คำเพลงต่างๆ

Socail Like & Share

นอกจากคำกานท์ที่มีข้อบังคับตามฉันทลักษณ์ที่อธิบายมาแล้วข้างต้นนี้ ยังมีคำร้องซึ่งเรียกว่าเพลงอีก ๒ อย่างคือ “เพลงร้องกลอนสด” ซึ่งถือเอาทำนองที่ร้องเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง และ “เพลงคลอเสียง” ซึ่งถือเอาทำนองเสียงดนตรีเป็นใหญ่อีกอย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าเพลงทั้ง ๒ อย่างนี้ถือเอาทำนองร้องและทำนองดนตรีเป็นใหญ่  ซึ่งนับว่าเป็นศิลปะอีกประเภทหนึ่งต่างหาก  ไม่เกี่ยวกับตำราฉันทลักษณ์นี้ก็ดี  แต่ก็ยังมีถ้อยคำที่เกี่ยวกับฉันทลักษณ์อยู่บ้าง จึงนำมาแสดงไว้พอเป็นเค้าแห่งความรู้ ดังต่อไปนี้

๑. เพลงร้องกลอนสด  เพลงพวกนี้มักร้องด้นเป็นกลอนสด เป็นสำนวนแก้กันระหว่างชายหญิงบ้าง ระหว่างคู่แข่งขันกันบ้าง บางทีพรรณนาเรื่องต่างๆ ตามชนิดของเพลง และเรียกชื่อต่างๆ กัน เช่น เพลงปรบไก่, เพลงฉ่อย, เพลงโคราช ฯลฯ  ส่วนทำนองที่ร้องและลูกคู่รับนั้นเป็นศิลปะอีกทางหนึ่ง ไม่ใช่หน้าที่ซึ่งจะกล่าวในตำรานี้ ส่วนที่เกี่ยวกับฉันทลักษณ์นี้ก็มีเฉพาะการดำเนินกลอนของเพลงพวกนี้  ซึ่งถึงจะมีมากอย่างก็รวมลงได้เป็น ๒ ชนิด คือ ชนิดกลอนฉ่อย และชนิดกลอนร่าย ดังจะอธิบายทีละชนิดต่อไปนี้

กลอนฉ่อย  มีวิธีดำเนินกลอน บทหนึ่งมี ๒ วรรค และวรรคหนึ่งมีตั้งแต่ ๕ คำ ถึง ๘ คำ ซึ่งเกี่ยวกับศิลปะของผู้ร้อง คือ วรรคที่มีคำน้อยก็เอื้อนให้ยาวออก วรรคที่มีคำมากก็ร้องรวบรัดให้สั้นเข้า และมีสัมผัสดังแผนต่อไปนี้
silapa-0486 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ สัมผัส ส่ง, รับ ท้ายกลอนฉ่อยนี้จะต้องเป็นคำเดียวกันเสมอ เช่น “มา” ส่งไปบทหน้าก็ต้องรับเป็นสระ อา เรื่อยไปจนจบเพลง ดังนั้นต่อไปจะเขียนเพลง “ฉ่อย” คำเดียวเท่านั้น ขอให้เข้าใจตามนี้

อนึ่ง สัมผัสฉ่อยนี้ ถ้าเอาไปใช้ในกลอนร่าย จะต้องแยกเป็น ฉ่อย, รองฉ่อย และรับฉ่อยอีก จงดูในตัวอย่างแผนกกลอนร่ายข้างหน้า
………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุ  แผนและตัวอย่างข้างบนนี้ ทำไว้ให้ดูพอเป็นเค้าเท่านั้น ที่จริงหาได้มีคำวรรคละ ๘ เสมอไปไม่  โดยมากมักจะเป็นวรรคละ ๖ คำ หรือ ๗ คำเป็นส่วนมาก  ถึงจะมีน้อยหรือมากไปบ้างผู้ร้องก็อาจจะเอื้อน หรือรวบรัดให้ถูกทำนองได้ดังกล่าวแล้ว ส่วนสัมผัสบังคับ (สัมผัสนอก) นั้น มีสัมผัสสลับอยู่ท้ายวรรคต้น  และเชื่อมสลับอยู่ต้นวรรคที่ ๒ ตั้งแต่คำที่ ๑ ถึงคำที่ ๕ แต่คำที่ ๔ เป็นเพราะกว่าอื่น และสัมผัส ส่ง รับ ฉ่อย  ซึ่งอยู่ต้นวรรคที่ ๒ (คือวรรคจบบท) นั้น จะต้องเป็นสระเดียวกันเสมอไป  เช่นบทที่ ๑ ส่ง “มา” ถ้ามีบทต้น คำ “มา” ก็เป็นสัมผัสรับด้วย จึงเรียกรวมว่า “ส่ง รับ” แล้วบทที่ ๒ ก็ต้อง “รับส่ง” “สา” ต่อไป เป็นดังนี้เรื่อยไป จนถึงทอดลงท้ายเพลงแล้วก็ ส่งรับ สระอื่นต่อไป หรือจะคงเป็นสระเดิมก็ได้  ไม่มีข้อบังคับเพลงที่ส่งรับกันด้วยสระไอ เรียกกันว่า “เพลงไร” ที่ส่งรับด้วยสระอา เรียกว่า “เพลงรา” และส่งรับด้วยสระอี ก็เรียกว่า “เพลงรี” ดังนี้เป็นต้น  ทั้งนี้ไม่สำคัญ หรือจะเรียกตามสระว่า “เพลงอา” “เพลงไอ” “เพลงอี” ฯลฯ ก็ได้  ซึ่งต่อไปจะเรียก “สัมผัสฉ่อย”

อนึ่ง เพลงกลอนสดนี้มักนิยมสัมผัสในเป็นสัมผัสอักษร เป็นข้อสำคัญส่วนหนึ่งทีเดียว เช่น สัมผัสชิด, สัมผัสคั่น และสัมผัสโยนไขว้กันอย่างกลบท บางแห่งถึงแก่ทิ้งสัมผัสนอกเสียบ้างก็มี  ส่วนสัมผัสในที่เป็นสระท่านก็นิยมใช้เหมือนกัน  ดังจะคัดตัวอย่างเพลงฉ่อยของเก่ามาให้ดู ต่อไปนี้

silapa-0487 - Copy
silapa-0488 - Copy

เพราะเพลงนี้ใช้เป็นกลอนสด  จึงอนุญาตให้ใช้สัมผัสขอไปทีได้มาก  ดังตัวอย่างสระสั้นกับสระยาว เช่น “สิก” กับ “อีก” ข้างบนนี้เป็นต้น  แต่ถ้าจะแต่งให้ได้แบบแผนแล้วก็ควรใช้ให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์เป็นการดี

กลอนร่าย  คำร่ายนี้มีใช้เรียกเป็น ๓ อย่าง คือ
๑. เรียกคำกานท์ที่แต่งรวมกับโคลงต่างๆ ซึ่งรวมเรียกว่าลิลิต ดังกล่าวมาแล้วอย่างหนึ่ง
๒. เรียกเพลงดนตรีว่าเพลงร่ายอีกอย่างหนึ่ง
๓. และเรียกเพลงกลอนสดว่ากลอนร่าย ซึ่งเป็นคู่กับกลอนฉ่อย ดังจะอธิบายต่อไปนี้อีกอย่างหนึ่ง

ถ้าจะว่าตามระเบียบแล้ว เขาขึ้นต้นกลอนร่ายก่อนเสมอ เช่น ในการร้องไหว้ครูก็ดี หรือบอกเรื่องราวที่จะเล่นต่อไปเป็นต้นก็ดี เขามักร้องเป็นกลอนร่ายทั้งนั้น ต่อเมื่อดำเนินเรื่องหรือกล่าวแก้กัน เขาจึงร้องเป็นกลอนฉ่อย แต่เพราะกลอนร่ายใช้ในการด้นอธิบายข้อความต่างๆ จึงมีแบบแผนไม่คงที่ บางบทก็ยาวบางบทก็สั้น แล้วแต่ผู้ร้องจะพรรณนาไป  ซึ่งรวบรวมย่อๆ เป็น ๓ ชนิด ดังจะอธิบายต่อไปข้างหน้านี้
………………………………………………………………………………………….
๑ ตัวอย่างนี้เป็นกลอนเพลงฉ่อยที่ว่าแก้กัน หรือพรรณนาทั่วไป แต่คำที่เขาร้องบางแห่ง เช่น เพลงลิเก เป็นต้น เขาไม่ร้องเช่นนี้เสมอไป บางทีเขาก็เอากลอนคำร้องดังกล่าวข้างต้น ดังตัวอย่าง

silapa-0488 - Copy1
เช่นนี้เป็นกลอนอย่างบทดอกสร้อย ให้ผุ้ศึกษาสังเกตไว้ด้วย
………………………………………………………………………………………….
อนึ่ง กลอนร่ายของเพลงนี้ ไม่มีสัมผัส มาจากบทต้นอย่างคำกานท์อื่นๆ ซึ่งสัมผัส สลับ รับ รอง ส่ง ดังอธิบายมาแล้ว แต่มีสัมผัส ส่ง รับ อยู่ที่คำท้ายบท  คือคำท้ายบทต้นส่งเป็นสระไอ คำท้ายบทที่ ๒ ก็ต้องเป็นสระไอ  เป็นการส่งและรับกันเช่นนี้เรื่อยไปอย่างสัมผัสฉ่อยที่กล่าวมาแล้ว แปลกแต่สัมผัสกลอนร่ายนั้นต้องมี ๒ รวด รวดต้น เรียก รวดส่ง ซึ่งอย่างน้อยก็เป็นกลอนฉ่อย ๒ วรรค  ซึ่งคำท้ายเป็นสัมผัสส่งกลอนฉ่อยหรือจะมีต่อไปอีกก็ได้ และรวดท้ายก็เรียก รวดรับ ซึ่งต้องเป็นกลอนฉ่อยเสมอไป ตอนจบรวดนี้ จะต้องมีคำรับฉ่อย คือ รับรวดส่งเสียก่อน แล้วจึงมีคำส่งรับร่าย อีกคำหนึ่งจึงจะจบกลอนร่าย และคำ ส่งรับ ท้ายกลอนร่ายนี้ ต้องเป็นสระเดียวกัน อย่างเดียวกับคำ ส่งรับ ท้ายกลอนฉ่อย ซึ่งต่อไปจะเขียนว่า “สัมผัสร่าย” หรือ “ร่าย” กลอนร่ายนี้มีรวดส่งมากบ้างน้อยบ้างต่างๆ กัน แต่รวดรับเป็นอย่างเดียวกันทั้งนั้น จะรวบรวมทำแผนและชักตัวอย่างมาให้ดูทีละชนิด ดังต่อไปนี้

ชนิดที่ ๑ กลอนร่ายที่รวดส่งเป็นกลอนฉ่อย มีแผนดังนี้
silapa-0489 - Copy
ดังตัวอย่างที่ผูกให้ดูต่อไปนี้
silapa-0490 - Copy
หมายเหตุ  คำประพันธ์อื่นๆ มักจะมีสัมผัส ส่ง อยู่ท้ายบทต้นแล้วมีสัมผัสรับ อยู่กลางบทที่สอง แล้วก็มีสัมผัสรอง เชื่อมรอง แล้วจึงมีส่งอยู่ท้ายต่อไป และสัมผัส รับ ส่ง นี้ คู่หนึ่งๆ ก็ไปอย่างหนึ่งจะซ้ำกันไม่ได้ แต่เพลงกลอนสดนี้ สัมผัส รับ ส่ง อยู่ที่ท้ายบททั้งนั้น และต้องเป็นสระเดียวกันด้วย เช่น รับ ส่ง เป็นสระไอ ก็เป็นไอตลอดไปจนจบกลอน อย่างที่อธิบายไว้ในกลอนฉ่อยข้างต้นแล้ว ส่วนกลอนร่ายที่กล่าวนี้มีแปลกออกไปก็คือ บท ๑ อย่างน้อยมี ๔ วรรค (คือมีกลอนฉ่อย ๒ บท) ได้แก่เอากลอนฉ่อย ๒ บท มารวมเป็นบท ๑ ของกลอนร่าย แต่มีสัมผัสเป็น ๒ รวด รวดต้นเรียกว่า รวดส่ง (คือกลอนฉ่อยบทต้น) และรวดที่ ๒ เรียกว่า รวดรับ (คือกลอนฉ่อยบทท้าย) แต่คำสัมผัสรับของรวดส่งนั้นอยู่หน้า “สัมผัสร่าย” อีกทีหนึ่ง ดังที่หมายไว้ในตัวอย่างข้างบนนี้ คือ บท ๑ สัมผัสส่งคือ “ชา” และสัมผัสรับคือ “ผา” ในบท ๒ สัมผัสส่งคือ “เกล้า” สัมผัสรับ คือ “เจ้า” และคำต่อสัมผัสรับออกไปคือ “—ใหญ่” และ “—ไป” นั้นเป็น “สัมผัสร่าย” ประจำกลอน คือเป็นสระไอก็ต้องเป็นไอเรื่อยไปจนจบกลอน ดังอธิบายข้างต้น

ชนิดที่ ๒ คือร่ายที่มีสัมผัสรวดส่งมากขึ้นอีก ๒ วรรค  ตามตัวอย่างข้างบนนี้มีสัมผัสรวดส่งอย่างย่อ  แต่โดยมากสัมผัสรวดส่งมักจะมียืดยาวกว่านี้ ซึ่งแล้วแต่ผู้ร้องจะร้องให้หมดข้อความ แล้วจึงลงสัมผัสรวดรับ  ซึ่งมีจำกัด ๒ วรรค ตามตัวอย่างข้างบนนี้เหมือนกันหมด

ที่จริงสัมผัสรวดส่งนี้ก็เหมือนกับสัมผัสสลับ รับ รอง ส่ง ของกลอน กาพย์ ฉันท์ ที่อธิบายมาแล้วนั้นเอง  แต่เพลงกลอนร่ายนี้ไม่มีสัมผัสรับมาจากบทต้นอย่างบทกานท์ประเภทอื่น มีรับส่งกันอยู่ที่คำท้ายบทแห่งเดียวเท่านั้น

เทียบตัวอย่างกาพย์ยานี

silapa-0491 - Copy

ถ้าเป็นเพลงกลอนร่ายแล้ว สัมผัสรับเช่น “ชัย” และ “แสง” ซึ่งถ้าจบรวดส่งเพียงนี้ก็เป็นสัมผัส “ส่งฉ่อย” แต่ถ้าจะมีรวดส่งต่อไปอีกก็เป็น “สัมผัสฉ่อย” คำท้ายบทต่อออกไปก็เรียกว่า “รองฉ่อย” อย่างเดียวกับคำ “ไฟ” และ “แดง”  ซึ่งเป็นสัมผัสรองของกาพย์ยานีข้างบนนี้ และคำจบรวดส่งก็เรียกว่า “ส่งฉ่อย” อย่างชนิดที่ ๑ เทียบได้กับคำ “แสง” และ “ธร” ซึ่งเป็นสัมผัสส่งของกาพย์ยานีข้างบนนี้ ดังจะทำแผนให้ดูต่อไปนี้

แผนกลอนร่ายที่มีรวดส่งเพิ่มขึ้นอีก ๒ วรรค
silapa-0492 - Copy
ตัวอย่างเทียบกับกาพย์ยานี
silapa-0492 - Copy1
ตัวอย่างข้างบนนี้จะเห็นได้ว่า รวดส่ง ตรงกับกาพย์ยานี ผิดกันอยู่ที่สัมผัส “รับ” กลายเป็น “ฉ่อย” ซึ่งจะใช้คำใดๆ ก็ได้ แต่ต้องให้รับกับ “รอง” และ “เชื่อมรอง” ก็แล้วกัน ส่วน “รอง” กลายเป็น “รองฉ่อย” เชื่อมรองกลายเป็น “เชื่อมรองฉ่อย” เพราะกลอนร่ายไม่มี รับ ในกลางบท มีเฉพาะรับส่งท้ายบท คำเดียวที่เรียกว่า “สัมผัสร่าย” เท่านั้น ดังจะหาตัวอย่างมาไว้ให้ดูหลายๆ บท เพื่อเป็นที่สังเกตต่อไปนี้

ตัวอย่างกลอนร่ายเพลงไร
silapa-0493 - Copy
๒ บทนี้เป็น เพลงไร จะทอดจบลงเพียงนี้ หรือจะต่อไปอีกกี่บทก็ได้ ตามทำนองเพลงของเขา แต่ต้องให้สัมผัส “ร่าย” เป็นสระไอเสมอไป

ตัวอย่างเพลงรา เพื่อให้สังเกตสัมผัสอักษรต่างๆ ของเขาไว้

silapa-0494 - Copy
………………………………………………………………………………………….
๑ กลอนร่าย ๒ บทนี้ ไม่อยู่แห่งเดียวกัน ที่นำมารวมติดต่อกันไว้นี้เพื่อแสดงว่าเป็นเพลง “ไร” (หรือไอ) ด้วยกัน ย่อมติดต่อกันได้ และข้อสำคัญที่สุด คือจะให้เห็นว่าเขาเล่นสัมผัสอักษรอย่างกลบทเป็นข้อสำคัญเพียงไร
………………………………………………………………………………………….
๑ ตามตัวอย่างข้างบนนี้ ย่อมไม่ตรงกับของเดิมของเขาอยู่บ้าง เพราะบางแห่งเขาใช้คำไม่สุภาพ  จึงต้องแก้ให้สุภาพเพื่อเป็นตัวอย่างอันดีแก่กุลบุตร

อนึ่ง ได้อธิบายไว้แล้วว่า เพลงกลอนสด ท่านไม่นิยมสระยาวสระสั้นนัก ดังจะเห็นได้ในตัวอย่างข้างบนนี้ เช่นบทที่ ๑ ส่ง “พิน” รับ “ตีน” บทที่ ๒ รวดรับสัมผัสสลับ เป็น “พลาง” เชื่อมสลับเป็น “หลัง” และบทที่ ๓ สลับเป็น “ชาย” เชื่อมสลับเป็น “ลัย” ทั้งนี้เพราะการด้นด้วยปากต้องขอไปที แต่ถ้าจะทำเป็นลายลักษณ์อักษร ก็ควรทำให้ถูกแบบคือ ยาวรับยาว และสั้นรับสั้น

และขอให้สังเกตคำในวรรคหนึ่งๆ ด้วย  ซึ่งมีวรรคละ ๕ คำ ถึง ๘ คำ ทั้งนี้ย่อมเป็นศิลปะของผู้ร้องที่จะเอื้อนให้จังหวะเหมาะกัน แต่เพื่อช่วยให้สะดวกในการร้องก็ควรบรรจุคำเป็นกลางๆ คือ วรรคละ ๖-๗-๘ คำเป็นดี
………………………………………………………………………………………….
ชนิดที่ ๓ กลอนร่ายที่มีสัมผัสรวดส่งซับซ้อนกัน กลอนร่ายที่ใช้ขึ้นต้น เช่น ไหว้ครู ก็ดี หรือกล่าวเกริ่นปรารภเรื่องราวที่จะเล่นต่อไป เป็นต้น ก็ดี เขาใช้รวดส่งซับซ้อนกันมากกว่าที่ได้อธิบายมาแล้วก็ได้ ซึ่งถ้าจะย่อลงให้เข้าใจง่ายก็เป็น ๒ วิธี ดังนี้

(ก) คือใช้รวดส่งเป็นกลอนฉ่อยให้มากออกไปจากชนิดที่ ๒ แล้วจึงลงท้ายรองฉ่อย ส่งฉ่อยอย่างชนิดที่ ๒ ดังจะผูกตัวอย่างไว้ให้สังเกตต่อไปนี้

เพิ่มกลอนฉ่อยเข้าอีกกลอนหนึ่ง ดังจะเพิ่ม บทที่ ๑ ให้ดูต่อไปนี้
บทที่ ๑ เพิ่มฉ่อยอีก ๑ บท
silapa-0495 - Copy
บทที่ ๒ เพิ่มฉ่อยอีก ๒ บท

silapa-0495 - Copy1

หมายเหตุ  ตัวอย่างข้างบนนี้ให้ไว้เพียงเติมฉ่อยลง ๒ บทเท่านั้น ที่จริงจะเติมกลอนฉ่อยลงไปอีกกี่บทก็ได้ เมื่อจะจบลงรองฉ่อย, ส่งฉ่อย แล้วก็ลงรวดรับ นับว่าจบร่ายบทนั้น

(ข) อีกวิธีหนึ่งกลับกันกับข้อ (ก) ได้แก่รวดส่งตั้งต้นด้วยกลอนร่ายชนิดที่ ๒ ก่อน  คือขึ้นต้นเป็นกลอนฉ่อย รองฉ่อย ส่งฉ่อย แต่ยังไม่ทันส่งจบทีเดียว  ต่อไปนี้จะเพิ่มกลอนฉ่อยลงสักกี่บทก็ได้  ถึงฉ่อยบทสุดท้ายก็ลงส่งฉ่อยจบแล้วขึ้นรวดรับทีเดียวอย่างกลอนร่ายชนิดที่ ๑ ซึ่งไม่ต้องมีวรรครองฉ่อย ดังจะผูกตัวอย่างไว้ให้ดูจากบทที่ ๓ ต่อไปนี้

บทที่ ๓ เติมฉ่อยข้างท้าย

silapa-0496 - Copy

ตามตัวอย่างข้างบนนี้ จะเติมกลอนฉ่อยเข้าข้างท้ายอีกสักกี่บทก็ได้ แต่ต้องให้ส่งรับฉ่อยกันเรื่อยมา  เมื่อจบรวดส่งก็ลงสัมผัสส่งฉ่อยไม่ต้องมีรองฉ่อยอย่างข้างต้น แล้วก็ขึ้นรวดรับอย่างกลอนร่ายอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร