วิธีอ่านคำภาษาไทย

Socail Like & Share

คำภาษาไทยโดยมากมักจะอ่านตรงไปตรงมาไม่สู้ลำบาก คำที่อ่านพลิกแพลงได้ต่างๆ นั้น มักเป็นคำที่มาจากบาลีและสันสกฤตเป็นพื้น ควรสังเกตหลักต่อไปนี้

คำตัว ฤ คำที่ประสมกับตัว ฤ นี้ มีวิธีอ่าน ๓ อย่าง คือ อ่านเป็นเสียง ‘ริ’ เสียง ‘รึ’ และเสียง ‘เรอ’

ตัว ฤ ที่เป็นต้นศัพท์ออกเสียงเป็น ริ ฤทธิ์, ฤชา, ฤษยา (เดี๋ยวนี้เขียน ริษยา) ที่ออกเสียงเป็น รึ คือ ฤ (ไม่), ฤดู, ฤดี, ฤษี ที่ออกเสียงเป็น เรอ มีอยู่คำเดียว คือ ฤกษ์ นอกจากนี้ก็ประสมกับพยัญชนะเป็นพื้นออกเสียงเป็น ริ บ้าง เป็น รึ บ้าง ซึ่งควรจะสังเกตดังนี้
(ก) ถ้าประสมกับตัว ก ต ท ป ศ ส ๖ ตัวนี้ ออกเสียงเป็น ริ, กฤษฎีกา, กฤษณา, อังกฤษ, ตฤษณา (แผลงเป็นฤษณา), ตฤณ, ทฤษฐิ, ทฤษฎี, ปฤศนา (ถ้าเขียน “ปริศนา” ใกล้กับศัพท์เดิม ซึ่งเป็น ปฺรศนา) ปฤจฉา, ศฤงคาร, สฤษฏ์ เป็นต้น

(ข) ถ้าประสมกับตัวอื่นออกเป็น รึ เช่น คฤห, นฤมล, พฤษภ, พฤศจิก, พฤฒา, มฤตยู, มฤดก, หฤทัย เป็นต้น แต่ที่มีคำยกเว้นบ้าง ดังนี้
อมฤต อ่าน อมรึด ก็ได้, อมริด ก็ได้ เช่น สุรมฤต
พฤนทุ์ อ่าน พรึนท์ ก็ได้, พรินท์ ก็ได้
มฤจฉา อ่าน มรึจฉา ก็ได้, มริจฉา ก็ได้

คำพ้อง มีคำที่เขียนอย่างเดียวกัน แต่อ่านเสียงต่างกันอยู่มาก ควรสังเกตดังต่อไปนี้

(ก) พ้องกับอักษรนำหรืออักษรควบ เช่น คำ เขมา, เพลา, โสน ฯลฯ จะอ่านเป็น เข-มา, เพ-ลา, โสน (น สะกด) ก็ได้ หรือจะอ่านเป็น เขฺมา, เพฺลา, โสฺน ก็ได้ คำเหล่านี้ต้องใช้ความจดจำเป็นหลัก

อนึ่ง คำสระอะ ในภาษาบาลีและสันสกฤต ท่านไม่ใช้ประวิสรรชนีย์ (นอกจากพยางค์ท้ายดังกล่าวแล้ว) เพราะฉะนั้น จึงพ้องกับอักษรนำ หรืออักษรควบในภาษาไทย เช่น สมาคม, กรี, พลี ฯลฯ คำเหล่านี้ต้องสังเกตรูปศัพท์เดิมเป็นหลัก คือถ้ารูปศัพท์เป็นอักษรผสมกัน มาเป็นไทยควรอ่านเป็นอักษรนำ หรืออักษรควบ เช่น สังขฺยา, เสฺวต, สฺวามี, สฺวัสดี ฯลฯ ถ้าศัพท์เดิมเป็นคำเรียงพยางค์ เช่น สมาทาน, สมาคม, กรี(ข้าง),พลี ต้องอ่านเรียงพยางค์ เป็น สะมาทาน, สะมาคม, กะรี, พะลี เป็นต้น

มีคำบางคำที่อ่านไม่ตรงตามหลักนี้ ควรสังเกตไว้เป็นพิเศษ ดังนี้

silapa-0052 - Copy

silapa-0053 - Copyอนึ่งคำตัว ท ควบ ร ที่มาจากบาลีและสันสกฤต ควรเป็นเสียงควบแท้ เช่น นิทรา, อินทรีย์, จันทร, อินทรา (ถ้าเขียน จันทร, อินทร อ่าน จัน-ทอน, อิน-ทอน ก็ได้) ฯลฯ  ถ้าเป็นคำไทยต้องเป็นเสียง ซ เช่น ทราบ (ซาบ), ทรง (ซง), ทราม (ซาม) ฯลฯ

อนึ่งคำที่แผลงมาจาก อักษรควบ มักจะออกเสียงวรรณยุกต์อย่างอักษร ควบตามเดิม เช่น กราบ เป็น กำราบ (หราบ), ตรวจ เป็น ตำรวจ (หรวด), ตรวจ เป็น สำรวจ (หรวด), ปราบ เป็น บำราบ(หราบ), ตริ เป็น ดำริ (หริ), จรัส เป็น จำรัส (หรัด), ตรัส เป็น ดำรัส (หรัด), เสร็จ เป็น สำเร็จ (เหร็ด) ฯลฯ แต่มีบางคำที่ยกเว้นบ้าง คือออกเสียงเป็นอักษรต่ำ เช่น ปราศ เป็น บำราศ (ราด) เป็นต้น คำเหล่านี้ต้องอาศัยจดจำเป็นหลัก

ข้อนี้ให้พึงสังเกตเฉพาะคำที่แผลงมาจาก อักษรควบ ถ้าแผลงมาจาก อักษรกลางหรือสูง เสียงวรรณยุกต์ก็เป็นอย่างปกติ คือไม่คงตามอักษรกลาง หรือสูงเดิม เช่น อาจ เป็น อำนาจ (ไม่ใช่หนาด), เกิด เป็น กำเนิด, โจทย์ เป็น จำโนทย์, แจก เป็น จำแนก ฯลฯ ถ้าอ่านเป็นอักษรกลางหรือสูงตามเดิม ก็ต้องใช้ ห นำ เช่น ติ เป็น ตำหนิ, แต่ง เป็น ตำแหน่ง, จ่าย เป็น จำหน่าย, กฎ เป็น กำหนด เป็นต้น

(ข) พ้องกับตัวสะกด คำบาลีและสันสกฤตที่ประสม สระ อะ ย่อมไม่ใช้ประวิสรรชนีย์ เขียนแต่ตัวพยัญชนะเรียงกันไป เช่น ชนบท, บทจร, ชนนี
กุศลฯลฯ ถ้าอ่านเป็นเสียงตัว ร สะกดต้องออกเสียงสระเป็น ออ นอกจากตัว ร สะกด ต้องออกเสียงสระ อะ เป็น โอะ ดังนี้ ชน-นะ บด, บท- ทะ-จร, ชน-นะนี, กุศล ดังได้อธิบายแล้วในวิธีแผลงสระ หรือจะอ่านเรียงตัวตามเดิมเป็น ชะนะบะทะ, บะทะจะระ, ชะนะนี, กุศะละ ก็ได้ หรือจะอ่านเรียงตัวบ้าง สะกดบ้าง เป็น ชนะ-บดฯลฯ ก็ได้ และคำสระอื่นๆ ที่มีตัวสะกด ก็มักจะอ่านได้หลายทางเช่นนี้ เช่น สุข, นิติ จะอ่านเป็น สุก, นิด หรือ สุ-ขะ, นิ-ติ ก็ได้

การที่จะอ่านคำเหล่านี้ให้ถูกต้องนั้น ต้องสังเกตหลักดังต่อไปนี้

ตามวิธีคำ สมาส ตามธรรมดาคำบาลีและสันสกฤตที่เรานำมาใช้ในภาษาไทย มักจะใช้พยางค์ท้ายเป็นตัวสะกด เช่น ราช, ภูมิ, จร, ธาตุ, กาญจน์ ฯลฯ เช่นนี้ก็นิยมอ่านกันว่า ราด, พูม, จอน, ทาด, กาน ดังนี้ตามปรกติ แต่ถ้ามีคำพ่วงท้ายเข้าอีก (โดยมากเป็นบาลีหรือสันสกฤตด้วยกัน) รวมกันเข้าเป็น คำเดียว เรียกคำ สมาส แล้ว ต้องอ่านออกเสียงตัวสะกดของคำหน้าด้วย ดังนี้ ราชการ, ภูมิศาสตร์, จรดล, ธาตุสัญญา, กาญจนบุรี ต้องอ่าน ราด- ชะ–กาน, ภูมิ-(หรือ) ภู-มิสาด, จอ-ระดน, ธาค-ตุสัน-ยา เป็นต้น ถ้าพยางค์ท้ายคำหน้าเป็นตัวการันต์มีไม้ทัณฑฆาต ก็ต้องลดไม้ทัณฑฆาตเสีย เพราะจะต้องอ่านตัวการันต์นั้น เช่น กาญจน์, เจดีย์ ถ้าเป็นคำสมาสต้องเขียน กาญจนบุรี, เจดียสถาน และอ่าน กาน-จะ-นะ-บุ-รี, เจ-ดี-ยะ-สะ- ถาน ดังนี้เป็นต้น เว้นไว้แต่คำประพันธ์ซึ่งต้องการให้น้อยพยางค์ ไม่ให้อ่านตามนี้จึงควรใส่ไม้ทัณฑฆาตไว้ เช่น ทิพย์เนตร, สุริย์วงศ์ ต้องการให้อ่าน ทิบ-พะเนด, สุ-ริ-วงศ์ ฯลฯ

ตามวิธีคำประพันธ์ คำประพันธ์ต้องการสัมผัส คือคล้องจองกันบ้าง ต้องการให้น้อยพยางค์หรือมากพยางค์บ้าง ต้องการครุ ลหุบ้าง จึงได้มีวิธีอ่าน คำให้แปลกไปจากปรกติ เพื่อให้ถูกต้องตามข้อบังคับคำประพันธ์ เช่นคำว่า จันทร์ ถ้าต้องการให้มากพยางค์ออกไปหรือจะให้รับกับคำต้นก็ลดไม้ทัณฑฆาตเสีย อ่านเป็น จัน-ทอน, หรือ จัน-ทระ ก็ได้ และคำว่า จร ถ้าต้องอ่านเป็นลหุทั้ง ๒ ตัว ก็อ่านเป็น จะ-ระ, ถ้าต้องการครุคำเดียวก็อ่าน จอน, ถ้าต้องการเป็นคำครุอยู่หน้า ลหุอยู่หลัง ก็อ่านเป็น จอ-ระ ดังนี้เป็นต้น ในข้อนี้ผู้ศึกษาควรรู้จักข้อบังคับของคำประพันธ์ให้รู้ว่าที่ไหนสัมผัสกัน, ที่ไหนเป็น ลหุ และที่ไหนเป็นครุ ฯลฯ แล้วจึงอ่านให้ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นๆ

วิธีอ่านเครื่องหมายต่างๆ มีเครื่องหมายต่างๆ ที่ใช้ในวิธีหนัง¬สือ ซึ่งผู้อ่านควรจะรู้และอ่านให้ถูกต้อง ดังต่อไปนี้

(๑) เครื่องหมายที่เกี่ยวกับหนังสือ คือ
! เรียกอัศเจรีย์ ใช้เขียนไว้หลังคำออกเสียง ซึ่งไม่อาจจะเขียนคำนั้นให้ ถูกต้องตามเสียงที่เป็นจริงได้ เช่น เออ ! เอ ! พุทโธ่ ! ดังนี้เป็นต้น ให้ผู้อ่านพยายามทำจังหวะและสำเนียงให้ถูกต้องตามเป็นจริง

„ เรียกเครื่องหมาย ละ ใช้เขียนไว้ข้างล่างคำ, หมายความว่าละมาจาก ข้างบนดังนี้
ผ้าดอก ราคาหลาละ ๘๐ สตางค์
„ขาว        „      แขน „   ๕๐     „

เช่นนี้ บรรทัดล่างต้องอ่านตามบรรทัดบนเฉพาะคำที่ละไว้ว่า ‘ผ้าขาวราคาแขนละ ๕๐ สตางค์’ เป็นต้น

ฯ เรียกไปยาลน้อย ใช้เขียนข้างหลังคำที่ละไว้ ต้องอ่านให้จบ เช่น “กรุงเทพฯ” อ่าน กรุงเทพมหานคร, ‘พระราชวังบวรฯ’ อ่านพระราชวังบวรสถานมงคล, ‘โปรดเกล้าฯ’ อ่าน โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เป็นต้น

ฯลฯ เรียกไปยาลใหญ่ ใช้เขียนไว้หลังคำที่ละไว้ เช่น ‘ร้านชำขายหอม กระเทียม ฯลฯ’ หรือ ‘ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ชโย’ เมื่ออ่านถึง ฯลฯ ต้องบอกว่า‘ละ’, ดังนี้ ‘ร้านชำขายหอมกระเทียม ละ’ หรือ ‘ข้าวรพุทธเจ้า ละ ชโย’ เป็นต้น

(๒) เครื่องหมายโบราณ คือ
ฯ ข้า ฯ     อ่านว่า    ข้าพเจ้า
ฯ พณ ฯ        „        พะณะหัวเจ้าท่าน

silapa-0056 - Copy

(๓) เครื่องหมายที่เกี่ยวกับตัวเลข คือ
เลข ๑ ท้ายจำนวนเลขตั้งแต่ ๒ ตำแหน่งขึ้นไปให้อ่านว่า ‘เอ็ด’ เช่น ๑๑, ๒๑, ๓๐๑, ๑๐๐๑ ฯลฯ ให้อ่านว่า สิบเอ็ด, ยี่สิบเอ็ด, สามร้อยเอ็ด, พันเอ็ด เพราะถ้าอ่าน สิบหนึ่ง, รอยหนึ่ง ก็จะตรงกับสิบเดียว, ร้อยเดียวไป

อ่านวันเดือนปี วันsilapa-0056 - Copy1 ค่ำ อ่านว่า วันจันทร์ (เลข ๒) เดือนอ้าย, แรมสิบค่ำ ถ้าเป็นข้างขึ้นเขียน silapa-0056 - Copy2 คํ่า ต้องอ่านขึ้นสิบค่ำ

เลข ๑ อ่านอาทิตย์, ๒ จันทร์, ๓ อังคาร, ๔ พุธ ๕ พฤหัสบดี, ๖ ศุกร(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเขียน ศุกร์), ๗ เสาร์, ๘ ราหู, ๙ พระเกตุ ๑๐ มฤตยู, เดือน ๑ อ่าน เดือนอ้าย, เดือน ๒ อ่านเดือนยี่ นอกนั้นอ่านตามตัวเลข เดือนแปดหลังใช้เขียนดังนี้

silapa-0056 - Copy3

อ่านดวงชาตา เครื่องหมายรูป ส หวัด อ่านว่า ‘ ลัคนา ’ คือเวลาเกิดหรือทำการต่างๆ ขึ้นต้นให้อ่านลัคนาก่อน แล้วเรียงราศีวงไปตามลูกศรดังนี้ ลัคนาอยู่ราศีกันย์, จันทร์อยู่ราศีธนู ฯลฯ

silapa-0056 - Copy4

ชื่อราศีทั้ง ๑๒ นั้น ใช้เขียนเลขแทนก็ได้ คือ ๐ ราศีเมษเรียงไปจนถึง ๑๑ ราศีมีน

silapa-0057 - Copy

คำแนะนำในการอ่านหนังสือ
ข้อที่สุดนี้ ผู้เรียบเรียงขอฝากคำแนะนำในการอ่านหนังสือไว้ด้วย ที่จริงข้อนี้ไม่เกี่ยวกับอักขรวิธีเลย แต่เห็นว่าเป็นองคคุณอันสำคัญของผู้อ่าน คือถึงแม้ว่าผู้อ่านจะอ่านหนังสือได้ถูกต้องตามอักขรวิธีทั้งหมด แต่ขาด ลีลาในการอ่านดังจะกล่าวต่อไปนี้ ก็อาจจะทำให้เรื่องที่อ่านไม่ไพเราะ และ ผู้ฟังก็จะไม่เข้าใจดี หรือเข้าใจดาดๆ ไปไม่เป็นที่ดูดดื่มหัวใจของผู้ฟัง ทำให้เสียคุณสมบัติของผู้อ่าน และทั้งผู้แต่งเรื่องที่อ่านด้วย

ลีลาในการอ่านนั้นควรเป็นดังนี้

ข้อสำคัญในการอ่านนั้น ต้องอ่านให้ชัด และให้ดังพอที่ผู้ฟังจะได้ยิน ทั่วกัน แต่ไม่ให้ดังเกินไปจนเป็นร้องขายขนม

(๑) ถ้าเรื่องร้อยแก้ว ควรอ่านดังนี้

(ก) พยายามให้เป็นเสียงพูด

(ข) คำขึ้นต้นความ ให้ดังและให้ช้ากว่าปกติเล็กน้อย เพื่อให้ผู้ฟัง กลับจิตมาตั้งใจฟัง แล้วจึงผ่อนเสียงลงเป็นปกติ และเร็วเข้าโดยลำดับจนลง วรรคจึงหยุด และขึ้นต้นอีกก็ให้ดังและช้าดังว่าแล้ว

(ค) พยายามหยุดหายใจในที่จบวรรคหรือจบคำ อย่าหยุดคาบคำ เช่น ‘สามัคยาจารย์-สโมสร’ ดังนี้ ถ้าคำใดเป็นคำสำคัญก็ให้เน้นถ้อยคำขึ้นให้ชัดเจน หรือเรื่องเขากล่าวเป็นข้อๆ เช่น ศีลห้า คือเว้นการฆ่าสัตว์ เว้นลักทรัพย์ ฯลฯ ต้องทอดจังหวะเป็นข้อๆ ไป

(ฆ) ต้องให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง คือถึงเรื่องดุก็ให้เสียงแข็งและเร็วเข้า ถึงเรื่องอ้อนวอนก็ทอดให้เสียงอ่อนหวานลง เป็นต้น ให้ถือเอาตามที่คนพูดกันเป็นหลัก

(๒) ถ้าอ่านคำประพันธ์ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ต้องอ่านเป็นทำนองอีกอย่างหนึ่ง จะอ่านเป็นเสียงห้วนๆ เป็นเสียงพูดไม่ได้ คือ

( ก ) ให้หยุดตามวรรคของคำประพันธ์นั้นๆ คำหยุดให้ทอดเสียงเล็กน้อย

(ข) ถ้าถึงคำที่รับกัน ถึงแม้ว่าไม่ใช่วรรคก็ให้ทอดจังหวะเล็กน้อย เพื่อให้ฟังคล้องจองกัน เช่น
‘องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน’ คือว่า สุทธ ต้องทอดจังหวะเล็ก น้อย ถึงแม้ว่าคำร้อยแก้วซึ่งแต่งให้คล้องจองกัน เช่น คำประกาศเทวดา, หรือ คำกล่าวสุนทรพจน์เป็นต้น ต้องทอดจังหวะในคำที่รับกันเหมือนกัน แต่อย่าให้ช้านัก จนกลายเป็นลงวรรคไป

(ค) ต้องให้เป็นไปตามเนื้อเรื่องเหมือนกัน คือถึงทีดุให้ดุ ถึงทีอ่อน- หวานให้อ่อนหวาน เป็นต้น

ที่ว่ามานี้ พอให้ผู้ศึกษาสังเกตไว้เป็นหลักเท่านั้น จะให้ถูกต้องจริงๆ ต้องให้ครูแนะนำเมื่อเวลาอ่าน

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร