แก่นคำสอนของอาจารย์ผู้มีสมาธิสูง

Socail Like & Share

อาจารย์มั่น

ธรรมในพระพุทธศาสนาละเอียดอ่อนลึกซึ้งมาก บุคคลทั่วไปจะเข้าใจแจ่มชัดหรือรู้เห็นชัดแจ้งได้ ก็ต่อเมื่อฝึกจิตให้มีปัญญามากพอ ปัญญาจะมากเพียงใดก็อยู่ที่สมาธิจะดีเพียงใดตรงกับพระธรรมที่ว่าสมาธิเป็น เหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ปัญญาน้อยก็เข้าใจพระธรรมน้อย เป็นแต่เพียงการจำได้ต่อเมื่อสมาธิดีขึ้นจึงเข้าใจชัดขึ้นโดยลำดับ พระอาจารย์มั่นสอนว่า มนุษย์มีกายสมบัติ วจีสมบัติ และมโนสมบัติ จะสร้างสมบัติภายนอกคือ ทรัพย์สินเงินทองก็ได้ จะสร้างสมบัติภายในคือมรรคผล นิพพานธรรมวิเศษก็ได้ ไม่ควรน้อยเนื้อต่ำใจว่าตนมีวาสนาน้อย เมื่อทำกุศลคือ ให้ทานรักษาศีลเจริญภาวนา บางพวกทำน้อยก็ไปสู่สวรรค์ บางพวกขยันและทำจริงพร้อมทั้งวาสนาบารมีหนหลังประกอบกัน ก็สามารถเข้าสู่พระนิพพานโดยไม่ต้องสงสัย…. กายเป็นเครื่องก่อเหตุ
(ตาเห็นรูปทำให้ใจกำเริบ) จึงต้องพิจารณากายนี้ก่อนจะได้เป็นเครื่องดับนิวรณ์ทำให้ใจสงบได้พึงทำให้มาก พิจารณาไม่ถอยทีเดียว ในเมื่ออุคคหนิมิตปรากฏส่วนไหนของกายก็ตาม ให้พึงถือเอากายส่วนที่เห็นนั้นพิจารณาให้เป็นหลักไว้ ไม่ต้องย้ายไปพิจารณาที่อื่น

อุบายแห่งวิปัสสนา คือ ก้าวเข้าสงบจิต (เจริญสมถะ) แล้วถอยออกจากสมาธิมาพิจารณากาย อย่าพิจารณากายอย่างเดียวหรือสงบจิตอย่างเดียว     ให้มีสติพิจารณาในที่ทุกสถาน ทุกกาล ทุกเมื่อ เมื่อยืน เดิน นั่ง นอน ทำ พูด ก็ให้มีสติรอบคอบในกายอยู่เสมอ แล้วพิจารณาแยกส่วนแบ่งส่วนหรือกระจายเป็นธาตุดินนํ้าลมไฟให้เห็นไปตามนั้นจริงๆ……ถ้าใครกลัวตายเพราะความเด็ดเดี่ยวพากเพียร ผู้นั้นจะต้องกลับมาตายอีกหลายภพหลายชาติ กลับหลังมาหาทุกข์อีก ท่านเอง (อาจารย์มั่น) ทำความเพียรสลบไปถึง ๓ หน เพราะความเพียรกล้าเวทนาทับถมยังไม่เห็นตาย นี่ทำความเพียรยังไม่ถึงขั้นสลบไสลเลยทำไมจึงกลัวตายกันนักหนาเล่า    ผู้เคยกลัวผีก็หายกลัวด้วยวิธีฝืนใจเข้าไปเยี่ยมป่าช้า ผู้เคยกลัวสัตว์ร้ายมีเสือ เป็นต้น ก็หายกลัวด้วยวิธีฝืนใจไปอยู่ที่เปลี่ยวอันเป็นที่น่ากลัว ผู้เห็นแก่ปากท้องชอบโลเลในอาหารปัจจัยก็บรรเทาหรือหายเสียได้ด้วยการผ่อนอาหารหรือลดอาหาร (ตามกำลังที่จะทำได้) อาหารบางชนิดเป็นคุณต่อร่างกาย แต่กลับเป็นภัยแก่จิตใจ ก็พยายามตัดต้นเหตุ    คนหัวดื้อต้องมีสิ่งที่แข็งๆ คอยคัดบาง จึงจะอ่อน เช่น เสือ เป็นต้น พอเป็นคู่ทรมานกันได้ คนกลัวเสือก็ต้องเอาเสือเป็นครูดีกว่าอาจารย์ที่ตนไม่กลัว กลัวผีก็ควรเอาผีเป็นครูคู่ทรมาน สิ่งที่แข็งๆ ช่วยให้ได้สมาธิขั้นสูงได้เร็วนั้น ผู้เขียนรู้และพบเห็นมาก มี ๔ อย่าง คือ

ประการแรก พบเสือในป่ารู้ดีว่าถ้าหนีตายแน่ๆ ถ้านั่งสมาธิปล่อยวางหมดก็จะรอด ส่วนมากเมื่อพบเสือก็ลงนั่งสมาธิ ไม่ยอมลืมตา สมาธิถอยก็เข้าใหม่ซํ้าซาก ตัวอย่างพบเสือแล้วนั่งสมาธิประมาณตอน ๔ ทุ่ม ไป หยุดทำสมาธิจนรุ่งขึ้นประมาณ ๓ โมงเช้า จึงออกจากสมาธิ นี่แหละคือการทำเป็นวะสี และได้สมาธิขั้นสูง

ประการที่ ๒ ตายแล้วฟื้น ป่วยจวนตายก็เกิดการปล่อยวาง ได้สมาธิขั้นกลางขั้นสูง ก็มีตัวอย่างหลายท่าน

ประการที่ ๓ ตายหรือสลบแล้วฟื้น ตอนสลบไปนั้นมีวิญญาณหรือเทวดามาสอนวิชาให้ได้สมาธิดี เมื่อฟื้นก็กลายเป็นหมอดูหมอนวด เป็นผู้ได้ไปเห็นนรกสวรรค์ ได้สมาธิดีเปลี่ยนแปลงนิสสัยใจคอไปจากเดิมมาก

ประการที่ ๔ ได้แก่ท่านผู้หลงติดอยู่ในถํ้าลึก หาทางออกไม่ได้ ก็นั่งสมาธิให้ตายกลับได้แสงสว่างออกจากถํ้าได้ บางท่านอดอาหารก็ได้สมาธิดี

พระอาจารย์มั่นว่า นักปฏิบัติทำไมจึงกลัวตายนัก ยิ่งกว่าฆราวาสที่ไม่เคยได้รับการอบรมมา ทำไมปล่อยใจให้กิเลสย่ำยีหลอกหลอน จนกลายเป็นสิ้นคิดไปได้ไม่นำสติปัญญาออกมาใช้เพื่อขับไล่กิเลสอันต้มตุ๋นที่ซ่องสุมอยู่ในหัวใจ…..ธุดงค์เป็นคุณธรรมที่สูงอย่างลึกลับ ยาก
ที่เราจะทราบได้ตามความจริงของธุดงค์แต่ละข้อ (จะรู้เห็นได้เมื่อปฏิบัติจริงจังเด็ดเดี่ยว)

พระอาจารย์มหาบัว วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี สอนว่า สมาธิขั้นต้นให้พิจารณากายเสียก่อน ส่วนเวทนา และจิตพิจารณาโดยใช้สมาธิขั้นกลางหรือขั้นสูงประกอบกัน สำหรับตัวท่าน (พระมหาบัว) เมื่อสมาธิติดขัดก้าวขึ้นไปไม่ได้ก็ใช้การผ่อนอาหารให้น้อยลงนับว่าได้ผลดีทุกครั้ง

พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าล้วนเป็นเรื่องที่ดีที่ถูกทั้งนั้น การฝึกสมาธิทรงสอนสมถะวิธีให้ ๔๐ วิธี ก็ล้วนดีและถูกทั้งนั้น จะฝึกวิธีใดจึงได้ผลดีก็จะต้องพิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับจริตนิสสัยของตน พระอาจารย์หลวงปูหล้า ภูก้อจ้อ อ. คำชะอี มุกดาหาร สอนว่า “กัมมัฏฐานแต่ละอย่าง แต่ละอย่างส่งต่อถึงพระนิพพานได้ทั้งนั้น และต้องขึ้นอยู่กับปัญญาสัมปยุต เพราะไม่ได้กล่าวตู่ว่า กัมมัฏฐานนั้นนี้ต่ำสูง ต่ำหรือสูงขึ้นอยู่กับปัญญาเป็นนายหน้า…เห็นไตรลักษณ์ นั้น
เห็นกลมกลืนกันในขณะเดียว คล้ายเชือกสามเกลียว ไม่บัญญัติว่าอยู่คนละขณะ มีผู้เข้าใจผิดว่า สมถะไปถึงนิพพานไม่ได้ นั้นเป็นสมาธิแบบโยคี ที่ยึดติดในอัตตา ไม่ใช่สมถะแบบพุทธะ

พระอาจารย์ในดงลึกฝึกให้ไม่กลัวตาย เมื่อไม่กลัวตายเสียอย่างเดียว ความกลัวอย่างอื่นๆ ก็ไม่กลัวทั้งนั้น

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร สอนว่า เราเป็นผู้ติด และเป็นผู้แพ้ต่อมาร คือจิตสังขารมาเป็นเวลายาวนาน เบนห่างไปจากบุญ คือ ทาน ศีล และภาวนา ถึงเวลาแล้วที่จะรวมกำลังจิตผู้รู้ให้เต็มที่ฮึดขึ้นสู้ฮึดขึ้นผละออก จากสิ่งที่ติดข้องอยู่ทั้งปวงเสียที ใครเล่าจะรู้ว่าพรุ่งนี้เป็นวันตาย….วิธีดับบาปดับกรรม ดับความชั่วทั้งหลาย ดับภัยดับเวร จะล้างบาปล้างกรรม ล้างภัยล้างเวรทั้งหลายนั้นไม่มีวิธีอื่นนอกจากเรานั่งสมาธิ เมื่อ นั่งสมาธิจนจิตเป็นหนึ่งแล้ว เป็นจิตอันเดียวแล้ว บาปกรรมทั้งหลาย มันก็ไม่มี ภัยเวรทั้งหลายมันไม่มี ความชั่วทั้งหลายมันก็ไม่มี มีแต่ความสุขนะซิ …..สุขเพราะเหตุใด สุขเพราะใจสงบ ทุกข์เพราะเหตุใด เพราะเหตุใจไม่สงบ มันไปก่อกรรมก่อเวรไม่หมดสักที กรรมเก่าก็ไม่หมดกรรมใหม่ก็เติมเรื่อยไป มันจะหมดสักทีเรอะ ฯ

อาจารย์ ก. เขาสวนหลวง ราชบุรี สอนว่า เราผ่อนตามความสุขเวทนา หลงรสอร่อยของสุขเวทนานั้น ขั้นสัมผัสก็มากแล้ว ขั้นเนื้อหนังรูปธรรมนามธรรมที่เป็นความรู้สึกขึ้นมาก็ยังหลงอีก มันหลงหลายซับหลาย
ซ้อนพัวพันอยู่อย่างเหนียวแน่น ….สัญญา (ความจำ)ก่อเรื่องอยู่อย่างลึกสับ แล้วก็ปรุงต่อไปอีก……เราต้องศึกษาเข้าข้างใน ไม่ใช่ศึกษาตัวหนังสือหรือคำพูด เป็นการศึกษาเรื่องจิตล้วนๆ ขณะที่ทรงตัวเป็นปกติหรืออยู่ในความว่าง เป็นความว่างที่ไม่เกี่ยวเกาะ….ทำอย่างไรจิตจึงจะไม่เกี่ยวเกาะ ไม่เพลิดเพลินไปกับอารมณ์กับความปรุง ไม่เพลินไปกับความนึกคิดที่เหลวไหลไร้ประโยชน์ ? ต้องมีสิ่งที่ให้จิตกำหนดรู้ฝึกขั้นต้น กำหนดรู้กาย หรือลมหายใจ เอาลมหายใจเป็นหลัก
จับลิงคือจิตผูกไว้กับสติกับลม….การกำหนดลมนี้ต้องทำติตต่อทุกลมหายใจเข้าออกทุกอริยาบถ เผลอไปก็กลับมารู้ใหม่ไม่ว่าจะทำอะไร      พอรู้เห็นอย่างไร แม้จะเป็นความเห็นถูกต้องก็ยังเป็นอันตรายถ้าไปยึดถือ ที่ไปยึดถือความเห็นถูกความเห็นผิดเหล่านี้ ก็เกิดมาจากความยืดถือตัวตน…..การผลัดเปลี่ยนอิริยาบทให้พอเหมาะพอดีช่วยให้จิตปกติหรือมีความสงบ การออกกำลังกายก็จำเป็น….สงบระงับมากเกินไปก็ถอนหายใจยาวๆ แรงๆ เป็นการปลุกให้ใจตื่นตัวขึ้นมา      เครื่องตื่นของจิต อาจตื่นอยู่ด้วยสติ ตื่นอยู่ด้วยความรู้และอย่างสูง ตื่นอยู่ด้วยฌานความรู้แจ้ง…..ความชั่วมันมีเสน่ห์ในตัวมัน ทำให้ติดใจ อยากอะไร คิดอะไร สับสนอลหม่านไปหมด….หมั่นพิจารณาถึงความตายความเสื่อมสิ้นไปทุกลมหายใจเข้าออก  มันจึงจะหดกลับไม่ยื่นไปเอาอะไร…..พิจารณากายให้เห็นเป็นธาตุไม่ใช่ตัวตน รู้จริงด้วยจิต จะต้องมีความกลัวความเบื่อหน่าย ความสลด สังเวช จึงเรียกว่า รู้จริง ยิ่งรู้มากยิ่งสงบเสงี่ยมเจียมตัว นั่นแหละคือธรรมะ

ลองหันกลับไปดูการปฏิบัติของสายพระอาจารย์ มั่น มีตารางปฏิบัติประจำวันจะเหมือนคำสอนของพระอาจารย์ในดง คือนั่งสมาธิไม่เกินวันละ ๓ ครั้ง ครั้งหนึ่งเว้นระยะห่างกันเกิน ๓ ชั่วโมง สมาธิขั้นต้นต้อง พิจารณากายให้จบทุกขั้นตอนก่อน การพิจารณาจิตคือ เวทนาเป็นต้น พิจารณาเมื่อได้สมาธิขั้นกลางเสียก่อน ใช้สมาธิขั้นกลางอย่างเดียว หรือใช้ทั้งสมาธิขั้นกลางและขั้นสูง ประกอบกันพิจารณาเวทนาและจิต (ดูคำสอนของพระอาจารย์มั่นและคำสอนของพระอาจารย์มหาบัว) สายพระอาจารย์มั่นเดินธุดงค์กันมาก ดูการปฏิบัติก็คล้ายอาจารย์ในดงลึก จึงน่าจะได้พบพระอาจารย์ในดง และเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ในดงตามข่าวที่ทราบมา

สำหรับการเดินจงกรม พระอาจารย์ในดงมีทำทางเดินจงกรมขึ้นน้อยแห่ง มักจะพาเดินในป่าตามธรรมชาติและการฝึกที่หนักไปทางวิปัสสนาในดงก็สอน ตัวอย่างเช่น หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี เดิมท่านฝึกแบบอานาปานสติ (สมถะ) ครั้นอายุ ๔๕ ปี ไปเรียนกับหลวงปูโลกอุดร ที่เขาใหญ่ เปลี่ยนจาก อานาปานสติ มาฝึกแบบ “ยุบหนอพองหนอ” เรียนจบฌาน ใน ๓ เดือนท่านก็ปิดเรื่องไปเรียนกับใครที่ไหนตามอาจารย์อื่นๆ ปฏิบัติ แต่ล่วงมา ๒๐ ปี ท่านจึงเปิดเผยว่าไป เรียนที่ไหน จะเห็นว่า พระอาจารย์ในดงก็สอนทั้งแบบสมถะ (หนักไปทางสมาธิถึงฌานแล้วจึงหนักไปทางวิปัสสนา) และสอนทั้งแบบวิปัสสนา คือสมาธิพอประมาณ หนักไปทางวิปัสสนา พิจารณาให้ดีฝึกสมาธิ พอประมาณนั้นอย่างน้อยก็จบอุปจาระสมาธิ (สมาธิขั้นกลาง) ก่อน จึงจะเริ่มฝึกหนักไปทางวิปัสสนา นี่เป็นคำตอบพระอาจารย์พุทธทาสเมื่อผู้เขียนถามว่า จะฝึกสมาธิถึงขั้นใดจึงจะเริ่มฝึกวิปัสสนา (ฝึกหนักไปทางวิปัสสนา) ได้ถูกต้องไม่ผิดพลาด (ไม่เป็นวิปัสสนึก)

กล่าวโดยสรุป จะให้ฝึกได้จบสมาธิขั้นกลาง ภายใน ๓ เดือน ต้องฝึกตาม “หลักสำคัญในการฝึก จิต” ของพระอาจารย์ในดง ๗ ประการ และหลักสูตรการฝึกสมาธิในดง ๕ ข้อ ซึ่งเป็นหลักสูตรโดยย่อ ทั้งต้องพิจารณาความตายและอสุภะทุกลมหายใจเข้าออก คือตลอดเวลา ส่วนการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า และการแผ่เมตตาในบางเวลาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เรื่องสำคัญมากที่จะช่วยให้ควบคุมการปฏิบัติก็คือ มีตารางกำหนดข้อปฏิบัติประจำวันซึ่งเรียกว่า ข้อวัตรปฏิบัติ หรือ กิจประจำวัน บอกเวลาใดทำอะไรบ้างในรอบหนึ่งวันตามตัวอย่างกิจประจำวันของพระอาจารย์มั่น และพระอาจารย์ฝั้น ที่กล่าวแล้ว การที่กล้ากล่าวว่า ปฏิบัติดังกล่าวจะได้ผลจบสมาธิขั้นกลางนั้นเป็นด้วย ผู้เขียนเองได้ปฏิบัติได้ผลจริงมาแล้ว ทั้งๆ ที่ปฏิบัติบกพร่องย่อหย่อนไปบ้าง แต่ที่สำคัญคือสถานที่ฝึกจะต้องเป็นป่าเขาที่สงบสงัดไกลหมู่บ้าน อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ หลวงพ่อจรัญฝึกเพียง ๓ เดือนก็จบฌาน ซึ่งเป็น หลักสูตรที่ฝึก ๓ ปี บุญบารมีได้เกิดเป็นคน ก็มีสมาธิขั้นต้นโดยกำเนิดแล้ว และสามารถที่จะเรียนรู้ในการทำสมาธิให้ถูกต้องและสามารถวัดสมาธิด้วยตนเองว่า ได้สมาธิขั้นใดระดับใดแล้ว จะฝึกให้ดีขึ้นทำอย่างไรต่อไป ในด้านการใช้พลังคุณพระพลังจิตก็สามารถเรียนรู้การส่งพลังจิตออกไปดับพิษน้ำร้อนหรือนํ้ามันกำลังเดือดให้คนเอามือล้วงได้ ตักกินได้ในขณะกำลังเดือด หรือกอบโซ่ที่เผาไฟจนแดงขึ้นได้ เมื่อส่งพลังออกได้ดังนี้แล้ว ก็เรียนรู้และสามารถรักษาโรคที่ฝรั่งรักษาไม่ได้ไม่ มียารักษาหลายอย่างก็รักษาได้ผลดีได้ผลเร็ว เช่น สามารถรักษาโรคเอดส์ โรคมะเร็ง วัณโรคที่ดื้อยาบางประเภท โรคเบาหวาน โรคหืด โรคไซนัส โรคพิษสุนัขบ้า ที่มีอาการแล้ว โรคทอนซิลอักเสบ โรคไวรัสบี โรคเรื้อนกวางที่เล็บที่ขาชนิดแห้ง โรคต่อมลูกหมากโต โรคนิ่วฯลฯ เป็นต้น ตั้งแต่การฝึกสมาธิถูกต้องวัดสมาธิได้เองจนถึงรักษาโรคต่างๆ ได้ผลดีได้ผลเร็วที่กล่าวมาแล้วนี้สอนให้ทำได้จริงภายใน ๑ วัน (หนึ่งวัน) ที่กล้ายืนยันดังนี้ก็เพราะได้สอนติดต่อมากว่า ๓๕ ปี แล้ว ได้ผลให้เรียนรู้ได้ ทำได้ในหนึ่งวันตลอดมา ส่วนการรักษาโรคต่างๆ ก็ได้ ทำจริงรักษาได้จริงมากว่า ๔๐ ปี แล้ว ความรู้เกือบทั้งหมดพระอาจารย์ผู้เป็นศิษย์ในดงเป็นผู้สอน (ศิษย์ ในดงหมายถึงผู้มีบุญที่จะฝึกจนถึงเหาะได้ ล่องหนหายตัวได้)

ที่มา:ชม สุคันธรัต