ประโยชน์ของการฝึกสมาธิในแง่วิทยาศาสตร์และจิตวิทยา

Socail Like & Share

สมาธิมีบทความในหนังสือ รีดเดอร์ไดเจส ของอเมริกา ฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ หน้า ๘๕ มีใจความโดยย่อว่า “มนุษย์เราแต่ละคน ต่างก็มีพลังเพื่อความสมบูรณ์นั่นคือ พลังของอารมณ์อันแจ่มใส” นายวิลเลียม เจมส์ และคณะกล่าวว่า “อารมณ์มี ๒ ชนิด คือ อารมณ์ดี และ อารมณ์เสีย” เมื่อคนเรามีอารมณ์เสีย อวัยวะบางส่วนของร่างกายเช่น กล้ามเนื้อหรือต่อมต่างๆ จะถูกกระแสประสาทของสมองกระตุ้นแรงเกินกว่าธรรมดามาก ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในทางเสียหาย เกิด ทุกข์โทษได้หลายอย่างทำให้เกิดโรคได้ต่างๆ อารมณ์เสียนั้นได้แก่ ความโกรธ ความผิดหวัง ความอาฆาต ความวิตกกังวล ความกลัว ความท้อถอย ความเศร้าโศก เสียใจ เป็นต้น เวลาโกรธกล้ามเนื้อส่วนปลายของกระเพาะอาหารจะหดตัวแน่นมากจนอาหารผ่านออก
ไม่ได้ ลำไส้เกิดอาการเกร็ง โลหิตแข็งตัวเร็วในเวลาโกรธมาก ความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเท่าที่ลองวัดดู ความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นจาก ๑๓๐ ขึ้นเป็น ๒๓๐ หรือมากกว่านี้ก็มี การเพิ่มมาเช่นนี้เป็นผลร้ายต่อร่างกายอย่างยิ่ง บางคนต้องเจ็บป่วยลงเพราะความโกรธของ ตนเอง และเคยพบบ่อยๆ ที่คนโกรธถึงขีดสุด หัวใจจะขาดโลหิตไปหล่อเลี้ยง เพราะเส้นโลหิตตีบ บางรายถึงกับเป็นลมเสียชีวิตไปก็มี

อารมณ์ดี คือ จิตที่แจ่มใสสดชื่น และเป็นอารมณ์ที่ตรงกันข้ามกับอารมณ์เสีย คนที่มีอารมณ์ดีอยู่เสมอ เป็นยาขนานเอกที่ทำให้ร่างกายมีความสุขสมบูรณ์เท่าๆ กับยาปฏิชีวนะหรือเป็นพวกยาฮอร์โมนและคอร์ตีโซน วิธีทำให้ร่างกายผลิตฮอรโมนจำนวนพอดี เพื่อควบคุมให้ร่างกายเป็นปกติสุขดีนั้นก็คือการมีอารมณ์ดีอยู่เสมอ”

อารมณ์ดีนั้นย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนจากการฝึกสมาธิ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ที่มา:ชม  สุคันธรัต