มหาตมะคานธีในอินเดีย

Socail Like & Share

คานธี
ถึงแม้นว่าท่านได้รับตำแหน่งผู้แทนท่านโคเชลก็จริงอยู่ แต่ก็ยังไม่สามารถลงมือเชิดฐานะของอินเดียได้ประการใด ทั้งนี้เพราะว่า เวลาที่ทานโคเชลจะถึงแก่กรรม ท่านคานีได้รับปากกับท่านผู้นั้นไว้ว่า ตั้งแต่นี้ไปเป็นเวลากำหนดหนึ่งปี ท่านจะไม่แสดงวิจารณ์ หรือคัดค้านนโยบายของรัฐบาลอีก แต่เมื่อเวลาหนึ่งปีผ่านพ้นไปแล้ว ท่านจะคัดค้านหรือสนับสนุนรัฐบาลนั้นแล้วแต่ความเห็นชอบของตน

การรับปากเช่นนี้ มีสาเหตุ ๒ ประการ ประการหนึ่ง….ฐานะคณะพรรคการเมืองในอินเดียสมัยนั้น และประการที่สอง….ความเห็นของท่านคานธีในฐานะของอินเดียภายใต้การปกครองของอังกฤษ

ขอกล่าวอีกสักหน่อย ในสมัยนั้น อินเดียมีคณะพรรคการเมืองอยู่ ๒ คณะ คือ Moderate กับ Extremists หลักการของคณะพรรค Moderate อาศัยการประนีประนอมและการร้องทุกข์เป็นกรณี จึงไม่เห็นด้วยกับหลักการคัดค้านหรือวิจารณ์นโยบายของรัฐบาลโดยตรง ส่วนคณะพรรค Extremists มีหลักการตรงกันข้าม Extremists อาศัยหลักการก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในหมู่ประชาชน Extremists ไม่เห็นด้วยว่า อินเดียจะไปประนีประนอมกับอังกฤษ เพราะสิทธิที่อินเดียกำลังพยายามจะเรียกกลับคืนมา คือเป็นสิทธิแต่เดิม อังกฤษเป็นฝ่ายที่ทำลายสิทธิเหล่านั้นเสีย ฉะนั้น ถ้าฝ่ายใดต้องการประนีประนอมแล้ว ฝ่ายนั้นต้องเป็นฝ่ายอังกฤษ มิใช่ฝ่ายอินเดีย

ในสมัยนั้น มณฑลเบงคอล กับ มณฑลบอมเบนับว่าเป็นผู้นำในทางการเมือง ตั้งแต่ต้นจนบัดนี้เบงคอลเป็นฝ่าย Extremists และบอมเบเป็นฝ่าย Moderate ท่านโคเชลเคยครองตำแหน่งผู้นำคณะพรรค Moderate ท่านมีความหวังอย่างยิ่งว่า เมื่อท่านสิ้นชีวิตแล้ว ท่านคานธีจะครองตำแหน่งนี้ต่อไป แต่เฉพาะในเวลานี้เอง ท่านคานธีได้แต่งหนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง ชือว่า Indian Home Rule มีข้อความสำคัญดังต่อไปนี้

อารยธรรมของโลกโดยทั่วไป อาศัยหลักการแต่อย่างเดียว กระนั้นก็ดี ระดับอารยธรรมของอินเดียสูงกว่าอารยธรรมอื่นๆ เพราะอินเดียสอนให้เรามองเห็นมนุษย์ภายใน คือใจ ยึดถือเอาใจเป็นหลักสำคัญมากยิ่งกว่าวัตถุ ส่วนอารยธรรมตะวันตก ซึ่งอาศัยหลักอุตสาหกรรมเป็นที่ตั้ง สอนให้เราดำเนินชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย สอนให้เกิดความเกลียดชังต่อกันและกัน ทำลายมนุษยธรรมเสียและแปลงชีวิตมนุษย์ให้เป็นประหนึ่งเครื่องจัก รัฐบาลอังกฤษกำลังจะนำอารยธรรมชนิดนี้มาสู่มาตุภูมิของเรา พยายามที่จะชนะใจด้วยวัตถุอารยธรรมชนิดนี้ ยึดถือเอาอำนาจทางวัตถุเป็นอำนาจสำคัญ ถ้าจะนำมาใช้ในหลักการของรัฐบาลแล้วจะขัดขวางกับความสันติสุขของประชาชน ทั้งจะนำความหายนะมาสู่อารยธรรมอินเดียด้วย

