ศิลปะการประพันธ์นิราศวัดเจ้าฟ้า

Socail Like & Share

พูดโดยส่วนรวมศิลปะการประพันธ์ในนิราศวัดเจ้าฟ้าดูเหมือนจะหย่อนกว่านิราศเรื่องอื่นๆ หลายเรื่อง สุนทรภู่จึงใช้สำนวนเณรหนูพัดแทนตน จะอย่างไรก็ดีนิราศวัดเจ้าฟ้ายังมีรสเพราะอยู่หลายตอน

ว่าถึงศิลปะทางกลอนก็ราบรื่น มีการเล่นคำ ซํ้าคำที่ไพเราะและดีดดิ้นน่าพังเช่น

“ตลาคขวัญขวัญฉันนี้ขวัญหาย        ใครเขาขายขวัญหรือจะซื้อขวัญ
แม้ขวัญฟ้าหน้าอ่อนเหมือนท่อนจันทน์    จะรับขวัญเช้าเย็นไม่เว้นว่าง…”

และ

“เห็นสวาทขาดทิ้งกิ่งสนัด    เปีนรอยตัดต้นสวาทให้ขาดสาย
สวาทนี้พี่ก็ขาดสวาทวาย    แสนเสียดายสายสวาทที่ขาดรอย (ลอย?)’’

อนึ่ง โวหารเปรียบเทียบเชิงปรัชญาก็น่าฟัง เช่น

“ถึงบางพรหมพรหมมีอยู่สี่พักตร์        คนรู้จักแจ้งจิตทั่วทิศา
ทุกวันนี้มีมนุษย์อยุธยา            เป็นร้อยหน้าพันหน้ายิ่งกว่าพรหม’’

เป็นการด่ามนุษย์หน้าไหว้หลังหลอกและล่อลวงได้อย่างไพเราะ ดุดัน เสียจริงๆ

“อันอินทรีย์วิบัติอนัตตา        ที่ป่าช้านี้แหละเหมือนกับเรือนตาย
กลับกายกลัวมัวเมาไม่เข้าบ้าน    พระนิพพานเพิ่มพูนเพียงสูญหาย
อันรูปเหมือนเรือนโรคให้โศกสบาย    แล้วต่างตายตามกันเป็นมั่นคง…”

นี่คือการปลงสังเวชในความเป็นอนัตตาของสังขารโดยอมตกวีผู้ครองสมณเพศ

ทีนี้จะพูดถึงกระบวนพรรณนาและบรรยาย บทพรรณนาไปเด่นอยู่ที่ประวัติและตำนาน เช่น นกยางไม่มีตัวผู้ ประวัติสามโคก (ปทุมธานี) สมัยพระเจ้าอู่ทองจนสมัยรัชกาลที่ ๒ ประวัติพระใหญ่วัดพนัญเชิง และประวัติวัดเจ้าฟ้าอากาศ ส่วนบทบรรยายเช่นธรรมชาติมีอยู่ทั่วไป

‘‘…เวลาเย็นเห็นนกวิหคบิน        ไปที่ถิ่นทำรังประนังนอน
บ้างแนบคู่ชูคอเข้าซ้อแซ้        เสียงจอแจโจนจับสลับสลอน
บ้างคลอเข้าเคล้าเคียงประเอียงอร    เอาปากป้อนปีกปกกกประคอง
ที่ไร้คู่อยู่เปลี่ยวเที่ยวเดี่ยวโดด    ไม่เต้นโลดแลเหงาเหมือนเศร้าหมอง
ลูกน้อยน้อยคอยแลชะแง้มอง    เหมือนนกน้องตามน้อยกลอยฤทัย
มาตามติดบิดากำพร้าแม่        สุดจะแลเหลียวหาที่อาศัย
เห็นลูกนกอกน้องนี้หมองใจ        ที่ฝากไข้ฝากผีไม่ม่เลย…’’
พูดถึงบทพิศวาสในนิราศวัดเจ้าฟ้าผิดกับนิราศเรื่องอื่น เพราะในเรื่องนี้สุนทรภู่วางตัวอยู่หลังฉากพิศวาสเสียแล้ว คือวางตัวเป็นนักบวช สุนทรภู่ปรารภว่าเมื่อเขียนนิราศนี้ไม่มีคนรักว่า

“ไม่อ่อนหวานปานเพราะเสนาะโสต    ด้วยอายโอฐมิได้อ้างถึงนางไหน
ที่เขามีที่ฝากจากอาลัย            ได้ร่ำไรเรื่องหญิงจึงพริ้งเพราะ ที่กล่าวแกล้งแต่งเล่นเพราะเป็นหม้าย…”

เมื่อสุนทรภู่มอบเรื่องรักๆ ใคร่ๆ ให้แก่เด็ก ก็จำต้องเขียนทำนองพิศวาสไปตามทำนองกลางๆ ไม่เกี่ยวข้องกับความรักของตนเอง

“ถึงเกาะเรียนเรียนรักก็หนักอก    แสนวิตกเต็มตรองเจียวน้องเอ๋ย
เมื่อเรียนกันจนจบถึงกบเกย        ไม่ยากเลยเรียนได้ดังใจจง
แต่เรียนรักรักนักก็มักหน่าย        รักละม้ายมิได้ชมสมประสงค์

ยิ่งรักมากพากเพียรยิ่งเวียนวง    มีแต่หลงลมลวงน่าทรวงโทรม”

“…โอ้ดูสุริยงจะลงลับ            มิใคร่ดับดวงได้อาลัยหลัง
สอดแสงแฝงรถเข้าบดบัง        เหมือนจะสั่งโลกาให้อาลัย
แต่คนเราชาววังทั้งทวีป        มาเร็วรีบร้างมิตรพิสมัย
ไม่รอรั้งสั่งสวาทประหลาดใจ    โอ้อาลัยแลลับกับวิญญา… ”

”นารีใดไร้รักอย่างหนักหน่วง    จะโรยร่วงรกเรี้ยวแห้งเหี่ยวหาย
ที่เมตตาอยู่ก็อยากจะฝากกาย    อย่าหมิ่นชายเชิญตรึกให้ลึกซึ้ง
เหมือนภุมรินบินหาซึ่งสาโรช    ถึงร้อยโยชน์แย้มกลิ่นคงบินถึง
แต่ดอกไม้ไทท้าวในดาวดึงส์        ไม่พ้นซึ่งพวกหมู่แมงภู่ชม…”

ในตอนสุดท้ายของนิราศวัดเจ้าฟ้า สุนทรภู่ได้พรรณนาไว้ตอนท้ายว่า

จึงจดหมายรายเรื่องที่เคืองเข็ญ        ไปเที่ยวเล่นลายแทงแสวงหา
เห็นสิ่งไรในจังหวัดรัถยา            ได้จดมาเหมือนหนึ่งมีแผนที่ไว้
ไม่อ่อนหวานขานเพราะเสนาะโสต    ด้วยอายโอฐมิได้อ้างถึงนางไหน
ที่เขามีที่จากฝากอาลัย            ได้รํ่าไรเรื่องหญิงจึงพริ้งเพราะ
นี่กล่าวแกล้งแต่งเล่นเพราะเป็นหม่าย    เหมือนเร่ขายคอนเรือมะเขือเปราะ
คิดคะนึงถึงตัวน่าหัวเราะ            เกือบกระเทาะหน้าแว่นแสนเสียดาย
นารีใดไร้รักอย่างหนักหน่วง            จะโรยร่วงรกเรี้ยวแห้งเหี่ยวหาย
ที่เมตตาอยู่ก็อยากจะฝากกาย        อย่าหมิ่นชายเชิญตรึกให้ลึกซึ้ง
เหมือนภุมรินบินหาซึ่งสาโรช        ถึงร้อยโยชน์แย้มกลิ่นคงบินถึง
แต่ดอกไม้ไทท้าวในดาวดึงส์            ไม่พ้นซึ่งพวกหมู่แมงภู่ชม
เช่นกระต่ายกายสิทธิ์นั้นผิดเพื่อน        ขึ้นแต้มเดือนได้จนชิดสนิทสนม
เสน่ห์หาอาลัยใจนิยม                จะใคร่ชมเช่นกระต่ายไม่วายตรอม
แต่เกรงเหมือนเดือนแรมไม่แจ่มแจ้ง    สุดจะแฝงฝากเงาเฝ้าถนอม
ขอเดชะจะได้พึ่งให้ถึงจอม            ขอให้น้อมโน้มสวาทอย่าคลาดคลา
ไม่เคลื่อนคลายหน่ายแหนงจะแฝงเฝ้า    ให้เหมือนเงาตามติดขนิษฐา
ทุกค่ำคืนชื่นชุ่มพุ่มผกา            มิให้แก้วแววตาอนาทร
มณฑาทิพย์กลีบบานตระการกลิ่น    ภุมรินหรือจะร้างห่างเกสร
จงทราบความตามใจอาลัยวอน        เดชะกลอนกล่าวปลอบให้ตอบคำ
จะคอยฟังดังหนึ่งคอยสอยสวาท        แม้นเหมือนมาดหมายจะชิมให้อิ่มหนำ
ถ้าครั้งนี้มิได้เยื้อนยังเอื้อนอำ        จะต้องครํ่าคร่าเปล่าแล้วเราเอย ฯ

ที่มา:สมชาย  พุ่มสอาด