สมาธิวิปัสสนาวิธีใดดีที่สุด

Socail Like & Share

วิปัสนาการเลือกวิธีฝึกสมาธิ-วิปัสสนา ให้เหมาะกับจริต หรือนิสัยของตน นับว่าเป็นเรื่องสำคัญประการแรกก่อน การเริ่มฝึกสมาธิ-วิปัสสนา การเลือกวิธีฝึกจะต้องยึดถือคำสอนในพระไตรปิฎกเป็นหลัก พระไตรปิฎกที่จะอ้างถึงถือเอาตามพระไตรปิฎกฉบับของกรมการศาสนา ชุด ๘๐ เล่ม พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๐

จากพระไตรปิฎก เล่ม ๖๓ หน้า ๒๖๔ กล่าวถึง สิ่งประเสริฐที่สุด ๓ อย่าง คือ

บรรดาทาง มรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัจจะ อริยสัจ ๔ ประเสริฐที่สุด
บรรดาธรรม วิราคะธรรมประเสริฐที่สุด

การฝึกสมาธิ-วิปัสสนาจึงควรยึดถือมรรคมีองค์ ๘ เป็นวิธีดีที่สุด เพราะเป็นแนวทางที่ประเสริฐที่สุด องค์ประกอบของมรรคมีองค์แปดนั้น มีองค์สำคัญที่จะต้องพิจารณาให้ชัดแจ้งก่อนที่จะดำเนินการฝึก คือ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ สัมมาสติ อยู่ในสติปัฏฐาน ๔ (การมีสติรู้อยู่ในกาย เวทนา จิต และธรรม) คือการปฏิบัติวิปัสสนานั่นเอง ส่วน สัมมาสมาธิ ก็คือการทำให้จิตสงบตั้งมั่น ได้แก่การปฏิบัติสมถะ หรือ สมาธินั่นเอง

นิพพาน ผู้ยังไม่เป็นพระอรหันต์หรือยังไม่ถึงนิพพานนั้นจะซักถามหรือนึกคิดอธิบายอย่างไรก็ไม่สามารถจะเข้าใจแจ่มแจ้งได้

ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางที่ประเสริฐที่สุด และเป็นทางสายเดียว เป็นเอกมรรค หรือเป็นมรรคสมังคี คือต้องปฏิบัติให้กลมกลืนกัน ครบทั้งแปดอย่าง ผู้เริ่มฝึกสมาธิควรพิจารณาให้เข้าใจ องค์สำคัญ ๒ องค์ในมรรคมีองค์แปดเสียก่อน คือ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสมาธิ

ในพระไตรปิฎก เล่ม ๖๓ หน้า ๒๖๔ กล่าวไว้ว่า “สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ ไม่เป็นมรรค แต่เป็นองค์แห่งมรรค สัมมาทิฏฐิ สัมมาสมาธิ เป็นมรรค” มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางประเสริฐสุดให้ถึงนิพพาน

พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ มหาจัตตารีสูตร กล่าวไว้ว่า “สัมมาสมาธิ ประกอบด้วยมรรค ๗ ข้อข้างต้น สัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้าของมรรคอื่นๆ”จะเห็นว่า สมาธิ (หรือ สมถะ) ที่ถูกต้องคือสมาธิที่รวมเอามรรคที่เหลือทั้ง ๗ ข้อมาอยู่ร่วมกัน รวมมาเป็นอันเดียวกัน นั่นคือสมาธิที่ถูก (สัมมาสมาธิ) ได้รวมเอาสัมมาสติ คือวิปัสสนา อยู่ในตัวแล้ว สมาธิหรือเรียกว่า สมถะกัมมัฏฐานนั้น เมื่อทำถูกต้องถึงที่สุดก็เข้าถึงนิพพาน
วิธีปฏิบัติหรือวิธีสร้างเหตุเพื่อให้เกิดความเห็นชอบสัมมาทิฏฐินั้นมี ๒ ประการ คือ ในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๘ หน้า ๖๑๒ กล่าวไว้ว่า “ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฎฐิมีเท่าไร ?” มีธรรม ๒ประการคือ ได้สดับจากบุคคลอื่น และทำในใจโดยแยบคาย ถ้าสดับคือได้ฟังได้อ่าน คำกล่าวของผู้ที่เห็นถูกเห็นชอบ (ผู้มีสัมมาทิฏฐิ) ประกอบกับการพิจารณาโดยแยบคาย ดูหลักฐานในพระไตรปิฎก หรือตรวจสอบไต่ถามผู้รู้อื่นๆ อีก ก็จะเป็นความรอบคอบ และมั่นใจในความเห็นที่ถูกต้องได้ครบอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดพลาด และปฏิบัติผิดพลาดตั้งแต่การเริ่มฝึก กล่าวคือในพระไตรปิฎกกล่าวไว้หลายตอนว่า การปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ให้ ปฏิบัติเป็นมรรคสมังคี คือปฏิบัติให้กลมกลืนเป็ อันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง ๘ องค์ ดังนั้น การแยกฝึกสมาธิ คือสมถะอย่างเดียว หรือจะแยกวิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ฝึกสมถะควบคู่กันไปด้วยก็ไม่ถูกต้องตามพระไตรปิฎก ซึ่งจะขอยกข้อความเล่มอื่นมากล่าวดังนี้

พระไตรปิฎก เล่ม ๕๑ หน้า ๔๗๒ มีใจความว่า “…..ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอาการ ๑๖……” การฝึกคู่กันไปนี้อาจจะทำได้หลายวิธี

สาเหตุให้เกิดความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ หน้า ๒๘๐ ว่า “เมื่อรูปมีอยู่เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูปจึงเกิดมิจฉาทิฎฐิ คือ ความเห็นผิด    ” อีกสำนวนหนึ่งพระไตรปิฎกกล่าวว่า
เหตุให้เกิดมิจฉาทิฏฐิมี ๒ ประการ คือ ถูกเล่าลือจากคนอื่น (ฟังเขาพูดหรือเขาเล่าหรือสอนที่ผิดก็เชื่อถือ) นั้นประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งคือ ไม่ใช้ความคิดโดยแยบคาย ยึดมั่นรูปคือยึดถือว่ารูปหรือกายนี้เป็นของตน หรือเป็นตัวตน ยึดถือมั่นว่ากายนี้เป็นตน ยากที่จะอธิบายให้เข้าใจว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตน เปรียบเหมือนคนไม่เคยกินเค็มจะอธิบายให้เข้าใจว่าเค็มคืออย่างไรก็ไม่เข้าใจ ต้องให้กินเกลือก็จะรู้ว่าเค็มคืออย่างไร จะให้เข้าใจว่า ไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่ตนก็ต้องให้ลงมือทำดู ขั้นแรกให้ทำใบมะขามเป็นตัวแตนดังที่กล่าวมาแล้ว ไม่เกิน ๗ วัน ตัวแตนก็กลับเป็นใบไม้ไม่ใช่ตัวตน เมื่อฝึกจบสมาธิขั้นกลางจวนขึ้นฌานก็สอนให้ภาวนาเดินลอดภูเขาไปมาได้ จึงจะเห็นชัดว่า กายก็สักว่าเป็นกาย ไม่ใช่ตัวตนเราเขา ที่เห็นว่ารูปกายเป็นตัวตนเป็นของตนนั่นคือ ยึดมั่นรูป เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดไปจากความจริง คือ ความจริงรูปกายเป็นตัวชีวิตเล็กมากอัดกันอยู่เป็นกระดูก เป็นเนื้อหนัง ผมขนเล็บ ฯลฯ

ที่มา:ชม  สุคันธรัต