อาศัยแนวความคิดดังนี้เป็นมาตรฐาน ท่านได้พิจารณาคัดค้านนโยบายของรัฐบาลในอินเดียอย่างแรงกล้า หนังสือเล่มนี้ ได้มีอิทธิพลเหนือชนชาวอินเดียมากถึงกับผู้พิมพ์โฆษณาต้องพิมพ์ปีละหลายๆ ครั้ง

ท่านโคเชลอ่านหนังสือเล่มนี้ รู้สึกหนักใจที่ได้เห็นมติความคิดของท่านคานธีห่างออกไป จากหลักการฝ่าย Moderate ฉะนั้นท่านจึงคิดว่า ถ้าท่านคานธีจะได้เที่ยวดูสถานการณ์ของอินเดียสักปีหนึ่ง ความเห็นของท่านคงจะเปลี่ยนกระแสไปจากสายเดิม

ที่จริง แต่เดิมท่านคานธีมีวิธีการเป็นไปทาง Extremists ส่วนใจของท่าน ยังบ่งถึงหลัก Moderate อยู่เสม คณะพรรค Extremists ดังมีอยู่ในมณฑลเบงคอล มีหลักการที่จะตัดความสัมพันธืกับรัฐบาลอังกฤษทุกประการ ส่วนท่านคานธี ในสมัยก่อนมีความภูมิใจในการได้ร่วมอยู่กับราชอาณาจักรอังกฤษ ดังที่เราเห็นได้จากสุนทรพจน์ ณ ที่ประชุม British Law Dinner เดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๑๕ เมื่อท่านประธาน คือ คอรเบตต อธิการบดีอัยการเชิญท่านคานธีถวายพระพรแด่ราชอาณาจักรอังกฤษ

“ในฐานะที่ฉันเป็นผู้ทำการต่อต้านรัฐบาล ตามหลักสัตยาเคราะห์ ฉันเคยสังเกตมาแล้วว่า ผู้ที่จะต่อต้านตามหลักสัตยาเคราะห์นั้น เขาอยู่ในสถานการณ์เช่นไรก็ตาม ต้องยึดสัจธรรมไว้อย่างแน่วแน่ และในการต่อต้านคราวนี้ ฉันได้สังเกตด้วยว่า ราชอาณาจักรอังกฤษณ อาศัยอุดมคติบางประการ ซึ่งแนชอบมากทีเดียว อุดมคตินั้นๆ คือ คนในบังคับอังกฤษทุกคนมีสิทธิ์และเสรีภาพในกิจการทุกประการ เท่าที่อยู่ภายในขอบเขตแห่งกำลัง เกียรติยศและความรับผิดชอบของตน รัฐบาลอื่นๆ ไม่ยอมที่จะมอบสิทธิและเสรีภาพอย่างกว้างขวางเช่นนี้ ให้แก่ราษฎรของตน(ปรบมือ) ท่านคงทราบกันดีแล้วว่า ถึงฉันไม่ชอบรัฐบาลแบบใดก็ตาม แต่ก็ยังเห็นว่า รัฐบาลที่ปกครองน้อยที่สุด รัฐบาลนั้นแหละคือรัฐบาลที่ดีที่สุด อนึ่ง ฉันได้เห็นมาแล้วว่า ถ้าฉันอยู่ภายในบังคับของรัฐบาลอังกฤาฉันจะได้รับการปกครองน้อยที่สุด เพราะเหตุนี้เองฉันจึงมีความจงรักภักดีต่อราชอาณาจักรอังกฤษ (ปรบมือ)”

ต่อมา ณ ที่ประชุม Y-M-C-A มัทราส ท่านได้กล่าวไว้ว่า
“ฉันเคยเป็นฝ่ายปรปักษ์กับอารยธรรมสมัยใหม่นี้มาแล้ว และทั้งยังเป็นอยู่ด้วย ฉันขอให้ท่านทั้งหลายมองดูเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในยุโรป ณ บัดนี้ แล้วถ้าท่านเข้าใจว่า ยุโรปกำลังได้รับความทารุณโหดร้ายเพราะอารยธรรมสมัยนี้ ท่านและผู้ใหญ่จะต้องตริตรองดูหลายครั้ง ก่อนที่ท่านจะปล่อยอารยธรรมนั้นให้เข้ามาสู่มาตุภูมิของเรา แต่ฉันเคยได้ยิน ท่านมักพูดว่าในเมื่อผู้ปกครองของเรา นำอารยธรรมนั้นมาสู่มาตุภูมิของเราเสียแล้ว เมื่อกระนั้นเราจะป้องกันได้อย่างไร ขออย่าให้เข้าใจผิด ฉันไม่เชื่อเลยว่า ถ้าเราไม่เตรียมพร้อมที่จะต้อนรับอารยธรรม ผู้ปกครองจะสามารถนำอารยธรรมนั้นมาให้เราได้ เราคงมีกำลังใจพอเพียงที่จะไม่ยอมรับอารยธรรมของเขา โดยไม่ต้องขับไล่เขาเสียก็ได้”

“ฉันยอมตัวที่จะเข้าเป็นฝ่ายรัฐบาลอังกฤษ เพราะฉันเชื่อว่า ฉันสามารถที่จะเรียกร้องความเสมอภาคกับราษฎรทุกคนในราชอาณาจักรอังกฤา ฉันขอเรียกร้องโดยย้ำว่า ฉันมีความเสมอภาค ชาติเรามิใช่ขี้ข้าของใคร ฉันไม่ถือตัวว่าเป็นขี้ข้าของใคร(ปรบมือ) แต่ความสำคัญอยู่ในข้อนี้คือ การกลับคืนสิทธิไม่อยู่ในข้อที่ว่า รัฐบาลอังกฤษจะให้เอง แต่อยู่ข้อที่ว่า เราต้องชิงเอาต่างหาก ฉันต้องการสิทธิ และฉันรู้ว่า จะเรียกสิทธินั้นคืนมาได้อย่างไร นั่นฉันทำได้ก็โดยดำเนินหน้าที่ของฉัน แมกสมูเลอร์ได้กล่าวไว้ว่า อินเดียไม่จำต้องไปหาใครเพื่อเรียนศาสนา ศาสนาอินเดียตั้งอยู่ใน ๔ ตัวคือ D-u-t-y (หน้าที่ป ไม่อยู่ที ๕ ตัว คือ R-i-g-h-t (สิทธิ) ถ้าท่านเชื่อว่าทุกๆ สิ่งที่เราต้องการเราหาไดโดยการดำเนินหน้าที่ของเราแล้ว ก็ขอให้ท่านทั้งหลายจะระลึกถึงหน้าที่ของท่านเสมอ และในการดำเนินหน้าที่นั้นๆ หากจะต้องการต่อสู้อยู่บ้างท่านต้องยอม ไม่ต้องกลัวมนุษย์คนใด”

อาศัยสุนทรพจน์ ทั้ง ๒ คราวนี้ พอที่จะเห็นได้ว่าจิตเดิมของท่านคานียังตั้งมั่นอยู่ในความเชื่อว่า ในราชอาณาจักรอังกฤา ราษฎรมีความเสมอภาคทุกคน ความคิดเห็นว่าดังนี้ได้ค่อยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรนั้น เราจะเข้าใจได้จากพฤติการณ์ต่อๆ ไปของรัฐบาลอังกฤษทั้งในอินเดียและอังกฤษเอง

ส่วนความคิดเห็นอีกสายหนึ่ง คือ อินเดียจะต้องชิงเอาสิทธิกลับคืนมาจากอังกฤษ มิใช่อังกฤษจะให้เองนั้นเป็นความจริงอยู่ และคงเป็นความจริงตลอดเวลาที่อินเดียยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ

ที่มา: สวามี  สัตยานันทปุรี