รูปวรรณยุกต์

Socail Like & Share

วรรณยุกต์
รูปวรรณยุกต์
ภาที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ มีแต่สระกับพยัญชนะก็พอแล้วจะอ่านเป็นเสียงสูงต่ำอย่างไรก็แล้วแต่นิยม  แต่ในภาษาไทยนิยมใช้วรรณยุกต์ด้วย จึงต้องมีอักษร วรรณยุกต์บังคับอีกต่อหนึ่ง จะอ่านเป็นเสียงสูงๆ ต่ำๆ ตามอำเภอใจไม่ได้ วรรณยุกต์มีรูปต่างกันเป็น ๔ ดังนี้

๑. ่ เรียกไม้เอก
๒. ้ เรียกไม้โท
๓. ๊ เรียกไม้ตรี (เหมือนเลข ๗)
๔. ๋ เรียกไม้จัตวา (เหมือนเครื่องหมายบวก)

รูปวรรณยุกต์ทั้ง ๔ นี้ใช้เขียนบนส่วนท้ายของพยัญชนะต้น ดังนี้
กร่อย ด้วย ก๊ก เจ๋อ จะเขียนบนรูปสระหรือตัวสะกด ดังนี้ กรอ่ย ดว้ย ไม่ถูก, ถ้ามีรูปสระอยู่ข้างบน ต้องเขียนบนรูปสระนั้นอีกต่อหนึ่ง ดังนี้ เคลื่อน, ชิ้น, กั๊ก, ตื๋อ

นอกจากรูปวรรณยุกต์นี้ ยังมีวิธีบอกเสียงวรรณยุกต์ได้อีก โดยกำหนดพยัญชนะ ดังจะอธิบายต่อไปข้างหน้า

เสียงวรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทยจัดเป็น ๕ เสียง ดังนี้
๑. เสียงสามัญ คือเสียงกลางๆ เช่น กา คาง ฯลฯ
๒. เสียงเอก เช่น ก่า ข่า ปาก หมึก ฯลฯ

๓. เสียงโท เช่น ก้า ค่า มาก ฯลฯ
๔. เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ชัก ฯลฯ
๕. เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา น๋ะ ฯลฯ

ลำดับเสียงนี้จัดตามวิธีวรรณยุกต์  ถ้าจะจัดลำดับให้เสียงเรียงกันอย่างเสียงเครื่องดนตรีแล้ว ควรเป็นดังนี้
๑. เสียงเอก เป็นเสียงต่ำที่สุด เช่น ก่า
๒. เสียงโท เป็นเสียงเอก เช่น ก้า
๓. เสียงสามัญ รองเสียงโท เช่น กา
๔. เสียงตรี รองเสียงสามัญ เช่น ก๊า
๕. เสียงจัตวา รองเสียงตรี และสูงที่สุด เช่น ก๋า

จำแนกวรรณยุกต์
วรรณยุกต์จำแนกออกเป็น ๒ พวก ดังนี้
๑. วรรณยุกต์มีรูป คือ วรรณยุกต์ที่ต้องใช้รูปวรรณยุกต์ คือ ไม้  ่  ้  ๊  ๋ บังคับข้างบน เช่น ก่า ก้า ก๊า ก๋า, ข่า (ข้า ค่า) ค้า
ดังนี้เป็นต้น วรรณยุกต์มีรูปนี้ มีเพียง ๔ เสียง คือ เอก โท ตรี จัตวา เท่านั้น เสียงสามัญไม่มี

๒. วรรณยุกต์ไม่มีรูป คือ วรรณยุกต์ที่ไม่ต้องใช้รูปวรรณยุกต์บังคับข้างบน สังเกตเสียงวรรณยุกต์ได้ด้วยวิธีกำหนดตัวพยัญชนะเป็นสูง กลาง ต่ำ แล้วประสมกับสระและพยัญชนะ อ่านเป็นเสียงวรรณยุกต์ได้ตามพวก เช่น คาง ขาก คาด คัก ขาง ดังนี้เป็นต้นไป วรรณยุกต์ไม่มีรูปนี้ มีครบทั้ง ๕ เสียง

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร