หลักสำคัญในทางปฏิบัติก่อนรักษาโรคด้วยพลังจิต

พลังจิต1๑. จัดพานมีดอกไม้อย่างน้อย ๒ ดอก, ธูป ๓ ดอก, เทียน ๒ เล่ม ควรเป็นเทียนขาวหนักเล่มละ ๑ บาท และ มีเงินค่าบูชาครูตามที่กำหนดไว้ในวิชาต่างๆ ส่วนมาก จะเป็นเงิน ๖ บาท หรือ ๑๒ บาท

๒. ให้คนไข้ยกพานดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ อาจจะใช้คำพูดว่า “ข้าพเจ้าขอสักการะบูชาต่อคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์คุณบิดามารดา คุณครูอาจารย์ ขอให้ช่วยรักษาโรคในตัวข้าพเจ้าให้หายไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์” กล่าวจบแล้วส่งพานให้อาจารย์ผู้รักษา

๓. อาจารย์ผู้รักษา จุดธูปเทียน ยกพานบูชาพระ กล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอสักการะบูชาต่อคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูอาจารย์ ขอให้มาช่วยรักษาโรคของ    (นาย, นาง    ) ให้
หายโดยเร็วด้วยความศักดิ์สิทธิ์” แล้วว่า คาถาเชิญครู

“เอหิพุทธา เอหิธัมมา เอหิสังฆา เอหิครูวา มะมะเอหิ”
ต่อไปก็เริ่มรักษาโรคตามวิธีของโรคนั้นๆ ซึ่งอาจมีวิธีปฏิบัติก่อนรักษาโรคต่างกันไปจากนี้บ้าง

รายละเอียดในการปฏิบัติก่อนรักษาโรค วิธีรักษาโรคในทางปฏิบัติจริงจะได้กล่าวในหนังสือ“แพทย์๓ แผน นำสมัย เล่ม ๒”

พระคาถาบทต่างๆ ที่พระอาจารย์สอน
พระคาถาบทที่ ๑ ดู การฝึกขั้นที่ ๑
พระคาถาบทที่ ๖ ถึง บทที่ ๑๑ ดูการฝึกขั้นที่ ๖

พระคาถาบทที่ ๑ “อุนุยัง”

พระคาถาบทที่ ๒ “เธาะฬ่อ” (อ่านว่า เทาะล่อ)

พระคาถาบทที่ ๓
“พระพุทธังคุ้ม พระธัมมังกัน พระสังฆังรักษา พระบิดากั้นหน้า พระมารดากั้นหลัง โรคหนารองนั่ง ชักหนังหุ้มตัว คุณพระธรรมครอบหัว
นะโมพุทธายะ” (ใช้คุ้มครองป้องกันอันตรายต่างๆ ตลอดจนภูติผี)

พระคาถาบทที่ ๔
“นะเมตตา โมกรุณา พุทปรานี ธายินดี ยะเอ็นดู” (ใช้ทางเมตตา เสกแป้งทาหน้าก็ได้)

พระคาถาบทที่ ๕
“เกษานังปิมิอุอะ อุอะมะอุอะ อุอะมิอุอะ อุอะ อุอะ” (ใช้ทางแคล้วคลาดของหลวงตาดำ อาจารย์ ชาญณรงค์)

พระคาถาบทที่ ๖
“นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอัง อิสวาสุ สุสวาอิ อะระหัง พุทธะสังมิ” (ใช้ดับพิษร้อน)

พระคาถาบทที่ ๗
“จิเจวะโมคคะลาโน จะนาสิตะวา พะหิตา นะระอะอัคคีนา นะอะธาตุปะ สะมานะหิตา” (ใช้ภาวนา เวลาทำนํ้ามนต์ภาวนาเวลาเสกข้าวสารพลูปูนในพาน เรียกว่า พระคาถาโมคคัลลา ดับพิษร้อน)

พระคาถาบทที่ ๘
“นะพุทธะมะระมัง นะจายันจา นะยันไม่ให้เป็นอันตราย นะมะอะอุ อุอะอะมะ นะโมพทธายะ ยะธาพุทโมนะ” (ใช้ภาวนาดับพิษร้อนและภาวนาขณะเดินลุยไฟ ให้ใช้บทนี้ภาวนา)

พระคาถาบทที่ ๙
“นะอมขี้เหล็ก นะอมขี้ต้าย นะอมแม่พระเพลิง ไม่ให้เป็นอันตราย นะพุทธะยะนะ นะพุทโสโค นะพุทธายันธานะยันไม่ให้เป็นอันตรายนะพุทโสภี นะมะพะทะ” (ใช้ภาวนาเวลาเอามือลูบโซ่และเวลากอบโซ่เหล็กที่ร้อนขึ้น)

พระคาถาบทที่ ๑๐
“นะเกษา นะโลมา นะขา นะทันตา ตะโจมังสัง นะมะหามินชัง กะระมะทะ คุรุมุทุ เกเรเมเถ นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ อะระหัง พุทธะสังมิ” (ใช้เสกนํ้าส้มสายชูทามือล้วงกล้วยแขกในกระทะน้ำมันกำลังเดือด)

พระคาถาบทที่ ๑๑
“อมสูบสูบ พระรูปโสภา สูบสูบให้มา สวาหะ สะมุหะติ สะมุหะตา สะมุหะคะตา สะมุหะคะเสมา” (คาถาสูบวิชากลับเมื่อเลิกเล่น คือเมื่อลุยไฟหรือรูดโซ่เสร็จแล้ว ใช้ภาวนาเรียกคาถากลับว่า ๑ จบ ให้สูบลมเข้าทางปาก ๑ ครั้ง ทำให้ครบ ๓ ครั้ง)

พระคาถาบทที่ ๑๒ (หลวงตาดำ-อาจารย์ชาญณรงค์)
“อุกาสะอุกาสะข้าพเจ้าขอปฏิปฏิบูชาตามคำสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า ข้าพเจ้าขอเอาอย่างพระพุทธกาปีติ พระธรรมกาปีติ อันสุขุมละเอียด ขอจงมาบังเกิดในจักขุทวาร ในมโนทวาร ในกายทวาร แห่งตัวข้าพเจ้า ณ บัดนี้เถิด นิพพานะ ปติโยโหตุ” (ใช้พนมมือภาวนาก่อนจะนั่งสมาธิ และเวลายกครูสมาธิ)

พระคาถาบทที่ ๑๓ เรียกว่า เกราะเพ็ชร หรือ มงคลสามสาย (หลวงตาดำ-อาจารย์ชาญณรงค์)
ใช้นิ้วชี้ทั้งสองวางให้ปลายจดกันที่กึ่งกลางหน้าผาก รวมจิตเป็นสมาธิที่จุดตั้งจิตคือที่กึ่งกลางดั้งจมูก ภาวนาว่า “พุทธสังมังคะโลเก อุมะอะปิด” พร้อมกับลากปลายนิ้วชี้เวียนไปข้างศีรษะ นิ้วชี้ขวาเวียนมาทางขวา นิ้วซ้ายเวียนมาทางซ้าย ไปจดกันที่ท้ายทอยพอดีกับภาวนาจบ แล้วว่า “ธัมมะสัง มังคะโลเก อุมะอะปิด” พร้อมกับเวียนปลายนิ้วชี้ทั้ง ๒ กลับมาบรรจบกันที่กึ่งกลางหน้าผากพอดีกับภาวนาจบ แล้วว่า
“สังฆะสังมังคะโลเก อุมะอะปิด” พร้อมกับเวียนปลายนิ้วชี้ทั้งสองไปจดกันที่ท้ายทอยพอดีกับภาวนาจบ แล้วว่า
“ปิดด้วยพระพุทธัง ปิดด้วยพระธัมมัง ปิดด้วย พระสังฆัง” พร้อมกับลากปลายนิ้วชี้ไปจดกันที่หน้าผาก พอดีกับภาวนาจบแล้วลดฝ่ามือทั้งสองลูบหน้าลงมาซ้อนกันในท่านั่งสมาธิ และนั่งสมาธิต่อไป
บทนี้ทำต่อกันกับบทที่ ๑๒ คือว่าบทที่ ๑๒ จบก็ยกมือเอาปลายนิ้วชี้ไปจดกันที่หน้าผาก แล้วทำบทที่ ๑๓ เพื่อป้องกันอันตรายทั้งหลาย ป้องกันถูกทำด้วยเวทมนตร์

พระคาถาบทที่ ๑๔ คาถารักษาโรค หรือเสกของเสกยารักษาโรค (หลวงตาดำ-อาจารย์ชาญณรงค์) ทำนํ้ามนต์ภาวนาก่อนจะเป่า
“สมุหะคัมภีรัง อโจระพยัง อะเสสะโต โสภะคะวา พุทโธหยุด ธัมโมหยุด สังโฆหยุด โรคภัยทั้งหลายจงหยุด หยุดด้วย นะโมพุทธายะ” (ภาวนาก่อนพ่นนํ้ามนต์ ฯลฯ)

พระคาถาบทที่ ๑๕
“สมิจจะ สังโฆศิษตัง สโมหะนัยยะ พุทธังละลาย ธัมมังละลาย สังฆังสูญหาย โรคทั้งหลายหายด้วยนะมะพะทะ”

พระคาถาบทที่ ๑๖
“จิเจวะ พระโมคคัลลาโน พระพุทธะ คุณัง คณาเสตตะวาวุธานัง เตโชธาติ สมาหิตา พุทธังหาย ธัมมังหาย สังฆังหาย เพี้ยงหาย”

พระคาถาบทที่ ๑๗
“โอมพ่อปลาบและแม่ปลาบตัวบังเกิดอยู่ในภูเขา มึงเป็นด้วยเงาพระอาทิตย์ ครูสิทธิให้กูเอาตัวมึงไป สวาหะ สวาโหม”

พระคาถาบทที่ ๑๘
“โอมโสม เตโสม กะดูกย่อสวาหาย”

พระคาถาบทที่ ๑๙
“โอมโสมเตลาน ยานยอน เอ็นอ่อน กระดูกย่อ สวาหาย”

การใช้พระคาถา
อาการบวม ปวด เสียว เลื่อนได้ ฯ ใช้พระคาถาบทที่ ๑๔ และบทที่ ๑๗ หรือใช้บทที่ ๑๔ ถึงบทที่ ๑๗ เสกน้ำมนต์ นํ้ามัน เสกแป้ง (ข้าวจ้าว) พอก, เสกไพล ฝนกับนํ้ามนต์ทา, ใช้เป่า หรือพ่น ก่อนเป่าหรือพ่น ภาวนาบทเดียว เช่นทานํ้ามัน พ่นนํ้ามนต์ภาวนาบทที่ ๑๔

เป็นปลาบห้ามใช้น้ำมัน ให้ใช้ไพลเสกฝนน้ำมนต์ ทาและพ่น

กระดูกหัก พ่นหรือทาด้วยนํ้ามันแล้วจัดกระดูกจัดเส้นให้เข้าที่ เอาน้ำมันนวดด้วย ต่อไปเข้าเฝือก หรือเป็นไม่มากใช้ใบพลับพลึงย่างไฟพันไว้ ก่อนจะเข้าเฝือกให้ว่า พระคาถาบทที่ ๑๘ หรือบทที่ ๑๙ พร้อมกับถากไม้สักเสียก่อน หรือยาจใช้ฝ่ามือทุบแทนการถากไม้สักโดยทุบ ไปที่แขนขาที่หัก

เข้าเฝือกแล้ว ภาวนาบทที่ ๑๘ และ ๑๙ พร้อมกับถากไม้สักภาวนาต่อกันทั้งสองบทแล้วถากไม้ต่อไป ภาวนาไปด้วยถากไปด้วย คนไข้และผู้รักษานั่งนอนบนกระดานแผ่นเดียวกัน รุ่งขึ้นอีกวันก็ให้มาถากไม้สักอีก

บวมเพราะสัตว์มีขนมีพิษ ใช้พระคาถาบทที่ ๑๔, ๑๕ และ ๑๖ (บทที่ ๑๔ ใช้เป็นหลักนิยมใช้เสมอ)

ปวดข้อไม่บวมใช้ไพล ถ้าบวมหรือถูกของใช้แป้งพอก โรคภายในเสกไพลฝนกับน้ำมนต์ ให้กินหรือให้เขาไปฝนกินเอง

พระคาถาบทที่ ๒๐
“มะอะอุ ทิวัง พรหมมา จิตตัง มานิมามา”
ทำน้ำมนต์ล้างหน้าหรือนํ้ามนต์ประพรม การทำนํ้ามนต์ให้ถอดออกทีละตัว (เช่นจบที่ ๒ ถอด มะ ออก คงเหลือ อะอุทิวังพรหมมา จิตตังมานิมามา) สุดท้ายเหลือ “มามา มามา” (หลวงตาดำ-อาจารย์ ชาญณรงค์) ใช้ทางขอลาภยศ

พระคาถาบทที่ ๒๑
“นะสโมหะนัยยะ ตัสสาเกสี” เสกนํ้าให้กิน แล้วเสกมือหยิบออก โดยเอามือจุ่มนํ้าที่เสกนั้น เอานิ้วครอบคอภาวนาคาถา พอถึงคำว่า “ตัส” ให้หยิบหรือจับลงมา เมื่อว่าจบให้ดึงทิ้งไป ทำให้ทั่วคอ แล้วให้กินนํ้าที่เสกอีกครั้งก็ได้ ใช้สะเดาะก้างติดคอ (หลวงตาดำ-อาจารย์ ชาญณรงค์)

พระคาถาบทที่ ๒๒
“นะโอนะทา นะปิดตาโมไม่เห็น พุทซ่อนเร้น ธาบังไว้ ยะหายไป พุทธังบังจักขุ ธัมมังบังจักขุ สังฆัง บังจักขุ สารพัดศัตรู วินาศสันติ”
ภาวนาจับต้นไม้หรือขมวดกอหญ้าให้บังตัวชั่วอึดใจ  ชั่วคนผ่านหรือเกิดเหตุ (ท่านเจ้า-อาจารย์ชาญณรงค์)

พระคาถาบทที่ ๒๓
“โอมกูจะปลุกให้ลุกก็ลุก กูจะปลุกให้ตื่นมึงก็ต้องตื่น มึงไปอื่นก็ต้องมา เอหิมามะมะ เอหิมา ดิสโสมามะมะ”
ต่อไปเอาตะปูจ่อตรงที่จะตรึงไว้ภาวนาว่า “วิกรึงคะเร” แล้วตอกตะปูลงไป และพูดว่า ตรึงอยู่
นั่นแหละ    ภาวนาแล้วตอกให้ครบ ๓ ที
ใช้ตรึงผี ปีศาจ ไว้ใช้เรียกมา ตรึงผีในโลงให้ตอกที่ปากโลงตอนบน

พระคาถาบทที่ ๒๔
“ทุลูลังกังเล ทุลู”
ทำจิตเป็นสมาธิภาวนา ๓ ครั้งขึ้นไป ก่อนและขณะจะเข้าไปเป็นคาถาจังงัง ภาวนาตบหน้าผาก

พระคาถาบทที่ ๒๕
“นะอะอำ อะอะมนุษโสโส”
ภาวนาขณะจิตเป็นสมาธิ กันตื่นเต้น กันประหม่า ก่อนเข้าไปหาหรือพูดต่อหน้าคน

พระคาถาบทที่ ๒๖
“จิตัง เจตะสิกัง รูปัง”
ภาวนาสำรวมก่อนทำฤทธิ์ ก่อนทำอะไรทุกอย่าง กันถอนก็ใช้ได้

พระคาถาบทที่ ๒๗
“นะปัดโมปิด นะปิดโมปิด โมปิดนะปิด”
ใช้ทางแคล้วคลาด

พระคาถาบทที่ ๒๘
“มะอะอุสิวัง พรมมานิมา มะอะอุสิวัง พรมมาพุทธัง”
เรียกยอดไม่ให้อ่อนค้อมมาหา

พระคาถาบทที่ ๒๙
“พุทโธ พุทโธ ท้าวเวสสุวันโน พุทโธ ขะโท อะระหังปิดตา ปิวินาสสันติ”
ขับภูตผี อยู่ไม่ได้ ทำน้ำมนต์

พระคาถาบทที่ ๓๐
“ตะลุกะตะลี ตีอะมะตะ มะตะ”
เป็นคาถาหนุมานคลุกฝุ่น ใช้ปลุกตัว

พระคาถาบทที่ ๓๑
“อะสิสะติทะนู เจวะ สะเพวะเต อาวุธานิจะ พะตะพะตา วิจุชะนานิ, โลมังหะ เมนะพุทสันติ”

ใช้เสกปูนคาดคอ อยู่คง แต่งพลก็ได้ (ทำให้คนอื่นเหนียวก็ได้)

พระคาถาบทที่ ๓๒
“จิตติจิตตัง อ้าย (อี)…..มานิกูจะจับนามะ อิมังกายะพันทะนัง อทิถามิ”
ใช้เป็นคาถาสะกดคนให้อยู่กับที่ ให้งง ให้มาหาเรา สะกดตรงต่อคนหรือหุ่น ถ้าจะให้หลับก็ภาวนาคาถาบทที่ ๓๓ ต่อไปอีก

พระคาถาบทที่ ๓๓
“อิทะวัง เมชีวิตตัง มะระณัง อิวะสังมะยา มะริตับพัง”
เป็นพระคาถาสะกดให้หลับ ถ้าจะให้หลับทั้งบ้าน ใช้มีดหมอสะกดที่เสาเอก

พระคาถาบทที่ ๓๔
“นะตังมุตเตนา นะตังมุตเตนา เมตังพะอะหิปิตัง เมตามุตตัง”
เสก ๑๑ คาบหักเหล็ก ถ้าศัตรูตามมาภาวนาไว้ มันตามมิได้เลย

พระคาถาบทที่ ๓๕
“โสทายะ มะอะอุ อิสวาสุ นะโมพุทธายะ”
เสกขมิ้นกิน อยู่อาวุธทั้งปวง และใช้เป็นคาถาลงทองแผ่นหนึ่ง เมื่อลงทองหรือปิดแผ่นทองแผ่นที่ ๑ ลงที่หน้าผากแล้ว จะปลุกทองแผ่นหนึ่งนี้ใช้มือตบที่หน้าผาก ใช้เสก ๓ ถึง ๗ คาบ

พระคาถาบทที่ ๓๖
“สังหะตะชา รัพพะพุทธะราชา อิติบังไพร นโมพุทธายะ”
เป็นคาถาบังไพร หักกิ่งไม้ถือแล้วภาวนา คนไม่เห็น ใช้ล่อช้างเข้าพะเนียดช้างเห็นเป็นป่าเดินตาม

พระคาถาบทที่ ๓๗
“โสโสสะสะ อังอังอะอะ”
ใช้เขียนใส่ใบศรีมหาโพธิ์เสก ๑๐๘ คาบ ทั้งคง ทั้งแคล้วคลาด

พระคาถาบทที่ ๓๘
“อิติปิโส ภะคะวา พุทโธฉิมพลีจะมหาเถโร ชัยยะ เมตตา พลังลาภัง ภวันตุเม อิติปิโส ภะคะวา ธัมโมฉิมพลี จะมหาเถโร ชัยยะเมตตา พลังลาภัง ภะวันตุเม อิติปิโส ภะคะวา สังโฆฉิมพลี จะมหาเถโร ชัยยะเมตตา พลังลาภัง ภะวันตุเม”
เป็นคาถาภาวนาขอลาภ

พระคาถาบทที่ ๓๙
“มะอะอุทิวัง พรมมาจิตตัง มานิมามา นะชาริติ จัตตุยันตามหายันตัง วิกรึงคะเร”
ใช้เจิมหน้าศิษย์เพื่อเป็นสิริมงคล ขณะภาวนาเอานิ้วชี้ที่มีแป้งเจิมกดไว้ที่หน้าผาก ภาวนาจวนจบก็ขีดขึ้นบนตรงๆ ดีกว่าขีดเป็นเส้นวน เพราะตั้งจิตได้ดีกว่า ถ้าใช้เจิมป้าย เจิมเป็นสามจุดรูปสามเหลี่ยม (จุดที่ ๑ อยู่ซ้าย, จุดที่ ๒ อยู่ขวา, จุดที่ ๓ อยู่บนประมาณกึ่งกลาง)

พระคาถาบทที่ ๔๐
“พระพุทโธ โมเมมาผิด พระพุทธเจ้าแผลงฤทธิ์ เป็นกำแพงแก้วปกปิด ปิดด้วยพระพุทโธ
พระธัมโม โมเมมาผิด พระธัมมเจ้าแผลงฤทธิ์ เป็นกำแพงแก้วปกปิด ปิดด้วยพระธัมโม
พระสังโฆ โมเมมาผิด พระสังฆเจ้าแผลงฤทธิ์ เป็นกำแพงแก้วปกปิด ปิดด้วยพระสังโฆ”

เรียกว่าพระคาถากำแพงแก้วใช้ดินหรือหิน ๔ ก้อน เสก ๓ จบ แล้วกลั้นใจว่าบทที่เสกนี้แล้วขว้างไป ๔ ทิศ (ทิศข้างหน้า-ทางขวา-ทางหลัง-ทางซ้าย)

พระคาถาบทที่ ๔๑
“นะโมตัด” – “สะ”
เรียกว่า คาถาสะป่า (ท่านเจ้า-อาจารย์ชาญณรงค์) อธิษฐานอาราธนาคุณพระและครูอาจารย์มาช่วยสะป่า ป้องกันอันตราย ป้องกันสัตว์ร้ายใช้ทำต่อจากทำบทที่ ๔๐ (พระคาถากำแพงแก้ว)
เอามือซ้ายจับกิ่งไม้ มือขวาถือมีดคอยตัดกิ่งไม้นั้น ภาวนาว่า “นะโมตัด” ตัดกิ่งไม้นั้นทีเดียวให้ขาด แล้วภาวนาว่า “สะ” พร้อมด้วยเอามือที่จับกิ่งไม้ทิ่มปักลงที่ดิน ทำอย่างนี้ทั้ง ๔ ทิศ (กลั้นใจทำ)

พระคาถาบทที่ ๔๒
“พระไพรเจ้าเอ๋ย ข้าขอฝากชีวัง สังขาตังโลกะวิทู”
ก่อนจะเข้าป่ายืนเอาหัวแม่เท้าจิกดิน, อัดใจว่าไป ๑ จบ ทำรวม ๓ จบ ใช้กันไข้ กันสัตว์ร้าย

พระคาถาบทที่ ๔๓
“สีโรเม พุทธะเทวันจะละลาเต พรหมมะเท วิตตะวา มะละหัตทะยัง วิหะเตปะระเม เพ็ดชะกันเจวะ สัพพะกัมมังประสิทธิเม”
ใช้ทำนํ้ามนต์ธรณีสาร (แก้และกันเสนียดจัญไร ต่างๆ)

พระคาถาบทที่ ๔๔
“สมุหะคะติ สมุหะคะตา สมุหะเสมา สมุหะนัยยะ สมุหะวิตีติ”
เป็นคาถาถอนใช้ภาวนา ถอนโบสถ์ ถอนเสมา ถอนพระภูมิ ถอนผี ก่อนการกระทำ ถอนอาถรรพณ์
การถอนของถูกกระทำ ทำนํ้ามนต์ให้อาบ ภาวนา บทพุทธคุณ บทถอนโบสถ์ (พระคาถาบทที่ ๔๔) บทมงกุฎพระเจ้า (พระคาถาบทที่ ๔๕), พระคาถาบทที่ ๑๔ และพระคาถาบทที่ ๑๕ อาบนํ้ามนต์ให้หลายครั้ง ใช้เสกแป้งพอกเรียกออก (หรือเอาใบบอนใส่นํ้ามนต์วางตรงที่เจ็บปวดถูกของเรียกออก วิธีนี้ใช้สำหรับผู้ที่เรียนวิธีปล่อยของได้แล้ว)

พระคาถาบทที่ ๔๕
“นะสโมหะคะติ นะสโมหะคะตา นะสโมหะเสมา นะสโมหะนัยยะ นะสโมหะวิตีติ อักขระเวทมนต์ของขลังเจ้าเวรนายกรรมทั้งหลายจงถอยออกไปด้วยคัชฉะ อมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ”
เป็นคาถาถอนใช้เหมือนกับพระคาถาบที่ ๔๔ (หลวงตาดำ-อาจารย์ชาญณรงค์)

พระคาถาบทที่ ๔๖
“อิติปิโส วิเสเส อิเสเส พุทธะนาเม อิเมนา พุทธะตังโส อิโสตัง พุทธะปิติอิ”
เรียกว่า พระคาถามงกุฎพระเจ้า (หรือมงกุฎพระพุทธเจ้า) ใช้ได้ ๑๐๘ ป้องกัน ทำนํ้ามนต์ กันห่า ลงยันต์ บูชาพระประจำวัน, ภาวนาคํ่าเช้ากันอันตรายทั่วทั้ง ๘ ทิศ ให้เป็นจังงังก็ได้, ใช้เสก ๙ คาบเป็นละลวย, ถ้าต้องคุณไสยเสกใบมะตูมกิน เสก ๗ ที, ถ้าจะกันคุณไสยกลั้นใจว่าทำเรามิได้เลย, ถ้าเป็นความ เสกหมากกิน เสกแป้งหอมนํ้ามันหอม มันเถียงเรามิได้เลย เสก ๑๗ ที, สะเดาะลูกในท้อง เสก ๕ ที กินบ้างรดหัวบ้าง, สะเดาะกุญแจก็ได้, เสกหญ้าให้วัวควายกิน เสก ๖ ที มันหนีเรา ไปมิได้เลย, ถ้าขโมยจะลักไปก็เอาไปมิได้เลย, ถ้าเสกพริก ขิง ดีปลี กิน เสก ๒ คาบ อยู่คงกระพันชาตรี, ถ้าจะปรารถนาผู้ใดเขียนชื่อผู้นั้นลงในกระดาษทำไส้เทียน แล้วเสกให้ได้ ๑๘ ที ผู้นั้นจะมาหาเรา, เดินหนทางกลัว ขโมยก็กลั้นใจหยิบก้อนดินเสก ๓๐ ที ห่อชายผ้าไปทำเรามิได้เลย, ถ้าจะไปป่านอนกลางคืน เอาดินเอากรวดมาเสกให้ได้ ๘ คาบ ถึงศัตรูมา ๘ ทิศ หาอันตรายมิได้ เมื่อจะนอนให้ภาวนา ๗ ที แล้วนอนเถิดอย่ากลัวเลย, ถ้าจะให้คงกระพันเสกข้าวกินวันละ ๕ ปั้น ๗ ปั้น ตามแต่จะเอาเถิด ๕ วัน ๗ วัน ๓ เดือน ๓ ปี คงแล
(ในตำราโบราณมีอุปเท่ห์มากกว่านี้ เลือกคัดมาบางส่วน)

ผู้สอนพระคาถาบทที่ ๑๔-๑๖ หลวงตาดำ- อาจารย์ชาญณรงค์

พระอาจารย์ลี ธัมมธโร (พระวิสุทธิธรรมรังสี คัมภีร์เมธาจารย์) วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ได้เขียนคาถามอบให้หลังจากถามคาถาสะเดาะ ดังนี้
“อะสังวิสุโล ปุสะพุภะ” (หัวใจอิติปิโส)
ให้ว่า สับ ภาวนาเวลาใส่กุญแจ เพื่อไม่ให้เปิดได้ ว่าดังนี้
“อะภะสังพุวิสะสุปุโล”
สะเดาะให้หลุด ภาวนาบทว่า สับถอยหลัง ว่าดังนี้
“โลปุสุสะ วิพุลังภะอะ”

พระอาจารย์อวน วัดหนองพลับ ใกล้สถานีรถไฟหนองแซง จ.สระบุรี ยกตำราของท่านให้ดูและสอนให้ใช้ภาวนา “โลปุสุสะ วิพุลังภะอะ” เป็นพระคาถาถอนคุณ สะเดาะ ถอนพิษ เรียกออก, แก้ปวด มีคนกำลังปวด ภาวนาเรียกออก ถ้าเป็นคนที่ปวดมีอาการเขม่นหรือเนื้อเต้นก็พ่นหรือเป่าลงไป เวลาเป่าว่า “พุทธังหาย” (การใช้จังหวะเปิดรับที่กล่าวมาข้างต้นประกอบก็จะได้ผลดีขึ้น)

พลังจิตเกิดขึ้นได้ ๒ ทางคือ ทางที่ ๑ มีความเชื่อมั่นไม่สงสัย ทางที่ ๒ เกิดจากสมาธิ สมาธิสูงขึ้นพลังก็เกิดมากขึ้นตามระดับของสมาธิ

พลังจิตที่จะนำมาใช้ได้มี ๕ อย่าง จะใช้ทีละอย่าง หรือหลายอย่างประกอบกันก็ได้ (ดูรายละเอียดในฉบับยอดคน หน้า ๒๐๑)

หวังว่าคงได้รับอภัยในความขาดตกบกพร่องหรือ การล่วงเกิน ผู้รวบรวมยินดีน้อมรับคำเตือนหรือคำแนะนำจากทุกท่าน
ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ทุกท่าน
พ.อ.ชม สุคันธรัต
๑๓/๓ ประชานฤมิตร (กรุงเทพ-นนทบุรี ๕)
เตาปูน บางซื่อ กทม. ๑๐๘๐๐
โทร. ๙๑๑-๒๘๗๔, ๕๘๗-๔๑๒๖, ๕๘๕-๐๒๑๐

ภาคปฏิบัติในการสอนสมาธิและใช้พลังจิต

พลังจิต
ขั้นแรก สอนให้หาจุดที่ตั้งจิตเสียก่อน เมื่อได้จุดที่ตั้งจิตแล้ว อธิบายให้หาลมหายใจที่สบายที่สุด แล้วหายใจด้วยลมสบายนี้ พร้อมกับตั้งใจรู้อยู่เฉพาะลมหายใจ ตรงจุดที่ลมกระทบ ซึ่งเป็นลมที่สบาย จิตก็จะเป็นสมาธิ เพราะความสบายเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ ทั้งนี้ให้ไปดูรายละเอียด “วิธีฝึกสมาธิวิปัสสนา ให้ได้ผลดีได้ผลเร็ว” ประคับประคองรักษาลมสบายไว้ ต่อไปจิตจะทำหน้าที่ปรับลมสบายนั้นให้สบายมากขึ้น โดยลำดับ นั่นคือทำให้สมาธิก้าวหน้าดีขึ้นโดยลำดับ ความสุขสบายเพิ่มมากขึ้น ความสงบก็มากขึ้น ความสงบมากขึ้น สมาธิก็สูงขึ้นโดยลำดับ จนถึงฌาน ๔ ความสุข ความสบายก็จะมากที่สุดในแง่สมาธิ

ขั้นที่ ๒ สอนให้รู้ว่าสมาธิของตนที่เกิดขึ้นนั้นมีระดับสูงเพียงใด และจะฝึกให้ดีขึ้นได้อย่างไร? โดยวิธี เปิดเทปที่ตรงกับจังหวะหายใจเข้า นาทีละ ๑๒ ครั้ง คอยหายใจตามจังหวะเทป เสียงดัง “พุท” ให้หายใจเข้า เสียงของเทปดังว่า “โธ” ให้หายใจออก เรื่อยๆ ไป เป็นการฝึกให้การหายใจสม่ำเสมอและต่อเนื่องกันไป ความสม่ำเสมอในการหายใจช่วยให้จิตเป็นสมาธิมั่นคง ถ้าไม่ใช้เสียงเทปที่สม่ำเสมอควบคุม ผู้ฝึกสมาธิฝึกหายใจสม่ำเสมอเองจะยาก เมื่อหายใจเร็วบ้างช้าบ้างจิตก็ไม่เป็นสมาธิ แล้วถามว่าผู้ใดหายใจตามเทปแล้วรู้สึกสบาย พอเหมาะกับตนก็ให้ใช้จังหวะที่สบายนี้หายใจในการฝึกสมาธิ จะมีบางคนที่ฝึกสมาธิมามาก รู้สึกว่าการหายใจตามเทปจังหวะละ ๑๒ ครั้งไม่พอเหมาะกับตนเพราะเร็วไปก็เปิดเทปจังหวะนาทีละ ๑๑ ครั้ง ให้ผู้รับการฝึกหายใจตามเทปเมื่อยังมีบางคนรู้สึกว่าการหายใจเข้านาทีละ ๑๐ ครั้งให้หายใจตามดู ผู้ใดรู้สึกว่าสงบสบายใจในจังหวะหายใจเข้า ๑๑ ครั้งต่อนาทีก็จำการหายใจจังหวะนี้ไว้ฝึกสมาธิครั้งหลังต่อไป เมื่อสมาธิดีขึ้นอีกการหายใจเข้าจะช้าลงแต่สบายมากขึ้น การหายใจช้าลงแต่ความสงบความสบายมากขึ้น นั่นคือสมาธิก้าวหน้าสูงขึ้น

เมื่อบอกเพียงว่าให้หายใจสม่ำเสมอก็ยากที่คนไม่เคยฝึกจะเข้าใจและทำได้ถูกต้อง เมื่อรู้จังหวะสม่ำเสมอ และสบายก็สังเกตจดจำว่าการหายใจนั้นต้องต่อเนื่อง ไม่มีการหยุดชะงัก ผู้ฝึกใหม่หรือไม่สังเกตให้ดีจะเกิดการผิดในการหายใจออกโดยไม่รู้ตัวว่ามีการหยุดชะงักนิดหนึ่ง เมื่อหายใจออกมาหน่อยหนึ่งจะรู้ได้โดยสังเกตการกระเพื่อมของหน้าอกหยุดชะงักนิดหนึ่ง จะสังเกตเห็นได้ในเงากระจก หรือมีผู้ตรวจดูให้โดยดูเงาเสื้อที่เลื่อนขึ้นลงมีการหยุดชะงักนิดหนึ่ง ในการหายใจเข้าโดยธรรมดาจะไม่มีการหยุดชะงัก นอกจากตอนหายใจออก จะต้องต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก แล้วให้คอยสังเกตในเมื่อหายใจเข้าสุดแล้วก็หายใจออก แต่การหายใจออกนั้น ก่อนจะหายใจออกก็จะต้องมีการหยุดหายใจนิดหนึ่ง เปรียบเหมือนเราเดินไปสุดทางจงกรมจะกลับหลังมาก็ต้องมีการหยุดนิดหนึ่งแล้วจึงหันกลับ การหายใจเข้าสุด จะเริ่มหายในออกก็ต้องมีการหยุดนิดหนึ่ง นิดหนึ่งแค่ไหน? ก็ให้หยุดนิดหนึ่งแค่สบาย ถ้าหยุดนานหน่อยก็ไม่รู้สึกสบาย จึงต้องสังเกตให้ดี ให้ยึดถือว่าสบายจึงถูก ต่อไปหายใจออกก็ให้ต่อเนื่องไม่มีการหยุดชะงัก ครั้น
หายใจออกสุดก็ต้องมีการหยุดนิดหนึ่ง แล้วจึงหายใจเข้า หยุดนิดหนึ่งก็แค่สบายไม่อึดอัด จิตจึงเป็นสมาธิ ตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์ว่า “ความสุขสบายเป็นเหตุใกล้ ให้เกิดสมาธิ”

สมาธิที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพียงสมาธิขั้นต้น เมื่อมีสติควบคุมประคับประคองสมาธิให้ก้าวหน้าต่อไปอีกด้วย ความเพียรพยายามไม่ช้าก็เกิดปีติ คือความอิ่มใจ ความปลาบปลื้มที่พบความสุขทางธรรม ซึ่งมีความสุขที่ลึกซึ้ง ดูดดื่มยิ่งกว่าความสุขทางโลกมากมาย เป็นความสุขที่ไม่มีโทษเจือปนเหมือนความสุขทางโลกทุกอย่าง ระดับสมาธิระดับนี้คือสมาธิระดับกลาง จิตแยกออกจากกาย แล้วสมาธิขั้นกลางนี้ก็มีหลายระดับ ระดับปลายก็จะพบแสงโอภาส ต่อจากแสงโอภาสซึ่งเป็นรูปละเอียดที่สุด แล้วจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิขั้นสูง คือ ขั้นฌาน ซึ่งปล่อยวางจากรูปโดยสิ้นเชิง คือมีอุเบกขา ที่กล่าวมานี้เป็นขั้นตอนของ “โพชฌงค์ ๗”

ลองหันกลับไปดูการปฏิบัติของสายพระอาจารย์ มั่น มีตารางปฏิบัติประจำวันจะเหมือนคำสอนของพระอาจารย์ในดง คือนั่งสมาธิไม่เกินวันละ ๓ ครั้ง ครั้งหนึ่งเว้นระยะห่างกันเกิน ๓ ชั่วโมง สมาธิขั้นต้นต้องพิจารณากายให้จบทุกขั้นตอนก่อน การพิจารณาจิตคือเวทนา เป็นต้น พิจารณาเมื่อได้สมาธิขั้นกลางเสียก่อน ใช้สมาธิขั้นกลางอย่างเดียวหรือใช้ทั้งสมาธิขั้นกลางและขั้นสูง ประกอบกันพิจารณา เวทนาและจิต (ดูคำสอนของพระอาจารย์มั่น และคำสอนของพระอาจารย์มหาบัว) สาย พระอาจารย์มั่นเดินธุดงค์กันมาก ดูการปฏิบัติก็คล้ายอาจารย์ในดงลึก จึงน่าจะได้พบพระอาจารย์ในดงและเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ในดงตามข่าวที่ทราบมา

สำหรับการเดินจงกรม พระอาจารย์ในดงมีทำทางเดินจงกรมขึ้นน้อยแห่ง มักจะพาเดินไปในป่าตามธรรมชาติ และการฝึกที่หนักไปทางวิปัสสนาในดงก็สอน ตัวอย่างเช่น หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี เดิมท่านฝึกแบบอานาปานสติ (สมถะ) ครั้นอายุ ๔๕ ปี ไปเรียนกับหลวงปู่โลกอุดรที่เขาใหญ่ เปลี่ยนจากอานาปานสติ มาฝึกแบบ “ยุบหนอพองหนอ” เรียนจบฌานใน ๓ เดือน ท่านก็ปิดเรื่องไปเรียนกับใครที่ไหนตามอาจารย์อื่นๆ ปฏิบัติ แต่ล่วงมา ๒๐ ปีท่านจึงเปิดเผยว่าไปเรียนที่ไหน จะเห็นว่าพระอาจารย์ในดงก็สอนทั้งแบบสมถะ (หนักไป
ทางสมาธิถึงฌาน แล้วจึงหนักไปทางวิปัสสนา) และสอนทั้งแบบวิปัสสนา ถือสมาธิพอประมาณ หนักไปทางวิปัสสนาพิจารณาให้ดีฝึกสมาธิพอประมาณนั้นอย่างน้อย ก็จบอุปจารสมาธิ (สมาธิขั้นกลาง) ก่อนจึงจะเริ่มฝึกหนักไปทางวิปัสสนา นี่เป็นคำตอบพระอาจารย์พุทธทาส เมื่อผู้เขียนถามว่าจะฝึกสมาธิถึงขั้นใดจึงจะเริ่มฝึกวิปัสสนา (ฝึกหนักไปทางวิปัสสนา) ได้ถูกต้องไม่ผิดพลาด (ไม่เป็นวิปัสสนึก)

กล่าวโดยสรุปจะให้ฝึกได้จบสมาธิขั้นกลางภายใน ๓ เดือน ต้องฝึกตามหลักสำคัญในการฝึกจิตของพระอาจารย์ในดง ๗ ประการ และหลักสูตรการฝึกสมาธิในดง ๕ ข้อ ซึ่งเป็นหลักสูตรโดยย่อที่กล่าวแล้ว ทั้งต้องพิจารณาความตายและอสุภะทุกลมหายใจเข้าออก คือตลอดเวลา ส่วนการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า และการแผ่เมตตาในบางเวลาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เรื่องสำคัญมากที่จะช่วยให้ควบคุมการปฏิบัติก็คือ มีตารางกำหนดข้อปฏิบัติประจำวันซึ่งเรียกว่า ข้อวัตร ปฏิบัติ หรือกิจประจำวัน บอกเวลาใดทำอะไรบ้างในรอบหนึ่งวัน ตามตัวอย่างกิจประจำวันของพระอาจารย์มั่นและพระอาจารย์ฝั้นที่กล่าวแล้ว การที่กล้ากล่าวว่า ปฏิบัติดังกล่าวจะได้ผลจบสมาธขั้นกลางนั้นเป็นด้วยผู้เขียนเองได้ปฏิบัติได้ผลจริงมาแล้ว ทั้งๆ ที่ปฏิบัติบกพร่องย่อหย่อนไปบ้าง แต่ที่สำคัญคือสถานที่ฝึกจะต้องเป็นป่าเขาที่สงบสงัดไกลหมู่บ้าน อีกตัวอย่างหนึ่งคือ หลวงพ่อจรัญฝึกเพียง ๓ เดือน ก็จบฌาน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ฝึก ๓ ปี บุญบารมีที่ได้เกิดเป็นคนก็มีสมาธิขั้นต้น โดยกำเนิดแล้ว และสามารถที่จะเรียนรู้ในการทำสมาธิให้ถูกต้อง และสามารถวัดสมาธิด้วยตนเองว่าได้สมาธิขั้นใด ระดับใดแล้ว จะฝึกให้ดีขึ้นทำอย่างไรต่อไป ในด้านการใช้พลังคุณพระพลังจิตก็สามารถเรียนรู้การส่งพลังจิตออกไปดับพิษนํ้าร้อนหรือนํ้ามันกำลังเดือด ให้คนเอามือล้วงได้ ตักกินได้ในขณะกำลังเดือด หรือกอบโซ่ที่เผาไฟจนแดงขึ้นได้ เมื่อส่งพลังออกได้ดังนี้แล้วก็เรียนรู้และสามารถรักษาโรคที่ฝรั่งรักษาไม่ได้ ไม่มียารักษาหลายอย่างก็รักษาได้ผลดี ได้ผลเร็ว เช่นสามารถ รักษาโรคเอดส์โรคมะเร็ง โรควัณโรคที่ดื้อยาบางประเภท โรคเบาหวาน โรคหืด โรคไซนัส โรคพิษสุนัขบ้าที่มีอาการแล้ว โรคทอนซิลอักเสบ โรคไวรัสบี โรคเรื้อนกวางที่เล็บที่ขาชนิดแห้ง โรคต่อมลูกหมากโต โรคนิ่วฯลฯ เป็นต้น ตั้งแต่การฝึกสมาธิถูกต้อง วัดสมาธิได้เอง จนถึงรักษาโรคต่างๆ ได้ผลดีได้ผลเร็วที่กล่าวมาแล้วนี้ สอนให้ทำได้จริงภายใน ๑ วัน (หนึ่งวัน) ที่กล้ายืนยันดัง นี้ก็เพราะได้สอนติดต่อมากว่า ๓๕ ปี แล้ว ได้ผลให้เรียนรู้ได้ทำได้ในหนึ่งวันตลอดมา ส่วนการรักษาโรคต่างๆ ก็ได้ทำจริงรักษาได้มากว่า ๔๐ ปีแล้ว ความรู้เกือบทั้งหมดพระอาจารย์ผู้เป็นศิษย์ในดงเป็นผู้สอน (ศิษย์ในดงหมายถึงผู้มีบุญที่จะฝึกจนถึงเหาะได้ล่องหนหายตัวได้)

ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ทุกท่าน
พ.อ.ชม สุคันธรัต
๑๓/๓ ประชานฤมิตร (กรุงเทพ-นนทบุรี ๕)
เตาปูน บางซื่อ กทม. ๑๐๘๐๐
โทร. ๙๑๑-๒๘๗๔, ๕๘๗-๔๑๒๖, ๕๘๕-๐๒๑๐

ผลการวิจัยปรอทรักษาโรค

ปรอทรักษาโรคได้ผลเร็วหลายโรค
ปรอทนำมาใช้ประโยชน์ในแง่ต่างๆ และจำเป็นต้องใช้ในการวัดอุณหภูมิของอากาศ, วัดไข้, ควบคุมนาฬิกา ให้เดินโดยไม่ต้องไขลาน, ควบคุมกลไกในเครื่องบิน ในเรือ, ในเครื่องบินในอาวุธต่างๆ ใช้ปรอทในการรักษาโรคให้หายได้เร็วหลายโรครวมทั้งโรคเอดส์ มะเร็ง และใช้ประโยชน์อย่างอื่นอีกมากมาย เพราะปรอทมีคุณสมบัติพิเศษหลาย อย่าง การขยายตัวเป็นอัตราตายตัวถูกต้อง คือเพิ่มความร้อนขึ้นสองเท่าก็ขยายตัวเป็นสองเท่าความร้อนเพิ่มขึ้นห้าเท่าปรอทก็ขยายตัวเป็นห้าเท่า ยังไม่มียังไม่พบธาตุอื่นที่ขยายตัวได้ตามส่วนดังกล่าว จะยกตัวอย่างบางประการในการทดลองค้นคว้าวิจัย ตามที่แพทย์ฝรั่งเขียนตำราไว้คือ

๑. ปรอทเป็นยาประเภทยาถ่าย ทดลองโดยเสกปรอทแล้วอธิษฐานกินครั้งละหนัก ๒ บาทถึง ๔ บาท จะทำให้ถ่ายได้หลายครั้ง และอธิษฐานให้หยุดถ่ายก็ได้ ได้ทดลองกินเอง ให้คนไข้กิน ให้สัตว์กิน ได้ผลเป็นยาถ่ายจริง

๒. ปรอทเป็นยาขับนํ้าดี ได้ทดลองใส่ปรอททางฝ่ามือ หรือให้กินแก้ท้องอืดอาหารไม่ย่อยได้ผล เมื่อเป็นโรคดีซ่านก็ใช้ปรอทแก้ได้

๓. ปรอทเป็นยาบำรุงกำลัง ได้ทดลองใส่ปรอท ทางฝ่ามือให้คนไข้มากว่า ๕๐๐ ราย ช่วยให้มีกำลังดีขึ้น แก้อ่อนเพลียได้แน่นอน

๔. ปรอทเป็นยาแก้ปวด ได้ทดลองใช้ปรอทแก้ปวดมากว่า ๕๐๐ คน ได้ผลแก้ปวดได้ดี คนไข้ที่ให้มอร์ฟีนแก้ปวด ในรายปวดมากไม่หายปวด แต่ใส่ปรอทจะหายปวดได้ ในระยะหนึ่ง

๕. ปรอทเป็นยาขับปัสสาวะได้ทดลองใส่ปรอท ให้คนไข้หลายราย จะช่วยให้ถ่ายปัสสาวะได้คล่อง

๖. ปรอทเป็นยาปรับปรุงสุขภาพ ได้ทดลองใช้ปรอทรักษาโรคที่ทำให้อ่อนเพลีย เจ็บป่วยให้หายจากโรค และมีสุขภาพดีมาหลายราย มาเป็นเวลา ๔๐ปีแล้วได้ผลดี

๗. ปรอทเป็นยาฆ่าเชื้อโรคได้ใช้ปรอทรักษาโรคได้ผลดีได้ผลเร็วหลายอย่าง

การค้นคว้าทดลองในแง่อื่นๆ มีหลายอย่างที่ทดลองด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น
การทดลองใช้ปรอทที่เสกป้อนลูกไก่พันธุ์ผสม อายุประมาณ ๗ วันจำนวนประมาณ ๑๒ ตัว และเลี้ยงตามธรรมดาไม่ให้ปรอท ปรากฏว่าในเวลา ๒ เดือน ลูกไก่ที่ป้อนปรอทโตเร็วกว่าลูกไก่ที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมอย่างเดียวกันถึง ๒ เท่า หลังจากนี้ได้ทดลองกินปรอทดูด้วย ตนเองครั้งละหนัก ๑ บาท, ๒ บาท ถึง ๔ บาท ก็ไม่มีโทษ กลับบำรุงกำลังและช่วยรักษาโรคด้วย

ทดลองใส่ปรอทที่ฝ่ามือช่วยรักษาโรคกระดูกหัก ปรากฏว่ากระดูกติดกันหายเร็ว คือแทนที่จะหายใน ๓ เดือน จะหายได้ภายใน ๑ เดือน
ทดลองใส่ปรอทรักษาแผลมะเร็งที่จะต้องตัดขาก็รักษาหายมาหลายราย ไม่ต้องตัดขา

การทดลองใส่ปรอทรักษาโรคเอดส์ก็ได้รักษามาหลายราย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่โรคจะหายเป็นปกติ แข็งแรงดี ใช้เวลารักษาไม่เกิน ๔ เดือน
ทดลองใส่ปรอทรักษาวัณโรค อาการปานกลางจะหายได้แข็งแรง ทำงานได้ภายใน ๒ หรือ ๓ เดือน

ทดลองรักษาวัณโรคระยะต้นมีแผลที่ปอดใหญ่ ประมาณปลายนิ้วชี้ จะหายแผลปิดสนิท เอ็กซเรย์ดูใหม่ไม่พบแผล เคยรักษาผู้จะไปทำงานต่างประเทศ ๒ รายที่ตรวจโรค เอ็กซเรย์พบแผลวัณโรครักษาด้วยปรอท ๗ วัน แผลหาย เอ็กซเรย์ไม่พบแผลได้ไปทำงานตลอด ๒ ปี ก็ไม่เป็นอีกเลย

เรื่องการทดลองวิจัยผลการใช้ปรอทนี้ได้ทำมามาก ยกมากล่าวเพียงบางเรื่องที่ทดลองมาก เพราะได้ถูกฟ้องว่าหลอกลวงประชาชนให้มาตายมากด้วยการเอาปรอททามือรักษาโรคมะเร็ง โดยกระทรวงสาธารณสุขมีหนังสือฟ้องมาทางกระทรวงกลาโหมใน พ.ศ. ๒๕๐๓ ขณะผู้เขียนรับราชการอยู่ที่กรมยุทธศึกษาทหารบก ได้ขอร้องให้ท่านเจ้ากรม ฯ ตั้งกรรมการสอบสวนโดยให้มีอนุศาสนาจารย์ เป็นกรรมการร่วมด้วยหนึ่งคน ผลปรากฏจากการประชุม ผู้ที่เคยรักษาทั้งที่หายจากโรคแล้ว และที่อาการดีขึ้นแล้ว ปรากฏว่ามีนายแพทย์ซึ่งเป็นรุ่นเดียว กับประธานกรรมการเป็นวัณโรคประเภทเป็นสปอร์คือมีพังผืดหุ้ม ยาฉีดเข้าไม่ถึง ถ้าหยุดฉีดยาแผลและสปอร์จะขยายใหญ่ขึ้นรักษาให้ปรอททางฝ่ามือ อาการดีขึ้นมากแล้ว และมีคนไข้มะเร็งที่หายหลายคนมายืนยัน จึงรอดจากความผิด และรู้สึกขอบคุณที่คณะผู้ก่อเหตุใส่ความ ให้มีการฟ้องร้องว่าหลอกลวง เพราะได้รับประโยชน์หลายอย่าง ประการแรกไม่มีคนไข้ไปให้รักษา เพราะทางการไม่ให้รักษา ระหว่างนั้นมีคนไข้วันละประมาณ ๓๐ คน และค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น
ประการที่ ๒ ทำให้มีกำลังใจที่จะค้นคว้าวิจัยให้เห็นชัดว่า ปรอทรักษาโรคต่างๆ ได้ผลดีได้ผลเร็วจริง
ประการที่ ๓ เป็นการช่วยชีวิตมนุษย์ทั้งในประเทศ และนอกประเทศ ที่กำลังเป็นโรคเอดส์ มะเร็ง และโรคที่ฝรั่งยังคิดยารักษาไม่ได้ผล มีแต่ตายมากขึ้น โดยการสอนทั้งไทยและชาวต่างประเทศ ต่างศาสนา โดยไม่คิดค่าสอนและไม่ต้องเปลี่ยนศาสนา นอกจากสอนยังเขียนคู่มือรักษาโรคต่างๆ โดยละเอียดให้เป็นคู่มือฝึกทำได้เอง ส่วนมากเกือบทั้งหมดเป็นคำสอนที่ได้รับการสอนจากพระอาจารย์ในดงลึก และการรักษาโรค การแสดงฤทธิ์ การพิสูจน์ให้เห็นจริงเรื่องผี เรื่องเทวดา มีกล่าวอยู่ในพระไตรปิฎกมากมาย แต่ไม่มีรายละเอียดให้ทำตามได้ เพราะมุ่งหมายจะสอนทางศีลธรรมเป็นหลัก

ศิลาจารึกวัดโพธิ์ มีจารึกเรื่องปรอทตามตำรา ศิลาจารึกวัดโพธิ์ พระนคร พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ในหน้า ๑๖๔ มีฤๅษีชื่อ“ภรัต” เป็นผู้หมั่นเพียร และรอบรู้ในตำรับปรอท

หลังจากผู้เขียน เจ้าของวิทยาศาสตร์ทางใจ ได้บรรยายเรื่องปรอทว่าสามารถฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ และ เคยแสดงการใช้อำนาจจิตบังคับปรอทเข้าตัวคนแล้วเรียกออกมาได้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ แล้ว ก็พักการรักษาโรคด้วยอำนาจจิตให้ประชาชนทั่วไป เพราะมีผู้สงสัยว่า หลอกลวงกับประกอบกับได้ชี้แจงว่าจะต้องวิจัยให้ถ่องแท้ ดูสถิตินานๆ เสียก่อน ผลการวิจัยค้นคว้าจะกล่าวในรูปถามตอบตามที่เคยถูกซักถามมาคือ

ถาม : ปรอทมีความสำคัญต่อคนหรือส่วนรวมอย่างไรท่านจึงมาค้นคว้าเรื่องปรอทและผลการค้นพบมีอย่างไร รักษาโรคอะไรบ้าง?

ตอบ : ความสำคัญของปรอทที่มีต่อประเทศชาติ ก็คือใช้ประโยชน์มากเกือบทุกแง่ทุกมุม เช่น เกี่ยวกับ การอุตสาหกรรม, การแพทย์, การทหาร, การศาสนา, การเศรษฐกิจ และอื่นๆ สินค้าขาเข้านั้น ของที่ใช้ปรอทผสมนับเป็นจำนวนและราคาสูงกว่าวัตถุอื่นๆ กระจกส่องหน้าก็ทาด้วยปรอทอ๊อกไซด์ โรงงานใหญ่ๆ เช่น โรงอบไม้ที่บางโพพระนคร ก็ใช้ปรอทเป็นจำนวนมาก ควบและคุมบังคับให้เครื่องทำงานหรือหยุดทำงานควบคุมความร้อนและใช้กำลังปรอทเปิดปิดประตูใหญ่ๆ การวัดความร้อนและความกดดันของอากาศก็ใช้ปรอท นาฬิกาอัตโนมัติอันเที่ยงตรงก็ใช้ปรอท การแพทย์ใช้ปรอทวัดคนไข้เป็นประจำวัน ใช้ปรอทเข้าตัวยาที่ดีหลายอย่าง ส่วนในการทหารกระสุนทุกนัดนั้นก็มีปรอท ที่ท้ายกระสุนมีดินกรดปรอทสำหรับจุดระเบิด ดินระเบิดแรงสูง ทำโดยผสมปรอทสดก็ได้ ในเรือรบใหญ่ๆ เครื่องบินก็ต้องใช้ปรอท ทางการศาสนาก็เข้าไปพัวพันในทางอ้อม เช่นทำลูกอมปรอท ทำพระปรอท หรือใช้อำนาจจิต อำนาจคุณพระปลุกเสกปรอทให้แข็งโดยไม่ต้องเจือปนธาตุอื่น ใช้ปรอทในทางรักษาโรคภัยและป้องกันอันตรายบางอย่างได้ ปรอทใช้ประโยชน์ได้มากมายและมีคุณสมบัติเป็นพิเศษหลายอย่าง ปรอทแท้ๆ นั้น มีอยู่ในอากาศไปในอากาศได้ไกลๆ ดังนั้นปรอทจึงเป็นสิ่งที่ควรจะได้รับความสนใจอย่างมาก

ปรอทธรรมดาที่ใช้ประโยชน์กันมากในปัจจุบัน ไม่ใช่ธาตุแท้แต่เป็นวัตถุผสมระหว่างธาตุอื่นและไอปรอท ไอปรอทเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเชื้อราที่เล็กและน่าอัศจรรย์ไปในอากาศได้ดึงดูดธาตุอื่นๆ หรือเข้าไปรวมกับธาตุอื่นๆ ได้แล้วทำให้ธาตุอื่นหนักกว่าเหล็ก และมีคุณสมบัติเหมือนธาตุแท้หรือมีกำลังอำนาจพิเศษได้หลายอย่าง เราขับเคลื่อนไอปรอทออกจากปรอทธรรมดาได้ด้วยความกดดันและความร้อนที่เหมาะ ซึ่งจัด ขึ้นได้ด้วยอำนาจจิตหรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ไอปรอทสามารถทำลายตัวเชื้อโรคหลายประเภทเช่นตัวเชื้อ ตัวเชื้อเหล่านั้นจะอยู่ในตัวคนในตัวสัตว์หรืออยู่ในที่ใดๆ ก็ตาม ไอปรอททะลุทะลวงผ่านเนื้อผ่านกระดูกของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีเซลประเภทเดียวกับคนโดยไม่ทำอันตรายแก่ เซลที่ดี และไม่สะสมตกค้างอยู่ในร่างกาย วิจัยจากตำรับโบราณแล้วทดลองและติดตามผลกับตัวเอง คนอื่น, สัตว์, ดินปืนและวัตถุอื่นๆ มาเป็นเวลานาน โดยใช้วิชาการทางวิทยาศาสตร์ และทางอำนาจจิต สมาคมใดต้องการพิสูจน์ทดลองเพื่อใช้ประโยชน์แก่ส่วนรวม และประเทศชาติในทางอุตสาหกรรม ทางการแพทย์ และทางอื่นๆ เรายินดีให้ความกระจ่างแจ้งในเมื่อจะพูดกันอย่างบัณฑิตไม่แฝงความอันธพาลหรือเอาแต่ใจตัว

สำหรับปรอทนั้นโบราณถือว่าเป็นของกายสิทธิ์คือ มีฤทธิ์อำนาจพิเศษในตัว และใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ต่างๆ นานา เอาปรอทธรรมดาติดตัวไว้ก็กันผีกันไข้ป่าได้ ใช้ปรอทประกอบกับอำนาจจิตทำให้เกิดฤทธิ์อำนาจได้แปลกๆ ใช้ในทางยาก็รักษาโรคได้หลายอย่าง ใช้ในทางคงกระพันชาตรีใช้ในทางเมตตามหานิยมและแก้พิษยา พิษสัตว์ก็ได้ ใช้ปรอทผสมกับธาตุอื่นผสมกับยาอื่นก็ทำได้หลายอย่าง ดังปรากฏในตำราวัดโพธิ์ฉบับสมบูรณ์หน้า ๒๓๐, ๒๓๖, ๒๓๗ และ ๔๑๔ ใช้ปรอทผสมยาอื่น แก้โรคเรื้อน โรคมะเร็งทั้งปวงเป็นต้น ปรอทจะเป็นของกายสิทธิ์จริงหรือไม่และความรู้เรื่องปรอทนั้น นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่มีเครื่องมือทันสมัยมาก แต่มีความเห็นขัดแย้งกันกับอาจารย์ผู้มีสมาธิสูงนั้น ใครจะเป็นฝ่ายถูกก็เชิญลองศึกษาพิจารณาและทดลองกันดูต่อไป
ที่จริงกล้องสมัยใหม่ไม่สามารถจะเห็นส่วนเล็กที่สุดของธาตุ ซึ่งเรียกว่าปรมาณูได้ และส่องไม่เห็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กได้ทุกอย่าง เช่นไม่เห็นตัวเชื้อมะเร็งเป็นต้น ฉะนั้นหลักเกณฑ์หลายอย่างจึงต้องอาศัยคาดคะเน หรือพิจารณาตามผลที่ปรากฏออกมา ดังนั้นหลักวิชาจึงมีการผิดพลาด และแก้ไขกันอยู่เสมอไม่มีการจบ ในเรื่องยาดีๆ ก็ต้องค้นคว้าขึ้นใหม่เรื่อยไป เพราะยังมียาอีกมาก อย่างที่ให้คุณดีพร้อมกับมีโทษร้ายแรงประจำอยู่ด้วย

วิทยาศาสตร์สมัยใหม่กำลังพออกพอใจในเรื่องการแตกตัวของปรมาณู หนังสือไทม์ประจำ ๖ ต.ค. ๒๕๔๐ กล่าวไว้ว่า ในปี ๒๕๐๕ นี้ทางอเมริกาให้ทุนค้นคว้า และสอนการใช้ไอโซโทปของธาตุต่างๆ ประกอบกับการฉายแสง แต่ความจริงเรื่องไอโซโทปนั้น ฤๅษีได้ใช้มาก่อนและที่แน่ๆ คือไอโซโทปของปรอท ไอโซโทปนั้นก็คือการเปลี่ยนแปลงในปรมาณูของธาตุ แต่ธาตุนั้นยังเป็นธาตุเดิมอยู่ต่างแต่ว่าคุณสมบัติทางเคมีเปลี่ยนแปลงไป เช่นนํ้าหนักเปลี่ยนแปลงความว่องไวหรือสมบัติอย่างอื่นๆ เปลี่ยนไป วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ถือว่าปรอทเป็นธาตุแท้ แต่อาจารย์ทางจิตเห็นว่าปรอทที่ซื้อขายกันอยู่นั้นไม่ใช่ธาตุแท้แต่มีธาตุอื่นเจือปนอยู่ ถ้าปรอทแท้แยกตัวออกก็จะล่องลอยไปในอากาศได้และไปรวมกันที่ใดก็ได้ นอกจากนั้นยังเห็นว่าปรอทเป็นพวกเชื้อราชนิดหนึ่ง ลองค่อยๆ คิดและพิจารณาดู ทดลองดู ว่าใครจะถูก

เอาปรอทกรอกปากคนที่ตาย ปรอทจะรักษาศพไม่ให้เน่า ศพจะแห้งไปทั้งตัวอยู่ได้นับร้อยปี ที่จริงปรอทจะเข้าไปอยู่ในกระเพาะ ลำไส้ แต่ครั้นแขนขาหรือส่วนสมองของศพจะเน่าปรอทแท้ก็จะแยกตัวไปยังส่วนต่างๆ ช่วยไม่ให้เน่าได้ นักวิทยาศาสตร์ก็เคยใช้ปรอททำให้สัตว์แห้ง (สตาฟฟ์) มาแล้ว ภายหลังมียากันเน่าอย่างอื่นดีกว่าคือรักษาสีของสัตว์ได้ด้วยจึงเลิกใช้ปรอท (ปรอท จะช่วยรักษากันเน่าได้เฉพาะสัตว์เนื้อหยาบหรือมีกล้ามเนื้อลาย)

เอาปรอทใส่ขวดยางแล้วเปิดขวดไว้บีบขวดไปมา ปรอทจะดึงธาตุอื่นเข้ามาบ้าง ปรอทแท้ระเหยหนีบ้าง ปรอทที่เหลือจึงมีคุณสมบัติเลวลงคือดำและเบาขึ้นกว่าเก่า

เอาปรอทวางบนฝ่ามือแล้วเอานิ้วมือกดไปบ้างถูไปบ้าง ไอปรอทหรือปรอทแท้จะแทรกไปในหัวแม่มือ แม้จะล้างมือเช็ดมือจนเกลี้ยงก็ยังมีไอปรอทแฝงอยู่ภายใน ถ้าเอาหัวแม่มือนั้นมาถูกทองไอปรอทจะแล่นมาจับทองเป็นคราบขาว ถ้าถูตะกั่วอ่อนปรอทจะแล่นไปทำให้ตะกั่วอ่อนสลายติวเป็นขุยคล้ายบุหรี่และปูด แล้วหักลงแล้วปูดออกต่อๆ ไปจนทะลุได้

เอาปรอทใส่ฝ่ามือแล้วเอาหัวแม่มือถูไปมาพร้อมกับใช้อำนาจจิตอธิษฐานให้ปรอทเข้าตัวคน ปรอทแท้ก็แยกตัวแล่นไปในตัวคนได้ไปช่วยรักษาให้โรคหายได้ ส่วนปรอทที่เหลืออยู่ในฝ่ามือเป็นขี้ปรอทละเอียดเป็นแป้งอยู่เก็บไว้นานๆ ก็คืนตัวเป็นปรอท และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นปรอทที่ดีขึ้นทีละน้อย อนึ่ง ปรอทที่เข้าตัวคนไปแล้วจะเรียกออกด้วยอำนาจจิตก็ทำได้ ปรอทที่ถูกอำนาจจิตแล้ว เข้าไปอยู่ในร่างกายคนประมาณ ๑ วัน ก็ระเหยออกไปเองได้ ไม่ไปทำอันตรายแก่อวัยวะภายใน ส่วนขี้ปรอทที่เกิดโดยอำนาจจิตทำให้ละเอียดนั้นก็อมได้ กินได้ กลับไปช่วยรักษาโรคภายในได้ ทั้งนี้เป็นเรื่องที่ทำกันอยู่หลายแห่งในปัจจุบัน และมีหลักฐานตำราเกี่ยวกับปรอทอยู่มาก

เอาปรอทธรรมดาใส่ปากแล้วบ้วน จะทำให้เหงือกอักเสบและเจ็บปวด เอาปรอทใส่ชามแล้วเอาฝ่ามือช้อนปรอทถูฝ่ามือเข้าด้วยกัน ปรอทจะเข้ามือแต่ไม่แล่นเหมือนใช้อำนาจจิตจึงทำให้ฝ่ามืออักเสบบวมเจ็บปวดขึ้น ในป่าทึบหรือใกล้บ่อทองหรือใกล้ที่แฉะที่มีแสงปรอทเรืองๆ ในเวลากลางคืน ไปนั่งนอนอยู่บริเวณนั้นจะอ่อนเพลียลงและเป็นไข้ปรอท ถ้าขืนอยู่ไปก็ตายได้ แต่ถ้าเอาปรอทเข้าตัวด้วยอำนาจจิตแล้ว ปรอทเถื่อนจะทำอันตรายไม่ได้

เมื่อถูกพิษงูพิษตะขาบแมลงป่อง พิษว่านใช้ปรอทประกอบอำนาจจิตรักษาได้ หรือใช้ป้องกันได้

ปรอทชอบอยู่ในที่เย็นหรือที่มีของเน่าเปื่อยหรือที่มีธาตุซึ่งปรอทชอบเข้ารวมตัว

เอาปรอทธรรมดาใส่กล่องตะกั่วหรือใส่ทองจะไม่เกิดปฏิกิริยาหรือไม่ผสมกัน ไม่เปลี่ยนแปลงแต่ถ้าให้ความร้อนความกดดัน หรือใช้อำนาจจิตปรอทแท้ก็แยกตัวไปผสมทองหรือตะกั่วได้

ปรอทแข็งหรือพระปรอทในตำราก็บรรยายสรรพคุณไว้มาก ถ้าทำไม่ได้ดีถึงขนาดก็ย่อมไม่ได้ผลตามที่บรรยายไว้ หรืออาจจะใช้ได้เพียงระยะต้นๆ นานไปก็เสื่อม เพราะปรอทเป็นของกายสิทธิ์หนีไปได้ การฆ่าปรอทให้ตาย หรือฆ่าปรอทให้ตายเป็นกายสิทธิ์นั้นมีทั้งวิธีใช้จิตและใช้ธาตุอื่นประกอบกับจิต หรือใช้ว่านเป็นเครื่องช่วยได้หลายชนิดดังปรากฏอยู่ในตำรากบิลว่าน และในตำรับปรอท การบรรยายรายละเอียดมากไป อาจจะไม่ตรงกับความประสงค์ของผู้อ่าน ฉะนั้นจึงขอเปลี่ยนเป็นการทดลองให้เห็นจริงและเปิดให้ซักถามต่อไป

กล่าวโดยย่อปรอทมีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง เช่นมีความแน่น และนํ้าหนักมากกว่าวัตถุหรือธาตุอื่นๆ มีความไวทั้งการเข้าผสมและการเล็ดลอดทะลุทะลวงเข้าสู่สิ่งอื่นหรือหนีไป แม้ในเนื้อในกระดูกก็ลอดเข้าไปได้ ยืดตัวขยายได้มากไปในอากาศได้ไปรวมตัวกันในที่อื่นก็ได้ มีรังสีในตัวและมีคุณสมบัติเหมือนเชื้อรา ดังนั้นปรอทจึงใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกแง่ทุกมุม ตัวอย่างเช่น

๑. ทางการแพทย์ทั้งแผนโบราณและปัจจุบันยังใช้อยู่มาก (เป็นยาโดยตรงหรือใช้ผสมกับสิ่งอื่น ใช้ทำปรอทวัดคนไข้ฯ)

๒. ทางอุตสาหกรรม ทางเศรษฐกิจการค้า (ใช้ในการถลุงแร่ ใช้ในกิจการร้านทอง ทำกระจกและพวกวัตถุสะท้อนแสง ทำนาฬิกาอัตโนมัติ ใช้ปรอทควบคุมเครื่องยนต์กลไกหรือเปิดปิดประตูใหญ่ๆ เช่นในโรงงานอบไม้ ฯลฯ)

๓. ทางอุตุวิทยา (การพยากรณ์อากาศ) ใช้ปรอท วัดความร้อน วัดความกดดันของอากาศ

๔. ในกิจการทางศาสนา ทางการทหาร และอื่นๆ ก็ใช้ปรอทเป็นประโยชน์ได้หลายอย่างใช้ในทางเวทย์วิทยาต่างๆ ใช้ได้ทั้งการป้องกันสรรพอันตราย ภูตผี ใช้ได้ทั้งทางสังหารทำลาย หรือทำให้วิบัติกระสุนทุกนัด ก็มีดินกรดปรอทสำหรับจุดระเบิดที่ท้ายกระสุน จะให้ดินระเบิดแรงขึ้นก็ใช้ปรอทผสม (ใช้กับพลุบั้งไฟก็ได้) ในเรือใหญ่ๆ ก็ต้องใช้ปรอทพระปรอท ลูกอมปรอท ปรอทกรอ ลูกนิมิต ก็ล้วนใช้ปรอทเข้ามาประกอบกับอำนาจจิตอำนาจคุณพระ จึงมีอำนาจเพิ่มดีขึ้น

๕. การใช้ปรอทในกิจการแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนปัจจุบันก็ใช้ปรอทในกิจการแพทย์อย่างกว้างขวาง และมีหลักฐานเกี่ยวกับการใช้และคุณประโยชน์ของปรอทอยู่มาก ขอยกตัวอย่างในหนังสือแพทย์ศาสตร์นิทเทส (วิชาแพทย์แผนปัจจุบัน) ของขุนนิเทศสุขกิจ อดีตเลขาธิการนายทะเบียน และหัวหน้ากองควบคุมการประกอบโรคศิลปะกระทรวงสาธารณสุข พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๐๑ หน้า ๗๖, ๙๓, ๑๐๐, ๑๒๑, ๑๓๘, ๑๔๔, และหน้า ๑๔๙ คือ
หน้า ๗๖ ปรอทเป็นยาประเภทยาถ่าย
หน้า ๙๓ ปรอทเป็นยาขับน้ำดี
หน้า ๑๐๐ ปรอทเป็นยาบำรุงกำลัง
หน้า ๑๒๑ ปรอทเป็นยาแก้ปวด
หน้า ๑๓๘ ปรอทเป็นยาขับปัสสาวะ
หน้า ๑๔๔ ปรอทเป็นยาปรับปรุงสุขภาพ
หน้า ๑๔๙ ปรอทเป็นยาฆ่าเชื้อโรค

ในปัจจุบัน ก็ใช้ปรอทเป็นยาผสมยากินยาทาที่ได้ ผลดีหลายอย่าง เช่น ปรอทเปอร์คลอไรด์ละลายนํ้ากิน แก้โรคพุพอง (ชนิด Lichen Planus) ที่ใช้เป็นยาทา แก้โรคผิวหนังโรคพุพองเช่นขี้ผึ้งปรอท ปรอทออคไซด์ เหลืองขี้ผึ้ง ปรอทเหลือง ขี้ผึ้งปรอทคลอไรด์ ปรอทแอมโมเนีย ขี้ผึ้งปรอทแอมโมเนีย ที่ใช้ผสมเป็นยาฉีด คือ ปรอทซาลิซิเลด ใช้ฉีดแก้โรคซิฟิลิสระยะที่ ๒ และระยะ ที่ ๓ การตรวจไต การตรวจเนื้องอกในสมอง ใช้ปรอทช่วยได้ชัดเจนกว่าอย่างอื่น ๆ ในเรื่องนี้ ดร.แอลแจฟ แห่งรัฐลอสแอนเจลิสอเมริการายงานต่อที่ประชุม สหพันธ์อเมริกาเหนือแห่งสถาบันศัลยแพทย์นานาชาติ เมื่อปลายปี ๒๕๐๗ ว่า การตรวจเนื้องอกอาจทำได้ดี หลังจากฉีดสารกัมมันตภาพรังสีเข้าเส้นโลหิต แต่สำหรับ เนื้องอกในสมองใช้ปรอทกัมมันตภาพรังสีปรอทจะจับตัวอยู่ที่ก้อนเนื้องอกในสมอง และรังสีของสารนี้จะปฏิกิริยากับฟิล์มถ่ายภาพทำให้ศึกษาขนาดและตำแหน่งเนื้องอกได้ชัดเจนกว่าการตรวจแบบอื่น…การตรวจไตก็ใช้ปรอทกัมมันตภาพรังสี….ข่าวนี้นอกจากลงในวารสารอเมริกาแล้วยังมีลงใน หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันที่ ๑๙ กันกายน พ.ศ. ๒๕๐๗ และนำลงในวารสารวิทยาศาสตร์ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฉบับเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๐

ถาม: หลายคนที่กล่าวว่าวัณโรคนั้นเป็นเรื่องเล็กในสมัยนี้ แต่ก็ยังปรากฏว่ามีคนเป็นเรื้อรังอยู่เป็นจำนวนมาก ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร? แผนโบราณ มีอาจารย์รักษาได้ผลดีอยู่ที่ไหน

ตอบ: ในต่างประเทศแม้ที่เป็นมหาอำนาจเขาก็ไม่เห็นว่าวัณโรคเป็นเรื่องเล็ก กลับเป็นเรื่องใหญ่ต้องทุ่มเทเงินช่วยเหลือและพยายามโฆษณาแนะนำโดยทั่วถึง ยังปราบไม่ได้เด็ดขาด เป็นแต่เพียงดีขึ้นกว่าเก่า ทั้งนี้เพราะวัณโรคเป็นบางแห่งตัดทิ้งไม่ได้ บางแห่งรักษายาก และ บางทีก็ดื้อยา ยาที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์สมัยนี้คือ “สเตปโตมัยซิน” ซึ่งทำขึ้นได้ตั้งแต่ ๓๐ ปีที่แล้วมา ที่ประเทศอังกฤษมียาดีๆ มานานแล้วทั้งยังมีกฎหมายป้องกันการแพร่วัณโรคแล้ว แต่ก็ยังปราบวัณโรคไม่ได้ผลดี ต้องหันมาอาศัยการฉีดยาป้องกันเป็นการใหญ่ จึงปรากฏว่าระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๑ – ๒๕๐๑ (รวม ๑๐ ปี) ได้ช่วยลดจำนวนผู้ตายเพราะวัณโรคได้ ๘๐เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ นี้เอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ตรวจสอบประชาซนในเมืองกลาสโก ด้วยการถ่ายเอกซเรย์พบว่า เฉพาะคนพวกที่ว่าไม่มีอาการว่าเป็นโรคอะไรนั้น มีวัณโรคในปอดถึง ๒๓๖๙ คน (สองพันสามร้อยหกสิบเก้าคน) ต้องทำการรักษาราว ๘ เดือน จึงสามารถกลับไปทำงานได้มากกว่า ๘๕ เปอร์เซนต์ นี่ก็น่าพิจารณาดูว่าประเทศที่เจริญกว่าเรารักษาวัณโรคให้คนที่ร่างกายยังดี ไม่รู้สึกตัวว่าเป็นอะไร กินเวลาถึง ๘ เดือน ยังไม่หายหมดทุกคน (จากนิตยสารการแพทย์ของอังกฤษ) รัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญ และดำเนินการเรื่องฉีดยาป้องกันแล้ว ถ้าประชาชนร่วมมือด้วยดีก็จะได้ผลดังที่อังกฤษทำมาแล้ว

สำหรับแผนโบราณ ข้าพเจ้าพยายามศึกษาและติดตามดูหลายปี ปรากฏว่า บางอาจารย์ก็ใช้คุณพระใช้ปูน ใช้นํ้ามนต์รักษาวัณโรคชนิดธรรมดาและชนิดดื้อยาหายได้ บางอาจารย์ก็ใช้ยาประกอบอำนาจจิตอำนาจคุณพระ ที่ได้ผลดีก็มีมาก ถ้าจะพิสูจน์ทดลองกันให้เป็นบทเรียน เพื่อประโยชน์ส่วนรวมก็ยินดีแนะนำให้รู้จัก

ถาม : โรคเอดส์โรคมะเร็งซึ่งยังผลาญชีวิตมนุษย์อยู่ปีละมากๆ นั้น ท่านได้ติดตามและค้นคว้าเรื่องทั้งทางแผนปัจจุบันและแผนโบราณได้ความว่าก้าวหน้าไปเพียงใดแล้ว?

ตอบ : สำหรับแผนปัจจุบันนั้น ยังอยู่ในระหว่างค้นคว้าแก้ไขใหม่อยู่ ยังได้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ ส่วนแผนโบราณติดตามดูผลมานานแล้ว ปรากฏว่ามีหลายอาจารย์ที่รักษาโรคมะเร็งหลายประเภทได้ผลดีพอใช้ ถ้าได้ใช้วิธีการแผนปัจจุบันประกอบด้วยก็จะได้ผลดีขึ้นมาก จะนำหลักฐานความก้าวหน้าเรื่องมะเร็งมากล่าวโดยย่อนี้

ความก้าวหน้าในการรักษาโรคมะเร็งแผนปัจจุบัน (ย่อใจความจากหนังสือไทม์ ประจำ ต.ค. ๒๕๐๔ และเอกสารเกี่ยวกับรังสีและมะเร็ง) แพทย์เริ่มใช้รังสีรักษาโรคมะเร็งมา ๖๐ ปีแล้วแก้ไขให้ดีขึ้นมาได้ ๔๐ ปี (นับมาถึง พ.ศ. ๒๔๘๔) คนป่วยเป็นโรคมะเร็งก็ยังรอดชีวิตได้น้อย ทั้งยังมีข้อเสียคือมีอาการไหม้ที่เนื้อหนังส่วนที่ไม่ได้เป็นมะเร็งเพราะฤทธิ์ของรังสี ทำให้เกิดอาการคลื่นเหียน ทำให้โลหิตจางและทำให้ปอดอักเสบ นอกจากนั้นมีหลายแห่งที่เป็นมะเร็งแล้วใช้รังสีธรรมดาไม่ได้ผล ข้อเสียดังกล่าวนี้ยังแก้ไม่ได้หมด ในปัจจุบันนี้จึงพยายามแก้ให้ข้อเสียเหล่านั้นเบาบางลง โดยใช้วิธีการอื่นมาร่วมกับรังสี คือใช้ออกซิเจนความดันสูงอัดเข้าไปในเส้นโลหิตประมาณ ๑๕ นาทีแล้วจึงฉายรังสีเข้าไป แล้วใช้ไอโซโทปของวัตถุอื่นๆ (โคบอลต์, เบตาตรอน, ฟอสฟอรัส, ไอโอดินและทอง) วิธีการใหม่ๆ เหล่านี้ ต้องใช้เครื่องมือที่แพง ต้องใช้คนที่ฝึกไว้อย่างดี สาธารณสุขของอเมริกาเตรียมค่าฝึกสอนและงบประมาณเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๐๔ นี้ เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลที่จะทำการสอนวิธีการใหม่ๆ นี้ นายเจมส์ นิคสัน กล่าวในที่ประชุมรังสีแพทย์ ที่อเมริกาเมื่อ ก.ย. ๒๕๐๕ ว่าอีก ๑๐ ปีข้างหน้า การใช้รังสีจะก้าวหน้าถึงขั้นช่วยคนไข้ได้มาก การคาดคะเนผลนี้ ผิดพลาดถนัด ดังที่กล่าวมาแล้ว และข่าวจริงที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ความก้าวหน้าทางแผนโบราณในการรักษาโรค เอดส์ โรคมะเร็ง ข้าพเจ้าได้พยายามติดต่อกับอาจารย์ที่มีสมาธิสูงหลายท่าน และศึกษาวิธีการรักษาโรคที่เรื้อรัง ไม่มีทางอื่นที่รักษาได้ และจากการวิจัยอย่างรอบคอบพบความจริงว่า การใช้อำนาจจิตนั้น ได้ผลดีเฉพาะโรคที่มีที่ตั้งโดยแน่นอน ถ้าประเภทลุกลามง่ายย้ายที่อยู่ได้ดัง โรคเอดส์โรคมะเร็งก็รักษาทางจิตได้ เมื่อปลายปี ๒๕๐๒ ข้าพเจ้าได้พยายามวิจัยและติดตามอำนาจของปรอทในการรักษาโรคของอาจารย์ต่างๆ โดยใช้อำนาจจิตประกอบ ได้พบว่า ไอระเหยของปรอทมีคุณสมบัติในทางทะลุ ทะลวงได้ดี ทำลายเชื้อได้ผลดีหลายอย่างเท่าที่พิสูจน์ทดลองมามากได้แก่โรคมะเร็ง เอดส์ วัณโรค ฝีทุกประเภท แผลเรื้อรัง หนองในโพรงกระดูก เชื้อรา และเชื้อหนอง ที่รากฟัน ปรอทที่ถูกกระตุ้นให้เป็นไอระเหยด้วยอำนาจจิตนั้นละเอียดว่องไวและแทรกซึมได้เร็วอยู่ในร่างกาย ประมาณ ๒ วัน ก็ออกจากตัวคนไข้หมด ไม่ทำให้เนื้อหนังที่ดีถูกทำลายและไม่มีอาการแพ้ ถ้าหากใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มากระตุ้นแทนอำนาจจิตได้ก็น่าจะได้ประโยชน์กว้างขวางไปมากในระหว่างที่รอการค้นคว้าแผนใหม่ด้วยการใช้ยาใช้ออกซิเจน และใช้ไอโซโทปของสารต่างๆ ประกอบกับการใช้รังสี น่าจะลองใช้ไอโซโทป ของปรอทอยู่บ้าง วิธีใช้ปรอทรักษา ทำอย่างไรจะได้กล่าวละเอียดเป็นโรคๆ ไป

ถาม : การรักษาแบบโบราณ หรือยาแบบโบราณนั้น ประเทศที่เจริญมากแล้วเขาเลิกนิยมกันแล้วไม่ใช่หรือ ท่านยังเห็นอะไรดีๆ ของโบราณเหลืออยู่พอที่จะเชื่อถือและพิสูจน์ทดลองได้บ้าง?

ตอบ : การที่ไม่นิยมแผนโบราณนั้น เป็นไปชั่วระยะหนึ่งที่กำลังหลงวิทยาการแผนใหม่เท่านั้น เท่าที่ข้าพเจ้าได้ไปเห็นมาเองหลายประเทศและติดตามข่าวสารอยู่เสมอ ปรากฏว่าเวลานี้ต่างประเทศที่เจริญมากกลับได้เห็นความสำคัญของแผนโบราณ และกำลังศึกษาวิธีการของ แผนโบราณหลายสาขาตัวอย่างเช่น ที่อเมริกาเห็นความสำคัญของความรู้แปลกๆ สมัยโบราณ จึงได้เพิ่มเติมหลักปรัชญาการศึกษาของชาติในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ขึ้นจากเดิม คือ สมาคมการศึกษาของอเมริกันกล่าวย้ำใจความว่า “ศัตรูของการศึกษานั้นอยู่ที่อบรมไม่ให้นักศึกษามี ความสามารถคิดโดยอิสระเสรี….ควรมีความอดทนยินดี รับฟังความเห็นตรงกันข้ามด้วยเหตุผลและความจริง…. ควรสอนให้รู้ไหวพริบในการแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อเข้าถึงความจริงในโลก..”  โรงเรียนแพทย์ในอเมริกาก็ได้เพิ่มหลักสูตรให้ศึกษาการรักษาโรคอันเกี่ยวแก่อำนาจจิตหรือใช้อำนาจจิตเข้าประกอบ นายรอบเบิต หัวหน้าโบสถ์ เมืองทัลซ่า รัฐโอกลาโฮม่าได้รักษาโรคโดยใช้อำนาจจิต ใช้มือลูบได้ผลดี และได้แสดงทาง ที.วี.หลายครั้ง ทางการไม่ได้พิจารณาว่าเป็นสิ่งหลอกลวง ดังที่บางประเทศชอบโจมตีกันอยู่เสมอ ที่อิตาลีก็มีหมอรักษาด้วยวิธีนี้ ได้ผลดีเช่นกัน ที่ฮ่องกงยอมรับวิธีรักษาโรคปวดเจ็บโดยใช้เข็มหลายขนาดแทงจี้ประสาทให้ใช้ในโรงพยาบาลได้ วิชานี้มีผู้ทำได้ดีมาแต่โบราณ และเวลานี้ในประเทศไทยก็มีหมอประเภทใช้เข็มแทงมาทำการรักษาหลายคน หมอวิเศษสมัยโจโฉได้แก่เซียนซือกงเจ้าของตำรับการผ่าตัดการตอน และการรักษาโรคประสาทตามโรงเจใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ สร้างรูปเซียนซือกงไว้กราบไหว้หลายแห่ง ในประเทศอังกฤษมีสมาคมค้นคว้าวิญญาณหรือของแปลกๆ สมัยโบราณ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ สมาคมค้นคว้าแห่งชาติที่กรุงลอนดอน ได้เริ่มวิเคราะห์หัวกวาวซึ่งส่งไป จากเมืองไทย หัวกวาวเป็นยาอายุยืนสมัยโบราณช่วยรักษาโรคได้หลายอย่าง ครั้นเห็นว่าเป็นของดีจริงจึงให้ทุนค้นคว้าอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงได้ซื้อหัวกวาวตากแห้งจากเชียงใหม่ ๒ คราว รวมหนัก ๓๒๐ กิโลกรัมทดลองสกัดตัวยาไปรักษาในโรงพยาบาลดูแล้ว ลงเอยว่าเป็นยาที่ดีจริงแต่มีพิษเจือปนอยู่ (ดูรายละเอียดได้จากวารสารเนเจอร์ประจำ ธ.ค. ๒๕๐๓) ความจริงตำราไทยมีมานานแล้วและใช้ได้ผลดีจริงมาหลายชั่วคน ข้าพเจ้าและคณะร่วมอาจารย์ก็ได้กินกันอยู่หลายครั้งนับว่าได้ผลดี การที่เขาวิเคราะห์ว่ามีพิษก็เป็นด้วยไม่รู้จริงนั่นเอง กล่าวคือ หัวกวาวบางชนิดหรือเกิดในบางบริเวณก็มีพิษต้องรู้วิธีเลือกอย่างถี่ถ้วนจึงจะได้ของดีจริง นี่ก็เป็นบทเรียนให้เห็นว่าของดีสมัยโบราณหลายอย่างถูกเข้าใจว่าเป็นของไม่ดีไม่จริงไปมาก ก็เพราะคนไม่รู้จริงนี่แหละ สำหรับการรักษาโรคด้วยการอาศัยอำนาจจิต ด้วยวิธีเอามือลูบคลำในอังกฤษก็เจริญก้าวหน้ามากจนถึงกับยินยอมให้เข้าช่วยรักษาในโรงพยาบาลได้ ในเมื่อโรงพยาบาลรักษาให้ดีขึ้นไม่ได้ และ คนไข้สมัครใจจะใช้หมออำนาจจิตมาช่วย แต่อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบผลการรักษาด้วยอำนาจจิตถ้วนๆ ทั้งในประเทศไทยในอังกฤษและอเมริกาแล้วยังนับว่าได้ผลน้อยกว่าอาจารย์สมัยโบราณมาก ต้นตำรับการถ่ายจิตไปรักษาโรคโดยปล่อยกระแสออกทางฝ่ามือหรือนิ้วมือนี้ เป็นของโยคีในอินเดีย ต่อมาปรากฏว่าพระเยซูใช้วิธีการนี้สำเร็จผลเป็นอย่างดี ดังที่ปรากฏในคัมภีร์ศาสนาคริสต์ และในที่สุดที่ประเทศไทยเราก็มีตำราที่ละเอียด และมีผู้ทำได้ดีหลายท่านเมื่อทำขั้นสัมผัสได้ดีแล้วก็มีขั้นสูงต่อไป คือปล่อยพลังงานจิตไปรักษาระยะไกล
ขอนำเอาข้อความในหนังสือพิมพ์สยามนิกร ฉบับวันเสาร์ที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๓ ในหน้า ๘ มีข้อความดังนี้

ให้หมอผีเข้ารักษาในโรงพยาบาล ว่าถ้าหากคนไข้ต้องการ “ผู้วิเศษ” บอกว่ามั่นใจจะช่วยคนไข้ได้ค่อน ร.พ.
บุกโรงพยาบาล
รายงานข่าวที่ปรากฏอยู่ในนิตยสารนิวสวีคของอเมริกาฉบับที่แล้วแจ้งต่อไปว่า “การรักษา” ดังกล่าวนี้ โดยบมือของ “หมอ” (healer) ชั้นนำในอังกฤษ (ฮาร์รี่ เอ๊ดวาร์ดส์ ในปัจจุบันคือ ผู้มีส่วนในการก่อตั้ง และเป็น ประธานของสหพันธ์หมอไสยศาสตร์แห่งชาติของอังกฤษ) ได้เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่ “คลินิก” ซึ่งนายเอ๊ดวาร์ดส์ได้ตั้งขึ้น ณ บ้านอันหรูหราของเขาใกล้ๆ กับหมู่บ้านเชียร์ อันเงียบเชียบในจังหวัดเชอร์รี่ย์ ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ในเวลาอีกไม่ช้าข้างหน้านี้ เอ๊ด¬วาร์ดส์กับสมัครพักพวก “หมอ” ของเขาอีก ๒,๖๐๐ คน ก็มีหวังจะปฏิบัติการรักษาคนไข้ด้วยวิธีการอันพิสดารของเขา ว่ากันไปตั้งแต่การจับต้องลูบคลำกระดูกอย่างปราศจากหลักวิชาจนกระทั่งถึงการนวด, การสกดจิต, การสวดมนต์ และการให้การแนะนำอย่างง่ายๆ ภายในอาณาเขตที่เชื้อโรคทั้งหลายได้ถูกทำลายจากของโรงพยาบาลต่างๆ ของอังกฤษ

แล้วแต่คนไข้
เป็นเรื่องแทบไม่น่าเชื่อเลย ที่ ณ บัดนี้คณะกรรมการ อันกอปร์ด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของโรงพยาบาลต่างๆ จำนวน ๒๕๗ คน ซึ่งเป็นผู้ดำเนินงานในโรงพยาบาลต่างๆ ถึง ๑,๖๖๔ แห่ง จากจำนวนโรงพยาบาลทั้งหมด ๓,๓๔๔ แห่งของอังกฤษ ได้ลงมติตกลงยินยอมให้หมอทางไสยศาสตร์เข้าไปทำการรักษาตามห้องคนไข้ของโรงพยาบาลได้….ในเมื่อคนไข้รายใดมีความปรารถนา เช่นนั้น

แล้วแต่โรงพยาบาล
เมื่อคราวที่ “หมอ” เหล่านี้ได้ขออนุญาตเข้าไปทำการรักษาเป็นครั้งแรกในโรงพยาบาล ๒-๓ แห่งในกรุงลอนดอนเมื่อเดือนกันยายนที่แล้วนั้น ปรากฏว่าทางสมาคมแพทย์แห่งประเทศอังกฤษ (บีเอมเอ) ได้ยอมให้ ทางฝ่ายผู้บริหารของโรงพยาบาลเหล่านั้นเป็นผู้วินิจฉัยเอาเอง ตามความสมัครใจ หรือตามแต่จะเห็นสมควร โดยสิ้นเชิงทีเดียว

แพทย์ปัจจุบันยอม
ครั้นถึงปัจจุบันนี้ มีนายแพทย์ (แผนปัจจุบัน) อยู่เป็นอันมากที่ได้ตื่นขึ้นพบกับความจริงอย่างปัจจุบันทันใดว่า…ดังที่ปรากฏในบทนำของวารสารการแพทย์ของอังกฤษเมื่อเร็วๆ นี้ว่าดังนี้:- นายเอ๊ดวาร์ดส์และ คณะผู้รักษาของเขาหาใช่จะเข้าไปในโรงพยาบาล เพื่อที่จะให้กำลังใจ แก่คนไข้ไม่…แต่เพื่อจะเข้าไปทำการรักษาโรคเลยต่างหาก” (ขอจบข่าวในหนังสือพิมพ์ไว้แค่นี้)

ที่กล่าวมานี้เป็นการกล่าวถึงการรักษาแผนโบราณ ในด้านอำนาจจิตอำนาจคุณพระว่าเป็นของจริงได้ผลดีจริง ในเมื่อผู้ใช้ศึกษากันจริงจัง และบางทีใช้ทางยาและอำนาจจิตช่วยก็มีดีมาแต่โบราณถึงสมัยปัจจุบัน และก็พึงทราบว่าประเทศที่เจริญเขากลับหันมาค้นคว้าส่งเสริม ของโบราณหลายสาขา มีข้อระมัดระวังที่สำคัญก็คือ อาจารย์ปลอม หรือทำไม่ได้จริงนั้นมีมาก สำหรับการรักษาในด้านวัตถุ ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันทำอยู่ ข้าพเจ้าก็ยอมรับว่ามีผลดีอย่างกว้างขวางไม่ได้ตำหนิว่าเป็นวิธีไม่ดี แต่ถ้าหากพิจารณานำเอาแผนโบราณมาสร้างเสริมสิ่งที่ยังค้นคว้าไม่ได้ผลดีพอ ก็จะเป็นประโยชน์และสร้างความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น ควรลืมตาดูโลกให้กว้าง ถ้ารู้ตัวว่าตาฝ้าฟาง ควรหาผู้ถางทางที่เที่ยงตรง

ข้อระมัดระวังในการใช้ปรอท ก็คือต้องไล่โทษปรอทเสียก่อน ทั้งนี้ก็เพราะปรอทสามารถดูดธาตุอื่นเข้ามาอยู่ในตัว หรือเข้ามารวมตัวกันได้ง่าย ที่ปรอทมีพิษก็เพราะดูดเอาธาตุที่มีพิษมาไว้ไนตัว การไล่โทษปรอท ก็คือการเอาสิ่งที่ให้โทษออกจากปรอท ปรอทที่จะนำมาไล่โทษเพื่อรักษาโรคนั้น ควรเลือกเอาปรอทอย่างดี จึงจะรักษาโรคได้ผลดี และเร็ว ปรอทดีทดลองเทใส่ฝ่ามือจะเย็นมากและหนักมาก เอานิ้วเคาะให้แตกออกจากกัน จะวิ่งเข้าหากันเร็ว ถ้าปรอทไม่ดีหนักน้อยเย็นน้อย เคาะให้แตกจะไม่วิ่งเข้าหากัน วิธีที่ง่ายในการไล่โทษปรอท

๑. เอาปรอทเทลงในข้าวสุกที่เย็นแล้ว ควรใส่ข้าวสุกไว้มากๆ ในชามเคลือบใบใหญ่เทปรอทใส่แล้วขยำข้าวสุกกับปรอทเรื่อยๆ ไปประมาณ ๑๕ นาที หรือ ๒๐ นาทีจนเห็นว่าปรอทแตกเป็นเม็ดละเอียดและข้าว สุกมีสีดำ แล้วก็เอานํ้าสะอาดเทให้ท่วมขยำล้างค่อยๆ รินนํ้าออกแล้วเติมน้ำขยำล้างอีกหลายๆ ครั้งจนเหลือแต่ปรอทขาวสะอาดดี

๒. เอาปรอทที่ขยำข้าวสุกในข้อ ๑ แช่นํ้าปลาร้าไว้๑ คืน คอยหมั่นคนปรอทไว้เพื่อให้ปรอทคายสิ่งสกปรก หรือธาตุอื่นออกจากตัว รุ่งขึ้นรินนํ้าปลาร้าออก เอาน้ำใส่ท่วมมากๆ ขยำแล้วรินนํ้าออกหลายๆ หน รินนํ้าออกหมดแล้วเอาปรอทแช่ลงในนํ้ามะนาวและนํ้ามะกรูดเท่าๆ กัน ให้ท่วมปรอท หมั่นคนและแช่ไว้หนึ่งคืน

๓. รุ่งขึ้นล้างปรอทด้วยนํ้าที่สะอาดหลายๆ หน ดังวิธีแรก เอาใบพรมมิ (ฮื้อหลั่งฉ่าย) ทั้งต้นทั้งใบตำให้ละเอียด แล้วเอาปรอทมาคลุกขยี้ให้เข้ากันนานๆ อาจจะใช้สากขยี้คลุกในครกที่สะอาด หมั่นคนบ่อยๆ แล้วจึงทิ้งไว้ ๑ คืน รุ่งขึ้นก็ล้างปรอทจนสะอาดอีก

๔. เอาใบพระจันทร์ครึ่งซีก (ปั่วไปล่ไหน้) มาตำให้ละเอียดเอาปรอทมาคลุกขยี้และทิ้งไว้ ๑ คืน หมั่นคนบ่อยๆ ทำเหมือนข้อ ๓. แล้วจึงล้างให้สะอาด เก็บปรอทไว้ในขวดที่มีฝาปิดแน่นเอาขี้ผึ้งแท้ปิดรอบปากขวด เก็บไว้ในที่เย็น ตู้เย็นหรือเอานํ้าเย็นแช่ขวดไว้ ควรปลุกเสกปรอท ในขวดเพื่อให้มีคุณภาพดีขึ้น

ขอยํ้าว่าการผสมวิชาการต่างๆ เข้าส่งเสริมกันอย่างเหมาะสมจะเกิดผลเกิดประโยชน์ที่ดีอย่างยิ่งสำหรับการรักษาโรคก็ต้องใช้ศิลปความรู้หลายอย่างประกอบกัน เช่น
ศิลปวิชาในการพูด
ศิลปวิชาในการตรวจโรคและพยากรณ์
ศิลปวิชาในการเก็บยา ผสมยา ใช้ยา
ศิลปวิชาในการนวด
ศิลปวิชาในการสะกดจิตและจูงใจ
ศิลปวิชาในการใช้อำนาจจิตอำนาจคุณพระ
ศิลปวิชาในการดัดตน หรือบริหารกาย ฯลฯ

ใครรู้จักผสมประสานกันให้เหมาะสมก็จะรักษาโรคได้ผลดีเราพูดได้ง่ายว่าร่างกายรักษาตัวเองตามธรรมชาติ แต่ทำอย่างไรจะเร่งให้ธรรมชาติช่วยรักษาให้ได้ผลเร็วขึ้น นั่นแหละเป็นยอดวิชาของแพทย์ การเร่งธรรมชาติให้รักษาหรือปรับตัวเองให้ดีที่ค้นพบคือการใช้ทั้งอำนาจจิต ของคนไข้ และผู้รักษาช่วยกันจัดระบบประสาท และกลไกในร่างกาย ซึ่งถ้าทำถูกต้องได้จังหวะดีโรคหรือความผิดปกติจะหายได้อย่างน่าประหลาด ผลที่สูงสุด คือผสมผสานการรักษาแผนปัจจุบัน แผนโบราณและแผนอื่นๆ เข้าช่วยกันอย่างเหมาะสม โดยมีการพิสูจน์ ทดลองให้เห็นจริง การแตกแยกกันจะดีหรือ?

ที่มา:ชม  สุคันธรัต

ความอัศจรรย์จากอำนาจจิตที่พิสูจน์ได้

ยอดความอัศจรรย์ที่ไปพิสูจน์ได้
เรื่องการใช้อำนาจคุณพระอำนาจจิตทำผ้าขาวม้า ให้เป็นเสือที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นขั้นที่ใช้อำนาจจิตในสมาธิถึงขั้นสูงแล้ว การจะพิสูจน์ให้เห็นจริง ขอให้ทำจากง่ายไปก่อน คือ การแปลงธาตุเป็นตัวสัตว์มีชีวิต พระอาจารย์ในดงลึกให้เริ่มจากทำใบมะขามเป็นตัวแตนก่อน แล้วเลื่อนขึ้น ทำยากขึ้น วิธีทำโดยละเอียดได้กล่าวไว้ในวิทยาศาสตร์ทางใจฉบับส่องจักรวาลแล้ว วิธีนี้ใช้เพียงสมาธิขั้นกลาง ประโยชน์ที่จะได้รับคือ ให้เห็นธรรมระดับสูงในข้ออนิจจังความไม่เที่ยง ทั้งจากใบมะขามกลาย เป็นตัวแตน และประมาณ ๓ วันขึ้นไปจะกลับเป็นใบไม้คืน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเข้าใจว่า พลังงานคุณพระและพลังงานจิต สามารถจัดระบบปรมาณูของธาตุขึ้นใหม่ได้ และยังถ่ายทอดพลังไปอยู่ในวัตถุอยู่ในพระบรมสารีริกธาตุได้ด้วย เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งจะโยงใยไปเข้าใจในเรื่องหายตัวได้ เหาะได้เดินบนอากาศได้ ตามที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก และในคัมภีร์ศาสนาต่างๆ ทำให้พ้นจากความเห็นผิด มิจฉาทิฏฐิ ซึ่งมีโทษมาก

หลักฐานในพระไตรปิฎกมีอยู่มาก เช่น ในพระวินัย ปิฎก เล่ม ๗ หน้า ๑๓๓ พระสาคตะแสดงการเหาะ และหายตัว ในหน้า ๒๐๔ พระปิลินททำขดหญ้าให้เป็นทองคำได้ ในหน้า ๒๑๙ พระโมคคัลลา หายตัวไปเอา เง่าบัว เป็นต้น ล้วนสอนให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

การตายหรือสลบแล้วฟื้นคืนชีวิตได้ และระหว่างที่ตายจะมีกายในเป็นแก้วใสออกไปเที่ยวไกลๆ หรือไปเห็นนรกสวรรค์ได้ตามที่กล่าวมาแล้วนั้นก็มีตัวอย่างอยู่มาก ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น พระฤๅษีลิงดำ และพันเอกเสนาะ จินตรัตน์ ซึ่งตายแล้วฟื้นถึง ๒ ครั้ง ไปดูสวรรค์ได้ เป็นที่ทราบกันดีทั่วไปเพราะมีการบรรยายเรื่องและเขียนเป็นหนังสือเผยแพร่ด้วย ส่วนผู้ตายแล้วฟื้นได้ไปดูนรกสวรรค์ได้ก็มีหลายรายที่ยังมีชีวิตอยู่ ขอแนะนำผู้ที่ควรเชื่อถือได้ผู้หนึ่งที่ตายหรือสลบแล้วฟื้นได้ไปดูสวรรค์ คือ พันเอก (พิเศษ) อุดร มีพรหม อยู่บ้าน ไผ่ล้อม ใกล้ค่ายทหาร จ.นครราชสีมา เวลานี้ยังมีชีวิตอยู่ เรื่องตายแล้วฟื้นมีกายในหรือกายทิพย์เป็นแก้วใสแยกออกไปท่องเที่ยว หลักสูตรการกระโดดเหวลึกแล้วสลบสี่วัน มีกายในพร้อมวิญญาณประจำร่างออกไปได้ และ การถ่ายภาพด้วยเครื่องถ่ายเกอร์เลี่ยนก็ถ่ายเห็นกายในของคนที่ตายใหม่ๆ เป็นแก้วใสตรงกันยืนยันกันได้ดังที่กล่าวมาแล้ว

การที่ผู้รวบรวมไปธุดงค์ที่เขาใหญ่ที่กล่าวมาแล้ว มีเสือเข้ามาใกล้ผู้รวบรวมได้ เป็นเพราะพระอาจารย์หลับไปนิดหนึ่งก็เป็นการอัศจรรย์ที่พลังจิตพลังคุณพระสามารถป้องกันไม่ให้สัตว์ร้ายเข้าใกล้ แต่ถ้าหลับก็ไม่มีพลังจะป้องกันยกเว้นพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ไม่มีการหลับเหมือนคนทั่วไป แต่เป็นการนอนที่มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา จึงมีพลังป้องกันภัยต่างๆ ได้ความประมาท คือความปราศจากสติ พระอรหันต์เป็นผู้ไม่ประมาท

ผี, เปรต มีทั้งที่เป็นจริงและเป็นอุปาทาน คือเกิดจากการนึกคิดหรือมโนภาพ ผี และเปรตที่พบจริงก็คือ วิญญาณประจำร่างพร้อมกายทิพย์หรือกายใน ส่วนวิญญาณแท้ซึ่งตายไปเป็นเปรตประเภทรับส่วนบุญได้ ก็ พบเห็นหรือได้ยินเสียง ตัวอย่างเช่น เปรตที่ปรากฏเสียงในวังพระเจ้าพิมพิสาร พระอาจารย์ในดงเล่าว่า ยังมีผีมีเปรตอีกประเภทหนึ่งที่ เกิดจากสมองในส่วนที่นึกคิด เมื่ออยู่ในที่เงียบสงัดนานวันเข้า บางครั้งจิตคิดปรุงแต่งไปว่าตนเองพูดไม่ได้ เลยลองตะโกนดู บางทีปรุงแต่งเห็น เป็นผี เห็นเป็นเปรต มาขู่ว่า “กูจะฆ่ามึง” ตัวพระอาจารย์ ก็ทำสมาธิเข้มแข็งอยู่จึงตอบว่า “กูก็จะฆ่ามึง” แล้วเปรตนั้นก็หายไป นี่ก็เป็นเรื่องที่ทุกคนพิสูจน์ ดูด้วยตนเองได้จากการธุดงค์ไปในป่าลึกที่เงียบสงัด

เรื่องผีเข้าคนทำให้สติผิดปกติ พูดแปลกๆ บางที การเข้าสิงนานขึ้นก็จำพ่อแม่ญาติพี่น้องของตนไม่ได้ ถ้าใช้วิธีการไล่ผีก็จะหายเป็นปกติทันที ไม่มีการค่อยๆ หายเหมือนโรคอื่น อีกอย่างหนึ่งผีเข้าหรือการถูกของ กระทำให้เจ็บปวดเคลื่อนที่ได้ด้วยมิจฉาสมาธิ ก็เป็นโรคทรมานที่ใช้ยาอื่นๆ รักษาไม่ได้ผล ต้องใช้วิธีเสกเป่า อาบนํ้ามนต์หรือใส่ปรอทเข้าทางฝ่ามือ ภาวนาถอนของ และขับไล่ นับว่าเป็นโรคที่น่าอัศจรรย์แต่เรียนรู้และพิสูจน์ดูได้ ผู้ไม่เชื่อก็รักษาแบบโรคทั่วไปจึงไม่มีทางจะหายได้

เรื่องเทวดาเจ้าป่าซึ่งทำให้เป็นได้ต่างๆ เช่น ตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้รวบรวมไปฝึกที่เขานํ้าเมา ไปถึงนอนเลย ก็ถูกแกล้งปล่อยมดง่ามตัวใหญ่บ้างเล็กบ้างเข้ามุ้งได้โดยที่มุ้งมีสองเพดานไม่มี ทางเข้าได้ แต่มดก็เข้าออกได้ หรือการไปธุดงค์ที่เขาใหญ่ในที่ซึ่งมีอันตรายจะนอนพักเจ้าป่าก็ห้ามไว้ด้วยการ แกว่งใบไม้ และถามกันรู้เรื่อง นี่ก็นับว่าอัศจรรย์ซึ่งผู้จะพิสูจน์ไปธุดงค์เองก็จะรู้เห็นได้

ที่มา:ชม  สุคันธรัต

อานิสงส์แห่งธรรมทาน

ทำบุญตักบาตร

๑. ความผิดบาปต่างๆ ที่แล้วมา ลหุโทษ จะระงับทันที โทษหนักจะกลายเป็นเบา
๒. ได้รับความคุ้มครองจากเทพยดาอยู่เสมอ รอดพ้นจากโรคภัย โจรภัย อุบัติภัย อัคคีภัย อุทกภัย
๓. เจ้ากรรมนายเวรก็ได้รับผลบุญด้วย หนี้เวรจึงได้รับการปลดเปลื้อง พ้นจากการจองเวรตลอดกาล
๔. ภูติผีปีศาจไม่สามารถรังควาน ปลอดภัยจากสัตว์ร้าย
๕. จิตใจชื่นบานเป็นนิจ กลางวันปราศจากภยันตราย กลางคืนปราศจากฝันร้าย สีหน้ามีสง่าราศี พละกำลังสมบูรณ์ กิจการงานรุ่งเรือง
๖. ครอบครัวสามัคคีปรองดอง อาหารอาภรณ์สมบูรณ์ อายุยืนนาน
๗. ไม่ว่าอยู่ที่ใดจะได้รับความรักศรัทธา เคารพนบไหว้ จากปวงซน
๘. โง่เขลากลับกลายเป็นฉลาด ป่วยไข้กลับกลายเป็นแข็งแรง ทุกข์ลำบากกลับกลายเป็นสุขสบาย ผู้เป็นสตรีเพศ ชาติต่อไปจักได้เป็นบุรุษเพศ
๙. ได้บังเกิดในสุคติภูมิ พ้นจากทุคติภูมิตลอดกาล
๑๐. บังเกิด ณ สถานที่ใด ได้พบพระพุทธ พระธรรม ตราบจนเกิดปัญญาสาม อภิญญาหก บรรลุพุทธะโดยพลัน
ธรรมทาน ชนะทานทั้งปวง
(จาก…………..เทวาไขปัญหา)

ธรรมะที่สำคัญยิ่ง

ธรรมะ(๑) สำหรับคนทั่วไป การธุดงค์ไปอยู่ในป่าช้าและในป่าลึกที่มีสัตว์ร้าย โดยการฝึกเป็นขั้นๆ จากง่ายไปยาก ดังกล่าวมาแล้วจะได้สมาธิขั้นสูงง่าย แต่ต้องไม่ใช่เข้าไปอยู่ด้วยความประมาท ข้ามขั้น เพราะการอยู่ในป่าลึกนั้นพระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า “……เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าทึบ
อยู่ สติยังไม่ปรากฏ ก็ปรากฏจิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป….’’ได้กล่าวตอนต้น
ว่า เสือเป็นครูที่ดี ให้ได้สมาธิวิปัสสนาระดับสูง เพราะต้องตั้งใจฝึกอย่างจริงจัง ตั้งใจอย่างแรงกล้าจึงไม่มีการปวดการเมื่อยหรือการง่วงตลอดคืน

(๒) ผู้สร้างสมบุญบารมี ทาง ทาน ศีล ภาวนา ฯ (กุศลกรรมบท ๑๐) มามากทั้งในชาตินี้และในชาติก่อนๆ ก็จะได้บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว

(๓) ขอทำความเข้าใจในคำสอนที่พูดที่เขียนกันมากและบ่อยครั้งก็คือ “การฝึกสมาธิวิปัสสนาฝึกที่ไหนก็ได้” จริงอยู่ฝึกที่ไหนก็ได้ แต่จะได้ผลน้อยดีกว่าไม่ฝึก เพราะขัดกับพระไตรปิฎกอันเป็นคำสอนของพระพุทธองค์หลายหมวด ขอยกตัวอย่าง หมวดสัปปายะ การฝึกให้ได้ ผลดี ๔ ประการ คือ หนึ่ง – สถานที่ฝึก สงบเงียบ อากาศดี กังวลน้อย สอง – อาหารเหมาะกับการฝึก ได้แก่ อาหารที่ย่อยง่าย เคี้ยวละเอียด ไม่เป็นอาหารที่ส่งเสริมให้เกิดกามารมณ์ กินพอควรเพียง ๓ คำจะอิ่มก็พอ สาม – มีครูฝึกที่ดีที่มีความสามารถมาก มีมิตรที่ดี สี่-วิธีฝึกที่เหมาะกับตน ตัวอย่างการฝึกที่วัดแต่ได้ผลดี คือ ท่านเจ้าคุณนรรัตนภิกษุ วัดเทพสิรินทราวาส ฝึกได้ผลดีมากก็เพราะทำตามสัปปายะทั้ง ๔ ข้อ ข้อแรก – สถานที่สงบเงียบ ท่านเจ้าคุณนร ฯ อยู่กุฏิผู้เดียว ไม่รับนิมนต์ไปไหน ไม่รับแขกที่กุฏิ ไม่มีโทรศัพท์ วิทยุ ทีวี และเครื่องกังวล ข้อสอง – อาหารท่านฉันอาหารมังสวิรัติ วันหนึ่งฉันมื้อเดียว ฉันไม่มาก ข้อสาม – มีครูฝึกที่ดีมีความสามารถมากมีมิตรที่ดี มีครูฝึกคือพระอาจารย์ในดงที่ได้อภิญญา ได้แก่ท่านเจ้ามาสอนเป็นประจำ ข้อสี่ – วิธีฝึกที่เหมาะกับตนคือฝึกวิธีอานาปานสติ โดยมีการพิจารณาอสุภะและเจริญเมตตาประกอบซึ่งเหมาะกับคนทั่วไปทุกจริต ดังที่กล่าวมาแล้ว ที่กุฏิท่านมีโครงกระดูกคนไว้พิจารณาอสุภะ มีการเจริญเมตตาทุกวันหลายครั้ง นอกจากนี้ท่านมีการดัดตนเป็นประจำทุกวันได้เขียนบันทึกวิธีฝึกตนไว้เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย การฝึกก็ทำตามตารางกำหนดโดยเคร่งครัดเพราะไม่รับแขกจึงทำได้ บางโอกาสได้ไปฝึกในป่า

การจะฝึกให้ได้สมาธิขั้นสูงหรือฌานนั้นต้องมีลำดับขั้นตามหลักสูตรของพระอาจารย์ใหญ่ในดงลึก ซึ่งจะจบฌานไม่เกิน ๕ ปี ทุกคน ตามที่กล่าวไว้แล้ว ส่วนการฝึกให้ได้ถึงขั้นเหาะล่องหนหายตัวได้ จ่อใกล้นิพพาน ก็ได้ กล่าวถึงหลักสูตรที่พระอาจารย์ในดงลึกใช้ฝึก ซึ่งได้ผล สำเร็จทุกคน บางกรณีผู้มีความเพียรอย่างแรงกล้าจะมีโอกาสไปเรียนกับอาจารย์ในดง ตัวอย่างเช่น พระเดช พระคุณ หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี อายุ ๔๕ ปี ได้ไปเรียนและเดินธุดงค์กับพระอาจารย์ในดงเพียง ๓ เดือน ก็ได้สมาธิขั้นสูง ท่านไม่เปิดเผยมากว่า ๒๐ ปี จึงเล่าความจริงนี้ต่อหน้าผู้รวบรวมและประชาชน เมื่อต้น พ.ศ.๒๕๓๗ หลวงปู่โง่น วัดเขารวก คูบาลุ่ม อ.หล่มสัก และปู่โทน อ.ตาคลี ทั้ง ๓ ท่านก็เป็นศิษย์พระอาจารย์ในดงองค์เดียวกันกับหลวงพ่อจรัญ  ที่มีการเปิดเผยกันมากเรื่องพระอาจารย์ในดง เพราะเป็นเวลาที่สมควรเป็นระยะเวลาที่อาจารย์ในดงจำนวนมากเริ่มออกมาแสดงตัวและสอนเพื่อความอยู่รอดของผู้ศรัทธา

(๔) การสวดมนต์ ยังมีหลายคนเข้าใจว่ามีประโยชน์น้อย เสียเวลามาก หรือฟังไม่รู้เรื่อง ความจริงมีคุณประโยชน์มาก เพราะการสวดมนต์เป็นการกล่าวธรรม เป็นการกล่าวมนต์คาถา กล่าวถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทำให้ความหวาดกลัวหายไปและหายจากโรค ขับไล่ภูติผีปีศาจได้ ป้องกันอันตรายต่างๆ ได้ สวดมนต์เพื่อทำนํ้ามนต์จะได้ผลดีเพียงใดอยู่ที่ความเชื่อมั่น และจิตที่จดจ่อเป็นสมาธิ และความเร็วในการสวดให้พอเหมาะ ความยาวในการสวดพอเหมาะ ผล ประโยชน์สูงสุดในการสวดมนต์ก็คือทำให้ได้ผลจนถึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ ดังมีหลักฐานในพระธรรมกล่าวไว้ว่า

โอกาสจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มี ๕ โอกาส คือ
→ เมื่อฟังธรรม มีตัวอย่างมากในพระไตรปิฎก
→ เมื่อแสดงธรรมอยู่
→ เมื่อสาธยายธรรมอยู่ คือการสวดมนต์กล่าวคือ ภาวนาคาถา
→ เมื่อตริตรองธรรมอยู่ หรือเพ่งธรรมอยู่
→ เมื่อเจริญสมาธิวิปัสสนาอยู่

ตัวอย่างการแสดงธรรมอยู่ได้แก่พระนาคเสนเทศนาให้โยมสูงอายุฟัง โยมได้ดวงตาเห็นธรรม คือสำเร็จเป็นพระโสดาบันขณะฟังธรรมก่อนพระนาคเสน อาศัยการพิจารณาข้อความที่ตนเองเทศน์ ด้วยพระนาคเสนก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันในขณะแสดงธรรมนั้นด้วย

เมื่อตริตรองธรรมหรือเพ่งธรรมอยู่ เช่น เพ่งกายคตาสติ หรืออสุภะ ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ ตัวอย่าง เช่น อานิสงส์ของกายคตาสติ มีผลถึง ๑๐ ข้อ ข้อสุดท้ายได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ตามที่กล่าวมาแล้ว

(๕) การแปลพระธรรม การอธิบายธรรม และการปฏิบัติธรรม ต้องพิจารณาดูธรรมหลายหมวดที่ขยายความหรือส่งเสริมกัน หรือขัดแย้งกัน เช่น “สันโดษ” ทรงสอนให้สันโดษในปัจจัย ๔ แต่อีกหมวดหนึ่งสอน ไม่ให้สันโดษในกุศลธรรม คือ ธรรมในส่วนดี ไม่ให้สันโดษต้องทำให้ดีขึ้นเรื่อยไปจนถึงนิพพาน ถ้าสันโดษในธรรมที่ยังไม่ถึงนิพพานก็เป็นการประมาท ธรรมของพระพุทธเจ้าทุกหมวดทุกข้อย่อมไม่ขัดแย้งกัน ถ้า ขัดกันก็จะผิดไปข้างหนึ่ง เช่นคำว่า “สัมภเวสี” ในพระไตรปิฎกและในหนังสือสวดมนต์แปล ได้แปล สัมภเวสี ว่า ผู้กำลังแสวงหาภพ (ที่เกิด) จึงขัดแย้งกับพระอภิธรรม ที่ว่าตายแล้วจะเกิดทันที ไม่มีระวาง ไม่มีการรีรออยู่ แต่พระอาจารย์ใหญ่ในดง แปลสัมภเวสีว่า วิญญาณ ประจำร่าง ซึ่งประจำกายในหรือกายทิพย์ คนตาย วิญญาณประจำร่างพร้อมกายในก็แยกออกจากกายหยาบที่ตาย คือเกิดทันทีไม่ขัดกับพระอภิธรรมและพิสูจน์ลงเอยกันได้ดังที่กล่าวมาแล้ว และพระอาจารย์ ประยุทธ์ ปยุตฺโต นักปราชญ์ทางศาสนาก็กล่าวตอบเรื่องสัมภเวสีว่า ภาษาบาลีไม่ใช่ภาษาเรา บางคำมีความหมายหลายอย่าง เลือกเอาความหมายที่ผิดมาเขียนก็มีดังที่กล่าวมาแล้ว

การอธิบายธรรม การปฏิบัติธรรม ที่สอนเรื่อง มหาสติปัฏฐานสูตร ขั้นที่ ๑ ให้กำหนดลมหายใจ ให้เห็นกายในกาย มีประเด็นสำคัญอยู่ ๔ ข้อ สองข้อหลัง คือ การระงับลมหายใจให้น้อยลง (ระงับกายสังขาร) และให้เห็นการเกิดและการดับของกายทั้งภายในและภายนอก ไม่ได้สอน ไม่ได้อธิบายไว้ ส่วนมากกล่าวว่า ให้ปฏิบัติไปแล้วจะเห็นเอง แล้วจึงให้ปฏิบัติข้ามขั้นไป พิจารณา เวทนา จิต และธรรม เป็นการข้ามขั้นที่ง่าย ไปยาก กล่าวคือ กายเป็นของหยาบเห็นได้ แต่จิตเป็นนามละเอียดอ่อนมาก จึงควรพิจารณากายให้เห็นชัดก่อน เพราะการพิจารณากายเป็นทางให้ถึงนิพพาน ซึ่งมีกล่าวในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๘ หน้า ๕๗๕ ว่า“….กายคตาสติ นี้เรียกว่าทางให้ถึงอสังขตะ” (คือถึงนิพพาน) บางหมวด ก็กล่าวว่า ผู้ไม่ได้พิจารณากายคตาสติ ย่อมไม่ถึงนิพพาน โดยกล่าวไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่ได้เสพกายคตาสติ ย่อมไม่ถึงอมตะ” พระอาจารย์มั่น สอนว่า “กายเป็นเครื่องก่อเหตุ ตาเห็นรูป ทำให้ใจกำเริบ จึงต้องพิจารณากายนี้ก่อน จะได้เป็นเครื่องดับนิวรณ์ ทำให้ใจสงบได้
พึงทำให้มาก พิจารณาไม่ถอยทีเดียว…..” พระอาจารย์มหาบัว วัดป่าบ้านตาด จ.อุดร สอนว่า “สมาธิขั้นต้น ให้พิจารณากายเสียก่อน ส่วนเวทนาและจิตพิจารณาโดยใช้สมาธิขั้นกลางหรือขั้นสูงประกอบกัน”

การพิจารณากายให้ถึงนิพพานได้มีกล่าวไว้ใน อาสวะสูตร ว่าให้พิจารณากายให้เห็นเป็นไม่งาม คือ เป็นสิ่งไม่สะอาด น่ารังเกียจ น่าขยะแขยง น่าสะอิดสะเอียน ทรงสอนไว้หลายสำนวนหลายแห่ง เช่น ร่างกายกำลังเน่าเปื่อยอยู่ ร่างกายกำลังเคลื่อนไหวอยู่เป็นนิจ ร่างกายเต็มไปด้วยหลุมฝังศพ ร่างกายเกิดและดับอยู่ตลอดเวลา ร่างกายเต็มไปด้วยอุจจาระปัสสาวะ(มูตรคูถ) ร่างกายมีของเน่าไหลออกตลอดเวลา ร่างกายเต็มไปด้วยแผลเน่า กายมีการแยกออกปลิวออกตลอดเวลา ร่างกายเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจัง) เป็นทุกข์ (ทุกขัง) ไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา) ที่กล่าวทั้งหมดนี้ถ้าพิจารณาตามความเป็นจริง คือร่างกายประกอบไปด้วยตัวชีวิต คือ เซลล์ซึ่งมีชีวิต จึงต้องกินอาหาร ถ่ายออก เคลื่อนไหว เกิดขึ้นและตาย สืบพันธุ์ หายใจ ตัวที่ตายก็ถูกธาตุลม พัดพาออกทางผิวหนัง มีธาตุไฟเผาให้แห้ง ลมพัดเอาตัวชีวิตที่ตายออกมาทางทวารทั้ง ๙ ตัวที่เป็นก็มีการเคลื่อนไหวยุบยับทั่วไป แต่ตาเราเห็นนิ่งอยู่ไม่ตรงตามความจริง ได้กล่าวมาแล้วโดยละเอียด สรุปว่า ที่เราหลง รักหลงชอบนั้นคือซากศพของตัวชีวิต ซึ่งเป็นผิวหนัง ที่แห้งและทยอยปลิวออก

การฝึกสมาธิวิปัสสนาให้ได้ผลดีต้องทำอย่างจริงจัง เด็ดขาดตามตารางที่กำหนด นั่งสมาธิประมาณวันละ ๓ ครั้ง เดินจงกรมประมาณวันละ ๓ ครั้ง เวลาที่เหลือก็พิจารณาอสุภะและเจริญเมตตา ที่สำคัญที่สุดคือรักษาร่างกายให้แข็งแรงปราศจากโรคโดยมียาช่วยซ่อมส่วนที่เสื่อม ฝึกในป่าช้าและที่เงียบสงัด ฝึกในทางเสือเดินนับว่าเป็นเครื่องช่วยให้ได้สมาธิระดับสูงในระยะสั้นๆ เพราะกระตุ้นให้ตั้งใจอย่างแรงกล้าในการปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องจริงจัง แต่ต้องฝึกเป็นขั้นตอนจากง่ายไปยาก
ดังได้กล่าวมาแล้ว เวลาไม่มีเสือเป็นครูบังคับจิตก็ใช้ อำนาจคุณพระอำนาจจิตหรือฤทธิ์ของสมาธินั่นแหละ เป็นผู้บังคับให้ตั้งใจฝึกอย่างแรงกล้าเด็ดเดี่ยวจนลืมความปวดเมื่อย ไม่ง่วง จิตตื่นอยู่ตลอดวันตลอดคืนได้ จุดมุ่งก็คือให้หมดกิเลส

ผู้ได้สมาธิชั้นกลาง (อุปจารสมาธิ) เมื่อถึงเวลาตาย จะได้เกิดในสวรรค์ชั้นต้น ๖ ชั้น ตามระดับของสมาธิชั้นกลาง ผู้ที่ได้สมาธิชั้นสูง (อัปปนาสมาธิ) ตายแล้วได้เกิดในสวรรค์ชั้นสูง ๒๐ ชั้น (ชั้นพรหม) ในชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามขั้นของสมาธิหรือตามขั้นของฌาน

ผลของการทำทานตามหลักฐานในพระไตรปิฎก สังคีติสูตร ทานสูตร ฯลฯ ทานที่หวังผลจะได้เกิดในสวรรค์ชั้นแรกคือ ชั้นจาตุมหาราช ทานที่ให้โดยไม่หวังผล โดยคิดว่าเป็นความดี ความประเสริฐ จะได้เกิดใน
สวรรค์ชั้นที่ ๒ คือ ชั้นดาวดึงส์ ให้ทานโดยไม่นึกคิดว่าเป็น ความดีความประเสริฐ แต่ทำตามปูย่าตายายพ่อแม่ทำมาไม่ควรให้เสียประเพณี จะได้เกิดในสวรรค์ชั้นที่ ๓ คือ ชั้นมายา ให้ทานโดยไม่คิดว่าทำตามประเพณี แต่คิดว่า สมณะพราหมณ์ไม่ได้หุงหากินเหมือนเรา ฉะนั้นจึงควรให้ทานจะได้เกิดในสวรรค์ชั้นที่ ๔ คือ ชั้นดุสิต การทำทานโดยไม่คิดว่าควรให้ทานเพราะสมณะไม่ได้หุงหาเช่นเรา แต่คิดว่าจะให้ทานตามฤๅษีในปางก่อน จะได้เกิดในสวรรค์ชั้นที่ ๕ คือ ชั้นนิมมานรดี ให้ทานโดยไม่คิดว่าทำตามฤๅษีในปางก่อน แต่ทำทานด้วยความเลื่อมใส ทำเพื่อความโสมนัสยินดีจะได้เกิดในสวรรค์ชั้น ๖ คือ ชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี การให้ทานโดยไม่คิดว่าทำตามฤๅษีในปางก่อน แต่ทำเพื่อเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต จะบังเกิดในชั้นพรหมโลก ได้กล่าวแล้วว่าการพิจารณาธรรมนั้นควรพิจารณาหมวดอื่นๆ ประกอบ เพื่อให้รู้รายละเอียด รู้ว่าถูกหรือผิด รู้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่นการทำทานที่จะได้ ผลดีเต็มที่ก็ต้องประกอบด้วยการริเริ่มด้วยจิตศรัทธา เต็มใจของทำทานนั้นดี ผู้รับทานเป็นผู้มีศีลดีมีศีลบริสุทธิ์ หลังจากทำทานไม่โอ้อวด ไม่นึกเสียดาย และให้ระลึกถึงบุญที่ทำแล้วบ่อยๆ เป็นต้น แม้เป็นพระอรหันต์แล้วก็ยังต้องทำทาน แต่ไม่ประสงค์จะเพิ่มเติมบุญกุศล เพราะมีเต็มแล้วทำเพื่อสงเคราะห์ ทำเพื่อความอยู่เป็นสุขในชาตินี้และเพื่อเป็นตัวอย่างทำด้วยความเมตตากรุณา ทำเพื่อสติสัมปชัญญะ

ที่มา:ชม  สุคันธรัต

สมาธิวิปัสสนาวิธีใดดีที่สุด

วิปัสนาการเลือกวิธีฝึกสมาธิ-วิปัสสนา ให้เหมาะกับจริต หรือนิสัยของตน นับว่าเป็นเรื่องสำคัญประการแรกก่อน การเริ่มฝึกสมาธิ-วิปัสสนา การเลือกวิธีฝึกจะต้องยึดถือคำสอนในพระไตรปิฎกเป็นหลัก พระไตรปิฎกที่จะอ้างถึงถือเอาตามพระไตรปิฎกฉบับของกรมการศาสนา ชุด ๘๐ เล่ม พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๐

จากพระไตรปิฎก เล่ม ๖๓ หน้า ๒๖๔ กล่าวถึง สิ่งประเสริฐที่สุด ๓ อย่าง คือ

บรรดาทาง มรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัจจะ อริยสัจ ๔ ประเสริฐที่สุด
บรรดาธรรม วิราคะธรรมประเสริฐที่สุด

การฝึกสมาธิ-วิปัสสนาจึงควรยึดถือมรรคมีองค์ ๘ เป็นวิธีดีที่สุด เพราะเป็นแนวทางที่ประเสริฐที่สุด องค์ประกอบของมรรคมีองค์แปดนั้น มีองค์สำคัญที่จะต้องพิจารณาให้ชัดแจ้งก่อนที่จะดำเนินการฝึก คือ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ สัมมาสติ อยู่ในสติปัฏฐาน ๔ (การมีสติรู้อยู่ในกาย เวทนา จิต และธรรม) คือการปฏิบัติวิปัสสนานั่นเอง ส่วน สัมมาสมาธิ ก็คือการทำให้จิตสงบตั้งมั่น ได้แก่การปฏิบัติสมถะ หรือ สมาธินั่นเอง

นิพพาน ผู้ยังไม่เป็นพระอรหันต์หรือยังไม่ถึงนิพพานนั้นจะซักถามหรือนึกคิดอธิบายอย่างไรก็ไม่สามารถจะเข้าใจแจ่มแจ้งได้

ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางที่ประเสริฐที่สุด และเป็นทางสายเดียว เป็นเอกมรรค หรือเป็นมรรคสมังคี คือต้องปฏิบัติให้กลมกลืนกัน ครบทั้งแปดอย่าง ผู้เริ่มฝึกสมาธิควรพิจารณาให้เข้าใจ องค์สำคัญ ๒ องค์ในมรรคมีองค์แปดเสียก่อน คือ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสมาธิ

ในพระไตรปิฎก เล่ม ๖๓ หน้า ๒๖๔ กล่าวไว้ว่า “สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ ไม่เป็นมรรค แต่เป็นองค์แห่งมรรค สัมมาทิฏฐิ สัมมาสมาธิ เป็นมรรค” มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางประเสริฐสุดให้ถึงนิพพาน

พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ มหาจัตตารีสูตร กล่าวไว้ว่า “สัมมาสมาธิ ประกอบด้วยมรรค ๗ ข้อข้างต้น สัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้าของมรรคอื่นๆ”จะเห็นว่า สมาธิ (หรือ สมถะ) ที่ถูกต้องคือสมาธิที่รวมเอามรรคที่เหลือทั้ง ๗ ข้อมาอยู่ร่วมกัน รวมมาเป็นอันเดียวกัน นั่นคือสมาธิที่ถูก (สัมมาสมาธิ) ได้รวมเอาสัมมาสติ คือวิปัสสนา อยู่ในตัวแล้ว สมาธิหรือเรียกว่า สมถะกัมมัฏฐานนั้น เมื่อทำถูกต้องถึงที่สุดก็เข้าถึงนิพพาน
วิธีปฏิบัติหรือวิธีสร้างเหตุเพื่อให้เกิดความเห็นชอบสัมมาทิฏฐินั้นมี ๒ ประการ คือ ในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๘ หน้า ๖๑๒ กล่าวไว้ว่า “ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฎฐิมีเท่าไร ?” มีธรรม ๒ประการคือ ได้สดับจากบุคคลอื่น และทำในใจโดยแยบคาย ถ้าสดับคือได้ฟังได้อ่าน คำกล่าวของผู้ที่เห็นถูกเห็นชอบ (ผู้มีสัมมาทิฏฐิ) ประกอบกับการพิจารณาโดยแยบคาย ดูหลักฐานในพระไตรปิฎก หรือตรวจสอบไต่ถามผู้รู้อื่นๆ อีก ก็จะเป็นความรอบคอบ และมั่นใจในความเห็นที่ถูกต้องได้ครบอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดพลาด และปฏิบัติผิดพลาดตั้งแต่การเริ่มฝึก กล่าวคือในพระไตรปิฎกกล่าวไว้หลายตอนว่า การปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ให้ ปฏิบัติเป็นมรรคสมังคี คือปฏิบัติให้กลมกลืนเป็ อันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง ๘ องค์ ดังนั้น การแยกฝึกสมาธิ คือสมถะอย่างเดียว หรือจะแยกวิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ฝึกสมถะควบคู่กันไปด้วยก็ไม่ถูกต้องตามพระไตรปิฎก ซึ่งจะขอยกข้อความเล่มอื่นมากล่าวดังนี้

พระไตรปิฎก เล่ม ๕๑ หน้า ๔๗๒ มีใจความว่า “…..ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอาการ ๑๖……” การฝึกคู่กันไปนี้อาจจะทำได้หลายวิธี

สาเหตุให้เกิดความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ หน้า ๒๘๐ ว่า “เมื่อรูปมีอยู่เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูปจึงเกิดมิจฉาทิฎฐิ คือ ความเห็นผิด    ” อีกสำนวนหนึ่งพระไตรปิฎกกล่าวว่า
เหตุให้เกิดมิจฉาทิฏฐิมี ๒ ประการ คือ ถูกเล่าลือจากคนอื่น (ฟังเขาพูดหรือเขาเล่าหรือสอนที่ผิดก็เชื่อถือ) นั้นประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งคือ ไม่ใช้ความคิดโดยแยบคาย ยึดมั่นรูปคือยึดถือว่ารูปหรือกายนี้เป็นของตน หรือเป็นตัวตน ยึดถือมั่นว่ากายนี้เป็นตน ยากที่จะอธิบายให้เข้าใจว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตน เปรียบเหมือนคนไม่เคยกินเค็มจะอธิบายให้เข้าใจว่าเค็มคืออย่างไรก็ไม่เข้าใจ ต้องให้กินเกลือก็จะรู้ว่าเค็มคืออย่างไร จะให้เข้าใจว่า ไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่ตนก็ต้องให้ลงมือทำดู ขั้นแรกให้ทำใบมะขามเป็นตัวแตนดังที่กล่าวมาแล้ว ไม่เกิน ๗ วัน ตัวแตนก็กลับเป็นใบไม้ไม่ใช่ตัวตน เมื่อฝึกจบสมาธิขั้นกลางจวนขึ้นฌานก็สอนให้ภาวนาเดินลอดภูเขาไปมาได้ จึงจะเห็นชัดว่า กายก็สักว่าเป็นกาย ไม่ใช่ตัวตนเราเขา ที่เห็นว่ารูปกายเป็นตัวตนเป็นของตนนั่นคือ ยึดมั่นรูป เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดไปจากความจริง คือ ความจริงรูปกายเป็นตัวชีวิตเล็กมากอัดกันอยู่เป็นกระดูก เป็นเนื้อหนัง ผมขนเล็บ ฯลฯ

ที่มา:ชม  สุคันธรัต

ผลจากสมาธิที่เห็นประจักษ์

สมาธิ1

สามัญผล – ที่เห็นประจักษ์
ความสามารถของสมาธิขั้นต้น อำนาจจิตขั้นต้น จะช่วยให้มีความสามารถทั้งทางกายและทางจิตใจดีขึ้นกว่าปกติ เพิ่มความเข้มแข็งความอดทนและความขยันหมั่นเพียร ช่วยให้มีความจำดีมีสุขภาพดี เพิ่มความรู้ความเข้าใจในวิชาการต่างๆ ดีขึ้น ขวัญและกำลังใจดีขึ้น ในกรณีพิเศษหรือการทดสอบอำนาจจิตขั้นนี้ สามารถ ทดลองฟันหรือแทงด้วยแรงคนไม่เข้า ไม่มีอันตราย น้ำมันที่กำลังเดือดเอามือจุ่มลงไปได้ตักกินได้โดยไม่มีอันตราย สามารถเดินลุยไปบนถ่านที่ติดไฟโดยไม่ต้องใส่รองเท้าสามารถเอามือจับโซ่ขนาดใหญ่ที่เผาไฟจนแดงได้ หรือเอามือกอบขึ้นได้ ใช้ในการรักษาโรคได้ หรือช่วยส่งเสริมการรักษาอย่างอื่นให้โรคหายเร็วขึ้น ใช้ในการสะกดจิตได้ ช่วยให้มองเห็นภาพสิ่งของหรือเหตุการณ์ในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ได้ แต่ก็เป็นภาพเงาๆ ยังไม่ชัดเจนเหมือนสมาธิขั้นกลาง จึงมีส่วนผิดบ้างถูกบ้าง การใช้อำนาจจิตได้ต่างๆ ดังกล่าวมานี้ สามารถเรียนรู้และทำได้เองหลายอย่างในวันเดียว เรียนได้ทั้งชายหญิง โดยไม่ต้องเปลี่ยนศาสนา ความสามารถในทางธรรม สมาธิขั้นต้นช่วยให้ละกิเลสขั้นต้นได้หรือมีศีล

ความสามารถของสมาธิขั้นกลาง อำนาจจิตขั้นกลางสามารถเพิ่มพูนความเข้มแข็ง ความอดทนและความขยันหมั่นเพียร ช่วยให้เกิดขวัญและกำลัง ช่วยให้มีความจำและความรู้ความเข้าใจได้ดีกว่าอำนาจจิตขั้นต้น ส่วนในกรณีอื่นๆ ก็มีความสามารถสูงกว่าอำนาจจิตขั้นต้น ตัวอย่างเช่น ในการทดลองฟันหรือแทงแรงๆ อำนาจจิตขั้นต้นยังปรากฏผลว่ามีอาการบวมแดง และมีอาการเจ็บชํ้าได้ บางทีก็มีเลือดซึมออกมาบ้าง แต่อำนาจจิตขั้นกลางจะไม่มีอาการเจ็บไม่ช้ำบวม มองเห็นวัตถุในที่กำบังระยะไกล หรือเห็นเหตุการณ์ปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ชัดเจนและถูกต้องมีส่วนจะผิดพลาดน้อยมาก ในด้านความจำก็สามารถจำได้มากในระยะเวลาอันสั้น สามารถรับส่งข่าวด้วยกระแสจิตได้ (ถามและตอบกันได้ทางจิต) สะเดาะกุญแจให้หลุดได้ สามารถ รักษาโรคได้ผลดีกว่าอำนาจจิตขั้นต้น สามารถเปลี่ยนธาตุหรือวัตถุอย่างหนึ่งให้เป็นอีกอย่างหนึ่งได้ และทำให้เป็นตัวสัตว์ที่มีชีวิตและวิญญาณได้ เช่น การทำใบไม้ ให้เป็นแมลงภู่หรือเป็นนก และทำข้าวสารให้เป็นกุ้ง ความสามารถดังกล่าวมานี้อาจารย์ในประเทศไทยได้แสดงต่อหน้าที่ประชุมหลายครั้งมาแล้ว ในปัจจุบันก็มีทำได้หลายท่าน ในทางธรรมสมาธิขั้นกลางช่วยให้ละกิเลสขั้นกลาง (นิวรณ์ ๕) ได้ชั่วคราว

ความสามารถของสมาธิขั้นสูง อำนาจจิตขั้นสูง ย่อมใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้เหมือนอำนาจขั้นต้นและขั้นกลาง แต่มีขีดความสามารถสูงกว่า เช่น ทำได้ดี ทำได้เร็ว ถูกต้องแม่นยำกว่า และนอกนั้นยังมีขีดความ สามารถนอกเหนือไปจากอำนาจจิตขั้นต้น และขั้นกลาง อีกมากมายหลายอย่าง ตัวอย่างการแสดงอำนาจจิต ตลอดจนหลักการและวิธีการที่จะใช้อำนาจจิตขั้นสูงมีอยู่ในพระไตรปิฎกหลายแห่ง จะขอยกมาเพียงบางแห่ง เช่น จากพระโตรปิฎก เล่ม ๑ เล่ม ๑๔ และ เล่ม ๑๙ น้อมจิต ไปเพื่ออิทธิวิธีหลายประการคือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้(หายตัว) หรือทำให้วัตถุอื่นหายไป เดินทะลุฝากำแพงหรือภูเขาไปได้ น้อมจิตให้เกิดทิพยโสต ได้ยินเสียงทิพย์กับเสียงมนุษย์ใกล้ไกลได้ เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจของผู้อื่นได้ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึก ชาติก่อนได้เป็นอันมาก ผุดขึ้นดำลงแม่ในแผ่นดิน เหมือนในนํ้าก็ได้ เดินบนนํ้าเหมือนเดินบนดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้น้อมใจทำกองไม้ให้เป็นดินได้ หรือให้เป็นนํ้าได้ เป็นลมก็ได้ ทำให้ปรากฏคือมองเห็นอะไรไกลใกล้ได้แม้จะมีอะไรปิดบังก็เห็นได้ และอำนาจจิตขั้นสูงแม้ถูกเผาทั้งเป็นก็ไม่มีอันตราย โจรไล่ฟันก็ไม่ได้ สัตว์ร้ายก็ไม่กล้าทำอันตราย จิตขั้นสูงสุดก็อาจสำเร็จวิชา ๓ อภิญญา ๖ หรือ วิชชา ๘ ประการ (ดูจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานและพระไตรปิฎก) พระอาจารย์สายต่างๆ ในดงลึกล้วนแต่ฝึกและสอนทาง เจโตวิมุตติเพราะช่วยให้มีอำนาจจิตใช้ประโยชน์ได้ดี ทั้งทางโลกและทางธรรมช่วยให้คนหายโรค หายทุกข์ หายโศกได้ ช่วยให้รํ่ารวยมีความสุขได้ ฯลฯ ในทางธรรมช่วยให้ละกิเลสขั้นกลางคือนิวรณ์ ๕ ได้เป็นระยะนาน และจะละกิเลสขั้นละเอียดได้ก็รวมวิปัสสนาเข้าด้วย
เรื่องการใช้พลังจิต อำนาจจิต อำนาจคุณพระ ในระดับสมาธิขั้นต้น ขั้นกลาง หรือการแสดงฤทธิ์ แสดงปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจจิตระดับฌานนั้นมีผู้รู้และผู้แตกฉานทางปริยัติหลายท่านไม่เชื่อว่ามีได้จริงบ้าง บางท่านว่าไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นการต่อเติมแต่งเอาภายหลัง บางท่านว่าเป็นวิชาขั้นต่ำที่ไม่ควรเรียนรู้ บางท่านก็เลยเถิดเป็นมิจฉาทิฏฐิไปเสียเองก็มี เข้าสุภาษิตที่ว่า “สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” แต่ผู้เขียนรวบรวมมานี้ได้พบเห็นเรื่องจริงมามาก และได้สอนสมาธิวิปัสสนาให้ด้วย ถึงอย่างไรก็ดีท่านผู้รู้ส่วนมากยังเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง หรือมีประโยชน์ ในพระไตรปิฎกก็มีมากมายหลายตอนที่กล่าวถึงการใช้อำนาจจิต และการแสดงฤทธิ์ พร้อมทั้งมีคำสอนวิธีทำไว้หลายแห่ง พระพุทธเจ้าสอนและทรงใช้ให้พระภิกษุแสดงฤทธิ์ก็มี หลายตอน ในพระไตรปิฎก ในบทสวดพาหุง (ถวายพรพระ) กล่าวถึงการแสดงฤทธิ์ทั้ง ๘ ครั้ง พระพุทธองค์ ทรงสอนอุปเท่ห์หรืออุบายในการสู้กับพญานาคให้พระโมคคัลลา แล้วทรงใช้พระโมคคัลลาแสดงฤทธิ์สู้กับพญานาค ส่วนการแสดงฤทธิ์อีกเจ็ดครั้ง พระพุทธองค์ ทรงแสดงเอง จะว่าการใช้อำนาจจิตและการแสดงฤทธิ์มีจริง แต่ว่าเป็นเรื่องไม่ดีไม่ควร ย่อมไม่ใช่ฐานะที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์จะกระทำ ถ้าคิดว่าการใช้อำนาจจิต การแสดงฤทธิ์ไม่มี ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะมี ตัวอย่างที่ทำได้มากมาย ในพระไตรปิฎกมีทำได้ทั้งพระภิกษุและฆราวาส แม้ในปัจจุบันก็มีผู้ทำได้หลายท่าน จะว่าแต่งเติมเอาเองก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ จะกลายเป็นความเห็นผิดซึ่งเป็นอกุศลเป็นบาป และเป็นการไม่เคารพนับถือพระรัตนตรัยไปในตัว

การที่จะรู้จะมีความเห็นจะมีความสามารถเพียงใด จะใช้อำนาจจิตใช้ฤทธิ์ได้มากน้อยเพียงใด ก็อยู่ที่ระดับของจิต ระดับของสมาธิ พระอาจารย์ใหญ่ในดงลึก ท่านแบ่งระดับของสมาธิจากขั้นต้นจนถึงปลายสุดของอรูปฌานออกเป็น ๑๗ ระดับสมาธิระดับไหนจะทำอะไร ได้ท่านก็สอนและให้ทำดู เมื่อได้ถึงระดับนั้นแล้ว ทำดู พิจารณาดูให้เห็นธรรมชัดแจ้งทุกระดับ ทำแล้วก็ผ่านไป ไม่ให้ยึดติดไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น เพราะแม้สิ่งที่ถูกที่ดีที่สมควร ถ้าไปยึดติดก็ให้โทษ เป็นการผิด ตัดความก้าวหน้า การใช้อำนาจจิตเป็นการกระตุ้นผลักดันให้เกิดสมาธิดีขึ้น เช่นจะตักนํ้ามันเดือดกินหรือจะกอบเหล็กที่เผาไฟแดงๆ ขึ้นมารู้ว่าอันตรายก็ตั้งใจจริงจังเป็นสมาธิเพื่อไม่ให้มีอันตรายท่านให้ทำใบไม้เป็นตัวสัตว์มีชีวิตดู ก็เพื่อให้เข้าใจชัดในเรื่องอวิชชาเป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิดสังขาร สังขารทำให้เกิดวิญญาณ และวิญญาณทำให้เกิดนามรูป สอนให้เหาะได้ หายตัวได้ เดินบนน้ำได้ ดำดินได้ เดินผ่านทะลุภูเขาหรือกำแพงไปได้ ก็เพียงเพื่อให้รู้เห็นธรรมระดับสูงสุดคือ อนัตตา ความไม่มีตัวตนของทุกสิ่งทุกอย่าง ธรรมะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนลึกซึ้ง จึงต้อง อาศัยการรู้ทะลุ รู้ตลอด รู้โยงเกี่ยวไปหากันจึงจะเข้าใจได้ เช่น อานิสงส์หรือประโยชน์ของเมตตามีถึง ๑๑ อย่าง ในข้อที่ว่า เมตตาช่วยให้ไฟไม่ไหม้ ยาพิษไม่ทำอันตรายได้ จะเข้าใจได้ก็ต้องอ่านต้องพิจารณาพระไตรปิฎกหลายเล่ม คือดูการฝึกสมาธิ ๔๐ วิธีนั้น เมตตาก็เป็นวิธี ฝึกสมาธิหรือสมถะอย่างหนึ่ง เล่มต่อไปก็ดูอานิสงส์ของเมตตา เจริญเมตตาถึงขั้นสุดจะได้ถึงฌานที่ ๔ ไปดูอีกเล่มหนึ่งในพระอภิธรรมปิฎก จะเห็นข้อความว่า
“….เมื่อเข้าฌาน อัปปนาชวนะจิตช่วยคํ้าชูให้ตั้งอยู่ในอิริยาบทได้เป็นปกติไม่ให้กำเริบ เมื่อเกิดภัยต่างๆ เป็นต้นว่า ไฟไหม้ และช้างเสือโจร งูร้ายจะมาทำร้าย อัปปนาชวนะจิตก็ห้ามอันตรายได้ไม่ให้มีมาถึงโยคา- วะจร…” พูดให้ฟังง่ายก็คือเมื่อเข้าฌาน ๔ จะมีพลังหรืออำนาจจิตสูงสุดไปในตัว มีแรงผลักดันทำลายหรือป้องกันอันตรายต่างๆ ได้ แต่จะให้เข้าใจแจ่มชัดขึ้นอีก ก็ต่อเมื่อได้เห็นการแสดงการทดลองให้เห็นจริง หรือทำได้เอง เรื่องแปลกๆ ทำนองนี้มีตัวอย่างและวิธีทำในพระไตรปิฎกหลายแห่ง กระผมผู้เขียนได้ประสบพบเห็นมามากจึงไม่สงสัย

ยอดปรัชญา คือยอดความจริงในทางพระพุทธศาสนาเขียนไว้มีใจความว่า “ที่ว่าจริงนั้นก็จริง ที่ว่าไม่จริง นั้นก็จริง แต่ที่จริงแน่ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีข้อขัดแย้งได้จึงจะเรียกว่า จริงแท้ จริงแท้นั้นคือพระอริยสัจ ๔ (ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค) ที่ว่าไม่จริงนั้น ก็จริงนั้น ก็เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งรูปทั้งนามไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง เปลี่ยนแปลงได้เสมอ จะว่าถูกก็ได้ ผิดก็ได้ จะว่าจริงก็ได้ไม่จริงก็ได้จะว่ามีคุณมีประโยชน์หรือมีโทษ ไม่มีประโยชน์ก็ได้ และถูกต้องทั้ง ๒ ฝ่าย มีแต่ฝ่ายใดจะถูกจะจริงมากกว่า เช่น ยิงนกถูกนก แต่ถ้าถูกที่ปลายขนที่ผิดมากกว่าถูก หรือจะว่ายิงผิดก็ได้ ถูกกับผิด ดีกับชั่ว จริงหรือไม่จริงก็อยู่ที่เดียวกัน เมื่อเป็นอนิจจังก็เป็นทุกขัง เป็นอนัตตาอยู่ในที่เดียวกันในขณะเดียวกัน ถ้าจะพูดอีกสำนวนหนึ่งก็ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีข้อยกเว้น

มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางสายกลาง นำไปสู่พระนิพพาน ก็มีความหมายได้หลายระดับ ระดับแรกของทางสายกลาง คือวิธีปฏิบัติไม่มัวเมาเพลิดเพลินในกาม และไม่ทรมานตนแบบโยคี ซึ่งเรียกว่า เป็นทางสุดโต่ง ๒ อย่าง หรือ ๒ ฝั่ง งดเว้นการปฏิบัติทั้ง ๒ ฝั่ง ระดับที่ ๒ ดีขึ้นอีก ก็ให้เว้นจากการเสพกามในทางเพศ และเว้นจากการหลงติดมัวเมาในวัตถุกามทั้งหลายโดยการถือศีล ฝึกสมาธิและวิปัสสนา ระดับที่ ๓ ดีขึ้นไปอีกก็คือถือศีลให้ดีขึ้น ประณีตขึ้น ฝึกสมาธิวิปัสสนาโดยเคร่งครัดเอาจริงเด็ดเดี่ยว มีสัจจะธรรม (ความจริงจังจริงใจ ๕ ประการ คือ จริงต่อหน้าที่ จริงต่อการงาน จริงต่อวาจา จริงต่อบุคคล จริงต่อความดี) และการทรมานตนแบบพระพุทธศาสนาได้แก่ การ “ถือธุดงค์”

จงเชื่อมั่นเถิดว่า ขณะนี้แม้ท่านยังไม่เคยลงมือฝึกสมาธิ ท่านก็มีอำนาจจิตอยู่ในตัวแล้ว และอาจนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ในเมื่อท่านรู้ วิธีและจังหวะในการทำ ซึ่งจะทราบได้โดยแจ่มแจ้งจากผู้เขียนหรือท่านผู้รู้อื่นๆ

เหตุให้มั่งมี
๑.    มีความขยันหมั่นเพียร
๒.    รู้จักรักษาของที่หามาได้
๓.    มีคนดีเป็นมิตร ไม่คบคนชั่ว
๔.    เลี้ยงชีวิตตามควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้

ถ้าอยากมั่งมีก็ทำจิตให้นิ่ง พิจารณาทำความเข้าใจเป็นข้อๆ จะขยันหมั่นเพียรได้ต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานก็ต้องอาศัยกำลังใจหรืออำนาจจิตช่วยคุม การรักษาของ รักษาเงินที่หาได้ ดูธรรมว่าด้วยการรักษาและการใช้ทรัพย์ คนดีคนชั่วก็ดูจากลักษณะมิตรดีมิตรชั่วและดูมิตรสัมพันธ์ วิธีเชื่อมไมตรีให้ยาวนาน

ที่จริงการฝึกสมาธิหรือวิปัสสนาก็เป็นเรื่องที่ฝึกไปพร้อมๆ กัน ไม่ใช่แยกกันดังจะเห็นจากสติปัฏฐานสี่ ขึ้นต้นก็ฝึกกำหนดลม พระอาจารย์ลี สอนว่า การเอาจิต (สติ) จดจ่อแนบแน่นดูลมหายใจอยู่นั่นคือ สมาธิ (สมถะ)การรับรู้หรือพิจารณารู้ว่าลมหายใจสั้นหรือยาวหนักหรือเบา เย็นหรือร้อน นั่นคือ วิปัสสนา ที่ว่า ไม่ฝึกแยกกันนั้นมีหลักฐานในพระไตรปิฎก เล่ม ๕๑ หน้า ๔๗๒ (ดูชุด ๘๐ เล่ม) มีใจความว่า “ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอาการ ๑๖ คือ…..” พระอาจารย์พุทธทาสกล่าวว่า “วิธีอานาปานสตินั้น มีทั้งสมถะและวิปัสสนาอยู่ในตัว”

ที่มา:ชม  สุคันธรัต

ความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ที่ฝึกสมาธิ

ฝึกสมาธิ

ประโยชน์ของการฝึกสมาธิในความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ที่ฝึกสมาธิ
ขอยกตัวอย่างความเห็นของนายเฮิสเอลเลอร์ ชาวเยอรมันได้เขียนบทความในหัวข้อ “พระพุทธศาสนา ให้อะไรแก่เราบ้าง” มีใจความตอนหนึ่งว่า

“หลังจากที่เราได้ลงมือทำสมาธิและวิปัสสนาแล้ว ไม่ช้าผู้ปฏิบัติจะได้รับผลดังนี้คือ

๑. สามารถควบคุมและบังคับอารมณ์ต่างๆ ของเราได้ เช่น ตัณหาความอยาก ความต้องการ ความเกลียด ความกลัว ความเสียใจ ความหงุดหงิด เป็นต้น

๒. สามารถทำให้เกิดความสุขสงบได้ ทำให้เกิดการสมดุลในร่างกาย

๓. สามารถเห็นหรือหยั่งรู้ถึงความรู้สึก ความเป็นไปของเราในอดีตและอนาคตได้

๔. ทำให้เกิดสุขภาพดีขึ้น สมองก็มีความปกติ หรือสมดุลดี

ตอนท้ายกล่าวว่า ได้ประโยชน์ถึงเพียงนี้ ไม่ใช่การปฏิบัติที่คุ้มค่าดอกหรือ”

คำว่า สมดุล ก็คือมีการทำงานหรือทำหน้าที่ได้สัดส่วนสอดคล้องต้องกัน ไม่ขัดกัน

กล่าวโดยเหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องกัน ก็คือ การฝึกสมาธิทำให้เกิดความสบาย ความสบายทำให้เกิดปีติ ปีติทำให้เกิดความสงบ ความสงบทำให้เกิดสมาธิ สมาธิที่ฝึกดีแล้วฝึกให้มากแล้วก็เป็นสัมมาสมาธิ คือสมาธิ ที่ถูกต้อง สมาธิที่ถูกต้องช่วยให้เกิดปัญญาขั้นสูง ระงับกายให้สงบอยู่และระงับใจให้ตั้งมั่นวางเฉย

กล่าวโดยสรุปให้สั้น ประโยชน์ของการฝึกสมาธิก็คือ

๑. ทำให้เป็นผู้มีศีล-สมาธิ-ปัญญา ตั้งแต่ระดับต้นจนถึงระดับสูงสุด ได้ วิชชา ๓ วิชชา ๘ และ อภิญญา ๖ (เช่น ระลึกชาติได้ แสดงฤทธิ์ได้ หูทิพย์ ตาทิพย์ รู้ทำกิเลสให้หมดไป ฯลฯ)

๒. ทำให้มีความสุขสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เป็นผู้มีความสุขมีความสบาย จิตใจแจ่มใส และมีอารมณ์ดีอยู่เสมอ แม้เกิดเจ็บปวดทรมานหรือใกล้จะตายก็สามารถใช้สมาธิถอดจิตออกจากกายผละหนี จากกายได้เป็นการหนีความเจ็บปวดและความตายได้

๓. ทำให้เป็นผู้มีใจหนักแน่น อดทน และเข้มแข็งรอบคอบ เมื่อมีสัมมาสมาธิและปัญญาประกอบกันอีกด้วยแล้ว ก็เป็นเหตุให้มีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบกิจการงานที่ดีไม่มีโทษ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ทั้งในด้านวัตถุและด้านจิตใจ ซึ่งจะเกิดผลดี เป็นพิเศษตามระดับของสมาธิ

๔. สามารถควบคุมอารมณ์และบังคับอารมณ์ต่างๆ ได้ดี พบเห็นได้ยินอะไรที่ทำให้เกิดอารมณ์เสีย เช่นความโกรธ ความเสียใจ ความกลัว ความโลภ ก็สามารถควบคุมจิตใจให้มีความสบายเป็นปกติได้ หรือให้มีอารมณ์เสียได้เพียงเล็กน้อยในระยะสั้น ส่วนอารมณ์ดีก็สามารถควบคุมรักษาไว้ได้

๕. การฝึกสมาธิ ทำให้เกิด “พลังจิต” คืออำนาจจิตเพิ่มมากขึ้นตามลำดับของสมาธิ โดยไม่ต้องตั้งใจให้เกิดก็เกิดขึ้นได้เองโดยธรรมชาติ พลังจิตที่เกิดขึ้นนั้นก็สามารถควบคุมให้อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายทำหน้าที่ได้ดีขึ้นและทำหน้าที่สอดคล้องกัน พลังจิตช่วยเพิ่มความสุขสมบูรณ์ทางกายและทางใจได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้พลังจิตให้เกิดประโยชน์ได้มากมายหลายอย่าง ทั้งในทางโลกและทางธรรม ในทางโลก เช่น ใช้ช่วยให้เรียนเก่ง ป้องกันโรค ช่วยให้ปัญญาดีขึ้น ช่วยแก้อารมณ์เสีย ช่วยป้องกันภัยต่างๆ เป็นต้น ในทางธรรมช่วยให้สุขภาพจิตดี ลดความโลภ โกรธ หลง เพิ่มความขยันหมั่นเพียร เพิ่มปัญญาให้รู้เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง เป็นต้น

พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งเป็นปีที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง คงจะเห็นภัยร้ายของสงครามปรมาณู เป็นเหตุให้ชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่งมีความคิดตรงกันว่า เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดสงครามครั้งใหม่ขึ้นอีก จำเป็นต้องฟื้นฟูให้มีการสวดมนต์ภาวนา และให้มีการทำสมาธิขึ้นในหมู่ชนทุกชั้น ทุกอาชีพ แนวความคิดนี้เป็นเหตุให้มีการกำหนดเป็นระเบียบข้อบังคับในการดำเนินการประชุมองค์การสหประชาชาติให้มีการสงบจิตเพื่อสวดมนต์อธิษฐานและทำสมาธิ ทั้งนี้ได้จัดให้มีห้องทำสมาธิไว้ในสำนักงาน สหประชาชาติ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งองค์การ

จิต ใจ วิญญาณ หรือ มโน มีความหมายถึง สิ่งเดียวกัน แต่นิยมใช้ในโอกาสต่างกันอยู่บ้าง เช่น จิตของคนที่ตายไปแล้วนิยมเรียกว่า วิญญาณ เป็นต้น จิต เป็นพลังงานพิเศษและเป็นธรรมชาติรู้

เมื่อจิตเป็นสมาธิก็จะมีอำนาจหรือพลังในตัวแต่มีอยู่ในอาการสงบ ทั้งจิตและอำนาจจิต เมื่อสมาธิสูงขึ้นอำนาจหรือพลังของจิตก็เพิ่มขึ้นตามส่วน การแบ่งขั้นตอนของสมาธิและอำนาจจิตแบ่งได้หลายอย่าง หลาย ประเภท แต่แบ่งแบบง่ายๆ ซึ่งเป็นที่รู้กันส่วนมากก็คือ สมาธิขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูง ส่วนอำนาจจิตก็เรียก เป็นอำนาจจิตขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูง

อำนาจจิต หรือจิตที่เป็นสมาธิอยู่ เมื่อควบคุมให้สงบนิ่งอยู่ได้นานๆ สมาธิก็สูงขึ้นได้ อำนาจจิตก็ค่อยๆ สูงขึ้นไปตามส่วน เมื่อใช้สมาธิหรืออำนาจจิตก็จะปรากฏผลต่างๆ ที่แปลก ในปัจจุบันประเทศที่เจริญทุ่มงบประมาณระดับชาติค้นคว้าทางจิตเพื่อใช้พลังจิตในทางวิทยาศาสตร์ เช่น ใช้การเห็นทางจิตดูเหตุการณ์ล่วงหน้าหาแหล่งแร่ธาตุและนํ้ามัน ใช้พลังจิตบังคับกลไกต่างๆ ใช้ติดต่อทางจิตเพื่อการสื่อสารระยะไกล และติดต่อหาความรู้จากโลกอื่นที่เจริญมากกว่า

ที่มา:ชม  สุคันธรัต

ประโยชน์ของการฝึกสมาธิในแง่วิทยาศาสตร์และจิตวิทยา

สมาธิมีบทความในหนังสือ รีดเดอร์ไดเจส ของอเมริกา ฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ หน้า ๘๕ มีใจความโดยย่อว่า “มนุษย์เราแต่ละคน ต่างก็มีพลังเพื่อความสมบูรณ์นั่นคือ พลังของอารมณ์อันแจ่มใส” นายวิลเลียม เจมส์ และคณะกล่าวว่า “อารมณ์มี ๒ ชนิด คือ อารมณ์ดี และ อารมณ์เสีย” เมื่อคนเรามีอารมณ์เสีย อวัยวะบางส่วนของร่างกายเช่น กล้ามเนื้อหรือต่อมต่างๆ จะถูกกระแสประสาทของสมองกระตุ้นแรงเกินกว่าธรรมดามาก ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในทางเสียหาย เกิด ทุกข์โทษได้หลายอย่างทำให้เกิดโรคได้ต่างๆ อารมณ์เสียนั้นได้แก่ ความโกรธ ความผิดหวัง ความอาฆาต ความวิตกกังวล ความกลัว ความท้อถอย ความเศร้าโศก เสียใจ เป็นต้น เวลาโกรธกล้ามเนื้อส่วนปลายของกระเพาะอาหารจะหดตัวแน่นมากจนอาหารผ่านออก
ไม่ได้ ลำไส้เกิดอาการเกร็ง โลหิตแข็งตัวเร็วในเวลาโกรธมาก ความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเท่าที่ลองวัดดู ความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นจาก ๑๓๐ ขึ้นเป็น ๒๓๐ หรือมากกว่านี้ก็มี การเพิ่มมาเช่นนี้เป็นผลร้ายต่อร่างกายอย่างยิ่ง บางคนต้องเจ็บป่วยลงเพราะความโกรธของ ตนเอง และเคยพบบ่อยๆ ที่คนโกรธถึงขีดสุด หัวใจจะขาดโลหิตไปหล่อเลี้ยง เพราะเส้นโลหิตตีบ บางรายถึงกับเป็นลมเสียชีวิตไปก็มี

อารมณ์ดี คือ จิตที่แจ่มใสสดชื่น และเป็นอารมณ์ที่ตรงกันข้ามกับอารมณ์เสีย คนที่มีอารมณ์ดีอยู่เสมอ เป็นยาขนานเอกที่ทำให้ร่างกายมีความสุขสมบูรณ์เท่าๆ กับยาปฏิชีวนะหรือเป็นพวกยาฮอร์โมนและคอร์ตีโซน วิธีทำให้ร่างกายผลิตฮอรโมนจำนวนพอดี เพื่อควบคุมให้ร่างกายเป็นปกติสุขดีนั้นก็คือการมีอารมณ์ดีอยู่เสมอ”

อารมณ์ดีนั้นย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนจากการฝึกสมาธิ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ที่มา:ชม  สุคันธรัต