้ามี คู่ ๒ เรียกว่าสัมผัสรอง อยู่ท้ายวรรคที่ ๓ ซึ่งเรียกว่า วรรครอง ต้องรับกับสัมผัสส่งเป็นที่ ๒ รองสัมผัสรับลงมา และรับกับสัมผัสเชื่อมในต้นวรรคที่ ๔ ด้วย เรียกว่า, “เชื่อมรอง” ต่อไปนี้ก็เป็นสัมผัสส่ง ซึ่งรับกับสัมผัสคู่ดังกล่าวแล้ว สัมผัสนี้อยู่ท้ายวรรคที่ ๔ ที่เรียกว่าวรรคส่ง ซึ่งนับว่าจบสัมผัสของกลอน ดังจะทำแผนคณะและสัมผัสนอกไว้เพื่อดูง่ายดังนี้
silapa-0358 - Copy
หมายเหตุ  รวดเล็ก คือ สลับกับเชื่อมสลับ รวดใหญ่ คือส่งกับ รับ รอง กับ เชื่อมรอง

ข้อสังเกต
ก. สัมผัสเชื่อมอยู่ต้นวรรคนั้นมีอยู่ ๒ แห่ง คือ (๑) รับกับสัมผัสสลับ เรียกว่าสัมผัสเชื่อมสลับ และ (๒) รับกับสัมผัสรอง เรียกว่าสัมผัสเชื่อมรอง (ดูแผน)

สำหรับกลอน ๘ คำ คำต้นวรรคต่อไป ตั้งแต่คำที่ ๑ ถึงคำที่ ๕ ใช้รับ เป็นสัมผัสเชื่อมได้ทุกคำ แต่คำที่ ๓ เป็นเพราะ และใช้มากที่สุด รองลงมา ก็คำที่ ๕ ส่วนคำอื่นๆ ไม่สู้เหมาะจึงมีใช้น้อย ธรรมดาสัมผัสเชื่อม ผู้อ่าน จะต้องทอดจังหวะเล็กน้อยให้รู้ว่ารับกัน ถ้าไม่ใช้คำที่ ๓ หรือที่ ๕ มักฉงนในการทอดจังหวะ เลยทำให้เลือนไป เช่นตัวอย่างคำเชื่อมอยู่ที่ ๑

“สยมภาคลมฟ้าในธาตรี สี่ทวีปห่อนหาญพาลผจญ” (พาลีสอนน้อง) คำ สี่ ที่นี้ ถ้าอ่านไม่เป็นมักจะเลือนเสียไม่เด่น

ข. สัมผัสเลือน หมายถึงสัมผัสรับที่อยู่ใกล้กันหลายคำจนทำให้เลอะ เลือนไปหมด เช่นตัวอย่าง “โอ้เจ้าพวงบุปผามณฑา ทิพย์ สูง ลิบลิบ เหลือหยิบ ถึงตะลึงแหงน” คำ ลิบลิบ หยิบ เป็นสัมผัสรับได้ทั้งนั้น จึงทำให้พร่าไปไม่ไพเราะ ถึงจะไม่มีข้อห้ามท่านก็ไม่ค่อยใช้ สู้มีคำเดียวเด่นๆไม่ได้

๓. เสียงวรรณยุกต์   สัมผัสนอก ท่านบังคับเสียงวรรณยุกต์ด้วยดังนี้

ก. สัมผัสสลับ ใช้ได้ทั้ง ๕ เสียง แต่กลอนสุภาพใช้เสียงสามัญไม่สู้ เพราะ ท่านจึงไม่ใคร่ใช้ ส่วนสัมผัสเชื่อมสลับก็ใช้ได้ทั้ง ๕ เสียงเช่นกัน ถึงจะร่วมเสียงวรรณยุกต์กับสัมผัสสลับเช่น ฉัน กับ หัน คิด กับ นิตย์ ฯลฯ ก็ใช้ได้ เว้นไว้แต่จะอ่านอย่างเดียวกัน เช่น “ขัน” กับ “ขัน” ฯลฯ ถึงจะต่างรูปกันเป็น ขัน, ขัณฑ์, ขรรค์ หรือ สรง, สงฆ์ ฯลฯ เช่นนี้ก็ใช้ไม่ได้

ข. สัมผัสรับ ห้ามเสียงสามัญ นอกนั้นไม่ห้าม แต่นิยมเสียงจัตวาโดยมาก ข้อสำคัญต้องให้เสียงวรรณยุกต์ต่างกันกับคำส่งซึ่งเป็นของคู่ของมัน  เช่นส่ง “ติด” ต้องรับ “มิตร” หรือส่ง “มิตร” ต้องรับ “ติด” เป็นต้น ถึงแม้รูปวรรณยุกต์จะเหมือนกัน เช่น “ล้ม” กับ “ก้ม” “น้า” กับ “หน้า’’ ฯลฯ ก็ใช้ได้

ค. สัมผัสรอง ห้ามเสียงวรรณยุกต์ร่วมกับสัมผัสรับในรวดของมันกับ เสียงจัตวา๑ นอกนั้นใช้ได้ แต่นิยมใช้เสียงสามัญโดยมาก และสัมผัสเชื่อมรองนี้ เกี่ยวข้องกับสัมผัสรองอย่างเดียวกับสัมผัสเชื่อมสลับกับสัมผัสสลับ จึงไม่กล่าวซ้ำอีก

ฆ. สัมผัสส่ง ห้ามเสียงจัตวา เสียงอื่นๆ ใช้ได้หมด แต่นิยมเสียงสามัญโดยมาก อนึ่งสัมผัสส่งนี้ ท่านห้ามไม่ให้ส่งร่วมเสียงสระกับคำส่งรวดต้น เช่นรวดต้นส่งสระอา เช่น กา น้า ป้า ฯลฯ แล้วรวดต่อไปจะส่งสระอาอีก เป็น มา พา ฯลฯ ไม่ได้ ต้องใช้สระอื่นส่งคั่นเสียอย่างน้อยรวดหนึ่งจึงจะ ซ้ำได้
………………………………………………………………………………………….
๑ สัมผัสรอง เคยพบใช้เสียงจัตวาอยู่บ้าง แต่น้อยแห่งเต็มที
………………………………………………………………………………………….
ข้อสังเกต  สัมผัสรวดใหญ่ของกลอนทั้ง ๔ คำ คือส่ง (อยู่ท้ายบาทโท ข้างต้น) รับ, รอง และเชื่อมรอง ซึ่งมีเสียงสระร่วมกัน และมีเสียงวรรณยุกต์ร่วมกันได้หรือมิได้ ตรงไหน ได้ชี้แจงไว้ถ้วนถี่แล้วข้างบนนี้ ส่วนคำที่อ่านอย่างเดียวกัน เช่น “การ” กับ “กาล” หรือ “กาญจน์” ฯลฯ ห้ามขาดเฉพาะที่อยู่เรียงกัน แต่จะเอาเสียงวรรณยุกต์อื่นคั่นเสียเพียงคำเดียวก็ใช้ได้ คือ จะเรียงกันเป็น (๑) ยา หา ยา รา ก็ได้ หรือซ้ำกัน ๒ คู่เป็น (๒) ดี สี ดี สี ก็ได้ หรือ (๓) กา ขวา ลา กา ดังตัวอย่าง

(๑) พระอภัยมณี         — “จนเคลิ้มกายหลับไปในไส ยา
ฝ่ายนารีพี่เลี้ยงในวังราช   แสนสวาทพราหมณ์น้อยละห้อยหา
ครั้นสิ้นแสงสุริยนสนธยา         มาเฝ้าแก้วเกศราอยู่พร้อมกัน”

(๒) สวิสดิรักษา                —“ เป็นมงคลศุภรัตสวัสดี
เครื่องวันพุธสุดดีด้วนสีแสด                  กับเหลือบแปดปนประดับสลับสี
วันพฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี          วันศุกร์สีเมฆหมอกออกสงคราม

(๓) พระอภัยมณี             —“จะทุกข์ร้อนว้าเหว่อยู่เอกา
พระนึกนึกแล้วสะอึกสะอื้นไห้        ชลเนตรหลั่งไหลทั้งซ้ายขวา
ซบพระพักตร์อยู่บนแท่นแผ่นศิลา     ทรงโศกากำสรดระทดใจ”

แต่โดยมากท่านใช้ให้ต่างกัน

๔. สัมผัสใน มีได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ถึงแม้ว่าจะไม่มีในข้อบังคับท่านก็พยายามให้มีแทบทุกวรรค เพราะนิยมกันว่า ยิ่งมีมากยิ่งเพราะ และท่านนิยมใช้สัมผัสสระเป็นข้อสำคัญยิ่งกว่าสัมผัสอักษร ถึงท่านจะไม่บังคับ แต่ก็มีหลักพอเป็นที่สังเกตทั่วๆ ไปได้ดังนี้

สัมผัสสระ   สัมผัสสระนี้มีวิธีใช้อย่างเดียวกัน ทั้งบาทเอกและบาทโท แต่ วรรคหน้า กับ วรรคหลัง ใช้สัมผัสต่างกันอยู่บ้าง คือ:-

วรรคหนา ทั้ง ๒ บาท ใช้สัมผัสสระดังแผน ๘ คำดังนี้ และแบ่งเป็น
silapa-0360 - Copy
กลอนวรรคละ ๘ คำเช่นนี้ ถ้ามีโอกาสใส่สัมผัสในได้ใน ๒ ตอนเสมอไป ก็นับว่าดีมากทีเดียว ส่วนคำที่สุด คือคำที่ ๘ เป็นคำสัมผัสนอก (สลับหรือรอง) ไม่เกี่ยวกับสัมผัสใน

ตอนต้น ตั้งแต่ ๑ ถึง ๔ จะเลือกใส่ตรงไหนก็ได้ และจะใช้สัมผัสชิด หรือสัมผัสคั่นก็ได้ เพราะทั้งนั้น ดังตัวอย่าง
silapa-0361 - Copy

ตอนท้าย คือ ๕, ๖, ๗, ๘ ท่านนิยมว่าสัมผัสคั่นเป็นเพราะ ถ้าได้คู่สัมผัส คือ ๕ และ ๗ นั้นมีเสียงยาวหรือหนัก (ครุ) และคำคั่นคือ ๖ นั้น ให้มีเสียงเบา (เช่นลหุ) ยิ่งสละสลวยมากขึ้น ท่านนิยมใช้กันเป็นพื้น เช่น
silapa-0361 - Copy1
นั้นถึงจะเป็นคำหนักหรือยาวก็ต้องอ่านให้สั้นจึงจะเพราะ เช่น
silapa-0361 - Copy2
เพราะรองลงไปก็คือสัมผัสชิด คือ ๕ กับ ๖ เป็นสัมผัสชิด ควรจะให้เป็น คำหนักหรือยาว และคำที่ ๗ ที่จะต่อกับสัมผัสนอกควรจะให้สั้นหรือเบา ดังตัวอย่าง

silapa-0362 - Copy
คำที่ ๗ นั้นถึงท่านจะใส่คำหนักหรือยาวก็ต้องอ่านให้สั้น เช่น
silapa-0362 - Copy1
วรรคหลัง ต่างกับวรรคต้นอยู่ที่ตรงมีสัมผัส คือ สัมผัสเชื่อมอยู่อีกคำหนึ่ง จึงมีข้อสังเกตแตกต่างออกไปบ้าง ดังนี้

ตอนต้น ได้อธิบายมาแล้วว่าสัมผัสเชื่อมกลอน ๘ อาจจะวางได้ตั้งแต่ คำที่ ๑ ถึงที่ ๕ ที่นิยมมากก็คือคำที่ ๓ กับคำที่ ๕ คำอื่นมีน้อยและไม่เพราะด้วย จะกล่าวแต่คำที่ ๓ กับคำที่ ๕ เท่านั้น ดังนี้

silapa-0362 - Copy2
สัมผัสสระเป็นสัมผัสในทีเดียว เพราะถ้าใช้เข้าก็ไปปนกับสัมผัสเชื่อม ทำให้สัมผัสเชื่อมเลือนไปไม่เด่น แต่ท่านใช้สัมผัสอักษรแทนดังจะกล่าวต่อไป แต่ถ้าคำเชื่อมไปอยู่คำที่ ๕ ซึ่งไกลออกไป ตอนต้นก็ใช้สัมผัสสระได้เต็มที่อย่างอธิบายมาแล้วในวรรคหน้า จึงไม่กล่าวซ้ำ

ตอนท้าย ถ้าคำเชื่อมอยู่คำที่ ๓ ก็วางสัมผัสได้อย่างเดียวกับตอนท้าย ของวรรคหน้า จึงไม่ต้องกล่าว แต่ถ้าคำเชื่อมไปอยู่คำที่ ๕ ทำให้ตอนที่จะวางสัมผัสสระมี ๒ คำ คือ ๖, ๗ จะเอาคำที่ ๕ มารวมสัมผัสด้วยก็ได้ เช่นสัมผัส คั่น “—ทิพย์, สุดวิสัยไกลลิบเหลือ หยิบ ถึง” หรือสัมผัสชิด เช่น“—ทิพย์, สุดวิสัยไกลลิบหยิบไม่ถึง” ดังนี้ก็ได้ แต่คำ “หยิบ” เป็นสัมผัสเลือน ทำให้สัมผัสเชื่อม “ลิบ” ไม่เด่น ดังนั้น ท่านมักใช้สัมผัสอักษรแทน ดังจะกล่าวต่อไป หรือจะวางคำ ๖ และ ๗ เป็นสัมผัสชิดก็ได้ แต่ไม่ให้เลือนกับ “ลิบ” 5 เช่น “–ทิพย์, สุดวิสัยไกลลิบ จ้องมอง เปล่า”

สัมผัสอักษร  ท่านใช้สลับกันไปกับสัมผัสสระ เหมาะตรงไหนก็วางตรงนั้น มิได้จำกัดแน่นอน และสัมผัสชิดจะใช้ชิดกันเรียงไปกี่คำก็ได้ แล้วแต่เหมาะ สัมผัสคั่นก็เช่นกันจะมีคำคั่นกี่คำก็ได้ ข้อสำคัญอยู่ที่ไพเราะ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
silapa-0363 - Copy

และเพราะ สัมผัสในไม่ใช่เป็นข้อบังคับ ดังนั้นสัมผัสสระจะไม่ตรงทีเดียว เช่น ไอ กับ อาย, เอา กับ อาว เป็นต้น ท่านก็ใช้ เพราะไม่มีเสียหายอย่างไร อาจจะฟังเป็นเสียงคล้องจองกันได้ดีกว่าที่จะไม่มีสัมผัสเสียเลยทีเดียวด้วย

ข้อสังเกต ข้อสำคัญของกลอนนั้นอยู่ที่สัมผัสนอกและใช้ถ้อยคำให้เหมาะได้ความชัดเจน ส่วนสัมผัสในทั้งคู่นั้นเป็นแต่เพิ่มให้ไพเราะยิ่งขึ้นเท่านั้น ถึงจะใช้สัมผัสในให้รับกันพราวตามแบบข้างบนนี้ แต่ถ้าใช้ถ้อยคำไม่เหมาะ อ่านไม่ได้ความชัดเจนก็ใช้ไม่ได้ กลอนบางบทมีแต่สัมผัสนอกและใช้ถ้อยคำเหมาะเจาะ เข้าใจความได้ชัดเจนกินใจผู้อ่านก็นับว่าเป็นกลอนดีได้เหมือนกัน

อนึ่งกลอน ๘ นี้ ท่านใช้ประพันธ์กลอนสุภาพและบทเสภาเป็นพื้น ใช้ ๙ คำก็ได้ แต่ต้องเป็นคำสั้น เช่น อักษรนำเป็นต้น ถ้าเป็นกลอนเสภาจะใช้ ๗ คำบ้างก็ได้ แต่ต้องเป็นสระยาวหรือเสียงหนัก

กลอน ๖ หรือ ๗ กลอนชนิดนี้ท่านประพันธ์บทละครเป็นพื้น บางแห่ง ท่านตั้งใจจะให้เป็นวรรคละ ๖ คำล้วน เรียกชื่อว่า “กลอน ๖” เมื่อเป็นเช่นนี้ จะต้องใช้คำยาวและหนักเป็นพื้น และสัมผัสในโดยมากก็ต้องใช้สัมผัสชิด และสัมผัสเชื่อมก็ต้องร่นมาเพียงคำที่ ๔ และใช้คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ มากที่สุด ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0364 - Copy
ตัวอย่าง
บาทเอก ข้าขอน้อมเกล้าเคารพ             หัตถ์จบบรรจงตรงเศียร
บาทโท   ถวายพระพุทธเลิศเทิดเธียร     ปราบเสี้ยนศึกมารบรรลัย
เป็นต้น

แต่กลอนบทร้องทั้งหลาย มีตั้งแต่วรรคละ ๖ คำ ถึงวรรคละ ๘ คำ ดังจะกล่าวต่อไป

กลอนคำร้อง คือกลอนที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับขับร้อง กลอนประเภทนี้ ผู้แต่งต้องชำนาญในการขับร้องอยู่ด้วย จึงจะแต่งได้ดี แต่ครั้งโบราณท่านถือเอาคำกลอนเป็นใหญ่ กล่าวคือแต่งกลอนขึ้นก่อน แล้วจึงหาเพลงขับร้องให้เหมาะกับกลอนนั้น คำกลอนคำร้องมีตั้งแต่ วรรคละ ๖ คำขึ้นไปจนถึง ๘ คำ เพื่อให้เหมาะกับเพลงขับร้องต่างๆ เป็นชนิดๆ ไป ซึ่งไม่เกี่ยวกับตำรานี้ และกลอนคำร้องนี้บาทหนึ่งๆ จัดเป็นคำร้องคำหนึ่งๆ หรือจะว่า ๒ วรรคเป็นคำร้องคำหนึ่งก็ได้ แต่เพราะคำกลอนจะต้องจบในบาทโทเสมอไป ดังนั้น คำร้องทุกบทจึงต้องมีจำนวนคู่ทั้งนั้น ดังจะเห็นได้จากจำนวนคำซึ่งท่านจัดไว้ท้ายบทคำร้องนั้นๆ

ข้อบังคับทั่วไป คือ คณะ และ สัมผัส ของกลอนขับร้องนี้ เหมือนกับ อธิบายไว้ข้างต้นทุกประการ ดังนั้นต่อไปนี้จะแยกอธิบายแต่ข้อบังคับเฉพาะบทเท่านั้น คือ:-

๑. กลอนบทละคร คณะของคำกลอนโบราณท่านใช้วรรคละ ๖ คำและ ๗  คำเป็นพื้น บางวรรคก็มีถึง ๘ คำ คือวรรคไรมีคำหนักหรือคำยาวท่านก็ใช้ ๖ คำ ถ้าวรรคไรมีคำสั้นเช่นคำอักษรนำปน ท่านก็ใช้ ๗ คำหรือ ๘ คำ ตามเหมาะแก่การร้อง ส่วนสัมผัสนั้นใช้อย่างเดียวกับกลอนทั่วไปดังกล่าวมาแล้ว ต่อไปนี้จะนำเอาข้อบังคับเฉพาะบทละครมากล่าวคือ

คำขึ้นต้น  บทละครย่อมมีคำขึ้นต้นบทโดยมาก ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องมี ครบวรรค เช่นจะมีเพียง ๒ คำก็ได้ และคำขึ้นต้นบทนี้ท่านใช้แทนวรรคสลับ ได้ทั้งวรรค ถึงจะมีน้อยคำ ผู้ร้องต้นบทก็ร้องเอื้อนให้ยาวเข้าจังหวะกับวรรคต่อไปด้วย เช่นตัวอย่าง

คำขึ้นต้นวรรคสลับ         วรรครับ
“มาจะกล่าวบทไป             ถึงสี่องค์ทรงธรรม์นาถา”
“เมื่อนั้น                           องค์ศรีปัตราได้ทราบสาร”
“บัดนั้น                            ทั้งสี่โหราอัชฌาสัย” เป็นต้น
อิเหนา

ข้อสังเกต คำขึ้นต้น “มาจะกล่าวบทไป” นั้น มักใช้สำหรับขึ้นต้นเรื่อง หรือกล่าวถึงเรื่องที่แทรกเข้ามา คำขึ้นต้น “เมื่อนั้น” ใช้ขึ้นต้นกล่าวถึงผู้มียศสูง เช่นกษัตริย์ พระมเหสี หรือผู้เป็นใหญ่ในที่นั้นๆ ส่วนคำขึ้นต้น “บัดนั้น” ใช้ขึ้นต้นสำหรับผู้น้อยซึ่งมีผู้ใหญ่อยู่เหนือ เช่นตัวอย่าง

บัดนั้น วายุบุตรคำนับรับอาสา” (มีพระรามเป็นใหญ่กว่า)
เมื่อนั้น คำแหงหนุมานหาญกล้า” (เป็นใหญ่แต่ลำพัง)

ใช้ขึ้นต้นอย่างกลอนดอกสร้อย  คือใช้คำว่า “เอ๋ย” คั่นเป็นคำที่สอง มัก จะใช้ในความที่กล่าวพรรณนาชมสิ่งของต่างๆ เช่น “ม้าเอ๋ยม้าเทศ, รถเอ๋ยรถทรง ฯลฯ” หรือในการเกี้ยวพาราสีหรือตัดพ้อต่อว่ากัน เช่น “น้องเอ๋ยน้องรัก, ถ้อยเอ๋ยถ้อยคำ, แสนเอ๋ยแสนงอน ฯลฯ” แต่คำขึ้นต้นชนิดนี้จะต้องมีสัมผัสเชื่อม
silapa-0366 - Copy
เป็นต้น ซึ่งบางแห่งท่านเขียนย่อๆ ว่า “ม้าเทศ, รถทรง, น้องรัก, ถ้อยคำ, แสนงอน” เป็นต้น เพื่อให้ผู้ร้องเติมเอาเองก็มี แต่ก็ต้องมีสัมผัสเชื่อมรับเช่นกัน

คำลงท้าย กลอนบทละครทั่วๆ ไป มักเป็นเรื่องยาว ไม่ต้องมีกำหนดคำ ลงท้าย เมื่อจบบทหนึ่งๆ จะลงว่า “เอย” หรือว่า “เทอญ” หรืออะไรก็ได้ตามแต่จะเหมาะ

๒. คำกลอนร้องส่งดนตรี คำกลอนประเภทนี้ นักขับร้องคัดเอาคำกลอน ต่างๆ มีบทละครเป็นต้น เอาไปปรับปรุงให้เหมาะทางดนตรี ถึงแม้ว่าจะเป็นคำกลอนโดยมาก แต่ก็มีลักษณะไปอีกทางหนึ่ง ดังนั้นจะได้รวมเอาไปกล่าวในเพลงร้องข้างหน้าต่อไป ในที่นี้จะนำมากล่าวเฉพาะกลอนร้อง ซึ่งท่านตั้งแบบไว้เป็นหลักฐาน ดังต่อไปนี้

ก. บทดอกสร้อย คำกลอนชนิดนี้คล้ายกับบทละครโดยมาก มีต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนี้

คณะ บทหนึ่งมักมีตั้งแต่ ๔ คำร้อง ถึง ๘ คำร้องเป็นเหมาะ และคำร้องหนึ่งก็คือบาทหนึ่งดังกล่าวแล้ว และวรรคหนึ่งก็มี ๖ คำ ถึง ๘ คำ อย่าง เดียวกับบทละคร

คำขึ้นต้นและคำลงท้าย คำขึ้นต้นวรรคสลับต้องมี ๔ หรือ ๕ คำ คำที่ ๑
กับคำที่ ๓ ซ้ำกัน มีคำ “เอ๋ย” คั่นกลาง ดังกล่าวมาแล้วในบทละคร เช่น
“ม้าเอ๋ยม้าเทศ” เป็นต้น ส่วนคำลงท้ายไม่จำกัดลงได้ตามชอบ ส่วนข้อบังคับอื่นๆ ก็อย่างเดียวกับบทละครทั้งนั้น

หมายเหตุ กลอนบทดอกสร้อยโบราณมักแต่งร้องแก้กันในระหว่างชายหญิง ซึ่งเรียกบทชาย,บทหญิงหรือจะแต่งเป็นเรื่องอื่นก็ได้ ดังจะยกตัวอย่งต่อไปนี้

ของโบราณ จากตำราฉันทลักษณ์ เดิม
บทชาย
นอนเอยนอนวัน                   ใฝ่ฝันว่าได้มาพบศรี
เจ้าสาวสวัสดิ์กษัตรี              อยู่ดีหรือไข้เจ้าแน่งน้อย
เรียมรักเจ้าสุดแสนทวี           ตัวพี่ไม่ไข้แต่ใจสร้อย
ดังหนึ่งเลือดตาจะหยดย้อย    เพราะเพื่อน้องน้อยเจ้านานมา ฯ ๔ คำ ฯ

ของใหม่จากแบบเรียนกระทรวงศึกษาธิการ
แมวเอ๋ยแมวเหมียว                       รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา
ร้องเรียกเหมียวเหมียวเดี๋ยวก็มา     เคล้าแข้งเคล้าขาน่าเอ็นดู
รู้จักเอารักเข้าต่อตั้ง                     ค่ำค่ำซ้ำนั่งระวังหนู
ควรจะนับว่ามันกตัญญู                 พอดูอย่างไว้ใส่ใจเอย ฯ ๔ คำ ฯ

ข. บทสักวา กลอนชนิดนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับกลอน ๘ ที่กล่าวมาแล้ว มีต่างกันอยู่ก็เพียงใช้ขึ้นต้นว่า “สักวา” แล้วจะแต่งต่อไปว่ากระไรก็ได้ จนจบ วรรคสลับที่ขึ้นต้นนั้น แต่ต้องลงท้ายบทว่า “เอย” ทุกบทไป และบทหนึ่งบังคับให้มี ๔ คำร้อง

หมายเหตุ กลอนสักวานี้ ใช้ร้องแก้กันระหว่างชายหญิงอย่างบทดอก สร้อยก็ได้ หรือจะสมมติเป็นตัวละคร เช่น ให้วงหนึ่งเป็นอิเหนา อีกวงหนึ่งเป็นบุษบา แล้วแต่งให้ร้องแก้กันก็ได้ หรือจะแต่งเป็นเรื่องอื่นก็ได้ตามใจชอบ ดังจะยกมาไว้เป็นตัวอย่างต่อไปนี้

พระนิพนธ์กรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณ
สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน                  ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพยอม     อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม

แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม   ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์            ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย ฯ ๔ คำฯ

ค. บทเสภา บทกลอนชนิดนี้ใช้สำหรับขับร้อง เพื่อฟังเรื่องกันเล่น ข้อบังคับในการประพันธ์ก็เป็นชนิดเดียวกันกับกลอน ๘ แปลกกันอยู่แต่คำขึ้นต้น ซึ่งนอกจากขึ้นต้นตามธรรมดากลอน ๘ แล้ว ก็มักขึ้นต้นว่า “ครานน—” ต่อกับคำอื่นเป็นระเบียบประจำทีเดียว และคำลงท้ายก็มิได้จำกัด และบทเสภาเป็นกลอนขับฟังเรื่องราว ฉะนั้นบทหนึ่งจึงมีจำนวนคำร้องมากๆ ไม่มีกำหนด มีเฉพาะเพียงให้จบในบทคู่ตามบังคับคำกลอนทั่วไปเท่านั้น

หมายเหตุ กลอนบทเสภาที่มีชื่อเสียงและแพร่หลายทั่วไปนั้นก็คือเรื่อง ขุนช้างขุนแผน เพราะมีกวีดีๆ แบ่งกันแต่งเป็นตอนๆ ตามถนัด และมีสำนวนต่างๆ กัน แต่อยู่ในข้อบังคับกลอนดังกล่าวมาแล้วทั้งนั้น ในที่นี้จะคัดมาไว้ พอเป็นตัวอย่างเล็กน้อยเท่านั้น ดังนี้

ตอนขุนแผนเขาห้องนางแก้วกิริยา
ครานั้นนางแก้วกิริยา             เสน่หาปลื้มใจใหลหลง
ความรักให้ระทวยงวยงง        เอนแอบอ่อนลงด้วยความรัก
สะอึกสะอื้นอ้อนแล้วถอนใจ    น้ำตาไหลซกซกลงตกตัก
แค้นใจที่มาไล่ข่มเหงนัก        แล้วจะลักวันทองไปเที่ยวไพร
ตัวท่านจะสำราญระริกรื่น       ข้านี้นับคืนคอยละห้อยไห้
เพลินป่าพ่อจะมาต่อปีไร        ขุนช้างก็จะไล่พาโลตี
ท่านจะมาหากันนั้นต่างหาก    กรรมวิบากพามาไม่พอที่
ให้พะวังกังขาเป็นราคี            ทำทีควักค้อนด้วยงอนใจ ฯ ๘ คำ ฯ

ประเกทกลอนสุภาพหรือกลอนตลาด บทกลอนจำพวกนี้เรียกกันทั่วไปว่า “กลอนตลาด” น่าจะหมายความว่ามีผู้แต่งขายในตลาดทั่วไป เพราะกลอนชนิดนี้มีผู้แต่งเป็นเรื่องต่างๆ ขาย ที่เรียกว่าเรื่องประโลมโลก เช่น เรื่องโคบุตร, ลักษณวงศ์ และพระอภัยมณี เป็นต้น ต่อมาท่านเรียกกลอนชนิดนี้ว่า “กลอนสุภาพ” ฉะนั้นต่อไปจะเรียกว่า กลอนสุภาพ แทนกลอนตลาดทุกแห่ง

๑. กลอนสุภาพต่างๆ กลอนสุภาพนี้มีข้อบังคับอย่างเดียวกับกลอน ๘ ทั้งนั้น แต่สำนวนที่นับว่าดีเลิศนั้น ได้แก่ สำนวนของท่านสุนทรภู่ ผู้เป็นกวีเลิศในทางนี้ และข้อบ้งคับที่ได้อธิบายไว้นั้น โดยมากก็ยึดเอาแบบแผนในหนังสือของท่านเป็นเกณฑ์ และเรื่องที่นิยมใช้แต่งเป็นกลอนสุภาพนั้น มักจะเป็นเรื่องอ่านฟังกันเล่นเพราะๆ เช่นเรื่องอ่านเล่นที่เรียกว่าเรื่องประโลมโลก เช่นเรื่องโคบุตร, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องพระอภัยมณี เป็นต้น เรื่องนิราศต่างๆ คือ เรื่องจากบ้านเรือนไปสู่ถิ่นอื่น มักพรรณนาถึงความห่วงใยคู่รัก ถึงท้องถิ่นที่ไปพบ แล้วคร่ำครวญต่างๆนานา เช่นนิราศพระแท่นดงรัง นิราศเมืองแกลง เป็นต้น เรื่องภาษิตต่างๆ ที่ผู้แต่งผูกเป็นกลอนเพื่อให้ฟังไพเราะ และจำง่าย เช่น พาลีสอนน้อง สุภาษิตสอนหญิง เป็นต้น และเรื่องเพลงยาวเป็นทำนองจดหมาย ซึ่งชายหญิงมีไปมาถึงกันก็ได้ หรือเล่าถึงกิจการต่างๆ สู่กันฟังก็ได้ ซึ่งทำเป็นกลอนสุภาพเรียบๆ ก็มี แต่งเล่นสัมผัสต่างๆ หรือเล่นถ้อยคำเป็นเล่ห์กลต่างๆ ซึ่งเรียกกันว่ากลอนกลก็มี ดังจะแยกอธิบายต่อไปข้างหน้า

ข้อบังคับของกลอนสุภาพที่แปลกกับกลอนอื่นๆ นั้น มีดังนี้

คำขึ้นต้น ถึงจะใช้คำอะไรๆ ขึ้นต้นได้ทั้วนั้นก็จริง แต่บังคับให้ขึ้นต้น ตั้งแต่วรรครับไป กล่าวคือทิ้งวรรคสลับเสียทั้งวรรค ซึ่งจะเป็นด้วยครั้งโบราณ ท่านจะร้องใช้สำเนียงเอื้อนแทนอย่างบทละครหรืออย่างไรไม่ปรากฏ แต่ปัจจุบันนี้สังเกตกันว่า ถ้าแต่งกลอนสุภาพแล้วก็ตั้งต้นแต่วรรครับ คือวรรคท้ายของบาทเอกไปเท่านั้นเป็นพอ ส่วนคำลงท้ายนั้นท่านบังคับให้ลงคำ “ เอย ” ในท้ายบาทโท โดยธรรมดามักจะเป็นเรื่องยืดยาวโดยมากนับเป็นคำร้องตั้งพื้นก็มี และในวรรคหนึ่งๆ นั้นโดยมากท่านใช้ ๘ คำหรือ ๙ คำเป็นพื้น

หมายเหตุ เพราะเหตุที่กลอนสุภาพเป็นเรื่องยืดยาวมาก มีที่สังเกตอยู่ เพียง ๒ แห่ง คือขึ้นต้นด้วยวรรครับ และลง “เอย” เมื่อจบเท่านั้น และ เรื่องอ่านเล่นโดยมากก็ไม่ใคร่จบเสียด้วย เราจึงไม่ใคร่พบคำลง “เอย” ของเรื่องเช่นนี้ เรื่องที่เห็นขึ้นต้นและลงท้ายได้ง่ายก็คือเพลงยาว และกลอนกลบทเท่านั้น ฉะนั้นต่อไปนี้ จะนำแค่บทขึ้นต้นกลอนสุภาพมาให้ดูพอเป็นที่สังเกตดังนี้

บทขึ้นต้นกลอนสุภาพเรื่องต่างๆ
เรื่องโคบุตร
แต่ปางหลังยังว่างพระศาสนา
เป็นปฐมสมมติกันสืบมา        ด้วยปัญญายังประวิงทั้งหญิงชาย ฯลฯ

เรื่องพระอภัยมณี
แต่ปางหลังยังมีกรุงกษัตริย์
สมมติวงศ์ทรงนามท้าวสุทัศน์    ครองสมบัติรัตนานามธานี ฯลฯ

เรื่องพระแท่นดงรัง
นิราศรักหักใจอาลัยหวน
ไปพระแท่นดงรังตั้งใจครวญ        มิได้ชวนขวัญใจไปด้วยกัน ฯลฯ

เรื่องสุภาษิตสอนหญิง
ประนมหัตถ์นมัสการขึ้นเหนือเศียร
ต่างประทีปโกสุมประทุมเทียน    จำนงเนียนนบบาทพระศาสดา ฯลฯ

เรื่องสุภาษิต พาลีสอนน้อง
จะกล่าวถึงพานเรศเรืองสนาม
กำแหงหาญชาญเชี่ยวในสงคราม ทรงพระนามสมญาว่าพาลี ฯลฯ

เพลงยาว (ต้นฉบับในฉันทลักษณ์)
พอสบเนตรศรเนตรอนงค์สมร
ที่เยื้องแผลงดังพระแสงพระสี่กร เมื่อทรงศรหน่วงน้าวประหารมาร ฯลฯ เช่นนี้เป็นต้น

ส่วนบทต่อๆไป จากบทขึ้นต้นเหล่านี้ ก็เป็นอย่างกลอนทั่วไป คือมีวรรคสลับ, รับ, ส่ง ต่อเนื่องกันไป เมื่อจบก็ลง “เอย” ในท้ายบาทโท ดังกล่าวมาแล้ว

ประเภทกลอนกลต่างๆ๑ กลอนประเภทนี้ก็คือกลอนสุภาพนั้นเอง เพราะข้อบังคับทั่วๆ ไป เช่นขึ้นต้นและลง “เอย” เป็นอย่างกลอน
………………………………………………………………………………………….
๑ คำกลอนกลต่างๆ นี้ คัดตามคำจารึกวัดพระเชตุพน………………………………………………………………………………………….
สุภาพทั้งนั้น ข้อที่ต่างกันก็คือท่านเพิ่มข้อบังคับขึ้นเป็นพิเศษอีก แล้วเรียกชื่อเป็น ๒ ชนิด คือ (๑) กลอนกลบท๑ กับ (๒) กลอนกลอักษร๒ ดังจะอธิบายต่อไปนี้

๑. กลอนกลบทต่าง ๆ กลอนพวกนี้มีข้อบังคับอย่างกลอนสุภาพ ดัง กล่าวแล้ว ผิดแต่ท่านประดิษฐ์ข้อบังคับต่างๆ เช่น สัมผัสสระ สัมผัสอักษร หรือไม้เอกโทเป็นต้น ในวรรคหนึ่งๆ ให้เป็นแบบต่างๆ กัน แล้วท่านก็ตั้งชื่อต่างๆ ตามแบบข้อบังคับที่คิดขึ้นนั้น ดังจะยกบางบทมาให้เห็นเป็นตัวอย่างต่อไปนี้

กลบทตรีประดับหรือประดับเพชร  คือให้มีคำผันด้วยไม้เอกโท ๓ คำ อยู่ในวรรคหนึ่งๆ ดังนี้

จารึกวัดพระเชตุพน
อมรแมนแม่นแม้นเจ้างามโฉม
ชะลอล่อล้อโลกให้โศกโทรม     แต่เลาเล่าเล้าโรมฤดีแด ฯลฯ

หมายเหตุ คำผันนั้น จะเป็นอักษรสูง, กลาง, ต่ำ ก็ไค้ เช่น ขอ ข่อ ข้อ, กอ ก่อ ก้อ, คอ ค่อ ค้อ ฯลฯ และสอดลงตรงไหนก็ได้ แล้วแต่จะเหมาะกับสัมผัส แต่จะต้องมีคำผันเช่นนี้ทุกวรรค

กลบทกบเต้นต่อยหอย๓  มีข้อบังคับคือต้นวรรคให้มีสัมผัสอักษรซ้ำสลับกันเป็น ๒ ชุดๆ ละ ๓ คำ และมีสัมผัสสระชิดระหว่าง ๒ ชุดนั้น ดังแผนนี้
………………………………………………………………………………………….
๑ กลอนกลบท คือกลอนสุภาพที่แต่งเล่นสัมผัสสระ และอักษรให้วิจิตรพิสดารขึ้น มีชื่อเรียกต่างๆ กัน

๒ กลอนกลอักษร คือกลอนสุภาพ ที่แต่งวางตัวอักษรให้เป็นกล เพื่อให้ผู้อ่านค้นหาเอาเองเรียกชื่อต่างๆ เช่นกัน แต่ที่อื่นๆ ท่านเรียกกลอน ๒ ชนิดนี้ว่า “กลอนกลบท” รวมกันโดยมาก

๓ กลบทกบเต้นต่อยหอย คำที่ ๒ กับคำที่ ๕ ท่านบังคับให้สัมผัสอักษรกันเท่านั้น แต่ถ้าจะแต่งให้ได้สัมผัสสระกันด้วย คือให้เป็นคำซ้ำกันเช่นในวรรคที่ ๒ ว่า “แม้คนอื่นหมื่น คน ออ——–” ก็นับว่าไพเราะดีขึ้นดังจะแต่งว่า “ขอ แม่ จำคำ แม่ จนชนม์สลาย แม้ คน อื่นหมื่น คน ออขอไม่วาย ล้วนเลิศชื่อลือเลิศชายไม่หมายปอง” เป็นต้น แต่จะแต่งให้ได้ความเข้ากันดีนั้นยากมาก ฉะนั้นตัวอย่างจึงวางไว้ตามแบบ เมื่อใช้คำซ้ำกันมากก็ยิ่งดี หรือจะพยายามให้ซ้ำกันได้ทุกวรรคก็นับว่าดียิ่ง
………………………………………………………………………………………….
silapa-0372 - Copy

ข้างบนสัมผัสอักษรสลับกัน     ข้างล่างสัมผัสสระชิด

แต่งขึ้นใหม่
ขอแม่จำคำมั่นจนชนม์สลาย
แม้คนอื่นหมื่นคนออขอไม่วาย    ว่อนลือชาว่าเลิศชายก็ไม่ปอง ฯลฯ

กลบทนาคบริพันธ์   มีข้อบังคับท้ายวรรค ๓ คำซ้ำอักษรกับต้นวรรคต่อไป ในคำที่ ๑-๒ ซ้ำกัน แต่คำที่ ๓ ซ้ำแต่อักษร เพี้ยนสระกันได้ดังแผน
silapa-0372 - Copy1

๑, ๒ ต้องซ้ำกันจริงๆ แต่ ๓ ให้สัมผัสอักษรกัน ดังตัวอย่าง

แต่งขึ้นใหม่
โอ้ชาตาข้าน้อยช่างถอยถด
ช่างถอยทั้งวาสนาปัญญาลด    ปัญญาเลวเหลวหมดเรื่องจดจำ ฯลฯ

หมายเหตุ ถ้า ๓ คำต้นวรรคและท้ายวรรคเพียงแต่รับสัมผัสอักษรสลับกัน ไม่ต้องให้ซ้ำกัน ท่านเรียกว่า “อักษรบริพันธ์” ตัวอย่าง

แต่งขึ้นใหม่
โอ้ชาตาข้าน้อยช่างถอยถด
เชาว์ที่เกิดเลิศมานั้นซาลด        นี่ซ้ำเลวเหลวหมดกระมังเรา ฯลฯ

อนึ่งกลบทนาคบริพันธ์นี้ ท่านได้แต่งเป็นกาพย์ฉบังก็มี

กลบทธงนำริ้ว มีข้อบังคับให้ใช้คำหน้าวรรคซ้ำกันวรรคละคู่ดังตัวอย่างต่อไปนี้

แต่งขึ้นใหม่
ชะชะมัวชั่วช้าปัญญาเขลา
อยู่อยู่ก็ถูกหลอกปอกลอกเอา    ใครใครเขาก็ไม่เป็นถึงเช่นนี้ ฯลฯ

กลบทสะบัดสะบิ้ง มีข้อบังคับให้คำท้ายวรรค ๔ คำเข้าสัมผัสอักษรกัน คือคำที่ ๓ กับคำที่ ๓ ซ้ำกัน และที่ ๒ กับที่ ๔ ร่วมสัมผัสอักษรกันดังแผนนี้

silapa-0373 - Copy
ข้างบนร่วมสัมผัสอักษร ข้างล่างร่วมสัมผัสสระ คือ ๑ กับ ๓ ซ้ำกัน ดังตัวอย่าง

แต่งขึ้นใหม่
โรคลมจับใจยิ่งสวิงสวาย
แต่ลมรักร้อนรนกระวนกระวาย  มิสมหมายโรคลมก็ถมก็ทับ ฯลฯ

กลบทกินนรเก็บบัว มีข้อบังคับให้มีคำซ้ำกัน มีคำอื่นคั่นกลางอยู่ตลอด ต้นวรรค ตั้งแต่คำที่ ๒ ถึงคำที่ ๕ จะซ้ำ ๒ กับ ๔ หรือ ๓ กับ ๕ ก็ได้ ดังแผน:-
silapa-0373 - Copy1
ที่โยงข้างล่างคือคำซ้ำ ดังตัวอย่าง

แต่งขึ้นใหม่
โอ้! โชคข้าโชคใครก็ไม่เหมือน
พึ่งญาติเล่าญาติก็คิดแต่บิดเบือน    ครั้นพึ่งเพื่อนพวกเพื่อนก็เชือนแช ฯลฯ

กลบทกวางเดินดง  มีข้อบังคับให้ใช้คำ “เอ๋ย” ไว้ในคำที่สอง ต้นวรรค ทุกวรรค และคำที่ ๑ ก็ให้ใช้เปลี่ยนกันแปลกออกไป เช่น เนื้อเอ๋ย, นกเอ๋ย, ไม้เอ๋ย ฯลฯ ดังตัวอย่าง

แต่งขึ้นใหม่
ลมเอ๋ยเหตุไหนจึงไม่พัด
ป่าเอ๋ยโอ้เย็นเยียบเงียบสงัด        นกเอ๋ยนัดกันเหงาเศร้าถึงใคร ฯลฯ

หมายเหตุ  ถ้าใช้คำเป็นคู่กันไปตลอดทั้งบท เช่น “พ่อเอ๋ย” กับ “ลูกเอ๋ย” หรือใช้อื่นๆ เช่น “น้องเอ๋ย” กับ “พี่เอ๋ย” เป็นต้นก็ดี ท่านให้ชื่อว่า “หงส์ทองลีลา”

กลบทบัวบานกลีบ  มีข้อบังคับใช้ ๒ คำต้นวรรค เช่น “เจ้างาม” หรือ “เสียดาย” หรือ “อกเอ๋ย” ฯลฯ ซ้ำกันไปจนจบบท ดังตัวอย่าง

จารึกวัดพระเชตุพน
เจ้างามพักตร์เพียงจันทร์บุหลันฉาย
เจ้างามเนตรดุจนัยนาทราย      เจ้างามขนงก่งละม้ายคันศรทรง ฯลฯ

กลอนกลบททำนองนี้ ท่านแต่งเป็นแบบแผนไว้มากมาย แบบหนึ่งก็ให้ชื่ออย่างหนึ่ง ถ้าอยากดูพิสดารจงดูจารึกวัดพระเชตุพนหรือตำราสิริวิบูลกิติ แต่จารึกวัดพระเชตุพนท่านทำเป็นบทๆ และใช้ถ้อยคำถูกต้องดีกว่า

ข้อสังเกต  กลอนกลบทเหล่านี้ได้ชื่อว่าเป็นกลอนสุภาพทั้งนั้น เป็นแต่ ประดิษฐ์ข้อบังคับเช่นสัมผัสสระ สัมผัสอักษรเป็นต้น ให้แปลกๆ กันเท่านั้น จะแต่งเล่นเป็นบทๆ อย่างจารึกวัดพระเชตุพนก็ได้ หรือจะแต่งเป็นเรื่องเดียวกันโดยกลบทแบบต่างๆ เชื่อมติดต่อกันอย่างเรื่องสิริวิบูลกิติก็ได้

ข้อสำคัญในการแต่งนี้  ก็คือเลือกกลบทต่างๆ ให้มีทำนองเหมาะกับเรื่องที่จะแต่ง เช่นเรื่องแสดงความโกรธบ่นว่าผู้อื่นหรือตนเอง ก็ใช้ กลบทธงนำริ้ว ซึ่งขึ้นต้นด้วยคำ “ชะๆ” หรือ “เหม่ๆ” ฯลฯ หรือถ้าเป็นเรื่องแสดงความอาลัยสิ่งของที่จะจากไป ก็ใช้กลบทเช่น กวางเดินดง  ซึ่งขึ้นต้นด้วยไม้เอ๋ย, ป่าเอ๋ย ฯลฯ หรือถ้าเป็นเรื่องรำพันชมความงามต่างๆ ก็ใช้กลบทบัวบานกลีบ ซึ่งขึ้นต้นด้วยคำ “เจ้างามนั่น, เจ้างามนี่” จนหมดที่ต้องการชม หรือจะใช้แสดงความห่วงใยว่า “เสียดายนั่น, เสียดายนี่” จนหมดสิ่งที่ห่วงใยก็ได้เช่นนี้เป็นต้น

และขอสำกัญอีกอย่างหนึ่ง ก็ใช้ถ้อยคำที่ท่านบังคับไว้ในกลบทนั้นๆ ให้ ถูกต้องกับภาษาที่เขาใช้กันทั่วไป เช่นในกลบทกบเต้นต่อยหอยว่า “ ขอน้องจำ คำน้องจนชนม์สลาย” นั้น ต้องให้ได้ความติดต่อกัน เช่น “ทำอวดดีทีอวดเด็กเล็กเล็กเล่น” หรือ “จิตนึกรักจักหนีร้างกระไรได้” อย่าให้เป็นแต่สักว่าขอไปที เช่น “พี่รักจริงพิงรักเจ้าเบาเมื่อไร” หรืออื่นๆ ทำนองนี้ หรือในกลบท สะบัดสะบิ้ง ซึ่งคำท้ายเป็นคำซ้ำกัน เช่น “สวิงสวาย, ทุรนทุราย” ฯลฯ นั้น ต้องใช้เป็นคำที่เขาพูดกันเช่นนั้น และคำหน้าที่ซ้ำกันนั้นถ้าเป็นคำสั้น  หรืออักษรนำดังตัวอย่างที่ให้ไว้นั้นจะสละสลวยเพราะขึ้นอีก ถึงจะใช้คำยาวหรือคำหนัก เช่น “กลางค่ำกลางคืน, ทุกวี่ทุกวัน” ฯลฯ ท่านก็ไม่ห้ามแต่ทำให้กลอนเยิ่นไป ผู้อ่านต้องเน้นให้สั้นเข้า หวังว่าตัวอย่างดังที่ให้ไว้นั้น ก็พอจะถือเป็นหลักที่สังเกตได้แล้ว

๒. กลอนกลอักษร   กลอนกลอักษรนี้ ก็เป็นประเภทกลอนสุภาพเช่น เดียวกับกลอนกลบทนั่นเอง แต่ในวรรคหนึ่งๆ นั้น ท่านตั้งตัวอักษรทำเป็นกลไว้ให้อ่านเอาเอง ให้ถูกทำนองกลอน และเรียกชื่อต่างๆ กัน ดังจะยกตัวอย่างบางบทมาให้ดูต่อไปนี้

กลอักษรคมในฝัก คือในวรรคหนึ่งๆ ท่านเขียนไว้ ๖ คำเท่านั้น ผู้อ่าน จะต้องอ่านไปถึงคำที่ ๓ แล้วถอยหลังอ่านคำที่ ๓ มาถึงคำที่ ๑ อีก แล้วจึงอ่านคำที่ ๔ ต่อไปจนจบวรรค รวมเป็น ๘ คำ ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0375 - Copy

จารึกวัดพระเชตุพน๑
ปางเริ่มรัก จะห่างเหิน
สองใจเป็น ต้องหมองเมิน    เขินขามคิด สะเทิ้นอาย ฯลฯ
………………………………………………………………………………………….
๑ ตัวอย่างกลอักษรนั้น ตามแบบท่านเขียนไว้เป็นกลเพียง ๕-๖ คำ ดังนี้ทุกวรรค แต่ตามตัวพิมพ์จารึกวัดพระเซตุพน ท่านพิมพ์ตามตัวอย่างอ่านทั้งหมด จึงแลดูไม่เป็นกลอักษรไป
………………………………………………………………………………………….
ตัวอย่างอ่าน
ปางเริ่มรักรักเริ่มปางจะห่างเหิน
สองใจเป็นเป็นใจสองต้องหมองเมิน  เขินขามคิดคิดขามเขินสะเทิ้นอาย ฯลฯ

กลอักษรงูกลืนหาง คือในวรรคหนึ่งๆ ท่านเขียนไว้ ๕-๖ คำ ผู้อ่าน อ่านจบวรรคต้องย้อนมาอ่านขึ้นต้นอีก ๓ คำ ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0376 - Copy
จารึกวัดพระเชตุพน
“โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก
กะไรเลยช้ำใจ        จะจากไกลไม่เคย” ฯลฯ

ตัวอย่างอ่าน
“โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ่ย
กะไรเลยช้ำใจกะไรเลย    จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล ”

กลอักษรนกกางปีก   คือในวรรคหนึ่งๆ ท่านเขียนไว้ ๕-๖ คำ เมื่ออ่าน ถึงคำที่ ๓ ที่ ๔ แล้วต้องอ่านซ้ำถอยหลังเข้ามาอีก ๒ คำ แล้วจึงอ่านต่อไปจนจบวรรค ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0376 - Copy1

จารึกวัดพระเชตุพน
“แสนรักร้อนหนักอกเอ๋ย
ฉันใดจะได้ชมชิดเชย        ไม่ลืมเลยปลื้มอาลัย” ฯลฯ

ตัวอย่างอ่าน
“แสนรักร้อนร้อนรักหนักอกเอ๋ย
ฉันใดจะได้ชมชิดชิดชมเชย      ไม่ลืมเลยเลยลืมปลื้มอาลัย” ฯลฯ

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

ฉันทลักษณ์

ฉันทลักษณ์ คือตำราไวยากรณ์ว่าด้วยลักษณะของคำประพันธ์ ที่เป็น กลอน กาพย์ โคลง ฉันท์ ต่างๆ ซึ่งโบราณเรียกว่า “บทกานท์๒” หรือ “คำกานท์” ซึ่งต่อไปจะใช้เช่นนี้

ตำราวากยสัมพันธ์ว่าด้วย การเรียงถ้อยคำเข้าเป็นประโยคและบอกลักษษะเกี่ยวข้องของถ้อยคำ ตลอดจนเรียบเรียงเป็นเรื่องยืดยาว ซึ่ง มักเรียกในหนังสือว่า “บทประพันธ์” แต่กล่าวเฉพาะการเรียบเรียงตามภาษาที่ใช้เขียนหรือพูดจากันทั่วๆ ไปซึ่งรวมเรียกว่า “บทประพันธ์ร้อยแก้ว” หรือ “ คำร้อยแก้ว ” ฉะนั้นจึงควรสังเกตข้อแตกต่างกันดังนี้

บทประพันธ์ ได้แก่เรื่องที่เรียบเรียงไว้ทั่วๆ ไป ไม่เลือกว่าชนิดไร และ  แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ:-

ก. “บทร้อยแก้ว” หรือ “คำร้อยแก้ว” ได้แก่เรื่องที่แต่งขึ้นตามภาษาที่ใช้กันทั่วไป ดังกล่าวมาแล้วในตำราวากยสัมพันธ์

ข. “บทกานท์” หรือ “คำกานท์” ได้แก่เรื่องที่แต่งขึ้นเป็น กลอน กาพย์ โคลง ฉันท์ ที่จะกล่าวต่อไปในตำราฉันทลักษณ์นี้

ประโยชน์ของบทประพันธ์ การแต่งบทประพันธ์ทั้งหลายก็หวังประโยชน์ที่จะเอาความคิดความเห็นในใจของตนออกมาเรียบเรียงเป็นเรื่องราว ให้ผู้อ่านผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้งและถูกต้องตามความคิดเห็นของตนเป็นข้อใหญ่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าบทประพันธ์ประเภทคำร้อยแก้วเป็นเหมาะที่สุด เพราะผู้แต่งอาจเลือกใช้ถ้อยคำได้ตามใจตนตามที่เห็นควร ดังนั้นหนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาการต่างๆ มีอาทิ เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ฯลฯ ตลอดคำสั่งสอนในทางศาสนา ก็ใช้เรียบเรียงเป็นคำร้อยแก้วเป็นพื้น แม้หนังสือวรรณคดีต่างๆ ก็มีคำร้อยแก้วอยู่มากเหมือนกัน
………………………………………………………………………………………….
๑“ฉันท์” ในที่นี้หมายถึงบทกานท์ในภาษาทั่วไป กล่าวคือ “ฉันทลักษณ์” ก็หมายถึงลักษณะของบทกานท์ คือ กลอน กาพย์ โคลง ฉันท์ ทั่วๆไป แต่คำ “ฉันท์” ในข้อ “โคลงฉันท์” หมายความเฉพาะบทกานท์ที่เราได้แบบมาจากบาลี และที่ว่าสันสกฤตเท่านั้น ไม่กินความตลอดไปถึง กลอน กาพย์ โคลง อย่างคำ “ฉันทลักษณ์” ข้างต้น

๒. “กานท์” โบราณท่านกล่าวว่าเป็นคำเรียกบทประพันธ์ที่คล้องจองกัน แต่มักเอาไว้ท้าย ถ้าเป็นกลอน ก็เรียก “กลอนกานท์” เป็นโคลง ก็เรียก “โคลงกานท์” เป็นกลบท ก็เรียก “กลกานท์” ฯลฯ มักใช้ในหนังสือโบราณ เช่น ยวนพ่าย ฯลฯ เป็นคำเก่าของเรา จึงขอนำมาใช้
………………………………………………………………………………………….
ส่วนประโยชน์ของบทประพันธ์ที่เป็นคำกานท์ก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เพราะคำกานท์ทั้งหลายที่เกี่ยวกับข้อบังคับ เป็นต้นว่า สัมผัสคล้องจองกัน และวรรคตอนได้จังหวะเป็นเหตุให้เอาไปร้องรำทำเพลงได้เป็นอย่างดี เป็นที่ดูดดื่มหัวใจผู้อ่านผู้ฟังได้ดีกว่าคำร้อยแก้วมาก และเป็นเหตุให้จดจำไว้ได้นานหลายชั่วคนด้วย ดังจะเห็นได้ในคำกล่อมลูกต่างๆ ซึ่งยังจดจำกันได้ตลอดมาจนบัดนี้

คำกานท์ของไทย หนังสือวรรณคดีของไทยเรา ย่อมมีคำกานท์อยู่มากมาย และคำกานท์ของไทยก็มีหลายประเภทด้วย ต่างก็มีลักษณะไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ศึกษาภาษาไทยจะต้องเรียนโดยแท้ เพราะคำกานท์โดยมากมีข้อบังคับควบคุมมาถึงการอ่านการเขียนด้วย ถ้าไม่รู้ก็นับว่า ยังอ่านเขียนภาษาไทยไม่ถูกต้องสมบูรณ์

ความมุ่งหมายในการเรียนตำราฉันทลักษณ์นี้ มีเพียงให้รู้จักลักษณะของคำกานท์ต่างๆ ตามชั้นภูมิรู้ของนักเรียน ซึ่งอย่างสูงที่สุดก็ควรให้รู้จักแต่งคำกานท์ได้ถูกต้อง แต่การที่จะแต่งดีหรือไม่ดีนั้น เป็นศิลปะอีกส่วนหนึ่ง ไม่ควรจะนำมาเป็นหลักสำคัญในการสอนตำรานี้

ประเภทคำกานท์ไทย คำกานท์ของไทยมีหลายประเภทด้วยกัน เป็นของเดิมของเราก็มี เป็นของปรับปรุงขึ้นตามภาษาอื่นก็มี ดังจะนำมาชี้แจงย่อต่อไปนี้

๑. ร่าย เป็นคำกานท์โบราณของไทย จะเห็นได้จากคำกานท์ของไทย เหนือ เช่นกาพย์พระมุนี หรือคำแอ่วของเขาซึ่งเป็นคำร่ายทั้งสิ้น

๒. โคลง เป็นคำกานท์โบราณของเราเช่นกัน แต่มักมีเฉพาะแต่ในวรรณคดีสูงๆ เพราะแต่งยาก

๓. กาพย์๑   เป็นคำกานท์ที่ไทยเราปรับปรุงขึ้นภายหลัง โดยอาศัยแบบแผนทางบาลี สันสกฤต ปนกับของไทย

๔. ฉํนท์๒ เป็นคำกานท์ที่ไทยเราปรับปรุงขึ้นต่อจากกาพย์ลงมา โดยใช้ตำราบาลีที่ชื่อว่า “วุตโตทัย” เป็นหลัก

๕. กลอน เป็นคำกานท์ที่ปรับปรุงขึ้นภายหลังที่สุด และโดยมากใช้เป็นคำร้องต่างๆ เช่น เสภา บทละคร เป็นต้น

๖. เพลงต่างๆ คำกานท์พวกนี้ไม่ใคร่มีในหนังสือวรรณคดี แต่ใช้ร้องกันอยู่ทั่วไป และมีข้อบังคับต่างกันกับข้อต้น สมควรผู้ศึกษาจะรู้ไว้เป็นเค้า

คำกานท์ทุกประเภทนี้ มีข้อบังคับต่างๆ กันควรจะศึกษาทั้งนั้น จะได้ อธิบายทีละประเภทต่อไป แต่จะไม่อธิบายตามลำดับนี้ คือจะยกเอาประเภทที่ใช้กันดาษดื่นเป็นสามัญมาอธิบายก่อนตามที่เห็นควร

ข้อบังคับคำกานท์ทั่วไป คำกานท์ทุกประเภทย่อมต่างกันด้วยข้อบังคับ แต่ข้อบังคับที่สำคัญของคำกานท์ของไทยที่ใช้ทั่วไปก็มีอยู่ ๒ อย่างเท่านั้น คือ คณะ กับ สัมผัส ดังจะได้อธิบายต่อไปนี้

๑. คณะ หมายความว่าการจัดเป็นหมวดหมู่ คำกานท์ทุกประเภทจะ ต้องมีข้อบังคับคือคณะนี้ทั้งนั้น กล่าวคือ การจัดคำกานท์ออกเป็นส่วนใหญ่ และส่วนย่อยเป็นลำดับกันลงไปดังนี้

ก. บท คือกำกานท์ตอนหนึ่งๆ มีมากน้อยแล้วแต่ประเภทของคำกานท์

ข. บาท คือส่วนที่แยกมาจากบทอีกทีหนึ่ง คำกานบางประเภท บทหนึ่งมีบาท ๑ ก็มี ๒ บาทก็มี ๔บาทก็มี แล้วแต่ข้อบังคับ

ค. วรรค คือส่วนย่อยแยกออกมาจากบาทอีกทีหนึ่ง ซึ่งบาทหนึ่งมีวรรค ๑ ก็มี ๒ วรรคก็มี มากกว่าก็มี แล้วแต่ข้อบังคับ
………………………………………………………………………………………….
๑ กาพย์ ออกจากคำ “กวี” นักปราชญ์ แปลตามรูปก็ว่า “คำของกวี” เท่านั้น แต่ความหมายถึงคำกานท์ของเขาทั้วไปอย่างเดียวกับคำ “ฉันท์” ของเขา แต่กาพย์ของเราในที่นี้หมายความเฉพาะคำกานท์ไทยประเภทหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวต่อไปเท่านั้น

๒ ฉันท์ ในที่นี้ก็หมายถึงคำกานท์ไทยประเภทหนึ่งเช่นกัน ดังอธิบายมาแล้ว
………………………………………………………………………………………….
ฆ. คำ หรือ พยางค์ คือเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ แต่ในตำรา
ฉันทลักษณ์ท่านใช้เรียกว่าคำเป็นพื้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคอีกทีหนึ่ง คือ วรรคหนึ่งจะมีกี่คำก็แล้วแต่ข้อบังคับ

อนึ่ง การจัดคำในตำราฉันทลักษณ์ มิได้นับว่าพยางค์หนึ่งตามอักขรวิธี เป็นคำหนึ่งเสมอไป ท่านมักถือเอาคำหนัก (ครุ) คำเบา (ลหุ) เป็นเกณฑ์ บางทีพยางค์เบา ๒ พยางค์ ท่านนับเป็นคำหนึ่งก็ได้ เช่น ภริยา นับเป็น ๒ คำ หรือพยางค์เบา ๓ คำ นับเป็น ๒ คำก็ได้ เช่น สุริยะ นับเป็น ๒ คำ เป็นต้น ถือเอาความเหมาะเจาะเป็นเกณฑ์

๒. สัมผัส แปลตามศัพท์ว่า “การถูกต้อง” แต่ในที่นี้หมายความว่า “การคล้องจอง” ซึ่งเป็นข้อสำคัญยิ่งในคำกานท์ของไทยเรา เพราะภาษาไทย เราย่อมนิยมพูดให้คล้องจองเป็นพื้น ไม่ว่าคำร้อยแก้วหรือคำกานท์ แม้แต่คำภาษิตเล็กๆ น้อยๆ ก็มักจะพูดให้คล้องกัน เช่น “ป่าพึ่งเสือ เรือพึ่งพาย นายพึ่งบ่าว เจ้าพึ่งข้า ” ดังนี้เป็นต้น

สัมผัสที่นิยมกันในภาษาไทยเรามี ๒ ชนิด คือ:-
ก. สัมผัสสระ คือเสียงสระพ้องกันตามมาตรา เช่น สระอะ ก็ต้องพ้อง กับพยางค์ที่ประสมกับสระอะด้วยกัน และต้องให้อยู่ในมาตราเดียวกันด้วย ตัวอย่าง

มาตรา กะกา – กะ กับ จะ, ดี กับ มี, แข กับ แล ฯลฯ
มากรา กก -กัก กับ ดัก, ฉีก กับ หลีก, แจก กับ แทรก ฯลฯ
มาตรา กัง -กัง กับ ตั้ง, ขึง กับ ดึง, แต่ง กับ แจ้ง ฯลฯ
และมาตราต่อๆ ไปก็อย่างเดียวกัน ถึงเสียงวรรณยุกต์จะต่างกัน เช่น เต็ม กับ เข้ม, ชัย กับ ได้ ฯลฯ ก็นับว่าใช้ได้ แต่ถ้าสระไม่พ้องตามมาตรา แม้ต่างกันเพียงสระสั้นกับสระยาว เช่น จัง กบ จาง หรือ ชัย กับ ชาย ฯลฯ ก็ไม่นิยมใช้ เว้นแต่จะมีข้อยกเว้น

ข. สัมผัสอักษร คือใช้เสียงตัวอักษรพ้องกัน และอักษรในที่นี้หมายถึง เสียงพยัญชนะ ซึ่งไม่กำหนดเสียงสระหรือเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำ สักแต่ว่ามีเสียงพยัญชนะพ้องกัน เช่นตัวอย่าง:- “เขา, ขัน, คู, ค่ำ” ดังนี้ก็ได้  หรือเขียนรูปต่างกัน แต่เสียงพยัญชนะร่วมกัน เช่น “ซุง ทราบ, สร้างสรรค์ ศร” ดังนี้ก็ได้ นับว่าเป็นสัมผัสอักษรทั้งนั้น

ค. ประเภทของสัมผส สัมผัส ๒ ชนิดข้างบนนี้ ยังแบ่งเป็น ๒ ประเภทอีก คือ

สัมผัสใน หมายถึงสัมผัสที่คล้องจองกันอยู่ในวรรคเดียวกัน ตามธรรมดา คำกานท์ของไทยย่อมนิยมสัมผัสเป็นพื้น ในวรรคหนึ่งๆ ถ้าแต่งให้มีสัมผัสในได้ทุกวรรคยิ่งดี และนิยมทั้งใช้สัมผัสสระและสัมผัสอักษร มีวิธีผูกสัมผัสเป็น ๒ วิธี คือ :-

สัมผัสชิด คือผูกสัมผัสติดกันไป นิยมใช้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ตัวอย่างสัมผัสสระชิด เช่น:- “ขึ้น กก ตก ทุกข์ ยาก, แสน ลำ บาก จากเวียงชัย” เป็นต้น คำ กก กับ ตก และ บาก กับ จาก เป็นสัมผัสชิด และใช้เป็นคู่ๆ กันไปเช่นนี้ แต่ในวรรคจะใช้หลายคู่ได้ก็ยิ่งดี เช่น:- “ควรจะอยู่ดูเขาเอาเป็นแบบ” ดังนี้คำอยู่ดู กับ เขาเอา เป็นสัมผัสชิด ๒ คู่เป็นต้น ส่วนสัมผัสอักษรชิดก็เป็นทำนองนี้ แต่ไม่กำหนดเป็นคู่ๆ อย่างสระ คือจะชิดกันเท่าไรก็ได้ ตัวอย่างชิดกัน ๒ คำ “เอกองค์” ๓ คำ- “ทรงสงสาร” มากกว่าก็มี บางทีมีเต็มทั้งวรรค ซึ่งท่านเรียกกลบทอักษรล้วน เช่นตัวอย่าง- “โมง โมก มะม่วงไม้ มูกมัน” เป็นต้น

สัมผัสคั้น คือคำสัมผัสไม่ติดกัน มีคำที่ไม่สัมผัสเข้ามาคั่นอยู่หว่างกลาง เช่นตัวอย่างสัมผัสคั่นสระ คือ อางขนาง, เรา จะ เอา, ไป ก็ ได้ ดังนี้คำ อาง กับ นาง, เรา กับ เอา และ ไป กับ ได้ สัมผัสกัน แต่มีคำ ข, จะ และก็ เข้ามาคั่นอยู่

ส่วนสัมผัสคั่นอักษร ก็ทำนองเดียวกัน ตัวอย่างคือ นางขนิษฐ์, โศก ใน ทรวง ดังนี้คำ นาง กับ นิษฐ์ และ โศก กับ ทรวง สัมผัสอักษรกัน มีคำ ข และ ใน เข้ามาคั่น และสัมผัสคั่นอักษรนี้มีวิธีผูกหลายอย่างแล้วแต่เห็นเพราะตัวอย่างคำคั่น ๒ คำ เช่น- อ่อนวรองค์, ทรงพระกันแสง ฯลฯ คำสัมผัสไขว้กันเช่น “สวยดุจสีดา หลับตาเล่ห์ตาย ฯลฯ” หรือ “นั่งตรึกนึกตรับนับตรวจ” ดังนี้เป็นต้น กวีโบราณชอบผูกเล่นแปลกๆ เรียกว่ากลบทและตั้งชื่อต่างๆ กัน

สัมผัสนอก ได้แก่สัมผัสนอกวรรค คือคำท้ายวรรคต้นไปสัมผัสกับคำใน วรรคต่อไปตามแบบและต้องไม่ซ้ำเป็นคำเดียวกันด้วย สัมผัสนอกนี้เป็นสัมผัสบังคับ คือจะต้องเป็นสัมผัสสระ และจะต้องมีตามข้อบังคับของคำกานท์นั้นๆ ดังจะกล่าวพิสดารเฉพาะคำกานท์เป็นชนิดๆ ไป

ที่จริงสัมผัสนอกที่ไม่ใช่ข้อบังคับก็อาจจะมีได้บ้างทั้งสระและอักษร แล้ว แต่กวีจะแต่งเล่นเป็นกลบทดังกล่าวแล้ว

ข้อบังคับคำกานท์เฉพาะบท ยังมีข้อบังคับคำอีกหลายอย่างที่ใช้เฉพาะบทกานท์บางชนิด กล่าวคือไม่ใช้ทั่วไป อย่างคณะและสัมผัส ดังอธิบาย มาแล้ว ซึ่งจะนำมาอธิบายย่อๆ ต่อไปนี้

๑. คำเป็นคำตาย หมายถึงคำเป็นคำตายที่กล่าวไว้ในอักขรวิธี คือ
คำเป็น ได้แก่พยางค์เสียงสระยาวในมาตรา ก กา เช่น กา กี กือ ฯลฯ กับพยางค์ที่ประสม อำ, ใอ, ไอ, เอา และพยางค์ที่เป็นมาตรา กัง, กัน, กัม, เกย และเกอว

คำตาย ได้แก่พยางค์เสียงสั้นในมาตรา ก กา เช่น กะ, กิ, กึ ฯลฯ กับ พยางค์ที่เป็นมาตรา กัก, กัด, กับ

คำเป็นคำตายนี้ ใช้ในคำโคลง และคำร่ายเป็นพื้น เช่นคำตาย บังคับ ใช้แทนคำเอกได้เป็นต้น และในคำกลอนก็มีใช้บ้าง เช่นกลบทที่มีคำตายล้วน เป็นต้น

๒. เสียงวรรณยุกต์ หมายถึงเสียงวรรณยุกต์ทั้ง ๕ เสียง ตามอักขรวิธี
คือ

เสียงสามัญ ได้แก่พื้นเสียงคำเป็นของอักษรกลาง และต่ำ เช่น กา มี จึง แดง แมน ความ กลาย วาว เป็นต้น

เสียงเอก ได้แก่เสียงอักษรสูง อักษรกลาง ที่เป็นคำตาย เช่น ฉะ เปะ ขาด แกลบ ฯลฯ และที่บังคับไม้เอก เช่น:- ข่า แต่ เข่ง ก่อน เป็นต้น

เสียงโท ได้แก่ เสียงอักษรสูง อักษรกลาง ที่บังคับไม้โท เช่น ข้าว แกล้ม แจ้ดๆ อ้วก ฯลฯ อักษรต่ำ ที่บังคับไม้เอก เช่น ค่ะ พ่าย ทึ่ด แคล่ว ฯลฯ คำตายอักษรต่ำที่เป็นสระยาว เช่น คาด แพทย์ เลิศ เป็นต้น

เสียงตรี ได้แก่อักษรกลางบังคับไม้ตรี เช่น เก๊ เปา จ๊อก อ๊าย ฯลฯ คำตายอักษรต่ำที่เป็นเสียงสระสั้น เช่น ละ มัด ชิด เพชร เมล็ด เป็นต้น

เสียงจัตวา ได้แก่พื้นเสียงคำเป็นของอักษรสูงหรืออักษรต่ำที่มี ห นำ เช่น ขา ฉัน หนา หมอน ฯลฯ พยางค์ที่บังคับไม้จัตวา เช่น จ๋า อ๋อย แจ๋ว (น๋ะ, จ๋ะ, ม๋าก, ก๋าก) เป็นต้น

หมายเหตุ คำในวงเล็บเป็นเสียงจัตวาก็จริง แต่เป็นวิธีใหม่ (แบบเรียนเร็ว) จึงไม่ปรากฏในคำกานท์ ถ้าจะใช้ก็ได้ตามวิธีใหม่

เสียงวรรณยุกต์นี้มีบังคับใช้ในคำกลอน เช่น สัมผัสรับ ห้ามเสียงสามัญ หรือไม่ให้เสียงวรรณยุกต์ซ้ำกับสัมผัสส่งเป็นต้น

๓. คำเอกคำโท หมายถึงพยางค์ที่บังคับด้วยไม้เอก และไม้โท ข้อนี้มิได้หมายถึงเสียงเอกเสียงโทดังข้อ (๒) ท่านบังคับไว้ดังนี้

คำเอก ได้แก่พยางค์ที่มีไม้เอกบังคับ เช่น ข่า เก่า ก่อน น่า ว่าย ไม่ ฯลฯ คำตายทั้งหมดจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดๆ ก็ตาม เช่น จะ ริ ขัด มาด ชิด เป็นต้นเหล่านี้ นับว่าเป็นคำเอกได้ทั้งนั้น

คำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีไม้โทบังคับ มิได้กำหนดเสียงวรรณยุกต์เช่นกันเช่นคำ ข้า ช้า ค้าน เศร้าฯลฯ นับว่าเป็นคำโททั้งนั้น

คำเอกคำโทนี้ ใช้ในคำโคลงและคำร่ายเท่านั้น และถือเป็นข้อบังคับสำคัญ ถึงแก่ยอมให้เอาคำที่ไม่เคยใช้เอก ใช้โท เอามาแปลงใช้ เอก ใช้ โท ได้ เช่น “เข้า ข้าม” ใช้เป็น “เค่า ค่าม” ได้เรียกว่า “เอกโทษ” และคำ “ช่วย ลุ่ย” ใช้เป็น “ฉ้วย หลุ้ย” ได้ เรียกว่า “โทโทษ” ดังนี้เป็นต้น แต่บัดนี้ไม่ใคร่นิยมใช้กันแล้ว

๔. คำครุคำลหุ หมายถึงคำหนักคำเบา ใช้ในตำราฉันท์ของบาลีและสันสกฤต ซึ่งเรานำมาปรับปรุงใช้ในภาษาไทยเรา นับว่าเป็นคำกานท์ขึ้นอีกประเภทหนึ่ง

คำครุ คือคำหนัก หมายถึงพยางค์ที่ผสมสระยาว เช่น กา แพ เซ โต ฯลฯ และคำที่มีเสียงสะกด เช่น จัก กาก คิด ฉุน ฯลฯ และคำสระ อำ  ไอ ใอ เอา ก็นับว่าเป็นครุเพราะมีเสียงสะกด

คำลหุ คือคำเบา หมายถึงพยางค์ที่ผสมสระสั้นที่ไม่มีเสียงสะกด เช่น ก็ ติ เถอะ เผียะ ฤ เป็นต้น

คำครุ ท่านใช้เครื่องหมายรูปไม้ผัดดังนี้ ั และ ลหุ ใช้เป็นตีนอุ ดังนี้ ุ แทน และเพื่อสะดวกแก่การอธิบาย ท่านจัด ครุ ลหุ นี้สลับกันต่างๆ เป็นคณะๆ ละ ๓ พยางค์ ดังนี้
silapa-0355 - Copy

ท่านแต่งโคลงไว้ให้จำดังนี้
silapa-0355 - Copy1
การจัด ครุ ลหุ เป็น ๘ คณะนี้ เป็นการย่อให้ใช้คำพูดสั้นเข้า เหมาะแก่การอธิบายด้วยปาก ซ้ำคัมภีร์วุตโตทัยที่ว่าด้วยฉันท์ต่างๆ นั้นท่านได้แต่งเป็นคำฉันท์ทั้งนั้น จึงเป็นของจำเป็นยิ่งขึ้น เช่น ท่านจะอธิบายถึงฉันท์อินทวิเชียร มี ครุ ลหุ อย่างไร ก็พูดได้ย่อๆ ว่า “ต ต ช ค ค” ซึ่งกระจายเป็นครุลหุตามคณะ ดังนี้
silapa-0355 - Copy2
เฉพาะการอธิบายฉันท์ในภาษาไทยเรา เพียงแต่ทำเครื่องหมายกำกับ ฉันท์เท่านี้ก็พอ ไม่จำเป็นต้องจัดเป็นคณะอย่างบาลีให้ยุ่งยากโดยไม่จำเป็น ดังนั้นการจัดเป็นคณะ ๘ ดังกล่าวแล้ว จะอธิบายเพื่อเป็นความรู้ในที่นี้เท่านั้น เมื่อถึงข้ออธิบายฉันท์จะไม่กล่าวให้ฟั่นเฝือต่อไป

๖. คำขึ้นต้นและลงท้าย คำกานท์บางชนิด เกี่ยวกับการบรรจุคำ ข้างหน้าบทบ้าง ท้ายวรรคบ้าง ท้ายบาทบ้าง ท้ายบทบ้าง ดังนี้

คำขึ้นต้นและลงท้าย หมายถึงคำหรือวลีซึ่งใช้ขึ้นต้นบท เช่น กลอนสักวา๑ ใช้คำ “สักวา” ขึ้นต้นบท กลอนดอกสร้อย ใช้คำซ้ำ มีคำ “เอ๋ย” สลับเช่น “ดอกเอ๋ยดอก, น้องเอ๋ยน้อง ฯลฯ” ขึ้นต้น และคำลงท้ายว่า “เอย” บทละครใช้วลีเช่น “เมื่อนั้น บัดนั้น ฯลฯ” ขึ้นต้น ลงท้ายไม่กำหนด ดังนี้เป็นต้น

คำสร้อย หมายถึงคำที่เติมลงท้ายวรรคบ้าง ท้ายบาทบ้าง และ ท้ายบทบ้าง เพื่อความไพเราะ หรือเพื่อให้เต็มข้อความ เช่น คำร่ายใช้เติมได้ท้ายวรรคหรือท้ายบท คำโคลงเติมได้ท้ายบาทตามบังคับ สร้อยของร่ายและโคลงนี้มีเฉพาะ ๒ คำเท่านั้น และคำท้ายมักจะเป็นคำจำกัด เช่น แฮ เฮย นา นอ ฯลฯ ดังจะอธิบายต่อไป

มีคำสร้อยอีกประเภทหนึ่งใช้ในกลอนขับร้อง คำสร้อยพวกนี้ไม่จำกัดมากน้อย จะมีเพียง ๒ คำว่า “น้องเอ๋ย, พี่เอย” ฯลฯ ก็ได้ หรือจะมี มากๆ เช่น “ช่อดอกรัก หัวอกจะหักเพราะรักแล้วเอย” ดังนี้หรือมากกว่านี้ ก็ได้ แล้วแต่เพลงร้องบังคับ

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

โวหารในการเรียงความ

บรรยาย*โวหาร  โวหาร แปลความว่า สำนวน และ บรรยายโวหาร แปลว่า สำนวนที่อธิบายเรื่องราวโดยถี่ถ้วน หมายถึงสำนวนที่เล่าเรื่องยืดยาว ตามความรู้ของผู้แต่ง ตรงข้ามกับสำนวนชนิดที่ว่า บันทึก ซึ่งแปลว่า ย่อ และสำนวนที่แต่งเป็นบรรยายโวหารนั้น มีประเภทดังนี้

๑. การเล่าเรื่องราวต่างๆ  เช่นเล่านิทานซึ่งเล่ากันต่อๆ มา เช่น เรื่องศรีธนญชัย หรือเรื่องนิทานอีสป เป็นต้น
๒. ประวัติต่างๆ เช่น พระราชประวัติ ประวัติบุคคล ประวัติวัตถุ ประวัติสถานที่ และพระราชพงศาวดาร เป็นต้น
๓. ตำนานต่างๆ ซึ่งได้แก่ประวัติแกมนิทาน เช่น ตำนานพระแก้วมรกต เป็นต้น
๔. รายงานหรือจดหมายเหตุ  ที่เล่าถึงการเดินทาง การตรวจสถานที่หรือกิจการอื่นๆ (รายงานหมายถึงข้อความที่เสนอผู้ใหญ่เหนือตน แต่จดหมายเหตุนั้นหมายถึงข้อความที่เล่าเป็นส่วนตัว ตลอดจนจดหมายไปมาถึงกันที่เล่าเรื่องเช่นนี้)

ข้อสำคัญในการแต่งบรรยายโวหารนั้น คือต้องมีความรู้ทั้งทางภาษและ เรื่องราวดี และมีศิลปะในการแต่งดี เช่น แต่งให้เข้าใจง่าย ให้เหมาะสมกับอัธยาศัยคน รู้จักประมาณและกาลเทศะ เช่น แต่งให้เหมาะกับเวลาที่กะให้ ข้อใดไม่ควรเล่าก็งดเสีย หรือเล่าคลุมๆ สั้นๆ พอไม่ให้เสียเค้าเรื่องดังนี้เป็นต้น

อนึ่ง บรรยายโวหารนี้ นอกจากจะแต่งเป็นคำร้อยแก้วตามหัวข้อข้างบนนี้แล้ว ยังใช้แต่งเป็นคำประพันธ์ด้วยเหมือนกัน เนื้อเรื่องที่จะแต่งก็เป็นไปตามหัวข้อข้างบนนี้นั้นเอง โดยมากมักจะใช้บทประพันธ์ง่ายๆ เช่น ร่าย สำหรับกลอนลิลิต และกาพย์ฉบัง สำหรับฉันท์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะเล่าได้ถูกต้องหรือย่อให้สั้นเข้าได้ง่าย ยิ่งเป็นหนังสือกลอนสุภาพสำหรับอ่านเล่นแล้ว ยิ่งมีบรรยาย
………………………………………………………………………………………….*บรรยาย ตรงกับบาลีว่า ปริยาย แปลว่า ข้อความอันรอบคอบ หรือความที่อ้อมค้อม คู่กับคำ นิปฺปริยาย แปลว่าข้อความที่ไม่อ้อมค้อม คือความที่พูดตรงไปตรงมา แต่เฉพาะ บรรยาย ในภาไทยเราทั่วๆ ไป หมายความ อธิบายถี่ถ้วน ดังข้างบนนี้
………………………………………………………………………………………….
โวหารเป็นพื้นเรื่องทีเดียว เช่นคำกลอนอ่านเล่นบางตอน ดังเรื่องพระอภัยมณีต่อไปนี้

“อุศเรนเอนเอกเขนกสนอง         ตามทำนององอาจไม่ปรารถนา
เราก็รู้ว่าท่านเจ้ามารยา        ที่เรามาหมายเชือดเอาเลือดเนื้อ
ไม่สมนึกศึกพลั้งลงครั้งนี้        จะกลับดีด้วยศัตรูอดสูเหลือ
เราก็ชายหมายมาดว่าชาติเชื้อ    ไม่เอื้อเฟื้อฝากตัวไม่กลัวตาย
จงห้ำหั่นบั่นเกล้าเราเสียเถิด        จะไปเกิดมาใหม่เหมือนใจหมาย”
เป็นตน

เนื้อเรื่องเช่นนี้ ก็ใช้อยู่ในข้อ ๑ คือเล่าเรื่องนั่นเอง

พรรณนา*โวหาร คือสำนวนที่พูดรำพันถึงสิ่งต่างๆ ตามที่ตนพบเห็นว่าเป็นอย่างไรก็ดี หรือรำพันถึงความรู้สึกของตนหรือของผู้อื่นว่าเป็นอย่าง นั้นอย่างนี้ก็ดี ตามความคิดเห็นของผู้แต่ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ค้นคว้าเหตุผลต้นเดิมเท่าใดนัก

พรรณนาโวหารนี้คล้ายคลึงกับบรรยายโวหารที่กล่าวแล้ว แปลกก็แต่ยกเอาท้องเรื่องในบรรยายโวหาร ข้อใดข้อหนึ่งขึ้นพรรณนาให้ละเอียดยิ่งขึ้น ตัวอย่าง เช่น บรรยายโวหารกล่าวไว้เพียงเที่ยวประพาสป่า ก็นำมาพรรณนากล่าวรำพันให้พิสดารยิ่งขึ้น เช่น รำพันถึงชื่อต้นไม้ต่างๆ และรำพันถึงนกและเนื้อ (สัตว์จตุบาท) ในป่านั้นว่ามีลักษณะต่างๆ ฯลฯ ตามแต่จะรำพันให้สนุกสนานน่าฟัง ดังนี้เป็นต้น

ข้อความที่ยกขึ้นกล่าวเป็นพรรณนาโวหารนั้นมักมีดังนี้:-

ก. ยอพระเกียรติ คือพรรณนายกย่องเกียรติคุณต่างๆ เช่น ชมบ้านเมือง ว่ามีปราสาทราชฐานงามสง่า มีป้อมกำแพงแข็งแรง ฯลฯ ชมพระเจ้าแผ่นดินว่าทรงทศพิธราชธรรมมีพระเดชปราบศัตรูราบคาบ ฯลฯ ชมฝีมือช่างต่างๆ ชมรูปลักษณะ เช่นชมความงามของสตรี ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น

ข. ภูมิประเทศ เช่นรำพันถึงสถานที่อยู่ว่า อยู่ที่ไหน ติดต่อกับอะไร มี
………………………………………………………………………………………….
*คำพรรณนาในภาษาไทยที่กล่าวนี้เพี้ยนกับบาลีอยู่บ้าง  เพราะในบาลี (วณุณนา) มีความหมายเหมือนคำ “อธิบายข้อความ” ด้วย
………………………………………………………………………………………….
สระ มีสวน มีตึกเป็นอย่างไร น่าอยู่เพียงไร ฯลฯ หรือรำพันถึงป่า มีต้นไม้ มีเขา มีลำธาร ฯลฯ หรือรำพันถึงทะเลมีเกาะมีคลื่นมีลม ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น

ค. ความคิดต่างๆ เช่นรำพันถึงความรัก ความโศกเศร้า ความว้าเหว่ใจ ความแค้นใจ ความพยาบาท ฯลฯ หรือรำพันถึงกิจการที่เคยทำมาต่างๆ นานา ฯลฯ หรือวิตกไปถึงกาลข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ต่อไป ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น

การแต่งพรรณนาโวหารนี้มีความมุ่งหมายอยู่ ๒ อย่าง คือ

ก. อยากให้ผู้อ่านผู้ฟังเข้าใจข้อที่รำพันนั้นให้ชัดเจน เพื่อช่วยให้เข้าใจ เรื่องราวทราบซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งมักมีในเรื่องร้อยแก้วในพุทธศาสนา เช่นเรื่องมหาชาติกัณฑ์จุลพน มหาพน เป็นต้น และเรื่องร้อยแก้วอ่านเล่น ในปัจจุบันบางตอน

ข. เพื่อเล่นสำนวนให้เพราะพริ้ง – เพื่อให้ผู้อ่านผู้ฟังรู้สึกตื่นเต้นในเชิง ประพันธ์ ซึ่งโดยมากมักเป็นคำประพันธ์ซึ่งกวีโบราณนิยมกัน ข้อนี้ไม่นิยมความจริงเท่าใดนัก เอาแต่ความเพราะพริ้งในเชิงประพันธ์เป็นประมาณ ดังจะยกตัวอย่างมาพอเป็นที่สังเกตต่อไปนี้

ก. ยอพระเกียรติ (โคลง) ปราสาทเสียดยอดเฟื้อย แฝงโพยม เรืองรัตนมาศโสม สุกย้อย ฯลฯ

ข. ภูมิประเทศ (เพลงฉ่อย) นั่นต้นขานางข้างเคียงไข่เน่า แก้วเกดกันเกรากร่างไกร ชมไม้เดือนหกฝนตกใบแตก ยิ่งชมก็ยิ่งแปลกตาไป ฯลฯ

ค. ความคิด (เพลงโคราช) –พี่เคยตักน้ำหาบเอามาอาบด้วยกัน แก้ห่อขมิ้นชันเอามายื่นให้ชู้ พูดกันพลางฝนพลางน้องยังผินหลังให้พี่ถูทา ฯลฯ

เทศนาโวหาร คำ เทศนา นี้เป็นศัพท์เดียวกันกับ เทศนา ที่พระท่านแสดง แต่ เทศนา ชองพระท่านมีความหมายเหมือนปาฐกถาคือท่านจะใช้โวหารใดๆ ก็ได้แล้วแต่จะเหมาะกับเรื่องราวของท่าน

แต่ เทศนาโวหาร ในที่นี้ หมายถึงสำนวนที่ใช้แสดงหรืออธิบายข้อความให้กว้างขวางออกไป โดยเอาเหตุผลหรือหลักฐานมาประกอบตามความรู้ความเห็นของผู้แต่งด้วยความมุ่งหมายจะให้ผู้อ่านผู้ฟังเข้าใจ ความหมายชัดเจนและเพื่อให้เห็นจริงและเชื่อถือตามเป็นข้อใหญ่ ดังนั้นข้อความที่ใช้เทศนาโวหารนี้ จึงมักเป็นข้อปัญหา ความเห็น วิชาและข้อจรรยา หรือสุภาษิต ฯลฯ ซึ่งผู้แสดงต้องการจะให้ผู้อ่านผู้ฟังเชื่อถือ ซึ่งมีลักษณะย่อๆ ดังนี้

ก. จำกัดความและอธิบายความ

ข. พิสูจน์ข้อเท็จจริง เช่น ครูชี้แจงให้ศิษย์เห็นจริง เรื่องน้ำถูกความร้อน ย่อมกลายเป็นไอ ฯลฯ ทางวิทยาศาสตร์ หรือตระลาการชี้แจงข้อเท็จจริงของโจทก์จำเลย ตามหลักฐานพยานเป็นต้น

ค. ชี้แจงเหตุผล เช่นชี้เหตุแห่งยุงชุมว่า เกิดจากปล่อยให้มีน้ำขังอยู่บน พื้นดินมาก และชี้ผลแห่งการดื่มน้ำโสโครกว่าจะเป็นโรคอหิวาต์ โรคบิด และไข้รากสาด เป็นต้น

ฆ. อธิบายคุณและโทษ เช่นชี้แจงคุณของไฟว่า ให้ความอบอุ่น ให้ ประโยชน์ในการหุงต้มอาหาร ฯลฯ หรือชี้แจงโทษว่า ถ้าพลั้งเผลอก็อาจจะไหม้บ้านได้ เป็นต้น

ง. แนะนำสั่งสอน ได้แก่ กล่าวสั่งสอน ให้ผู้อ่านผู้ฟังเชื่อฟัง และ ประพฤติตามด้วยอุบายต่างๆ เป็นต้น

หลักสำคัญของการแต่งเทศนาโวหาร ข้อแรกก็คือ ผู้แต่งจะต้องมีความรู้ให้มาก และจะต้องมีศิลปะ คือพูดให้เข้าใจตามความคิดของตัว ทั้งจะต้องล่วงรู้จิตใจของผู้อ่านผู้ฟังว่า เรื่องที่แสดงนั้นจะถูกใจเขาหรือไม่ ดังนี้เป็นต้น

ข้อสังเกต เทศนาโวหารนี้ ถ้าผู้แต่งต้องการจะอธิบายข้อความที่ยากให้ เขาเข้าใจและเห็นจริงด้วย เช่น ข้อ ก. ข. ข้างต้นนี้แล้ว จะต้องแต่งเป็นร้อยแก้ว เพื่อเลือกใช้คำพูดสะดวก แต่ถ้าต้องการจะปลูกศรัทธาให้มีความรักใคร่หรือเชื่อฟังอย่างข้อ ง. ท่านมักแต่งเป็นคำประพันธ์ เพราะเอาความเพราะพริ้งเข้าช่วย แม้แต่สุภาษิตต่างๆ เช่น เวลานํ้ามาฝูงปลากินมด เวลานํ้าลดฝูงมดกินปลา เป็นต้น ท่านก็มักจะผูกให้คล้องจองกันเพื่อจำง่าย

อนึ่ง การเรียงความหรือแต่งเรื่องราวต่างๆ ไม่จำเป็นจะต้องแต่งโวหารใด โวหารหนึ่งในโวหารทั้ง ๓ นี้ จนจบเรื่อง ผู้แต่งอาจจะเลือกแต่งได้ให้เหมาะกับข้อความ เห็นโวหารใดไม่เหมาะจะไม่แต่งก็ได้ โดยมากเรื่องหนึ่งมักจะมีโวหารทั้ง ๓ นี้ปะปนกันไป เช่น ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร หิมพานต์ มักเป็นบรรยายโวหาร กัณฑ์จุลพน มหาพน นั้น เป็นพรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร มักมีทั่วไป เช่นแหล่หญิงม่ายในทานกัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้แล้วแต่ผู้แต่งจะเห็นเหมาะ

สาธกโวหาร ยังมีโวหารแทรกเข้ามา เพื่อสนับสนุนโวหาร ทั้งสามที่กล่าวแล้วอีก ๒ โวหาร คือ (๑) สาธกโวหาร และ (๒) อุปมาโวหาร ดังจะนำมาอธิบายต่อไปดังนี้

สาธกโวหาร คำว่า สาธก บาลี แปลว่า ผู้ทำให้สำเร็จ เอาความภาษาไทยว่า ยกตัวอย่าง เช่น สาธกนิทาน หมายความว่า นิทานที่ยกมาเป็นตัวอย่างดังนี้ สาธกโวหาร ทางบาลีว่า โวหารที่ทำให้สำเร็จ ถึงความมุ่งหมายทางภาษาไทยเราก็เป็นเช่นนั้น กล่าวคือ เราแสดงข้อความใดๆ ที่เห็นว่ายากแก่ผู้ฟัง เราจึงยกตัวอย่างหรือหาข้อเปรียบเทียบมาให้เขาฟังง่ายๆ ให้เข้าใจและเชื่อถือ เพื่อให้สำเร็จผลในการแสดงเช่นเดียวกัน

สาธกโวหาร ที่จะยกมาอ้างเพื่อสนับสนุนเรื่องราวของตนจะต้องมีลักษณะ คือเป็นเรื่องฟังเข้าใจง่าย และเป็นที่เชื่อฟังนับถือของผู้ฟังทั่วไป หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคลที่ผู้ฟังเคารพนับถือ หรือเป็นเรื่องที่จะพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ในทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งทำให้ผู้เชื่อถือตามด้วยเหตุผล ซึ่งถ้าจะแยกออกเป็นชนิดก็ได้ดังนี้

ก. ประวัติศาสตร์ เช่น แนะนำผู้ฟังให้ประพฤติอย่างไร ก็ยกเอาประวัติศาสตร์ ตอนที่มีผู้ประพฤติอย่างนั้นและได้รับผลเช่นนั้น มาเล่าให้ฟัง นับว่าเป็นข้อส่งเสริมดีอย่างหนึ่ง

ข. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่นข่าวหนังสือพิมพ์หรือเหตุการณ์ที่ตนพบเห็นมา ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้ฟังรู้ดีอยู่แล้ว ก็นับว่าเป็นตัวอย่างที่เหมาะชนิดหนึ่งเหมือนกัน เพราะผู้ฟังเห็นได้ง่ายและทันควัน

ค. เรื่องนิทานต่างๆ ถ้านิทานที่ยกมานั้นเหมาะกับเรื่องที่อธิบายและมี คติขบขันดี ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังจดจำได้ดีอย่างแนบแน่นเหมือนกัน ดังนั้นในคำเทศน์ทางศาสนาท่านจึงชักนิทานชาดกคือเรื่องพระพุทะเจ้าในชาติก่อนมาเป็นตัวอย่างเสมอๆ นับว่าเป็นวิธีที่ดีของการแสดงธรรมทีเดียว เพราะผู้ฟังนับถือพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว และก็เป็นธรรมดาที่จะต้องนับถือความประพฤติของท่านด้วย นับว่าเป็นการส่งเสริมศรัทธาของผู้ฟังได้มากมาย

