ประติมากรรมรูปเคารพในบางลัทธิของพราหมณ์

พระกฤษณะ
ไวษณพนิกาย
ลัทธินี้ชื่อลัทธิดัดแปลงมาจาก ชื่อพระวิษณุซึ่งแต่เดิมเป็นชื่อเทพแห่งสวรรค์ในศาสนายุคพระเวท (เทพแห่งพระอาทิตย์ คำว่า “ไวษณพ” ปรากฏในคัมภีร์มหาภารตะว่า หมายถึงชื่อลัทธิที่เป็นที่รู้จักกันในนามต่างๆ เหล่านี้ คือ สูริ สุหฤต ภควตะ สัตตวตะ ปัญจกาลวิท เอกานติกะ ตันมายะ และปาญจราตริกะ แต่ที่นิยมใช้มากคือ ภควตา
คำว่า “ภควตา” นี้แต่เดิมเป็นชื่อลัทธิที่บูชาเทพวสุเทวะ-กฤษณะ ต่อมาเทพวสุเทวะ-กฤษณะ ได้กลายเป็นอวตารปางหนึ่งของพระวิษณุ คือ กฤษณวตาร ภควตาเป็นลัทธิของพวกสัตตวะ (ชาวท้องถิ่นในมถุรา) วสุเทวะ-กฤษณะ นี้แต่เดิมเป็นชื่อของกษัตริย์ผู้ปรีชาสามารถเป็นวีรบุรุษ ต่อมาเมื่อประชาชนนับถือมากก็กลายเป็นเทพเจ้า ลัทธิภควตา ซึ่งนับถือสุทวะ-กฤษณะ เป็นเทพสูงสุดได้รับความนิยมมาก ในต้นคริสตกาล และต่อมาก็ได้ผสมกลมกลืนเข้ากับบุคลิกลักษณะของเทพวิษณุและนารายณะ ของศาสนายุคพระเวท หลักฐานทางใบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงลัทธินี้ คือ จารึกอักษรพราหมี (อายุราว ๒๐๐ ปีก่อนคริสตกาล) บนเสาหินที่เมืองเบสนคร (ใกล้สาญจี ในมัธยมประเทศปัจจุบัน คือ เมืองภวิสะ (จารึกนี้บอกถึงการสร้างเทวสถานและรูปเคารพในลัทธินี้ ถัดจากนั้นก็มีหลักฐานทางเอกสารกล่าวถึงลัทธินี้มากมาย จารึกก่อนคริสตกาลหลายแห่งกล่าวถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างพระวสุเทวะ กับครุฑ วิษณุ กฤษณะ นารายณะ และก้อนหินศักดิ์สิทธิ์ แสดงถึงการขยายตัวของ ลัทธินี้จากลัทธิของชนกลุ่มเล็กๆ เป็นลัทธิใหญ่ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๘ ลัทธิภควตา ได้แผ่ขยายลงไปทางใต้ ถึงอาณาจักรของพวกปาณฑยะ ซึ่งอยู่ตอนใต้สุด เกี่ยวกับอวตารของพระวิษณุนั้นมีมากมายบางคัมภีร์กล่าวว่ามี ๓๙ อวตาร และบางคัมภีร์ก็ว่ามี ๙ อวตาร เพราะอวตารที่ ๑๐ คือพุทธะนั้นเพิ่มเข้าภายหลัง ส่วนชื่อลัทธิว่า “ภควตา” ยังคงเป็นที่นิยมใช้กันจนถึงสมัยคุปตะ (พ.ศ. ๑๑๐๐-๑๓๐๐) แม้คำว่า “ไวษณวะ” จะเป็นที่รู้จักกันแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ แต่เพิ่งจะนิยมใช้ในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เมื่อลัทธิภควตา กลายเป็นไวษณพนิกายนั้นได้เน้นหนักไปในทางความสำคัญของอวตาร และที่นิยมที่สุด คือ ปางวราหะ นรสิงห์และ วามนะตรีวิกรม ส่วนพระนางลักษมี ชายาของพระวิษณุนั้นเริ่มรู้จักกันมากในสมัยคุปตะและหลังคุปตะ

พระศิวะ
ไศวนิกาย
ลัทธินี้มีความเก่าแก่กว่าไวษณพนิกาย กล่าวคือ มีร่องรอยที่ สามารถสืบสาวได้ว่าเก่าแก่ถึงยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ เพราะการขุดค้นอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (๓,๐๐๐- ๑,๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาล) ได้พบรูปเทพนั่งขัดสมาธิอยู่ท่ามกลางสัตว์ป่า (บนที่ประทับตรา) สันนิษฐานว่าเป็นต้นแบบของรูปพระศิวะ นอกจากนี้ยังพบลึงค์ทำด้วยหินและในยุค ประวัติศาสตร์ลึงค์นี้ได้มีความสัมพันธ์กับการบูชาพระศิวะ โดยกลายเป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะ คือ ศิวลึงค์ เหรียญต่างๆ ที่ทำขึ้นเมื่อ ๒๕๐-๓๐๐ ปีก่อนคริสตกาลก็ปรากฏรูปพระศิวะและศิวลึงค์ มีวัดจำนวนมากสร้างไว้ประดิษฐานพระศิวะ และศิวลึงค์ ส่วนใหญ่ศิวลึงค์มักจะได้รับการประดิษฐานไว้ในวัดเป็นองค์ประธานของวัด ส่วนรูปปั้นของพระศิวะปางต่างๆ จะประดิษฐานอยู่ตามส่วนต่างๆ ของวัด กลายเป็นเครื่องประดับวัดไป ศิวลึงก์ที่เก่าแก่และสำคัญที่สุด คือศิวลึงค์ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดในหมู่ บ้านคุฑิมัลลัมในมัทราส เป็นลึงค์ที่มีลักษณะเหมือนธรรมชาติมาก สูง ประมาณ ๕ ฟุต ยอดเป็นรูปพระศิวะ มี ๒ กร แบกแกะ และหม้อน้ำไว้ในพระกรข้างขวา ส่วนพระกรซ้ายถือขวาน ประทับยืนอยู่บนบ่าของคนแคระ สวมเครื่องประดับ มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๔ การสลักรูปพระศิวะกับคิวลึงค์ติดเป็นชิ้นเดียวกันนับเป็นที่นิยมมาก และมีการดัดแปลงไป ในแบบต่างๆ หลายแบบด้วยกัน แบบที่ปรากฏมาก คือ แบบที่เรียกว่า มุขลึงค์ คือ ศิวลึงค์ที่มียอดเป็นพระพักตร์ของพระศิวะ ที่พบมากมีพระพักตร์เดียว เรียกว่า เอกมุขลึงค์ (พักตร์เดียว) หรือมี ๔ พักตร์เรียกว่า จตรมุขลึงค์ (๔ พักตร์) (โดยสลักพระพักตร์รอบลึงค์ทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๑ พักตร์)

พระแม่ธรณี

ศักติ
ลัทธิศักติเจริญขึ้นในยุคกลาง แต่เป็นลัทธิที่เก่าแก่ไม่แพ้ลัทธิไศวนิกายเพราะพัฒนามาจากการบูชาอิตถีพละ (Female energy) ในรูปของพระแม่ธรณี เป็นลัทธิที่เก่าแก่มากของชนชาวพื้นเมือง ก่อนหน้าที่อารยธรรมพระเวทจะปรากฏในอินเดีย การขุดค้นอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุก็ได้ พบหลักฐานทางโบราณคดียืนยันถึงกวามเก่าแก่ของลัทธินี้ เพราะพบ รูปสตรีดินเผาที่มีลักษณะเป็นพระแม่ (Mother Goddess) หรือแม่พระธรณี (Earth-Mother) ผู้มีอำนาจประสาทความอุดมสมบูรณ์แก่พืชพันธุ์ธัญญาหาร นอกจากพบรูปพระแม่จำนวนมากแล้วการขุดค้นดังกล่าวยังได้พบหินเจาะรูซึ่งมีลักษณะอวัยวะเพศหญิง (โยนี) การบูชาอิตถีพละ อัน เป็นลัทธิเก่าแก่ที่ปรากฏ ในกลุ่มชนที่มีอาชีพหลักในการกสิกรรมได้วิวัฒนาการมาเป็นลัทธิศักติและแพร่หลายในยุคกลาง แม้ในสมัยพระเวทลัทธินี้ก็ยังแพร่หลายโดยทั่วไปในชนพื้นเมือง เพราะได้พบหลักฐานของลัทธินี้กระจัดกระจายทั่วไป เช่น ในอุตตร ประเทศมถุรา ตักษิลา และภิตา เป็นต้น
พระแม่มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น เทวี ศักติ ทุรคา ปารวตี อุมา อัมพิกา อปรรณา กาลี และเคารี เป็นต้น ซึ่งเทพีทั้งหมดนี้ได้รับยกย่องให้เป็นชายาของพระศิวะทั้งสิ้น ชื่อต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นชื่อที่บูชาในชนเผ่าต่างๆ กัน เทพีเหล่านี้จึงกลายเป็นภาคหนึ่งของชายาของพระศิวะ อันเป็นเทพสูงสุด ของลัทธิไศวนิกาย ชื่อต่างๆ มีความหมายดังนี้
เทวี หมายถึง เทวีผู้ประเสริฐ
ศักติ หมายถึง พลัง คือ พลังก่อให้เกิดการสร้าง และพลังควบคุมและจัดระเบียบจักรวาล บางทีคำว่า ศักติ ใช้เรียกอวัยวะเพศหญิงที่บูชาโดยพวกที่นับถือลัทธิศักติ
ทุรคา และ ปารวตี แสดงถึงความสัมพันธ์กับภูเขาหิมาลัย ซึ่งตามความเชื่อของชาวอินเดียถือว่า พระแม่ของพวกตนถือกำเนิดมาจากภูเขาหิมาลัย และแสดงว่าชื่อทั้งสองนี้ เป็นชื่อของเทพีผู้ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของชนชาวเขา (เพราะชื่อศิวะมีชื่อหนึ่งที่ว่าศิริศะ ก็หมายถึงผู้อาศัยอยู่บนเขา)
อุมา และอัมพิกา มาจากภาษาดราวิเดียน โดยมาจากคำว่า อัมมา (แม่) แปลว่า แม่ ในความหมายของแม่แห่งจักรวาล
อปรรณา หมายถึง เทพีผู้เปลือยกาย ไม่สวมเสื้อผ้า อันเป็นลักษณะพิเศษของพระแม่ (เปลือยกาย)
กาลี เป็นเทพีที่มีผิวดำ น่าจะเป็นเทพีของพวกชนพื้นเมืองที่มีผิวสีดำ แต่ชื่อกาลีอาจจะมีความหมายว่า กาล (เวลา หรือ ความตาย) ซึ่งเป็นคุณลักษณะของพระศิวะ
เคารี เป็นเทพีที่มีผิวขาว เป็นเทพีของชนชาวมงโกลอยด์แห่งภูเขาหิมาลัย
จากหลักฐานที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การบูชาพระแม่ เป็นลัทธิพื้นเมือง และถูกดูดกลืนเข้าผสมกับศาสนาฮินดูในยุคหลัง เมื่อลัทธิศักติเข้ามามีบทบาทในศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไวษณพนิกาย และไศวนิกายแล้ว ศาสนาพราหมณ์จึงมีแนวโน้มในการบูชาเทพี เทพีมีอำนาจมาก และเป็นพละกำลังของเทพ เทพจะสร้างโลกได้ก็ต่อเมื่อเทพีช่วย หากขาด เทพีอันเป็นส่วนพลังและอำนาจของเทพเสียแล้ว เทพจะไม่สามารถทำอะไรได้เลย อย่างไรก็ตามจุดมุ่งหมายสำคัญของลัทธิ ศักติก็คือการรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพรหมัน เช่นเดียวกับลัทธิอื่นๆ ในศาสนาพราหมณ์ วิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทางดังกล่าวคือ การทำสมาธิจิต หากทำ ไม่ได้ก็สวดมนต์สรรเสริญ หรือบูชาเทพอันเป็นตัวแทนของพรหมัน
ที่มาโดย:ปรีชา  นุ่นสุข ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้
วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช

ความเป็นมาของรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์

มรดกทางวัฒนธรรมของศาสนาพราหมณ์ในนครศรีธรรมราช
ในนครศรีธรรมราชได้มีการค้นพบมรดกทางวัฒน-ธรรมของศาสนาพราหมณ์อยู่ในหลายรูปแบบ เช่น ประติมากรรมรูปเคารพของศาสนาพราหมณ์ โบราณสถาน ศิลาจารึก และพิธีกรรมต่างๆ เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงมรดกทางวัฒนธรรมของศาสนาพราหมณ์ในนครศรีธรรมราชโดย สังเขปดังนี้ คือ
ปฏิมากรรมรูปเคารพอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์
ความเป็นมาของปฏิมากรรมรูปเคารพของศาสนาพราหมณ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ผาสุข อินทราวุธ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของปฏิมากรรมรูปเคารพไว้อย่างละเอียด ในที่นี้จะสรุปมาลงไว้ดังนี้ คือ
นักปราชญ์หลายท่านมีความเห็นว่า ศิลปกรรมที่ผลิตขึ้นโดยมนุษย์ยุคแรกเริ่มนั้นจะเกี่ยวพันกับศาสนาเป็นส่วนใหญ่ และมีความเกี่ยวพันลึกซึ้งมากในกรณีของศิลปะอินเดีย เนื่องจากความเชื่อทางศาสนาฝังรากลึกเข้าไปในจิตใจประชาชนชาวอินเดีย ความเชื่อมั่นนั้นจึงสืบต่อไปยัง ศิลปกรรมของชาวอินเดียด้วย
ในประเทศอินเดียก่อนจะมีรูปเคารพนั้นได้มีการสร้างสัญลักษณ์ต่างๆ ขึ้นแทนรูปเคารพดังที่ปรากฏในศิลปกรรมทางพุทธศาสนาในยุคแรกๆ ที่สถูปที่ภารหุต และสาญจี ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่บรรจุพระอัฐิของพระพุทธเจ้า แต่ไม่ปรากฏว่ามีรูปปั้นของพระพุทธองค์อยู่เลย (พระพุทธรูปที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นการนำมาต่อเติมขึ้นภายหลัง) กลับปรากฏเป็นภาพสลักเล่าเรื่อง และมีสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สถูปแท่นมีฉัตร ปักอยู่ เป็นต้น สัญลักษณ์เหล่านี้เป็นตัวแทนของสิ่งต่างๆ เช่น ต้นไม้ที่มีรั้วรอบ มีแท่นที่ประทับรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ใต้ต้นไม้ แท่นดังล่าวมักจะประดับตกแต่งด้วยพวงดอกไม้ และมีฉัตรปักอยู่เหนือแท่น แสดงว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระศาสดาในพุทธศาสนา ส่วนภาพต้นไม้ที่ปราศจากเครื่องประกอบอันทรงเกียรติดังกล่าวและมีเพียงต้นไม้ธรรมดา แสดงว่าเป็นรุกขะ-เจติยะ หรือที่สิ่งสถิตย์ของรุกขเทวดา ส่วนภาพสถูปเป็นเนินดินหลุมศพย่อมเป็นสัญลักษณ์ของมหาปรินิพพานของพระพุทธองค์ (แต่เดิมเป็นสัญลักษณ์ของบรรดามหาบุรุษของอินเดีย) และภาพนาค ยักษา ยักษิณีและอื่นๆ ที่ปรากฏในภาพสลักนั้นแต่เดิมก็เป็นเทพที่เคารพบูชา ของประชาชนมาก่อน แต่ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาเจริญเทพเหล่านั้นก็ลดฐานะลงมากลายเป็นบริวารของพระพุทธเจ้า ในยุคพระเวท (๑,๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาล) ไม่ปรากฏว่ามีวัดหรืออาคารอันป็นที่สถิตของเทพเลย มีแต่กล่าวถึงไฟที่จุดในสภา แสดงว่ามีสภาที่ประดิษฐานกองไฟเพื่อประชาชน มาชุมนุมกันประกอบพิธีกรรมในบางโอกาสเท่านั้น ส่วนรูปปั้นนั้นไม่มีหลักฐานว่ามีการทำในยุคต้นๆ แต่ยุคหลังๆ มีบ้าง พิธีกรรมในศาสนาพระเวทส่วนใหญ่เป็นพิธีกรรมที่บ้านส่วนบุคคล ไม่ค่อยมีการประกอบที่สาธารณะ
ครั้นในยุคกาวยะ (๖๐๐ ปีก่อนคริสตกาลถึงคริสตศตวรรษที่ ๒) อันเป็นยุคที่มีวรรณกรรมที่จัดเป็นกาวยะหลายเรื่องด้วยกัน แต่ที่สำคัญ คือ รามายณะ และมหาภารตะนั้น ศาสนาพราหมณ์ เริ่มพัฒนาจากศาสนาพระเวทมาสู่ศาสนาพราหมณ์ยุคใหม่ คือ เป็นศาสนาที่ผสมผสานระหว่างศาสนาพระเวทและศาสนาของชาวท้องถิ่นเข้าด้วยกัน ในยุคนี้มีการทำรูปเคารพโดยเลียนแบบรูปมนุษย์ มีวัดสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ ลัทธิศาสนาที่สำคัญในยุคนี้ คือ ลัทธิบูชานางทุรคา (เป็นต้นกำเนิดของลัทธิการบูชาศักติ และต่อมากลายเป็นชายาพระศิวะ คือ พระอุมา) ลัทธิบูชาปาศุปตะ (พระนามหนึ่งของพระศิวะ) และลัทธิบูชาวสุเทวะ-กฤษณะ (ต่อมากลายเป็นไวษณพนิกาย อันนับถือพระวิษณุเป็นเทพสูงสุด)
ในยุคปุราณะ และตันตระ (ยุคปุราณะ ราวคริสศตวรรษที่ ๒-๖ และยุคตันตระราวคริสศตวรรษที่ ๗-๑๒) วรรณกรรมในสมัยคุปตะอันเป็นยุคที่ศาสนาในยุคปุราณะ และตันตระเจริญนั้น ได้กล่าวถึงลัทธิต่างๆ ที่เจริญ ควบคู่กันไป คือ มีทั้งลัทธิการบูชาเทพยุคพระเวท เช่น พระอินทร์ และพระอัคนี เป็นต้น และมีการบูชาเทพในลัทธิศาสนาอื่นๆ เช่น การบูชาพระวิษณุ สุริย ศิวะ พุทธะ และชินะ เป็นต้น และยังกล่าวถึงการประกอบพิธีบูชาบรรดารูปเคารพดังกล่าวด้วย ดังนั้น ลัทธิต่างๆ ที่เจริญควบคู่กันในระยะนี้ คือ ลัทธิไวษณพนิกาย (ภควตา) ลัทธิบูชาพระอาทิตย์ (ได้รับอิทธิพลมาจากอิหร่าน) ลัทธิปาศุปตะ (ไศวนิกาย) ลัทธิศักติ (วิวัฒนาการจากการบูชาพระแม่ผู้ให้กำเนิด) ศาสนาชิน และพุทธศาสนา ในยุคตันตระ เน้นการบูชาเทพต่างๆ เช่น วิษณุ ศิวะ และพรหม เทพีได้รับยกย่องมีอำนาจเทียบเท่าเทพ มีลัทธิเป็นของตนเอง คือ ศักติ ซึ่งเป็นลัทธิที่นับถือเทพีว่าเป็นเทพเจ้าสูงสุด และมีการประกอบพิธีกรรมพิเศษแตกต่างไปจากยุคก่อนๆ ลัทธินี้เจริญมากในอินเดียในพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ นักปราชญ์ เห็นว่าลัทธินี้เก่าแก่มากนับถือกันมาตั้งแต่ยุคอารยธรรมลุ่มแม่นาสินธุ (ราว ๓,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล) โดยสังเกตได้จากหลักฐานที่พบที่ประทับตรารูปคนนั่งขัดสมาธิ โยนิ และเครื่องรางของขลังต่างๆ ระยะแรกนับถือในกลุ่มคนน้อยๆ และมีพิธีกรรมลึกลับ แต่ต่อมาค่อยๆ ขยายออกไป ชาวฮินดูถือว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของลัทธิตันตระมีอยู่ ๕๑ แห่ง เช่น บริเวณที่มีภูเขา หุบเขา ก้อนหิน บ่อน้ำ ที่มีรูปร่างคล้ายเครื่องเพศชาย หรือเครื่องเพศหญิง เป็นต้น ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมาจนปัจจุบันลัทธิตันตระมีอิทธิพลต่อศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนามาก ทั้งในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่รับอิทธิพลทางอารยธรรมจากอินเดีย บรรดารูปเคารพต่างๆ ในโบราณสถานของพราหมณ์ในยุคหลังๆ เกี่ยวพันกับหลักปฏิบัติของลัทธิ ตันตระเป็นส่วนมาก
จากหลักฐานทางโบราณคดี ปรากฏว่าศาสนาภควตา ซึ่งได้กลาย เป็นลัทธิไวษณพนิกายของศาสนาพราหมณ์ นั้น เป็นลัทธิแรกที่ได้นำเอาคติการบูชารูปเคารพมาให้ประชาชนวรรณะสูงผู้เคร่งครัดในศาสนาพราหมณ์ ตามคติความเชื่อในนิกายนี้เชื่อว่าพระเป็นเจ้าจะปรากฏกายลงมาให้มนุษย์เห็นในแบบต่างๆ กัน ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการสักการะ บูชาซึ่งนิยมทำรูปแทนองค์เทพขึ้น จะเป็นรูปวาดหรือสลักขึ้นก็ได้ จารึกระบุว่าได้มีการสร้างวัดเป็นที่ประดิษฐานเทพเหล่านั้นนับตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ในส่วนต่างๆ ของอินเดีย ตั้งแต่มถุราลงไป ถึงอินเดียตอนใต้แต่ รูปเคารพ ในระยะแรกๆ ไม่ค่อยพบอันอาจจะเป็นเพราะสร้างด้วยวัตถุไม่ถาวร ในตอนต้นคริสตกาลพบรูปเคารพที่สลักบนเหรียญ และที่ประทับตรา ส่วนใหญ่อยู่ในสมัยพระเจ้าหุวิษกะ แห่งราชวงศ์ กุษาณะ เป็นรูปพระวิษณุมี ๔ กร ถือ จักร สังฃ์ คทา และ รูปวงแหวน (แทนดอกบัว)
ที่มาโดย:ปรีชา  นุ่นสุข ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช

ความเชื่อทั่วไปในศาสนาพราหมณ์

๑. ความเชื้อเกี่ยวกับเทพเจ้า ความคิดเรื่องเทพเจ้าต่างๆ ของศาสนาพราหมณ์ในสมัยแรกๆ คือ ยุคพระเวท (ประมาณ ๙๐๐-๑,๕๐๐ ปี ก่อนคริสกาล) เกิดจากสภาพธรรมชาติ คือ มนุษย์เกิดจินตนาการว่าเบื้องหลังของธรรมชาติหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ต้องมีผู้มีอำนาจบังคับ คือ มนุษย์ใส่ความรู้สึกให้แก่ธรรมชาติ กลายเป็นเทพเจ้าตามธรรมชาติไป เทพเจ้าเหล่านี้เป็นที่มาของเทพนิยายทางศาสนาพราหมณ์ และเป็นพื้นฐานที่สำคัญของลัทธิการบูชายัญในศาสนาฮินดู ในระยะต่อมาเทพที่สำคัญคือเทพประจำทิศทั้งแปด ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยพระเวท และเห็นชัดขึ้นในสมัยพราหมณะ อันเป็นระยะที่มีการทำพิธีการต่างๆ เพื่อบูชายัญ เทพเจ้ามีลักษณะที่มนุษย์บูชาเทพเจ้าองค์ใดเขาก็ยกย่องเทพเจ้าองค์นั้นว่าสูงสุดในขณะนั้น ลักษณะเช่นนี้ได้วิวัฒนาการไปสู่ความคิคเรื่องเอกเทวนิยม เทพที่สำคัญคือ พระอินทร์ พระยม พระวรุณ พระกุเวร
(ท้าวเวสสุวรรณ) พระอัคนี พระสุริยาทิตย์ พระวายุ (มารุต) พระโสมนาถ และยังมีเทพอื่นที่กล่าวถึงอีก คือ พระพิฆเนศวร และพญาพลี
ในยุคพราหมณะ (ประมาณ ๖๐๐-๑,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล) การบูชาเทพเจ้ามีพิธีกรรมที่พิสดารมากขึ้น มีกฎเกณฑ์มากขึ้น มิฉะนั้นการบูชาจะไร้ผล เครื่องบูชาจะไร้ผล เครื่องบูชาก็อยู่เหนือเหตุผลทางศีลธรรม มีการบูชาด้วยน้ำเมา สัตว์ และคน พราหมณ์เป็นผู้ผูกขาดการประกอบ พิธีกรรม โดยมีคัมภีร์พราหมณะเป็นแม่บทที่สำคัญ พราหมณ์ จึงเป็นผู้มีอำนาจที่แท้จริงในการบูชายัญ ด้วยเหตุนี้ พราหมณ์เองก็คิดว่าพวกตนเป็นผู้มีความสำคัญที่สุด ความคิดเรื่องชั้นวรรณะของพราหมณ์ก็ค่อยๆ ปรากฏชัดขึ้น
๒. ความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าสูงสุด แม้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับการยกย่องเทพองค์ใดองค์หนึ่งให้สูงส่งกว่าเทพองค์อื่น จะเริ่มปรากฏในคำอ้อนวอนมาแล้วตั้งแต่สมัยพระเวท และสมัยพราหมณะ แต่ที่ปรากฏชัดแจ้งจริงๆ เมื่อศาสนาพราหมณ์ได้วิวัฒนาการเป็นศาสนาฮินดูอย่างเต็มที่ตั้งแต่สมัยพระเจ้าศุงคะในต้นพุทธศตวรรษที่ ๖ โดยพระองค์ส่งเสริมศาสนาพราหมณ์เพื่อต่อต้านพุทธศาสนา โดยยกย่องพระศิวะ พระวิษณุ และเทพเจ้าดั้งเดิมของพราหมณ์ คือ พระพรหม ให้เป็นผู้สูงสุดรวมกันเรียกว่า “ตรีมูรติ”
๒.๑  พระพรหม เป็นเทพเจ้าดั้งเดิมของพราหมณ์ มีความสัมพันธ์กับพระปชาบดี จนบางท่านเห็นว่าเป็นวิวัฒนาการของพระปชาบดี พระพรหมเป็นหนึ่งในเทพสูงสุดที่มีหน้าที่เป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง เนื่องจากการเกิดของพระองค์ เป็นลักษณะการคาดคะเนมากกว่าจะเป็นรูปเคารพทั่วไป ทำ
ให้ในความเป็นจริงพระองค์ไม่ค่อยได้รับความเคารพจากประชาชนมากนัก พระพรหมมีความหมายเป็นสองนัย คือ นัยแรก คำว่า พรหมหรือพรหมัน เป็นคำกลางๆ หมายถึง วิญญาณอันสูงสุดของจักรวาล ดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองเป็นนิรันดร เป็นที่เกิดและเป็นที่รวมของสรรพสิ่ง ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช้วัตถุ ไม่สามารถเห็นได้ ไม่เกิด ไม่มีใครสร้าง ไม่มีเบื้องต้นและที่สุด ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่สามารถเข้าใจได้ โดยประสาทสัมผัส ปรากฏทุกหนทุกแห่ง ทั้งในสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต หมายถึงว่า พรหมก็คือต้นเหตุของสรรพสิ่งนั่นเอง นัยที่สอง พระพรหม หมายถึง เทพเจ้าผู้เกิดจากพร¬หมัน ซึ่งเป็นจิตวิญญาณสูงสุด หรืออาจจะกล่าวว่าเป็นภาคบุคลาธิษฐานของพรหมนั่นเอง ลักษณะพระวรกายสีแดง มีสี่เศียร ทรงหงส์เป็นพาหนะ เมื่อพระองค์ได้เกิดจากวิญญาณสูงสุดแล้วก็ได้ทรงสร้างเทพเจ้าขึ้นแล้วรับสั่งให้ประจำตามที่ต่างๆ เช่น พระอัคนีประจำโลก, พระวายุประจำสวรรค์, พระอาทิตย์ประจำท้องฟ้า นอกจากนี้พระองค์ยังได้เนรมิตพราหมณ์จากพระโอษฐ์, กษัตริย์จากพระพาหา, แพศย์จากพระชงฆ์ และศูทรจากพระบาท
๒.๒ พระวิษณุ เป็นหนึ่งในเทพสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ ในคัมภีร์พระเวทพระองค์มิใช่เทพสูงสุดแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงสหายสนิทของพระอินทร์เป็นที่มาของพลังสุริยะ คัมภีร์พระเวทและคัมภีร์พราหมณะกล่าวถึงพระองค์ว่าเป็นผู้ครองอาณาเขตของจักรวาล ด้วยการเสด็จเพียงสามก้าวเท่านั้น วิษณุปุราณะกล่าวว่า พระองค์เป็นผู้สร้างผู้รักษา และผู้ทำลาย เป็นผู้มีอำนาจเหนือพระพรหมและพระศิวะ อันแสดงให้เห็นถึงการแก่ง แย่งกันเป็นใหญ่ ระหว่างนิกายต่างๆ ในศาสนาพราหมณ์ที่ได้พัฒนาเป็นศาสนาฮินดู
๒.๓ พระศิวะ เป็นเทพเจ้าดั้งเดิมของพวกทมิฬหรือทราวิฑ หรือดราวิเดียนทางภาคใต้ของอินเดีย ดังปรากฏหลักฐานในคัมภีร์ของพวกทมิฬและหลักฐาน ทางโบราณคดี จากการขุดค้นที่เมืองโมเหโช-ดาโร และเมืองฮารัปปา ซึ่งเชื่อกันว่าเมืองทั้งสองนี้เป็นที่อยู่ของพวกดราวิเดียนมาก่อน คนพวกนี้นิยมบูชาลึงค์ของพระศิวะ หรือศิวลึงค์ พระองค์มักมีชื่อตามสิ่งที่พระองค์ทรงสัมพันธ์ด้วย เช่น สัมพันธ์กับภูเขา โดยเฉพาะภูเขาหิมาลัยจึงได้นามว่า คีรีศะ คือ เป็นใหญ่แห่งภูเขา หรือพระองค์เป็นที่นับถือของพวกผี เป็นผู้เกี่ยวข้องกับความตายจึงได้นามว่า ภูเตศวร เป็นต้น ในคัมภีร์พระเวทไม่ได้กล่าวถึงพระศิวะไว้โดยตรง แต่กล่าวถึงพระรุทระ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าเป็นพระศิวะในการต่อมา พระรุทระเป็นที่เคารพของพราหมณ์เสมอด้วยเทพอื่นๆ เมื่อศาสนาพราหมณ์ได้รับการปฏิรูปเพื่อแข่งขันกับพระพุทธศาสนาในต้นพุทธศตวรรษที่ ๖ พระศิวะก็ได้รับการยกย่องเสมอด้วยพระพรหมและพระวิษณุ และเด่นชัดขึ้น เมื่อมีการแบ่งเป็นนิกายต่างๆ เพราะนักปราชญ์ในแต่ละนิกาย ต่างก็แต่งคัมภีร์ยกย่องเทพเจ้าสูงสุดในนิกายของตน ลักษณะเช่นนี้ปรากฏชัดในยุคปุราณะ โดยปกติพระศิวะได้รับการกล่าวถึงในสองลักษณะ คือ ลักษณะแรก ไม่มีรูปร่าง พระองค์เป็นอย่างเดียวกันกับพราหมณ์ หรืออาตมันในกรณีนี้ถ้าต้องการบูชาพระองค์ก็ต้องบูชาส่วนอันละเอียดอ่อนของพระองค์ คือศิวลึงค์ซึ่งมีกำเนิดในลักษณะต่างๆ เช่น เกิดขึ้นเองเรียกว่าสยมภู หรือมีผู้มีศรัทธาสร้างขึ้น หรือภูเขาที่มีลักษณะเหมือนลึงค์ตามธรรมชาติ และลักษณะที่สอง พระศิวะปรากฏเป็นรูปร่างในรูปแบบต่างๆ ในกรณีนี้สามารถบูชารูป เคารพของพระองค์ได้ ในศิวปุราณะได้กล่าวถึงศิวลึงค์ว่า ควรอยู่คู่กับฐานศิวลึงค์ (ซึ่งเรียกว่าโยนิ) อุปมาดังว่าพระศิวะประทับคู่กับพระนางปารวตีฉันใด รูปศิวลึงค์ก็ควรอยู่บนรูปโยนิของพระนางปารวตีฉันนั้น
๓. ความเชื่อเกี่ยวกับอาตมัน อาตมัน หรือ SOUL เป็นลักษณะความเชื่อที่สำคัญในศาสนาพราหมณ์ โดยเชื่อว่าเป้นพลังชนิดหนึ่ง ไม่ใช่วัตถุ ดำรงอยู่ได้อย่างเป็นอิสระ หรืออาจจะอาศัยอยู่กับร่างกายหรือวัตถุก็ได้ แต่ไม่แตกดับ เมื่อวัตถุแตกดับ ดังนั้นอาตมันคือสิ่งที่อยู่ในตนทำให้เป็น บุคคลขึ้น เมื่อร่างกายเน่าเปื่อยแล้ว ยังเชื่อว่าอยู่ต่อไปหรืออาตมัน คือ เจตภูตของบุคคลที่ตาย เชื่อกันว่าได้แยกออกไปจากร่างกายและดำรงอยู่ได้ตามลำพัง เมื่อบุคคลกระทำความดีตายไปแล้วอาตมันย่อมขันสู่สวรรค์ เมื่อบุคคลทำชั่ว ก็จะตกนรก แต่ทั้งสวรรค์และนรกไม่ใช่จุดสุดท้ายของมนุษย์ เพราะทำให้อาตมันต้องเวียนวายเช่นเดียวกัน คือ อยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม ซึ่งจะชักนำให้เกิดแล้วเกิดอีก เป็นผู้อยู่ในอำนาจของพญายม คือความตาย
๔. ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องกรรม กรรมแปลว่าสิ่งค้ำจุนหรือสนับสนุน คือ เป็นกฎของจักรวาลและกฎศีลธรรมของสังคม ต่อมาในยุคที่มีการเซ่นสรวงบูชาเฟื่องฟู คำนี้มีความหมายถึงยัญพิธีอันเป็นลักษณะเด่นของการบูชาเทพเจ้า ในสมัยนั้น แนวคิดเรื่องกรรมสัมพันธ์กับการเกิดใหม่ คือ หากบุคคลมีกิเลส หรืออวิชชาเขาก็ต้องทำกรรม กรรมย่อมผลักดันให้เขาเกิดแล้วเกิดอีก กรรมในอดีตเป็นตัวกำหนดชีวิตในปัจจุบัน กรรมในปัจจุบันชาติเป็นตัวกำหนดชีวิตมนุษย์ในชาติหน้า หากบุคคลใดเกิดมาแล้วร่ำรวย ยากจน หรือต่ำต้อย เขาก็ต้องรับสภาพเช่นนั้น เพราะการให้ผลของกรรมแบบที่มีชะตากำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว เช่นเดียวกับ พรหมลิขิต เป็นสภาพที่ทุกคนต้องจำยอม แก้ไขไม่ได้ วิถีชีวิตถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าหมดแล้ว ส่วนเรื่องวรรณะนั้น ตอนแรกเป็นการรังเกียจกันในแง่ของเชื้อชาติและวัฒนธรรม คือเป็นการรังเกียจชนพื้นเมืองของชาวอารยัน เพราะคิดว่าชนพื้นเมืองมีผิวดำและด้อยวัฒนธรรมกว่าตน จากความรู้สึกนี้จึงกีดกันในเรื่องหน้าที่การงานที่ดีไว้สำหรับพวกอารยันด้วยกัน ในเวลาต่อมาเรื่องวรรณะกลายเป็นเรื่องที่ยอมรับว่า พระพรหมเป็นผู้กำหนดไป กลายเป็น กรอบ หรือเป้าที่กำหนดรูปแบบของคนไป คือ ถ้าเป็นบุคคลก็จะอยู่ในวรรณะเดิม ไม่สามารถออกไปได้ในชั่วชีวิตนี้
๕. ความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์ ไสยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการใช้เวทย์มนต์คาถาทุกรูปแบบ การยอมรับอำนาจที่เกิดจากการใช้เวทย์มนต์คาถาต่างๆ ดังนั้น จึงประกอบด้วยเวทย์มนต์คาถา ยันต์และโชคลาง แต่เดิมการร่ายเวทย์มนต์คาถาเป็นการอ้อนวอนพระเจ้า ต่อมาค่อยๆ กลายเป็นว่าพิธีกรรมต่างๆ นั่นเองมีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง คาถาที่ใช้ก็ศักดิ์สิทธิ์มีอำนาจลึกลับในตัวอักษรแล้ว ไม่ขึ้นอยู่กับอำนาจของเทพเจ้า เพราะสามารถบังคับเทพเจ้าให้ปฏิบัติต่างๆ ได้ เทพจึงเป็นสื่อให้การประกอบพิธีเกิดสัมฤทธิ์ผลเท่านั้น บางท่านจึงเห็นว่าลักษณะนี้เป็นสาระที่แท้จริงของศาสนาพราหมณ์ หลังพุทธกาล ศาสนาพราหมณ์ได้พัฒนาเป็น ศาสนาฮิดูอย่างเต็มที่ในสมัย ศุงคะ และคุปตะ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖-๑๓ การแสดงความเคารพต่อเทพเจ้าในยุคนี้เรียกว่าลัทธิภักดี คือ การมอบกาย และใจต่อพระเจ้า อุทิศตนต่อพระเจ้า แสดงความรัก ความเชื่อมั่นต่อพระเจ้า วิธีแสดงความภักดี คือเปล่งคำนมัสการ และสรรเสริญจนกลายเป็นเวทย์มนต์คาถา ซึ่งเจริญรุ่งเรืองมากในยุคปุราณะทั้งในไวษณพนิกาย และไศวนิกาย และในคัมภีร์ตันตระของลัทธิตันตระ ซึ่งเจริญในเบงกอลตะวันออกตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา ส่วนยันต์อันเป็นแผนภูมิอันลึกลับซึ่งมีอำนาจพิเศษ ได้เจริญขึ้นในยุคตันตระเช่นกัน เพราะมีการกล่าวถึงการใช้ยันต์เป็นเครื่องมือ เข้าถึงอำนาจของพระศิวะได้ทางหนึ่ง โดยปรากฏในคัมภีร์ตันตระหลายแห่ง หากพิจารณาให้ดีจะพบว่าผู้อยู่เบื้องหลัง ที่สำคัญของไสยศาสตร์ คือ พวกพราหมณ์ เพราะพราหมณ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในพิธีกรรม ยิ่งพิธีกรรมสลับซับซ้อนมากขึ้น เท่าใดก็ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมากขึ้นเท่านั้น พวกพราหมณ์เองก็มีรายได้ สูงขึ้นก็เป็นธรรมดาที่จะผูกขาดหน้าที่อันนี้ไว้ สำหรับตน หรืออีกนัยหนึ่งจักรวาลทั้งหมดอยู่ใต้อำนาจของเทพเจ้า เทพเจ้าทั้งหมดอยู่ใต้อำนาจของเวทย์มนต์คาถา เวทย์มนต์คาถาอยู่ใต้อำนาจของพวกพราหมณ์ เพราะฉะนั้นพวกพราหมณ์เป็นเทพเจ้าที่แท้จริงของเรา
๖. ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งสูงสุด ความเชื่อเกี่ยวกับ สิ่งสูงสุดหรือความจริงแท้แน่นอนว่ามีสิ่งเดียวได้ มีมาแล้วตั้งแต่สมัยพระเวท หรือในศตปกะ พราหมณะ กล่าวถึงพระพรหมว่าเป็นผู้ไม่มีเพศ เป็นต้นเหตุของสรรพสิ่ง แม้แต่เทพเจ้าทั้งหลายก็เกิดจากพรหม แนวคิดเกี่ยวกับ สิ่งสูงสุดได้ถึงจุดสุดยอดในสมัยอุปนิษัท บรรยายธรรมชาติของสิ่งสูงสุดสองระดับ กล่าวถึงสิ่งสูงสุดที่ไม่สามารถกำหนดได้ด้วย ลักษณะทางปรากฏการณ์ บางครั้งก็กล่าวถึงสิ่งสูงสุดว่า เหมือนกับบุคคลผู้สูงสุดที่เราต้องเซ่นสรวงบูชา
กล่าวโดยสรุปแนวคิดของศาสนาพราหมณ์ เป็นการยอมรับอำนาจคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจที่ไม่มีตัวตน หรือมีอำนาจที่มีตัวตน คือ เป็นวิญญาณร้ายต่างๆ เป็นรุขเทวดา หรือเป็นเทพเจ้า จนกระทั่งเป็นพระเจ้าผู้สูงสุดและยังคิดว่าพลังต่างๆ ที่ออกไปจากบุคคลสามารถก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการอ้อนวอนหรือบวงสรวง อำนาจนั้นโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง แม้ว่าระยะหลังจะถูกมองว่า ความคิดนี้เป็นเรื่องของพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีกรรมนั่นเอง ที่สามารถเรียกอำนาจต่างๆ ได้ หรืออำนาจที่แท้จริงอยู่ที่ผู้กระทำพิธี แต่การยอมรับอำนาจเหนือมนุษย์ยังมีอยู่
ที่มาโดย:ปรีชา  นุ่นสุข ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช

พัฒนาการแห่งอารยธรรมของนครศรีธรรมราช

ภาคใต้ของประเทศไทยเริ่มจากจังหวัดชุมพรลงไปทางใต้จนจดเขตแดนประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย เป็นส่วนหนึ่งที่เรียกกันว่า “คอคอดกระ” (Kra ismuth) โดยตั้งอยู่ในระหว่างเส้นรุ้งที่ ๕ องศา ๓๐ ลิบดาเหนือขึ้นมาจนถึงเสนรุ้ง ที่ ๑๑ องศาเหนือ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นแผ่นดินแคบ เป็นคาบสมุทรทอดยาวลงทางใต้ มีที่ราบชายฝั่งทะเล
ทางด้านตะวันออกซึ่งหันหน้าไปสู่อ่าวไทย ทางด้านตะวันตกของภาคมีเทือกเขาตะนาวศรีซึ่งเป็นสายของเทือกเขาหิมาลัย ทอดยาวเป็นสันของคาบสมุทรเรื่อยลงไปจนถึงจังหวัดกระบี่ จากนั้นก็มีเทือกเขานครศรีธรรมราชและกาลาคีรีทอดยาวลง ไปต่อเขตแดนประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย นอกจากมีเทือกเขาเป็นสันดังกล่าวแล้ว ภาคใต้ยังมีภูมิประเทศที่ประกอบด้วย ลำน้ำสายต่างๆ ที่ไหลผ่านที่ราบลุ่มไปออกทะเลที่อ่าวไทย ทางตะวันออก และยังปรากฏว่าบริเวณปากแม่น้ำบางแห่งยังมีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นอ่าว เหมาะแก่การจอดเรือได้เป็น อย่างดี เช่น อ่าวชุมพร อ่าวบ้านดอน อ่าวนครศรีธรรมราช และอ่าวสงขลา เป็นต้น ส่วนทางด้านตะวันตกของคาบสมุทร ซึ่งอยู่ใกล้เทือกเขามีที่ราบลุ่มน้อย ภูมิประเทศส่วนใหญ่ สูงๆ ต่ำๆ ชายฝั่งทะเลอันดามันเว้าๆ แหว่งๆ และสูงชัน แต่ขณะเดียวกันก็มีประโยชน์มาก เพราะมีแร่ธาตุต่างๆ จึงเป็นแหล่งที่ตั้งของชุมชนที่มุ่งในการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่มาแต่โบราณและความสำคัญของชายฝั่งตะวันตกอีกอย่างหนึ่ง คือ ติดกับคาบมหาสมุทรอินเดีย จึงเป็นแหล่งที่พักอาศัยของบรรดาพ่อค้าชาติต่างๆ ที่เดินเรือค้าขายอยู่ในภูมิภาคนี้มาแต่โบราณ
การค้าทางทะเลระหว่างภาคตะวันตก คือ ตะวันออกกลางและอินเดียกับจีนใต้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ การค้าในมหาสมุทรอินเดียส่วยหนึ่ง และการค้าในทะเลจีนใต้ส่วนหนึ่ง บริเวณที่เชื่อมโยงการค้าทั้งสองส่วนนี้เขาด้วยกัน คือ คาบสมุทรไทยตลอดไปถึงช่องแคบมะละกา เพราะฉะนั้นคาบสมุทรไทยจึงสัมพันธ์กับความเจริญทางเศรษฐกิจการค้า ระหว่างสองน่านน้ำและเป็นเส้นทางผ่านที่จำเป็น จีนได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านเมืองแถบนี้ แสดงว่าได้มีการตั้งหลักแหล่งของชุมชนถาวรและมีพัฒนาการสืบเนื่องมานานแล้ว เอกสารจีนตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๘-๙ กล่าวว่าเส้นทางที่ติดต่อระหว่าง Ko-ying ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสุมาตรานั้นผ่านเมืองสำคัญ คือ Tun-Sun อยู่บนคาบสมุทร ไทยตรงที่ซึ่ง “ตะวันออกพบตะวันตก” นักวิชาการไทยหลายท่านมีความเห็นว่าเมืองนี้ควรจะอยู่ระหว่างอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ่านตลอดนครศรีธรรมราชลงไป
จากหลักฐานโบราณคดีที่ค้นพบในภาคใต้ ปรากฏว่า ลักษณะภูมิศาสตร์โบราณคดีมีอิทธิพลต่อการตั้งหลักแหล่งมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ แล้วได้วิวัฒนาการมาตามลำดับดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนในการตั้งหลักแหล่งชุมชนที่เป็นบ้านเป็นเมืองของประชาชนในภาคใต้มาตั้งแต่โบราณมาก กล่าวคือ บริเวณที่มีความเจริญสูงขึ้นเป็นสังคมเมืองอยู่ทางฝั่งตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางฝ่ายตะวันตกประชาชนที่ตั้งหลักแหล่งมี ๒ พวกซึ่งมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน คือ พวกแรกได้แก่คนพื้นเมืองที่มีความเป็นอยู่ล้าหลัง มีอาชีพประมง หรือล่าสัตว์ และทำไร่เลื่อนลอย อยู่กันเป็นชุมชนเล็ก ไม่สามารถขยายตัวเป็นเมืองใหญ่ได้ ส่วนพวกที่สองเจริญสูงกว่า แต่มักจะเป็นชาวต่างชาติ เช่น พ่อค้าหรือนักแสวงโชค ที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งพักสินค้า หรือขุดแร่ธาตุเป็นสินค้า ชุมชนพวกหลังนี้อาจขยายตัวเป็นเมืองได้
จากการศึกษาทางโบราณคดีที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าได้ค้นพบชุมชนโบราณที่เก่าแก่ในคาบสมุทรไทยในช่วงต่อเนื่องของยุคสำริดกับยุกเริ่มแรกของการเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทยหลายแห่งด้วยกัน แหล่งโบราณคดีเหล่านั้นได้พัฒนาอารยธรรมสืบเนื่องกันต่อมาด้วยเวลาอันยาวนาน และมีจำนวนไม่น้อยที่ได้พัฒนามาตามลำดับจนปัจจุบันนี้ แหล่งโบราณคดีที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันดีมีอยู่มาก เช่น แหล่งโบราณคดีที่เขาสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร แหล่งโบราณคดีในเขตอำเภอท่าชนะ แหล่งโบราณคดีพมเรียง อำเภอไชยา แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แหล่งโบราณคดีในเขตอำ เภอสิชล อำเภอท่าศาลา และอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณคดีสทิงพระ จังหวัดสงขลา แหล่งโบราณคดี ในอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี แหล่งโบราณคดีเกาะคอเขา และอื่นๆ ในเขตอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
นอกเหนือจากความเป็นมาหรือพัฒนาการอันยาวนาน ดังกล่าวมาแล้ว ดินแดนบนคาบสมุทรไทยยังมีชื่อเรียกในเอกสารโบราณต่างกันออกไปมามากหลายชื่อ โดยเฉพาะนครศรีธรรมราชอันเป็นศูนย์กลางของคาบสมุทรไทยในหลายช่วงสมัยนั้น มีชื่อปรากฏในเอกสารโบราณทั้งของไทยและของต่างชาติแทบทุกช่วงสมัยนับตั้งแต่เริ่มปรากฏเป็นครั้งแรก เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๗ เป็นต้นมา และปรากฏหลายชื่อ เช่นเดียวกัน แต่ดูเหมือนว่าชื่อที่รู้จักกันดี คือ “ตามพร¬ลิงค์” “ลิกอร์” และ “นครศรีธรรมราช” และนักวิชาการสามารถที่จะชี้ให้เห็นความต่อเนื่องของเรื่องต่างๆ ของนครศรีธรรมราช ที่ปรากฏในเอกสารโบราณทั้งของไทยและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี แม้ว่าเมืองนี้จะปรากฏชื่อในเอกสาร โบราณต่างๆ หลายชื่อก็ตาม กล่าวคือ สามารถเชื่อมโยงได้ว่า “ตม พลิงคม” (Tambalingam) ที่ปรากฏเป็นครั้งแรก ในคัมภีร์มหานิทเทศเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๗-๘ นั้น คือ ชื่อ “ตามพรลิงค์” ตามที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๒๔ เมื่อ พ.ศ. ๑๗๗๓ และมีศูนย์กลางหรือเมืองหลวงตั้งอยู่ที่เมือง ลิกอร์ (Ligor) ที่ชาวยุโรปรู้จักในพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ทำให้เชื่อได้ว่า “ตามพรลิงค์” ได้ถือกำเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗-๘ เป็นอย่างน้อย และชื่อตามพรลิงค์นี้ได้ปรากฏตามเอกสารจีนว่า “ดันมาลิง” (Dan-ma-ling) หรือ “ตันเมลิว” (Tan-mei-liu) ส่วนพวกมลายูเรียกเมืองนครศรีธรรมราชว่า “อีกอ” หรือ “ลีกอร์” อันอาจจะเป็นเหตุให้ชาวยุโรปเรียกตาม แต่เพี้ยนไปเป็น “ลิกอร์” (Ligor) หรือ “ลูกอร์” (Lugor) ส่วนชาวพื้นเมืองเรียกชื่อเมืองของตนว่า “เมืองคอน” (หรือคอน คร นคร เมืองคร)
ในด้านศิลปวัฒนธรรมกล่าวได้ว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔ ดินแดนต่างๆ บนแหลมมลายูตอนเหนือโดยเฉพาะนครศรีธรรมราชได้รับอิทธิพลแบบอย่างทางศิลปวัฒนธรรมจากอินเดียอย่างมากมาย อาจจะเรียกได้ว่าชาวอินเดียได้เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย และเผยแพร่อารยธรรม ฝังรากฐานมั่นคงครั้งสำคัญ โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ เจริญรุ่งเรืองสูงสุด จึงได้ค้นพบโบราณวัตถุสถานมากกว่าที่ใดในประเทศไทย แม้แต่ชื่อเมือง “ตามพรลิงค์” ก็ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า สืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์นั่นเอง และหลักฐานทางโบราณวัตถุในลัทธิไศวนิกาย (virasaivas) ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือแพร่หลายในอินเดียใต้ ก็พบเป็นจำนวนมากมายในเขตเมืองนครศรีธรรมราชรองรับอยู่แล้ว ดังนั้นจึงน่าเชื่อว่าการขยายตัวของชุมชนตามแหล่งที่เหมาะสมทางภูมิศาสตร์ ซึ่งต่อมาได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นเมืองทั้งชายฝั่งตะวันตกและตะวันออก ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔ ได้อยู่ในบริเวณของตามพรลิงค์ เพราะ การเกิดเส้นทางเดินบกข้ามแหลมมลายู เป็นความจำเป็นในการติดต่อ คมนาคมภายในและเพื่อการควบคุมดูแลผลประโยชน์ทางการค้าหรือทางเศรษฐกิจของบ้านเมืองโดยตรง
ตามหลักฐานที่แสดงมานี้ชี้ให้เห็นว่า “ตามพรลิงค์” หรือ “นครศรีธรรมราช” เป็นศูนย์กลางใหญ่ทั้งทางการค้า การเมือง การปกครอง และศิลปวัฒนธรรมบนแหลมมลายูตอนเหนือ ชุมชนหรือเมืองต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนคาบสมุทรไทยทั้งฝ่ายตะวันตกและตะวันออก ย่อมจะมีความเกี่ยวพันกับเมืองตามพรลิงค์เสมอ ต่างกันแต่เพียงมากบ้างน้อยบ้าง เท่านั้น ซึ่งในยุคหลังที่เมืองตามพรลิงค์เจริญสูงสุด คืออย่างต่ำก็ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมืองตามพรลิงค์ ได้ปกครองเหนือแหลมมลายูตอนเหนือทั้งหมดอย่างแน่นอน และในต้นศตวรรษที่ ๑๙ เมืองนี้ก็ได้ปกครองทั้งแหลมมลายูในรูปของเมือง ๑๒ นักษัตร
ดังนั้น เมืองตามพรลิงค์จึงมีสภาพเป็น “อาณาจักร” หรือผู้เป็นใหญ่บนแหลมมลายูอย่างแท้จริง แม้แต่อาณาเขตด้านทิศเหนือก็จะดูไม่ได้อยู่แค่เขตเมืองชุมพร หากแต่ขึ้นมาถึงภาคกลางในลุ่มแม่น้ำแม่กลองด้วยก็อาจจะเป็นได้ เพราะในจดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์ซ้อง (พ.ศ. ๑๕๐๓- ๑๖๗๐) กล่าวว่าอาณาเขตของตามพรลิงค์ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดเขตหลอหู (ละโว้)
เหตุผลสำคัญที่ทำให้เมืองตามพรลิงค์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การเมือง เศรษฐกิจและสังคมมาแต่โบราณ คือ ประการแรก มีความอุดมสมบูรณ์ทางสินแร่ เครื่องเทศ ของป่า และสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น การบูร กานพลู ไม้จันทน์ ลูกจันทน์ ไม้กฤษณา ไม้มะเกลือ ไม้ฝาง เครื่องงาช้าง และดีบุก เป็นต้น ประการที่สอง ตำแหน่งที่ตั้ง เป็นจุดศูนย์กลางของการเดินเรือทะเลนานาชาติ โดยเฉพาะในการเดินทางติดต่อกันระหว่างจีน อินเดีย และประเทศต่างๆ ทางอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งแหลมมลายูตอนเหนือเป็นจุดศูนย์กลางหรือสายใยที่สำคัญที่สุดในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม เมืองตามพรลิงค์ จึงเป็นเมืองท่าค้าขายสำคัญ มีเศรษฐกิจมั่นคง เพราะอยู่ท่ามกลางทะเลเปิด ซึ่งการดำรงสภาพการณ์เช่นนี้มีอยู่ตลอด ประวัติศาสตร์ทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย อาหรับ และประเทศต่างๆ ในอาเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุนี้ทำให้เมืองในเขตของตามพรลิงค์เป็นชุมชนทางการค้าอีกหลายแห่ง เช่น ไทรบุรี และตะกั่วป่า ทางฝั่งตะวันตก และทางฝั่งตะวันออก คือ ไชยา สทิงพระและปัตตานี อันเป็นชุมชนที่เจริญขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘
ที่มาโดย:ปรีชา  นุ่นสุข ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช

มรดกทางวัฒนธรรมของศาสนาพราหมณ์ในนครศรีธรรมราช

ชีวิตความเป็นอยู่ และความเจริญก้าวหน้าของสังคมมวลมนุษยชาติในปัจจุบันล้วนเป็นผลผลิตที่มีวิวัฒนาการมาจากอดีต ความรู้เกี่ยวกับอดีตของมวลมนุษยชาติทุกยุคสมัย ในทุกภูมิภาค จึงเป็นเรื่องน่ารู้และน่าศึกษามาก
บรรพบุรุษของไทยได้สร้างสมมรดกอันล้ำค่าแก่อนุชนไว้มาก ทั้งด้านศิลปะ ภาษา วรรณกรรม ประเพณี และตลอดจนโบราณวัตถุสถาน การศึกษาค้นคว้าทางด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นต่างๆ ทำให้เราเข้าใจชีวิตและความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษชาวไทยสมัยโบราณมากยิ่งขึ้น ความรู้เหล่านี้จะทำให้อนุชนมีทัศนคติที่ดีต่อบรรพบุรุษ รู้จักความเป็นมาของตนเอง เกิดความรักและหวงแหนในศิลปวัฒนธรรมและประเทศชาติ อันเป็นผลให้เกิดการผนึกกำลังกัน รักษาเอกราช และความเป็นไทยของชาติได้ในที่สุด
กล่าวเฉพาะนครศรีธรรมราช จากหลักฐานทางด้านศิลปวัฒนธรรมโดยเฉพาะด้านโบราณคดีเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า บรรดาหัวเมืองต่างๆ ในคาบสมุทรไทย หรือภาคใต้ของประเทศไทยในสมัยโบราณนั้น นครศรีธรรมราช เป็นเมืองที่มีความสำคัญมากเมืองหนึ่ง เพราะเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม จึงมีชุมชนโบราณ หลักฐานด้านโบราณคดี และมรดกทางศิลปวัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก ดังที่นักปราชญ์บางท่านให้สมญานามดินแดนนี้ว่า “เมืองแม่ทางวัฒนธรรม”
ด้วยเหตุนี้ นครศรีธรรมราชจึงเป็นดินแดนที่ควรแก่การศึกษาค้นคว้าทางศิลปวัฒนธรรมมากที่สุดเมืองหนึ่ง
ข้อตกลงเบื้องต้น และขอบข่ายที่ศึกษา
เนื่องจากเนื้อหาที่ศึกษาในบทความนี้ค่อนข้างจะซับซ้อนและยุ่งยากในการทำความเข้าใจทั้งในส่วนของผู้เขียนและผู้อ่าน จึงเห็นสมควรกล่าวถึงข้อตกลง และขอบข่ายในการศึกษาเท่าที่จำเป็นโดยสรุปดังนี้ คือ
๑. วัฒนธรรม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ที่อยู่รวมกันในรูปขององค์กรทางสังคมสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่รวมกันได้ หรืออีกนัยหนึ่งวัฒนธรรมก็คือวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ นั่นเอง โดยเหตุที่วัฒนธรรมเป็นเรื่องของกลุ่มชนหรือสังคม วัฒนธรรมจึงมีการอยู่สืบเนื่อง นานกว่าอายุขัยของบุคคลที่เป็นสมาชิกในสังคมนั้นๆ แต่ว่าการอยู่สืบเนื่องของวัฒนธรรมก็ไม่ได้อยู่ในลักษณะที่หยุดนิ่ง อย่างที่แลเห็นว่าเคยเป็นมาอย่างไรก็เป็นอยู่อย่างนั้น หากเป็นการเปลี่ยนแปลงและคลี่คลายอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพชีวิตของบุคคล และการดำรงอยู่ของสังคม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของ มนุษย์ เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นสัตว์โลกที่สร้างวัฒนธรรมจากการเรียนรู้ หาได้เกิดจากสัญชาตญาณที่ถ่ายทอดกันตามกรรมพันธุ์ เช่น บรรดาสัตว์สังคมอื่นๆ ไม่ มนุษย์เมื่อได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มากขึ้นก็อาจคิดประดิษฐ์เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของตนได้รวดเร็วขึ้น เพื่อความเหมาะสมกับการดำรงชีวิตในสังคม โดยทั่วไปลักษณะทางวัฒนธรรมประกอบด้วยระบบความเชื่อ การเมือง การ ปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม สถาบันเหล่านี้มีความหมายต่อกันและกันในอื่นที่จะทำให้สังคมมนุษย์ดำรงอยู่ต่อไป
๒. มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง แบบแผนหรือเนื้อหาของวัฒนธรรมในลักษณะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต คือ การทำมาหากิน การตั้งแหล่งที่อยู่อาศัย การหย่อนใจ การป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ระบบความเชื่อ เครื่องนุ่งห่ม การคมนาคม การศึกษา และการปกครอง แบบแผนหรือ เนื้อหาของวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในอดีตเหล่านี้บางอย่างก็หมด หน้าที่ความสำคัญไปแล้ว แต่บางอย่างก็ยังคงมีความสำคัญสืบเนื่องอยู่
๓. ศาสนา หมายถึง พฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกเพื่อแก้ปัญหาของชีวิตตนเอง ไม่ว่ามองในแง่ต้องการความคุ้มครอง ต้องการปลอบใจตนเอง ต้องการปรับตัวให้เข้ากับสังคม หรือต้องการเข้าถึงจุดสูงสุด คือพระเจ้า หรือความหลุดพ้น
๔. ศาสนาพราหมณ์ หมายถึง ศาสนาดั้งเดิมแต่สมัยพระเวท (เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ ๑,๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาล) ซึ่งมีลักษณะเป็นพหุเทวนิยม แล้วเปลี่ยนแปลงไปทีละขั้นจนถึงขั้นเทพองค์เดียวที่เป็นนามธรรม (Monism) ในที่สุดก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นศาสนาฮินดู มีพระเจ้าสูงสุดสามองค์ คือ พระพรหม พระวิษณุ (นารายณ์) และพระศิวะ (อิศวร) เรียกว่า “ตรีมูรติ” ในที่นี้ไม่ได้ใช้คำว่า ‘‘ฮินดู” เพราะว่า หากใช้คำนี้ย่อม เน้นเฉพาะศาสนาของชาวอินเดียในปัจจุบน ซึ่งมีลักษณะเป็นชาตินิยมหรือพลังทางสังคม บางช่วงรวมเอาศาสนาพุทธเข้าไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้ภาพพจน์ทางด้านประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของวัฒนธรรมไม่ชัดเจน ไม่ได้เน้นสายธารทางศาสนาจากอินเดียที่ได้เข้ามาสู่ภาคใต้ของประเทศไทยและกลายเป็นตัวกำหนดวัฒนธรรมทางศาสนาที่สำคัญ
๕. พราหมณ์ หมายถึง ชาวอินเดียผู้ได้อพยพเข้ามาสู่ประเทศต่างๆ ในคาบสมุทรมลายูมาตั้งแต่สมัยโบราณ และสืบเชื้อสายมาจนถึงปัจจุบัน กรณีในประเทศไทยถ้าพูดตามกฎหมายแล้วพวกพราหมณ์เหล่านี้เป็นคนไทยทั้งเชื้อชาติ และสัญชาติ เป็นแต่ว่าด้านชาติพันธุ์วิทยาเป็นชาวอินเดีย เท่านั้น ในปัจจุบันนี้เราอาจจะกล่าวได้ว่า พวกพราหมณ์ เหล่านี้ก็คือคนไทย บางคนทำหน้าที่ทางศาสนาพราหมณ์ จึงมีคำเรียกว่า “พราหมณ์ไทย (Thai Brahmins)” เป็นผู้ธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมทางศาสนาเหมือนกับพระภิกษุสงฆ์ในทางศาสนา ถึงแม้ว่าหน้าที่จะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดปลีกย่อยก็ตาม พวกพราหมณ์ไทยดังกล่าวย่อมแตกต่างจาก ชาวอินเดียที่ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในปัจจุบันในฐานะผู้นับถือสัญชาติไทย หรือเป็นคนต่างด้าว ชาวอินเดียรุ่นหลังนี้ปฏิบัติกิจทางศาสนาเฉพาะในกลุ่มของตนเอง เป็นตัวแทนของศาสนาฮินดูที่ชัดเจน ไม่มีความสัมพนธ์กับวัฒนธรรมของคนไทยโดยตรง จึงเรียกว่า “พราหมณ์ฮินดู (Hindu Brahmins)
๖. นครศรีธรรมราช หมายถึง ดินแดนบนคาบสมุทรไทยที่กินอาณา บริเวณ ตั้งแต่อำเภอท่าชนะ จังหวัด สุราษฎร์ธานี ถึงตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพราะว่าบริเวณนี้เป็นอันเดียวกันทางประวัติศาสตร์ การตั้งหลักแหล่งของชุมชน การเกิดพัฒนาการทาง ประวัติศาสตร์ของชุมชนทั้งในระดับสถานีค้าขาย เมืองท่า และรัฐที่มีการจัดระบบการเมือง พัฒนาการเหล่านี้สัมพันธ์ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในอาณาบริเวณซึ่งกลุ่มคนได้พยายามสร้างลักษณะเฉพาะทางศิลปกรรมของตนขึ้น และท้ายที่สุด เราเห็นพัฒนาการทางการเมืองของรัฐ อย่างชัดเจน ปรากฏขึ้นในเขตลิกอร์ ดังนั้นบริเวณนี้จึงควรเรียกว่า “Ligor area” แต่ในที่นี้จะเน้นหนักเฉพาะในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งถือเอาการแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบันเป็นหลักเป็นสำคัญ และอาจจะกล่าวถึงบริเวณอื่น หรือบริเวณที่ใกล้เคียงบ้างในกรณีที่จำเป็น
ความมุ่งหมายในการศึกษา
บทความเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงสาระสำคัญเกี่ยวกับ “มรดกทางวัฒนธรรมของศาสนาพราหมณ์ในนครศรีธรรมราช” บางประการ กล่าวคือ
ประการแรก ต้องการแสดงให้เห็นความเข้มข้น รูปแบบ และปริ มาณของมรดกทางวัฒนธรรมของศาสนาพราหมณ์ ในนครศรีธรรมราช จนถึงกับที่นักวิชาการบางท่านได้เรียกขานดินแดนนี้ว่า “เมืองแม่ทางวัฒนธรรม”
ประการที่สอง ต้องการแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่อง ของมรดกทางวัฒนธรรมของศาสนาพราหมณ์ในนครศรีธรรมราชที่สืบทอดกันมาตามลำดับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐ ตราบจนปัจจุบันนี้
ประการที่สาม ต้องการแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นแต่ละสังคมจะมีผลให้เกิดความเข้าใจพฤติกรรมทางสังคม และเศรษฐกิจตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนได้ดี เป็นพื้นฐานที่จะวางแผนให้มีการพัฒนาวัฒนธรรมไปในทิศทางที่ถูกที่ควรได้ในอนาคต ส่วนคนในชุมชนเองก็จะรู้จักภูมิหลังของตนและเข้าใจตนเองว่าจะดำเนินต่อไปในอนาคตอย่างไร และจะพัฒนาวัฒนธรรมของตนเองไปในทิศทางใดที่จะทำให้การดำรงอยู่ร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่น
ประการสุดท้าย ต้องการให้เห็นคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมของศาสนาพราหมณ์ในนครศรีธรรมราช และดำเนินการศึกษาค้นคว้า ศึกษาเปรียบเทียบ ตลอดจนการดำเนินการทางโบราณคคีและวิชาการสาขาอื่นๆ ในเชิงสหวิทยาการโดยถูกหลักวิชา
วิธีการศึกษา
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้เขียนได้พยายามเน้นหนักที่การปฏิบัติการสำรวจภาคสนามทางโบราณคดี และทางมนุษยวิทยาในบริเวณที่เป็นขอบเขตของการศึกษา และบริเวณที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อจะรวบรวมมรดก ทางวัฒนธรรมของศาสนาพราหมณ์ที่ปรากฏให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งในส่วนที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านรูปธรรมและนามธรรมด้วยวิธีการดังกล่าวนี้การสมภาษณ์บุคคลและการสังเกตเกี่ยวกับประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งสำคัญมาก และใช้เวลานานกว่าจะศึกษาได้อย่างทั่วถึง และอันนี้คือขีดจำกัดอย่างหนึ่งในการศึกษาครั้งนี้
นอกเหนือจากวิธีการที่กล่าวมา โบราณวัตถุสถาน จารึก และเอกสารโบราณทึกชนิดย่อมมีความจำเป็นอย่างมาก ต่อการศึกษาครั้งนี้ แต่เครื่องมือเหล่านี้ก็สร้างปัญหาในการตีความไม่น้อยเลย อันอาจจะเป็นเพราะว่ามรดกทางวัฒนธรรมของศาสนาพราหมณ์ในนครศรีธรรมราชมีความซับซ้อน และอายุยาวนานมาก จึงยากที่จะเข้าใจได้ด้วยวิธีการศึกษาที่กระทำหรือใช้อยู่นี้ก็เป็นได้
ที่มาโดย:ปรีชา  นุ่นสุข ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช

ความเชื่อของคนไทยในภาคกลางบางจังหวัด

ในการวิจัยวรรณกรรมพื้นบ้านไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรีผู้วิจัยได้ประมวลข้อห้ามคำสอนมาไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อห้ามคำสอน
ข้อห้ามคำสอนของชาวไทยทรงดำที่รวบรวมได้แบ่งแยกประเภทได้ดังนี้
๑. ข้อห้ามคำสอนเกี่ยวกับการเกิด ได้แก่
ข้อห้ามสำหรับหญิงมีครรภ์
-ห้ามข้ามคราด เพราะเชื่อว่าถ้าข้ามแล้วจะมีครรภ์เกินกำหนดเท่าที่คราด นอกจากนี้ยังห้ามข้ามเชือกม้า เชือกวัว เชือกควาย อีกด้วย
-ห้ามมองดูดวงจันทร์เวลาเกิดจันทรคราส เชื่อว่า ลูกที่เกิดมาจะตาเหล่แต่ถ้าจะดูก็ให้เอาเข็มกลัด กลัดชายพก หรือหัวซิ่นเป็นการแก้เคล็ด
-ห้ามกินของเผ็ดร้อนและของมีรสเค็ม เกรงว่าเด็กในท้องจะทรมานและตาย
-ห้ามทำงานหนัก แต่ให้ทำงานเหนือย หมายความว่าให้ทำงานเบาๆ และทำไปเรื่อยๆ
-ห้ามเอาไม้ขัดเกล้าเสียบมวยผม เพราะเชื่อว่าจะคลอดง่าย เอาเคล็ดคำว่าถอด
-เวลาคลอดบุตร ถ้าผัวไม่อยู่และคลอดไม่ได้ต้องให้ผัวกลับมาเอาเท้าถีบให้ออก โดยเอาเท้ายันหลังเมีย ๓ ครั้ง เรียกว่าข่มให้ออก
-เมื่อคลอดแล้ว ให้เอารก (แห) ใส่กระบอก (บั่ง) หมกเกลือไปแขวนไว้ไกลบ้าน หรือฝังให้ลึกๆ ตรงชายคา น้ำไหล ซึ่งลาวโซ่งเชื่อว่า ลูกที่เกิดมาจะมีสติปัญญาดี หลักแหลม และในขณะที่กลับบ้านให้เก็บผักหักฟืนกลับมาด้วย จะทำให้ลูกขยันผู้ที่จะฝังบั่งแห เป็นใครก็ได้ ถ้าจะให้ดีก็ควรเป็นพ่อ
-เวลาอยู่ไฟ นิยมใช้ไม้สะแก หรือใช้ไม้อื่นๆ ที่ จุดไฟแล้วไม่แตก เช่น ไม้มะขาม ส่วนอาหารของผู้อยู่ไฟ คือข้าวกับเกลือ หรือเกลืองบ (เกลือใส่ใบตองปิ้ง) ต้องอยู่ไฟประมาณ ๑๑-๑๕ วัน
-เวลานมคัด ให้ผัวเอาเท้ารมไฟในเตา ตะเกียง หรือใต้ แล้วเอามาลูบนม ๓ ครั้ง น้ำนมจะไหลออกมา
-ภายใน ๑ เดือนหลังคลอด ห้ามไปไหนและทำงาน
-เวลาเด็กอายุได้ ๑ เดือน จะทำการโกนผมไฟ แล้วเอาใบตองห่อผมเด็กจะได้ไม่เจ็บไข้ ไม่ร้องกวน เพราะถือว่าใบตองให้ความเย็น
-การตั้งชื่อเด็กเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ปูย่าตายาย ไม่ให้ตั้งชื่อพ้องกับชื่อของปู่ย่า มีการเรียกชื่อแบบพราหมณ์ คือเรียกชื่อพ่อรวมกับชื่อของลูกคน (ลูกคนโต) เช่น พ่อชื่อ กอ ลูกชื่อแดง จะเรียกว่า นายกอแดง
๒. ข้อห้ามคำสอนเกี่ยวกับการตาย ได้แก่
-ห้ามฟันไม้ ลับมีด ตำข้าวในเวลากลางคืน ยกเว้น เวลามีคนตาย
ในบ้านกลุ่มที่ขึ้นศาลเจ้าหรือถือผีเดียวกัน ถ้ามีคนตาย ห้ามทำงานทุกชนิด แต่งตัว ตัดเล็บ และสระผมไม่ได้ต้องไปช่วยกีนทำพิธีจนกว่าจะเอาผีไปป่าแห่วแล้ว
-เวลางานศพต้องก่อไฟให้สว่างตลอดคืน
-เวลาไปงานศพให้ถือมีดไปด้วย เพื่อกันผี
-เวลาไปบ้านคนตาย ผู้หญิงจะเอาใบหนาดเหน็บผมไปด้วย แต่ผู้ชายจะเหน็บมีดแทน เพื่อกันผี
-ในพิธีศพ จะเอาดอกไม้ไปหรือไม่ก็ได้ แต่ให้ใส่เสื้อ เอาลายออกข้างนอก
-เวลามีคนตาย จะต้องร้องไห้ มิฉะนั้นจะถือว่าคนตายไม่มีคนรัก คนอาลัย
-ห้ามแมวข้ามศพ ถือว่าไม่ดี
-ห้ามหญิงท้องแก่ไปงานศพ ถือว่าไม่ดี
-ห้ามนำศพตายโหงเข้าบ้าน ต้องนำไปฝังไว้เป็นเวลานานจนคนลืมถึงจะเอามาเผา ห้ามเผาทันที
-ห้ามเชิญวิญญาณผีตายโหงมาเป็น ผีบ้าน ผีเรือน ผีนา แต่ให้เชิญไปเป็นผีประจำวัด
-ห้ามใส่หมากเข้าห้องผีเรือน (นอกจากมีคนตายในบ้าน) ถือว่าเป็นลาง จะมีคนตายในบ้านนั้น
-เวลาอาบน้ำแต่งตัวศพ ถ้าพบผ้าไม่ถูกแบบ ผีจะโกรธต้องใส่เสื้อปลิ้นกลับหน้ากลับหลัง
-พี่น้องท้องเดียวกัน ห้ามหามศพกัน ถือว่าผีจะมาชวนไปอยู่ด้วย
-ห้ามถ่มน้ำลายหรือพูดว่าเหม็นศพเวลาไปงานศพ ถือว่าความเหม็นหรือสิ่งไม่ดีจะกลับมาสู่ตัวเรา
-เวลากลับมาจากงานศพ ก่อนเข้าบ้าน ให้ล้างมือ หน้า และเท้า เพื่อให้กลิ่นศพหาย ถ้าไม่ทำถือว่ากลิ่นผีจะติดตามมา จะทำให้มิ่งขวัญไม่กล้าไม่หาญ จะป่วยลงทรงแห้ง
-เสร็จพิธีศพแล้ว ให้แผ้วเรือน คว่ำถ้วยชาม โอ่ง ฟูก หมอน ที่นอน เสื่อ ทำความสะอาดบ้านใหม่หมด ต้องให้แม่มดมาแผ้วเรือน ให้เฮือนฮ้ายเป็นเฮือนดี
-ถ้าเมียตาย ผัวจะมีเมียใหม่ ในวันแต่งงาน เมียใหม่ต้องใส่เสื้อกลับหลัง เพื่อกันมิให้เมียเก่ามารังควาน
-ผู้ที่เป็นผัวเมียกัน ถ้าฝ่ายไหนตายก่อน จะต้องเขียนหนังสืออย่าทิ้งไว้ในโลง เพื่อมิให้ผีเมียเก่าตาม
๓. ข้อห้ามคำสอนเกี่ยวกับการเลือกคู่ครองและการครองเรือน ได้แก่
-ห้ามเลือกหญิงที่มีเชื้อ (ผีกะสือ ผีปอบ)
-ห้ามเลือกหญิงขวงผัว (กินผัว) ซึ่งมีลักษณะที่เรียก ว่า วัวเลีย
สี่จักยักหล่ม หญิงประเภทนี้จะต้องแต่งงานกับชายที่มีปานที่ของลับ ถือว่าจะเคล็ดกันและมักจะไม่มีบุตร
-ห้ามเลือกผู้ชายเที่ยว กินเหล้า เล่นการพนัน จะทำให้ฉิบหาย
-การเลือกคู่ ต้องดูดวงของหญิงชายให้สมพงศ์กัน
-เวลาลงขวง ต้องบอกผีเรือนก่อน
-ถ้าหญิงชายล่วงเกินกันมากกว่าจับมือถือแขน ต้องขอขมาผีเรือน
-ถ้าหนีตามกันไป ต้องขมาผีเรือน จึงจะรับเข้าผีของตน
-ห้ามแต่งงานในเดือนที่มีจันทรคราส
-ห้ามทำของแตกหรือทะเลาะกันในงานแต่งงาน จะทำให้อยู่ด้วยกันไม่ยืด
-ห้ามหญิงด่าสามี ถือว่าทำกินไม่ขึ้น ไม่เจริญ
-ห้ามหญิงทำเสน่ห์เล่ห์กล จะทำให้ตกนรก
-หญิงมีชี้ ถือว่า อิ้นจู๊ ฮู้ลัก บ่ดี จะเกิดอัปรีย์จัญไร
๔. ข้อห้ามคำสอนเกี่ยวกับการสร้างบ้าน ได้แก่
-เวลาจะปลูกเรือน ต้องให้หมอเยื้องดูฤกษ์ยามก่อน
-ห้ามปลูกเรือนคร่อมตอจอมปลวก (ทั้งจอมปลวก ที่ยังมีตัวอยู่และที่ทลายแล้ว)
-ห้ามปลุกเรือนคร่อมบ่อน้ำพุ (น้ำซึมบ่อทราย) ถ้าปลุกถือว่าจะเจ็บไข้ไม่มีความสุข
-ไม้อัปมงคลที่ห้ามนำมาสร้างบ้านแปงเฮือน ได้แก่
๑. ไม้ออกมัน (ไม้ตกมัน)
๒. ไม้ตะเคียน
๓. ไม้ล้มเอง
๔. ไม้ตายซง (ไม้ตายพราย)
๕. ไม้ง่าม
๖.   ไม้โป่งฟ้า (ไม้ใส้กลวง)
๗. ไม้คุณพ่อ หมายถึงไม้ที่ขึ้นอยู่ใกล้ศาลประจำหมู่บ้าน
๘. ไม้คู่ หมายถึงไม้ที่ขึ้นอยู่ชิดกัน เวลาจะเอามาสร้างบ้านให้เอาเฉพาะคนใดคนหนึ่ง เพราะถ้าเอามาทั้งคู่ จะทำให้ผู้อาศัยเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยพร้อมกัน
๙. ไม้เป็ดไซ้ ไก่ตอด ตาใต้ลอด หมูสี ไม่นำมาเป็นเสาเฮือน เพราะจะมีคนมาเบียดเบียน
๑๐. ไม้ตายแล้วล้มอยู่เป็นขอน
ไม้เหล่านี้จะทำให้เดือดร้อน ทำกินไม่ขึ้น อยู่ไม่เป็นสุข เจ็บไข้ได้ป่วยมีคนมาเบียดเบียน
-ตัวบ้านต้องหันหน้าตามตะวันหรือขวางตะวัน ห้ามหันหลังให้ตะวัน
-ขั้นบันไดใช้จำนวนคี่ เช่น ๕ ชั้น
-ขณะปลูกบ้าน ห้ามเอาของขึ้นไปกินบนเรือน ก่อนถึงฤกษ์ขึ้นบ้าน ถือว่าเป็นบ้านร้าง ยังไม่ได้เชิญผีขึ้นเรือน
-ห้ามใช้มีดฟันบันได เพราะเชื่อว่าบันไดมีผีอยู่ จะทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้กระทำ อาจจะหล่นหรือพลัดตกจากบันไดได้
-วันขึ้นบ้านใหม่ ต้องก่อไฟในเตามิให้ไฟดับตลอดคืน เรียกว่าไฟบ้านแสดงว่ามีคนอยู่ ถ้าไฟดับ เจ้าของบ้าน จะไม่ได้อยู่บ้านจะพังทลาย
๕. ข้อห้ามคำสอนเกี่ยวกับอาชีพ แบ่งออกได้เป็น
๕.๑ การเพาะปลูก ได้แก่
-ห้ามผู้ท้าวขอพืชพันธ์ผู้น้อย เพราะถือว่าพืชพันธุ์นั้นจะไม่เจริญงอกงามและสูญพันธุ์
-ห้ามจี่ข้าวเวลาหว่านกล้า ถือว่าต้นข้าวจะเป็นหนอน ต้นข้าวจะร้อน
-เวลาข้าวท้องต้องบอกผีมา
-เวลาเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ให้กู่ขวัญข้าวกับกะล่อมข้าวว่า
“ตกฮอยงัวแต่ปีกาย
ตกย้อยควายแต่ปีก่อน
ฮู้มาไปฮมอยู่ในเย็นเน้อ
ขึ้นเกียนขึ้นล้อไปเฮือนเน้อ
-ห้ามใส่รองเท้าเข้าในลานนวดข้าว แม่โพสพจะไม่พอใจ
-เวลาเอาข้าวขึ้นกะล่อม ให้โห่เชิญแม่โพสพขึ้นกะล่อม
-ห้ามยิ้มเวลาปลูกข้าวโพด เมล็ดข้าวโพดจะห่าง
-เวลาต้นไม้มีดอกช่อ ห้ามชี้ จะทำให้ผลไม้เน่า
-ถ้าต้นไม้ไม่ตกผล เวลาเกิดจันทรคาส ให้เอาสากไปตำต้น และพูคคำหยาบๆ ที่ทำให้เกิดลูก
๕.๒ การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่
-ห้ามเลี้ยงหมู สี่กีบ ห้ากีบ
-ห้ามผู้ท้าวขอพันธุ์สัตว์เลี้ยงจากผู้น้อย ถือว่าจะทำให้สัตว์สูญพันธุ์
-ห้ามพี่เอาสัตว์ของน้องไปเลี้ยง แต่ถ้าน้องขอสัตว์ของพี่ไปเลี้ยงได้
-ห้ามนำวัวควายไปเลี้ยงในวัด ถือว่าบาป
-ถ้าวัวควายเข้าบ้านผู้อื่นที่ไม่ใช่ผีเดียวกัน เจ้าของบ้านจะต้องบอกผีบ้านเสียก่อน มิฉะนั้นจะทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย เจ้าของวัวควายจะต้องทำพิธีขอขมาผีเรือน เพราะว่าผีทักทาย
๕.๓ การล่าสัตว์ เวลาไปล่าสัตว์ มีข้อห้ามคำสอนดังนี้
-ห้ามเอามือไพล่หลัง ถือว่าขัดลาภ
-ห้ามคุยเรื่องหนุ่มสาวและความรัก ถือว่าขัดลาภ
-ห้ามพูดว่าหนักจริง
-ห้ามพูดว่าของเท่านี้ เอาไปใส่จะพอหรือ
-เวลาจะไปล่าสัตว์ ให้ดูเวลาฤกษ์ยามที่มีลาภ
-ห้ามใช้ปืนกระบอกที่ใช้ฆ่ากันมาแล้ว ถือว่าจะมีการฆ่าฟันกันตาย
-ห้ามใช้ปืนยิงสัตว์เล่น
-เวลาเข้าป่าล่าสัตว์ ต้องมีของไปเซ่นเจ้าป่าเจ้าเขา เจ้าที่เจ้าทาง เสร็จแล้วจึงจะเข้าป่าล่าสัตว์ได้
-ก่อนล่าสัตว์ ต้องทำพิธีบอกเจ้าป่าเจ้าเขา เพื่อขอสัตว์จากเจ้าป่าเจ้าเขา
-ห้ามข้ามปืนที่ใช้ล่าสัตว์ เพราะจะทำให้มนต์เสื่อม และขัดลาภ ถ้าข้ามปืนนั้น จะต้องทำพิธีแปงขวัญก่อน จึงจะนำไปใช้ได้
-เมื่อยิงสัตว์ได้แล้ว ต้องเซ่นผีประจำปืนก่อน เพราะเชื่อว่ามีผีประจำปืนล่าสัตว์ทุกกระบอก
-ข่ายดักสัตว์ต้องทำพิธีเซ่นก่อนนำไปใช้ดัก
-ห้ามหมู เป็ด ไก่ และสัตว์ต่างๆ ข้ามข่าย เพราะถือว่ามนต์เสื่อมและขัดลาภ
๕.๔ อาชีพอื่นๆ
-ห้ามผู้ท้าวขายของให้ผู้น้อย นอกจากผู้ท้าวด้วยกัน
-ห้ามออกทะเลเวลาฟ้ามัว
-ถ้าฟ้าแดง ปลาทูจะขึ้น
๖. ข้อห้ามคำสอนประเภทเบ็ดเตล็ด
-คนมาค้างบ้าน คนหรือสัตว์มาผิดเรือน ต้องบอกผีเรือน มิฉะนั้นจะทำให้เจ็บไข้
-ห้ามข้ามแม่เตาไฟ เพราะจะทำให้เดือดร้อน
-ห้ามนั่งคาบันได เพราะจะทำให้เกิดทุกข์ในครอบครัว ถ้าเป็นหญิง ห้ามนั่งคาบันได เพราะจะออกลูกยาก
-ห้ามนั่งคาประตู ถือเช่นเดียวกับคาบันได
-ห้ามนอนหน้ากะล่อมข้าว ถือว่าขวางทางเข้าออกของแม่โพสพ
-ห้ามนอนกินข้าว เชื่อว่าเกิดชาติหน้าจะเป็นงูเหลือม
-ห้ามเหยียบธรณีประตู เพราะถือว่ามีผีธรณี
-ห้ามเล่นแม่บันได ผีกะไดจะผลักตก
-ห้ามนอนเวลาตะวันกำลังจะตกดิน ถือว่าไม่ดี
-ห้ามนอนใต้ขื่อ ผีจะอำ
-ห้ามตำครกเปล่า ถ้าครกแตกแม่ธรณีจะสูบ
-ห้ามเอาช้อนเคาะชามข้าวเวลากินข้าว ถือว่าจะร้อนถึงแม่โพสพ แม่โพสพจะตกใจ
-ห้ามเล่นข้าวสาร
-ห้ามร้องเพลงในครัว จะมีผัวแก่
-ห้ามซ้อนชามเวลากินข้าว ถือว่าจะใช้หนี้ใช้สินไม่หมด เมียจะมี-ชู้ จะมีรักซ้อน
-ห้ามเล่าความฝันขณะกินข้าว (ห้ามเล่นกวมขวัญในปานเข่า)
-ห้ามคนไข้กินขนุน ถือว่าแสลง
-ห้ามเลือดตกใส่ข้าวสุก
-ห้ามกินของที่รับฝากไว้ จะทำให้คอพอก
ห้ามตีพ่อแม่ จะทำให้ตกนรก
-ห้ามฆ่าครูบาอาจารย์ ถือว่าเป็นบาปและไม่เจริญ
-ห้ามเดินทางเวลาจิ้งจกทักขณะลงจากเรือน ถ้าไปจะเกิคอุบาทว์
-ห้ามผิวปากเวลากลางคืน
-ห้ามตากผ้านอกบ้านในเวลากลางคืน ถือว่าเหมือนป่าแห่ว
-ห้ามเด็กกินเครื่องในไก่ จะทำให้โง่ แต่กินตับด้ แก้ตาฟาง
-ห้ามกินกล้วยแฝด จะทำให้มีลูกแฝด
-ห้ามขี่หมา
-ห้ามไกวเปลเปล่าๆ แม่ซื้อจะตกใจและหนีหาย เด็กจะกวน
-ห้ามบิดผ้าออม เด็กจะบิดตัว
-ห้ามลับมีดเวลากลางคืน จะมีคนตาย
-ห้ามเล่นมีด ผีจะผลัก
-ห้ามสระผมเวลาตะวันจะตกดิน ถือว่าไม่ดี ผีขวัญ จะตกใจ เจ้าตัวจะเป็นไข้
-ห้ามเขกหัวเด็ก ผีขวัญจะตกใจ ต้องแปงขวัญ
-ห้ามเล่นซ่อนหาเวลากลางคืน ผีจะลักซ่อน
-ห้ามใส่กางเกงร่วมกัน จะเกลียดกัน (เพื่อนๆ พี่น้อง)
-ห้ามสามีภรรยาใส่เสื้อร่วมกัน
-จิ้งจกหล่นลงมาถือว่ามีโชค แต่ถ้าจะทำการใดหรือเดินทางถือว่าไม่ดี
-ห้ามปลูกต้นลั่นทม และคนพิกุลในบ้าน
-ถ้าเห็นดาวหาง บ้านเมืองจะเดือดร้อน เกิดศึก ข้าวยากหมากแพง
-ตักบาตรร่วมขันจะได้อยู่ร่วมกันในชาตินี้หรือชาติหน้า
-ทำดีจะได้ขึ้นสวรรค์ ทำชั่วจะตกนรก
-ห้ามดมดอกไม้ก่อนถวายพระ เชื่อว่าจะทำให้จมูกใหญ่จมูกโหว่
-ห้ามนำดอกไม้ขี้แร้งขี้กาไปถวายพระ ถือว่าจะมีกลิ่นสาป ให้ถวายพระด้วยคอกไม้หอม ชาติหน้าจะได้เกิดมาสวยงาม มีกลิ่นหอม
-พระมาบ้านถือว่าดี จำนวนกี่องค์ก็ไม่ถือ
-ห้ามขี้เยี่ยวในวัด ถือว่าบาป
-วัวควายห้ามนำไปเลี้ยงในวัด ถือว่าบาป
-ห้ามชายหญิงไปล่วงเกินในวัด เพราะจะทำให้เป็นหงิกง่อย
-ล่าฆ่าคนอื่นตาย จะตกนรก
-ห้ามใส่เสื้อฅิคดุมข้างหลัง ถือว่าเป็นเสื้อผี
-เวลาฆ่าหมูเสนเฮือน ให้เอาเลือดหมูไปทาแม่บันได เชื่อว่าเป็นการบอกทางให้ผีเรือนที่เชิญมาจากบ้านอื่นได้รู้จักบ้านที่เชิญ และเป็นการบูชาผีบันไดด้วย
-ผีในบ้าน มีผีเรือน ผีบันได ผีแม่ธรณี แม่เตาไฟ ผีกะล่อมข้าว และผีนอกบ้าน มีศาลเจ้าพ่อในหมู่บ้าน เจ้าที่เจ้าทาง ต้องเคารพกราบไหว้บูชา
-ผ่านศาลต้องเปิดหมวก ทำความเคารพ
-ขนมถวายศาลเจ้าพ่อให้กับเด็กๆ กิน แจกทานคนจน ถือว่าดีเป็นมงคล
ในหนังสือวรรณกรรมลานนาไทย เรื่องพรหมจักร การศึกษาเชิงวิเคราะห์ ประคอง กระแสชัย ไค้ศึกษาค้นคว้าความเชื่อในวรรณกรรมไว้หลายประการดังนี้
๑. ความเชื่อทางพุทธศาสนา ชาวลานนาไทยส่วนใหญ่ นับถือพุทธศาสนามาช้านาน พุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อความเชื่อของชาวลานนาไทยเป็นอย่างมาก ความเชื่อทางพุทธศาสนาที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องพรหมทัต มีดังนี้
๑.๑ ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม คือ หลักธรรมที่ถือว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ตามหลักพุทธศาสนา บุคคลทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับผลกรรมนั้นตอบสนอง ไม่มีทางจะหลีกหนีไปได้พ้น จะใช้กรรมดีลบล้างกรรมชั่วไม่ได้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนพระสงฆ์ทั้งหลายว่า “ ดูราภิกษุทั้งหลาย อย่าได้กระทำยังกรรมอันเป็นบาปเทอะ อันว่าบาป แลบุญนี้แม่นได้กระทำมากน้อยเท่าใดก็บ่อาจจะหายได้แท้แล”
ตามหลักพุทธศาสนาเชื่อว่า สัตว์โลกทั้งหลายตราบที่ยังไม่สิ้นกิเลส จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด อันเป็นผลให้เกิดความเชื่อมั่น ในชาตินี้และชาติหน้า จุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนาก็คือ นิพพาน อันเป็นการสิ้นสุดแห่งกิเลสทั้งปวง นับว่าเป็นสิ่งประเสริฐสุด ผู้ใดถึงซึ่งนิพพานย่อมหลุดพ้นจากเวรกรรม และหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
๑.๒ ความเชื่อเรื่องการพลัดพรากจากกัน ในวรรณกรรมเรื่องพรหมจักร ได้กล่าวถึงการพลัดพรากจากกันของตัวละครไว้หลายตอน สาเหตุ แห่งการพลัดพรากก็เนื่องมาจากอดีตชาติ ได้ทำให้ผู้อื่นต้องพลัดพรากจากกัน ดังเช่น พระยาพรหมจักร ที่ต้องพลัดพรากจากนางรัตนสีดา ก็เพราะในชาติก่อนได้ทำให้พ่อนกแม่นกต้องพลัดพรากจากกัน
๑.๓ ความเชื่อในเรื่องบุพเพสันนิวาส ความเชื่อนี้แม้จะไม่ใช่ทางพุทธศาสนาโดยตรง แต่จะเป็นความเชื่อที่เนื่องมาจากความเชื่อในทางพุทธศาสนาว่าคนเราตายแล้วต้องเกิดอีก จึงเชื่อกันว่า ถ้าเคยเป็นคู่ครอง กันมาในอดีตชาติ หรือเคยทำบุญร่วมกัน ก็จะได้มาร่วมชีวิตกันอีกในปัจจุบันชาติ ความเชื่อในเรื่องบุพเพสันนิวาสนี้ เป็นความเชื่อที่ผลักความรับผิดชอบในเรื่องการเลือกคู่ครอง ให้ขึ้นกับโชคชะตาที่กำหนดให้มาเป็นคู่กัน
๑.๔ ความเชื่อเรื่องอานิสงส์ การสร้างคัมภีร์ เนื่องจากชาวลานนาไทยมีความเชื่อกันว่า สร้างคัมภีร์ไว้ในศาสนา ทำให้ได้อานิสงส์มาก จึงเป็นเหตุจูงใจให้มีการคัดลอกถ่ายทอดคัมภีร์ใบลานถวายไปตามวัดต่างๆ ในลานนาไทย เฉพาะที่มีอายุเก่าแก่คัมภีร์ใบลานอยู่เป็นจำนวนมาก
ในวรรณกรรมเรื่องพรหมจักร ผู้แต่งได้กล่าวเน้นถึงอานิสงส์การสร้างคัมภีร์ชาดกเรื่องนี้เอาไว้ว่า “แม่นว่าผู้ใด ได้สร้าง (เรื่องนี้) ด้วยตนก็ดี จ้างท่านเขียนก็ดี ได้เทศนา แลได้ฟังก็ดี ยังธรรมอันนี้แล้ว มีคำปรารถนาเอาด้วยประการฉันใด ก็จักสัมฤทธิ์ทุกประการ ตราบเท่าถึงนิพพาน หาทุกข์ บ่ได้ชะแล”
๑.๕ ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ไสยศาสตร์ เป็นวิชาลึกลับ เกี่ยวกับลัทธิปาฏิหาริย์ เวทมนต์คาถาและอำนาจจิต มีอยู่ในคัมภีร์อาถรรพเวท แห่งอินเดีย อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาถรรพ์เวทมนต์คาถาของขลังต่างๆ เรื่องราวของไสยศาสตร์นี้ปรากฏในสังคมมนุษย์เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว การปฏิบัติในทางไสยศาสตร์ เป็นคติความเชื่อของลัทธิไสยศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ
๑. เพื่อให้นำมาซึ่งโชคดี ความสำเร็จ ความสุข และความปลอดภัย เป็นต้น
๒. เพื่อทำลายหรือขจัดสิ่งอัปมงคลและภัยพิบัติต่างๆ
ความเชื่อในสิ่งลึกลับและไสยศาสตร์ ปรากฏให้เห็นเสมอ แม้ในวรรณคดี ไม่ว่าเป็นวรรณคดีไทยหรือวรรณคดีต่างประเทศ
ในวรรณคดีไทย ตั้งแต่สมัยต้นๆ จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งที่เป็นเรื่องพื้นบ้านแท้ๆ ของไทย เช่น ลิลิตพระลอ ไกรทอง ขุนช้างขุนแผน และวรรณคดีที่ได้รับจากต่างประเทศ เช่น รามเกียรติ์ และสมุทโฆษ เป็นต้น มักกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกินปกติวิสัยมนุษย์จะเป็นไปได้ หรือจะบันดาลให้เกิดขึ้นได้ เช่น การเหาะเหินเดินอากาศ การใช้เวทมนต์ให้หลงไหล การอยู่ยงคงกระพัน การแปลงกายเป็นรูปอื่น การบังคับภูติผีปีศาจให้อยู่ในอำนาจและกระทำตามความปรารถนาของผู้มีอำนาจ และกล่าวถึงอมนุษย์ที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ธรรมดา เช่น เทวดา ปีศาจ หรือมนุษย์ที่มีอิทธิฤทธิ์แรงกล้าจนผิดมนุษย์ธรรมดาสามัญเสมอ
๑.๖ การใช้ไสยศาสตร์ ลักษณะเด่นประการหนึ่งที่วรรณกรรมเรื่องพรหมจักรสะท้อนให้เห็นคือ ความเชื่อทางไสยศาสตร์ ดังจะเห็นได้จาก การทำสงครามระหว่างฝ่ายพรหมจักรกับฝ่ายพระยาวิโลหาราช นับตั้งแต่ตอนจะเริ่มยกกองทัพออกทำสงครามก็มีการกระทำทางไสยศาสตร์ เลี้ยงผี อารักษ์ประจำเมือง ทั้งฝ่ายเมืองพาราณสี เมืองกาสี และเมืองลังกา โดยเฉพาะฝ่ายเมืองลังกา พระยาวิโลหาราช ได้ทำพิธีเซ่นสรวงบูชา ลาพรนาสวร อันเป็นผีอารักษ์ประจำเมือง
การรบได้ยืดเยื้อเป็นเวลานานถึง ๑๐ เดือน ก็ไม่แพ้ชนะกัน ฝ่าย พระยาพรหมจักรจึงต้องใช้พิธีทางไสยศาสตร์ทำลายล้างฤทธิ์เดชของพระยาวิโลหาราช โดยทำพิธีเซ่นสรวง ลาพรนาสวร อันเป็นผีอารักษ์ประจำเมืองด้วย เครื่องบูชาตามประเพณี และเมื่อลาพรนาสวร แปลงกายเป็นอีแร้ง ออกมากินเครื่องเซ่น ก็ให้ชายซึ่งไม่เคยมองหน้าผู้หญิงเลยเป็นเวลา ๓ ปี เป็นผู้โก่งธนูยิงลาพรนาสวรให้ตายแล้วให้นำเอาเครื่องอันถ่อย ซึ่งประกอบด้วย ดินติดหากครกกระเดื่อง ดินติดหางหมู และไม้ซีกจากชานเรือน ๓ สิ่งนี้ไป ใส่ไว้เหนือเศวตฉัตรของพระยาวิโลหาราช ครั้นเมื่อถึงเวลารบ ก็ให้ชายผู้ไม่เคยมองหน้าผู้หญิงเลยเป็นเวลา ๓ ปีนั้นเป็น ผู้โก่งธนูยิงพระยาวิโลหาราช
จะเห็นได้ว่า วรรณกรรมเรื่องพรหมจักร ไสยศาสตร์มีส่วนสำคัญในการดำเนินเรื่อง ทำให้เรื่องจบลงในลักษณะที่น่าจะเป็นไปได้ ผู้อ่านผู้ฟังจะรู้สึกพอใจและเชื่อตามผู้แต่ง โดยไม่มีความรู้สึกขัดแย้งใดๆ เนื่องจากว่าไสยศาสตร์ เป็นความเชื่อที่ฝังแน่นอยู่ในความรู้สึกของชาวลานนาไทยมาช้านานแล้ว
๑.๖ การใช้เวทมนต์ สำหรับความเชื่อในเวทมนต์คาถา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของไสยศาสตร์นั้น มีปรากฏในวรรณกรรมเรื่องพรหมจักร ตั้งแต่ต้นจนจบ นับตั้งแต่ตอนที่พระยาวิโลหาราช เหาะไปเที่ยวเมืองสวรรค์และมีจิตปฏิพัทธ์ต่อนางสุธรรมา ชายาของพระอินทร์ จึงได้ใช้ความรู้ทางเวทมนต์ที่ตนมีอยู่แปลงกายเป็นแมลงสาบไปเกาะอยู่ที่ประตูปราสาทของนางสุธรรมา เมื่อพระอินทร์จะเข้าไปร่วมอภิรมย์กับนางสุธรรมา ก็ต้องสาธยายมนต์ทิพย์เพื่อให้กุญแจพันชั้นที่ติดประตูปราสาทหลุดออก พระยาวิโลหาราช อันแปลงกายเป็นแมลงสาบก็อำมนต์ไว้ เมื่อด้โอกาสก็แปลงกายเป็นพระอินทร์ เข้าไปหานางสุธรรมา
๑.๗ ความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นความเชื่อถือในสิ่งลึกลับ ที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ธรรมดา อันจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของไสยศาสตร์ คนโบราณไม่ว่าชาติใด ต่างก็มีความเชื่อในเรื่องนี้กันทั้งนั้น โดยเชื่อว่าเป็นสิ่งมีอำนาจ สามารถบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างมหัศจรรย์ คนไทยเชื่อในอำนาจของสิ่งเหล่านี้มาก จึงแสดงออกให้เห็นในวรรณคดีและตำนานในท้องถิ่นต่างๆ แทบทุกเรื่องในวรรณกรรมเรื่องพรหมจักร ก็ได้สะท้อนให้เห็นความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์หลายตอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวถึงส่วนใหญ่จะเป็นพระอินทร์ และเทวดา ตามลักษณะของชาดก ซึ่งมักจะมีพระอินทร์หรือเทวดาเป็นผู้คอยช่วยเหลือ เมื่อตัว ละครฝ่ายดีได้รับความทุกข์ หรือความเดือดร้อน
คติความคิดเรื่องพระอินทร์และเทวดานี้ ชาวลานนาไทยเชื่อถือตามแบบวัฒนธรรมอินเดียและทางพุทธศาสนา โดยเชื่อว่าพระอินทร์จะสอดส่องทิพย์เนตรดูความเป็นไปในโลกมนุษย์อยู่เสมอ ถ้ากระทำความดีก็จะได้รับพรให้มีความสุข ความเจริญ ถ้าทำชั่วก็จะถูกลงโทษ พระอินทร์ทรงมีอุปนิสัยเมตตา คอยคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม ทรงพาหนะคือช้าง เอราวัณ อาวุธประจำพระองค์มีหลายอย่าง เช่น วชิระ พระพรรค์ ธนู ฅะบอง จักและตรี
ไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงพระอินทร์ว่าเป็นเจ้าแห่งไตรตรึงษ์ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ เป็นสวรรค์ที่ว่ากันว่างดงาม สนุกสนานที่สุด ทรงเป็นเจ้าแห่งจตุโลกบาล ทรงมีบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ซึ่งอ่อนนุ่มยิ่งนัก ถ้าผู้มีบุญได้รับความเดือดร้อนแล้ว แท่นนี้จะวิปริตไปทันที พระอินทร์และ เทวดามีบทบาทช่วยเหลือมนุษย์หรือผู้มีบุญบารมีที่ตกทุกข์ได้ยากเสมอ เช่น คอยช่วยเหลือพระยาพรหมจักรและนางรัตนสีดา เป็นต้น
๑.๘ ความเชื่อเรื่องนรก สวรรค์ ความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันได้แก่ เทพยดาอารักษ์ และพระอินทร์นี้ ก่อให้เกิดนรก สวรรค์ ตามมา เพราะเราเชื่อว่าพระอินทร์ หรือเทวดาจะอยู่บนฟ้าสรวงสวรรค์ ซึ่งมี ๖ ชั้น เรียกว่า ฉกามาวจร ได้แก่ จตุมหาราชิกา ดาวดึงษ์ ยามะ ดุสิตา นิมมานรนดี ปรนิมิต วัสสวดี ซึ่งสวรรค์ชั้นต่างๆ เหล่านี้ เป็นไปด้วยความสุขอันเป็นทิพย์สมบัติ ไม่มีอะไรในโลกมนุษย์จะเทียบเท่าได้
เกี่ยวกับนรกนั้น เชื่อกันว่าอยู่ใต้บาดาลลงไป นรกใหญ่ หรือมหานรก มีทั้งหมด ๘ ขุม ได้แก่ สัญชีพนรก กาลสุตนรก มหาตาปนรก สังฆาฏนรก โรรุพนรก มหาโรรุกนรก ตาปนรก และมหาอวิจินรก หรือที่มักเรียกกันว่า นรกอเวจี
เชื่อกันว่าผู้ที่ตกอเวจี เป็นนรกขุมที่ลึกที่สุด อันจะต้องทนทุกข์ทรมานเป็นเวลา ๑ กัลป์ จึงจะพ้น ผู้ที่จะตกนรกขุมนี้ ได้เเก่ผู้ที่กระทำกรรมอันหนัก คือ อนันตริยกรรม ๕ ประการ ดังนี้
๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท คือทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิต ให้ห้อขึ้นไป
๕. สังฆเภท คือการทำสงฆ์ให้แยกจากกัน ความเชื่อเรื่องพระอินทร์ เทวดาอารักษ์ และนครสวรรค์นี้ เป็นความเชื่อถือที่สืบเนื่องมาจากการสั่งสอนให้คนทำความดี ละเว้นความชั่ว ตามหลักพุทธศาสนา จึงได้ยกเอาเรื่องนรก สวรรค์ พระอินทร์ เทวดาอารักษ์ มากล่าวอ้าง โดยมีวัตถุประสงค์จะให้เป็นเรื่องจูงใจกันให้ประพฤติปฏิบัติแต่ในทางที่ดีที่ชอบ ผู้ที่ได้รับการอบรมสั่งสอน เมื่อจะทำความชั่วก็จะเกิดความกลัวที่จะต้องตกนรก เมื่อทำความดี ก็จะเกิดความอิ่มเอมใจในผลบุญที่ตนจะได้รับ นับว่าเป็นวิธีการอันชาญฉลาดของคนโบราณ เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยควบคุมสังคม ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
๑.๙ ความเชื่อเรื่องยักษ์ ไทยเราคงได้รับอิทธิพล ความเชื่อเรื่องยักษ์มาจากอินเดียเช่นเดียวกับเรื่องเทพเจ้า เพราะไม่เคยปรากฏมียักษ์ตัวจริงเลย คงมีแต่ภาพปั้นหรือภาพวาด ตามจินตนาการของคนสมัยก่อน โดยเชื่อว่ายักษ์ จะต้องมีรูปร่างกำยำใหญ่โตน่าเกลียดน่ากลัว ดุร้าย อำมะหิต มีฤทธิ์เดช และกำลังมาก ผมหยิกมีเขี้ยวงอกออกมานอกปาก ชอบกินคนเป็นอาหาร
ชาวลานนาไทยเชื่อว่า ยักษ์มีจริง มักจะอาศัยอยู่ในป่าลึก สามารถแปลงร่างเป็นหญิงสาวสวยออกมาหลอกล่อให้ชายไปพบเกิดความหลงใหล ครั้นแล้วยักษ์ก็จะจับกินเป็นอาหาร ในวรรณกรรมเรื่องพรหมจักร มีความเชื่อเรื่องยักษ์นี้ ปรากฏอยู่ในตอนที่พระยาพรหมจักรขออนุญาต พระบิดามารดา ออกเดินทางแสวงหานางคู่บุญ พระบิดาทรง
ห้าม โดยชี้แจงให้เห็นถึงภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะเดินทาง
๑.๑๐ ความเชื่อเรื่องของวิเศษ ตัวละครในวรรณกรรมเรื่องพรหมจักรมักมีของวิเศษประจำตัวทั้งนั้น เช่น พระยาวิโลหาราช มีของวิเศษติดตัวมาตั้งแต่เกิด ๓ อย่าง คือ ดาบศรีกัญไชย ธนูทิพย์ และเกือกทิพย์ สำหรับเกือกทิพย์นี้ มีคุณวิเศษ คือ เมื่อสวมเข้าไปแล้วสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ พระยาวิโลหาราชจึงได้ใช้ของวิเศษเหล่านี้พาเหาะไปเที่ยวชมเมืองต่างๆ ตลอดทั้งเมืองครุฑ เมืองนาก แม้กระทั่งเมืองสวรรค์
ส่วนอาวุธวิเศษของพระยาพรหมจักร ได้แก่ดาบศรีกัญไชย ซึ่งเป็นดาบวิเศษและธนูสิงค์อันทรงฤทธิ์ มีความแข็ง เกินกว่าชายพันคน จะขึ้นสายได้ ธนูอันนี้เป็นธนูที่พระอินทร์นำมาประทานพระฤาษี สำหรับนำไปให้กษัตริย์ร้อยเอ็ดหัวเมือง ที่มาขอนางรัตนสีดา ได้ทดลองขึ้นสาย พระยาพรหมจักรขึ้นสายธนูได้ และน้าวยิงไปที่ก้อนหินใหญ่ มีผลให้ก้อนหินแหลกเป็นจุณไป ส่วนลูกธนูก็เวียนอ้อมป่า ๓ รอบ แล้วกลับเข้าไปอยู่ในแหล่งดังเดิม พระฤาษีจึงยกนางรัตนสีดาให้พร้อมทั้งมอบธนูสิงค์ให้เป็นอาวุธคู่พระหัตถ์ด้วย
๑.๑๑ ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งแก้เสนียดจัญไร และอาถรรพ์ ชาวลานนาไทยมีความเชื่อต่อกันมาจนทุกวันนี้ว่า “ส้มป่อย” เป็นสิ่งที่ใช้แก้เสนียดจัญไร และแก้อาถรรพ์ได้
“ส้มป่อย” เป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ใบเป็นฝอยคล้ายใบชะอม ส่วนฝักมีลักษณะแบนๆ เป็นข้อๆ เหมือนฝักกระถิน แต่หนาและแข็งกว่า เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล เวลาจะใช้ก็เอาผักส้มป่อยเผาไฟพอไหม้แล้วนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ น้ำส้มป่อยจะออกเป็นสีเหลืองอ่อนๆ แล้วจะเอาน้ำส้มป่อยนี้ ลูบศีรษะ เป็นการแก้เสนียดจัญไร เชื่อกันว่าแม้บุคคลที่ถือเวทมนต์คาถาสักตามตัวเพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน หากไปลอดใต้สิ่งที่จะทำให้ความขลังเสื่อมไป เช่น ลอดใต้ถุนบ้าน ใต้ร้านบวบ ใต้เครือกล้วย หรือราวตากผ้า ก็จะใช้ส้มป่อย อาบหรือลูบไล้ตามลำตัว ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์คืนมาเหมือนเดิม
ในพิธีมงคลทางลานนาไทย สิ่งที่จะขาดไม่ได้ คือ ส้มป่อย เพราะนำมาแช่น้ำให้เกิดอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ใช้ประพรมขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้เกิดศิริมงคลแก่บุคคล และสถานที่
ในวรรณกรรมเรื่องพรหมจักร มีความเชื่อเกี่ยวกับคุณวิเศษของส้มป่อย ในตอนที่ลูกควายต่อสู้กับพ่อควาย โดยกล่าวว่าขณะที่สู้กับพ่อควาย ลูกควายกำลังยังไม่คงที่จึงถอยไปชนต้นส้มป่อย ฝักส้มป่อยก็หล่นลงมาถูกหัวลูกควาย ทำให้ลูกควายมีกำลังเพิ่มขึ้น และได้โถมเข้าขวิดพ่อควาย จนพ่อควายถอยไปชนต้นมะขามป้อมๆ จึงหล่นลงมาถูกตัวพ่อควาย ทำให้พ่อควายถอยกำลังลง เลือดก็ไหลโทรมไปทั้งตัว ในที่สุดพ่อควายก็ต้องพ่ายแพ้แก่ลูกควายจนถึงแก่ความตาย
๑๑.๑๒ ความเชื่อทางโหราศาสตร์ ความเชื่อทางโหราศาสตร์ เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการทำนายอนาคต ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการทำนายเหตุการณ์ในอนาคต ได้แก่ โหร คำทำนายของโหรเป็นความจริงที่ผู้ยึดถือจะต้องเชื่อ วรรณกรรมเรื่องพรหมทัตสะท้อนให้เห็นความเชื่อทางโหราศาสตร์ในแง่ต่อไปนี้ คือ
-ความเชื่อในเรื่องฤกษ์ยาม
-ความเชื่อในเรื่องโชคชะตา
-ความเชื่อในเรื่องความฝัน
-ความเชื่อในเรื่องฤกษ์ยาม เป็นความเชื่อที่มีมาแต่โบราณสืบเนื่องมาจนกระทั่งทุกวันนี้ เป็นความเชื่ออาศัย การคำนวณทิศทางของดวง ดาว โดยเชื่อว่าทิศทางของดวงดาวจะมีผลต่อชีวิตของมนุษย์ในเวลาที่จะกระทำมงคล หรือจะออกเดินทาง จึงมักนิยมดูฤกษ์ยามเสียก่อน เพื่อความเป็นศิริมงคลให้ประสบโชคชัย ปราศจากภยันตรายทั้งปวง วรรณกรรมเรื่องพรหมจักร สะท้อนให้เห็นว่าชาวลานนาไทย มีความเชื่อในเรื่องฤกษ์ยามเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะกระทำการสิ่งใด ต้องทำในวันฤกษ์ยามดี
-ความเชื่อในเรื่องโชคชะตา เรามักจะเชื่อกันว่า คนจะโชคดีหรือร้ายขึ้นกับชีวิตของตน โหรจะเป็นผู้มีบทบาทในการทำนายโชคชะตา สิ่งนี้จึงฝังแน่นอยู่ในใจของคนไทยตลอดมา การทำงานการทุกอาชีพ มักจะพูคถึงโชคชะตาเสมอ
-ความเชื่อในเรื่องความฝัน ชาวบ้านมีความเชื่อ เรื่องความฝันว่าเป็นเครื่องบอกเหตุล่วงหน้าได้ เมื่อจะเกิดเหตุการณ์สำคัญ
สรุปความ
ความเชื่อเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ทุกรูป ทุกนาม มีความคิดนึกเชื่อถือทั้งส่วนนามธรรม และรูปธรรม สมัยโบราณความเชื่อมักจะเกิดขึ้นจากความคิดคำนึงว่าสิ่งนี้จะต้องให้ผลอย่างนี้ สมมติธรรมชาติ เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง เป็นเทพเจ้าบันดาล มาถึงสมัยปัจจุบันความเชื่อของคนรุ่นก่อนได้รับการศึกษาและเปรียบเทียบด้านวิทยาศาสตร์หลาย ประการ ทำให้เห็นความจริงของธรรมชาติ และคลายความศักดิ์สิทธิ์ลงไปเป็นอันมาก
ความเชื่อ มีการกำหนดหัวข้อไว้แตกต่างกันตามความคิดเห็นของบุคคลผู้ศึกษาค้นคว้า ทำให้เกิดคำสอนขึ้นสำหรับ เป็นข้อห้ามและข้อปฏิ บัติของคนไทยภาคต่างๆ มีลักษณะเหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้างตามสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ และการเกี่ยวข้องกับชนชาติอื่นในประเทศข้างเคียง
อย่างไรก็ตาม ลักษณะข้อห้าม ความคิด ขึด และ ขะลำ ที่ปรากฏในคำสอนและข้อห้ามของคนไทยแต่ละภาคนั้น เป็นสิ่งที่ท้าทายต่อดวงปัญญาและความคิดของคนสมัยใหม่อย่างยิ่ง ด้วยสิ่งเหล่านี้รอการศึกษาวิเคราะห์วิจัยว่า แต่ละข้อมีความมุ่งหมายอะไรซ่อนเร้นอยู่ หากมีการศึกษาดู จะได้ทราบเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษว่า ข้อห้ามและคำสอน เหล่านั้นทรงคุณค่าต่าสังคมประการใด
ที่มาโดย:อาจารย์มณี  พยอมยงค์
คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ข้อห้ามของชาวภาคใต้

ความเชื่อของคนภาคใต้ มีหลายอย่างที่ตรงกับภาคอื่นๆ แต่ละเรื่อง อาจบอกเจตนาต่างกันไป ดังตัวอย่าง
๑. ห้ามเคาะปากหม้อด้วยจวัก (เชื่อว่าเกิดชาติหน้าปากจะแหว่ง)
๒. ห้ามใช้สากตำครกเปล่า (เชื่อว่าจะทำให้นมยาน)
๓. ห้ามนำข้าวลงคลุกครกตำน้ำพริก (เชื่อว่าถ้ามีลูก จะปากหนา)
๔. ห้ามเดินข้ามมีดพร้าหรือของมีคม (เชื่อว่าจะทำให้สิ่งของนั้นคมเสีย)
๕. ห้ามกินของฝาก (ชื่อว่าจะทำให้คอพอก)
๖. ห้ามขว้างสิ่งของจากข้างล่างขึ้นบนเรือน (จะทำให้สิ่งไม่ดีเข้าบ้าน)
๗. ห้ามปลูกต้นไม้ไว้ใกล้บ้าน (เชื่อว่าจะเป็นเสนียด
จัญไร)
๘. ห้ามนั่งขวางบันได (เชื่อว่าจะคลอดลูกไม่ออก)
๙. ห้ามโพกหัวเข้าวัด (เชื่อว่าหัวจะล้าน)
๑๐. ห้ามกินก่อนคนแก่ (เชื่อว่าชาติหน้าจะเกิดเป็น
หมา)
๑๑. ห้ามกินกล้วยแฝด (เชื่อว่าจะมีลูกแฝด)
๑๒. ห้ามร้องเพลงในครัว (เชื่อว่าจะได้ผัวแก่)
๑๓. ห้ามขี่หมา (เชื่อว่าฟ้าจะผ่า)
๑๔. คนเป็นแผลเน่าเปื่อยห้ามไปเผาศพ (เชื่อว่าแผลจะเน่าเปื่อยยิ่งขึ้น)
๑๕. ห้ามเก็บดอกไม้ในวัด (เชื่อว่าตายไปจะตกนรก)
ที่มาโดย:อาจารย์มณี  พยอมยงค์
คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ความเชื่อเกี่ยวกับข้อห้ามและข้อควรประพฤติของคนไทย

คนไทยภาคต่างๆ มีความเชื่อที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษ แตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศ การเชื่อถือแต่ละลักษณะ ที่คล้ายคลึงกัน ทางวัฒนธรรม เช่น ภาคเหนือ ภาคอีสาน มีความคล้ายคลึงกัน ความเชื่อและการถือ ภาคกลางและภาคใต้มีความคล้ายคลึงกันด้านความเชื่อถือข้อนี้เนื่องมาจาก การยอมรับเอาวัฒนธรรมของกันและกันในอดีตนั่นเอง
สิ่งที่ถูกห้ามมิให้กระทำ หากทำไปก็จะไม่ถูกต้อง ผิดกฎหรือระเบียบข้อบังคับของสังคม ประชาชนถิ่นต่างๆ ของไทยจะเรียกความผิดนั้นต่างกันตามท้องถิ่น
-ภาคเหนือ เรียกสิ่งที่ไม่ควรกระทำว่า “มูลขึด” หากกระทำลงไปจะถูกขึด คือ สิ่งที่ชั่วร้ายไม่ดี จะ “แพ้” ลูกหลาน หมายถึงจะทำให้ฉิบหาย วอดวายแก่ลูกหลานในวันข้างหน้า
-ภาคอีสาน เรียกสิ่งที่ไม่ควรทำว่า “ชะลำ” หากทำลงไปจะถูก “ขวง” คือ สิ่งที่ชั่วร้าย
-ภาคใต้ เรียกสิ่งที่ไม่ควรทำว่า “ต้องห้าม” หากทำลงไปจะเป็นเสนียดจัญไร ไม่ดี
-ภาคกลาง เรียกสิ่งที่ไม่ควรทำว่า “ผิด” หากกระ¬ทำลงไปจะทำให้เดือดร้อนใจในภายหลัง เช่น ผิดกฎ ผิดใจ ผิดจารีต
ลักษณะความผิดอันเกิดจากการที่ไม่ทำตาม หรือห้าม แล้วทำในสิ่งที่ห้ามนั้นของภาคต่างๆ มีความคล้ายคลึงกัน จุดประสงค์ของผู้ใหญ่ก็จะห้ามตรงๆ หรือจะชี้แจงก็เสียเวลา เพราะคนบางคนพูดเข้าใจยาก หรือบางคนฟังไม่รู้เรื่อง จะมัวมานั่งอธิบายเป็นอย่างๆ ไป โดยละเอียดแจ่มแจ้ง ย่อมไม่ได้ ดังนั้น คนโบราณจึงคิดหาวิธีการให้เด็กเห็นความมีอาถรรพ์ หรือเกิดการคาดคะเนว่าจะเป็นพิษเป็นภัยกับตนอย่างร้ายแรง จึงไม่ฝ่าฝืนกระทำอะไรตามอำเภอใจ คนแก่จะพยายามปลูกศรัทธาความเชื่อให้มาก
ตัวอย่างขึดของลานนาไทย
ในคำอันบ่ควรรีตม้าง มี ๔ ประการ เป็นดังคาถาว่า ปัญญนํ วจนํ คุรุมรณํ ราชวิจาเร โอหกํ ปติตํภุมฺเม สฺพฺพเภทนาลํ วุตฺตํ ดังนี้ วุฏานํ วจนํ คุรุ คือว่าคำผู้เฒ่าผู้แก่แต่งแปงไว้ ๑ มรณํ ราชวิจาเร คือ ว่าคำผู้ตายสั่งไว้ ๑ มรณํ ราชวิจาเร คือ ว่าคำผู้ตายสั่งไว้ ๑ แลจ่าเมืองได้พิจารณาแล้ว ๑ โอทกัปติตํ ภุมฺเม คือ ว่าคำอันใดหยาดน้ำตกดิน ๑ คำทั้งหลาย ๔ จำพวกนี้เป็นอันหนักนัก บ่ควรรีตม้างเสียแล เทวดารักษาตนเอง มี ๔ ตน ตนหนึ่งชื่อ อุตฺตโม อยู่รักษาปลายบนหัว ตนหนึ่งชื่อว่ากัมมะชีโว รักษาแขนขวา ตนหนึ่งชื่อสัพโย รักษาแขนซ้าย ตนหนึ่งชื่อ ทักขิโณ รักษาปลายตีน แล
สิทธิการ จักกล่าวอันดีและบ่ดี กระทำหื้อคนทั้งหลาย รู้ง่ายด้วยง่ายดีหลี และบ่ดี กาง มี ๓ จำพวก ยังเรือน คือ ว่ากางผ้าดังข่อธุงฉัตรนั้น ๑ ปักช่อธุง ๑ ผืน ผู้หญิงกาง ๑ มี ๓ ประการนี้แล
บ่ดีปกแปงตั้งยืนไว้ มี ๓ ประการ คือว่าฉัตรขาว ๑ ขุดดอกหลักแปงเรือน ๑ อย่าฝังก้อนเส้าเตาไฟหิงไว้ยังเติ๋น ๑ แล
บ่ดีมีกวง ๓ ประการ คือว่าเสาเรือนเดียว เสายาวพ้นคา ออกขื่อแป นี้แล
บ่ดีตั้งยืนไว้ มี ๓ ปร ะการ คือว่าข้าวบ่มียังครกเอาสากใส่ไว้ ๑ บ่ใส่ข้าวน้ำเทื่อพ้อยเอาหม้อตั้งไว้ ก้อนเส้า ๑ วันออกเรือนปกฝาไว้ ๑ มีประการนี้แล
บ่ดีควรแห้งเสีย มี ๓ ประการ คือว่าน้ำซ่วยตีน ๑ หม้อยองแลโอ คือว่าหม้อดอกบูชานั้น ๑ ไหน้ำกิน ๑ แล
บ่ควรดีหื้อมันดัง มี ๓ ประการ คือ เมื่อกินข้าวบ่ควรหื้อถ้วยและโตกดังฟัดกัน อย่าเอาไม้ด้ามข้าวถัมถ้วยดัง น้ำต้นกินเมื่อวางไว้ บ่ดีหื้อดัง
บ่ดีตาก มี ๓ ประการ คือว่าภายวันออกเรือนมีหน้าก็ดี ปลายรั้วบ่ดีตากผ้า เสื้อ ซิ่น หมอนหนุน ๑ หน้าเติ๋น เรือนผู้หญิงบ่ดีตากผ้านุ่ง ๑ เมื่อยามดำหัว บ่ดีถอดเครื่องตัวออกตากแดด ๑ แล
บ่ดีกวนกัน มี ๓ ประการ คือ บุงฉางถั่ว งา ข้าวสาลี ใส่กระบุงฉางดีแล้วภายลูนมาพ้อยมากกวนกัน ๑ ข้าวจักกิน ใส่ถ้วยสะโตกอยู่ก่อนแล้ว ภายลูนพ้อยมาค้นก๋วนเอาด้ามข้าวลงคน ๑ น้ำหม้อกินเอาบวยลงแกว่ง ๑ นี้แล้ว
บ่ควรซ่วย มี ๓ ประการ คือ แม่มานซ่วยตีนน้ำให กิน ๑ ล้างถ้วยช้อนในขันโตก ๑ เอาหม้อข้าวมาตักน้ำ มาจะหุงพ้อยเอาซ่วยตีน ๑ นี้แล
บ่ดีโย่งขึ้น มี ๓ ประการ คือว่าลูกอ่อนน้อย ๑ แคร่ ตามไฟ ๑ ผ้านุ่งตัวแก้แล้วโย่งขึ้น ๑ นี้แล บ่ดีอ้างมี ๓ ประการ คือ ว่าคำโกธะเคียค ๑ แรงตัว ๑ เข้าข้องตัว ๑ นี้แล
บ่ดีควรผ่อดู มี ๓ ประการ คือ คนขี้ลักผูกราชวัตร ๑ เข้าของท่าน ๑ ครูบาพ่อแม่ ด่าสั่งสอน ๑ บ่ควรผ่อ
บ่ควรลื่นลวน มี ๓ ประการ คือ พระเจ้าธรรมเทศนา ๑ ครูบา พ่อแม่ท้าวขุน ๑ เมียขุน ๑ นี้แล
บ่ดีเดียดด่า มี ๓ ประการ คือ ฟ้าฝน แดดลม ๑ เจ้านาย ครูบา พ่อแม่ ๑ มิตรแก้วสหายคำ ๑ นี้แล
บ่ดีหนาบ บ่ดีต่อมี ๓ ประการ คือว่าหมวกสุบหัวไปเศิ้กขาด ๑ คอเสื้อขาด ๑ มอง บุง ด้ง สาดนอน ตางตวง ๑ นี้แล
บ่ดีหยิบ มี ๓ ประการ คือว่าคาดหัวขาด ๑ ผ้าอาบขาด ๑ คอเสื้อขาด ๑ นี้แล บ่ดีเพิ่งร่มเงามี ๓ ประการ คือ ว่าร่มพระเจ้า พระธาฅุ ๑ เพิ่มร่มคนดั่งกัน ๑ ร่มช่อฉัตรธุง ๑ นี้แล
ที่ควรดีเพิ่งมี ๓ ประการ คือว่าท้าวขุนใหญ่ ๑ ท่าน มีเจ้าของ ๑ ผู้มีผญา ๑ นี้แล
บ่ควรข้ามย่ำมี ๓ ประการ คือว่าสากตำข้าวว ตำพริก เกลือ ๑ เรือนภายวันออก ๑ หัวคนถ่อยง่าว ๑ นี้แล
บ่ควรดีหัก มี ๓ ประการ คือว่าฮาวขั้นใด ๑ เชือก หวายสะเดียง ๑ ขัวไต่ ๑ นี้แล
บ่ดีข้ามเงามี ๔ ประการ คือว่าพระเจ้า พระธาตุ พระธรรม สงฆ์ ท่านผู้มีอายุยืน พ่อแม่ ครูบา ๑ หน่อ โพธิสัตว์ ขุนใหญ่ ๑ ท่านผู้มีปัญญามีคุณมาก ๑ นี้แล
บ่ดีปกไว้ มี ๓ ประการ คือว่าดอกมีเหมื้ยง ๑ ตาหีบ มีจิ๊น ๑ ก๋วย บุง ฝ้ายยวง ๑ นี้แล
บ่ดียัดใส่แถม มี ๓ ประการ คือว่าหมอห้วเกล้า ๑ น้ำต้นกินบ่เสี้ยงใส่แถม ๑ จีไฟเก่าใส่แถมใหม่ ๑ นี้แล
บ่ดีหยุบกำดู มี ๓ ประการ คือว่าคนจักตายวางจิต ๑ หุงข้าวหื้อผีตายกินสุกบ่สุก ๑ อุ่นน้ำอาบผีว่าร้อนบ่ร้อน ๑ นี้แล
เมืองเป็นโยช มี ๓ ประการ คือว่าเจ้าเมือง ๑ สังฆะ ๑ แม่ญิง ๑ นี้แล
บ่ควรดีถามมี ๓ ประการ คือว่าเมื่อหลับตื่นลุก ๑ เมื่ออิดพัก ๑ เมื่อโคะกำเคียด ๑ นี้แล
บ่ควรเสียลืมมี ๓ ประการ คือว่าเมื่อจักเข้านอนไหว้พระเจ้า ๑ ลุกเมื่อเช้าซ่วยหน้าแล้วไหว้พระเจ้า ๑ ใส่ข้าวปูจา ๑ นี้แล นัยยะหนึ่งว่า จำศีล ๑ เมตตาภาวนา ๑ คนรักกัน ๑ นี้แล
บ่ควรดีเชื่อใจ มี ๔ ประการ คือว่าท้าวขุน ๑ ดิน น้ำ ลมไฟ ๑ เมีย ๑ ศัตรู ๑ นี้แล
หื้อกองหา มี ๓ ประการ ดือว่าผญาจักมาบังเกิด ๑ เข้าของสัมปัตติ ๑ คนพู่จาดี ๑ นี้แล
สัปุริสะเจ้าทั้งหลายถือว่า คือว่าท่านผู้อื่นกระทำร้ายแก่ตัวแล้ว บ่ขอดกรรมเวรตอบ ๑ กระทำหื้อท่านฉิบหาย ๑ และหื้อต่ำยอบเสียตัว ๑ นี้แล
บ่ควรหื้อรู้ มี ๓ ประการ คือว่าศัตรูเก่า ๑ ท่านผู้อื่น ๑ เมีย ๑ นี้แล
บ่ควรดีเอาใจใส่ คือว่าอันจักไปอุบาย ๑ กินเหล้าเมา พ้นประมาณ ๑ มักแอ่วหยอกเมียท่าน ๑ นี้แล
บ่ดีใคร่ได้มี ๓ ประการ คือว่าท่าน ๑ เข้าของท่าน ๑ ท่านเป็นดีมีคำอิจฉา ๑ นี้แล
บ่ควรนั่งมี ๓ ประการ คือว่าผู้ที่ใหญ่ ครูบา พ่อแม่ ๑ ที่มะละมลทิน ๑ กลางทาง ๑ นี้แล
หื้อกามคุณบ่ดีมี ๓ ประการ คือว่าวันศีลใหญ่ ๑ วัน เกิดตัว ๑ เมื่อวัน ๑ นี้แล บ่ควรกิน มี ๓ ประการ คือว่าของพระเจ้า พระธรรม สังฆะ ๑ ข้าวพระเจ้า ๑ แม่กำลัง ๑ นี้แล
บ่ดีดม มี ๓ ประการ คือ ดอกปูจาพระเจ้า ๑ ดอกผีตายเหน็บ ๑ ดอกแม่มานเหน็บ ๑ นี้แล
บ่ดีลื่นลวน มี ๓ ประการ คือว่าพี่น้องเผ่าพันธ์พงศ์ษาตัว ๑ ท่านผู้ใหญ่และครูบา พ่อแม่ ๑ ท่านผู้เป็นดีมีเข้าของ มีผญจ ๑ นี้แล
บ่ควรดีเยียปั้นตัว มี ๓ ประการ คือ คนขี้ลัก ๑ คน คร้านคึดยากหาใจใหญ่ ๑ คนมักเหล้าเหลือภาชนะ ๑ นี้แล
บ่ควรกินเสียก่อน มี ๓ ประการ คือ เมื่อจักกินน้ำ บ่ซ่วยมือเสียก่อน ๑ จักกินนาต้นบ่ถอกเสียก่อน ๑ หม้อข้าว น้ำบ่ทันหุงพ้อยกิน ๑ นี้แล
กูเป็นดีแล้ว บ่เป็นทุกข์ซ้ำบ่ควรว่า ๑ บ่อ่อนหามันซ้ำ บ่ควรว่า ๑ กูนี้บ่มีโทษซ้ำ บ่ควรว่า ๑ มี ๓ ประการนี้แล บ่มีการ อยู่ดาย บ่ดีขุด คือ พื้นเรือน ๑ พื้นวัด ๑ ตีนคันได ๑ นี้แล
ที่บ่ควรดีนั่ง คือ สากมองตำข้าวก็ดี ตำพริกเกลือก็ดี ๑ กลางปอยลาม ๑ นั่งก้นหม้ออันคว่ำไว้ ๑ นี้แล
นัยยะที่บ่ควรข้ามนั้น คือ รางหมู ๑ กุ้มใส่ตีนคน ๑ เตาไฟเดือน ๑ นี้แลบ่ควรเสพย์เมถุนะธรรม กับสัตว์ ๑ ผ้าขาว ๑ คนผู้อันถ่อยช้า ๑ นี้แล
อันบ่ดีผ่อเมื่อเช้า คือ วอก ๑ ผ่อเงาน้ำรางหมู ๑ ท่านเสพย์กัน ๑ นี้แล
ควรดีผ่อเมื่อเช้านั้นมี นกยูง ๑ พระสังฆะ ๑ พราหมณ์ ๑ มี ๓ ประการนี้แล
บุคคลผู้ใดได้หลีกเว้นเสียยังที่ทั้งหลาย ฝูงอันกฎหมายมีที่นั้น ก็ย่อมมีวรรณะ อายุ สุขะ พละ สัมปัตติ ไปต่อเท้าเมี้ยนอายุ กับผู้ใดบ่หลีกเสียได้นั้น ก็ย่อมเสียศรี เตชะ สาตระเพทคุณ คลองชุ อันแล
นอกจากนี้ลานนาไทย ยังมีสิ่งที่ห้ามกระทำหลายอย่าง ซึ่งถือว่าใครทำไปจะขึดตกแต่ผู้นั้น เช่น
๑. ไต่ขัว (สะพาน) เล่มเดียวเหลียวหลัง (ขึด)
๒. ข้ามน้ำหื้อผ่อคนไปก่อน เหลียวผ่อทางหลัง (ขึด) (ข้ามน้ำให้ดูคนไปก่อน หากเหลียวมาดูงานข้างหลังไม่ดี)
๓. นั่งหัวขั้นไดก็ดี นั่งปากประตูก็ดี (ขึด)
๔. พันมีดเข้าบ้านบ่ดี (ขึด)
๕. ยามแลงกวาดเข้า ยามเช้ากวาดออก
๖. ปกแปงเฮือนกวมตอ (ขึด)
๙. กินข้าวก่อนพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ (ขึด)
๘. เอาสากครกจุ่มในหม้อแกงดิน (ขึด)
๙. ต้นไม้ใหญ่อยู่ใกล้บ้าน (ขึด)
๑๐. อย่านอนเล่นดาบ อย่าคาบนมเมีย (ขึด)
ในหนังสือธรรมดาสอนโลกของลานนาไทย ได้กล่าวข้อความที่ควรเว้น และควรปฏิบัติไว้หลายอย่างหลายประการ
ตัวอย่าง
วันหนึ่ง คัพภะมีในเรือนแม่นว่าจักหื้อทาน มีต้นว่า ผ้ามหากฐินก็ดี อัฐบริขารก็ดี ขัวไต่ สร้าง เจติยะ สร้างพระเจ้า สร้างหีบธรรม ธรรมาสน์ มณฑก จักหื้อลูกตนบวช จักยอลูกท่านบวชเป๊กซ์ก็ดี จักกระทำอาวาหะ วีวาหะ เอาบ่าวเอาสาว เอาใภ้เอาเขยมาเรือนทั้งหลายมวลฝูงนี้บ่ดี ควรยั้งเสีย หื้อคัพภะ ออกพ้นท้อง จึงควรแล คันคัพภะยังบ่ประสูติเทื่อ อย่าได้กระทำ คนกระทำดั่งอั้นก็บ่ดีแล คนบ่แพ้สัตว์ก็แพ้คน แพ้ข้าวของเงินคำบ่ดีด่าย คองหนโลก หากตั้งไ:ว้มีดังนี้ เป็นธรรดาสืบมาแล พระยาสากยมูละก็สั่งสอน คนทั้งหลายวันนั้นแล
(อนึ่ง หญิงมีครรภ์อยู่ในบ้าน แม้จะทำทานเป็นต้นว่า ถวายกฐิน ถวายเครื่องอัฐบริขาร สร้างสะพาน เจดีย์ พระพุทธรูป ตู้พระธรรม ธรรมมาสน์ มณฑป จัดเอาลูกของตนบวชหรือจะเอาลูกคนอื่นบวช อุปสมบทก็ดี จักกระทำ อาวาหะวิวาห์ เอาหนุ่มเอาสาว เอาสะใภ้ หรือลูกเขยอยู่เรือน ทั้งหมดนี้ ควรหยุดก่อน หากคลอดเด็กพ้นท้องแล้วจึงควรทำหากยังไม่คลอดอย่าได้ทำ หากกระทำเป็นการไม่ดี หากไม่เกิดอันตรายแก่สัตว์ก็จะเกิดอันตรายแก่คน เป็นอันตรายต่อข้าวของเงินทอง ไม่ดี คลองปฏิบัติของชาวเมืองตั้งไว้ดังนี้
เป็นธรรมดาสืบมา แม้พระยาสากยมูละ ก็ได้สอนคนทั้งหลาย ดังนี้แล้ว)
“อันหนึ่งคนทั้งหลายผู้มีอายุอันยังหนุ่มยังหน้อย ปอล้ำสิบหกปีขึ้นบน บ่ควรหื้อทาน มี ๔ ประการ คือ เจติยะ ๑ วีคำ ๑ หีดธรรม ๑ ขัวไต่ ๑ ใน ๔ ประการนี้ บ่ควรหื้อ ทานเทื่อและคันว่าหื้อทานดั่งอั้น แพ้อายุผู้ยังหนุ่มยังหน้อย บ่ทันเลี้ยง เขตอายุมักตาย อันหนึ่งมักได้พลัดพรากจากที่อยู่ได้ ธรรมดาแห่งโลกหากมีฉันนี้สืบมาแล้ว
(อนึ่ง คนทั้งหลายยังหนุ่มน้อยอายุไม่เกินสิบหกปี ไม่ควรให้ทาน ๔ ประการ คือ เจดีย์ทาน ๑ พัดทอง ๑ ตู้พระธรรม ๑ สะพานข้าม ๑ ใน ๔ ประการนี้ไม่ควรทำบุญก่อนหากถวายมักจะตาย พลัดพรากจากที่อยู่ ธรรมดาสอนโลกสืบมาดังนี้แล)
ตัวอย่างข้อห้าม ขะลำ ของอีสาน
การออกกฎข้อบังคับ ข้อห้ามต่างๆ ต้องให้ได้ผล ศักดิ์สิทธิ์ถึงจิตใจของผู้จะปฏิบัติตาม โดยให้เหมาะสมกับกาลเทศะตลอดจนสภาพของผู้คนและบ้านเมืองด้วย เช่น ฝ่ายปกครองมีนโยบายจะสงวนพันธุ์สัตว์น้ำนั้น แทนที่จะออกกฎหมายมาเป็นลายลักษณ์อักษรทางภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสมัยก่อนใช้วิธีการตั้งศาลเจ้าขึ้นริมหนองริมบึง ป่าวประกาศว่า ใครจะละลาบละล้วงไปจับสัตว์น้ำในบริเวณนั้นตามอำเภอใจไม่ได้ เพราะมีของอาฮักรักษาผู้ใดละเมิดสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะให้ร้าย ผู้คนก็ไม่กล้าฝ่าฝืนทั้งต่อหน้าหรือลับหลัง พนักงาน เจ้าหน้าที่การรักษาป่าไม้ หรือสงวนพันธุ์สัตว์ ป่า ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ผู้ใดจะเข้าป่าต้องไปเซ่นสรวงศาลเทพารักษ์- ปฏิญาณว่าจะไม่เด็ดยอดไม้ จะไม่ฆ่าสัตว์แม่ลูกอ่อน มิฉะนั้น เจ้าป่าจะให้โทษทัณฑ์ เป็นต้น
มาตรการเพื่อควบคุมความประพฤติปฏิบัติของประชาชนที่ยึดถือกันเคร่งครัดมาตั้งแต่โบราณกาลอย่างหนึ่ง มีผลให้เอกชนแต่ละคนปฏิบัติในกิจวัตรประจำวันตั้งแต่ เกิด จนตาย ตั้งแต่เช้าจนคํ่า ตลอดเวลากลางวันและกลางคืน คือ “ขะลำ” ซึ่งปัจจุบันนี้อาจมีคนรู้จักจดจำหรือปฏิบัติตามเป็นส่วนน้อย แต่สมัยเก่าเขาบอกสอนลูกหลานรับช่วงกันมาเป็นชั่วอายุคนโดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาอธิบายชี้แจงแสดงเหตุผล ตัวอย่าง “ขะลำ” มีดังนี้
๑. ไปเอาบุญก่ายบาน-บ่ฮู้จักแลงจักงาย-ขะลำ
ไทยเฮือนเดียวกินข้าวบ่พร้อมกัน – ขะลำ
๒. กินข้าวก่อนผัวเป็นว้วเขาตู้ นอนก่อนผัว-ขะลำ
๓. นอนบ่ถืกทิศ นุ่งห่มผ้าทางกลับ-ใช้ตีนเขี่ยเสื้อผ้า-ขะลำ
๔. ฟันฟืนมื้อเช้า ผัดข้าวมื้อแลง แบกของขึ้นเฮือน หาบฟืนขึ้นบ้าน -ขะลำ
๕. นั่งขวางบันได ขวางประตู-ขะลำ ข้ามขั้นไดขึ้นเฮือน ตีนเช็ดหัวขั้นใด- ขะลำ
๖. ไปไฮ่เนื้อเอิ้นชื่อสัตว์จริง-ขะลำ
๗. ผิวไปทางไกลเมียอยู่บ้านตัดผม ทัดดอกไม้ -ขะลำ
๘. ผัวไปล่าสัตว์ใหญ่เมียอยู่บ้านนุ่งซิ่นสีแดง-ขะลำ
๙. ฝนตกฟ้าฮ้อง ไถนา ขี่ควายเล่น ยกมีดยกเสียม พันไม้-ขะลำ
๑๐. นั่งหย่อนขา ไกวขาเทิงเฮือนสูง-ขะลำ
๑๑. ย่างเสียงดัง กินข้าวเสียงดัง ฟันไม้ตอกไม้กลางคืน-ขะลำ
๑๒. ตีก้อนเส้า เอาไม้เอามีดเคาะตีเสาเฮือน-ขะลำ
๑๓. ย่างก่อนเจ้าหัว เว้าหยอกเจ้าหัว เข้าวัดเว้าเสียงดัง-ขะลำ
๑๔. ขี่วัวขี่ควายหันหลังให้ทางเขา-ขะลำ
๑๕. เอามือตีแมวตีหมา เตะวัวเตะควาย-ขะลำ
๑๖. ปลูกยานนางเดิ่นบ้าน ปลูกผักอีฮุม หมากลิ้นฟ้า ผักหวานในบ้าน-ขะลำ
๑๗. ลูกเขยลูกสะใภ้นอนเปิงบ่ได้ ถือว่าบ่ยำเกรงปู่ย่า ตายาย-เด็กน้อยอยู่บ่อนสูงกว่าผู้ใหญ่-ขะลำ
๑๘. บุญมหาชาติ ขี้เมาเข้าวัด-ขะลำ ตีฆ้องกลอง (เว้นแต่กลองรับ)-ขะลำ
๑๙. ไทยเฮือนอื่นปิดเปิดป่องเอี้ยม(หน้าต่าง)-ขะลำ
๒๐. เล่นหมากรุกสะกาคนยังบ่ทันตาย-ขะลำ
๒๑. ปรึกษากันไปหาหมอให้คนไข้ได้ยิน-ขะลำ
ขนบธรรมเนียมประเพณี หลักปฏิบัติตนของแต่ละบุคคลหรือข้อห้ามในรูป “ขะลำ” มีหลายร้อยหลายพันอย่าง บางคนก็เกี่ยวกับประเพณีที่จัดไว้เป็นเรื่องๆ เช่น การปฏิบัติตนระหว่างผัวเมีย ในวันพระวันศีลนั้นเมียต้องกระทำการสมบัติ สมมาผัว ไม่ให้เมียแตะต้องหัวหรือเส้นผมของผัว เสื้อผ้าของผัวและเมียเก็บไว้ปนกันไม่ได้ ผ้าของผัวต้องเก็บไว้ใน
ที่สูงกว่า ประเพณีในวันหยุคประจำปี หรือประจำสัปดาห์ ประจำปักษ์นั้น ต้องละเว้นหรือเลิกการทำงานโดยเด็ดขาด เคร่งครัด เช่น วันพระวันศีลไม่ให้ตกข้าวเปลือกในเล้ามาตำ ยามวันสงกรานต์ต้องหยุดทำงานทั้งสิ้นโดยเฉพาะวันเนาว์ ต้องอยู่บ้านห้ามมิให้ใช้เงิน -ขะลำ ไม่ให้เปิดหีบโดยจัดหาหนามมากองทับคลุมหีบไว้ ในระหว่างหนุ่มสาวตามประเพณีนิยมให้พบปะสนทนาเกี้ยวพาราสีกันได้อย่างเปิดเผย แค่มิให้ถูกเนื้อต้องตัวกัน -ขะลำ- ผิดผี -ผิดเทวดาของฮักษา มิให้หนุ่มเดินล่วงล้ำกล้ำกลายไปมาบนบ้านเรือน ให้นั่งพูดจาแทะโลมกันเป็นที่เป็นทาง ห้ามนั่งใกล้กันระยะเอื้อมมือถึง -ขะลำ หญิงสาวไปไหนมาไหนคนเดียวกลางคืน-ขะลำ ไปกับชายสองต่อสองไม่ว่ากลางวันกลางคืน -ขะลำ ผู้หญิงไป ซู หรือสมสู่ ผู้ชาย -ขะลำมาก ต้องทำพิธีแก้ไข
ที่มาโดย:อาจารย์มณี  พยอมยงค์
คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ความเชื่อของคนไทย

ความเชื่อเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกรูปนามสิ่งใดที่ผู้คนได้พบได้สัมผัสในอายตนะทั้ง ๖ ผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น ตากระทบรูป จะมีความรู้สึกเกิดขึ้นว่า รูปที่พบเห็นนั้นเป็นอย่างไร ภาษาทางศาสนาเรียกว่าเกิดจักษุวิญญาณ คือ ความรู้สึกเกิดขึ้นทางตา เวลาใช้หูฟังเสียงจะเป็นเสียงเพราะหรือไม่ เพราะการวินิจฉัยอย่างนี้เรียกว่า โสตวิญญาณความรู้สึกเกิดขึ้นทางหู สิ่งที่ผู้คนได้พบเห็นสัมผัสทางใดทางหนึ่งนี้เองเป็นต้นเหตุแห่งความเชื่ออันเป็นสัญเจตนา จุดเบื้องต้นส่วนนามธรรม เมื่อได้รับการเพาะเชื้ออย่างนี้ ต่อมาเกิดการเสริมแต่ง โดยอาศัยสิ่งแวดล้อมที่คนเราได้สัมผัสทุกวันเป็นเครื่องช่วยให้เจริญเติบโต และเมื่อใจคิด ความเชื่อด้านรูปธรรมก็เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นสัญลักษณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งรวมความว่า ความเชื่อมี ๒ ประการ คือ
๑. ความเชื่อที่เป็นนามธรรม
๒. ความเชื่อที่เป็นรูปธรรม
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานกล่าวถึงความเชื่อไว้ว่าศรัทธา ความเชื่อถือ ความเลื่อมใส
รศ.ภิญโญ  จิตต์ธรรม เขียนเกี่ยวกับความเชื่อไว้ว่า “ความกลัวและความไม่รู้เป็นเหตุให้เกิดความเชื่อและความเชื่อก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดศาสนา ในสังคมมนุษย์สมัยโบราณ (Primitive Society) อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าไปมาก แต่มนุษย์ก็ยังมีพฤติกรรมแสดงออกทางความเชื่อกันอยู่ในชีวิตประจำวัน
ในทางพระพุทธศาสนา กล่าวถึงศรัทธา คือ ความเชื่อเกิดขึ้น จากเหตุใดเหตุหนึ่ง ด้านความกลัวดังพุทธภาษิตที่กล่าวถึงความเชื่อของผู้ประสบกับเหตุการณ์ ซึ่งน่าหวาดหวั่นพรั่นพรึงทั้งหลาย แล้วยึดถือสิ่งต่างๆ เป็นที่พึ่งว่า
พหุ° เว สรณ° ยนฺติ ปพฺพตานิ วนานิจ
อารามรุกขเจตฺยาทิ มนุสฺสา ภยตชฺชิตา
“ผู้คนเป็นอันมากถูกภยันตรายคุกคาม ยึดเอาภูเขาลำเนาไม้ วัดวาอารามต้นไม้ ป่าดงพงพี และเจติยสถานว่าเป็นที่พึ่งพิง”
อาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช เขียนเกี่ยวกับความเชื่อไว้ว่า
“ขึ้นต้นด้วยมนุษย์เราอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติด้วยเหตุผลทางไสยศาสตร์ เพราะยังขาดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้นว่า ฝนตกเพราะนาคให้น้ำ หรือมีเทวดาเป็นผู้บันดาล ฟ้าร้องก็ว่าเป็นเสียงรถพระอินทร์กำลังยกทัพ มีพวกมารุต เป็นไพร่พลไปรบยักษ์ ฟ้าแลบก็ว่า แสงจากนางเมขลาล่อแก้ว ฟ้าผ่าก็รามสูรขว้างขวาน โลกของเรานั้นแบน มีปลาอานนท์หนุนอยู่ เวลาแผ่นดินไหวก็ว่าปลาอานนท์พลิกตัว..วิทยาศาสตร์ได้เข้ามาพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าเหตุผลทางไสยศาสตร์ ถือคติความเชื่อถือเหล่านี้ไม่จริง มีเหตุผลอื่นที่ทำให้ฝนตก เกิดพายุ แผ่นดินไหว ซึ่งพิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้ง วิทยาศาสตร์จึงเข้ามาแทนที่ไสยศาสตร์ในความเชื่อถือของมนุษย์ และได้เข้าแทนที่เรื่อยมา”
การสร้างความเชื่อของมนุษย์ เกิดขึ้นจากความไม่รู้เป็นประการสำคัญ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น “อวิชชา” เมื่อได้พบเหตุการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่าคนตาย แผ่นดินถล่ม เป็นต้น ก็เกิดความคิดว่าจะต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่เบื้องหลัง บังคับให้เป็นอย่างนี้จึงพากันสร้าง ผี วิญญาณ เทพารักษ์ ขึ้นเป็นการสมมติว่าเทพเจ้าหรือผี จะมีรูปร่างเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตามจินตนาการของตน และทำพิธีกรรมต่างๆ บูชา สักการะ เซ่นสรวง เพื่อให้สิ่งที่ตนคิดว่ามีอยู่นั้น ผ่อนคลายความรุนแรง และมีเมตตากรุณา ไม่ทำร้ายและบันดาลความสุขมาให้ เมื่อแรกเป็นขนบธรรมเนียมภายหลังเกิดเป็นวัฒนธรรมขึ้น โดยเฉพาะวัฒนธรรมทางศาสนา คือแนวปฏิบัติการประพฤติตนตามศาสนา เกิดคัมภีร์ที่สำคัญขึ้นในศาสนา เช่น เกิดพระเวทในศาสนาพราหมณ์ เกิดคัมภีร์ไบเบิลใบคริสตศาสนา และเกิดอัลกุรอานในศาสนาอิสลาม เป็นต้น สำหรับทางพระพุทธศาสนา เกิดพระธรรมคำสอนที่จำแนกบุญบาป ว่าคนทำดีมีบุญย่อมจะประสบผลเป็นความสุขสมบูรณ์ได้เกิดในสวรรค์ และจะหมดกิเลสตัณหาเข้าสู่พระนิพพาน คนทำชั่วคือบาป จะได้รับความทุกข์ทรมาณตกนรกไม่มีวันหมดสิ้น หรือเป็นเวลานับโกฏินับกัลป์ คนที่เชื่อในคำสอนก็ประพฤติปฏิบัติตามด้วยความหวังให้พบกับความสุขในชีวิตของตน
ความเชื่อให้ประโยชน์อย่างไร
ความเชื่อเป็นพื้นฐานให้เกิดการกระทำสิ่งต่างๆ ทั้งด้านดี ด้านร้าย คนโบราณจึงสร้างศรัทธาให้เกิดแก่ลูกหลาน เช่น ความเชื่อเรื่องภูติผี ว่ามีอิทธิฤทธิ์ที่จะบันดาลความสุข สวัสดีมาให้ และหากทำให้ผีโกรธ ก็จะนำความทุกข์ยากลำบากมาให้ด้วย เมื่อมีการพูดและการนำไหว้กราบ เช่น สร้างสักการะบ่อยๆ เขาก็ปลูกความเชื่อให้ลึกลงไปในสำนึกของแต่ละคนจนไม่สามารถถอดถอนได้ เมื่อความเชื่อมีเต็มที่แล้ว จะทำสิ่งที่ตนต้องการ มากขึ้นกว่าเดิม ความเชื่อนับเป็นพื้นฐานแห่งการนับถือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์และศาสนาแยกออกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
๑. ความเชื่อทำให้เกิดความมั่นใจ
๒. ความเชื่อทำให้เกิดพลัง
๓. ความเชื่อทำให้เกิดการสร้างสรรค์
๔. ความเชื่อทำให้เกิดความสามัคคี
๕. ความเชื่อทำให้เกิดรูปธรรม
๖. ความเชื่อเป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญา
๗. ความเชื่อทำให้การนับถือศาสนาได้อย่างมั่นคง
๘. ความเชื่อทำให้เกิดฤทธิ์ทางใจ
ความเชื่อมีผลเสียอย่างไร
ธรรมดาของคนเรามีความเชื่อและไม่เชื่อเป็นของคู่กัน คือ ระหว่างความศรัทธาและไม่ศรัทธา ระหว่างคนที่มีจลศรัทธากับ อจลศรัทธา คือศรัทธาที่หวั่นไหว และไม่หวั่นไหว หากจะพิเคราะห์โดยความเป็นกลางแล้วจะเห็นได้ว่า ศรัทธาเป็นคำกลางๆ จะนำไปใช้ได้ทั้ง ๒ ทาง คือ ทางเชื่อ และไม่เชื่อ ดังนั้น การจะกำหนดให้แต่ละบุคคลเชื่ออย่างเดียวกันหมดย่อมทำได้ยาก เพราะความเชื่อที่เป็นผลดีก็มี ความเชื่อให้ผลตรงกันข้ามก็มี และความไม่เชื่อเกิดผลไปอีกแนวหนึ่งก็มี จะกำหนดได้ดังนี้
๑. ความเชื่อ
๒. ความไม่เชื่อ
๑.๑ ความเชื่อแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ
๑) เชื่ออย่างมีเหตุผล
๒) เชื่ออย่างไม่มีเหตุผล
๑.๒ ความไม่เชื่อได้แก่การปฏิเสธหรือมีความเห็นเป็นอื่น ๑ และการปฏิเสธ เพราะขัดต่อเหตุผลที่เป็นจริง ๑
ในทางพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงความเชื่อไว้เป็น ๔ อย่าง คือ
๑. กรรมศรัทธา เชื่อกรรม
๒. วิบากศรัทธา เชื่อผลกรรม
๓. กัมมัสถตาศรัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน
๔. ตถา-คฅโพธิศรัทธา ความเชื่อในความรู้ของพระตถาคต หมายถึงพระพุทธเจ้า
ความเชื่อนั้นหากเป็นความงมงายไม่ใช้วิจารณญาณคือ เชื่อตามการบอกเล่าของบรรพบุรุษ ไม่มีการศึกษาวิเคราะห์หาเหตุผลความเชื่อแบบนั้นก่อให้เกิดผลเสีย โดยเฉพาะต่อการพัฒนาทางสังคมอย่างยิ่ง เพราะคนที่เชื่ออย่างนั้นจะต่อต้านกับเหตุผลของคนสมัยใหม่ ที่ได้ศึกษาค้นคว้าเปรียบเทียบเหตุผลแล้ว ความไม่เจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง ก็มาจากศรัทธาความเชื่อประชาชนส่วนหนึ่งเหมือนกัน
ความเชื่ออาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท
๑. ความเชื่อที่งมงายไร้เหตุผล คือ ยังไม่ทราบเจตนา
๒. ความเชื่อที่มีเจตนาแฝงอยู่ เพื่ออบรมสั่งสอนให้คนประพฤติดี อยู่ร่วมกับสังคมอย่างถูกต้องและเกิดสุขแก่ตนเอง
เรื่องความเชื่อ อาจารย์เสาวลักษณ์ อนันตศานฅ์ แบ่งเป็น ๒ ประเภทดังนี้
๑. ความเชื่อทั่วๆ ไป หรือความเชื่อธรรมดา (Belief) เช่น เชื่อว่ามีนรก สวรรค์ เทวดา เชื่อว่าฟ้าแดงจะถูกกุ้ง ฟ้ารุ่งจักถูกปลา เรื่องฝัน ฯลฯ
๒. ความเชื่อที่แฝงไว้ด้วยความกลัว หรือความเชื่อทางไสยศาสตร์ (Superstition)
ความเชื่อ ๒ ประเภท หรือ ๒ แบบข้างต้น อาจแบ่งเป็นพวกๆ ได้ ๑๒ กลุ่มเป็นอย่างน้อย คือ
๑. ความเชื่อเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ
๒. ความเชื่อเกี่ยวกับยากลางบ้าน
๓. ความเชื่อโชคลาง
๔. ความเชื่อเกี่ยวกับฤกษ์ยาม นิมิต ฝัน
๕. ความเชื่อทางไสยศาสตร์
๖. ความเชื่อลักษณะของคนและสัตว์
๗. ความเชื่ออันเนื่องมาแต่ศาสนา
๘. ความเชื่อเกี่ยวกับการทำมาหากินและอาชีพ
๙. ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณี
๑๐. ความเชื่อเรื่องเคล็ดและการแก้เคล็ค
๑๑. ความเชื่อเกี่ยวกับ นรก สวรรค์ ชาติ ภพ
๑๒. ความเชื่อเกี่ยวกับเลขดี เลขร้าย วันดี วันร้าย ฯลฯ
ที่มาโดย:อาจารย์มณี  พยอมยงค์
คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประเพณีฮีต ๑๒ คลอง ๑๔

ฮีต ๑๒ คอลง ๑๔
ศัพท์ว่า ฮีต ๑๒ ได้แก่ จารีตประเพณี ๑๒ เดือน อีสานเรียกสั้น ตัดจาออก แผลงอักษร ร เรือเป็น ฮ นกฮูก เรียกว่า “ฮีต” นิยมเอาศัพท์ไว้ท้ายประเพณี จึงเป็นประเพณีฮีต ๑๒ ตรงประเพณี ๑๒ เดือน คือในเดือนหนึ่งๆ มีจารีตประเพณีทำประจำเดือนแต่ละเดือนทำอะไรบ้าง เช่น ประเพณีเดือนอ้าย
๑. ทำบุญดอกผ้าถวายผ้าห่มหนาวพระสงฆ์
๒. ประเพณีเส็งกลอง
๓. ทำลานตี (นวด) ข้าว
๔. ทำปลาแดกปลาร้าเป็นเสบียง
๕. เกี่ยวข้าวในนา
๖. เล่นว่าว ชักว่า สะนู
๗. นิมนต์พระสงฆ์เข้าปริวาสกรรม
จะนำมากล่าวไว้เพียงเดือนอ้าย ส่วนประเพณีเดือนยี่ถึงเดือน ๑๒ มีประเพณีทำประจำเดือน ขอให้ค้นคว้าจะมีความกระจ่าง ชาวอีสานเชื่อประเพณี ๑๒ เดือน อันเป็นประเพณีของอีสานมาแต่บรรพบุรุษ ขอยุติเพียงเท่านี้ก่อน
ประเพณีฮีต ๑๒ คลอง ๑๔
ชาวอีสานปีหนึ่งมี ๑๒ เดือน แต่ละเดือนมีประเพณีประจำเดือน ซึ่งทำกันมาแต่บรรพบุรุษ ศัพท์ว่า “ฮีต” มาจากศัพท์ว่า “จารีต” อีสานออกเสียง “ร” เรือเป็น ฮ นกฮูก ตัด จา ออกเหลือ รีต จึงเป็น ฮีต เป็นศัพท์โดดๆ คำเดียว
เดือนอ้าย
๑. ทำบุญดอกผ้า นำผ้าห่มหนาวไปถวายพระสงฆ์
๒. ประเพณีเส็งกลอง
๓. ทำลานตี (นวด) ข้าว
๔. ทำปลาแดกปลาร้าไว้เป็นเสบียงอาหาร
๕. เกี่ยวข้าวในนา
๖. เล่นว่าว ชักว่าว สะนู
๗. นิมนต์พระสงฆ์เข้าปริวาสกรรม
เดือนยี่
๑. ทำพิธีปลงข้าวในลอม และตีฟาด (นวด) ข้าวในลาน
๒. ทำบุญลาน-คูณลาน พระสงฆ์เทศน์เรื่องพระนางโพสพ
๓. ขนข้าวขึ้นเล้า (ขึ้นยุ้งฉาง)
เดือนสาม
๑. ทำพิธีเลี้ยงลาตาแฮก (พระภูมินา) เพราะข้าวขึ้นเล้าแล้ว
๒. เอนขวัญข้าว-สู่ขวัญข้าว
๓. ทำบุญเรือน พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์
๔. นำกระบุงข้าวเปลือกไปถวายวัด หาบปุ๋ยคอกใส่อันนา-คันนา
๕. วันเพ็ญเดือน ๓ ทำบุญข้าวจี่ และมาฆบูชา
๖. เตรียมการทำบุญพระเวส (มหาชาติป
๗. ลงข่วงเข็นฝ้าย หลัวฟืน
เดือนสี่
๑. ทำบุญพระเวส (ฟังเทศน์มหาชาติ)
๒. ทำพิธีแห่พระเวสเข้าเมือง
๓. แห่พระอุปคุตเข้าหอ (ทำบุญมหาชาติ ทำหออุปคุตด้วย)
๔. ทำบุญแจกเข้าเปตพลี อุทิศส่วนบุญถึงผู้ตาย
เดือนห้า
๑. จัดสงกรานต์ แห่นางสงกรานต์ วันเพ็ญเดือน ๕ สรงปรางค์กู่
๒. เล่นสงกรานต์ (อีสานเรียกสังขานต์)
๓. ฮดสรงพระเถระ และผู้เฒ่าผู้มีอายุ
๔. นิมนต์พระพุทธรูปลง แล้วสรงด้วยน้ำหอม
๕. ก่อพระเจดีย์ทราย และขนทรายเข้าวัด
๖. นิมนต์พระพุทธรูปขึ้นเก็บในกุฎีวิหาร พร้อมสมโภชบายศรี
เดือนหก
๑. ทำบุญบั้งไฟ
๒. ทำบุญวิสาขบูชา (ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน)
๓. เถราภิเสก สถาปนาฮดสรงพระเถระ
๔. ทำการแรกนาขวัญมนังคลมงคล
เดือนเจ็ด
๑. เลี้ยงตาแฮก ปู่ตา มเหศักดิ์หลักเมือง
๒. ทำบุญเบิกบ้าน เบิกเมือง ทำบุญตัดปี
๓. เตรียมคราด-ไถ ลงทำนา
๔. เตรียมเข้านาค เพื่อบวชนาค กุลบุตรลูกหลาน
๕. ไถพรวนดินในนา ทำการหว่านข้าวกล้า
เดือนแปด
๑. หล่อเทียนเข้าพรรษา ถวายพระสงฆ์
๒. วันเพ็ญเดือน ๘ ถวายผ้าอาบน้ำฝนและธูปเทียน
๓. เฒ่าแก่เตรียมฟังธรรมในไตรมาส
เดือนเก้า
๑. วันดับคือวันสิ้นเดือน ๙ ทำบุญข้าวประดับดิน
๒. วันเดือนดับนี้ ฟังเทศน์ตลอดวัน
เดือนสิบ
๑. วันเพ็ญเดือน ๑๐ ทำบุญข้าวสาก ส่งข้าวเผตหรือเปรต
๒. ถวายผ้าจำนำพรรษา คือ ผ้าสบง
๓. วันเพ็ญกลางเดือน ๑๐ ฟังเทศน์ตลอดวัน
เดือนสิบเอ็ด
๑. พิธีออกพรรษาปวารณาของพระสงฆ์
๑.๑ ตอนเย็นขึ้น ๑๔ ค่ำ ใต้น้ำมันน้อย และกวนข้าวทิพย์
๑.๒ ตอนเย็นขึ้น ๑๕ ค่ำ ใต้น้ำมันใหญ่ และถวายผ้าห่มหนาว
๑.๓ ตอนเย็นแรม ๑ ค่ำ ใต้น้ำมันล้างหางประทีป
๒. วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ พระสงฆ์ทำปวารณากรรมแทนอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์
๓. แรม ๑ ค่ำ ตักบาตรเทโวโรหณะ และฟังเทศน์ เทศน์เทโวโรหณะสูตร
๔. ฝั้นฝ้ายตีนกา บูชาพญากาเผือก และทำการลอยกระทง ลอยประทีปฯ
๕. แรม ๑ ค่ำทอดมหากฐินและหอผาสาทผึ้ง
๖. เวลาบ่าย “ช่วงเฮือ” บูชาพญานาค ๑๕ ตระกูล
เดือนสิบสอง
๑. ผู้ไม่ได้ลอยกระทงกลางเดือน ๑๑ จัดลอยกระทงกลางเดือน ๑๒
๒. ทำบุญข้าวเม่า ถวายพระสงฆ์ในวันเพ็ญ
๓. จัดทำบุญทอด
๓.๑ ทอดกฐิน บริขาร ๘ ลหุภัณฑ์
๓.๒ ทอดมหากฐิน ลหุภัณฑ์-ครุภัณฑ์
๓.๓ ทอดจุลกฐิน เตรียมการเสร็จวันนั้น (อีสานกฐินแล่น)
๓.๔ ทอดกฐินวัดตกค้าง คือ วัดที่ไม่มีใครจอง
ประเพณีฮีต ๑๒ นี้ เท่ากับประเพณีเดือน ๑๒ ถือปฏิบัติกันมาทุกสมัย เมื่อถึงวันพระ วันโกน พระสงฆ์ต้องตีกลองดึก-กลองแลง เสมอมิได้ขาด ทำกันมาเป็นอาจิณ
คลอง ๑๔ เป็นประเพณีของชนชั้นปกครอง คือ เจ้าขุนมูลนาย เสนาอำมาตย์ ข้าราชการบริหารประเทศชาติบ้านเมือง ช่วยกันรับผิดชอบและรักษาไว้ให้มั่นคง ในหนังสือวรรณคดีเสียวสวาด กล่าวไว้ทั้ง ๑๔ ข้อบริบูรณ์
ประเพณีคลอง ๑๔
๑. หูเมือง ราชทูตต่างหน้าเจรจาแทนประเทศชาติบ้านเมือง
๒. ตาเมือง นักปราชญ์ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ และสอนธรรมอักขระบาลี
๓. แก่นเมือง พระสงฆ์เถระผู้มีความรู้ และมั่นคงทรงธรรมวินัย
๔. ประตูเมือง สาตราอาวุธและยุทโธปกรณ์สั่งสมไว้ป้องกันเมือง
๕. รากเมือง หมอโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ เพทางคศาสตร์
๖. เหง้าเมือง กวานบ้านตาแสง (ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน) ราษฎรผู้ซื่อสัตย์
๗. ฝาเมือง-ฝางเมือง โยธาทหารผู้แกล้วกล้าชำนาญในการรบศึก
๘. ชื่อเมือง โคตรวงค์เฒ่าแก่ แลนักปราชญ์ผู้กล้าหาญชาญชัย
๙. แปเมือง ท้าวพญา เสนาอำมาตย์ ผู้มีศีลธรรม ตัดสินคดีความเที่ยงธรรม
๑๐. เขตเมือง เสนาอำมาตย์ผู้รักษาเขตแดนประเทศบ้านเมือง
๑๑. ใจเมือง พระราชกุมาร พระราชกุมารี เจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์
๑๒. ค่าเมือง คือ บ่อเงิน บ่อทอง บ่อเพชรพลอย ต้นไม้มีราคาแพงในประเทศ
๑๓. สติเมือง นายแพทย์ผู้รักษาพยาธิ หมอยา พ่อค้า เศรษฐี-มหาเศรษฐี
๑๔. เมฆ-หมอกเมือง ปู่ตา เทพาอารักษ์ มเหศักดิ์หลักเมือง
ประเพณีคลอง ๑๔ ชาวอีสานมักเรียกสั้นว่า ฮีต ๑๒ คลอง ๑๔ ถือเป็นประเพณีประจำท้องถิ่นอีสาน มักพูดตักเตือนกันเสมอว่า ทำอะไรอย่าให้มันผิดฮีตคลอง จงทำให้ถูกฮีตคลองเสมอ จะถูกต้องด้วยระเบียบประเพณี จักได้อยู่เย็นเป็นสุข
(ฮีต ๑๒ คลอง ๑๔ ฉบับสมบูรณ์)
ที่มาโดย:พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ
วัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม