“พระเจ้าตนหลวง”สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดพะเยา

พระเจ้าตนหลวง


พระเจ้าตนหลวงเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดพะเยามีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร  สูง  ๑๖ เมตร

สร้างเมื่อปีระกา  พ.ศ. ๒๐๓๔  ในรัชสมัยพญายี่ครองเมืองภูเยา(พะเยา) ตรงกับรัชสมัยพระยอดเชียงรายครองเมืองเชียงใหม่

การลากพระมีประวัติความเป็นมาอย่างไร


ประกอบกับการที่ได้กล่าวมาแล้วถึงวิธีลากพระกับความเข้าใจของพลเมือง ถึงเรื่องการลากพระนี้  คือ  พลเมืองเข้าใจว่า “เป็นลัทธิธรรมเนียมสืบมาแต่ครั้งโบราณ  ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนชั้นดาวดึงส์ และไปจำพรรษา  พอออกพรรษาแล้วจึงได้เสด็จกลับลงมายังเมืองสังกัสสนคร  ในสมัยนั้น ราษฎรพลเมืองที่เป็นพุทธศาสนิกชน  ต่างก็เตรียมไปรับเสด็จ  มีการทำบุญให้ทานกันมากเหลือประมาณ  จนจะนำอาหารบิณฑบาตไปถวายให้ถึงพระองค์พระพุทธเจ้าไม่ได้  จึงคิดทำข้าวต้มซัดกันเข้าไป  ธรรมเนียม  อันนี้จึงสืบกันมาจนทุกวันนี้”

ดังนี้ คราวนี้ลองนึกว่าถ้าเป็นดังเช่นที่กล่าวมานี้จริง ข้อที่น่าสงสัยมาก คือ เพราะธรรมเนียมที่สืบมาทางพุทธศาสนาและพลเมืองทั่วไป ในประเทศสยามทั้งฝ่ายเหนือและใต้  นับถือพระพุทธศาสนามาแต่โบราณแล้วเหมือนกัน  แต่ทำไมลัทธิธรรมเนียมนี้จึงมีแพร่หลายเฉพาะปักษ์ใต้  ทางฝ่ายเหนือไม่ปรากฎว่าเคยมี  ข้อนี้จึงน่าคิดอีกอย่างหนึ่งว่าควรจะเป็นอย่างไรกันแน่  ข้าพเจ้าจึงได้รวบรวมเขียนขึ้น  พอเป็นทางให้ท่านผู้รู้ทั้งหลายจะได้สันนิษฐานว่าความจริงเรื่องลัทธิการลากพระอย่างที่ข้าพเจ้าพรรณนามานี้เป็นมาอย่างไรแน่

 

การลากพระกลับวัดจะทำกันตอนไหน


เมื่อพระฉันเพลแล้ว  พลเมืองมาจากไหนต่อไหนประชุมกันอยู่มากมาย พวกพ่อค้าแม่ค้าต่างก็นำขนมมาขายคล้าย ๆ กับขนมที่ตั้งขายในงานต่าง ๆในกรุงเทพฯ  ลากพระหยุดพักอยู่จนเที่ยงวันไปแล้ว  แล้วจึงลากพระกลับเรียกว่า “ลากพระกลับหลัง”  พลเมืองนับถือเป็นคติกันมาว่า ฝนมักตก จนพูดติดปากกันมาว่า “พระให้หลังฝนตก”  แต่ถ้าฝนตกก็หมดสนุกถ้าฝนไม่ตกเมื่อพระที่ลากมาหยุดรวมกัน  ต่างก็แยกย้ายกันไปแล้ว ใครพอใจวัดไหนมากก็ตามไปลากพระวัดนั้น  พอลากจากที่หยุดจนเวลาประมาณ ๑๔ นาฬิกา  ก็หยุดเตรียมซัดข้าวต้มแข่งขันกัน  ที่ซัดข้าวต้มถือเอาหน้ารถลากเป็นเวทีใช้เชือกลากเป็นเขต  ของที่ใช้ซัดกันเรียกว่าลูกต้ม  ห่อด้วยใบตาลโตนด  ภายในบรรจุทรายหรือข้าวสุกที่แห้งแล้ว ซึ่งแช่น้ำให้พอง  ลูกต้มนี้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้จัดการลากพระจะต้องเตรียมทำมา

เมื่อตกลงคู่แข่งขันกันได้แล้ว แจกลูกต้มให้ข้างละ ๑๐ หรือมากกว่านั้น    ฝูงคนมาห้อมล้อมกันมองดูเป็นการสนุกยืนห่างกันประมาณ ๕-๖ วา  ข้างไหนมีฝีมือ  ก็ซัดแม่นอาจจะถูกอีกฝ่ายหนึ่งได้  เป็นการมีชัย  ถ้าทั้ง ๒ ฝ่ายมีฝีมือเหมือนๆ กัน ก็เสมอกันไป  ลูกต้มที่ใช้ซัดกันนี้มีน้ำหนักพอกับกำลัง  แต่พวกนักกีฬาจำพวกนี้แข็งแรง  ทั้งซัดและรับมิให้ถูกตัวได้ด้วยความสามารถ  เพราะต่างก็ได้ฝึกหัดมาจนกำลังแขนแข็งแรงมากแล้วทั้งนั้น

เมื่อซัดข้าวต้มกันพอเห็นฝีมือกันแล้ว  ก็ลากพระต่อไป  พอได้ระยะก็จัดคู่ซัดข้าวต้มใหม่  ลากไปซัดข้าวต้มไปเช่นนี้จนเกือบถึงวัดก็จวนเวลาย่ำค่ำ  จึงเลิกซัดข้าวต้มกัน  เป็นอันหมดวิธีลากพระบกเพียงนี้

ส่วนพระเรือก็ลากกลับวัดเหมือนการลากพระบก  ตอนกลับนี้จะได้เห็นการแข่งเรือกันเรื่อย ๆ ไป จนจวนจะค่ำ ลากพระถึงวัดแล้วจึงหยุดการแข่งเรือ หมดวิธีลากพระเรือเพียงเท่านี้เหมือนกัน

ต่อจากนี้  เจ้าหน้าที่ก็เชิญพระลากจากรถลากไปไว้ที่เดิม  ส่วนรถลากก็รื้อออก  เก็บไว้สำหรับจะได้ใช้ลากในปีต่อไปอีก

พลเมืองไปลากพระมีวัตถุประสงค์นอกเหนือจากการทำบุญคืออะไร


นอกจากที่คนที่ไปทำบุญและช่วยกันลากพระให้ถึงที่หยุดแล้วยังมีพวกหนุ่ม ๆ สาว ๆ และเด็กตามไปทีหลังก็มี  พวกเหล่านี้ย่อมแต่งตัวประกวดกัน ตามพื้นเมือง  เพราะฉะนั้นตอนเช้า ๆ จึงมีคนน้อยตั้งแต่เที่ยงไปแล้ว  จึงมีคนมาก นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง  ซึ่งทุก ๆ คนต้องไปจนได้  ในจำนวนที่ไปกันมาก ๆนี้  มีคนจำพวกหนึ่งเป็นนักซัดต้มแข่งขัน (ซัดข้าวต้ม) ต่างพวกต่างก็เตรียมกันไว้ หวังจะได้ซัดแข่งขันกันกับพวกอื่น ๆ นับเป็นการกีฬาพิเศษของพวกนี้  ที่ได้เตรียมกันไว้จะได้มาแสดงอวดฝีมือในทำนองซัดแม่นหรือไม่แม่น  ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

ส่วนการลากพระเรือนั้น  คนที่ไปทำบุญก็ต้องเป็นคนที่มีเรือ ช่วยกันลากเรือพระออกจากท่าหน้าวัดไปตามลำคลอง  จนถึงที่หยุดพระเรือนี้ไม่เป็นการลำบากในเวลาลาก  เพราะถึงไม่มีใครลากก็อาจนำไปได้  แล้วยังมีพวกที่ลงเรือแข่งอีก แต่งตัวเรียบร้อย  ลำไหนแต่งตัวสีใดก็แต่งเหมือนกันหมด  มีผู้หญิงบ้าง ผู้ชายบ้าง เรือเหล่านี้เตรียมไปแข่งขันกันเหมือนกัน

การไปทำบุญก็เหมือนกับการลากพระบก  แต่คนไปไม่มาก  เพราะถ้าคนที่ไม่มีเรือก็ไปไม่ได้  ทั้งพระบกและพระเรือมีกีฬาที่พลเมืองได้ดูทั้ง ๒ อย่าง คือ ไปลากพระบกได้ดูการชัดข้าวต้ม ไปลากพระเรือได้ดูการแข่งขันเรือ  แต่การแข่งขันทั้งสองประการนี้  มักได้ลงมือแข่งกันเมื่อขณะที่ลากพระกลับวัด

การลากพระทำกันอย่างไร


ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วว่า  เมื่อถึงวันลากพระพวกชาวบ้านต่างพากันไปลากพระและไปทำบุญ  มีคนที่มีกำลังแข็งแรงประมาณ ๕๐ คน ช่วยกันลาก  โห่ร้องเสียงเป็นทอด ๆ  ส่วนกลองบนรถลากก็ตีส่งเสียงช่วยกันไป  บางครั้งทางที่ลากไปต้องข้ามคันนาและข้ามคู  พวกผู้หญิงไม่มีเลย มีแต่พวกผู้ชายที่มีกำลังลากวิ่งขึ้นลง

เพราะฉะนั้น การทำรถลากจึงทำกันแน่นหนา  มิฉะนั้นอาจจะหลุดหรือหักเสียได้  ส่วนลากตามถนนนั้นเป็นการสะดวก เพราะไปตามทางเรียบ ๆ  นอกจากพวกที่ลากแล้ว  ยังมีพวกตามไปข้างหลังอีก  เขาเรียกกันว่า “ตามเสด็จพระ”  ถ้ามีคนน้อยลากพระไปไม่ได้เร็วเขาเอาไม้กลม ๆ ลองเพื่อจะได้ช่วยแรงให้เบา  คล้ายเจ๊กลากไม้เข้าโรงเลื่อยฉะนั้น  ถึงอย่างไรก็ดี  การลากพระไปจากวัดเพื่อให้ถึงที่หยุดนี้เป็นการจำเป็นจริง  มิฉะนั้นพระจะไม่ทันเวลาฉันเพล  จึงต้องพยายามช่วยกันลากให้ถึงจนได้

การทำบุญในวันลากพระ


ในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ราษฎรพลเมืองก็เตรียมของทำบุญเรียกว่าทำต้ม (ทำข้าวต้ม) ทำวิธีต่าง ๆกัน คือ  ทำต้มด้วยข้าวเหนียวห่อด้วยใบกะพ้อ และบางทีก็ห่อด้วยใบตาลโตนดหรือใบมะพร้าวแล้วแต่ใครจะทำอย่างไรก็ได้  แต่ผลที่สุดเป็นข้าวต้มก็แล้วกัน

พอวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันปวารณาออกพรรษาและวันลากพระ  ชาวบ้านก็ทำบุญตักบาตรด้วยข้าวต้มนั้นเป็นพิธีครั้งที่ ๑ ในวันนั้น  พอตักบาตรพระแล้ว ในวันนั้นหยุดงานหยุดการหมด  ฤดูนี้บางจังหวัดถึงฤดูทำนา  แต่ชาวบ้านหยุดทำนาในวันนั้น  ต่างก็แต่งตัวอย่างเรียบร้อย  หาลูกพาหลานไปลากพระตามวัดที่ใกล้ ๆ

พอประมาณ ๙ น.  ชาวบ้านทั้งผู้หญิงผู้ชายมาช่วยลากพระจากวัดไปถึงที่หยุดซึ่งที่หยุดนั้นมักเป็นย่านกลางของวัดต่าง ๆ บางแห่งการลากไปรวมกันตั้ง ๓-๔ วัดก็มี  เช่นนี้เป็นการสนุกสนานมาก  ที่จะได้เห็นฝีมือการช่างทำรถลากด้วยฝีมืออันวิจิตร  ทั้งยังได้ฟังเสียงกลองดังสนั่นประชันแข่งขันกันไปด้วย  ราษฎรก็ต่างไปประชุมกันที่นั่นมาก  พระภิกษุสามเณรก็ออกจากวัดตามรถลากหรือบางทีนั่งบนรถลากไปประชุมให้ชาวบ้านทำบุญที่ลากพระไปหยุดนั้นด้วย  ที่พระไปหยุดบางแห่งมีศาลา  บางแห่งไม่มีศาลา แต่ก็ได้อาศัยร่มไม้เป็นที่ทำบุญ เรียกตามความเข้าใจของพลเมือง การที่ลากพระมาหยุดกันนั้นเรียกว่ามา “สมโภช”

พอเวลา ๑๑ นาฬิกาลากพระมาถึงพร้อมกันที่หยุด  ชาวบ้านก็ทำบุญตักบาตรถวายเข้าต้มพระอีกเป็นครั้งที่ ๒  และพระที่มาจากวัดก็มาฉันเพลที่นี้ด้วย

ระหว่างที่กำลังลากพระยังไม่ถึงที่หยุดนั้น  ชาวบ้านที่เอาข้าวต้มไปถวายพระ  ไม่ต้องการจะไปทำบุญตักบาตร ก็ทำเป็นพวงพากันไปแขวนไว้บนรถลาก  พวกศิษย์วัดก็เอาจัดแจงใส่ที่ไว้สำหรับนำไปถวายพระต่อไป  เรียกวิธีนี้ว่า “ต้มแขวนหน้าพระ”

ขณะที่กำลังฉันเพลนั้น  กลองที่กำลังตีแข่งกันอยู่นั้นก็หยุดจนพระฉันเพลแล้วเสร็จจึงเริ่มตีต่อไป

พระที่เชิญขึ้นประดิษฐานบนรถในการลากพระ


พระที่เชิญขึ้นประดิษฐานบนรถลากนั้น  โดยมากเป็นพระพุทธรูปยืนปางต่าง ๆ ขนาดสูงไม่เกิน ๑ เมตร  พระที่เชิญขึ้นนี้ชาวบ้านมักถือเป็นลางต่าง ๆเสมอ  เช่นปีนี้ถ้าพระพุทธรูปมีพระพักตร์ผ่องใส  การลากพระจะเรียบร้อย  ถ้าพระพุทธรูปมัวหมองจะเกิดวิวาทฟันแทงกัน  หรืออาจลากรถไปทับคนก็ได้   การถือกันเช่นนี้มีมาแต่โบราณ  มาสมัยนี้ไม่ค่อยมี  พระพุทธรูปนี้เชิญขึ้นบนรถลากจวนใกล้รุ่งในวันแรม ๑ ค่ำ  เมื่อเชิญพระขึ้นแล้ว  กลองและเครื่องประโคมธงทิวก็พร้อมเสร็จ  ชาวบ้านแถบใกล้ ๆ วัดนั้นต่างก็มาลากรถลากออกไปวางไว้หน้าวัด  เมื่อเวลาสายขึ้นชาวบ้านมาจากที่ต่าง ๆ ก็ชวนกันลากพระต่อไปถึงที่หยุดซึ่งจะกล่าวต่อไป

เครื่องประกอบการลากพระ

ของเดิมที่ข้าพเจ้าเคยเห็นทำกันเช่นนี้คือ  ตัดไม้มาทำเป็นรูปคล้ายเรือโกลน ๒ ท่อน  ทำให้หัวท้ายสูงคล้ายเรือโกลนยาวประมาณ ๕-๖ เมตร แล้วเจาะที่ปักเสา  สร้างเป็นรูปเหมือนรูปเวชยันต์  มี ๒ ชั้น ๆ ล่างใช้เชือกประกอบดึงกันด้วย  ขันชะเนาะให้แน่น ตอกหลักปักเสาให้แข็งแรงกันมิให้หลุดได้  ส่วนชั้นบนนั้นเรียบด้วยกระดานหรือฟากทำด้วยไม้ไผ่  และมีพะนักหรือฝาล้อมรอบ  สูงจากพื้นบนประมาณเสมอสะเอว  ภายนอกทั้งชั้นล่างและชั้นบนมีฝาปิดมิดชิด  เรียกว่าแผง  แผงนี้มีการประกวดฝีมือ  สานด้วยไม่ไผ่ให้มีลวดลายต่าง ๆ

บนชั้นบนมีสิ่งหนึ่งรูปเหมือนธรรมาสน์ที่พระนั่งเทศนา  วางอยู่ส่วนหลัง  ข้างบนมียอดรูปคล้ายยอดปราสาทชาวพื้นเมืองเรียกว่า “ยอดนม”  ยอดนมนี้ทำประกวดกันมาก  มีลวดลายและวิธีทำต่าง ๆกัน  มักเลือกเอาฝีมือช่างที่ดี  เพื่อเวลาลากพระไปเทียบกันหลาย ๆวัดจะได้ไม่น้อยหน้าวัดอื่น ๆ  ภายในธรรมาสน์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนในวันลากพระ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปตามข้าง ๆ โดยรอบของชั้นบนมีธง ๓ ชายปักไว้  มีสีต่าง ๆ กัน  เมื่อถึงวันลากเอากลองใหญ่ ๑ ใบ (ตะโพน) บางที ๒ ใบ วางไว้ที่มุมข้างหน้า แล้วมีกลองเล็ก ๑ ใบ มีคนนั่งตีอยู่ข้างหน้าพระเป็นกลองนำ  ตีคล้ายเวลาคุมพระ  แล้วยังมีฉิ่งและระฆังเล็กอีกสำหรับเป็นเครื่องประโคมในวันลากนั้น  กับางทียังมีโทนอีกซึ่งชาวพื้นเมืองเรียกว่า “ทับ” ตีเข้าจังหวะกับกลองก็น่าฟังอยู่บ้าง

ส่วนเรือโกลนซึ่งข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วนั้น  เป็นส่วนที่ติดกับพื้นดินทั้ง ๒ ข้าง  สำหรับรองลาก  คนพื้นเมืองเรียกว่า “หัวเรือ”  ทำเป็น ๔ เหลี่ยม หัวท้ายสูงเป็นรูปงอนขึ้นไป  ที่หัวเรือนี้ ถ้าที่ตัวทำเป็นรูปเกล็ดพระยานาค  ที่หัวก็มีนาคแกะเป็นลวดลายสวยงามมาก บางทีทำเป็นหัวจระเข้  และหัวสัตว์ต่าง ๆ ตามที่คิดเห็นว่าตัวมันยาวให้สมกัน  บางทีก็ทำโกลนไว้เฉย ๆ ให้หัวสูงเป็นแต่งอนขึ้นก็มีแต่ไม่สวยงาม  ส่วนข้างหัวเป็นอย่างไร  ท้ายมักเป็นหางของสิ่งนั้น เช่น หัวนาค หางก็เป็นหางของสิ่งนั้น เช่น หัวนาค หางก็เป็นหางนาคดังนี้ เป็นต้น

ส่วนเชือกที่ใช้ลาก ฟั่นด้วยหวาย โตประมาณเท่าข้อมือ  ยาวประมาณ ๑๐ วา  ผูกเข้ากับหัวเรือทั้ง ๒ ข้าง  เชือกลากนี้ถ้ารวมเข้าแล้วคนหนึ่งแบกไม่ไหว ต้องให้หาม ๒ คน  เครื่องประกอบจนเป็นรูปร่างขึ้นทั้งหมดนี้  ข้าพเจ้าขอเรียกว่า “รถลาก” ต่อไป  (ชาวพื้นเมือง เรียกว่า ร้านม้า)

เครื่องประกอบทั้งหลายที่กล่าวมานี้ล้วนแต่ทำกันแข็งแรงแน่นหนา เพราะครั้งโบราณไม่มีถนน  การลากพระต้องลากไปตามท้องนาและแนวทาง  ต้องขึ้น ๆ ลง ๆ จะทำล้อลากไปเหมือนเวชยันต์นั้นไม่ได้  จึงต้องใช้เชือกและทำรถลากอย่างแข็งแรง มาสมัยนี้มีถนนหนทางไปมาสะดวกเข้า  วัดที่ตั้งอยู่ริมถนนก็หาวิธีลากให้ได้เร็วและไม่ต้องใช้คนลากมาก จึงใช้ล้อแทนเป็นการเร็วและสะดวกดี

ส่วนลากทางเรือนั้น  การประกอบอย่างอื่นก็คล้าย ๆกัน  ผิดกันแต่ไม่ต้องมีแผงและหัวเรือ  เพราะสิ่งทั้งหมดนั้นใช้เรือแทน  เรือที่ใช้แทนนั้นถ้าเป็นแม่น้ำใหญ่ก็ใช้เรือใหญ่ ถ้าแม่น้ำเล็กก็ใช้เรือเล็ก ๆ ลงไปตามต้องการ  แต่ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวพิศดารสำหรับการลากพระเรือ

การเริ่มพิธีลากพระของชาวปักษ์ใต้


วันที่ทำกันมาแต่ครั้งโบราณนั้นคือ วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑  คือวันปวารณาออกพรรษาเสมอ  ก่อนจะถึงวันลาก ๗ วัน  คือตั้งแต่เดือน ๑๑ ขึ้น ๘ ค่ำ  วัดไหนที่จะลากพระก็ตีกลองประจำให้มีเสียงดังคล้ายกับประกาศว่า วัดนี้จะมีการลากพระ  ชาวบ้านจะได้ทราบวิธีเช่นนี้  คนพื้นเมืองเรียกว่า “การคุมพระ”  วิธีที่ตีคุมพระนั้นคือใช้กลอง ๒ ใบ  เล็กใบหนึ่งเรียกว่า “กลอง” ใหญ่ใบหนึ่งรูปคล้ายกลองเหมือนกันแต่คนพื้นเมืองเรียกว่า “โพน” (ตะโพน)  ซึ่งไม่ผิดอะไรกับกลองเลย  วิธีตีคือตีกลองใบเล็กเป็น ๑ คู่  มีคนตีกลองใหญ่ซ้ำอีก ๑ ที  เป็นเช่นนี้สลับเรื่อย ๆ กันไป  และบางครั้งตีรัวพร้อม ๆ กันไปตลอดวัน  ที่ไหนมีวัดที่มีการลากพระมาก  จะได้ยินแต่เสียงกลองสนั่นหวั่นไหววันยังค่ำ แถมในเวลากลางคืนพวกชาวบ้านและพวกศิษย์วัดนัดตีกลองแข่งขันกันว่าของใครจะดังมากกว่ากัน  นัดแนะกันไปแข่งขันให้ไกลออกไปจากวัด  การแข่งขันกันนี้เป็นเหตุให้ประกวดการสร้างกลองให้แข็งแรงและมีเสียงดัง  จะได้มีชื่อว่า  มีกลองดังชนะวัดนั้น ๆ  ครั้งก่อน ๆมา ในการแข่งขันกันนี้มีวิธีแปลก ๆ มาก  โดยหาวิธีจะทำให้กลองคู่แข่งขันทะลุ และยังเตรียมกลองหนา ๆ กันมาไว้อีก เพื่อเสียงแพ้แล้ว จะได้ชวนเอากลองโดนกันอีก  เพื่อว่าของใครจะทนทานกว่ากันเป็นการสนุกมาก  แต่บัดนี้วิธีเช่นนี้ไม่ค่อยจะมีเสียแล้ว  เพราะทางบ้านเมืองห้าม กลัวจะเกิดวิวาทกันขึ้น  บางอำเภอวัดไหนจะมีการลากพระต้องของอนุญาตต่ออำเภอ นายอำเภออนุญาตให้ลากจึงลากได้

ในระหว่างที่คุมพระอยู่นี้วัดที่มีการลากพระก็เตรียมการ คือทำที่สำหรับลากพระ

นอกจากแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ แล้ว ยังมีการลากพระเดือน ๕ อีก เริ่มคุมพระแต่ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๕ จนถึงวันแรม ๑ ค่ำ ก็ถึงวันลาก  พิธีคุมพระและอย่างอื่นเหมือนกันกับเดือน ๑๑

ส่วนลากพระทางเรือนั้นเดือน ๕ ไม่ค่อยมีเพราะน้ำแห้ง  นานมา ๆ จนทุกวันนี้  บางแห่งลากพระทางบกก็ดี  ลากพระทางเรือก็ดี  ทำกันไมมีข้อยุติ  ใครนึกจะลากเมื่อใดก็ลากกัน  เป็นการทำเพื่อต้องการทำบุญและการรื่นเริง

ประเพณีการลากพระของชาวปักษ์ใต้

การลากพระของชาวปักษ์ใต้
การลากพระนี้ ถ้าพิจารณาแล้วอาจกำหนดเขตได้ว่า มีเฉพาะแถบหัวเมืองปักษ์ใต้เท่านั้น ถึงแม้วัดนางชีในกรุงเทพฯ จะเคยปรากฎว่ามีการลากพระกันทุกปีก็จริง แต่ก็ไม่ถูกตามฤดูที่ควรจะนับว่าเป็นลัทธิที่ชาวปักษ์ใต้เขาทำกันมาก เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงของกล่าวว่าลัทธิธรรมเนียมนี้เห็นจะเป็นลัทธิที่เกิด ขึ้นในหัวเมืองปักษ์ใต้ก่อน ก็คงจะไม่คลาดเคลื่อนนัก เกิดขึ้นอย่างไรจะได้กล่าวต่อไป

ประเภทของการลากพระ มี ๒ ประเภท คือ


๑. การลากพระทางบก มักเป็นวัดซึ่งตั้งอยู่ที่ดอน ไม่มีแม่น้ำลำคลองก็ใช้วิธีลากทางบก การลากทางบกนี้มีมาก ลากกันชุกชุมและต้องทำตามฤดูกาล

๒. การลากพระทางเรือ มักเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง ชาวบ้านแถบนั้นมีเรือมาก วิธีนี้เป็นการลากไม่ตรงตามฤดูกาลเสียโดยมาก เพราะจะต้องคอยให้ถึงฤดูน้ำมาก เพราะฉะนั้นการลากพระทางเรือนี้เพื่อต้องการทำบุญและรื่นเริงมากกว่าที่ทำ ให้ถูกต้องตามกาลที่ลัทธิธรรมเนียมเคยมีมา
ลัทธิธรรมเนียมการลากพระนี้มีมากในมณฑลนครศรธรรมราช และมณฑลภูเก็ต แต่เท่าที่ทำกันตรงตามฤดูกาลที่กำหนดก็มีที่จังหวัดตรัง ในมณฑลภูเก็ต จังหวัดนครศรีธรรมราช, จังหวัดสงขลา, และจังหวัดพัทลุง ซึ่งพอให้ข้าพเจ้าสืบมาได้และเคยเห็นมา หากว่า ถ้ามีที่อื่นอีกก็โปรดให้อภัยด้วย เพราะข้าพเจ้ารู้ไปไม่ถึง