เรื่องสาธกโวหารนี้ โดยมากมักเป็นบรรยายโวหารซึ่ง ผู้แสดงนำมากล่าวไว้ตอนท้ายของเรื่องราวที่เป็นเทศนาโวหาร เช่นตัวอย่างผู้แสดงกล่าวอธิบายถึงความกล้าว่ามีคุณอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็ยกตัวอย่างในประวัติศาสตร์ ที่มีเรื่องทำนองนั้น เช่นตอนพระนเรศวรคาบพระแสงดาบปีนค่ายข้าศึก เป็นต้น และถึงท้องเรื่องสาธกโวหารนี้จะเป็นสำนวนบรรยายโวหารก็จริง แต่จะใช้พรรณนาโวหาร หรือเทศนาโวหารบ้างก็ได้ ตามควรแก่เรื่อง ข้อสำคัญก็คือ เป็นเรื่องยกมาเป็นตัวอย่างเพื่อส่งเสริมความเข้าใจความเชื่อถือให้ยิ่งขึ้นเท่านั้น และสาธกโวหารที่ชักมาแทรกท่ามกลางเรื่องก็มี ซึ่งผู้แต่งต้องการจะให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องตอนนั้นๆ ให้แจ่มแจ้ง โดยมากมักจะใช้เป็นเรื่องเปรียบเทียบที่เรียกว่า อุปมาโวหาร ดังจะกล่าวต่อไปนี้

อุปมาโวหาร เรื่องสาธกที่ยกมาเป็นตัวอย่างดังอธิบายมาแล้วข้างต้นนั้น บางเรื่องก็ไม่เหมาะกับข้อความที่แสดงนั้นๆ ดังนั้นท่านจึงเอาข้อ เปรียบเทียบซึ่งเรียกว่า อุปมาโวหาร เข้ามาเป็นสาธกโวหารแทน เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจในเชิงอุปมา ดังจะกล่าวต่อไปนี้

อุปมาโวหาร คำ อุปมา แปลว่า ข้อเปรียบเทียบ ใช้คู่กับ อุปไมย ซึ่งแปลว่า ข้อความที่ต้องมีข้อเปรียบเทียบ สองศัพท์นี้ใช้เป็นคู่กันเสมอ เพราะตามธรรมดาเราอธิบายข้อความใดๆ ให้เขาเข้าใจไม่ได้ก็จะต้องหาข้อเปรียบเทียบที่เห็นว่าง่ายมาเปรียบเทียบให้ฟัง เช่นเราพูดถึง ใบจำปี ซึ่งจะอธิบายถึงรูปร่างหรือขนาดก็ลำบากจึงยกตัวอย่างว่า คล้ายคลึงกับใบมะม่วง เป็นข้ออุปมา และเมื่อมีข้ออุปมาขึ้นดังนี้ ข้อความที่พูดถึงใบจำปีเบื้องต้น ก็ต้องเรียกว่าข้อ อุปไมย ขึ้นเป็นคู่กัน ดังนั้น ศัพท์ว่า อุปมาโวหาร ในที่นี้ก็หมายความว่าสำนวนเปรียบเทียบนั่นเอง และอุปมาโวหารนี้ย่อมใช้กันมากมายทั้งสำนวนร้อยแก้ว และคำประพันธ์ เพราะเป็นข้อความที่ช่วยให้เข้าใจข้อความเบื้องต้นที่เรียกว่า อุปไมย นั้นชัดเจนดีมาก

ข้ออุปไมยที่จะต้องหาข้ออุปมา มาเปรียบเทียบนั้น โดยธรรมดาต้องเป็นของอธิบายยาก ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้

ก. ลักษณะของสิ่งต่างๆ ซึ่งจะอธิบายก็เข้าใจยากอย่างหนึ่ง และอยาก จะให้เป็นของดีหรือเลว ซึ่งจะอธิบายก็เข้าใจยากอย่างหนึ่ง จึงเอาสิ่งที่ผู้ฟังเห็นได้ง่ายมาเปรียบเทียบ เช่น สีผมดำ เหมือนนิล, ตัวดำ เหมือนกา หรือดวงหน้างาม เหมือนดวงจันทร์เพ็ญ ซึ่งทางกวีนิยมว่างาม และหน้าน่ากลัว เหมือนหน้าผี เป็นต้น ซึ่งทำให้ผู้ฟังเข้าใจและเห็นไปด้วยง่าย ตามความนิยม ฯลฯ

ข. อาการของสิ่งต่างๆ เช่น-เขารบว่องไว ดังจักรผัน (ล้อหมุน) องอาจ ดังราชสีห์ ซึ่งทางกวีนับถือกันว่ามีสง่าที่สุด, คนทำบาปทีละน้อยๆ ผลบาปย่อมมากขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว เหมือนดินพอกหางหมู เป็นตน

ค. ความรู้สึกต่างๆ เข่น-เจ็บใจ เหมือนเอาหอกมาแทงหัวใจ หรือแสดงความรักลูกเมีย เหมือนดวงตาดวงใจ เป็นต้น

ฆ. ความน่าอายพูดไม่ได้ ก็ใช้ข้อความอื่นๆ มาเปรียบให้ผู้ฟังนึกเอาเอง เช่น บทอัศจรรย์ในคำกลอนเรื่องต่างๆ ฯลฯ

ง. การติชม ที่ต้องการให้เห็นกว้างขวางลึกซึ้ง ก็มักจะหาเรื่องที่เข้าใจง่ายและนิยมกันมาเปรียบเทียบ เช่นแสดงถึงการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของพระเวสสันดร โดยชักเอาแม่น้ำทั้ง ๕ เข้ามาเปรียบเทียบ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นการส่งเสริมข้ออุปไมยได้อย่างลึกซึ้งทีเดียว

ข้อสำคัญในการใช้อุปมาโวหาร ข้อแรกก็คือมีความรู้เป็นหลักสำคัญ ต่อไปก็ต้องมีศิลป์ในเชิงประพันธ์ และในเชิงเลือกข้ออุปมาให้เหมาะแก่ข้ออุปไมย กล่าวคือ ให้ง่ายและเข้ากันสนิทกับข้ออุปไมย ทั้งจะต้องคะเนให้เป็นที่ถูกใจของผู้ฟังทั่วๆ ไปด้วย เช่นตัวอย่าง (ย่อจากคาถาธรรมบท)

ข้ออุปไมย-ทุกข์ที่เกิดจากประพฤติทุจริต ย่อมตามผู้ประพฤตินั้นไป
ข้ออุปมา-เหมือนล้อเกวียนที่ตามเท้าโคซึ่งลากเกวียนนั้นไป

ดังนี้จะเห็นว่าข้ออุปมาง่ายกว่าข้ออุปไมย เพราะใครๆ ก็เห็นโคลากเกวียนกันแทบทั้งนั้น และมีลักษณะเข้ากันสนิท คือล้อเปรียบกับทุกข์ เท้าโคเปรียบกับผู้ประพฤติทุจริต และอาการที่ล้อเกวียนหมุนตามเท้าโคที่ลากเกวียนไป ก็เปรียบกับความทุกข์ที่ติดตามผู้ประพฤติทุจริตไปอย่างเดียวกัน ดังนี้ เป็นต้น และข้อที่ว่าให้ถูกใจผู้ฟังนั้น ผู้แสดงจะต้องรู้จักกาลเทศะ กล่าวย่อๆ  ก็คือไม่เอาข้ออุปมาที่แสลงใจ เข้ามาอ้าง ซึ่ง อาจจะกลาย เป็นทำคุณบูชาโทษไป ก็ได้ เป็นต้น

ข้อสังเกต ควรหาอุปมาให้ง่าย ซึ่ง ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้งดีเป็นไปตามกาล เทศะ เช่นตัวอย่าง ฝรั่งเขาเปรียบของขาวว่าขาว ดังหิมะ แขกว่า ขาว ดัง นํ้านม หรือสังข์ ซึ่งเป็นของที่รู้จักกันทั่วไป ถ้าเราจะเอาสำนวนเช่นนั้นมาเปรียบให้คนไทยฟัง ก็คงจะไม่เข้าใจซึมซาบอย่างเขา ดังนั้นเราควรเปรียบว่าขาวดังสำลี ซึ่งคนไทยรู้ทั่วกันอยู่แล้ว ดังนี้เป็นต้น เว้นไว้แต่เรื่องที่เราแปลของเขามา ซึ่งจำเป็นจะต้องแปลถ้อยคำของเขาตรงไปตรงมานั้นเป็นอีกทางหนึ่ง

อุปมาโวหารเป็นสาธกโวหารทางอ้อม เป็นธรรมดาว่า เมื่อเราอธิบาย เรื่องราวใดๆ ให้เขาฟังไม่ได้ เราจำเป็นต้องหาตัวอย่างมาให้เขาดู เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้น เช่นพาไปดูของจริงหรือเขียนรูปให้ดู ซึ่งนับ เป็นตัวอย่างดีมาก แต่ที่ทำเช่นนี้ไม่ได้ก็มี บางเรื่องต้องเล่าเรื่องที่เรียกว่า สาธกโวหารให้ฟัง เป็นตัวอย่างว่าผู้ที่ทำอย่างนั้นๆ ได้รับผลมาแล้วเป็นอย่างนั้นๆ เช่นตัวอย่างที่มีมาในประวัติศาสตร์บ้าง ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันตามที่พบปะมาบ้างก็ได้ ทั้งนี้นับว่าเป็นสาธกโวหารโดยตรง เพราะเป็นตัวอย่างที่มีมาเช่นนั้นจริงๆ

แต่ถ้าหาตัวอย่างเช่นนั้นไม่ได้จริงๆ จึงเอาของที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเทียบให้ดู  เช่นต้องการอธิบายเรื่องเสือ แต่เอาแมวมาให้ดูเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ หรือหาเรื่องที่คล้ายคลึงกันมาเล่าเปรียบเทียบเป็นอุปมาโวหารให้ฟัง เช่นเรื่องนิทานเป็นต้น ซึ่งที่จริงก็สำเร็จความประสงค์ของผู้เล่าเหมือนกัน จึงนับเรื่องอุปมาโวหารเหล่านี้เป็นสาธกโวหารทางอ้อม หรือจะว่าเรื่องสาธกโวหารโดยใช้ข้ออุปมาก็ได้

ประโยชน์ของสาธกโวหาร และอุปมาโวหาร มีอย่างเดียวกัน คือส่งเสริม ให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น ส่งเสริมศรัทธาและความเลื่อมใสให้มากขึ้น ถ้ารู้จักใช้ให้เหมาะกับกาลเทศะดังกล่าวมาแล้ว ก็นับว่าเป็นประโยชน์ในการแต่งเทศนาโวหารมากทีเดียว ดังนั้นเมื่อพระท่านแสดงเทศนาว่าด้วยข้อธรรมะใดๆ ก็ดี ท่านจึงยกสาธกโวหารหรืออุปมาโวหาร ที่เรียกว่าชาดกหรืออดีตนิทานมาอ้างไว้ข้างท้ายโดยมาก เพื่อประโยชน์ข้อนี้ ถ้าครูผู้สอนจรรยาแก่ศิษย์จะยกสาธกโวหารที่เหมาะแก่เรื่องมาเล่าให้ศิษย์ฟังด้วยแล้ว จะเป็นประโยชน์มากทีเดียว ดังจะคัดตัวอย่างมาให้ดูเพื่อยึดเป็นหลักสักเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นคำของสมเด็จพระวันรัตน์วัดป่าแก้ว ผู้พาพระสงฆ์ไปเฝ้าพระนเรศวร เพื่อทูลขอโทษนายทัพนายกอง ซึ่งมีโทษประหารชีวิตตามกฎอัยการศึก กล่าวคือปล่อยให้พระนเรศวรกับพระเอกาทศรถผู้อนุชา เข้าไปรบกับพระมหาอุปราชาในท่ามกลางกองทัพพม่า แต่ลำพังสองพระองค์เท่านั้น ต่อเมื่อทรงชนะข้าศึกแล้วกองทัพไทยจึงตามไปทัน โดยท่านอธิบายเป็นใจความว่า

“ทั้งนี้เป็นบุญบารมีอันยิ่งใหญ่ ที่จะให้โลกเห็นว่าทรงชนะศึก เฉพาะ สองพระองค์พี่น้อง ไม่ต้องอาศัยกำลังรี้พลเลย จึงบันดาลให้รี้พลตามไปไม่ทัน” แล้วท่านชักสาธกโวหารว่า “เหมือนครั้งสมเด็จพระพุทธองค์ประทับ อยู่เหนือบัลลังก์ใต้ต้นมหาโพธิ์ เมื่อพญามารยกพลมหึมามาประจญ พระองค์ก็บันดาลให้เทวดาและพรหม ซึ่งแวดล้อมอยู่ที่นั้นหนีไปหมด เหลืออยู่แต่พระพุทธองค์พระองค์เดียว ซึ่งทรงประจญพญามารและพลแห่งมารให้พ่ายแพ้ไปได้ด้วยพระบารมีปรากฏพระเกียรติคุณมาจนบัดนี้”

ข้อสาธกนี้ ทำให้พระนเรศวรทรงเลื่อมใส เต็มตื้นไปด้วยพระปรีดา ปราโมทย์ ถึงแก่ประทานอภัยโทษแก่นายทัพนายกองทั้งหมด จึงนับว่าเป็นข้อสาธกที่เหมาะแก่กาลเทศะในสมัยนั้น เพราะสมัยนั้นพระราชาย่อมเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นล้นพ้น และทรงบำเพ็ญพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์อยู่แล้วเช่นนั้น เมื่อได้ฟังสาธกโวหารอันเหมาะสมกับเรื่องของพระองค์เข้าเช่นนั้นจึงทำให้พระองค์ทรงพระศรัทธาเลื่อมใสอย่างเต็มที่ ทั้งนี้นับว่าเป็นสาธกโวหารที่ดีเรื่องหนึ่งในสมัยโน้น ควรจำไว้เป็นตัวอย่าง

มีเรื่องราวบางเรื่องที่ผู้แต่งต้องการจะแต่งให้สาธกโวหารเป็นเรื่องสำคัญ จึงย่อข้อความเดิมซึ่งเป็นต้นเรื่องไว้พอเป็นเค้าเท่านั้น แล้วแต่งขยายเรื่องสาธกโวหารให้เป็นเรื่องใหญ่โต โดยต้องการให้เรื่องนั้นเด่นเพื่อจะได้เป็นคติต่อไปก็มี หรือเพื่อเป็นการแสดงฝีปาก ในเชิงประพันธ์ก็มี เช่นเรื่องอิลราชคำฉันท์ และเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ เหล่านี้เป็นต้น

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

วิธีใช้ถ้อยคำสำนวน

เลขนอกเลขใน* ข้อความที่เป็นเลขนอกเลขในย่อมมีทุกภาษา จึงเป็นการจำเป็นที่ผู้ศึกษาจะต้องรู้ไว้เป็นหลักในการเรียงความ จึงได้นำมาแสดงไว้ย่อๆ ต่อไปนี้

เลขนอก คือข้อความที่เป็นพื้นเรื่องซึ่งผู้แต่งกล่าวเอง แต่ เลขใน นั้นเป็นข้อความที่ผู้แต่งนำมาพูดอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งผิดกับสำนวนของผู้แต่งที่กล่าวเป็นพื้นเรื่องนั้น ความที่เป็นเลขในนั้น ในสมัยนี้ท่านใช้เครื่องหมาย อัญประกาศ ดังกล่าวมาแล้วคร่อมข้อความที่เป็นเลขในเข้าไว้ มีที่สังเกตย่อๆ ดังต่อไปนี้

(๑) ข้อความที่เป็นความคิดของบุคคล แม้จนของผู้แต่งเอง ซึ่งเขานำมาเขียนไว้โดยไม่แปลงสำนวนของผู้แต่งที่เป็นเลขนอก ตัวอย่าง

ก่อนที่ข้าพเจ้าจะไปเที่ยวหัวหิน ได้คิดว่า “เงินเรามีน้อยไม่พอใช้จ่าย ควรจะขอคุณพ่อ ท่านคงให้” แล้วข้าพเจ้าไปขอท่าน

คำที่อยู่นอกอัญประกาศนั้นเป็นเลขนอก เป็นสำนวนที่พูดกับผู้อ่าน ส่วนคำที่อยู่ในอัญประกาศนั้นเป็นเลขใน ซึ่งเขาคิดพูดกับตัวเขาเอง

(๒) ข้อความที่เป็นคำพูดของบุคคล ที่พูดไว้กับใครๆ ในที่อื่น แม้จะเป็นคำของผู้แต่งก็ตาม ถ้าเขานำมาเขียนตามที่พูดเดิม ก็นับว่าเป็นเลขในตัวอย่าง

ข้าพเจ้าเข้าไปหาคุณพ่อ เห็นท่านทักทายดี จึงขอเงินท่าน “คุณพ่อขอรับ! ผมจะไปหัวหินคราวนี้เงินไม่พอ ผมขออีกสัก ๒๐ บาทเถิดขอรับ” ท่านยิ้มแล้วก็หยิบเงินมาให้ข้าพเจ้า ๒๐ บาท

………………………………………………………………………………………….
*การเรียกชื่อว่า “เลขนอก” และ “เลขใน” นี้เกิดจากการใช้เลขกำกับการแปลภาษาบาลี เพื่อจะให้ผู้แรกเรียนแปลภาษาบาลีถูกต้อง ท่านเขียนเลข ๑, ๒, ๓ ฯลฯ กำกับศัพท์ภาษาบาลีไว้ เพื่อเป็นเครื่องหมายให้แปลไปตามลำดับเลข ๑, ๒, ๓ ฯลฯ จนหมดประโยค ถ้ามีข้อความอื่นซ้อนอยู่ข้างใน ท่านก็ตั้งเลขกำกับขึ้นต้น ๑, ๒, ๓ ฯลฯ ขึ้นใหม่อีกชุดหนึ่งเฉพาะความข้างใน เลยเป็นธรรมเนียมเรียกข้อความภายนอกว่า เลขนอก และข้อความภายในที่มีเลขกำกับอยู่อีกชุดหนึ่งเรียกว่า เลขใน โดยสังเกตเลขกำกับคำนั้นเป็นหลัก
………………………………………………………………………………………….
ข้อความนอกอัญประกาศเป็น เลขนอก และภายในอัญประกาศเป็น เลขใน ซึ่งเขาพูดกับคุณพ่อเขา  หาได้พูดกับผู้อ่านอย่างเลขนอกไม่ เป็นแต่นำมาเขียนให้ผู้อ่านทราบว่าเขาพูดอย่างไรเท่านั้น

(๓) ข้อความที่ผู้แต่งนำมากล่าวจากเรื่องอื่นโดยไม่เปลี่ยนแปลงสำนวนเดิม  ถึงจะเป็นถ้อยคำที่เขาเรียกร้องกัน  แม้เป็นคำชื่อผู้แต่งคิดขึ้นเองก็ตาม ถ้าต้องการจะให้ผู้อ่านสังเกตผิดแผกไปจากเลขนอกที่เป็นพื้นเรื่องแล้ว ก็ใช้อัญประกาศคร่อมเป็นเลขในได้ทั้งนั้น ตัวอย่าง

ก. จากเรื่องอื่น  เช่นการใช้สีเสื้อผ้าตามวันนั้น ท่านกล่าวไว้ในเรื่องสวัสดิรักษาดังนี้ “วันอาทิตย์สิทธิโชคโฉลกดี เอาเครื่องสีแดงทรงเป็นมงคล ฯลฯ” ดังนี้เป็นต้น

ข. ข้อความสั้นๆ ที่ผู้แต่งคัดมาจากที่อื่น เช่น
(ก) เขาทำเช่นนี้ตรงกับสุภาษิตว่า “พุ่งหอกเข้ารถ” ทีเดียว
(ข) นามตำบลสามเสนนี้เขาว่ามาจากคำ “สามแสน”
(ค) วัดโพธิ์นี้ชื่อในราชการว่า “วัดพระเชตุพน”

ค. คำที่ผู้แต่งคิดขึ้น  เพื่อต้องการจะให้แปลกจากท้องเรื่อง เช่น
(ก) แม่สำอางผู้นี้เราควรตั้งชื่อเสียใหม่ว่า “แม่สำออย”
(ข) ตาแก่ “คนรกโลก” นั้นไปแล้วหรือ?
(ค) เขาเห็น “แม่ตาแจ๋ว” ของเขาเข้า เขาก็สร่างทุกข์

หมายเหตุ  คำที่อยู่ในอัญประกาศแห่งตัวอย่างของข้อ (๓) ทั้งหมดนี้นับว่าเป็นเลขในทั้งนั้น ส่วนคำนอกอัญประกาสนั้นเป็นเลขนอกดังกล่าวแล้ว แต่สังเกตไว้ด้วยว่ามีข้อความบางข้อ เช่นในข้อ ข. และ ค. ข้างบนนี้ ถ้าเราไม่ต้องการจะให้คำแปลกแก่ผู้อ่าน เราจะใช้เป็นเลขนอกก็ได้ คือไม่ใช้อัญประกาศคร่อม ทั้งนี้แล้วแต่ผู้แต่งจะเห็นเหมาะ

เลขในซ้อน  หมายถึงข้อความที่เป็นเลขในซ้อนกันหลายชั้น ที่จริงเรื่องความในภาษาไทยที่มีเลขในซ้อนกันโดยมากก็มีเพียง ๒ ชั้นเป็นพื้นถึงเครื่องหมายอัญประกาศก็มี ๒ ชั้นเช่นกัน แต่มีสำนวนบางเรื่องที่มีเลขในซับซ้อนกันมากกว่านี้ขึ้นไป ซึ่งโดยมากเป็นเรื่องที่แปลมาจากภาษาสันสกฤต เช่น หิโตประเทศ เป็นต้น จนไม่มีเครื่องหมายอัญประกาศจะใช้พอ ต้องใช้ตัวหนังสือให้ต่างกันบ้าง ใช้ขีดเส้นให้ต่างกันบ้าง แล้วแต่ความสะดวกของผู้แต่ง ดังจะผูกตัวอย่างไว้ให้เห็นเป็นที่น่าสังเกตดังนี้

เลขนอก  เมื่อสามีเห็นภรรยาพูดเหลวไหลเช่นนี้ จึงสอนว่า

เลขในชั้น ๑  “เจ้าไม่ควรพูดเหลวไหลเช่นนี้ จงจำคำพญาเต่าสอนบริวารว่าดังนี้

เลขในชั้น ๒  ‘นี่แน่พวกสูเจ้า ต้องระวังปาก เพราะปากทำให้พวกเราตกจากอากาศจนกระดูกออกนอกเนื้อ และสูเจ้าจงมีความเพียรอย่างที่เต่าพวกเราได้ทำมาจนกระต่ายกล่าวชมว่า-

เลขในชั้น ๓  ‘เต่าเอ๋ย ข้าขอชมความเพียรของเจ้าที่ชนะ การแข่งขันเดินทางไกลแก่ข้า”

เลขนอก  เมื่อภรรยาฟังนิยายยืดยาวมาได้เพียงนี้ จึงร้องขึ้นว่า-

เลขในชั้น ๑ “พอที พ่อทูนหัว ง่วงนอนเต็มทีแล้ว”

ตัวอย่างนี้ทำให้ดูเพียงเลขใน ๓ ชั้น ซึ่งอาจจะมี ๔-๕ ชั้นก็ได้เขามักทำเครื่องหมายให้แปลกกัน ดังกล่าวแล้วในเรื่องขีดเส้นใต้ น่าจะพ้องกับเครื่องหมายสัญประกาศของเรา และเรื่องย่อหน้าก็เปลืองหน้ากระดาษมาก ถ้าเราจำเป็นจะต้องใช้เลขในมากกว่า ๒ ชั้น  ก็ควรใช้ตัวหนังสือให้ต่างกันจะเหมาะกว่า เพราะตัวพิมพ์ก็มีหลายอย่างอยู่แล้ว เช่น เลขในชั้น ๑ ใช้อัญประกาศคู่ “….” ชั้น ๒ ใช้อัญประกาศเดี่ยว ‘….’ ชั้น ๓ ใช้อัญประกาศเดี่ยวกับตัวพิมพ์หนา (‘เต่าเอ๋ย’) และชั้น ๔ ใช้อัญประกาศเดี่ยวกับตัวพิมพ์จิ๋ว (‘ข้าพเจ้า…’) ดังนี้เป็นต้น

หมายเหตุ  ถ้าข้อความเลขในชั้น ๑ ชั้น ๒ หรือชั้นต่อๆ ไปจบลงในที่เดียวกัน ท่านใช้แต่อัญประกาสชั้น ๑ (”) รูปเดียวเท่านั้น ชั้น ๒ ชั้น ๓ ฯลฯ ไม่ต้องใช้ให้รุงรัง

ตัวอย่าง  สามีสอนภรรยาว่า “น้องจงจำคำพญาเต่าว่า ‘สูจงคิดเสียก่อนแล้วจึงพูด” ดังนี้ ไม่ต้องใช้ว่า …..จึงพูด’ ”

วิธีเปลี่ยนเลขในเป็นเลขนอก  ข้อนี้นับว่าเป็นข้อสำคัญส่วนหนึ่ง  ซึ่งรวมอยู่ในวิธี รวบรัดข้อความ  ซึ่งจะกล่าวต่อไป แต่ที่นี้จะกล่าวเฉพาะข้อเปลี่ยนเลขในเป็นเลขนอกเสียก่อน คือเรารู้อยู่แล้วว่าเลขในเป็นข้อความนอกเรื่อง เขาพูดว่ากระไรเราก็นำมาเขียนไว้ตามสำนวนของเขา ถ้าเอามาเปลี่ยนเป็นเลขนอก เราจะต้องแก้สำนวนเป็นเราพูดกับผู้อ่าน เช่นจะต้องแก้ สรรพนามที่เขาใช้พูดกันในเรื่องว่า ฉัน ผม หล่อน คุณ เธอ ฯลฯ มาเป็นบุรุษที่สาม (เขา ท่าน ฯลฯ) ให้สำนวนเข้ากันกับเลขนอกที่เราใช้มาข้างต้นเช่นตัวอย่าง

ข้อความที่มีเลขใน-ข้าพเจ้าได้ยินสามีพูดกับภรรยาว่า “พี่สงสารน้องมาก ที่ไม่มีคนใช้ ถ้ามีเงินพอจะจ้างคนใช้มาให้น้องสักคนหนึ่ง”

เปลี่ยนเป็นเลขนอกทั้งหมด-ข้าพเจ้าได้ยินสามีพูดกับภรรยาว่า เขาสงสารภรรยาเขามาก ที่ไม่มีคนใช้ ถ้าเขามีเงินพอเขาจะจ้างคนใช้มาให้เจ้าหล่อนสักคนหนึ่ง

และต้องแปลงใช้สำนวนสูงต่ำให้เข้ากันกับเลขนอกที่แต่งมาข้างต้นด้วย เช่นเลขนอกข้างต้นแต่งว่า-ข้าพเจ้าได้ยินผัวมันพูดกับเมียมันว่า “พี่สงสารน้องมาก ที่ไม่มีคนใช้ ถ้าพี่มีเงินพอจะจ้างคนใช้มาให้น้องสักคนหนึ่ง” ดังนี้เราจะต้องแปลงให้เหมาะสำนวนเลขนอกว่า-ข้าพเจ้าได้ยินผัวมันพูดกับเมียมันว่า มันสงสารเมียมันมากที่ไม่มีคนใช้ ถ้ามันมีเงินพอ มันจะจ้างคนใช้มาให้เมียมันสักคนหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น

อนึ่ง เรื่องราวที่มีเลขซับซ้อนดังตัวอย่างข้างบนนั้น เราจะเปลี่ยนเป็นสำนวนเลขนอกเสียทั้งหมดก็ได้ หรือเห็นว่าเข้าในตอนไหนดี จะเหลือตอนนั้นให้คงเป็นเลขในอยู่ตามเดิมบ้างก็ได้ ทั้งนี้ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้แต่ง ต่อไปนี้จะทำเป็นตัวอย่างไว้ให้ดูสัก ๒ แบบ ซึ่งแปลมาจากเลขในซ้อนข้างต้นนี้ แต่ต้องสังเกตเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย คือนอกจากเปลี่ยนสรรพนาม เช่น ฉัน ผม หล่อน คุณ เธอ ฯลฯ แล้ว แม้คำอาลปน์ที่เขาใช้พูดกันในระหว่างเขา เช่น ลูกเอ๋ย! เพื่อนเอ๋ย! เป็นต้น ก็ต้องทิ้งเสียด้วย เพราะเราไม่ได้ใช้สำนวนเช่นนั้นแก่ผู้อ่าน แต่จะต้องแสดงความหมายไว้ด้วย เช่น “เขาพูดว่า ลูกเอ๋ย” จะต้องเปลี่ยนว่า “เขาพูดด้วยความรัก” และ “เขาพูดว่า ‘ลูกระยำ” ก็เปลี่ยนว่า เขาพูดด้วยความโกรธ” และสำนวนอื่นๆ ก็ให้ดูเปรียบเทียบกันตามนัยนี้ จะได้รู้ว่าผิดแปลกกันอย่างไรบ้างดังนี้

ก. เปลี่ยนเป็นเลขนอกทั้งหมด
เมื่อสามีเห็นภรรยาพูดเหลวไหล จึงสอนภรรยาว่า เจ้าหล่อนไม่ควรพูดเหลวไหลเช่นนั้น และเขาให้ภรรยาจำคำของพญาเต่า ซึ่งสอนบริวารว่า พวกเต่าต้องระวังปาก เพราะปากทำให้เต่าพวกเดียวกันตกจากอากาศจนกระดูกออกนอกเนื้อ และพญาเต่าสอนให้พวกบริวารมีความเพียรอย่างที่เต่าพวกเดียวกันได้ทำมา จนกระต่ายมันกล่าวชมเป็นใจความว่า มันขอชมความเพียรของพวกเต่า ที่ได้ชนะการแข่งขันเดินทางไกลแก่มัน เมื่อภรรยาได้ฟังนิยายยืดยาวมาได้เพียงนั้น ก็ร้องอ้อนวอนโดยเคารพให้สามีหยุด โดยอ้างว่าหล่อนง่วงนอนเต็มทีแล้ว

ข. เปลี่ยนเป็นเลขนอกเฉพาะบางตอน (จากสำนวนเดิม)
เมื่อสามีเห็นภรรยาพูดเหลวไหล จึงสอนภรรยาว่า เจ้าหล่อนไม่ควรพูดเหลวไหลเช่นนั้น และเขาให้ภรรยาเขาจำคำพญาเต่า ซึ่งสอนบริวารว่า พวกเต่าต้องระวังปาก  เพราะปากทำให้เต่าพวกเดียวกันตกจากอากาศจนกระดูกออกนอกเนื้อ และพญาเต่าได้สอนต่อไปว่า “สูเจ้าจงมีความเพียรอย่างที่เต่าพวกเราได้ทำมา จนกระต่ายกล่าวชมว่า ‘เต่าเอ๋ย! ข้าขอชมความเพียงของเจ้า ที่เจ้าชนะการแข่งขันเดินทางไกลแก่ข้า”

ข้อสังเกต  ในเรื่องเปลี่ยนเป็นเลขนอกบ้าง เหลือไว้เป็นเลขในตามเดิมบ้าง มีข้อสำคัญอยู่ดังนี้ คือคำที่เขาพูดกันอย่างซาบซึ้ง หรืออย่างโกรธเกรี้ยว มักจะออกอุทานเป็นอาลปน์ “ที่รัก แก้วตาของพี่ ที่รักผู้มารดาที่สองของพี่” เมื่อเราแปลงมาเป็นเลขนอกโดยสำนวนของเรา โดยมากก็ต้องทิ้งหมด แล้วใช้สำนวนของเราว่า “สามีกล่าวอย่างอ่อนหวานว่า” ดังทำให้ดูในตัวอย่างข้างบนนี้ แต่ถ้อยคำหาซาบซึ้งให้รู้สูงต่ำเป็นชั้นๆ อย่างที่เขาพูดกันนั้นไม่ คือเมื่อเราเอามาแปลงเป็นเลขนอกเข้าความจับอกจับใจคลายไปหมด ดังนั้นคำเลขใน คำสำคัญจึงควรยกขึ้นมากล่าวคงที่ไว้ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจซาบซึ้งยิ่งขึ้น หรือขบขันยิ่งขึ้น หรือรู้สึกว่าเขาโกรธกันมากน้อยเท่าไรยิ่งขึ้น เช่นตัวอย่าง สามีกล่าวว่า “โอ้ที่รักผู้มารดาที่สองของพี่…” ดังนี้ เราจะแปลงเป็นเลขนอกก็ได้เพียงว่า “สามีกล่าวด้วยความรักและเคารพว่า…” ที่จริงความก็ถูกแต่หาดูดดื่มเท่ากันไม่  จึงต้องยอมให้เป็นเลขในอยู่อย่างเดิม หรือไม่ก็เอาคำพูดมาอ้างไว้ด้วยว่า “สามีกล่าวด้วยความรักและเคารพ โดยเรียกภรรยาว่า เป็นที่รักดังมารดาที่สองของเขา” ดังนี้ก็ได้แล้วแต่สะดวก นี่เป็นรสของภาษาอันสำคัญ ขอให้ผู้ศึกษาสังเกตไว้ด้วย

การแต่งเรื่อง  คือการเอาความรู้ ความคิดเห็น หรือความจำเรื่องราวต่างๆ มาปรับปรุงเรียบเรียงขึ้นเป็นเรื่องราวของตน โดยใช้ความรู้ทั่วๆ ไปยิ่งมีมากยิ่งดี และทั้งจะต้องใช้ศิลปะในเชิงเรียบเรียงนั้นเป็นเครื่องมืออันสำคัญด้วย ซึ่งนับว่าเป็นบทเรียนสำคัญของการเรียนภาษาชั้นสูงสุด ซึ่งจะต้องเรียนอีกแผนกหนึ่งต่างหาก  แต่ถึงกระนั้นก็จะต้องถือเอาหลักภาษาไทยเช่น ไวยากรณ์นี้เป็นบรรทัดฐานอันสำคัญอยู่ด้วยเหมือนกัน  เพราะฉะนั้นในที่นี้จึงต้องเลือกเอาความรู้ที่เห็นว่าเป็นหลักสำคัญในการเรียบเรียงภาษามากล่าวไว้ย่อๆ ในตอนท้ายตำราวากยสัมพันธ์นี้ด้วย ดังนี้

(๑) การแปลงสำนวน  หมายความว่าเอาสำนวนอย่างหนึ่งมาปรับปรุงให้เป็นสำนวนอย่างอื่น จำแนกออกได้ ดังนี้

ก. การแปลงสำนวนยากเป็นง่าย  ข้อนี้หมายถึงการถอดคำประพันธ์ต่างๆ ออกเป็นสำนวนร้อยแก้วสามัญง่ายๆ ซึ่งเป็นข้อสำคัญในการเรียนภาษาส่วนหนึ่ง ดังจะยกบางข้อมาอธิบายไว้ย่อๆ พอเป็นเค้า ดังนี้

คำประพันธ์นิยมใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องข้อบังคับต่างๆ โดยใช้คำเปรียบแทนเรียกชื่อบ้าง ใช้คำสร้อยประกอบชื่อให้ยืดยาวออกไปบ้างเป็นต้น จึงทำให้ถ้อยคำผิดเพี้ยนไปจากภาษาธรรมดา แต่เพิ่มความไพเราะจับจิตใจผู้ฟังมากมายกลายเป็นศิลปะอีกอย่างหนึ่งทีเดียว  ดังนั้นหน้าที่ของการถอดคำประพันธ์จึงต้องเลิกความเพราะพริ้งยืดยาวนั้นเสีย ถอดเอาแต่เนื้อความมาพูดเป็นภาษาง่ายๆ เท่านั้น ดังตัวอย่างในเวสสันดรชาดก เมื่อนางมัทรีรำพันถึงพระชาลีกัณหา ผู้เป็นบุตรและธิดาว่า โอ้! เจ้าดวงสุริยันจันทรทั้งคู่ของแม่เอ๋ย ดังนี้ถ้าจะถอดคำประพันธ์เราควรใคร่ครวญว่า ที่นางยกเอาลูกทั้งสองมาเปรียบกับดวงอาทิตย์ดวงจันทร์นั้น จะต้องเป็นลูกที่รักที่นับถือของนาง เราจึงใช้คำพูดง่ายๆ ในทำนองนี้ว่า โอ้! ลูกที่รักทั้งสองของแม่ ก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องถอดว่า โอ้! เจ้าคือดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ทั้งคู่ของแม่เอ๋ย  ซึ่งเป็นวิธีของการแปลภาษา ดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้า

อนึ่ง ชื่อคนในเรื่องคำประพันธ์ก็มักจะกล่าวเป็นคำเปรียบเทียบต่างๆ จะดีหรือชั่วตามแต่จะยกย่อง เช่นเรียกชูชกว่า เฒ่าชราลามกชาติ เรียก มัทรีว่า สมเด็จพระเยาวมาลย์มาศ เรียกพระเวสสันดรว่า พระบรมโพธิสัตว์ เป็นต้น เราควรใช้ชื่อตรงๆ ไม่แปลตามศัพท์ที่กล่าวแล้วถึงบางคำจะมีสร้อยพ่วงชื่อยืดยาว เช่น สมเด็จพระมัทรีศรีวิสุทธิกษัตริย์ มัททราชธิดา ดังนี้เป็นต้น ก็ควรใช้ว่า พระมัทรี เท่านั้น เพราะคำพ่วงเหล่านั้นไม่มีใจความ

ข. แปลงสำนวนง่ายเป็นยาก  ข้อนี้หมายถึงเอาคำร้อยแก้วไปแต่งเป็นคำประพันธ์อย่างหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวต่อไปในตำราไวยากรณ์ฉันทลักษณ์ และอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวไว้พอเป็นเค้าในที่นี้ ก็คือ การแปลงคำปากตลาดให้เป็นความเรียงอย่างสุภาพ ดังตัวอย่างย่อๆ ต่อไปนี้

คำสนทนากันที่เรียกว่าปากตลาด  มักเป็นคำโต้ตอบกันฉันสุภาพก็มี ฉันหยาบคายก็มี ถึงจะฟังง่ายก็จริง แต่เราจะต้องเรียงให้เป็นคำสุภาพ นอกจากเราจะทิ้งไว้ให้เป็นเรื่องขบขัน หรือฟังสำนวนของเขาอย่างเรื่องอ่านเล่นเท่านั้น และข้อความชนิดนี้ โดยมากจะต้องแปลงเป็นเลขนอก คือเป็นสำนวนของเรา แต่จะขอชี้แจงเพิ่มเติมไว้ในที่นี้อีกเล็กน้อย เพื่อเป็นเค้าของผู้ศึกษาต่อไป คือสำนวนที่เราแปลงมานั้น ยังจะต้องเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมแก่กาลเทศะหรือฐานะของผู้ฟังอีก  ดังตัวอย่างย่อๆ ว่า “นายสี ภารโรง หายไป ๒-๓ วัน ทางการให้เราไปสืบสวน เราไปที่บ้านนายสีพบตัวเขา และถามถึงเหตุที่เขาหายไป เขาพูดว่า “นายขอรับ ผมกลับจากทำงาน กลางคืนขี้ลงท้องหลายหน ผมนึกว่าอ้ายโรคอหิวาต์มันพาผมไปเมืองผีแล้ว แต่เคราะห์ดีเวลาเช้า แม่อีหนูมันไปซื้อยาหมออะไรมาให้กินก็ไม่รู้ กินเข้าไป ๒ ครั้งก็หาย เดี๋ยวนี้สบายดีขึ้นมากแล้ว อีก ๒ วัน ผมก็ไปทำงานได้” ดังนี้ เราจะต้องแปลงเป็นสำนวนเลขนอกตามทางราชการว่า “ข้าพเจ้าไปพบนายสี เขาชี้แจงว่า เขากลับจากทำงาน ในคืนนั้นเขาป่วยมีอาการท้องร่วงหลายหน เข้าใจว่าจะเป็นอหิวาตกโรคตายเสียแล้ว แต่ว่าเขาเคราะห์ดี คือเมื่อตอนเช้าภรรยาเขาไปซื้อยามาจากหมอผู้หนึ่ง เอามาให้เขารับประทาน ๒ ครั้ง อาการท้องร่วงก็หาย เดี๋ยวนี้เขาสายมากแล้ว อีก ๒ วันเขาจะมาทำงานได้” หรือจะกล่าวย่อๆ ว่า “ข้าพเจ้าไปพบนายสี เขาชี้แจงว่า คืนวันที่เขากลับจากทำงาน เขาป่วยมีอาการท้องร่วง ต่อรุ่งเช้าได้รับประทานยา จึงค่อยยังชั่ว เขาบอกว่าอีก ๒ วัน เขาจะมาทำงานได้” หรือจะย่อลงไปกว่านี้ว่า “นายสีบอกว่า เขาป่วยท้องร่วง บัดนี้ค่อยยังชั่วแล้ว อีก๒ วันจะมาทำงานได้” การย่อมากน้อยเท่าไรแล้วแต่ผู้แต่งจะเห็นควร

แต่เราจะใช้ต่อท่านผู้ใหญ่ไปจนถึงกราบถวายบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดิน เราก็ต้องปรับปรุงข้อความตามยศศักดิ์และใช้ถ้อยคำให้สุภาพ  ดังกล่าวไว้ในตำราวจีวิภาค ข้อที่ว่าด้วยราชาศัพท์ไทยโดยถี่ถ้วน ดังจะทำตัวอย่างกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินไว้ให้ดูในที่นี้อีก ดังนี้

“ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าไปพบนายสี เขาชี้แจงว่า เขากลับจากทำงาน ในเวลากลางคืน เขาป่วยมีอาการซึ่งไม่สมควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณา คือเขาท้องร่วงไปหลายครั้ง เขาเข้าใจว่าจะเป็นอหิวาตกโรคถึงแก่ชีวิตเสียแล้ว แต่เคราะห์ดี เมื่อตอนเช้าภรรยาเขาไปซื้อยามาจากหมอผู้หนึ่ง เมื่อเขาได้รับประทานเข้าไป ๒ ครั้ง อาการท้องร่วงนั้นก็หาย ด้วยพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม บัดนี้เขาค่อยสบายขึ้น เขากล่าวว่าอีก ๒ วันเขาจะมารับราชการสนองพระเดชพระคุณได้ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ” ดังนี้เป็นต้น แบบแผนที่ใช้นั้นอธิบายไว้ในวจีวิภาคนั้นแล้ว ควรสอบดูอีก

หมายเหตุ  นอกจากจะแปลงให้ได้แบบแผนดังกล่าวแล้ว เราจะต้องแปลงสำนวนให้อ่อนหวาน องอาจ หรือเด็ดขาดเป็นต้น ตามควรแก่รูปการที่เป็นไปอีกด้วย  ตัวอย่างสำนวนอันรุนแรงว่า “ข้าไม่ยอมให้เจ้าเป็นอันขาด” ดังนี้ ถ้าเราเป็นผู้นำไปกล่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่งในฐานะต้องการสุภาพแต่ให้ได้ใจความเท่ากัน ก็ต้องปรับปรุงสำนวนเสียใหม่ เช่น กล่าวเป็นเลขนอกคือสำนวนของตัวว่า “นายข้าพเจ้าท่านกล่าวด้วยความเสียใจว่า ท่านหาหนทางยินยอมให้แก่ท่านไม่ได้เลยทีเดียว” ดังนี้เป็นตัวอย่าง ให้ผู้ศึกษาจำไว้เป็นหลักสำคัญของตนทีเดียว

(๒) การแปล ข้อนี้มักจะหมายถึงการแปลต่างภาษา แต่แปลภาษาเดียวกันก็มีบ้าง เช่นการแปลศัพท์ ซึ่งเป็นวิธีของครูผู้สอนศัพท์และภาษาต่างๆ ไว้ฝึกหัดศิษย์เป็นพิเศษอยู่แล้ว ในที่นี้จะขอยกหลักกลางๆ มากล่าวพอเป็นคติทั่วไปเท่านั้น ดังนี้

การแปลมี ๒ อย่าง คือแปลตามรูปศัพท์ และแปลเอาความ แปลตามรูปศัพท์นั้น ได้แก่แปลตามรูปศัพท์เดิม เพราะศัพท์โดยมากประกอบขึ้นด้วยธาตุหรือคำมูล รวมแปลตามรูปเดิม ก็มีความหมายตรงไปตามเดิมไม่ได้ความแน่นอน จึงต้องแปลเอาความต่อไปอีกทางหนึ่ง ในการเรียนภาชั้นสูงจำเป็นต้องรู้ทั้ง ๒ ทาง เพื่อจะได้เข้าใจรากเหง้าของภาษานั้นๆ เช่นตัวอย่าง
silapa-0328 - Copy
ถึงภาษาอื่นๆ ก็มีเช่นนี้ จีนแต้จิ๋ว-จุ๋ยเกย (ไก่น้ำ) เอาความว่ากบ (สัตว์) อังกฤษว่า ฟาเทออินลอ (Father-in-law พ่อในกฎหมาย) เอาความว่าพ่อตาหรือพ่อผัว ดังนี้เป็นต้น เว้นไว้แต่ศัพท์ที่แปลกๆ เช่น นร (คน) นารี (นาง) เป็นต้น เหล่านี้ไม่ต้องค้นคว้าแปลศัพท์ ให้ฟั่นเฝือเกินควร นอกจากจะพิจารณาตามศัพท์นั้นๆ จริงจัง เพื่อการศึกษาชั้นสูงเท่านั้น ส่วนการแปลเรื่องราวต่างๆ นั้น ย่อมใช้แปลเอาความเป็นพื้น

อนึ่ง การแปลคำประพันธ์กับการถอดคำประพันธ์ที่กล่าวมาแล้วนั้น มีข้อแตกต่างกันควรจะสังเกตดังนี้ คือการแปลคำประพันธ์เป็นวิธีของครูที่จะฝึกหัดให้รอบรู้เชิงภาษา จึงควรแปลทุกคำที่มีอยู่ให้ได้ความติดต่อกัน แต่การถอดคำประพันธ์นั้น เป็นวิธีของล่ามผู้มุ่งจะให้เข้าใจเนื้อความตรงไปตรงมาเป็นข้อใหญ่ คำใดที่ใส่เข้ามาเพื่อให้เพราะพริ้งในเชิงประพันธ์ แต่ไม่มีใจความเลยก็ละทิ้งเสียได้ เพราะใส่เข้ามาก็ทำความฟั่นเฝือฟังยาก ดังจะผูกให้เห็นเป็นตัวอย่างต่อไปนี้

“เมื่อสมเด็จพระเยาวมาลย์ มาศมัทรีศริสุนทรนารีรัตน์ ได้ สดับ อรรถอันพระมหาบุรุษราชสามีตรัสบริภาษดังนี้”

การแปลคำประพันธ์- “เมื่อพระนางมัทรี ผู้เป็นดังดอกไม้ทองอันเยาว์ (เริ่มบาน) เป็นนางแก้วอันงามสง่า ได้ทรงฟังความที่พระราชาผัว (พระเวสสันดร) ผู้เป็นชายประเสริฐ ทรงกล่าวตัดพ้อดังนั้น”

การถอดคำประพันธ์- “เมื่อสมเด็จพระนางมัทรีได้ทรงฟังความที่พระเวสสันดรผู้พระราชสามีทรงกล่าวตัดพ้อดังนี้” ดังนี้เป็นตัวอย่าง

(๓) การแปลภาษาต่างประเทศ  ที่จริงข้อนี้ก็มีวิธีสอนเป็นพิเศษ สำหรับภาษานั้นๆ อีกแผนกหนึ่งอยู่แล้ว แต่ในที่นี้จะนำเอาหลักทั่วๆ ไปมาวางไว้ย่อๆ เฉพาะข้อความที่แปลเป็นภาษาไทย ดังนี้

ก. ควรใช้ศัพท์และสำนวนตามแบบภาไทยจริงๆ คือ ไม่ใช่ครึ่งๆ กลางๆ เช่นคำ ฟุต ซึ่งภาษาไทยใช้คำ ฟุต เป็นเอกพจน์คำเดียวไม่จำเป็นต้องใช้ ฟิต พหูพจน์ตามเขาไปด้วย เพราะตามหลักของภาษาไทยเรา เมื่อนำคำต่างประเทศมาใช้ย่อมใช้เฉพาะศัพท์เดิม เช่น-ราช, โยชน์ ฯลฯ หรือใช้ศัพท์ที่เป็นประธานเฉพาะเอกพจน์ เช่น-ราชา, บิดา, มัฆวาน ฯลฯ เท่านั้น หาได้ใช้ศัพท์พหูพจน์ของเขา เช่น ราชาโน ๒ องค์ ทาง ๒ โยชนานิ ดังนี้เป็นต้นด้วยไม่ นี่เป็นหลักควรสังเกตข้อหนึ่ง

อนึ่ง บางภาษาสำนวนไม่ลงรอยกัน เช่น ภาษาจีนกล่าวว่า สิบกว่าคนร้อยแปด (แป๊ะโป้ย ๑๘๐) เขาติดเงินฉัน (เขาเป็นลูกหนี้เงินฉัน) ฯลฯ ดังนี้เราควรใช้สำนวนไทยว่า สิบคนกว่า ร้อยแปดสิบ (๑๘๐) เขาเป็นหนี้ฉัน(เขาเป็นลูกหนี้เงินฉัน) ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น

อนึ่ง บางภาษาใช้สำนวนยืดยาว เช่นภาอังกฤษ เขานำฟืนไปบนบ่า สุนัขนำชิ้นเนื้อไปด้วยปาก ฯลฯ ดังนี้เราควรใช้ตามสำนวนไทยว่า เขาแบกฟืนไป สุนัขคาบชิ้นเนื้อไป ดังนี้เป็นต้น

ข. แปลให้ถูกกาลเทศะ  ข้อนี้เกี่ยวกับการแปลข้อความที่เขาใช้พูดกันตามเวลาและตามถิ่นฐานของเขา จึงเป็นการสำคัญที่เราจะแปลให้ผู้อ่านทราบเวลาและที่ทางตรงตามความเป็นจริง เช่นตัวอย่างจากหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสว่า หน้าหนาวเมืองเราปีนี้หนาวจัด ปรอทลงต่ำกว่าศูนย์ ๒๕ องศา ดังนี้ถ้าเราแปลไว้เพียงเท่านี้ ก็คงทำให้ผู้อ่านเข้าใจยาก จึงควรชี้แจงในวงเล็บด้วย หน้าหนาวเมืองเรา (ฝรั่งเศส) และ ๒๕ องศา (เซนติเกรดตามฝรั่งเศสใช้) ดังนี้เป็นต้น

หรือถ้าจะปรับปรุงเรื่องของเขาให้เป็นเรื่องของไทยเรา เช่นเราแปลงชื่อถิ่นฐานมาเป็นไทยก็จำเป็นเปลี่ยนกาลเทศะและลักษณะของคนมาเป็นไทยจนครบถ้วน เช่นของเขา ตาเป็นสีน้ำเงิน เราก็ต้องแปลงเป็น ตาหล่อนดำดังนิล ดังนี้เป็นต้น ทั้งนี้นำมากล่าวพอเป็นตัวอย่างเท่านั้น ครูควรฝึกหัดในทางนี้เป็นพิเศษอีกมาก

(๔) การจำกัดความและอธิบายความ  จำกัดความ หมายถึงการอธิบายศัพท์หรือข้อความ ให้อยู่ในความหมายที่ต้องการ มักใช้ในตำราต่างๆ มีกฎหมายเป็นต้น เพราะตามธรรมดาศัพท์ก็ดี ข้อความที่ใช้พูดกันก็ดี มักมีความหมายต่างๆ นานาไม่แน่นอน  จึงต้องอธิบายจำกัดความไว้ด้วย เพื่อให้เข้าใจความหมายแน่นอน เช่นตัวอย่างในศีลข้อที่ ๑ “ห้ามไม่ให้ฆ่า สัตว์” คำ สัตว์ ในที่นี้ท่านจำกัดความว่า มนุษย์และดิรัจฉานตลอดจนครรภ์หรือไข่ ซึ่งจะออกเป็นตัวมนุษย์หรือดิรัจฉานต่อไป แต่ในคำ “สัตว์ พาหนะ” คำสัตว์ ในที่นี้ต้องจำกัดความว่า สัตว์ดิรัจฉานที่ใช้ขับขี่ลากขนอยู่ตามปกติ เป็นต้น ซึ่งครูจะต้องหาวิธีฝึกสอนอีกแบบหนึ่ง

ส่วน อธิบายความ นั้น หมายถึงการอธิบายความหมายของศัพท์หรือข้อความออกไปจนสิ้นเชิง ซึ่งมักจะใช้ในการเรียงความ หรือตอบคำถาม เช่นตัวอย่างอธิบายคำ สัตว์ ก็ต้องใช้ความรู้ของตนยิ่งมากยิ่งดีเช่น อธิบายรูปศัพท์ ออกจาก “สตฺ” (มี, เป็น) +“ตฺว” ปัจจัย=สัตว์ แปลว่า ผู้มีอยู่ ผู้เป็นอยู่ แปลเอาความว่า สิ่งมีชีวิตที่มีวิญญาณครอง ได้แก่สัตว์ดิรัจฉาน มนุษย์ อมนุษย์ คือ ภูตผี เช่น สัตว์นรก เปรต เทวดา ฯลฯ แล้วแต่ประเพณีนิยม ในวรรณคดีของเรา หรือตอบคำถามในกฎหมายว่า การฆ่าคนมีโทษอย่างไร ? เช่นนี้ก็จะต้องอธิบายถึงการฆ่าคนว่า อย่างไรผิดกฎหมาย อย่างไรไม่ผิด อย่างไรโทษน้อย อย่างไรโทษมาก ฯลฯ ตามที่กฎหมายกล่าวไว้ ตามความรู้ของตน มีข้อสำคัญอยู่ที่ต้องมีความรู้เพียงพอและต้องใช้ศิลป์ คือให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย และพอใจ ฟังเช่นต้องใช้คำให้เหมาะ และตั้งข้อให้ได้ลำดับไม่ก้าวก่ายกัน ไม่มากน้อยกว่ากันจนเกินควร และให้เหมาะแก่กาลเทศะดังกล่าวมาแล้วด้วย ซึ่งครูจะต้องรวบรวมสอนในการแต่งเรื่องเป็นตำราแผนกหนึ่งดังกล่าวแล้ว

การย่อเรื่อง ที่จริงการย่อเรื่องนี้ ก็มีแบบแผนที่ครูใช้สอนอยู่แล้วอย่างแต่งเรื่องเหมือนกัน ดังนั้นในที่นี้จึงไม่กล่าวเรื่องแบบแผนให้พิสดารอีก แต่จะขอนำเอาวิธีย่อสำนวนบางอย่างมากล่าวไว้พอเป็นหลักย่อๆ เล็กน้อยเท่านั้น

ข้อสำคัญในการย่อเรื่อง ก็คือเอาเรื่องราวมากๆ มาแต่งเสียใหม่ให้สั้นกว่าของเดิม ยิ่งให้น้อยเท่าใดยิ่งดี แต่ต้องพยายามบรรจุเนื้อความให้ได้มากเท่าใด ก็ยิ่งดีดุจกัน การย่อนี้ไม่มีขอบเขตว่าย่อลงไปเท่าไรจึงจะเหมาะ เพราะเรื่องบางเรื่องมีพลความมากก็ย่อลงไปได้มาก แต่บางเรื่องมีใจความมาก เช่นเรื่องที่เขาย่อมาเสียครั้งหนึ่งแล้ว หรือเรื่องที่ผู้แต่งคิดเอาแต่ใจความมาแต่งไว้ เรื่องเช่นนี้ย่อมาก ถ้าย่อให้เหลือน้อยก็จะทิ้งใจความเดิมเสียบ้าง ซึ่งแล้วแต่ความคิดของผู้ย่อจะเห็นข้อไหนไม่สำคัญนัก ทั้งนี้ผู้ออกข้อสอบมักจะตรวจเรื่องเสียก่อน ว่าควรจะย่อลงไปได้เท่าไร แล้วจึงกะให้ย่อได้ ๑ ใน ๒, ๑ ใน ๓ หรือ ๑ ใน ๔ ของเรื่องเดิม ตามแต่จะเห็นควร เว้นแต่ย่อบางอย่าง เช่น ย่อบันทึกหรือย่อกระทงแถลงของศาล หรือย่อเพื่อเก็บเอาข้อความของเรื่อง มาตั้งชื่อเรื่อง หรือจ่าหน้าเรื่อง เหล่านี้มีหลักเกณฑ์ไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งปรากฏอยู่ในแบบแผนของวิธีย่อความแล้ว จึงไม่กล่าวถึง

ข้อที่จะกล่าวเพิ่มเติมวิธีย่อต่อไปนี้ ก็คือต้องการให้ใช้ความรู้ในการแต่งเรื่องราวที่กล่าวมาแล้วข้างบนนี้ นำมาประกอบในการรวบรัดสำนวนให้สั้นเข้าอีกด้วย ไม่ใช่เพียงแต่คัดเอาพลความออก แล้วเอาใจความที่เหลืออยู่มาปรุงเข้าเป็นสำนวนย่อเท่านั้น ดังจะยกตัวอย่างมาไว้พอเป็นหลักต่อไปนี้

ก. จากการแปลภาษาอื่น ซึ่งต้องใช้คำยืดยาว เช่น เขานำฟืนไปบนบ่า สุนัขนำชิ้นเนื้อไปด้วยปากของมัน เช่นนี้ ควรใช้ภาษาไทยเราให้สั้นเข้าได้และถูกต้องดีด้วยว่า เขาแบกฟืนไป สุนัขคาบชิ้นเนื้อไป ดังนี้เป็นต้น

ข. มีสำนวนบางแห่ง  กล่าวยืดยาวและซ้ำซาก ซึ่งควรจะหาคำอื่นมาให้ได้ความเท่ากัน และรัดกุมดีด้วยเช่น
“ข้าพเจ้า ขอถือพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ ว่าเป็นที่ระลึกตลอดชีวิต ข้าพเจ้า ขอถือพระธรรมเจ้า อันประเสริฐ ว่าเป็นที่ระลึกตลอดชีวิต ข้าพเจ้าขอถือพระสงฆ์เจ้า ผู้ประเสริฐ ว่าเป็นที่ระลึกตลอดชีวิต” การย่อเพียงตัดพลความออกเสียว่า “ข้าพเจ้าขอถือพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า ว่าเป็นที่ระลึกตลอดชีวิต” ดังนี้ก็ใช้ได้ เมื่อหาคำใช้ให้รวบรัดกว่านี้ไม่ได้ แต่ข้อความนี้ยังหาใช้คำให้สั้นได้อีก คือ “ข้าพเจ้าขอถือ พระรัตนตรัย ว่าเป็นที่ระลึกตลอดชีวิต” ดังนี้เป็นต้น

ค. เรื่องราวปากตลาดที่พูดกันยืดยาว เราต้องหาถ้อยคำบันทึกเสียใหม่ให้เป็นข้อความรัดกุมและสุภาพ เช่น

ตัวอย่างที่ ๑  
นายดำ “เฮ้ย! แดง ผู้หญิงไทยเดี๋ยวนี้ต่างเห่อทาปากแดงกันใหญ่แล้ว ไม่ดีเลย”

นายแดง “ทำไมจะไม่ดี หญิงไทยโบราณก็กินหมากปากแดงเหมือนกันทั้งนั้น”

นายดำ “ทะลึ่ง ขัดคอบ้าๆ เดี๋ยวตบหน้าให้นี่”

นายแดง “เอ็งน่ะซี ทะลึ่ง พูดบ้าๆ ดีว่าไม่ดี”
นายดำโกรธจัดตรงเข้าตบหน้านายแดง และนายแดงก็ต่อยตอบเลยเกิดชกต่อยกันขึ้น

ตัวอย่างย่อ “นายดำกับนายแดงเถียงกันด้วยเรื่องหญิงไททาปากแดงดีหรือไม่ดี จนถึงชกต่อยกัน”

ตัวอย่างที่ ๒  
แม่สอนลูกว่า “นางหนู! เจ้าอย่าพูดพล่อยๆ เช่นนั้นซี”

ลูกสาว “ก็แม่ชอบพูดสบถพล่อยๆ เหมือนกัน”

แม่ “เจ้าจะเลวใหญ่แล้ว พูดคำหนึ่งก็สบถคำหนึ่งเสมอไปทีเดียว ให้ตายซี”

ลูกสาว “แม่ก็พูดคำหนึ่งสบถคำหนึ่งเหมือนกัน เดี๋ยวนี้ยังสบถอยู่เลย ให้ตายซี ไม่ต้องพูดว่าฉันหรอก”
แม่โกรธจัดจึงฉวยไม้เรียวตีลูกสาว

ตัวอย่างย่อ
“แม่สอนลูกสาวไม่ให้พูดคำหนึ่งสบถคำหนึ่ง แม่พูดทีไรลูกสาวก็พูดย้อนให้ทุกที แม่โกรธจึงฉวยไม้เรียวตีเอา”

ข้อสังเกต  ใจความของตัวอย่างที่ ๑ คือ ผล-นายดำกับนายแดงชกต่อยกัน เหตุ-มียืดยาวใจความว่า นายดำว่าหญิงไทยทาปากแดงไม่ดี นายแดงว่า ทาปากแดงดี เราจะย่อเพียงนี้ก็ได้ แต่ยังเปลี่ยนสำนวนให้รัดกุมเข้าอีก โดยใช้คำพูดเสียใหม่ว่า “เถียงกันด้วยเรื่องหญิงไทยทาปากแดงดีหรือไม่ดี” และในตัวอย่างที่ ๒ นั้น ผลคือ-แม่ตีลูกสาว แต่เหตุมียืดยาวเหมือนกัน จึงต้องหาคำแทนใหม่ โดยรวมความที่ลูกสาวกล่าวตอบแม่ทั้งหมดเป็นใจความย่อๆ ว่า “พูดย้อนให้” แม่ ใช้คำนี้ก็ได้ความพอกับผลแล้ว แต่ถ้าลูกสาวตอบเป็นอย่างอื่น ซึ่งทำให้แม่โกรธเหมือนกัน เช่นตอบว่า “ถูกจ้ะ! ลูกมันระยำ แต่แม่ดี๊ดีเหมือนเทวดา” เช่นนี้หาใช่พูดย้อนไม่ ต้องใช้ว่าลูกสา “พูดแดกให้” และยังมีอีกมากมาย ตัวอย่างที่นำมานี้พอให้ยึดเป็นหลักเท่านั้น

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

เครื่องหมายประกอบในการเรียงความ

เครื่องหมายวรรคตอนโบราณ  ในการเรียบเรียงภาษาเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น จะต้องมีเครื่องหมายต่างๆ ประกอบด้วย เพื่อจะให้อ่านได้ถูกต้องตามต้องการ ดังนั้นเครื่องหมายวรรคตอนจึงนับว่าเป็นข้อสำคัญส่วนหนึ่งในการเรียงข้อความ ซึ่งผู้ศึกษาภาไทยควรรู้ ดังนั้นจึงนำเอาเครื่องหมายวรรคตอนโบราณมากล่าวก่อนดังนี้

หนังสือโบราณของไทยเรามี ๒ อย่าง คือ เป็นใบลานซึ่งจารึกพระธรรมหรือตำราบางอย่างที่นับถืออย่างหนึ่ง และเป็นสมุดไทยหรือกระดาษเพลา๑ ซึ่งใช้เขียนเรื่องราว เช่น กฎหมายตลอดไปจนเรื่องราวต่างๆ ของชาวเมืองอีกอย่างหนึ่ง จึงทำให้ใช้เครื่องหมายวรรคตอนแตกต่างกันไปบ้าง แล้วแต่สะดวกในการเขียน ดังนี้

ก. หนังสือใบลาน  ใช้เครื่องหมายวรรคตอน ๓ อย่าง คือ (๑) เว้นวรรค คือ เมื่อหมดความตอนหนึ่งๆ แต่ยังไม่จบประโยค ก็ใช้เว้นวรรคเป็นระยะไป (๒) เมื่อหมดประโยคหนึ่งก็ใช้เครื่องหมาย ขั้นเดี่ยว ดังนี้ ฯ๒ เรื่อยไป (๓) เมื่อจบเรื่องความใหญ่ก็ใช้ขั้นคู่ ดังนี้ ๚ เป็นต้น

ข. หนังสือสมุดไทยหรือกระดาษเพลา  นิยมใช้เครื่องหมาย ฟองมัน รูปดังนี้ ๏๓ ขึ้นต้นบทย่อย อย่างเดียวกับขั้นเดี่ยวในใบลานและใช้ ฟองมัน ฟันหนู ดังนี้ ๏” ขึ้นต้นข้อใหญ่ และเมื่อจบข้อใหญ่ ก็ใช้ขั้นคู่ ๚ แล้วขึ้น ๏” ต่อไปใหม่ และเมื่อจบตอนใหญ่กว่านั้นก็ใช้ดังนี้ ๚ และเมื่อจบเรื่องทีเดียวก็ใช้เครื่องหมายโคมูตร (เยี่ยวโค) เติมท้ายดังนี้ ๚ะ ๛ ส่วนการเว้นวรรคในระหว่างก็ใช้เช่นเดียวกัน ข้อสำคัญ คือ เว้นวรรคให้เหมาะกับการกลั้นหายใจของผู้อ่าน
………………………………………………………………………………………….
๑ กระดาษเพลา คือกระดาษโบราณที่ไทยทำขึ้นใช้เอง โดยมากทำด้วยเปลือกข่อย ดังนั้นบางทีก็เรียก กระดาษข่อย และสมุดไทยที่ทำด้วยกระดาษนี้ บางทีก็เรียกว่า สมุดข่อย

๒ เครื่องหมายนี้ครูสอนให้เรียก อังคั่น (จะเป็น องคันต์ ว่า สุดตอน กระมัง) ท่านตายเสียนานแล้ว สืบก็ไม่ได้ความ จึงใช้เพียง ขั้น ตามภาษาไทย

๓ ๏ ฟองมัน เขมรว่า ฟองมัน-ไข่ไก่ และฟองมันฟันหนู ๏” เรียกตามมูลบทแต่ในประถมมาลาท่านเรียกเครื่องหมายที่อยู่บนฟองมันว่า ฝนทอง เช่น “ฟองมันอยู่ต้น ฝนทองอยู่บน อนุสนธิ์สารศรี” แต่ ฝนทอง เป็นเครื่องหมายเขียนขีดเดียว (l) ที่กล่าวมานี้ท่านจะใช้ขีดเดียวเป็น ๏ กระมัง แต่ก็ไม่เคยเห็น ควรใช้ตามที่ใช้กันมากคือ ๏”
………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุ  เครื่องหมายขั้น ในสันสกฤตเขาใช้เขียนท้ายประโยคเป็นรูปขีดลงดังนี้ l แต่เขาใช้เขียนข้างหน้าก็มี เช่น l นมตฺถุ l เฉพาะขึ้นต้น ต่อไปก็ใช้คล้ายคลึงกับของเรา  เมื่อจบข้อความจึงจะใช้ขั้นคู่ แต่ของเขาใช้ในคำประพันธ์ คือกึ่งโศลกหรือคาถาใช้ขั้นเดี่ยว l เมื่อจบโศลกใช้ขั้นคู่ดังนี้ l l เป็นพื้นส่วนคำประพันธ์ที่ใช้ในสมุดไทยของเราใช้อย่างข้อ ข. ที่กล่าวแล้ว แต่ถ้าใช้กำหนดบรรทัดด้วย เช่น โคลงสี่ใช้บาทละบรรทัด ๔ บรรทัดจบบทหนึ่ง ดังนี้ เราใช้ฟองมันขึ้นต้น แล้วใช้ขั้นเดี่ยวลงท้าย เมื่อจบโคลงบทหนึ่งๆ ต่อจบโคลง ๔ ทั้งหมดจึงใช้ขั้นคู่ ๚ หรือจะแถมวิสรรชนีย์ ๚ะ ด้วยก็ได้เมื่อจบข้อความสำคัญยิ่งขึ้นไป และเมื่อจบเรื่องก็ใช้โคมูตรแถมท้าย ๚ะ ๛ ดังกล่าวแล้ว

หรือจะใช้ขึ้นต้นด้วยย่อหน้า และเมื่อจบใช้มหัพภาค . ตามเครื่องหมายแบบใหม่ซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ก็ได้

เครื่องหมายวรรคตอนปัจจุบัน  เครื่องหมายวรรคตอนแบบใหม่นี้ ตั้งขึ้นตามแบบภาษาอังกฤษ ซึ่งเขาใช้ตัวอักษรโรมัน เขียนหมดคำหนึ่งก็เว้นวรรคทีหนึ่ง เขาจึงจำเป็นต้องมีเครื่องหมายจุกจิกมาก ตามที่ท่านตั้งชื่อไว้ในตำราเครื่องหมายวรรคตอนของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
silapa-0309
ที่คัดมาทั้งหมดนี้ ต้องการให้รู้จักชื่อที่ใช้กันในภาษาไทยเป็นข้อใหญ่ ที่จริงเครื่องหมายเหล่านี้หาได้ใช้หนังสือไทยทุกอย่างไม่ เพราะหนังสือไทยเราไม่ได้เขียนเว้นระยะคำอย่างเขา ดังนั้นเราจึงเลือกใช้แต่เฉพาะบางอย่าง ซึ่งเหมาะแก่การเขียนของเรา  ดังจะคัดมาอธิบายเฉพาะที่เราจำเป็นจะต้องใช้ให้ทราบย่อๆ ดังต่อไปนี้

(ถ้าต้องการทราบพิสดาร จงดูในตำราเครื่องหมายวรรคตอนของกระทรวงศึกษาธิการต่อไป)

(๑) จุลภาค (,) บอกเว้นวรรคตอนในประโยคเดียวกัน ตรงกับการใช้เว้นวรรคของเรา  ดังนั้นเราจึงใช้เว้นวรรคของเราแทนอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นใช้ทั่วไป ควรใช้เฉพาะแต่เว้นวรรคที่ปลายบรรทัดเท่านั้น เพื่อให้ผู้อ่านทราบแน่นอนว่าเว้นวรรคตรงนั้น ถึงจะใช้ในที่เว้นวรรคทุกแห่งก็ได้ แล้วแต่ชอบ

(๒) อัฒภาค (;) ใช้ในประโยคซ้อนที่ข้อความมีประโยคแต่งหลายประโยคซับซ้อนกันยืดยาว หรือใช้แยกประโยคเปรียบเทียบออกจากกันให้เห็นชัด แต่ก็ใช้ในที่จบประโยค มหัพภาคจึงไม่ใคร่ใช้ (เครื่องหมายนี้ท่านบอกวิธีใช้ไว้ด้วยเหมือนกัน แต่ไม่เห็นมีใครใช้จึงไม่อธิบาย)

(๓) มหัพภาค (.) ก. ใช้บอกจบประโยค ซึ่งโบราณใช้ขั้นเดี่ยวจะนำมาใช้ในปัจจุบันนี้ก็ได้ เพราะยังมีผู้ใช้อยู่บ้างเหมือนกันแต่ใช้น้อย มหัพภาคนี้ท่านให้ใช้เว้นวรรคแทนก็ได้ แต่ต้องให้ห่างกว่าจุลภาค คะเนว่าจุลภาคเว้น ๒ ชั่วตัวอักษร มหัพภาคต้องเว้น ๖ ชั่วตัวอักษร แต่เป็นการคะเนลำบาก ใช้เครื่องหมายดีกว่า

ข. ในบทประพันธ์ ใช้ขึ้นต้นด้วยการย่อหน้าบรรทัด ที่เรียกว่า มหรรถสัญญา แทนฟองมันของโบราณ และใช้มหัพภาคในท้ายบทประพันธ์ แทนขั้นของโบราณเป็นคู่กันทุกบทไป ไม่จำเป็นจะต้องให้จบประโยคอย่างคำร้อยแก้ว ดังข้อ ก.ข้างบน

ค. ใช้กำกับอักษรย่อ เช่น พ.ศ. จาก พุทธศักราช พ.ร.บ. จาก พระราชบัญญัติ เป็นต้น หรือใช้กับส่วนต้นของคำ ซึ่งย่อส่วนเบื้องปลายไว้ เช่น ย่อชื่อเดือนว่า เม.ย., พ.ค., มิ,ย., ก.ค., ส.ค., ก.ย., ต.ค., พ.ย., ธ.ค., ม.ค., ก.พ., มี.ค., เป็นต้น

ข้อสังเกต  การย่อคำเป็นตัวอักษรนั้น ควรเอาพยัญชนะต้นของคำ หรือวลี มาย่อทุกแห่งไป เช่น มหันตโทษ ควรย่อเป็น ม.ท. (ม. จากมหันต. ท. จากโทษ. ไม่ใช่ ม.ห.) แต่คำที่เป็นสระเข้าสนธิกัน เช่น ชิโนรส (ชิน+โอรส) ควรย่อเป็น ช.’ ร. เครื่องหมายหน้า ( ’ ) แสดงว่าพยางค์หน้าหายไปในคำต้น. ถึงจะย่อว่า ช.อ. ก็ถูกเหมือนกัน แต่คิดค้นยาก สู้ย่อว่าดังนี้ไม่ได้ ค้นง่าย และ บุปฝาราม (บุปผ-อาราม) = บ.’ ร. มหรรณพาราม (มหา+อรรณพาราม)=ม.’ ณ. เป็นต้น

(๔) ปรัศนี (?) เครื่องหมายนี้ ถึงโบราณไม่มีก็จริง แต่บัดนี้เรานิยมใช้แพร่หลายแล้ว จึงจำเป็นต้องใช้ แต่ต้องใช้เฉพาะคำถามเท่านั้น ถึงจะเป็นบทเช่นเดียวกันก็ตาม ถ้าไม่ใช่คำถามก็ไม่ต้องใช้ปรัศนี ดังตัวอย่างต่อไปนี้
silapa-0311 - Copy
และยังมีบทคำถามอีกมาก รวมความว่า ไม้ปรัศนี ต้องใช้ที่สุดประโยคคำถามทุกแห่ง

(๕) อัศเจรีย์ (!) แปลว่าเครื่องหมายบอกความมหัศจรรย์ ใช้ใส่เบื้องหลังคำอุทานที่คนพูดขึ้น เป็นการแสดงอาการต่างๆ เช่น ประหลาดใจ เป็นต้น เช่น โอ! เอ๊ะ! พุทโธ! อนิจจา! เป็นต้น หรือคำอื่นๆ ก็ดี วลีก็ดี และประโยคก็ดี ที่ผู้พูดกล่าวขึ้นด้วยลักษณะอาการคล้ายคำอุทานข้างบนนี้ ก็ใช้ไม้อัศเจรีย์ได้ เช่น ตัวอย่างกล่าวด้วยความตกใจว่า

ไฟ! เสือ! หรือ ตายจริง! แล้วกันท่าน! หรือ ช่วยด้วยเจ้าข้า! เสือมาเจ้าข้า! ไฟไหม้เจ้าข้า! ดังนี้เป็นต้น

ข้อสังเกต  ความมุ่งหมายในการใช้ไม้อัศเจรีย์ ก็ต้องการจะให้ผู้อ่านทำเสียงให้ถูกสำเนียงของคนที่กล่าวขึ้นด้วยความประหลาดใจ หรือตกใจเป็นต้น ซึ่งไม่สามารถจะเขียนให้ถูกต้องด้วยตัวหนังสือได้ จึงใช้เครื่องหมายไม้อัศเจรีย์บอกไว้ข้างท้าย เพื่อให้ผู้อ่านทำเสียงเอาเองให้ถูกกับสำเนียงที่เป็นจริง  ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้อ่านจะต้องอ่านให้ถูกต้องด้วย  ดังได้อธิบายไว้ในอักขรวิธีแล้ว

(๖) นขลิขิต (….) คือเครื่องหมายวงเล็บ ใช้คร่อมข้อความที่ผู้เขียนไม่ต้องการให้อ่านติดต่อกับข้อความนอกวงเล็บ คล้ายกับเป็นคำอธิบายนอกเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านผู้ฟังเข้าใจเป็นส่วนพิเศษ  ซึ่งหมายความว่าท้องเรื่องที่แต่งนั้นไม่ควรมีแต่ต้องการให้ผู้อ่านรู้เรื่องภายนอก จึงเขียนบอกไว้ในวงเล็บเป็นส่วนตัว เช่นตัวอย่าง “ครั้นข้าพเจ้าให้อัฐแก่คนแจวเรือจ้างสองไพ (ครั้งนั้นยังใช้อัฐคือ ๒ ไพเท่ากับ ๔ อัฐ เป็นราคา ๖ สตางค์) แล้วก็ขึ้นบก” ดังนี้ ข้อความในวงเล็บไม่ต้องอ่าน

ข้อสังเกต  ข้อความที่ต้องกรอกไว้ในวงเล็บนั้น ต้องเป็นข้อความที่เห็นว่าใช้ติดต่อกับท้องเรื่องไม่ได้จริงๆ เช่นตัวอย่างฉบับเดิมเขาไม่มี เราใส่ไว้ในวงเล็บเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ หรือท้องเรื่องของเขาย่อๆ แต่จำเป็นต้องอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจ ครั้นจะเรียงติดต่อกับท้องเรื่องก็เสียสำนวนของเขา เราจึงเติมไว้ให้ในวงเล็บ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความอธิบายดังนี้เป็นต้น  จึงควรใช้วงเล็บ ถ้าเป็นเรื่องราวที่เราเรียงเอาเองแล้วไม่ควรให้มีวงเล็บดีกว่า  นอกจากเห็นว่าจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

(๗) อัญประกาศ “….” สำหรับใช้คร่อมข้อความที่เป็นเลขใน ที่ใช้กันโดยมากมีเป็น ๒ ชั้น คือข้อความเป็นเลขในชั้นเดียว ก็ใช้อัญประกาศคู่ดังนี้ “….” เรียกว่า อัญประกาศชั้นนอก แต่ข้อความในอัญประกาศชั้นนอกนั้นมีเลขในซ้อนอยู่อีก ก็ใช้อัญประกาศเดี่ยว ดังนี้ ‘….’ เรียกว่า อัญประกาศใน

(๘) ยัตติภังค์ (-) คือเครื่องหมายแยกคำให้ห่างกัน สำหรับใช้ขีดท้ายส่วนต้นของคำ  ซึ่งจำเป็นจะต้องแยกกัน  แสดงว่ายังมีส่วนปลายคำอยู่อีก ตัวอย่างเช่นคำ เรื่องราม-เกียรติ์  เมื่อเขียนได้เพียง เรื่องราม ก็หมดบรรทัด แต่ยังไม่หมดคำจึงใช้ ยัตติภังค์ ขีดไว้ดังนี้ “เรื่องราม-” ซึ่งหมายความว่ายังไม่หมดคำ ต้องอ่านติดกันไปอีกในบรรทัดต่อไป  และอีกอย่างหนึ่งใช้ในคำประพันธ์ ซึ่งเขียนจบวรรคแล้วแต่คำยังไม่หมด จึงต้องเขียนยัตติภังค์ เพื่อแสดงว่ายังไม่หมดคำ เช่นเดียวกับคำสุดบรรทัด ดังตัวอย่างกลบทที่เรียกว่า ยัตติภังค์ ต่อไปนี้

“รื่นรื่นรวยรินหอมกลิ่นเสา- วคนธ์รสรสประทิ่นเหมือนกลิ่นเยาว- ยุพาพี่พี่นี้เฝ้ากระสันรัญ- จวนใจใจจงจำนงพิศ- วงหวังหวังคิด….ฯลฯ”

(๙) ยมก (ๆ) คำ ยมก แปลว่าคู่ หมายความว่าให้อ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่ง คือ
ก. ซ้ำคำ-เงาะมักชอบสีแดงๆ อ่าน-สีแดงแดง
ข. ซ้ำวลี-เขามาที่นี่ทุกวันๆ อ่าน-ที่นี่ทุกวันทุกวัน
ค. ซ้ำประโยค-ต่างร้องว่าม้าดำชนะๆ อ่านว่า-ม้าดำชนะ ม้าดำชนะ เป็นต้น

ข้อสังเกต  การที่จะรู้ว่าจะต้องอ่านซ้ำคำซ้ำวลีหรือซ้ำประโยคนั้น ต้องอาศัยถ้อยคำที่เขาเคยพูดกันมาเป็นที่สังเกต เช่นตัวอย่างทั้ง ๓ ข้อข้างบนนี้ ถ้าเราอ่านซ้ำผิด เช่นซ้ำมากไปหรือน้อยไป ก็จะต้องขัดหูรู้ได้ว่า อ่านผิด ในส่วนการใช้ไม้ยมกนั้น ก็ต้องยึดเอาถ้อยคำอย่างข้างต้นนี้เป็นหลักเช่นกัน คือท่านห้ามไม่ให้ใช้ก้าวก่ายกันคนละบท หรือคนละความ เช่น

“เขาเคยมาทุกวัน วันนี้ไม่มา” ไม่ให้ใช้ว่า “เขาเคยมาทุกวันๆ นี้ไม่มา” เพราะเป็นคนละบท คือบทต้นเป็น วลี-ทุกวัน บทหลังเป็น คำ-วัน ถ้าใช้เข้าต้องอ่านว่า “เขาเคยมาทุกวัน ทุกวันนี้ไม่มา” ซึ่งผิดความหมายด้วย และเป็นคนละประโยคด้วย หรือ “ฉันไปสวน มิสกวัน วันนี้ ไม่ให้ใช้- “ฉันไปสวนมิสกวันๆ นี้” เพราะ มิสกวัน เป็นความหนึ่ง และ วัน เป็นอีกความหนึ่ง แต่ถ้าคำซ้ำที่มีความหมายอย่างเดียวกัน อยู่ในประโยคใหญ่ประโยคเดียวกัน ถึงจะอยู่ในประโยคเล็กต่างกัน ท่านก็ยอมให้ใช้ได้ เช่น “เขาภักดีต่อเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาจักรีจึงเลี้ยงเขาไว้” ดังนี้ยอมให้ใช้ว่า “เขาภักดีต่อเจ้าพระยาจักรีๆ จึงเลี้ยงเขาไว้” เพื่อสงวนกระดาษและเวลา

(๑๐) ไปยาลน้อย (ฯ) ใช้ละคำที่รู้จักกันทั่วไปแล้ว โดยใช้เครื่องหมายขั้นติดไว้ข้างท้าย  แต่ไม่เขียนไว้กลางอย่างเครื่องหมายขั้นโบราณ เช่นตัวอย่าง
กรุงเทพมหานคร                 ใช้ว่า กรุงเทพฯ
พระราชวังบวรสถานมงคล    ใช้ว่า พระราชวังบวรฯ
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม     ใช้ว่า  โปรดเกล้าฯ

ยังมีอีกมาก บางแห่งละได้หลายทางแล้วแต่ผู้อ่านจะคิดอ่านเอาเองเช่น
ข้าฯ ถ้าพูดกับคนทั่วไป ก็ละจาก ข้าพเจ้า ถ้าทูลเจ้านาย ละจาก ข้าพระพุทธเจ้า

เกล้าฯ ถ้าอยู่ต้นบทเป็นสรรพนาม และพูดกับขุนนางผู้ใหญ่ ก็ละจาก เกล้าผม เกล้ากระผม ถ้าทูลเจ้านายก็ละจาก เกล้ากระหม่อม ถ้าอยู่ท้ายบทใช้ละคำต้นบท กับ กระหม่อม เช่น “เหนือเกล้าฯ ล้นเกล้าฯ น้อมเกล้าฯ ละจาก “เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ล้นเกล้าล้นกระหม่อม น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม” เป็นต้น

ข้อสังเกต  บทที่ใช้ไปยาลน้อย ต้องอ่านให้ครบทั้งนั้น จะอ่านเพียงที่ละไว้ไม่ถูก ถ้าจะให้อ่านเพียงที่เขียนไว้ เช่น โปรดเกล้า กรุงเทพ สำหรับคำประพันธ์ก็ดี ใช้ในความอื่น เช่น พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ดี ห้ามไม่ให้ใส่เครื่องหมายไปยาลน้อยลงไป ถ้าใส่ลงไปจะต้องอ่านเต็มดังกล่าวมาแล้ว ข้อนี้มักใช้ผิดพลาดมาก ควรระวัง

(๑๑) ไปยาลใหญ่ (ฯลฯ…หรือ) เครื่องหมายนี้โบราณใช้รูปนี้ ฯลฯ มีวิธีใช้เป็น ๒ อย่าง ดังนี้

ก. ใช้ละตอนปลายไม่มีกำหนด  ไม่ต้องอ่านข้อความที่ละไว้ เป็นแต่บอก “ละ” แทนเท่านั้น ตัวอย่าง

“ผักต่างๆ เช่น ผักกาด ผักกูด ฯลฯ” อ่าน- “ผักต่างๆ เช่น ผักกาด ผักกูด-ละ”

ข. ใช้ละตอนกลางบอกตอนจบ ไม่ต้องอ่านตอนกลางเหมือนกัน เป็นแต่บอกบทว่า “ละถึง” แทนเท่านั้น เช่น

“เขาเจริญพุทธคุณว่า อิติปิโส ฯลฯ ภควาติ” อ่าน “เขาเจริญพุทธคุณ ว่า อิติปิโส ละถึง ภควาติ”

ค. ละด้วยวิธีใช้จุดไข่ปลา ดังนี้ (………..) มักใช้หลายแห่ง คือตอนไหนไม่ต้องการให้อ่านก็จุดไข่ปลาไว้ เขียนเฉพาะที่ต้องการ เช่น

“จดหมายนั้นใช้คำหยาบหลายแห่งดังนี้- ‘………เจ้าดูถูกข้านัก………ใจเจ้าเป็นสัตว์……….เจ้าระวังตัวให้ดี………’  ซึ่งส่อว่าผู้เขียนโกรธ” อ่านตอนละว่า- ‘ละ เจ้าดูถูกข้านัก ละ ใจเจ้าเป็นใจสัตว์ ละ เจ้าจงระวังตัวให้ดี ละ’

ตัวอย่างข้างบนนี้ ข้อ ก. และ ข. เป็นของเก่า ข้อ ค. เป็นของใหม่ ที่จริงจะใช้อย่างเก่าหรืออย่างใหม่ก็ได้  แต่อย่างใหม่มักใช้ในสำนวนถ้อยความที่คัดลอกมาเป็นการด่วน

(๑๒) เสมอภาค (=) ทางคณิตศาสตร์ใช้ว่า สมการ (สะมะการ) ของเก่าใช้ในวิชาคำนวณว่า สมพล หมายความว่า เท่ากับ แต่ในวิชาหนังสือมีใช้ก็มักจะใช้ในทางอธิบายคณิตศาสตร์ เครื่องหมายเสมอภาคนี้ เมื่อใช้ในระหว่างข้อความใด ข้อความทั้งสองฝ่ายนั้นเสมอกัน เช่น ๑ ไร่ = ๔ งาน

(๑๓) สัญประกาศ (………………..) ใช้สำหรับข้อความตอนที่ผู้เขียนเห็นว่าสำคัญ  เพื่อให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ จึงขีดเส้นไว้ข้างใต้ข้อความตอนนั้นๆ

(๑๔) บุพสัญญา ( ,,) เครื่องหมายแทนคำเบื้องบนที่อยู่ตรงขึ้นไปในช่องตารางบัญชี จะใช้ตอนหนึ่ง สองตอน สามตอน ฯลฯ ก็ได้ แล้วแต่ความข้างบนน้อยหรือมาก เช่นตัวอย่าง
silapa-0316 - Copy
ข้อสังเกต  เครื่องหมายนี้ –,,– เป็นการผิดแบบ เพราะจะกลายเป็น (–) ซึ่งแสดงว่าไม่มีสิ่งที่ต้องขีด อย่างในช่องสตางค์ไป ผู้รักระเบียบควรเขียนให้ถูก

(๑๕) มหรรถสัญญา  หมายถึงเครื่องหมายขึ้นต้นข้อความใหญ่ เครื่องหมายนี้โบราณก็ใช้ฟันหนูฟองมัน (๏”) ดังกล่าวมาแล้ว แต่ปัจจุบันนี้ใช้วิธีย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่แทน ไม่มีรูปร่างอย่างข้ออื่นๆ

แต่มหรรถสัญญานี้ หาได้ใช้เฉพาะขึ้นข้อความใหญ่ดังกล่าวแล้วนั้น แต่อย่างเดียวไม่ โดยมากใช้กันตามแบบแผนเพื่อให้รูปร่างลายลักษณ์อักษรนั้นงดงามอีกทางหนึ่งด้วย ดังจะเห็นได้ในวิธีเขียนจดหมาย ซึ่งผู้ศึกษาทราบอยู่ทั่วถึงกันแล้ว เป็นต้น

นอกจากจะได้อธิบายข้างบนนี้ ยังมีวิธีใช้มหรรถสัญญาอยู่อีก ดังจะอธิบายไว้พอเป็นที่สังเกต ดังต่อไปนี้

ก. การบอก ชื่อเรื่อง หรือ หัวข้อ ที่จะอธิบายต่อไปยืดยาว ซึ่งเรียกว่า จ่าหน้า ก็ใช้มหรรถสัญญา คือเขียนไว้กลางบรรทัดบน ถ้าเป็นข้อย่อยออกไปก็ย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ หรือจะใช้ขีดเส้นใต้ด้วยก็ได้

ข. ข้อความสำคัญที่จัดไว้เป็นข้อๆ เพื่อจะให้ผู้อ่านเห็นเป็นข้อสำคัญท่านก็ใช้มหรรถสัญญา คือย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ทุกข้อ และมีเลขหรือตัวอักษรกำกับหน้าข้อนั้นด้วยก็ได้ เช่น

ศีล ๕ ประการนั้น คือ
๑. เว้นฆ่าสัตว์
๒. เว้นลักทรัพย์ ฯลฯ

ค. ในส่วนคำประพันธ์นั้นยังนิยมใช้เครื่องหมายโบราณอยู่บ้าง ดังกล่าวมาแล้ว  ถ้าจะใช้แบบปัจจุบันก็ควรใช้ขึ้นต้นด้วยมหรรถสัญญาแทน ฟันหนูฟองมัน (๏”) หรือฟองมันเปล่าๆ (๏) และเมื่อจบบทหนึ่งๆ ก็ควรใช้มหัพภาคแทนเครื่องหมายคั่น (ฯ) ดังจะชักตัวอย่างมาเทียบไว้ให้สังเกตต่อไปนี้

แบบโบราณอย่างไม่นิยมบรรทัด
– “๏” ยานี ๑๑ ๏” สธุสะจะขอไหว้ พระศรีไตรสรณา พ่อแม่และครูบา เทวดาในราศี๏ ข้าเจ้าเอา ก ข เข้ามาต่อ ก กา มี แก้ไขในเท่านี้ ดีมิดีอย่าตรีชา๏ จะร่ำ…….” ดังนี้เรื่อยไปจนจบบทยานี ก็ใช้ฟองมันใหม่ ดังนี้

“๏” ฉบับ ๑๖ ๏” พระไชยสุริยาภูมี พาพระมเหสี, มาที่ในสำเภา ๏ข้าวปลา……” ดังนี้เรื่อยไป เมื่อจบเรื่องก็ใช้ดังนี้ ๚ ๛

แบบปัจจุบันใช้เครื่องหมายโบราณ
“ยานี ๑๑
๏ สธุสะจะขอไหว้        พระศรีไตรสรณา
พ่อแม่แลครูบา            เทวดาในราศีฯ”

ดังนี้เรื่อยไป เมื่อจบบทยานีให้ขั้นคู่ (๚) และขึ้นบทใหม่ก็ใช้ทำนองนี้จนจบเรื่อง

แบบปัจจุบันใช้เครื่องหมายปัจจุบัน  เมื่อขึ้นต้นบทคำประพันธ์ ต้องใช้มหรรถสัญญาทุกบทไป และใช้เว้นวรรคตามข้อบังคับของคำประพันธ์ ส่วนเครื่องหมายจุลภาค หรือมหัพภาคมักไม่ใคร่ใช้กัน ที่จริงจะใช้ก็ได้เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกส่วนประโยคทางไวยากรณ์  แต่ต้องใช้ให้ติดต่อกันอย่าให้เสียวรรคของคำประพันธ์ เมื่อจบบทประพันธ์บทหนึ่ง ถ้ายังไม่จบประโยคไวยากรณ์ก็ทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ต้องใช้มหัพภาค ดังตัวอย่างต่อไปนี้

“ยานี ๑๑ (จะเอาไว้กลางบรรทัดก็ได้)
สธุสะจะขอไหว้             พระศรีไตรสรณา
พ่อแม่แลครูบา                 เทวดาในราศี
ข้าเจ้าเอา ก ข              เข้ามาต่อ ก กา มี
แก้ไขในเท่านี้                  ดีมิดีอย่าตรีชา

ฆ. มหรรถสัญญาซ้อน  หนังสือบางเรื่องมีข้อความซับซ้อนกันเป็นชั้นๆ ลงไป จะใช้มหรรถสัญญาตามอธิบายมาข้างต้นนี้ ก็จะทำให้อ่านเข้าใจความยาก ดังนั้นควรใช้มหรรถสัญญาให้ลดเหลื่อมกันเป็นชั้นๆ ลงไป และใช้เครื่องหมายบอกข้อมหรรถสัญญาให้ต่างกันเป็นชั้นๆ ด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เบญจศีล
ข้อ ๑ คือเว้นปาณาติบาต (แล้วอธิบายจำแนกข้อย่อยออกไปเป็น ๓ ข้อ)
(๑) การฆ่า (อธิบายแยกออกเป็น ๒ ข้อ คือ)
ก. ฆ่ามนุษย์ (อธิบายตามควร)
ข. ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน (อธิบายตามควร)

(๒) การทำร้ายร่างกาย (อธิบาย ถ้าไม่มีแยกข้อ ก. ข. ก็ขึ้นข้อ ๓ ต่อไป)

(๓) การทรมานสัตว์ (อธิบาย แยกเป็น ก. ข.) ฯลฯ
ก. ทรมานเพื่อสนุก (อธิบาย…..)
ข. ทรกรรมในเรื่องใช้งาน (อธิบาย…..) ฯลฯ

ข้อ ๒ เว้นอทินนาทาน (อธิบาย มีข้อแยกกี่ชั้นก็แยกอย่างข้างบนนี้) ดังนี้เป็นต้น

หมายเหตุ  การแยกข้อเหลื่อมกันเป็นชั้นๆ นี้ ทำให้ผู้อ่านเข้าใจเป็นหมวดหมู่แจ่มแจ้งดี ทั้งนี้เหมาะแก่เรื่องสั้นๆ ที่เห็นได้ง่าย แต่ถ้าเป็นเรื่องยืดยาวก็ไม่จำเป็นต้องตั้งข้อให้เหลื่อมกัน  เพราะแต่ละข้อยืดยาวมาก ไม่อาจจะให้เห็นการเหลื่อมหัวข้อให้เป็นรูปโครงพร้อมกันได้ จึงควรใช้ย่อหน้าเท่าๆ กันดีกว่า ใช้ตั้งเครื่องหมายให้ต่างกันเป็นชั้นๆ ลงไปก็พอแล้ว เช่น หัวข้อใหญ่ก็ใช้ย่อหน้า ตั้งหัวข้อว่า ข้อ ๑ ข้อ ๒ ฯลฯ รองลงมาก็ย่อหน้าตั้งหัวข้อว่า (๑) (๒) ฯลฯ  ถ้ามีข้อย่อยลงมาอีกก็ย่อหน้าตั้งหัวข้อว่า ก. ข. ฯลฯ ข้อสำคัญก็คือ ให้เครื่องหมายหน้าข้อนั้นต่างกันเป็นชั้นๆ ดังข้างบนนี้ เพื่อให้ผู้อ่านสังเกตได้เป็นหมวดหมู่กัน

เรื่องเครื่องหมายวรรคตอนแบบปัจจุบันนี้ ชักมาอธิบายในข้อที่จำเป็นจะต้องรู้เท่านั้น ถ้าต้องการรู้พิสดาร ควรดูในตำราเครื่องหมายวรรคตอนของกระทรวงศึกษาธิการต่อไป

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร