การดับพิษนํ้าที่เดือดแล้วตักกินได้ด้วยพลังจิต

Socail Like & Share

ขั้นต่อไปจะได้สอนให้ส่งจิตออกนอกกาย คือ ส่งไปใส่นํ้ามันที่กำลังเดือด หรือนํ้าที่กำลังเดือด ทำให้เย็นลงได้

เพื่อให้การเรียนใช้เวลาสั้นๆ จึงจะเริ่มขั้นที่ ๒ ด้วยการฝึกดับพิษน้ำเดือดก่อน

การดับพิษนํ้าที่เดือดแล้วตักกินได้
พ.อ. ชม เรียนจากพระอาจารย์ในดง
(๑). จัดดอกไม้ธูปเทียนใส่พานพร้อมกับเงินค่า บูชาครู ๖ บาท แล้วกราบพระและจุดธูปเทียนบูชาครู ภาวนาในใจว่า “ข้าพเจ้าขอสักการะบูชาต่อคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูอาจารย์ มีหลวงตาดำ อาจารย์ชาญณรงค์ ขอให้มาช่วยทำนํ้าให้ เป็นยาดับพิษร้อนของนํ้าเดือดให้หมดไป เมื่อนํ้าถูกปากถูกมือก็อย่าให้ร้อนอย่าให้มีอันตราย”

(๒). เอานํ้าเทใส่กะทะหรือภาชนะที่จะต้มนํ้า

(๓). ว่า “นะโม” สามจบ แล้วว่า “พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ”

(๔). ภาวนา “สัคเค กาเม จะรูเป คีริสิขะ- ระตะเฏ จันตะลิเข วิมาเน ทีเปรัฐเถ จะคาเม ตะรุวะนะ- คะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเตภุมมาจายันตุ เทวาชะละ-ถะละ วิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโวเม สุณันตุ ธัมมัสสะวะนะกาโล อยัมภะทันตา” คำสุดท้าย “อะยัมภะทันตา” ว่าหนเดียว (โดยที่ธรรมดาว่า ๓ หน)

(๕). อัญเชิญว่าดังนี้ “ข้าพเจ้าขออาราธนา คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูอาจารย์ ขอให้มาช่วยทำนํ้านี้ให้เป็นยา และช่วยดับพิษร้อนให้หมดไป ขอเชิญธาตุนํ้า ธาตุลม มาช่วย ดับพิษร้อนทั้งหลายให้สูญสิ้นไป”

(๖). ยกกระทะนํ้าขึ้นตั้งบนเตาไฟ (เตาถ่าน, หรือเตาไฟฟ้า, เตาแก๊ส) แล้วเสกนํ้าในกระทะให้เป็นยา หายใจเข้าอัดลมไว้แล้วพนมมือก้มหน้าลงห่างนํ้าประมาณ ๑ ฟุตแล้วว่า “สมุหะ คัมภีรัง อะโจระ ภะยัง อะเสสะโต โสภะคะวา พุทโธหยุด ธัมโมหยุด สังโฆหยุด โรคภัยทั้งหลายจงหยุด หยุดด้วยนะโมพุทธายะ” ว่าประมาณ ๒ จบแล้วเป่าลงไปที่นํ้าเวลาเป่าให้ว่าอีก ๑ จบ (ว่าในใจ) ต่อไปสูดลมหายใจเข้าอัดลมภาวนาบททำนํ้ามันให้เป็นยา คือ “สมุหะคัมภีรัง อะโจระภะยัง อะเสสะโตโสภะคะวา พุทโธหยุด ธัมโมหยุด สังโฆหยุด โรคภัยทั้งหลายจงหยุด
หยุดด้วยนะโมพุทธายะ” ข้อสำคัญยิ่งก็คือในการเสก ให้ว่าและเป่าอย่างเดิมให้ครบ ๗ ครั้ง จิตนึกภาพนํ้า และตั้งใจปล่อยกระแสจิตลงไป นํ้าร้อนขึ้นมากแล้วก็เริ่มภาวนา ว่าบทดับพิษร้อน โดยสูดลมหายใจเข้าอัดไว้ ภาวนาในใจว่า

“มะอะอุ นะมะพะทะ สะกะพะจะ” ว่าประมาณ ๕ จบ แล้วเป่าลงไป เวลาเป่าภาวนาอีก ๑ จบ ต่อไปก็สูดลมเข้าภาวนาและเป่าอย่างเดิมอีกเรื่อยๆ ไปจนนํ้าเริ่มเดือดจิตนึกภาพนํ้าและตั้งใจปล่อยกระแสจิตลงไปที่นํ้าตลอดเวลา ถ้าเริ่มจะเหนื่อยก็ภาวนาเป็นสมาธิ คือ ไม่ต้องอัดลมไว้หายเหนื่อยดีแล้วก็ภาวนาด้วยวิธีอัดลมอีกหลายครั้ง

เมื่อนํ้าเริ่มเดือด จะลองเอานิ้วจุ่มลงตรงไหน ก็ตั้งจิตนึกถึงตรงนั้น สูดลมหายใจเข้าอัดลมไว้ หลับตา ภาวนาคาถาดับพิษร้อน ๓ จบแล้วเป่าลงตรงที่จะเอานิ้วจุ่ม พร้อมคาถาบทดับพิษร้อนอีก ๑ จบ ต่อไปสูดลมหายใจอัดลมไว้ เอานิ้วชี้ชี้เข้าใกล้น้ำเกือบจะแตะนํ้าภาวนาว่า “นะโมพุทธายะ” แล้วเอานิ้วชี้แตะลงในน้ำพร้อมกับภาวนาว่า “ปติรูปัง” ยกนิ้วขึ้นดู ถ้ายังร้อนก็ดับพิษซํ้าอีก ถ้ารู้สึกอุ่นๆ เวลาแตะนํ้าเมื่อยกนิ้วขึ้นมาก็หายร้อน หายอุ่น ก็เป็นอันว่าดับพิษร้อนได้ผลดีแล้ว ต่อไปให้หายใจเข้าอัดลมไว้เอานิ้วเตรียมจุ่มซํ้าอีกว่า “นะโมพุทธายะ” เวลาจุ่มว่า “ปติรูปัง” จุ่มให้ลึกลงไปประมาณกึ่งกลางนิ้ว เมื่อยกมาไม่ร้อนก็ใช้ได้

การตักน้ำเดือดขึ้นอม ทำเหมือนการเอานิ้วจุ่ม ครั้งแรกคือจะตักตรงไหนก็ว่าบทดับพิษร้อนเป่าลงไปช้อน ที่จะตักควรใช้ช้อนกระเบื้อง ถ้าไม่มีก็ใช้ช้อนสังกะสีเคลือบล้างให้สะอาดเวลาจะตักสูดลมเข้าอัดลมไว้ว่า “นะโมพุทธายะ” แล้วตักนํ้ามาเล็กน้อย ขณะเทใส่ปาก ให้ภาวนาว่า “ปติรูปัง” แล้วพ่นนํ้าออกมา เมื่อไม่ร้อน เพียงอุ่นๆ ครั้งหลังก็ตักนํ้ามากขึ้นโดยสูดลมเข้าอัดลมไว้ภาวนาว่า “นะโมพุทธายะ” แล้วตักนํ้าร้อนเทใส่ปากว่า “ปะติรูปัง” อมไว้ก่อนจึงกลืนกิน

การทำครั้งแรกไม่ชำนาญเมื่อนํ้าเริ่มเดือดให้ลดไฟเหลือน้อยๆ ถ้าเป็นถ่านก็ตักถ่านออกให้เหลือแต่น้อย จะได้มีเวลาดับพิษร้อนได้นานพอควร ถ้าเวลาเอามือจุ่ม ทดลองรู้สึกร้อนมากยกนิ้วขึ้นก็ร้อนเผ่าๆ ร้อนตุบตุบก็ยังดับพิษร้อนไม่ลง ต้องภาวนาดับพิษร้อนใหม่อีกหลายๆ ครั้ง จนหมดพิษร้อนทำครั้งแรกจะร้อนเล็กน้อย เพราะยังกลัวอยู่ข้อสำคัญก่อนจะกลืนนํ้าร้อนให้อมไว้ก่อน
น้ำที่กำลังเดือด ถ้าตักใส่ปากพ่นลงตรงที่เจ็บปวด หรือที่เป็นฝีมักจะได้ผลดีกว่าเอานํ้ามันทาแก้ปวด การเสกก็ใช้อัดใจภาวนาคาถาหลายจบ แล้วเป่าลงพร้อมด้วยภาวนาคาถาด้วย อย่าลืมนึกภาพนํ้าตั้งจิตหรือนึกคิดอยู่ที่นํ้าปล่อยลมที่เป่าและกระแสจิตให้ดิ่งลงไปสู่นํ้าอยู่เสมอ

การปล่อยกระแสจิตลงนั้น ถ้าเหนื่อยก็จะปล่อยกระแสจิตลงได้ผลน้อย ดังนั้นเวลาเอานํ้าตั้งไฟอยู่ เมื่อเสกหรือภาวนาแล้วเป่าหลายทีเริ่มเหนื่อยก็ให้ภาวนา โดยหายใจเข้าออกเบาๆ สบายๆ แบบทำสมาธิ ไม่ต้องอัดลมหายใจไว้นึกแต่ภาพนํ้าและตั้งจิตดิ่งลงไปในนํ้า ทำแบบนี้ไม่เหนื่อยเพราะไม่ได้อัดลมหายใจไว้เป็นการพักให้หายเหนื่อยไปในตัว แต่ก็ยังมีกระแสจิตลงไป วิธีนี้ เรียกว่า “ภาวนาเป็นสมาธิ” พอหายเหนื่อยแล้วก็เริ่มใช้วิธีอัดลมหายใจภาวนาแล้วเป่า เพราะเป็นวิธีที่ปล่อยกระแสจิตได้ดี แล้วก็ภาวนาเป็นสมาธิสลับกันไป

การดับพิษนํ้าเดือดแล้วตักกินได้ที่กล่าวมานี้ เป็นวิธีที่อธิษฐานขออนุญาตพระอาจารย์ในดง ขอใช้คาถาและวิธีในการทำนํ้ามันรักษาโรคและดับพิษร้อนมาใช้ในการดับพิษนํ้าเดือดส่วนการทำนํ้ามันรักษาโรค จะกล่าวภายหลังเพราะใช้เวลานาน

ที่มา:ชม  สุคันธรัต