หลักสำคัญในทางปฏิบัติก่อนรักษาโรคด้วยพลังจิต

Socail Like & Share

พลังจิต1๑. จัดพานมีดอกไม้อย่างน้อย ๒ ดอก, ธูป ๓ ดอก, เทียน ๒ เล่ม ควรเป็นเทียนขาวหนักเล่มละ ๑ บาท และ มีเงินค่าบูชาครูตามที่กำหนดไว้ในวิชาต่างๆ ส่วนมาก จะเป็นเงิน ๖ บาท หรือ ๑๒ บาท

๒. ให้คนไข้ยกพานดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ อาจจะใช้คำพูดว่า “ข้าพเจ้าขอสักการะบูชาต่อคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์คุณบิดามารดา คุณครูอาจารย์ ขอให้ช่วยรักษาโรคในตัวข้าพเจ้าให้หายไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์” กล่าวจบแล้วส่งพานให้อาจารย์ผู้รักษา

๓. อาจารย์ผู้รักษา จุดธูปเทียน ยกพานบูชาพระ กล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอสักการะบูชาต่อคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูอาจารย์ ขอให้มาช่วยรักษาโรคของ    (นาย, นาง    ) ให้
หายโดยเร็วด้วยความศักดิ์สิทธิ์” แล้วว่า คาถาเชิญครู

“เอหิพุทธา เอหิธัมมา เอหิสังฆา เอหิครูวา มะมะเอหิ”
ต่อไปก็เริ่มรักษาโรคตามวิธีของโรคนั้นๆ ซึ่งอาจมีวิธีปฏิบัติก่อนรักษาโรคต่างกันไปจากนี้บ้าง

รายละเอียดในการปฏิบัติก่อนรักษาโรค วิธีรักษาโรคในทางปฏิบัติจริงจะได้กล่าวในหนังสือ“แพทย์๓ แผน นำสมัย เล่ม ๒”

พระคาถาบทต่างๆ ที่พระอาจารย์สอน
พระคาถาบทที่ ๑ ดู การฝึกขั้นที่ ๑
พระคาถาบทที่ ๖ ถึง บทที่ ๑๑ ดูการฝึกขั้นที่ ๖

พระคาถาบทที่ ๑ “อุนุยัง”

พระคาถาบทที่ ๒ “เธาะฬ่อ” (อ่านว่า เทาะล่อ)

พระคาถาบทที่ ๓
“พระพุทธังคุ้ม พระธัมมังกัน พระสังฆังรักษา พระบิดากั้นหน้า พระมารดากั้นหลัง โรคหนารองนั่ง ชักหนังหุ้มตัว คุณพระธรรมครอบหัว
นะโมพุทธายะ” (ใช้คุ้มครองป้องกันอันตรายต่างๆ ตลอดจนภูติผี)

พระคาถาบทที่ ๔
“นะเมตตา โมกรุณา พุทปรานี ธายินดี ยะเอ็นดู” (ใช้ทางเมตตา เสกแป้งทาหน้าก็ได้)

พระคาถาบทที่ ๕
“เกษานังปิมิอุอะ อุอะมะอุอะ อุอะมิอุอะ อุอะ อุอะ” (ใช้ทางแคล้วคลาดของหลวงตาดำ อาจารย์ ชาญณรงค์)

พระคาถาบทที่ ๖
“นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอัง อิสวาสุ สุสวาอิ อะระหัง พุทธะสังมิ” (ใช้ดับพิษร้อน)

พระคาถาบทที่ ๗
“จิเจวะโมคคะลาโน จะนาสิตะวา พะหิตา นะระอะอัคคีนา นะอะธาตุปะ สะมานะหิตา” (ใช้ภาวนา เวลาทำนํ้ามนต์ภาวนาเวลาเสกข้าวสารพลูปูนในพาน เรียกว่า พระคาถาโมคคัลลา ดับพิษร้อน)

พระคาถาบทที่ ๘
“นะพุทธะมะระมัง นะจายันจา นะยันไม่ให้เป็นอันตราย นะมะอะอุ อุอะอะมะ นะโมพทธายะ ยะธาพุทโมนะ” (ใช้ภาวนาดับพิษร้อนและภาวนาขณะเดินลุยไฟ ให้ใช้บทนี้ภาวนา)

พระคาถาบทที่ ๙
“นะอมขี้เหล็ก นะอมขี้ต้าย นะอมแม่พระเพลิง ไม่ให้เป็นอันตราย นะพุทธะยะนะ นะพุทโสโค นะพุทธายันธานะยันไม่ให้เป็นอันตรายนะพุทโสภี นะมะพะทะ” (ใช้ภาวนาเวลาเอามือลูบโซ่และเวลากอบโซ่เหล็กที่ร้อนขึ้น)

พระคาถาบทที่ ๑๐
“นะเกษา นะโลมา นะขา นะทันตา ตะโจมังสัง นะมะหามินชัง กะระมะทะ คุรุมุทุ เกเรเมเถ นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ อะระหัง พุทธะสังมิ” (ใช้เสกนํ้าส้มสายชูทามือล้วงกล้วยแขกในกระทะน้ำมันกำลังเดือด)

พระคาถาบทที่ ๑๑
“อมสูบสูบ พระรูปโสภา สูบสูบให้มา สวาหะ สะมุหะติ สะมุหะตา สะมุหะคะตา สะมุหะคะเสมา” (คาถาสูบวิชากลับเมื่อเลิกเล่น คือเมื่อลุยไฟหรือรูดโซ่เสร็จแล้ว ใช้ภาวนาเรียกคาถากลับว่า ๑ จบ ให้สูบลมเข้าทางปาก ๑ ครั้ง ทำให้ครบ ๓ ครั้ง)

พระคาถาบทที่ ๑๒ (หลวงตาดำ-อาจารย์ชาญณรงค์)
“อุกาสะอุกาสะข้าพเจ้าขอปฏิปฏิบูชาตามคำสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า ข้าพเจ้าขอเอาอย่างพระพุทธกาปีติ พระธรรมกาปีติ อันสุขุมละเอียด ขอจงมาบังเกิดในจักขุทวาร ในมโนทวาร ในกายทวาร แห่งตัวข้าพเจ้า ณ บัดนี้เถิด นิพพานะ ปติโยโหตุ” (ใช้พนมมือภาวนาก่อนจะนั่งสมาธิ และเวลายกครูสมาธิ)

พระคาถาบทที่ ๑๓ เรียกว่า เกราะเพ็ชร หรือ มงคลสามสาย (หลวงตาดำ-อาจารย์ชาญณรงค์)
ใช้นิ้วชี้ทั้งสองวางให้ปลายจดกันที่กึ่งกลางหน้าผาก รวมจิตเป็นสมาธิที่จุดตั้งจิตคือที่กึ่งกลางดั้งจมูก ภาวนาว่า “พุทธสังมังคะโลเก อุมะอะปิด” พร้อมกับลากปลายนิ้วชี้เวียนไปข้างศีรษะ นิ้วชี้ขวาเวียนมาทางขวา นิ้วซ้ายเวียนมาทางซ้าย ไปจดกันที่ท้ายทอยพอดีกับภาวนาจบ แล้วว่า “ธัมมะสัง มังคะโลเก อุมะอะปิด” พร้อมกับเวียนปลายนิ้วชี้ทั้ง ๒ กลับมาบรรจบกันที่กึ่งกลางหน้าผากพอดีกับภาวนาจบ แล้วว่า
“สังฆะสังมังคะโลเก อุมะอะปิด” พร้อมกับเวียนปลายนิ้วชี้ทั้งสองไปจดกันที่ท้ายทอยพอดีกับภาวนาจบ แล้วว่า
“ปิดด้วยพระพุทธัง ปิดด้วยพระธัมมัง ปิดด้วย พระสังฆัง” พร้อมกับลากปลายนิ้วชี้ไปจดกันที่หน้าผาก พอดีกับภาวนาจบแล้วลดฝ่ามือทั้งสองลูบหน้าลงมาซ้อนกันในท่านั่งสมาธิ และนั่งสมาธิต่อไป
บทนี้ทำต่อกันกับบทที่ ๑๒ คือว่าบทที่ ๑๒ จบก็ยกมือเอาปลายนิ้วชี้ไปจดกันที่หน้าผาก แล้วทำบทที่ ๑๓ เพื่อป้องกันอันตรายทั้งหลาย ป้องกันถูกทำด้วยเวทมนตร์

พระคาถาบทที่ ๑๔ คาถารักษาโรค หรือเสกของเสกยารักษาโรค (หลวงตาดำ-อาจารย์ชาญณรงค์) ทำนํ้ามนต์ภาวนาก่อนจะเป่า
“สมุหะคัมภีรัง อโจระพยัง อะเสสะโต โสภะคะวา พุทโธหยุด ธัมโมหยุด สังโฆหยุด โรคภัยทั้งหลายจงหยุด หยุดด้วย นะโมพุทธายะ” (ภาวนาก่อนพ่นนํ้ามนต์ ฯลฯ)

พระคาถาบทที่ ๑๕
“สมิจจะ สังโฆศิษตัง สโมหะนัยยะ พุทธังละลาย ธัมมังละลาย สังฆังสูญหาย โรคทั้งหลายหายด้วยนะมะพะทะ”

พระคาถาบทที่ ๑๖
“จิเจวะ พระโมคคัลลาโน พระพุทธะ คุณัง คณาเสตตะวาวุธานัง เตโชธาติ สมาหิตา พุทธังหาย ธัมมังหาย สังฆังหาย เพี้ยงหาย”

พระคาถาบทที่ ๑๗
“โอมพ่อปลาบและแม่ปลาบตัวบังเกิดอยู่ในภูเขา มึงเป็นด้วยเงาพระอาทิตย์ ครูสิทธิให้กูเอาตัวมึงไป สวาหะ สวาโหม”

พระคาถาบทที่ ๑๘
“โอมโสม เตโสม กะดูกย่อสวาหาย”

พระคาถาบทที่ ๑๙
“โอมโสมเตลาน ยานยอน เอ็นอ่อน กระดูกย่อ สวาหาย”

การใช้พระคาถา
อาการบวม ปวด เสียว เลื่อนได้ ฯ ใช้พระคาถาบทที่ ๑๔ และบทที่ ๑๗ หรือใช้บทที่ ๑๔ ถึงบทที่ ๑๗ เสกน้ำมนต์ นํ้ามัน เสกแป้ง (ข้าวจ้าว) พอก, เสกไพล ฝนกับนํ้ามนต์ทา, ใช้เป่า หรือพ่น ก่อนเป่าหรือพ่น ภาวนาบทเดียว เช่นทานํ้ามัน พ่นนํ้ามนต์ภาวนาบทที่ ๑๔

เป็นปลาบห้ามใช้น้ำมัน ให้ใช้ไพลเสกฝนน้ำมนต์ ทาและพ่น

กระดูกหัก พ่นหรือทาด้วยนํ้ามันแล้วจัดกระดูกจัดเส้นให้เข้าที่ เอาน้ำมันนวดด้วย ต่อไปเข้าเฝือก หรือเป็นไม่มากใช้ใบพลับพลึงย่างไฟพันไว้ ก่อนจะเข้าเฝือกให้ว่า พระคาถาบทที่ ๑๘ หรือบทที่ ๑๙ พร้อมกับถากไม้สักเสียก่อน หรือยาจใช้ฝ่ามือทุบแทนการถากไม้สักโดยทุบ ไปที่แขนขาที่หัก

เข้าเฝือกแล้ว ภาวนาบทที่ ๑๘ และ ๑๙ พร้อมกับถากไม้สักภาวนาต่อกันทั้งสองบทแล้วถากไม้ต่อไป ภาวนาไปด้วยถากไปด้วย คนไข้และผู้รักษานั่งนอนบนกระดานแผ่นเดียวกัน รุ่งขึ้นอีกวันก็ให้มาถากไม้สักอีก

บวมเพราะสัตว์มีขนมีพิษ ใช้พระคาถาบทที่ ๑๔, ๑๕ และ ๑๖ (บทที่ ๑๔ ใช้เป็นหลักนิยมใช้เสมอ)

ปวดข้อไม่บวมใช้ไพล ถ้าบวมหรือถูกของใช้แป้งพอก โรคภายในเสกไพลฝนกับน้ำมนต์ ให้กินหรือให้เขาไปฝนกินเอง

พระคาถาบทที่ ๒๐
“มะอะอุ ทิวัง พรหมมา จิตตัง มานิมามา”
ทำน้ำมนต์ล้างหน้าหรือนํ้ามนต์ประพรม การทำนํ้ามนต์ให้ถอดออกทีละตัว (เช่นจบที่ ๒ ถอด มะ ออก คงเหลือ อะอุทิวังพรหมมา จิตตังมานิมามา) สุดท้ายเหลือ “มามา มามา” (หลวงตาดำ-อาจารย์ ชาญณรงค์) ใช้ทางขอลาภยศ

พระคาถาบทที่ ๒๑
“นะสโมหะนัยยะ ตัสสาเกสี” เสกนํ้าให้กิน แล้วเสกมือหยิบออก โดยเอามือจุ่มนํ้าที่เสกนั้น เอานิ้วครอบคอภาวนาคาถา พอถึงคำว่า “ตัส” ให้หยิบหรือจับลงมา เมื่อว่าจบให้ดึงทิ้งไป ทำให้ทั่วคอ แล้วให้กินนํ้าที่เสกอีกครั้งก็ได้ ใช้สะเดาะก้างติดคอ (หลวงตาดำ-อาจารย์ ชาญณรงค์)

พระคาถาบทที่ ๒๒
“นะโอนะทา นะปิดตาโมไม่เห็น พุทซ่อนเร้น ธาบังไว้ ยะหายไป พุทธังบังจักขุ ธัมมังบังจักขุ สังฆัง บังจักขุ สารพัดศัตรู วินาศสันติ”
ภาวนาจับต้นไม้หรือขมวดกอหญ้าให้บังตัวชั่วอึดใจ  ชั่วคนผ่านหรือเกิดเหตุ (ท่านเจ้า-อาจารย์ชาญณรงค์)

พระคาถาบทที่ ๒๓
“โอมกูจะปลุกให้ลุกก็ลุก กูจะปลุกให้ตื่นมึงก็ต้องตื่น มึงไปอื่นก็ต้องมา เอหิมามะมะ เอหิมา ดิสโสมามะมะ”
ต่อไปเอาตะปูจ่อตรงที่จะตรึงไว้ภาวนาว่า “วิกรึงคะเร” แล้วตอกตะปูลงไป และพูดว่า ตรึงอยู่
นั่นแหละ    ภาวนาแล้วตอกให้ครบ ๓ ที
ใช้ตรึงผี ปีศาจ ไว้ใช้เรียกมา ตรึงผีในโลงให้ตอกที่ปากโลงตอนบน

พระคาถาบทที่ ๒๔
“ทุลูลังกังเล ทุลู”
ทำจิตเป็นสมาธิภาวนา ๓ ครั้งขึ้นไป ก่อนและขณะจะเข้าไปเป็นคาถาจังงัง ภาวนาตบหน้าผาก

พระคาถาบทที่ ๒๕
“นะอะอำ อะอะมนุษโสโส”
ภาวนาขณะจิตเป็นสมาธิ กันตื่นเต้น กันประหม่า ก่อนเข้าไปหาหรือพูดต่อหน้าคน

พระคาถาบทที่ ๒๖
“จิตัง เจตะสิกัง รูปัง”
ภาวนาสำรวมก่อนทำฤทธิ์ ก่อนทำอะไรทุกอย่าง กันถอนก็ใช้ได้

พระคาถาบทที่ ๒๗

“นะปัดโมปิด นะปิดโมปิด โมปิดนะปิด”
ใช้ทางแคล้วคลาด

พระคาถาบทที่ ๒๘
“มะอะอุสิวัง พรมมานิมา มะอะอุสิวัง พรมมาพุทธัง”
เรียกยอดไม่ให้อ่อนค้อมมาหา

พระคาถาบทที่ ๒๙
“พุทโธ พุทโธ ท้าวเวสสุวันโน พุทโธ ขะโท อะระหังปิดตา ปิวินาสสันติ”
ขับภูตผี อยู่ไม่ได้ ทำน้ำมนต์

พระคาถาบทที่ ๓๐
“ตะลุกะตะลี ตีอะมะตะ มะตะ”
เป็นคาถาหนุมานคลุกฝุ่น ใช้ปลุกตัว

พระคาถาบทที่ ๓๑
“อะสิสะติทะนู เจวะ สะเพวะเต อาวุธานิจะ พะตะพะตา วิจุชะนานิ, โลมังหะ เมนะพุทสันติ”

ใช้เสกปูนคาดคอ อยู่คง แต่งพลก็ได้ (ทำให้คนอื่นเหนียวก็ได้)

พระคาถาบทที่ ๓๒
“จิตติจิตตัง อ้าย (อี)…..มานิกูจะจับนามะ อิมังกายะพันทะนัง อทิถามิ”
ใช้เป็นคาถาสะกดคนให้อยู่กับที่ ให้งง ให้มาหาเรา สะกดตรงต่อคนหรือหุ่น ถ้าจะให้หลับก็ภาวนาคาถาบทที่ ๓๓ ต่อไปอีก

พระคาถาบทที่ ๓๓
“อิทะวัง เมชีวิตตัง มะระณัง อิวะสังมะยา มะริตับพัง”
เป็นพระคาถาสะกดให้หลับ ถ้าจะให้หลับทั้งบ้าน ใช้มีดหมอสะกดที่เสาเอก

พระคาถาบทที่ ๓๔
“นะตังมุตเตนา นะตังมุตเตนา เมตังพะอะหิปิตัง เมตามุตตัง”
เสก ๑๑ คาบหักเหล็ก ถ้าศัตรูตามมาภาวนาไว้ มันตามมิได้เลย

พระคาถาบทที่ ๓๕
“โสทายะ มะอะอุ อิสวาสุ นะโมพุทธายะ”
เสกขมิ้นกิน อยู่อาวุธทั้งปวง และใช้เป็นคาถาลงทองแผ่นหนึ่ง เมื่อลงทองหรือปิดแผ่นทองแผ่นที่ ๑ ลงที่หน้าผากแล้ว จะปลุกทองแผ่นหนึ่งนี้ใช้มือตบที่หน้าผาก ใช้เสก ๓ ถึง ๗ คาบ

พระคาถาบทที่ ๓๖
“สังหะตะชา รัพพะพุทธะราชา อิติบังไพร นโมพุทธายะ”
เป็นคาถาบังไพร หักกิ่งไม้ถือแล้วภาวนา คนไม่เห็น ใช้ล่อช้างเข้าพะเนียดช้างเห็นเป็นป่าเดินตาม

พระคาถาบทที่ ๓๗
“โสโสสะสะ อังอังอะอะ”
ใช้เขียนใส่ใบศรีมหาโพธิ์เสก ๑๐๘ คาบ ทั้งคง ทั้งแคล้วคลาด

พระคาถาบทที่ ๓๘
“อิติปิโส ภะคะวา พุทโธฉิมพลีจะมหาเถโร ชัยยะ เมตตา พลังลาภัง ภวันตุเม อิติปิโส ภะคะวา ธัมโมฉิมพลี จะมหาเถโร ชัยยะเมตตา พลังลาภัง ภะวันตุเม อิติปิโส ภะคะวา สังโฆฉิมพลี จะมหาเถโร ชัยยะเมตตา พลังลาภัง ภะวันตุเม”
เป็นคาถาภาวนาขอลาภ

พระคาถาบทที่ ๓๙
“มะอะอุทิวัง พรมมาจิตตัง มานิมามา นะชาริติ จัตตุยันตามหายันตัง วิกรึงคะเร”
ใช้เจิมหน้าศิษย์เพื่อเป็นสิริมงคล ขณะภาวนาเอานิ้วชี้ที่มีแป้งเจิมกดไว้ที่หน้าผาก ภาวนาจวนจบก็ขีดขึ้นบนตรงๆ ดีกว่าขีดเป็นเส้นวน เพราะตั้งจิตได้ดีกว่า ถ้าใช้เจิมป้าย เจิมเป็นสามจุดรูปสามเหลี่ยม (จุดที่ ๑ อยู่ซ้าย, จุดที่ ๒ อยู่ขวา, จุดที่ ๓ อยู่บนประมาณกึ่งกลาง)

พระคาถาบทที่ ๔๐
“พระพุทโธ โมเมมาผิด พระพุทธเจ้าแผลงฤทธิ์ เป็นกำแพงแก้วปกปิด ปิดด้วยพระพุทโธ
พระธัมโม โมเมมาผิด พระธัมมเจ้าแผลงฤทธิ์ เป็นกำแพงแก้วปกปิด ปิดด้วยพระธัมโม
พระสังโฆ โมเมมาผิด พระสังฆเจ้าแผลงฤทธิ์ เป็นกำแพงแก้วปกปิด ปิดด้วยพระสังโฆ”

เรียกว่าพระคาถากำแพงแก้วใช้ดินหรือหิน ๔ ก้อน เสก ๓ จบ แล้วกลั้นใจว่าบทที่เสกนี้แล้วขว้างไป ๔ ทิศ (ทิศข้างหน้า-ทางขวา-ทางหลัง-ทางซ้าย)

พระคาถาบทที่ ๔๑
“นะโมตัด” – “สะ”
เรียกว่า คาถาสะป่า (ท่านเจ้า-อาจารย์ชาญณรงค์) อธิษฐานอาราธนาคุณพระและครูอาจารย์มาช่วยสะป่า ป้องกันอันตราย ป้องกันสัตว์ร้ายใช้ทำต่อจากทำบทที่ ๔๐ (พระคาถากำแพงแก้ว)
เอามือซ้ายจับกิ่งไม้ มือขวาถือมีดคอยตัดกิ่งไม้นั้น ภาวนาว่า “นะโมตัด” ตัดกิ่งไม้นั้นทีเดียวให้ขาด แล้วภาวนาว่า “สะ” พร้อมด้วยเอามือที่จับกิ่งไม้ทิ่มปักลงที่ดิน ทำอย่างนี้ทั้ง ๔ ทิศ (กลั้นใจทำ)

พระคาถาบทที่ ๔๒
“พระไพรเจ้าเอ๋ย ข้าขอฝากชีวัง สังขาตังโลกะวิทู”
ก่อนจะเข้าป่ายืนเอาหัวแม่เท้าจิกดิน, อัดใจว่าไป ๑ จบ ทำรวม ๓ จบ ใช้กันไข้ กันสัตว์ร้าย

พระคาถาบทที่ ๔๓
“สีโรเม พุทธะเทวันจะละลาเต พรหมมะเท วิตตะวา มะละหัตทะยัง วิหะเตปะระเม เพ็ดชะกันเจวะ สัพพะกัมมังประสิทธิเม”
ใช้ทำนํ้ามนต์ธรณีสาร (แก้และกันเสนียดจัญไร ต่างๆ)

พระคาถาบทที่ ๔๔
“สมุหะคะติ สมุหะคะตา สมุหะเสมา สมุหะนัยยะ สมุหะวิตีติ”
เป็นคาถาถอนใช้ภาวนา ถอนโบสถ์ ถอนเสมา ถอนพระภูมิ ถอนผี ก่อนการกระทำ ถอนอาถรรพณ์
การถอนของถูกกระทำ ทำนํ้ามนต์ให้อาบ ภาวนา บทพุทธคุณ บทถอนโบสถ์ (พระคาถาบทที่ ๔๔) บทมงกุฎพระเจ้า (พระคาถาบทที่ ๔๕), พระคาถาบทที่ ๑๔ และพระคาถาบทที่ ๑๕ อาบนํ้ามนต์ให้หลายครั้ง ใช้เสกแป้งพอกเรียกออก (หรือเอาใบบอนใส่นํ้ามนต์วางตรงที่เจ็บปวดถูกของเรียกออก วิธีนี้ใช้สำหรับผู้ที่เรียนวิธีปล่อยของได้แล้ว)

พระคาถาบทที่ ๔๕
“นะสโมหะคะติ นะสโมหะคะตา นะสโมหะเสมา นะสโมหะนัยยะ นะสโมหะวิตีติ อักขระเวทมนต์ของขลังเจ้าเวรนายกรรมทั้งหลายจงถอยออกไปด้วยคัชฉะ อมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ”
เป็นคาถาถอนใช้เหมือนกับพระคาถาบที่ ๔๔ (หลวงตาดำ-อาจารย์ชาญณรงค์)

พระคาถาบทที่ ๔๖
“อิติปิโส วิเสเส อิเสเส พุทธะนาเม อิเมนา พุทธะตังโส อิโสตัง พุทธะปิติอิ”
เรียกว่า พระคาถามงกุฎพระเจ้า (หรือมงกุฎพระพุทธเจ้า) ใช้ได้ ๑๐๘ ป้องกัน ทำนํ้ามนต์ กันห่า ลงยันต์ บูชาพระประจำวัน, ภาวนาคํ่าเช้ากันอันตรายทั่วทั้ง ๘ ทิศ ให้เป็นจังงังก็ได้, ใช้เสก ๙ คาบเป็นละลวย, ถ้าต้องคุณไสยเสกใบมะตูมกิน เสก ๗ ที, ถ้าจะกันคุณไสยกลั้นใจว่าทำเรามิได้เลย, ถ้าเป็นความ เสกหมากกิน เสกแป้งหอมนํ้ามันหอม มันเถียงเรามิได้เลย เสก ๑๗ ที, สะเดาะลูกในท้อง เสก ๕ ที กินบ้างรดหัวบ้าง, สะเดาะกุญแจก็ได้, เสกหญ้าให้วัวควายกิน เสก ๖ ที มันหนีเรา ไปมิได้เลย, ถ้าขโมยจะลักไปก็เอาไปมิได้เลย, ถ้าเสกพริก ขิง ดีปลี กิน เสก ๒ คาบ อยู่คงกระพันชาตรี, ถ้าจะปรารถนาผู้ใดเขียนชื่อผู้นั้นลงในกระดาษทำไส้เทียน แล้วเสกให้ได้ ๑๘ ที ผู้นั้นจะมาหาเรา, เดินหนทางกลัว ขโมยก็กลั้นใจหยิบก้อนดินเสก ๓๐ ที ห่อชายผ้าไปทำเรามิได้เลย, ถ้าจะไปป่านอนกลางคืน เอาดินเอากรวดมาเสกให้ได้ ๘ คาบ ถึงศัตรูมา ๘ ทิศ หาอันตรายมิได้ เมื่อจะนอนให้ภาวนา ๗ ที แล้วนอนเถิดอย่ากลัวเลย, ถ้าจะให้คงกระพันเสกข้าวกินวันละ ๕ ปั้น ๗ ปั้น ตามแต่จะเอาเถิด ๕ วัน ๗ วัน ๓ เดือน ๓ ปี คงแล
(ในตำราโบราณมีอุปเท่ห์มากกว่านี้ เลือกคัดมาบางส่วน)

ผู้สอนพระคาถาบทที่ ๑๔-๑๖ หลวงตาดำ- อาจารย์ชาญณรงค์

พระอาจารย์ลี ธัมมธโร (พระวิสุทธิธรรมรังสี คัมภีร์เมธาจารย์) วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ได้เขียนคาถามอบให้หลังจากถามคาถาสะเดาะ ดังนี้
“อะสังวิสุโล ปุสะพุภะ” (หัวใจอิติปิโส)
ให้ว่า สับ ภาวนาเวลาใส่กุญแจ เพื่อไม่ให้เปิดได้ ว่าดังนี้
“อะภะสังพุวิสะสุปุโล”
สะเดาะให้หลุด ภาวนาบทว่า สับถอยหลัง ว่าดังนี้
“โลปุสุสะ วิพุลังภะอะ”

พระอาจารย์อวน วัดหนองพลับ ใกล้สถานีรถไฟหนองแซง จ.สระบุรี ยกตำราของท่านให้ดูและสอนให้ใช้ภาวนา “โลปุสุสะ วิพุลังภะอะ” เป็นพระคาถาถอนคุณ สะเดาะ ถอนพิษ เรียกออก, แก้ปวด มีคนกำลังปวด ภาวนาเรียกออก ถ้าเป็นคนที่ปวดมีอาการเขม่นหรือเนื้อเต้นก็พ่นหรือเป่าลงไป เวลาเป่าว่า “พุทธังหาย” (การใช้จังหวะเปิดรับที่กล่าวมาข้างต้นประกอบก็จะได้ผลดีขึ้น)

พลังจิตเกิดขึ้นได้ ๒ ทางคือ ทางที่ ๑ มีความเชื่อมั่นไม่สงสัย ทางที่ ๒ เกิดจากสมาธิ สมาธิสูงขึ้นพลังก็เกิดมากขึ้นตามระดับของสมาธิ

พลังจิตที่จะนำมาใช้ได้มี ๕ อย่าง จะใช้ทีละอย่าง หรือหลายอย่างประกอบกันก็ได้ (ดูรายละเอียดในฉบับยอดคน หน้า ๒๐๑)

หวังว่าคงได้รับอภัยในความขาดตกบกพร่องหรือ การล่วงเกิน ผู้รวบรวมยินดีน้อมรับคำเตือนหรือคำแนะนำจากทุกท่าน
ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ทุกท่าน
พ.อ.ชม สุคันธรัต
๑๓/๓ ประชานฤมิตร (กรุงเทพ-นนทบุรี ๕)
เตาปูน บางซื่อ กทม. ๑๐๘๐๐
โทร. ๙๑๑-๒๘๗๔, ๕๘๗-๔๑๒๖, ๕๘๕-๐๒๑๐