ประเภทคำฉันท์ต่างๆ

Socail Like & Share

คำฉันท์แบบโบราณคือคำกานท์สันสกฤตและบาลี ซึ่งนักปราชญ์คัดเอามาจากคัมภีร์ “วุตโตทัย” (ปากตลาดเรียกว่า “มุตโต” หรือ “ม่อโต”) แต่เลือกเอาเฉพาะที่แต่งเป็นภาษาไทยได้  และเติมสัมผัสทางภาษาไทยเราเข้าด้วย  ดังตัวอย่างในตำราจินดามณี แต่บทใดที่เหมาะกับภาษาไทย ท่านก็ไม่ทำตัวอย่างไว้

ตามตำราวุตโตทัย  ท่านจัดฉันท์วรรณพฤติไว้มากมาย ตั้งแต่บาทละ ๖ คำ จนถึงบาทละ ๒๒ คำ ในแบบพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระปรมานุชิตฯ ทรงแต่งไว้เป็นตัวอย่างหมดทุกฉันท์ ทั้งเหมาะและไม่เหมาะกับภาษาไทย  แต่ในที่นี้จะนำมาอธิบายเฉพาะฉันท์ที่นิยมแต่งกันมากในภาษาไทยเท่านั้น ดังนี้

(๑) วิชชุมมาลาฉันท์ (อ่าน วิด-ชุม-มาลา ว่าระเบียบสายฟ้า) มีบาทละ ๘ คำ เป็นครุทั้งนั้น ๔ บาทเป็นคาถา ๑
………………………………………………………………………………………….
๑ ฉันทร์ในตำราวุตโตทัย ท่านแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
ก. ฉันท์วรรณพฤติ คือฉันท์ที่กำหนด คำครุ คำลหุ เป็นเกณฑ์ ที่เรานำมาใช้ในภาษาไทยประเภท ๑

ข. ฉันท์มาตราพฤติ คือ ฉันท์ที่กำหนดจังหวะยาว และสั้น คือ คำลหุ นับเป็น ๑ มาตราคำครุนับเป็น ๒ มาตรา และบาทหนึ่งนับเอามาตราเป็นเกณฑ์ ไม่กำหนดตัวอักษรอย่างฉันท์วรรณพฤติ ฉันท์ประเภทนี้น่าจะใช้การขับร้องตามประเพณีของเขา ไม่ไพเราะทางไทยเราเลย สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระปรมานุชิตฯ ทรงนิพนธ์ไว้ก็มี แต่ก็เพื่อให้เป็นตัวอย่างทางความรู้เท่านั้น ผู้ต้องการความรู้ควรดูพระนิพนธ์ของท่าน ในที่นี้จะไม่นำมาอธิบายเลย

ส่วนฉันท์วรรณพฤติ ก็จะอธิบายเฉพาะที่ใช้มากเป็นสามัญเท่านั้น ฉันท์อื่นๆ จะทำบัญชี ครุ ลหุ และคณะวรรคไว้ให้ทราบ เพื่ออยากแต่งเล่นจะได้แต่งได้
………………………………………………………………………………………….
ข้อบังคับในภาษาไทย  ท่านแยกบาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๔ คำ แต่ท่านเติมสัมผัสเข้า เพื่อให้ไพเราะทางภาษาไทย ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0444 - Copy
ตัวอย่าง
silapa-0445 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ วิธีอ่านฉันท์  ท่านมีวิธีอ่านช่วยผู้ฟังให้เข้าใจคำที่อ่านอยู่บ้าง เช่นตัวอย่าง “ชัยบานเวไนยชาติ” ข้อบังคับให้อ่านเป็นครุว่า “ไช-บาน, เว-ไน-ชาติ” แต่คำสามัญอ่านว่า “ไช-ยะ-บาน, เว-ไน-ยะ-ชาติ” อย่างคำสมาสบาลี ถ้าจะอ่านตรงตามบังคับ ผู้ฟังคงไม่ทราบความหมายทันท่วงที ท่านจึงให้อ่านเอียงไปทางเสียงสามัญว่า “ไชยบาน, เวไนยชาติ” คือออกเสียง ยฺ เล็กน้อย อย่างอักษรนำซึ่งยอมให้ใช้เป็นครุพยางค์เดียวได้ เช่น “พฺยาธิ, สฺวาท, สฺมัย” เป็นต้น อนึ่งคำครุซึ่งอ่านบังคับให้อ่านเป็นครุ เช่น “จรดล, ถลมารค” (ในตัวอย่างต่อไปนี้) ซึ่งคำสามัญอ่าน “จอ-รา-ดล, ถล-ละ-มารค” ถ้าจะอ่านว่า “จะ-ระ-ดล, ถะ-ละ-มารค” ก็จะขัดหูผู้ฟังเช่นกัน จึงควรอ่านให้ใกล้คำสามัญ แต่ให้เป็นลหุตามข้อบังคับดังนี้ “เจาะ-ระ-ดล, โถ็-ละ-มารค”

ฉะนั้น ในการอ่านฉันท์ ท่านแยกเป็นลหุหลายพยางค์ ก็ควรถือเอาคำที่อ่านเป็นสามัญเป็นหลักอ่านก่อน แล้วจึงอ่านให้เป็นเสียงสั้นตามคณะฉันท์ของท่านด้วย เช่นตัวอย่างในฉันท์กฤษณาสอนน้อง ดังนี้
silapa-0445 - Copy1
หมายเหตุ  ฉันท์นี้ตามแบบของท่านต้องให้จบในบาทจัตวา  ซึ่งนับว่าจบคาถาบทหนึ่ง ถ้าจะพูดถึงสัมผัสทางภาษาไทยแล้ว บทหนึ่งมี ๒ รวด คือท้ายบาทโทจบรวดหนึ่ง ที่คำส่ง-“แจง” และท้ายบาทจัตวาจบอีกรวดหนึ่ง ตรงคำส่ง-“โลกา” แต่ตามแบบของท่านต้องให้จบในบาทจัตวา อนึ่งการใช้เสียงวรรณยุกต์ของฉันท์ทั่วไป ท่านใช้อย่างเดียวกับคำกาพย์ทั้งนั้น จงดูเรื่องเสียงวรรณยุกต์ของกาพย์ยานีข้างต้นนี้

๒. มาณวกฉันท์ (อ่าน “มาณะ-วก-กะ-ฉัน” ว่า ฉันท์เด็กหนุ่ม) ฉันท์นี้มีบาทละ ๘ คำ ครุ ลหุ ดังนี้  silapa-0446 - Copy          ทุกบาท และ ๘ บาทเป็นคาถา ๑

ข้อบังคับในภาษาไทย  ท่านแบ่งบาทหนึ่งเป็น ๒ วรรค วรรคหนึ่งมี ๔ คำ มีครุอยู่หน้าและท้ายวรรค กลางวรรคเป็นลหุ ๒ คำ และท่านจัดสัมผัสเติมเข้าให้เหมาะดังแผนซึ่งคล้ายกับวิชชุมมาลาฉันท์ ดังนี้
silapa-0446 - Copy1
ตัวอย่าง
silapa-0447 - Copy
หมายเหตุ  ฉันท์บาทละ ๘ คำทั้งสองอย่าง สมัยนี้มีผู้นิยมแต่งมาก จึงทำแผนไว้ด้วย ข้อสำคัญนอกจาก ครุ ลหุ ตามแบบแล้ว  ท่านยังกำหนดให้มีสัมผัสเชื่อมสลับ ดังนี้ คือ

วิชชุมมาลาฉันท์ให้มีสัมผัสเชื่อมสลับ ในคำที่ ๒ วรรคท้ายของ บาทเอก และ บาทตรี

มาณวกฉันท์ให้มีสัมผัสเชื่อมสลับ ในคำที่ ๑ วรรคท้ายของ บาทเอก และ บาทตรี  ซึ่งเป็นข้อสำคัญเกี่ยวกับทำนองอ่านด้วย อันผู้แต่งจะละเสียไม่ได้

๓. อินทรวิเชียรฉันท์ (อ่าน “อิน-ทอ-ระ-วิเชียรฉันท์” ว่า ฉันท์เพชรพระอินทร์) ฉันท์นี้ท่านนำมาแต่งเป็นภาษาไทยก่อน ในชั้นต้นท่านไม่กำหนดครุลหุให้ชื่อว่า “กาพย์ยานี” ครั้นต่อมาท่านแต่งให้มีข้อบังคับครุ ลหุขึ้นอีก แต่ยังคงแบ่งวรรค และกำหนดสัมผัสอย่างกาพย์ยานีอยู่อย่างเดิม ท่านให้ชื่อว่า “อินทรวิเชียรฉันท์” มีผู้นิยมแต่งมากนับว่าเป็นฉันท์ในภาษาไทยบทหนึ่ง

คณะทางบาลี  บาทหนึ่งมี ๑๑ คำ ท่านจัดเป็น ครุ ลหุ ดังนี้
silapa-0448 - Copy
และ ๔ บาท นับเป็นคาถา ๑ ดังตัวอย่างบาลีว่า-“ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ” (นิ เป็นลหุ แต่อยู่ท้ายบทต้องลากเสียงยาว ท่านยอมให้เป็นครุได้)

คณะทางภาษาไทย ท่านแบ่งบาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คำ วรรคท้าย ๖ คำ รวม ๒ บาทเป็นบท ๑ และมีสัมผัสดังแผนต่อไปนี้
silapa-0448 - Copy1
ตัวอย่างภาษาไทย
silapa-0449 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ กิจการ  การแยกคำครุออกเป็นคำลหุนั้น ตามหลักที่ถูกต้องก็คือให้ถือตามศัพท์เดิมของเขา เช่น ผล (ผะละ), พล (พะละ), สุข (สุขะ), นย (นะยะ), กุศล (กุศะละ) ฯลฯ ไทยนำมาอ่านเป็น ผน, พน, สุก, นัย, กุสน ตามลำดับ ดังนี้  เมื่อแต่งฉันท์เราแยกอ่านให้เป็นลหุตามศัพท์เดิมของเขาได้ แต่ขอให้ฟังง่าย จึงควรอ่าน “โผ็ละ, โพ็ละ, สุขะ, นะยะ, กุโศ็ละ” ตามลำดับดังกล่าวมาแล้วเท่านั้น (ถึงจะอ่านตามศัพท์เดิมก็ไม่นับว่าผิด)

แต่สังเกตดูฉันท์โบราณท่านแยกออกตามที่ไทยเขียนด้วย คือเสียงสะกดบางคำท่านลดตัวสะกดออก เอาตัวตามมาเป็นตัวสะกด เช่น กิจจ์, นิจจ์, รชฺชกาล, ทุฏฐกรรม, วุฑฺฒิ ฯลฯ โดยมากเป็นวรรค จ กับวรรค ฎ ฏ หรือถ้าตัวสะกดกับตัวตามเป็นตัวเดียวกัน ท่านมักลดตัวสะกดเสีย เช่นตัวอย่างข้างบนนี้ ไทยมักเขียนเป็น “กิจ, นิจ, รัชกาล, ทุฐกรรม, วุฒิ” ตามลำดับ ดังนั้นท่านจึงแยกเป็นลหุ ๒ ได้ เช่น กิจการ ( ุ ุ ั    ) ในตัวอย่างข้างบนนี้ ที่จริงวิธีนี้เป็นการขอไปที่มากอยู่  เพราะบางศัพท์จะทำให้เข้าใจความเขวไปก็ได้ เช่น “นิจฐาน” จะแปลว่าที่เที่ยงตรงก็ได้ (จาก นิจฺจฐาน) หรือจะแปลว่าที่ต่ำก็ได้ (จาก-นีจฐาน) เพราะรัสสระกับทีฆะท่านก็ใช้สับเปลี่ยนกันได้เช่นกัน

๒ อนึ่งอักษรนำทั้งหลายท่านแยกได้เป็น ๒ อย่าง เช่น “แถลง, แสดง” จะแยกเป็น ๒ คำว่า “ถะ-แหลง, สะ-แดง (ุ ั)” ก็ได้ หรือจะให้เป็นคำครุคำเดียวว่า “แถลง, แสดง” (ั) ก็ได้ ดังตัวอย่างข้างบนนี้ ข้อสำคัญผู้อ่านจะต้องตรวจคณะ ครุ ลหุ ของฉันท์นั้นๆ เสียก่อน จึงจะอ่านได้ถูกต้อง คือบังคับให้อ่าน ๒ คำ ก็ให้อ่านแยกออกเป็น ๒ พยางค์ ถ้าบังคับให้อ่านคำเดียว ก็ให้รวบรัดเข้าเป็นพยางค์เดียว

๓ และคำสระ ฤ สันสกฤตบางคำ  ไทยก็ใช้อย่างอักษรนำด้วย เช่น “นฤวัฒนา” ข้างบนนี้ เพราะอ่านให้กล้ำกันสนิทไม่ได้
………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุ  ฉันท์นี้ท่านกำหนดไว้เพียงบาทเอก  และบาทโทเท่านั้น เพราะจบสัมผัสรวดหนึ่ง นับว่าจบบทหนึ่งข้างไทย  ดังนั้นท่านจึงบังคับไว้ว่าต้องจบในบาทโท ผิดกับฉันท์บาทละ ๘ คำข้างต้นนี้  ซึ่งท่านต้องให้จบในบาทจัตวา

อนึ่งฉันท์ประเภทบาทละ ๑๑ คำนี้ มีหลายประเภทด้วยกัน เรียกชื่อต่างๆ กัน  ซึ่งที่จริงก็คล้ายคลึงกับอินทรวิเชียรฉันท์ทั้งนั้น  จึงไม่อธิบายให้พิสดารในที่นี้  แต่จะทำบัญชีประกอบกับแผนย่อๆ ไว้ข้างท้ายสำหรับผู้ต้องการความรู้

๔. โตฎกฉันท์  (อ่าน-โต-ดก-กะ-ฉันท์) ฉันท์นี้มีคณะทางบาลีบาทละ ๑๒ คำ มีคำละหุ ๒ คำ ครุ ๑ (ส.คณะ) เป็น ๔ ชุดดังนี้

silapa-0450 - Copy
คณะทางภาษาไทย  ท่านแบ่งเป็นบาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๖ คำ และมีสัมผัสก็อย่างเดียวกับฉันท์ที่กล่าวมาแล้ว ดังแผนต่อไปนี้

silapa-0450 - Copy1
ตัวอย่างภาษาไทย
silapa-0451 - Copy
หมายเหตุ  ตัวอย่างนี้ท่านแต่งเรื่องธรรมะยืดยาว แต่ของเก่าของท่านใช้แต่งเป็นฉันท์ตลก ซึ่งประกอบด้วยกลบทต่างๆ ให้เหมาะกับวิธีอ่านฉันท์นี้ จะสังเกตได้ตามตัวอย่างของเก่าของท่าน ว่า

“วรเดชผลิต         วรสิทธิพิศาล
วรฤทธิกราญ        รณรงควิชัย
วรเกียรติตโป        ปวโรสุประไพ
วรองควิไล            ยวิลาสประภา ฯลน”

ดังนี้จะเห็นได้ว่าท่านเล่นคำ วร ในต้นบาท  ทั้งนี้แล้วแต่ผู้แต่งจะหาเรื่องให้เหมาะลักษณะของฉันท์นี้

๕. วสันตดิลกฉันท์ (อ่าน-ว-สัน-ตะ-ดิ-ลก-กะ-ฉันท์) หรือเรียกตามภาษาไทยว่า “ฉันท์วสันตะ-ดิหลก” ก็ได้ ฉันท์นี้มีคณะทางบาลี บาท ๑ มี ๑๔ คำ และ ๔ บาทเป็นคาถา ๑ อย่างฉันท์อื่นๆ มีครุ ลหุในบาทหนึ่งๆ ดังนี้
silapa-0451 - Copy1
อย่างคำบาลีถวายพรพระบท หาหํุ ส หสฺ ส ม ภิ นิมฺ มิต สา วุ ธนฺตํ ฯลฯ
………………………………………………………………………………………….
๑ กษณะ อ่านเป็นลหุ ๒ พยางค์ คือ กฺ ษ ต้องอ่าน กฺ ให้เบาที่สุด ษ ให้หนัก อย่างอักษร ควบเท่ากับ ษหณะ หรือขะหณะ

๒ ทุฐกาม, ทุจริต ศัพท์เดิมเป็น ทุฏฐกาม, ทุจฺจริต (ั ุ ั) แต่ท่านบังคับให้เป็นลหุ ๒ ครุ ๑ (ุ ุ ั) เป็นการขอไปทีดังกล่าวแล้ว
………………………………………………………………………………………….
คณะทางภาษาไทย  ท่านแบ่งเป็นบาทละ ๒ วรรค  คือวรรคต้น ๘ คำ วรรคท้าย ๖ คำ และ ๒ บาทเป็นบท ๑ ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0452 - Copy
ตัวอย่างภาษาไทย
บาทเอก ๏ เสนออรรถพิพัฒนศุภมง-    คลลักษณ์๑ ประจักษ์ความ
บาทโท    ครบสี่และมียุบลตาม        ชินราชประกาศแสดง ฯ
บาทเอก ๏  ขันตีก็นีรมนโทษ            ฤพิโรธร้ายแรง
บาทโท    ออมอดทุพจน์ผรุสแสดง    ก็ บ๒ ตอบ บ๒ ต่อคำ ฯ

หมายเหตุ  ฉันท์วสันตดิลกนี้ ท่านนับว่าไพเราะที่สุด รองลงไปก็คือฉันท์อินทรวิเชียร นับว่าสำคัญอย่างพระเอกนางเอกของบทละครทีเดียว ดังนั้นท่านจึงแต่งในเรื่องเกี่ยวกับการเศร้าโศก  การพรรณนาชมเชย ฯลฯ ซึ่งชวนให้ผู้ฟังรู้สึกไพเราะ ซาบซึ้งในใจ

๖. มาลินีฉันท์  ฉันท์นี้มีคณะทางบาลี บาท ๑ มี ๑๕ คำ และ ๔ บาท เป็นคาถา ๑ อย่างฉันอื่นๆ และในบาทหนึ่งๆ มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0453 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ ลักษณ์  คำนี้ขาดสัมผัสเชื่อมสลับ  ซึ่งบาทเอกต้องมีตามแผน และตรวจดูทั้งหมดของท่าน มีพลาดอยู่ ๒ แห่งเท่านั้น  จึงสังเกตได้ว่าเป็นสมัยที่เริ่มนิยมใช้เชื่อมสลับในบาทเอกขึ้นก็ได้ ท่านจึงไม่กวดขันนัก เพราะของเก่าท่านก็ไม่นิยมใช้เชื่อมสลับหรือเชื่อมรองเลยเช่นตัวอย่าง  ปางเสด็จประพาสวนอนานต์ ศิขรินทรโจษจรร (ไม่มีเชื่อมสลับและบาทเอกบทอื่นก็ไม่มีเช่นกัน)

๒ คำ “แล” (เดี๋ยวนี้เราใช้และ) และคำ “บ) (ที่แปลว่าไม่) เป็นคำเสียงสั้นก็ได้ ท่านยอมให้ใช้เป็นลหุได้ แต่คำ “บ, บ่” ท่านก็ใช้เป็น ครุ ได้บ้างเหมือนกัน เพราะอ่านเสียงยาวก็ได้ ข้อสังเกตก็คือใช้เป็นลหุก็ให้อ่านเสียงสั้น ใช้เป็นครุก็ให้อ่านเสียงยาว
………………………………………………………………………………………….
คณะทางภาษาไทย  บาทหนึ่งท่านแบ่งเป็น ๓ วรรค วรรคต้น ๘ คำ วรรคที่ ๒ ๔ คำ และวรรคที่ ๓ มี ๓ คำ ส่วนสัมผัสรวด ๑ ก็จบในบาท ๑ ดังนั้นท่านจึงกำหนดว่าบาท ๑ เป็นบท ๑ เพราะมีสัมผัสจบรวด ผิดกับฉันท์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0453 - Copy1

silapa-0453 - Copy2
………………………………………………………………………………………….
๑ ตามตัวอย่างที่คัดมาไว้นี้ ท่านมุ่งหมายต่างกับของเก่า คือต้องการจะอธิบายข้อธรรมะให้เป็นเรื่องติดต่อกันไปด้วย และต้องการแสดงตัวอย่างฉันท์มาลินีด้วย  ดังนั้นท่านจึงใช้คำลหุจากคำบาลีโดยมาก บางแห่งท่านก็ยอมให้เป็น “ขอไปที” เช่น “วินิจฉัย” ท่านต้องการให้เป็น “ ุ ุ ั” ซึ่งที่จริงศัพท์เดิมเป็น “วินิจฉัย” (ุ ั ั)
………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุ  ตามตัวอย่างนี้บาทหนึ่งท่านจัดเป็นบทหนึ่งของฉันท์ไทย ซึ่งมิได้กำหนดบาทเอก บาทโท ดังนั้นท่านจึงมิได้บังคับว่าต้องแต่งให้จบในบาทโท คือจะแต่งให้จบในบาทไรก็ได้๑  ฉันท์นี้ท่านนำมาแต่งเป็นภาษาไทยนานมาแล้ว  แต่เพราะวรรคต้นมีลหุอยู่ข้างหน้าถึง ๖ คำ  จึงเป็นการยากที่จะหาคำลหุในภาษาไทยได้  ท่านจึงเอาคำบาลีที่แยกเป็นลหุได้มาใช้  และมักจะใช้แต่งพรรณนาซ้ำๆ เป็นเชิงกลบท ดังตัวอย่างของเก่าท่านดังนี้

๏ นิกรวิหค๒มั่วมูล        ร้องจะแจ้งจรูญ       จรุงใจฯ
๏ นิกรวิหคสบสมัย        ร้องระวังไพร          พนัสสถานฯ
๏ นิกรวิหคชื่นบาน        ชมพระสมภาร        ธเสด็จจรฯ
๏ นิกรวิหคประเอียงอร   บิน ณ อัมพร          ก็ร่อนเรียงฯ

ตามตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่าท่านแต่งเฉพาะพรรณนาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หาได้แต่งเป็นเรื่องยืดยาวไม่

๗. สัททุลลวิกกีฬิตฉันท์ (อ่านสัด-ทุน-ละ-วิก-กี-ฬิ-ตะ-ฉันท์ ซึ่งท่านเรียกกันว่า ฉันท์เสือผยอง หรือเสือคะนอง) ฉันท์นี้มีคณะทางบาลี บทหนึ่งมี ๑๙ คำ และ ๔ บาทเป็นคาถา ๑ เช่นฉันท์อื่นๆ มีครุ ลหุ ในบาทหนึ่งดังนี้
silapa-0454 - Copy
คณะทางภาษาไทย  บาท ๑ ท่านแบ่งเป็น ๓ วรรค คือวรรคต้น ๑๒ คำ วรรคที่ ๒ มี ๕ คำ และวรรคที่ ๓ มี ๒ คำ และในบาทหนึ่งมีสัมผัสจบรวดหนึ่ง นับว่าบาท ๑ เป็นบท ๑ ในภาษาไทย คือจะแต่งจบลงในบาทใดก็ได้ อย่างฉันท์มาลินี ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0455 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ การกำหนดคณะฉันท์บท ๑ ก็คือจบสัมผัสรวด ๑ คือถ้าจบสัมผัสรวด ๑ ในบาทโท ท่านก็นับว่าจบบทโทเป็นบท ๑ แต่ฉันท์ที่มีบาทละมากคำตั้งแต่มาลินีขึ้นไป มีสัมผัสจบรวดในบาทหนึ่งๆ ทั้งนั้น ดังนั้นในแบบฉันท์จารึกในวัดโพธิ์ท่านใช้บาท ๑ เป็นบท ๑ ทั้งนั้น  จึงเห็นควรจะกำหนดตามของท่าน  แต่ในฉันทลักษณ์ของเก่ากำหนดไว้ว่า ๒ บาท เป็นบท ๑ ทั้งนั้น น่าจะเป็นการผิดพลาดจึงไม่นิยมตาม

๒ นิกรวิหคมั่วมูล  ควรอ่านให้ถูกหูผู้ฟังว่า “นิเกาะ-ระ-วิ-โหะ-คะ-มั่ว-มูล”
………………………………………………………………………………………….

ตัวอย่างภาษาไทย
silapa-0455 - Copy1
หมายเหตุ  ฉันท์นี้สังเกตดูในบทละครสันสกฤต  ท่านนิยมว่าเป็นฉันท์ไพเราะ  จึงมักจะแต่งในบทพระเอก และนางเอก หรือบทที่จะให้ไพเราะอื่นๆ แต่มาแต่งในภาษาไทย ฟังดูไม่สู้เพราะเลย เพราะแต่งยาก มีลหุสลับกัน  ซึ่งจะหาคำภาษาไทยมาใช้ไม่ค่อยได้ และคำในวรรคก็ไม่ค่อยเท่ากัน ทำให้อ่านยาก  ดังนั้นท่านจึงใช้แต่งเป็นคำนมัสการ คำยอพระเกียรติ คำที่เป็นข้อธรรมะที่ใช้คำบาลีได้มากๆ เป็นต้น

อนึ่งฉันท์ที่มีบาทละมากคำ เช่น ฉันท์บทนี้ จะอ่านให้จบบาทโดยไม่ทอดจังหวะในกลางบาทเลยไม่ได้  ดังนั้นท่านจึงกำหนดไว้ให้ทอดจังหวะ ในคำที่เท่านั้นเท่านี้ตามแต่จะเหมาะ จึงเรียกว่า “ยติ” แต่จังหวะทางบาลีจะเอามาเป็นแบบทางภาษาไทยก็ไม่ได้ เพราะไทยมีสัมผัสและแบ่งวรรคต่างกับเขาเราจึงควรทอดจังหวะให้เหมาะกับการอ่านให้ไพเราะทางเรา  ดังนั้นฉันท์บทนี้วรรคแรกมีถึง ๑๒ คำ จึงควรมีทอดจังหวะในระหว่างเล็กน้อย
silapa-0456 - Copy

ก็ทอดจังหวะตามวรรค แต่คำท้ายวรรคที่ ๒ ต้องทอดจังหวะให้นานแล้วจึงขึ้นวรรคที่ ๓

๘. อีทิสะฉันท์  มักเรียกกันว่า “ฉันท์ อีทิสัง” ฉันท์บทนี้ของเก่าท่านมิได้ทำแบบไว้ แต่สมัยนี้ท่านนิยมแต่งกันมาก  จึงนำมาอธิบายเพื่อเข้าใจตามสมควร ฉันท์นี้ตามบาลีมีบาทละ ๒๐ คำ และ ๔ บาทเป็น คาถา ๑ และในบาทหนึ่งมี ครุ ลหุ สลับกันเรื่อยไป ๑๘ คำ แล้วลงท้ายบาทเป็นครุ ๒ คำ หรือจะว่าหัวและท้ายบาทเป็นครุ กลางบาทมีลหุ ครุ สลับกัน ๙ คู่ก็ได้ ท่านจัดคณะทางบาลีไว้ดังนี้
silapa-0456 - Copy1
ท่านจึงจำย่อๆ ว่า “รช รช รช คค” แต่ต้องจำ ๒ ชั้น สู้สังเกตอย่างไทยไม่ได้

คณะทางภาษาไทย  บาทหนึ่งท่านแบ่งเป็น ๓ วรรค คือวรรคต้น ๙ คำ วรรคที่ ๒ มี ๘ คำ และวรรคที่ ๓ มี ๓ คำ และมีสัมผัสจบรวด ๑ ในบาท ๑ ฉะนั้นบาทหนึ่งจึงเป็นบท ๑ ทางภาษาไทย อย่างมาลินีฉันท์ ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0456 - Copy2
ตัวอย่างภาษาไทย
บทที่ ๑ ๏ เสวกาอุสาหกรรมกาย, ประกอบ ณ วัตตบรร-ยาย, นุสาสน์สารฯ
บทที่ ๒ ๏ ทราบสมั-ยเห-ตุโดยประมาณ อดีตอนาคตานุญาณ, ขจ่างใจฯ

หมายเหตุ  ฉันท์บทนี้ที่นิยมแต่งกันมากก็เล่นคำสั้นยาว (ลหุ ครุ) เป็นคู่ๆ กันไป เป็นการไพเราะขึ้นคล้ายกลบทชนิดหนึ่ง ดังนั้น ในการทอดจังหวะ จึงควรทอดจังหวะตรงคำครุเสมอไป  แต่ครุต้นบาทต้องทอดให้นานหน่อย แล้วทอดจังหวะที่ครุเรื่อยไป จบวรรคก็ทอดให้ยาว ท้ายวรรคที่ ๒ ยาวกว่าที่อื่น วรรคที่ ๓ ไปทอดที่คำท้ายทีเดียว

สังเกตดูท่านแต่งในเรื่องที่คิดวิตกหรือโกรธ แล้วรำพึงจุกจิก หรือตื่นเต้นในสิ่งต่างๆ เป็นต้น วิธีทอดจังหวะควรเป็นดังนี้

๏ เส-, วกา, อุสา, หะกำ, มหาย; ประกอบ, ณวัต, ตะบัน, ระยาย; นุสาสน์สารฯ อย่าลืมอ่านให้ช่วยหูผู้ฟังดังกล่าวแล้วด้วย  เฉพาะฉันท์บทนี้ต้องอ่านคำ ครุ วรรคหน้าต้น (เส- – -) ให้ยาวสักหน่อย แต่ไม่ต้องขาดเสียงส่วนคำจบวรรคต้องทอดจังหวะให้ขาดเสียง แต่คำจบบทต้องทอดให้นานกว่าอื่นอย่างคำท้ายบทของฉันท์อื่นๆ

๙. สัทธราฉันท์  ฉันท์บทนี้บาท ๑ มี ๒๑ คำ และ ๔ บาทเป็นคาถา ๑ อย่างฉันท์อื่นๆ นับว่าเป็นฉันท์ยืดยาวมากกว่าเพื่อนในบรรดาฉันท์ที่ไทยนำมาใช้ จัดคณะตามบาลี มีครุ ลหุ ดังต่อไปนี้
silapa-0457 - Copy
ท่านสังเกตย่อๆ คณะว่า “ม ร ภ น ย ย ย” และท่านกำหนดการทอดจังหวะที่เรียกว่า “ยติ” กำกับไว้ด้วย คือ คำที่ ๓ คำที่ ๗ และต่อไป ๗ คำ ทอดครั้ง ๑ จนจบบท  ดังทำเครื่องหมายจุลภาคไว้ข้างใต้แผนนั้นแล้ว และฉันท์มีปรากฏในภาษาที่รู้กันทั่วไปก็คือ อัญเชิญเทวดา ซึ่งบาทต้นว่าดังนี้

“สคฺเคกา, เมจรูเป, คิริสิขรตเต, จนฺตลิกฺเขวิมาเน” และมีในคาถาเริ่มมงคลสูตร ซึ่งบาทต้นมีว่า

“เยสนฺตา, สนฺตจิตฺตา, ติสรณสรณาเอตฺ-ถโลกนฺตเรวา” ซึ่งอยู่ในหนังสือสวดมนต์ ๗ ตำนาน และ ๑๒ ตำนาน

คณะทางภาษาไทย  บาท ๑ ท่านแบ่งเป็น ๔ วรรค คือวรรคต้น ๗ คำ วรรคที่ ๒ มี ๗ คำ วรรคที่ ๓ มี ๔ คำ และวรรคที่ ๔ มี ๓ คำ และมีสัมผัส ดังแผนต่อไปนี้
silapa-0458 - Copy
ตัวอย่างภาษาไทย
บทที่ ๑ ๏ หมู่มาตย์ผู้ปรี, ชญาณชล, วรวจนนุสนธิ์, สรรพะเพ็ญผล, ภิวัฒนา,ฯ

บทที่ ๒ ๏ เจริญศีลสัตย์วัต, ตจรรยา, นิรมหิจ๑  และปรารพภะจินดา, ประโยชน์สนองฯ

หมายเหตุ  การทอดจังหวะในวรรคต้น ท่านทอดลงคำที่ ๔ ดังที่ใส่จุลภาคไว้ข้างใต้ วรรคต่อๆ ไปก็ทอดที่ท้ายวรรคทั้งนั้น และฉันท์นี้ก็มีแบบมาแต่โบราณเหมือนกัน แต่ท่านไม่แต่งดำเนินเรื่องยืดยาว คือ ท่านมักแต่งเฉพาะเรื่อง เช่น คำนมัสการ เรื่องอธิษฐานหรือเชื้อเชิญเทวดาอย่างแบบบาลี และเรื่องยอพระเกียรติ ฯลฯ  ซึ่งไม่ติดต่อกันยืดยาว อย่างเดียวกับสัททุลลวิกกีฬิตฉันท์ที่กล่าวมาแล้ว
………………………………………………………………………………………….
๑ มหิฉ ศัพท์เดิมเป็น “มหิจฺฉ” (ุุ  ั ุ) แปลว่า ปรารถนาใหญ่ คือโลภอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ นิรมหิจฺฉ ก็คือไม่มีปรารถนาใหญ่ แต่ในที่นี้ท่านใช้ “นิรมหิฉ” เพื่อต้องการให้เป็นลหุทั้งหมด (ุ ุ ุ ุ ุ ุ) จึงเอาตัว จ สะกดออกเสียเป็นการขอไปที
………………………………………………………………………………………….
๑๐. วิธีแต่งฉันท์ให้เป็นเรื่องราวติดต่อกัน  คำฉันท์เหล่านี้ถ้าจะแต่งเฉพาะบท จะเลือกแต่งบทใดก็ได้ตามใจสมัคร ควรให้เนื้อเรื่องเหมาะกับทำนองฉันท์ได้มากก็ยิ่งดี  แต่ถ้าจะแต่งเป็นเรื่องติดต่อกันยืดยาวแล้วไซร้  ก็จะต้องกะเรื่องตอนหนึ่งๆ ให้เหมาะกับทำนองฉันท์นั้นๆ ด้วย ดังได้อธิบายไว้ในข้อหมายเหตุท้ายตัวอย่างฉันท์นั้นๆ แล้ว และข้อสำคัญของการแต่งฉันท์นั้นก็ปรับปรุงถ้อยคำให้เพราะพริ้ง และพยายามให้คำให้ง่าย ให้ผู้ฟังทั้งหลายเข้าใจแจ่มแจ้งมากเท่าใดก็ยิ่งดีเท่านั้น

แต่อุปสรรคของการแต่งฉันท์  ส่วนใหญ่ก็อยู่ที่การหาศัพท์ที่ง่ายๆ ในภาษาไทยเอามาแต่งให้ถูกต้องตามข้อบังคับคณะฉันท์ยาก เพราะภาษาไทยเรามีคำลหุน้อย จำเป็นต้องเอาคำบาลีและสันสกฤตมาใช้เป็นพื้น แม้จนคำมีตัวสะกดเช่น “สัตย์, รมย์” ท่านก็ยังแยกใช้เป็นลหุว่า “สะ ตะยะ และ ระ มะ ยะ” ก็มี, “ระมัย” ก็มี เป็นต้น ซึ่งเป็นการขอไปที

เพราะการแต่งฉันท์เป็นการลำบากดังกล่าวมาแล้วนี้ ท่านจึงเอากาพย์ทั้ง ๓ คือ ยานี ฉบัง และสุรางคนางค์เข้ามาประสมด้วย เพื่อให้ง่ายเข้า คือเรื่องราวอันใดที่ยาก จะใช้อินทรวิเชียรฉันท์ก็ยิ่งยากขึ้น  ท่านจึงแต่งเป็นกาพย์ยานีแทน  เรื่องใดที่ต้องเล่ายืดยาว ท่านก็มักแต่งเป็นกาพย์ฉบังหรือกาพย์สุรางคนางค์แทน  เพื่อให้ความสั้นและง่ายเข้า แม้คำฉันท์ทั้งหลาย ท่านก็มิได้แต่งบทใดบทหนึ่งจนจบเรื่อง คือท่านเลือกแต่งเป็นบท เพื่อให้สะดวกและเหมาะแก่เนื้อเรื่อง

ทำเนียบฉันท์วรรณพฤติ  ฉันท์วรรณพฤติที่นำมาอธิบายข้างต้นนี้เป็นฉันท์ที่นักปราชญ์โบราณนำมาอธิบายไว้เพื่อใช้แต่งในภาษาไทย และมีเพิ่มเติมบ้าง คือ วิชชุมมาลาฉันท์, มาณวกฉันท์ มีบาทละ ๘ คำ และอีทิสะฉันท์ มีบาทละ ๒๐ คำ  ซึ่งเป็นของแปลกท่านยังมิได้อธิบายได้ ทั้งสมัยนี้ก็นิยมแต่งกันมาก จึงนำมาอธิบายไว้เพื่อเป็นแบบต่อไป และยังมีฉันท์อื่นๆ อีกมากที่ท่านนิยมแต่งกันในสมัยนี้  แต่โดยมากก็เป็นฉันท์ ๑๑ และฉันท์ ๑๒ เป็นพื้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายฉันท์อินทรวิเชียร และฉันท์โตฎกอยู่มาก จึงไม่นำมาอธิบายไว้ แต่จะทำทำเนียบบัญชีฉันท์ไว้ ตามตัวอย่างแบบฉันท์วรรณพฤติของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมประปรมานุชิตชิโนรส แต่จะงดฉันท์ที่อธิบายไว้แล้ว ดังนี้

๑. ฉันท์ ๖ คำ ชื่อ ตนุมัชฌาฉันท์
ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑-
silapa-0460 - Copy
๔ บาทเป็นบท ๑

ข. ตัวอย่างดำเนินกลอน-
silapa-0460 - Copy1
ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้มีเพียงเป็นแบบ  ไม่มีใครแต่งกัน

๒. ฉันท์ ๗ คำ ชื่อ กุมารลฬิตาฉันท์ (กุมาระละฬิตา-)
ก.ครุ ลหุ ในบาท ๑
silapa-0461 - Copy1
๔ บาทเป็นบท ๑

ข. ตัวอย่างดำเนินกลอน –
silapa-0461 - Copy2
ค. หมายเหตุ  ท่านไม่ใคร่นิยมแต่งกัน

๓. ฉันท์ ๘ คำ ชื่อ จิตรปทาฉันท์
ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑-
silapa-0461 - Copy3
แต่ภาษาไทยท่านแบ่งบาทหนึ่งเป็น ๒ วรรค วรรคละ ๔ คำ, และ ๔ บาท (๘ วรรค) เป็นบท ๑
silapa-0462 - Copy1
ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้ดำเนินกลอนคล้ายกับวิชชุมมาลาฉันท์ หรือมาณวกฉันท์  เพราะเป็นฉันท์ ๘ คำ ด้วยกัน  ต่างกันเพียงสัมผัสเชื่อมสลับเท่านั้น ถ้าสงสัยสัมผัสก็ดูฉันท์ทั้ง ๒ นั้นเป็นหลัก  แต่ที่จริงฉันท์บทนี้ท่านก็ไม่นิยมแต่งกันเลย มีพอไว้เป็นแบบเท่านั้น

๔. ฉันท์ ๙ คำ ชื่อ หลมุขีฉันท์ (หะ ละ มุขี-) ๒ บาท เป็นบท ๑
ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑-

silapa-0462 - Copy
ข. ดำเนินกลอน- ในภาษาไทย ใช้บาทละวรรคเช่นกัน ดังนี้
silapa-0463 - Copy
ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้ดำเนินกลอนแปลก คือมีสัมผัสรับ แล้วมีเชื่อมรับแล้วก็มีสัมผัสส่งทีเดียว ไม่มีสัมผัสรอง แต่ท่านทำไว้ให้ดูพอเป็นแบบเท่านั้น ไม่เห็นมีใครนิยมแต่งกันเลย เพราะแต่งก็ยาก และไม่เพราะด้วย

๕. ฉันท์ ๑๐ คำ ชื่อ รุมมวดีฉันท์
ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑-

silapa-0463 - Copy1
ข. ตัวอย่างดำเนินกลอน-  ท่านดำเนินกลอนบาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคละ ๕ คำ และ ๒ บาทเป็น ๑ บท ดังนี้
silapa-0463 - Copy2
ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้มีคณะสัมผัสคล้ายอินทรวิเชียร ต่างกันอยู่ที่สัมผัสเชื่อมสลับ เลื่อนมาอยู่ที่คำต้นของวรรคท้ายบาทเอกเท่านั้น

แต่ท่านก็ไม่นิยมแต่งกัน เพราะแต่งยาก และไม่เพราะเท่าฉันท์อินทรวิเชียรด้วย

๖. ฉันท์ ๑๑ คำ ฉันท์จำพวกนี้นอกจากอินทรวิเชียร ซึ่งตั้งไว้เป็นแบบแล้ว ยังมีฉันท์ชื่ออื่นๆ อีกที่ท่านนิยมแต่งในภาษาไทยมาก ดังตัวอย่างต่อไปนี้

อุเปนทรวิเชียรฉันท์ แปลว่า รองอินทรวิเชียร

ก. มีครุ ลหุ ต่างกับอินทรวิเชียร เพียงคำต้นบาทเป็นลหุ เท่านั้น ดังนี้
silapa-0464 - Copy
ข. ดำเนินกลอน- อย่างอินทรวิเชียร ดังตัวอย่าง
silapa-0464 - Copy1

อุปชาติฉันท์  ฉันท์นี้อย่างเดียวกับอุเปนทรวิเชียร กับอินทรวิเชียรสลับกัน

ก. มีครุ ลหุ ในบาทเอก และบาทจัตวา (หัวท้าย) เป็นฉันท์อุเปนทรวิเชียร และในบาทโทกับบาทตรี (ซึ่งอยู่กลาง) เป็นอินทรวิเชียร

ข. ดำเนินกลอน- อย่างเดียวกันคือ ๒ บาทเป็น ๑ บท แต่จะต้องให้จบลงในบทที่ ๒ เสมอไป จึงจะครบชุดของเขา ดังตัวอย่างต่อไปนี้
silapa-0465 - Copy
ค. หมายเหตุ  ฉันท์บทนี้ท่านก็นิยมแต่งกันมากเช่นเดียวกัน

อุปัฏฐิตาฉันท์ ท่านไม่ใคร่แต่งกัน
ก. ครุ ลหุในบาท ๑-

silapa-0465 - Copy1
ข. ดำเนินกลอน- อย่างเดียวกับอินทรวิเชียรดังนี้

silapa-0466 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ วจี ขาดสัมผัส เชื่อมสลับ เพราะเป็นชื่อสำคัญ “วจีบรม” (เพื่อนดีแต่พูด) ดังนั้น ท่านจึงยอมให้เสียสัมผัส และสงวนศัพท์ไว้  ซึ่งนับว่าสำคัญกว่าสัมผัส  ซึ่งไม่ใช่บังคับแท้ แต่สังเกตดูบทต่อไป ท่านก็รักษาสัมผัสนี้กวดขันเหมือนกัน
………………………………………………………………………………………….
สุมุขีฉันท์ ท่านไม่นิยมแต่งกัน
ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑-

silapa-0466 - Copy1
ข. ดำเนินกลอน- อย่างอินทรวิเชียร ดังนี้
silapa-0466 - Copy2
โทธกฉันท์ (อ่าน โท-ธก-กะ-ฉันท์) ท่านไม่ใคร่แต่งกัน
ก. มีครุ ลหุ และแยกวรรคในภาษาไทย ต่างออกไปตามที่ใส่จุลภาคไว้ข้างใต้ดังนี้
silapa-0466 - Copy3
ข. ดำเนินกลอน– ๒ บาทเป็นบท ๑ ตัวอย่าง

silapa-0467 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ ท่านทิ้งสัมผัสเชื่อมสลับ เพื่อสงวนศัพท์ เพราะไม่ใช่สัมผัสบังคับดังกล่าวมาแล้ว

………………………………………………………………………………………….

สาลินีฉันท์  มีแต่งกันอยู่บ้าง
ก. มีครุ ลหุ และแยกวรรค ๕ วรรค ๖ ดังนี้
silapa-0467 - Copy1
ข. ดำเนินกลอน-
silapa-0467 - Copy2
ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้คำท้ายถ้าแต่งให้คำล้อกันอย่างกลบทจะเพราะขึ้นอีกเช่น “ ุ ั ั ุ ั ั – จะคิดหนี ฤคิดไฉน, จะขุ่นจิต จะคิดจาง” และอื่นๆ อีกแล้วแต่เหมาะ

ธาตุมมิสสาฉันท์ (อ่าน ธา-ตุม-มิส-สา-ฉันท์) ท่านไม่ใคร่แต่งกัน

ก.บาทหนึ่งมีครุ ลหุ และแยกเป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๔ วรรคท้าย ๗ ดังใส่จุลภาคไว้ข้างใต้ดังนี้

silapa-0467 - Copy3
ข. ดำเนินกลอน-

silapa-0468 - Copy

ค. ข้อสังเกต ฉันท์นี้สัมผัสเชื่อมสลับบาทเอกนั้นอยู่คำที่ ๔ วรรคท้ายคือ คำ “จิต” ในตัวอย่าง

สุรสสิริฉันท์ (สุระ-สะ-สิริ-ฉันท์) ไม่ใคร่มีผู้แต่ง
ก. มีครุ ลหุ ในบท ๑- ดังนี้

silapa-0468 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน– บาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คำ วรรคท้าย ๖ คำ ตัวอย่าง

silapa-0468 - Copy2

ค. ข้อสังเกต  ฉันท์นี้สัมผัสเชื่อมสลับ อยู่ที่คำที่ ๕ วรรคท้าย บาทเอกคือคำ “กรม” ในตัวอย่าง แต่ท่านแต่งไว้พอเป็นตัวอย่างเท่านั้น  เพราะนำมาแต่งเป็นภาษาไทยไม่เพราะ

รโธทธตาฉันท์ (อ่าน ระ-โธด-ธะตา-ฉันท์) ไม่มีใครแต่ง

ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑ ดังนี้

silapa-0469 - Copy

ข. ดำเนินกลอน- บาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ตัวอย่าง

silapa-0469 - Copy1

ค. ข้อสังเกต  ฉันท์นี้สัมผัสเชื่อมสลับ อยู่ที่คำที่ ๒ วรรคท้าย “ณา” สังเกตดูทางภาษาไทยไม่เพราะเลย ท่านทำไว้พอเป็นแบบเท่านั้น

สวาคตาฉันท์ (อ่าน สะ-หวา-คะตา-ฉันท์) ไม่มีใครแต่ง

ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑ ดังนี้

silapa-0469 - Copy2

ข. ดำเนินกลอน- บาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ตัวอย่าง

silapa-0469 - Copy3

ค. ข้อสังเกต  สัมผัสเชื่อมของฉันท์ อยู่ที่คำที่ ๓ (จารณ์) ในบาทเอกวรรคท้าย และไม่เพราะทางภาษาไทยเช่นเดียวกัน

ภัททิกาฉันท์  ไม่มีใครแต่งเช่นกัน
ก. ครุ ลหุ ในบาท ๑ ดังนี้

silapa-0470 - Copy

ข. ดำเนินกลอน– บาทหนึ่งเป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ตัวอย่าง

silapa-0470 - Copy1

ค. ข้อสังเกต  สัมผัสเชื่อมสลับ อยู่ที่คำที่ ๒ วรรคท้ายบาทเอก (ขลาด) ฉันท์นี้ก็มีแต่ที่ท่านทำไว้เป็นแบบเช่นกัน

๗. ฉันท์ ๑๒ คำ มีมากในภาษาบาลี แต่ไทยนำมาแต่งไม่มากนัก โดยมากนิยมแต่ที่ดำเนินกลอนวรรคต้น ๕ คำ ทำนองอินทรวิเชียร และวรรคต้น ๖ คำ วรรคท้าย ๖ คำ เป็นทำนองฉันท์ตลกอย่างโตฏกฉันท์ ซึ่งวางแบบไว้แล้ว ดังทำเนียบต่อไปนี้

อินทวงศฉันท์  ท่านนำมาแต่งเป็นภาษาไทยมาก
ก. ครุ ลหุ ในบท ๑ ดังนี้

silapa-0470 - Copy2

ดังตัวอย่างในบาลีว่า “พฺรหฺมาจโลกา ธิปตีสหมฺปติ” (ลหุปลายบาทเป็นครุ)

ข. ดำเนินกลอน– วรรคต้น ๕ คำ วรรคท้าย ๗ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0471 - Copy

ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้เป็นคู่กับฉันท์ต่อไปนี้

วังสัฏฐฉันท์  ท่านแต่งมากคล้ายอินทวงศ์ฉันท์
ก. ครุ ลหุ ผิดกับอินทวงศ์เพียงลหุต้นบาทเท่านั้น ดังนี้

silapa-0471 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน- ก็อย่างเดียวกัน ดังตัวอย่าง

silapa-0471 - Copy2

หมายเหตุ  ฉันท์อินทวงศ์และวังสัฏฐนี้เป็นคู่กัน คล้ายอินทรวิเชียร และอุเปนทรวิเชียร เพราะต่างกันที่มีครุ หรือ ลหุต้นบาทคำเดียวเท่านั้น แต่ท่านนิยมแต่งอินทวงศ์มากกว่า เพราะยึดเอาฉันท์บาลี “พฺรหฺมา จโลกาธิปตีฯ” (คำอาราธนาธรรม) เป็นหลัก และอาจแต่งให้เป็นกลบทสะบัดสะบิ้งในที่สุด วรรคท้ายก็ได้ด้วย เช่น “ ุ ั ุ ั” ตัวอย่าง ทุรนทุราย, ขจัดขจาย เป็นต้น ซึ่งแล้วแต่จะปรับปรุงให้เหมาะ

ภุชงคประยาต (งูเลื้อย) เป็นฉันท์ตลก ท่านนิยมแต่งมากอย่างเดียวกับ โตฎกฉันท์

ก. มีครุ ลหุ ดังนี้silapa-0472 - Copy

มีแบบบาลีว่าไว้ดังนี้ “สรชฺชํ สเสนํ สพนํธํุ นรินฺทํ” เป็นต้น

ข. ดำเนินกลอน- วรรคละ ๖ คำ อย่างโตฎกฉันท์ ดังตัวอย่าง

silapa-0472 - Copy1

ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้ท่านนิยมแต่งเฉพาะเรื่องที่เหมาะกับฉันท์คล้ายกับโตฎกฉันท์

ทุตวิลัมพิตมาลาฉันท์ มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0472 - Copy2

ข. ดำเนินกลอน- บาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคท้าย ๕ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0473 - Copy

ปุฏฉันท์ มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0473 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน– บาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0473 - Copy2

กุสุมวิจิตรฉันท์ มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0473 - Copy3

ข. ดำเนินกลอน- บาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคละ ๖ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0474 - Copy

ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้ไม่มีสัมผัสสลับและเชื่อมสลับ  เพราะต้นวรรคมีลหุทั้งนั้น

ปิยังวทาฉันท์ มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0474 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน- บาท ๑ เป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๘ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0474 - Copy2

ลลิตาฉันท์ มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0474 - Copy3

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๒ วรรค วรรคต้น ๘ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0475 - Copy

ปมิตักขราฉันท์ มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0475 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คำ วรรคท้าย ๗ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0475 - Copy2

อุชชลาฉันท์  (อุด-ชลา-ฉันท์) มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้silapa-0475 - Copy3

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๒ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคท้าย ๕ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0476 - Copy

เวสสเทวีฉันท์ มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0476 - Copy1ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คำ วรรคท้าย ๗ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0476 - Copy2

หิตามมรสฉันท์  (อ่าน หิ-ตา-มะ-รด-สะ-ฉันท์) มีแต่แบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0476 - Copy3ข. ดำเนินกลอน– บาทละ ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คำ วรรคท้าย ๗ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0477 - Copy

กมลาฉันท์ หรือ กมลฉันท์ มีผู้แต่งอยู่บ้าง

ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0477 - Copy1ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๖ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0477 - Copy3

๘. ฉันท์ ๑๓ คำ มีอยู่ ๒ บาท แต่ไม่เหมาะกับภาษาไทย จึงไม่มีใครนิยมแต่ง  นอกจากท่านแต่งไว้เป็นแบบดังต่อไปนี้

ปหาสินีฉันท์ มีเฉพาะแบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0477 - Copy4

ข. ดำเนินกลอน– บาทละ ๒ วรรค วรรคต้น ๘ คำ วรรคท้าย ๕ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0478 - Copy

รุจิราฉันท์  มีเฉพาะแบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0478 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๒ วรรค วรรคต้น ๙ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0478 - Copy2

๙. ฉันท์ ๑๔ คำ  ฉันท์ ๑๔ คำนี้ มีเด่นอยู่ก็แต่ วสันตดิลก  ซึ่งท่านนิยมว่าเพราะ และแต่งกันทั่วไป ดังได้อธิบายมาแล้วในแบบเบื้องต้น และยัง
………………………………………………………………………………………….
๑ “ ว ฒ น” (รวมทั้งในตัวอย่างบทต่อไปด้วย) ท่านต้องการลหุ ๓ คำ จึงใช้ “วะ ฒะ นะ (ุ ุ ุ)” ที่ถูกต้องเป็น “วัฑฒน” หรือเขียนย่อเป็น “วัฒน” ซึ่งท่านต้องอ่านเป็นครุอยู่หน้าว่า “วัด-ฒะ-นะ(ั ุ ุ)” แต่ในที่นี้ท่านนำมาใช้เป็นการขอไปทีเพราะหาลหุให้ถูกต้องยาก ดังนั้นฉันท์ ๒ บทนี้ท่านจึงไม่นิยมแต่ง
………………………………………………………………………………………….
มีอีก ๒ บทที่ท่านทำเป็นแบบไว้ แต่ไม่นิยมแต่งในภาษาไทยเลย ดังนี้
ปราชิตฉันท์ (อ่าน ปะ-รา-ชิ-ตะ-ฉันท์) มีเฉพาะแบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0479 - Copy

ข. ดำเนินกลอน– บาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๗ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0479 - Copy1

ปหรณกลิกาฉันท์ (อ่าน ปะ-หะ-ระ-ณะ-กะ-ลิกา-ฉันท์) มีเฉพาะแบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0479 - Copy2

ข. ดำเนินกลอน-บาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๗ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0479 - Copy3

ค. หมายเหตุ  ฉันท์บทนี้ไม่มีสัมผัสสลับและเชื่อมสลับ มีแต่ รับ, รอง, ส่ง ที่ไม่นิยมแต่งในภาษาไทยก็เพราะมีลหุมาก

๑๐. ฉันท์ ๑๕ คำ มีอยู่ ๒ บท คือ มาลินีฉันท์ ซึ่งนิยมแต่งกันมาแต่โบราณแล้ว แต่ท่านมักแต่งใช้สัมผัสเป็นทำนองฉันท์ตลก และเลือกเฉพาะเรื่องให้เหมาะกับทำนองด้วย และมีอีกบทหนึ่งดังนี้

ปภัททกฉันท์ (ปะ-ภัท-ทะ-กะ-ฉันท์) มีเฉพาะแบบ
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0480 - Copy

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๓ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคที่ ๒ วรรคที่ ๓ มีวรรคละ ๔ คำ บาท ๑ เป็นบท ๑ เพราะจบรวดสัมผัสในบาทเดียว ดังตัวอย่าง

silapa-0480 - Copy1

ค. หมายเหตุ  ฉันท์ที่กำหนดจบบทในบาท ๑ เช่นนี้  จะแต่งให้จบลงในบาทไรก็ได้ อย่างมาลินีฉันท์ที่อธิบายมาแล้ว

๑๑. ฉันท์ ๑๖ คำ  ฉันท์นี้ไม่เห็นนิยมแต่งกัน  มีอยู่เพียงบทเดียวคือ

วาณินีฉันท์  ซึ่งท่านตั้งไว้เป็นเพียงแบบเท่านั้น ดังนี้
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0480 - Copy2………………………………………………………………………………………….
๑ พิถารที่ถูกควรเป็นพิตฺถาร (จากวิตฺถาร) แต่ท่านต้องการลหุหน้า จึงลดตัวสะกดเสียเป็นพิถาร (ุ ั)

๒ ธิบาย คือ อธิบาย คำมี “อ” อยู่หน้า ท่านละ “อ” เสียได้ ซึ่งนิยมมาแต่โบราณแล้ว “อนุช” เป็น “นุช” “อภิรม” เป็น “ภิรม” ฯลฯ
………………………………………………………………………………………….
ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๓ วรรค วรรคต้น ๗ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคท้ายมี ๖ คำ รวมบาท ๑ เป็นบท ๑ เพราะจบสัมผัสรวดหนึ่ง ซึ่งจะแต่งให้จบในบาทก็ได้ ดังตัวอย่าง

silapa-0481 - Copy

๑๒. ฉันท์ ๑๗ คำ มี ๓ บทด้วยกัน แต่ท่านแต่งไว้พอเป็นแบบเท่านั้นคือ

สิขิริณีฉันท์ ๑๗
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0481 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๓ วรรค วรรคต้น ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๗ คำ วรรคท้ายมี ๔ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0481 - Copy2

………………………………………………………………………………………….
๑ “ขติย” คือ ขัติย (ั ุ ุ) แต่ที่นี้ท่านแยกเป็นลหุทั้งนั้น เพื่อต้องการลหุเป็นการขอไปที ฉันท์ที่มีลหุมากๆ มักจะต้องเอาคำบาลีและสันสหฤตมาแยกเป็นลหุอย่างขอไปที โดยมากเช่นนี้ท่านจึงไม่นิยมแต่งกัน เพราะข้อสำคัญทำให้เสียรูปศัพท์เดิมด้วย
………………………………………………………………………………………….
หรณีฉันท์ ๑๗
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0482 - Copy

ข. ดำเนินกลอน– บาทละ ๓ วรรค วรรคต้น ๘คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำและวรรคที่ ๓ มี ๕ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0482 - Copy1

มันทักกันตาฉันท์ ๑๗
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0482 - Copy2

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๓ วรรค วรรคต้น ๑๐ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคท้ายมี ๓ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0483 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ “สวัสดิ” คือ “สฺวัสฺดิ” (ุ ั ุ) หรือจะแยกเป็น ส-วั-ส-ดิ(ุ ั ุ ุ) ก็ได้ และ “นิจ” คือ “นิจจ” (ั ุ) แต่ที่นี้ท่านแยกเป็นลหุทั้งนั้น เพื่อต้องการลหุเป็นการขอไปที
………………………………………………………………………………………….

ค.หมายเหตุ  ฉันท์นี้มีทำนองคล้ายคลึงกับฉันท์สัทธราฉันท์ ๒๑ จะแต่งแทนกันก็ได้

๑๓. ฉันท์ ๑๘ คำ  มีเฉพาะที่ท่านตั้งไว้เป็นแบบบทเดียวเท่านั้น คือ

กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์  (กุ-สุ-มิ-ตะ-ละ-ดา-เว็น-ลิ-ตา-ฉันท์)
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0483 - Copy1

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๓ วรรค วรรคต้น ๑๑ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคที่ ๓ มี ๓ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0483 - Copy2

ค. หมายเหตุ  วรรคต้นควรทอดจังหวะลงคำที่ ๕ เสียครั้ง ๑ ก่อนดังนี้
“มนตรีมาตย์ผู้ฉลาด, มละทุจริตธรรม์” ฯลฯ

๑๔. ฉันท์ ๑๙ คำ  ฉันท์ ๑๙ คำนี้ มีแบบที่ท่านแต่งกันมาแต่โบราณ คือ สัททุลลวิกกีฬิตฉันท์ (สันสกฤตว่า-ศารทูลวิกรีฑิตฉันท์) ดังได้อธิบายได้ โดยพิสดารข้างต้นนั้น เพราะท่านนิยมแต่งกันมาก ยังมีอีกบทหนึ่ง คือ

เมฆวิบผุชชิกาฉันท์ (เม-ฆะ-วิบ-ผุด-ชิ-ตา-ฉันท์) ท่านตั้งไว้เพียงเป็นแบบ

ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0484 - Copy

ข. ดำเนินกลอน- บาทละ ๓ วรรค วรรคต้น ๑๒ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคที่ ๓ มี ๓ คำ ดังนี้

silapa-0484 - Copy1

ค. หมายเหตุ  วรรคต้นควรทอดจังหวะน้อยในคำที่ ๖ (บทที่ ๑ “—ตรี” ที่ ๒ “—ดา”)

ฉันท์ ๒๐ คำ มีอยู่เฉพาะอีทิสฉันท์ หรืออีทิสังฉันท์บทเดียวเท่านั้น ซึ่งอธิบายไว้เบื้องต้นแล้ว จึงไม่อธิบายซ้ำในที่นี้อีก

ฉันท์ ๒๑ คำ  ก็มีอยู่เพียงสัทธราฉันท์บทเดียว  และได้อธิบายไว้พิสดารในเบื้องต้นแล้ว เช่นกัน

ฉันท์ ๒๒ คำ เป็นฉันท์ยาวที่สุดในจำพวกฉันท์วรรณพฤติของบาลี ยังมิได้ตัวอย่างที่ท่านแต่งบาลีและไทย นอกจากที่ท่านแต่งเป็นแบบไว้ดังต่อไปนี้

ภัททกฉันท์ (ภัท-ทะ-กะ-ฉันท์) มีอยู่บทเดียวเท่านั้น
ก. มีครุ ลหุ ดังนี้

silapa-0485 - Copy

ข. ดำเนินกลอน- เป็นบาทละ ๔ วรรค วรรคต้นๆ วรรคละ ๖ คำ วรรคท้าย ๔ คำ ดังตัวอย่าง

silapa-0485 - Copy1

ค. หมายเหตุ  ฉันท์นี้มีบาทละ ๔ วรรค ดังนั้นท้ายวรรคต้นกับต้นวรรคที่ ๒ ท่านจึงใช้สัมผัสสลับและเชื่อมสลับแทรกลงได้  สัมผัสรับอยู่ท้ายวรรค ๒ สัมผัสรองอยู่ท้ายวรรค ๓ และสัมผัสส่งอยู่ท้ายวรรค ๔

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร