ภาคปฏิบัติในการสอนสมาธิและใช้พลังจิต

Socail Like & Share

พลังจิต
ขั้นแรก สอนให้หาจุดที่ตั้งจิตเสียก่อน เมื่อได้จุดที่ตั้งจิตแล้ว อธิบายให้หาลมหายใจที่สบายที่สุด แล้วหายใจด้วยลมสบายนี้ พร้อมกับตั้งใจรู้อยู่เฉพาะลมหายใจ ตรงจุดที่ลมกระทบ ซึ่งเป็นลมที่สบาย จิตก็จะเป็นสมาธิ เพราะความสบายเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ ทั้งนี้ให้ไปดูรายละเอียด “วิธีฝึกสมาธิวิปัสสนา ให้ได้ผลดีได้ผลเร็ว” ประคับประคองรักษาลมสบายไว้ ต่อไปจิตจะทำหน้าที่ปรับลมสบายนั้นให้สบายมากขึ้น โดยลำดับ นั่นคือทำให้สมาธิก้าวหน้าดีขึ้นโดยลำดับ ความสุขสบายเพิ่มมากขึ้น ความสงบก็มากขึ้น ความสงบมากขึ้น สมาธิก็สูงขึ้นโดยลำดับ จนถึงฌาน ๔ ความสุข ความสบายก็จะมากที่สุดในแง่สมาธิ

ขั้นที่ ๒ สอนให้รู้ว่าสมาธิของตนที่เกิดขึ้นนั้นมีระดับสูงเพียงใด และจะฝึกให้ดีขึ้นได้อย่างไร? โดยวิธี เปิดเทปที่ตรงกับจังหวะหายใจเข้า นาทีละ ๑๒ ครั้ง คอยหายใจตามจังหวะเทป เสียงดัง “พุท” ให้หายใจเข้า เสียงของเทปดังว่า “โธ” ให้หายใจออก เรื่อยๆ ไป เป็นการฝึกให้การหายใจสม่ำเสมอและต่อเนื่องกันไป ความสม่ำเสมอในการหายใจช่วยให้จิตเป็นสมาธิมั่นคง ถ้าไม่ใช้เสียงเทปที่สม่ำเสมอควบคุม ผู้ฝึกสมาธิฝึกหายใจสม่ำเสมอเองจะยาก เมื่อหายใจเร็วบ้างช้าบ้างจิตก็ไม่เป็นสมาธิ แล้วถามว่าผู้ใดหายใจตามเทปแล้วรู้สึกสบาย พอเหมาะกับตนก็ให้ใช้จังหวะที่สบายนี้หายใจในการฝึกสมาธิ จะมีบางคนที่ฝึกสมาธิมามาก รู้สึกว่าการหายใจตามเทปจังหวะละ ๑๒ ครั้งไม่พอเหมาะกับตนเพราะเร็วไปก็เปิดเทปจังหวะนาทีละ ๑๑ ครั้ง ให้ผู้รับการฝึกหายใจตามเทปเมื่อยังมีบางคนรู้สึกว่าการหายใจเข้านาทีละ ๑๐ ครั้งให้หายใจตามดู ผู้ใดรู้สึกว่าสงบสบายใจในจังหวะหายใจเข้า ๑๑ ครั้งต่อนาทีก็จำการหายใจจังหวะนี้ไว้ฝึกสมาธิครั้งหลังต่อไป เมื่อสมาธิดีขึ้นอีกการหายใจเข้าจะช้าลงแต่สบายมากขึ้น การหายใจช้าลงแต่ความสงบความสบายมากขึ้น นั่นคือสมาธิก้าวหน้าสูงขึ้น

เมื่อบอกเพียงว่าให้หายใจสม่ำเสมอก็ยากที่คนไม่เคยฝึกจะเข้าใจและทำได้ถูกต้อง เมื่อรู้จังหวะสม่ำเสมอ และสบายก็สังเกตจดจำว่าการหายใจนั้นต้องต่อเนื่อง ไม่มีการหยุดชะงัก ผู้ฝึกใหม่หรือไม่สังเกตให้ดีจะเกิดการผิดในการหายใจออกโดยไม่รู้ตัวว่ามีการหยุดชะงักนิดหนึ่ง เมื่อหายใจออกมาหน่อยหนึ่งจะรู้ได้โดยสังเกตการกระเพื่อมของหน้าอกหยุดชะงักนิดหนึ่ง จะสังเกตเห็นได้ในเงากระจก หรือมีผู้ตรวจดูให้โดยดูเงาเสื้อที่เลื่อนขึ้นลงมีการหยุดชะงักนิดหนึ่ง ในการหายใจเข้าโดยธรรมดาจะไม่มีการหยุดชะงัก นอกจากตอนหายใจออก จะต้องต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก แล้วให้คอยสังเกตในเมื่อหายใจเข้าสุดแล้วก็หายใจออก แต่การหายใจออกนั้น ก่อนจะหายใจออกก็จะต้องมีการหยุดหายใจนิดหนึ่ง เปรียบเหมือนเราเดินไปสุดทางจงกรมจะกลับหลังมาก็ต้องมีการหยุดนิดหนึ่งแล้วจึงหันกลับ การหายใจเข้าสุด จะเริ่มหายในออกก็ต้องมีการหยุดนิดหนึ่ง นิดหนึ่งแค่ไหน? ก็ให้หยุดนิดหนึ่งแค่สบาย ถ้าหยุดนานหน่อยก็ไม่รู้สึกสบาย จึงต้องสังเกตให้ดี ให้ยึดถือว่าสบายจึงถูก ต่อไปหายใจออกก็ให้ต่อเนื่องไม่มีการหยุดชะงัก ครั้น
หายใจออกสุดก็ต้องมีการหยุดนิดหนึ่ง แล้วจึงหายใจเข้า หยุดนิดหนึ่งก็แค่สบายไม่อึดอัด จิตจึงเป็นสมาธิ ตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์ว่า “ความสุขสบายเป็นเหตุใกล้ ให้เกิดสมาธิ”

สมาธิที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพียงสมาธิขั้นต้น เมื่อมีสติควบคุมประคับประคองสมาธิให้ก้าวหน้าต่อไปอีกด้วย ความเพียรพยายามไม่ช้าก็เกิดปีติ คือความอิ่มใจ ความปลาบปลื้มที่พบความสุขทางธรรม ซึ่งมีความสุขที่ลึกซึ้ง ดูดดื่มยิ่งกว่าความสุขทางโลกมากมาย เป็นความสุขที่ไม่มีโทษเจือปนเหมือนความสุขทางโลกทุกอย่าง ระดับสมาธิระดับนี้คือสมาธิระดับกลาง จิตแยกออกจากกาย แล้วสมาธิขั้นกลางนี้ก็มีหลายระดับ ระดับปลายก็จะพบแสงโอภาส ต่อจากแสงโอภาสซึ่งเป็นรูปละเอียดที่สุด แล้วจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิขั้นสูง คือ ขั้นฌาน ซึ่งปล่อยวางจากรูปโดยสิ้นเชิง คือมีอุเบกขา ที่กล่าวมานี้เป็นขั้นตอนของ “โพชฌงค์ ๗”

ลองหันกลับไปดูการปฏิบัติของสายพระอาจารย์ มั่น มีตารางปฏิบัติประจำวันจะเหมือนคำสอนของพระอาจารย์ในดง คือนั่งสมาธิไม่เกินวันละ ๓ ครั้ง ครั้งหนึ่งเว้นระยะห่างกันเกิน ๓ ชั่วโมง สมาธิขั้นต้นต้องพิจารณากายให้จบทุกขั้นตอนก่อน การพิจารณาจิตคือเวทนา เป็นต้น พิจารณาเมื่อได้สมาธิขั้นกลางเสียก่อน ใช้สมาธิขั้นกลางอย่างเดียวหรือใช้ทั้งสมาธิขั้นกลางและขั้นสูง ประกอบกันพิจารณา เวทนาและจิต (ดูคำสอนของพระอาจารย์มั่น และคำสอนของพระอาจารย์มหาบัว) สาย พระอาจารย์มั่นเดินธุดงค์กันมาก ดูการปฏิบัติก็คล้ายอาจารย์ในดงลึก จึงน่าจะได้พบพระอาจารย์ในดงและเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ในดงตามข่าวที่ทราบมา

สำหรับการเดินจงกรม พระอาจารย์ในดงมีทำทางเดินจงกรมขึ้นน้อยแห่ง มักจะพาเดินไปในป่าตามธรรมชาติ และการฝึกที่หนักไปทางวิปัสสนาในดงก็สอน ตัวอย่างเช่น หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี เดิมท่านฝึกแบบอานาปานสติ (สมถะ) ครั้นอายุ ๔๕ ปี ไปเรียนกับหลวงปู่โลกอุดรที่เขาใหญ่ เปลี่ยนจากอานาปานสติ มาฝึกแบบ “ยุบหนอพองหนอ” เรียนจบฌานใน ๓ เดือน ท่านก็ปิดเรื่องไปเรียนกับใครที่ไหนตามอาจารย์อื่นๆ ปฏิบัติ แต่ล่วงมา ๒๐ ปีท่านจึงเปิดเผยว่าไปเรียนที่ไหน จะเห็นว่าพระอาจารย์ในดงก็สอนทั้งแบบสมถะ (หนักไป
ทางสมาธิถึงฌาน แล้วจึงหนักไปทางวิปัสสนา) และสอนทั้งแบบวิปัสสนา ถือสมาธิพอประมาณ หนักไปทางวิปัสสนาพิจารณาให้ดีฝึกสมาธิพอประมาณนั้นอย่างน้อย ก็จบอุปจารสมาธิ (สมาธิขั้นกลาง) ก่อนจึงจะเริ่มฝึกหนักไปทางวิปัสสนา นี่เป็นคำตอบพระอาจารย์พุทธทาส เมื่อผู้เขียนถามว่าจะฝึกสมาธิถึงขั้นใดจึงจะเริ่มฝึกวิปัสสนา (ฝึกหนักไปทางวิปัสสนา) ได้ถูกต้องไม่ผิดพลาด (ไม่เป็นวิปัสสนึก)

กล่าวโดยสรุปจะให้ฝึกได้จบสมาธิขั้นกลางภายใน ๓ เดือน ต้องฝึกตามหลักสำคัญในการฝึกจิตของพระอาจารย์ในดง ๗ ประการ และหลักสูตรการฝึกสมาธิในดง ๕ ข้อ ซึ่งเป็นหลักสูตรโดยย่อที่กล่าวแล้ว ทั้งต้องพิจารณาความตายและอสุภะทุกลมหายใจเข้าออก คือตลอดเวลา ส่วนการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า และการแผ่เมตตาในบางเวลาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เรื่องสำคัญมากที่จะช่วยให้ควบคุมการปฏิบัติก็คือ มีตารางกำหนดข้อปฏิบัติประจำวันซึ่งเรียกว่า ข้อวัตร ปฏิบัติ หรือกิจประจำวัน บอกเวลาใดทำอะไรบ้างในรอบหนึ่งวัน ตามตัวอย่างกิจประจำวันของพระอาจารย์มั่นและพระอาจารย์ฝั้นที่กล่าวแล้ว การที่กล้ากล่าวว่า ปฏิบัติดังกล่าวจะได้ผลจบสมาธขั้นกลางนั้นเป็นด้วยผู้เขียนเองได้ปฏิบัติได้ผลจริงมาแล้ว ทั้งๆ ที่ปฏิบัติบกพร่องย่อหย่อนไปบ้าง แต่ที่สำคัญคือสถานที่ฝึกจะต้องเป็นป่าเขาที่สงบสงัดไกลหมู่บ้าน อีกตัวอย่างหนึ่งคือ หลวงพ่อจรัญฝึกเพียง ๓ เดือน ก็จบฌาน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ฝึก ๓ ปี บุญบารมีที่ได้เกิดเป็นคนก็มีสมาธิขั้นต้น โดยกำเนิดแล้ว และสามารถที่จะเรียนรู้ในการทำสมาธิให้ถูกต้อง และสามารถวัดสมาธิด้วยตนเองว่าได้สมาธิขั้นใด ระดับใดแล้ว จะฝึกให้ดีขึ้นทำอย่างไรต่อไป ในด้านการใช้พลังคุณพระพลังจิตก็สามารถเรียนรู้การส่งพลังจิตออกไปดับพิษนํ้าร้อนหรือนํ้ามันกำลังเดือด ให้คนเอามือล้วงได้ ตักกินได้ในขณะกำลังเดือด หรือกอบโซ่ที่เผาไฟจนแดงขึ้นได้ เมื่อส่งพลังออกได้ดังนี้แล้วก็เรียนรู้และสามารถรักษาโรคที่ฝรั่งรักษาไม่ได้ ไม่มียารักษาหลายอย่างก็รักษาได้ผลดี ได้ผลเร็ว เช่นสามารถ รักษาโรคเอดส์โรคมะเร็ง โรควัณโรคที่ดื้อยาบางประเภท โรคเบาหวาน โรคหืด โรคไซนัส โรคพิษสุนัขบ้าที่มีอาการแล้ว โรคทอนซิลอักเสบ โรคไวรัสบี โรคเรื้อนกวางที่เล็บที่ขาชนิดแห้ง โรคต่อมลูกหมากโต โรคนิ่วฯลฯ เป็นต้น ตั้งแต่การฝึกสมาธิถูกต้อง วัดสมาธิได้เอง จนถึงรักษาโรคต่างๆ ได้ผลดีได้ผลเร็วที่กล่าวมาแล้วนี้ สอนให้ทำได้จริงภายใน ๑ วัน (หนึ่งวัน) ที่กล้ายืนยันดัง นี้ก็เพราะได้สอนติดต่อมากว่า ๓๕ ปี แล้ว ได้ผลให้เรียนรู้ได้ทำได้ในหนึ่งวันตลอดมา ส่วนการรักษาโรคต่างๆ ก็ได้ทำจริงรักษาได้มากว่า ๔๐ ปีแล้ว ความรู้เกือบทั้งหมดพระอาจารย์ผู้เป็นศิษย์ในดงเป็นผู้สอน (ศิษย์ในดงหมายถึงผู้มีบุญที่จะฝึกจนถึงเหาะได้ล่องหนหายตัวได้)

ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ทุกท่าน
พ.อ.ชม สุคันธรัต
๑๓/๓ ประชานฤมิตร (กรุงเทพ-นนทบุรี ๕)
เตาปูน บางซื่อ กทม. ๑๐๘๐๐
โทร. ๙๑๑-๒๘๗๔, ๕๘๗-๔๑๒๖, ๕๘๕-๐๒๑๐