คุณภาพของน้ำผึ้ง

Socail Like & Share

น้ำผึ้งก็คือน้ำหวานที่ผึ้งนำมาจากน้ำหวานของดอกไม้ โดยผ่านกรรมวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ ทั้งยังมีคุณสมบัติดีเลิศกว่า เพราะมีฮอร์โมนบางชนิดผสมอยู่ด้วย น้ำผึ้งอาจจะมีสีต่างๆ กันเช่น สีเหลือง หรือสีทอง สีเหลืองอมส้ม สีน้ำตาลไหม้ หรือสีเขียวๆ สีและกลิ่นของน้ำผึ้งย่อมขึ้นอยู่กับชนิดของดอกไม้นั้นๆ ที่ผึ้งไปดูดเอาน้ำหวาน ซึ่งในทางเคมีจากการวิเคราะห์จะไม่แตกต่างกัน

ส่วนประกอบ ข้อกำหนดคุณภาพตามมาตรฐาน CODEX (%)
น้ำตาลรีดิวซิง (คิดเป็นน้ำตาลอินเวอร์ต)

ความชื้น

น้ำตาลซูโครส

สารที่ไม่ละลายน้ำ

แร่ธาตุ(เถ้า)

ความเป็นกรด (คิดเป็นมิลลิอิควิวาเลนด์/กิโลกรัม)

HMF (Uydrovy Methyl fur-farol mythy)

Diastase activity DN

ลักษณะทั่วไป

ไม่น้อยกว่า ๖๐

ไม่มากกว่า ๒๓

ไม่มากกว่า ๑๐

ไม่มากกว่า ๐.๕

ไม่มากกว่า ๑.๐

ไม่มากกว่า ๔๐

 

ไม่มากกว่า ๔๐

ไม่น้อยกว่า ๘

ไม่มีกลิ่นผิดปกติ

ไม่แสดงการบูด

แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากน้ำผึ้งมีราคาแพง จึงได้มีผู้คิดปลอมปนและปลอมแปลงอยู่เสมอเป็นปัญหาสำหรับผู้ซื้อมาก บางรายอาจจะใช้น้ำตาลทรายคั่วพอเหลืองแล้วใส่น้ำใส่แบะแซ เคี่ยวจนเหนียวกะดูสีให้เหมือนน้ำผึ้ง ผสมน้ำผึ้งแท้เพื่อให้มีกลิ่นน้ำผึ้ง บางรายจะเคี่ยวน้ำหวานให้มีความข้นใกล้เคียงกับน้ำผึ้งแล้วใช้เข็มฉีดใส่รวมผึ้งหาบขายเพื่อให้เกิดน้ำหนักและมองดูน่าซื้อ ฯลฯ ซึ่งเป็นการยากสำหรับผู้ซื้อที่จะรู้ว่าเป็นน้ำผึ้งแท้หรือปนหรือปลอม

การทดสอบแบบง่ายๆ คือ
๑. ใช้ใบชา (ที่ชงกับน้ำร้อน) ใส่แก้วสักหยิบมือหนึ่ง เทน้ำผึ้งลงไปประมาณ ๒ ช้อนโต๊ะ หากเป็นของแท้สีน้ำผึ้งที่แช่ใบชาจะไม่เปลี่ยนสี หากเป็นของปลอมสีของน้ำผึ้งจะเปลี่ยนสีค่อนข้างดำ วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะที่ปลอมด้วยแบะแซอย่างเลวเท่านั้น

๒. หยดน้ำผึ้งใส่แก้วที่มีน้ำ วางไว้นิ่งๆ ของแท้จะเกาะกลุ่มอย่างเหนียวแน่นและจะละลายน้ำช้าๆ ส่วนของปลอมจะละลายได้รวดเร็วมาก

๓. ใช้ทาขนมปัง ถ้าเป็นน้ำผึ้งแท้หน้าขนมปังจะแห้งแข็ง ถ้าปลอมหน้าขนมปังจะเปื่อยยุ่ย

นอกจากนี้แล้วยังมีวิธีทดสอบอย่างอื่นหลายอย่าง แต่ก็ไม่ค่อยจะได้ผลมากนัก เพราะผู้ปลอมปนมีวิธีการที่แนบเนียนมากขึ้นทุกที หากจำเป็นต้องการจะรู้แน่ชัด ควรส่งไปวิเคราะห์ที่กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อหาส่วนประกอบทางเคมี ดังกล่าวแล้ว

การทิ้งรังและการแยกรังของผึ้ง
การเลี้ยงผึ้งในบางครั้งจะพบว่าผึ้งมีการทิ้งรังไปหาที่อยู่ใหม่ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายประการด้วยกัน เช่น เพราะถูกมนุษย์รบกวน มีศัตรูพวกชีปะขาว มด ปลวก หรือไรของผึ้ง รบกวน ฯลฯ หรือบางครั้งอาจเป็นเพราะกลีบรังมีอายุเก่าเกินไป ตัวผึ้งมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อการดูแลรักษา ก็อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ผึ้งทิ้งรังได้

ส่วนการแยกรังนั้น ตามปกติผึ้งจะทำการแยกรังเพื่อการขยายพันธุ์ โดยจะแยกจากรังเดิมไปหาที่อยู่ที่แห่งใหม่เช่นกัน จะเกิดขึ้นเมื่อผึ้งรังนั้นเจริญและสมบูรณ์เต็มที่และสร้างนางพญาตัวใหม่เกิดขึ้นแล้ว สำหรับผึ้งไทยจะแยกรังอยู่เสมอตลอดปี ซึ่งคาดว่าจะเกี่ยวกับอากาศในแต่ละภาค (คุณวิพัฒน์  กิวานนท์ ได้สังเกตพบว่า อายุการแยกรังของผึ้งจะมีทุกๆ ๑๒๐ วัน แต่ไม่เสมอไปนัก ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพและความเหมาะสม หากครบกำหนด ๑๒๐ วัน ผึ้งยังไม่มีการแยกรัง อาจเลื่อนกำหนดไปอีก ๑๒๐ วัน) มีวิธีสังเกตก็คือ จะมีผึ้งตัวผู้มากในระยะนั้น และจะมีหลอดรังไข่ของนางพญาเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามสำหรับผู้เลี้ยงเพื่อเอาน้ำผึ้ง ส่วนมากจะพยายามไม่ให้ผึ้งมีการแยกรัง เพราะจะทำให้ขนาดของรังเล็กลง จะทำให้ได้น้ำผึ้งน้อย

นอกจากการแยกรังโดยธรรมชาติ ผู้เลี้ยงอาจแยกรังเพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนรังผึ้ง ซึ่งทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายคือ เบื้องต้นต้องมีการเลี้ยงผึ้งในหีบ และเลี้ยงด้วยเฟรมเสียก่อนจะเป็นการสะดวก วิธีหนึ่งที่ง่ายและกำลังมีผู้ทดลองอยู่ก็คือ เมื่อผึ้งรังใดสร้างตัวผู้และหลอดรังไข่ของนางพญาขึ้น เฝ้าและนับวันที่นางพญาตัวใหม่จะออกเป็นตัว เมื่อหลอดรังนางพญาปิดฝาได้ วันที่ ๒ เราก็จัดการแยกนางพญาตัวเก่า โดยยกไปทั้งคอนซึ่งมีผึ้งงาน ดักแด้ และตัวอ่อนไปไว้ในรังใหม่ ย้ายไปไว้ห่างๆ จากที่เดิม โดยยกไปทั้งคอน ซึ่งมีผึ้งงาน ดักแด้ และตัวอ่อนไปไว้ในรังใหม่ ย้ายไปไว้ห่างๆ จากที่เดิม โดยปล่อยให้หลอดนางพญาที่จะออกเป็นตัวอยู่ในรังเก่าต่อไป เมื่อออกมาเป็นตัวก็จะทำการผสมพันธุ์กับผึ้งตัวผู้และวางไข่ครองรังเก่าต่อไป ส่วนนางพญาตัวเก่าก็จะขยายสร้างรังใหม่ต่อไป

การแยกรังในทางปฏิบัติมีปัญหาที่ยุ่งยากหลายประการที่จะต้องฝึกหัดทำ เช่น การพิจารณาเวลาที่เหมาะสมในการแยกรัง การพิจารณาจำนวนที่จะแยกที่ตั้งรังใหม่และบางทีนางพญาตัวเก่ามีอายุมากไป จะไม่ขยายรังอีก นางพญาตัวใหม่อาจจะเกิดตายกลางคัน ไม่ออกเป็นตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้น เป็นต้น สำหรับผู้เลี้ยงใหม่อาจจะยังไม่จำเป็นควรทดลองฝึกฝนสังเกตการเลี้ยงผึ้งให้ได้ผลดีเสียก่อน แล้วจึงค่อยพัฒนาการเลี้ยงให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป

อุปกรณ์การจับผึ้ง และเครื่องมือบางชนิด

๑. ชุดจับผึ้ง เสื้อและกางเกงจะต้องยาวปิดปลายแขนและขา อาจจะใช้ยางฝืดเย็บติดไว้ข้างในเพื่อรัดข้อมือและข้อเท้า

ถุงมือควรเป็นถุงยางหรือหนังอย่างหนา

เครื่องคลุมศีรษะ สามารถทำได้เอง โดยหาซื้อตาข่ายอลูมิเนียมชนิดที่ใช้ทำมุ้งลวด นำมาทำเป็นรูปทรงกระบอก ให้มีขนาดโตกว่าศีรษะของผู้สวมเล็กน้อย ด้านบนใช้ผ้าหนาๆ หรือตาข่ายอลูมิเนียมเย็บติด ด้านล่างใช้ผ้าหนาๆ เช่นกัน เย็บริมโดยรอบ ใช้เชือกร้อยสำหรับรูดให้แนบกับคอได้

รองเท้า ควรเป็นรองเท้าประเภทหุ้มข้อ

๒. ถุงผ้าโปร่งสำหรับขังผึ้ง ใช้ฝาชีพลาสติกเล็กๆ ปากกว้าง ๑๐ นิ้ว สูง ๔ นิ้วก็พอ มีขายทั่วไปในท้องตลาด ข้างบนหัวฝาชีใช้ลวดทำเป็นห่วงสำหรับหิ้ว ใช้ผ้ามุ้งขนาด ๑ คูณ ๓ ฟุต นำมาเย็บติดกับฝาชีโดยรอบ เพื่อประโยชน์ในการขังผึ้ง นำผึ้งจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งโดยผึ้งไม่มีโอกาสออกมาได้

๓. แปรงปัดตัวผึ้ง ใช้แปรงทาสีชนิดที่มีขนอ่อนๆ หรือจะใช้ขนปีกไก่ ๒-๓ ขนก็ได้ เตรียมไว้สำหรับปัดตัวผึ้งตอนจะเอาเข้าและออกจากหีบ

๔. ที่สำหรับทำให้เกิดควัน อาจจะใช้เศษผ้าแห้ง หรือกาบมะพร้าวแห้งก็ได้ หรือบุหรี่ ธูป

๕. กลักขังนางพญา มีไว้สำหรับกักขังนางพญาในการนำผึ้งเข้าหีบ ใช้ลวดตาข่ายอลูมิเนียมทำเป็นถุงขนาดเท่ากับซองบุหรี่ ใช้ตาปูขนาด ๓ นิ้วอย่างผอม เจาะที่ข้างรังสัก ๕-๑๐ รู เพื่อให้ผึ้งงานเข้าไปเลี้ยงนางพญาได้

๖. ถังบรรจุน้ำผึ้ง

๗. มีด

๘. ตะแกรงลวดอย่างถี่ มีไว้สำหรับคั้นน้ำผึ้ง อาจจะใช้ตาข่ายอลูมิเนียมก็ได้

๙. ถาดอลูมิเนียม (ใส่กลีบผึ้ง)

๑๐. เชือกมัดรอก (สำหรับใช้ในการตัดรวงผึ้งที่อยู่สูงๆ)

๑๑. ตะกร้าปากกว้าง ก้นตื้น (แบบตะกร้าใส่ผลไม้อวยพรปีใหม่)

๑๒. สวิงเล็กๆ (ใช้จับนางพญา)

๑๓. บันได

๑๔. มุ้ง

๑๕. ฟิวส์ไฟฟ้า

ที่มา:วิชาภรณ์  แสงมณี