วรรณคดีหลังรัชกาลที่ ๖ จนถึงปัจจุบัน

Socail Like & Share

ในปัจจุบันนี้ วรรณคดีที่เป็นร้อยกรอง มีฉันท์ กาพย์ กลอน เสื่อมนิยมไป และมักจะแต่งอ่านกันเล่นๆ ไม่ค่อยจะมีใครสนใจเท่าใดนัก และก็เป็นที่น่าเสียดายที่นักกวีในยุคปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยจะมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งนี้ เนื่องจากวรรณคดีร้อยแก้ว ได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนสามารถยึดเป็นอาชีพได้ผิดกับสมัยสุนทรภู่ ซึ่งขายต้นฉบับลำบากท้าวศรีจุฬาลักษณ์

วรรณคดีสมัยนี้ จึงหนักไปในเรื่องนวนิยาย มีการแปลจากภาษาต่างประเทศบ้าง แต่งขึ้นเองบ้าง ใช้ชีวิตประจำวันแบบชาวบ้าน สร้างเป็นตัวละครขึ้นมา มีทั้งเรื่องสั้น เรื่องยาว บทประพันธ์ชนิดนี้มีผู้นิยมอ่านมาก อ่านแล้วก็ติดใจ ลืมง่าย เบาสมอง ไม่ต้องใช้สติปัญญาตีความ มิหนำซ้ำยังนำไปสร้างเป็นบทละครแสดงทางโทรทัศน์ วิทยุ และแสดงภาพยนตร์ ถ้าจะเทียบกับยุคก่อนแล้ว มีความเจริญไปคนละด้าน ในปัจจุบันสามารถแต่งขายเป็นอาชีพหลักได้

นักเขียนที่มีชื่อ รุ่นต่อมาก็เห็นจะได้แก่
หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์
ดอกไม้สด (ม.ล. บุบผา นิมมานเหมินทร์)
ยาขอบ (โชติ แพร่พันธ์)
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
น้อย อินทนนท์ (มาลัย ชูพินิจ)
พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์
ฯลฯ

แนวคำถามและตอบ
ถาม รามเกียรตื้ไทย มีกี่ฉบ*บ ฉบบ’ที่มี’ชื่อเลียง มี ฉบบอะไรบ่าง
ตอบ รามเกียรติ์ไทยมี ๔ ฉบับ คือ
๑. รามเกียรติ์ บทพากย์ครั้งสมัยกรุงเก่า
๒. รามเกียรติ์ บทละคร ครั้งกรุงเก่า
๓. รามเกียรติ์ พระเจ้ากรุงธนบุรี
๔. รามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑
๕. รามเกียรติ์ พระพุทธเลิศหล้าฯ
๖. รามเกียรติ์ พระจอมเกล้าฯ
๗. รามเกียรติ์ พระมงกุฎเกล้าฯ
๘. โคลงภาพรามเกียรติ์ ที่วัดพระแก้ว

ฉบับที่มีชื่อเสียง ๕ ฉบับคือ
๑. รามเกียรติ์ พระเจ้ากรุงธนบุรี
๒. รามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑
๓. รามเกียรติ์ บทละคร ในรัชกาลที่ ๒ (ได้รับยกย่องมาก)
๔. รามเกียรติ์ บทละคร ในรัชกาลที่ ๔
๕. รามเกียรติ์ บทร้อง บทพากย์ และเจรจา ในรัชกาลที่ ๖

ถาม วรรณคดีคืออะไร มีกี่ชนิด
ตอบ วรรณคดีหมายถึง ทางแห่งหนังสือ หมายถึง การเขียน หรือเรื่องราวโดยทั่วไป แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ
วรรณคดี บริสุทธิ์
วรรณคดี ประยุกต์

ถาม รสวรรณคดี    คืออะไร มีกี่ประเภท คืออะไรบ้าง
ตอบ รสวรรณคดี คือ ความรู้สึกที่ได้จากการอ่าน
มี ๔ ประเภท    คือ
๑. เสาวรจนี
๒. นารีปราโมทย์
๓. พิโรธ วาทัง
๔. สัลลาปังคพิสัย

ถาม ลิลิตต่อไปนี้ จัดอยู่ในประเภทรสวรรณคดีประเภทใด
รอยรูปอินทร์หยาดฟ้า         มาอ่าองค์ในหล้า
แหล่งให้คนชม            แลฤา ฯ
พระองค์กลมกล้องแกล้ง     เอวอ่อนอรอรรแถ้ง
ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม        บารนี
ตอบ จัดอยู่ในประเภทเสาวรจนี ได้แก่การชมความงามของตัวละคร ชมปราสาทราชวัง ชมป่าเขาลำเนาไพร

ถาม วรรณคดีไทย เริ่มต้นยุคไหน วรรณคดีเรื่องแรก ได้แก่เรื่องอะไร ใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ วรรณคดีไทยเริ่มต้นในยุคสุโขทัย วรรณคดีเรื่องแรกได้แก่ หลักศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้แต่ง

ถาม หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ใครเป็นผู้ค้นพบ เมื่อ พ.ศ. เท่าใด
ตอบ หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงค้นพบ เมื่อขณะที่ทรงผนวชอยู่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖

ถาม ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นใคร ได้แต่งวรรณคดีเรื่องอะไรบ้าง
ตอบ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ คือ นางนพมาศ เป็นบุตรีของพระศรีมโหสถ ได้แต่งตำรับ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นนักกวีหญิงคนแรกในวรรณคดีไทย

ถาม วรรณคดีไทย ที่เกิดจากการค้นคว้าเรื่องแรกชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ วรรณคดีไทย ที่เกิดจากการค้นคว้าเรื่องแรกชื่อ ไตรภูมิพระร่วง ได้มาจากคัมภีร์ต่างๆ กว่า ๓๐ คัมภีร์ พญาลิไท ทรงพระราชนิพนธ์

ถาม สุภาษิตต่อไปนี้ ใครเป็นผู้แต่งไว้ในหนังสืออะไร
ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง     สร้างกุศลอย่ารู้โรย
ตอบ เป็นสุภาษิต ซึ่งสันนิษฐานว่า พ่อขุนรามคำแหงหรือพญาลิไท พระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือ สุภาษิตพระร่วง

ถาม  ในหลักศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า
“รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูร ได้สามพันสี่ร้อยวา” หมายถึงอะไร
ตอบ หมายถึงป้อมสามชั้น ตรีบูร ตรีปุร ภาษาสันสกฤตว่า ป้อมสามชั้น สร้างรอบเมืองสุโขทัย ยาวสามพันสี่ร้อยวา

ถาม จงยกตัวอย่าง ปฏิภาณกวี ในวรรณคดีไทย มาสัก ๒ ท่าน ให้ตัวอย่างประกอบด้วย
ตอบ ผู้ที่มีปฏิภาณว่องไวในการแต่งกวี ตัวอย่างเช่นศรีปราชญ์
ศรีปราชญ์ได้แต่งโคลงหน้าพระที่นั่ง ตอนหนึ่งว่า
เรียมรำน้ำเนตรถ้วม            ถึงพรหม
เทพเจ้าาตกจม                จ่อมม้วย
พระสุเมรุเปื่อยเป็นตม            ทบท่าวลงนา

มีผู้ถามขึ้นว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ศรีปราชญ์จะอยู่ได้อย่างไร ศรีปราชญ์ตอบว่า
หากอขนิฏฐพรหมฉ้วย         พี่ไว้จึ่งคง

สุนทรภู่ ได้แต่งโคลงหน้าพระที่นั่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ว่า
ร. ๒    “สักวาระเด่นมนตรี”
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ “จรลีลงสรงในสระ”
สุนทรภู่ “แกว่งพระหัตถ์ดัดพระองค์ทรงชำระ”
ร. ๒    “พลางเรียกพระอนุชามากระซิบ”
กรมหมื่น “กอบัวอยู่นี่เพิ่งมีฝัก”
สุนทรภู่ “จงไปหักมาแต่หัวฝักบัวดิบ”
ร. ๒    “โน่นอีกกออยู่ไกลไปลิบลิบ”
กรมหมื่น “ให้ช้างในป่าไปหยิบมาเถิดเอย”

ถาม ศิลาจารึกป่ามะม่วง มีความมุ่งหมายอย่างไร ใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ ศิลาจารึกป่ามะม่วง มีความหมายเพื่อจารึกพระจริยาวัตร และพระเกียรติของพระเจ้าแผ่นดิน มีลักษณะคล้ายคลึงกับศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พญาลิไท พระราชนิพนธ์

ถาม จงบอกสาเหตุที่ทำให้วรรณคดีแต่ละยุค แต่ละสมัยเสื่อมและเจริญ มาพอสังเขป
ตอบ วรรณคดีเสื่อม
๑. บ้านเมืองไม่สงบ เช่น เกิดสงคราม ทำให้กษัตริย์ และประชาชนไม่มีเวลาที่จะมาคิดอ่านที่จะเสริมสร้างวรรณคดีเรื่องต่างๆ เช่น สมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี
๒. ขาดผู้นำ เช่น กษัตริย์มิได้สนพระทัยในเรื่องกวี ทำให้ประชาชนไม่สนใจตามไปด้วย
๓. ขาดผู้อุปการะ กวีในสมัยโบราณต้องประกอบอาชีพอื่นหาเลี้ยงชีพ อาชีพทางกวีหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตนเองไม่ได้ เมื่อไม่มีผู้อุปการะก็ไม่เกิดอารมณ์ที่จะแต่ง อารมณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ ก็เนื่องจากจิตใจสบาย ไม่เดือดร้อนในด้านครอบครัว

วรรณคดีเจริญ
๑. บ้านเมืองสงบ อยู่เย็นเป็นสุข อุดมสมบูรณ์ ผู้ที่รักในงานนี้ ก็มีจิตใจที่จะคิดและค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ ที่จะนำมาแต่ง และแต่งได้ดี เพราะบ้านเมืองสงบ ไม่พะวงถึงเรื่องศึกสงคราม
๒. กษัตริย์สนพระทัยในเรื่องกวี ทำให้ประชาชนพลอยสนใจไปด้วย เช่น สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ เป็นต้น ทำให้วรรณคดีรุ่งเรือง
๓. มีผู้ชุบเลี้ยง เช่น พระมหากษัตริย์ทรงชุบ เลี้ยงนักกวีเอกเอาไว้ในราชสำนัก ทรงโปรดปรานยกย่องให้ได้ดิบได้ดี นักกวีไม่มีความทุกข์ร้อนก็แต่งได้ดี
๔. มีสิ่งดลใจ เช่นบ้านเมืองสงบเรียบร้อย ทำสงครามชนะ มีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นแก่บ้านเมือง นักกวี ก็มีแรงดลใจแต่ง เพื่อแสดงถึงความดีเด่นออกมา

ถาม พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา มีขึ้นในสมัยใด วรรณคดีเรื่องใดประกอบเป็นหลักฐาน
ตอบ พิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา มีขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) มีวรรณคดีที่ประกอบหลักฐาน คือ “ลิลิตโองการแช่งน้ำ”

ถาม วรรณคดีที่ถือว่าเป็นคำหลวง เรื่องแรกของไทย คือ เรื่องใด เหตุใดจึงเรียกว่า คำหลวง
ตอบ วรรณคดี ที่เป็นคำหลวงเรื่องแรกของไทย คือ มหาชาติคำหลวง

ลักษณะที่จะเป็นหนังสือคำหลวง ได้แก่
๑. เป็นหนังสือที่กษัตริย์ หรือเชื้อพระวงศ์ผู้ให้มีขึ้น
๒. เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาหรือตำนาน
๓. ใช้คำประพันธ์หลายชนิด
๔. ถูกต้องถือเป็นแบบอย่างได้

ถาม วรรณคดีไทย ที่ถือว่าเป็นคำหลวง มีกี่เล่ม อะไรบ้าง
ตอบ มี ๔ เล่ม คือ
๑. มหาชาติคำหลวง (พระบรมไตรโลกนาถ)
๒. นันโทปนันทสูตรคำหลวง (เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์)
๓. พระมาลัยคำหลวง (เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์)
๔. พระนลคำหลวง (รัชกาลที่ ๖)

ถาม วรรณคดีเรื่องใดที่วรรณคดีสโมสร ยกย่องให้เป็นยอดแห่งลิลิต เพราะอะไร
ตอบ ลิลิตพระลอ เพราะ
๑. ถ้อยคำภาษาสำนวนใช้สละสลวยกินใจ
๒. การพรรณนาทำเกิดเป็นภาพพจน์
๓. ให้คติทั้งทางโลกและทางธรรม
๔. ใช้เป็นตัวอย่างวรรณคดีเรื่องอื่นๆ เช่น ขุนช้างขุนแผน
๕. มีโคลงที่ใช้เป็นตัวอย่างที่นิยมแพร่หลาย เช่น
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง         อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศไกล        ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล        ลืมตื่น ฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า            อย่าได้ถามเผือ
ที่สุด เพราะอะไร
ตอบ ยุคกลาง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๓๓๑ เจริญมากที่สุด เพราะ
๑. บ้านเมืองปราศจากศึกสงคราม
๒. พระเจ้าแผ่นดินสนพระทัย และมีพระปรีชาชาญในเรื่องกวี
๓. มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมาก จึงทรงแต่งหนังสือเพื่อมิให้คนไทยฝักใฝ่ในศาสนาคริสต์

ถาม วรรณคดีเรื่องใดที่ วรรณคดีสโมสร ยกย่องให้เป็นยอดแห่งฉันท์ เพราะอะไร
ตอบ สมุทรโฆษคำฉันที่ เพราะ
๑. เป็นวรรณคดีที่มีรสครบถ้วน
๒. แทรกคติธรรมอย่างสูงส่ง
๓. การแต่งต่อถึง ๓ สมัย จึง จบ แต่ สามารถรักษาสำนวนไว้ในระดับเดียวกันอย่างดีเยี่ยม

ถาม โคลงต่อไปนี้ ได้มาจากหนังสืออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
ถาม วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา ยุคใดที่เจริญมาก
ทูลพิดกิจแจ้งจัด         ประการใด
คอยดูเมื่อภูวไนย        ผ่องแย้ม
แปรฝันบัณฑูรไข            สิงหนาท
จึงค่อยชะรอยเติมแต้ม    เมื่อท้าวสุขสานต์

ตอบ โคลงบาลีสอนน้อง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์
ถาม วรรณคดีเรื่องใด ที่เป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย ใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ จินดามณี พระโหราธิบดีเป็นผู้แต่ง

ถาม นิราศเรื่องใดที่เก่าที่สุด ใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ โคลงนิราศหริภุญไชย ไม่ทราบนามผู้แต่ง แต่เป็นกวีทางเหนือ

ถาม ใครเป็นผู้แต่ง กาพย์ เห่เรือ เรื่องแรกของไทย จงยกตัวอย่างบทไพเราะมาสักหนึ่งบท
ตอบ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์เป็นผู้แต่ง ถือว่าเป็นบทไพเราะที่สุด เช่น
รอนรอนสุริยคล้อย        สายัณห์
เรือยเรือยเรือแสงจันทร์    ส่องฟ้า
รอนรอนจิตกระสัน        เสียวสวาสติ แม่เอย
เรือยเรือยเรียมคอยถ้า        ที่นั้นห่อนเห็น

ถาม นิราศเรื่องใดที่แต่งเป็นโคลงดั้นเรื่องแรก ใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ กำสรวลศรีปราชญ์ ศรีปราชญ์เป็นผู้แต่ง

ถาม โคลงต่อไปนี้ใครเป็นผู้แต่ง ในหนังสือเรื่องอะไร
อยุธยายศยิ่งฟ้า            ลงดิน แลฤา
อำนาจบุญเพรงพระ        ก่อเกื้อ
เจดีย์ลอออินทร์            ปราสาท
ในทาบทองแล้วเนื้อ        นอกโสรม

ตอบ ศรีปราชญ์เป็นผู้แต่ง อยู่ในหนังสือเรื่องกำสรวลศรีปราชญ์

ถาม โคลงต่อไปนี้มาจากหนังสืออะไร ใครเป็นผู้แต่งมีความหมายว่าอย่างไร
เชือกใหญ่ใส่รอกร้อย        เรียงกระสัน
กว้านยึดชะลอผันขัน        ยึดยื้อ
ลวดหนังรั้งพลันวัน        พวนเพิ่ม
โห่โหมประโคมอึงอื้อ        จากเจ้าประโคมไป
ตอบ มาจากหนังสือเรื่องโคลงชลอพระพุทธไสยาสน์ พระเจ้าบรมโกศเป็นผู้พระราชนิพนธ์ เนื่องจากพระพุทธไสยาสน์ถูกน้ำเซาะเขื่อน จึงต้องชลอพระพุทธไสยาสน์ให้ปลอดภัย จะเห็นได้ว่า สมัยนั้นใช้เชือกหนังซึ่งทำด้วยหนังวัวหนังควายสำหรับผูกมัด

ถาม นันโทปนันทสูตร อยู่ในคัมภีร์อะไร เดิมใครเป็นผู้แต่ง และต่อมาใครนำมาแต่ง
ตอบ อยู่ในคัมภีร์ทีฆนิกาย พระมหาพุทธศิริ เถรเป็นผู้แต่ง พระสูตรนี้ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศทรงนิพนธ์ เป็นร่ายยาวคล้ายมหาชาติคำหลวง

ถาม นิราศอะไรที่มีลักษณะคล้ายทวาทศมาส คือ รำพันไปตามวันเดือนปี ใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ นิราศธารโศก (กาพย์ห่อโคลง นิราศพระบาท) เจ้าฟ้าธรรมมาธิเบศร์ ทรงนิพนธ์

ถาม จงอธิบายความเป็นมาของดาหลังกับอิเหนา มาพอสังเขป
ตอบ ดาหลังกับอิเหนา เป็นวรรณคดีไทยครั้งแรก ในแผ่นดินของพระเจ้าบรมโกษฐ์ เพราะได้เชลยชาวมลายู จึงได้พระราชทานเชลยนี้เป็นนางข้าหลวงของเจ้าฟ้าหญิงกุณฑล และเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ นางเชลยผู้นี้ได้เล่าเรื่องอิเหนา ซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดารชวา ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ แล้วนำมาพระนิพนธ์

เจ้าฟ้าหญิงกุณฑล ทรงนิพนธ์ให้ชื่อว่า “ดาหลัง” หรือ “อิเหนาใหญ่” ส่วนเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ ทรงนิพนธ์ ให้ชื่อว่า “อิเหนา” หรือ “อิเหนาเล็ก” อิเหนาเล็กมีคนนิยมมากกว่า เพราะได้มาดัดแปลงให้เข้ากับรสนิยม ของคนไทย แม้แต่ชื่อก็กระเดียดคำไทยจำง่าย

ถาม คำว่า “จิ้มก้อง” อยู่ในวรรณคดีเรื่องใด ใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ อยู่ในวรรณคดี “นิราศ” พระยามหานุภาพ ไปเมืองจีน พระยามหานุภาพ เป็นผู้แต่ง

ถาม รามเกียรติ์เรื่องใดที่แต่งได้สมบูรณ์ที่สุด ใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระราชนิพนธ์เกือบครบบริบูรณ์ทุกตอน มีความยาวถึง ๑๑๗ เล่มสมุดไทย

ถาม กลอนเพลงยาว ประเภทนิราศเรื่องแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ ชื่อเพลงยาวรบพม่าท่าดินแดง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชนิพนธ์

ถาม คำฉันท์ต่อไปนี้ จากหนังสืออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
ใบโพธิ์สุวรรณห้อย        ระยาบย้อย บ่ รุงรัง
ลมพัดกระดึงดัง            เสนาะศัพท์อลเวงฯ
เสียงดุจเสียงคีต        อันดึงดีดประโคมเพลง
เพียงเทพบรรเลง        ระเรื่อยขับระบำถวาย ฯ
ตอบ จากหนังสือปุณโณวาทคำฉันท์ พระมหานาค วัดท่าทราย แต่งไว้ในสมัยพระเจ้าบรมโกษฐ์

ถาม กฎหมายตราสามดวงเกิดขึ้นจากมูลเหตุอะไร ใครเป็นผู้แต่ง ทำไมจึงเรียกว่าตราสามดวง
ตอบ กฎหมายตราสามดวง มูลเหตุเกิดจากสามีภรรยาคู่หนึ่งฟ้องหย่า โดยฝ่ายภรรยามีชู้ฟ้องหย่าสามี คณะลูกขุนตัดสินอนุญาตให้ฟ้องหย่าได้ ตามกฎหมายสมัยนั้นระบุว่า “แม้สามีไม่ผิดหญิงก็หย่าได้”

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเห็นว่ากฎหมายเก่า ควรจะได้มีการชำระ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ลูกขุนและราชบัณฑิตรวม ๑๗ คนรวบรวมขึ้น เสร็จแล้วโปรดเกล้า ฯ ให้ประทับตรา ๓ ดวง คือ ตราราชสีห์ ตราคชสีห์ และตราบัวแก้ว

ถาม ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีนักกวีที่สำคัญ ใครบ้าง และมีผลงานอย่างไร
ตอบ มีนักกวี คือ
๑. สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ ๔ ตอน
๒. หลวงสรวิชิต (หน) – ลิลิตเพชรมงกุฎ
๓. นายสงวน (มหาดเล็ก) – โคลงยอพระเกียรติ์ พระเจ้ากรุงธน ฯ
๔. พระยาราชสุภาวดีภิกษุอิน และ – กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ (ฉบับ
กรุงธน ฯ)

ถาม กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ มีใครแต่งบ้าง
ตอบ ฉบับกรุงธนบุรี พระยาราชสุภาวดี และพระภิกษุอิน ร่วมกันแต่งราว พ.ศ. ๒๓๑๒-๒๓๑๙

ฉบับกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ทั้ง ๒ ฉบับนี้ มีสำนวนใกล้เคียงกัน แต่สู้ของสมเด็จพระปรมานุชิต ฯ ไม่ได้

ถาม จงอธิบายถึงลักษณะวรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มาพอสังเขป
ตอบ ลักษณะวรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
๑. มีการเลียนแบบวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาแทบทั้งสิ้น เช่น สักวา ดอกสร้อย เสภา และบทละคร
๒. มีการดัดแปลง และปรับปรุงให้ดีกว่าวรรณคดีสมัยอยุธยา
๓. มีการนำเรื่องต่างประเทศมาแปล เช่น เรื่องจีน ตอนสามก๊ก ราชาธิราชของมอญ เป็นต้น
๔. สมัยอยุธยากวีนิพนธ์เจริญรุ่งเรือง แต่สมัยตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์กวีนิพนธ์เจริญกว่า มาตอนในสมัยปัจจุบัน ร้อยแก้วเจริญก้าวหน้าจนสามารถขายเลี้ยงตัวได้ ได้แก่ประเภทนวนิยาย

ถาม วรรณคดี พงศาวดาร เรื่องใดที่เกี่ยวข้องกับเมืองไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมากที่สุด ใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ เรื่องราชาธิราช เพราะกล่าวถึงการสร้างเมืองเมาะตะมะ เรื่องราวของมะกะโท (พระเจ้าฟ้ารั่ว) มะกะโท พระองค์นี้ได้ราชธิดาของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ กษัตริย์ไทยครองกรุงสุโขทัย

ผู้แต่ง พระยาพระคลัง    (หน) พระยาอินทรอัคราช พระภิรมรัศมี พระศรีภูริปรีชา แปลและเรียบเรียง

ถาม วรรณคดีเรื่องใดที่เป็นความเรียงนิทาน ซึ่งวรรณคดีสโมสรยกให้เป็นยอดเรียงความนิทาน ใครเป็นผู้แต่ง แต่งเมื่อ พ.ศ. เท่าใด
ตอบ เรื่องสามก๊ก เป็นพงศาวดารจีน เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลและเรียบเรียง แต่งประมาณ พ,ศ. ๒๓๔๕-๒๓๔๘

ถาม ผู้อ่านสามก๊ก ได้อะไรที่เป็นประโยชน์บ้าง
ตอบ ได้ประโยชน์ คือ
๑. ให้ความรู้ในเชิงการเมือง การฑูต กลยุทธในการรบ เชิงตำราพิชัยสงคราม
๒. มีสำนวนโวหารเชิงอุปมาอุปมัยคมคาย
๓. มีคติเตือนใจ ทั้งทางโลกและทางธรรม
๔. รู้นิสัยใจคอของตัวละคร และนำมาเปรียบเทียบกับมนุษย์ชีวิตจริงได้เป็นอย่างดี
๕. ใช้ภาษาไทยแท้เป็นส่วนใหญ่

ถาม จงยกตัวอย่าง คำพูดที่เป็นคติในทางรักษาโรค และคติเตือนใจมา ๑ ประโยค ในเรื่องสามก๊ก
ตอบ ได้แก่ประโยคที่ว่า “ยาดีกินขมปาก แต่เป็นประโยชน์แก่คนไข้ คนซื่อกล่าวคำไม่เพราะหู แต่เป็นประโยชน์แก่กาลภายหน้า”

ถาม คำกลอนต่อไปนี้ มาจากหนังสืออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
อันอิเหนาเอามาเป็นคำร้อง        สำหรับฉลองกองกุศล
แต่ก่อนเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์    แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป
หากพระองค์ทรงพิภพปรารภเล่น ให้รำเต้นเล่นละครคิดกลอนใหม่
แต้มเติมต่อติดประดิษฐ์ไว้        บำรุงใจไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
ตอบ มาจากคำกลอนบทละครเรื่องอิเหนา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด ยกเว้นชื่อตัวละคร โดยเอาแบบฉบับ ของเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ ที่มีคนนิยมอยู่แล้ว

ถาม คำว่า “เสภาหลวง” มีความเป็นมาอย่างไร ใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ คำว่า “เสภาหลวง” สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ร่วมกับกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ได้นำเอาเสภาขุนช้างขุนแผน ของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งให้นักปราชญ์หลายท่านแต่งเป็นตอนๆ นำมาชำระใหม่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เรียกว่า “เสภาหลวง” ในปี พ .ศ. ๒๔๖๐

ถาม สุนทรภู่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแต่ง เสภาขุนช้าง ขุนแผน ในรัชกาลที่ ๒ หรือไม่ อย่างไร

ตอบ มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยแต่งตอนกำเนิดพลายงาม

ถาม วรรณคดีเรื่องใดที่วรรณคดีสโมสร ได้ยกย่อง ว่าเป็นยอดของกลอนสุภาพ
ตอบ กลอนเสภาขุนช้างขุนแผน

ถาม เมื่อท่านอ่านเสภาขุนช้างขุนแผนแล้ว ท่านได้ความรู้เกี่ยวกับขนบประเพณีดั้งเดิมของไทย อะไรบ้าง

ตอบ ได้รู้ประเพณีเรื่องการเกิด การรับขวัญ การบวช การแต่งงาน การตาย และการตัดสินความ โดย วิธีดำนํ้า ลุยไฟ
ถาม วรรณคดีเรื่องใดที่ วรรณคดีสโมสร ยกย่องให้เป็นยอดของกลอนบทละครรำ

ตอบ บทละครรำอิเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒

ถาม วรรณคดีเรื่องใดที่วรรณคดีสโมสร ยกย่องให้เป็นยอดของกาพย์ (ร่ายยาว)
ตอบ กาพย์มหาชาติคำเทศน์

ถาม เหตุใด วรรณคดีสโมสร จึงยกย่องบทละครรำ อิเหนา เป็นยอดของกลอนบทละครรำ

ตอบ เพราะ
๑. บทกลอนไพเราะกระทัดรัด เหมาะสำหรับเล่นละครได้ดี
๒. แสดงถึงขนบประเพณีไทยในรัชกาลที่ ๒ ได้แจ่มแจ้ง
๓. ให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดu
๔. ลีลาในการชมดงชมป่า ไพเราะมาก
๕. แทรกความรู้ในด้านศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมไว้มาก

ถาม นิทานชาดก ทำให้เกิดวรรณคดีอะไรบ้าง
ตอบ ทำให้เกิดวรรณคดีหลายเรื่อง เช่น มหาชาติ มหาเวสสันดรชาดก สมุทรโฆษคำฉันท์ เสือโคคำฉันท์ ลิลิตศรีวิชัยชาดก

ถาม สุนทรภู่ได้แต่งนิราศอะไรไว้บ้าง แต่ละเรื่อง รำพึงถึงสตรีชื่ออะไร

ตอบ
นิราศเมืองแกลง พ.ศ. ๒๓๕๐ รำพึงถึงจันทร์
นิราศพระบาท พ ศ. ๒๓๕๐ รำพึงถึงจันทร์
นิราศภูเขาทอง พ.ศ. ๒๓๗๑ ไม่มี
นิราศสุพรรณ พ.ศ. ๒๓๘๔ จันทร์, ม่วง, น้อย
นิราศวัดเจ้าฟ้า พ.ศ. ๒๓๗๕ ไม่มี
นิราศพระประฐม พ.ศ. ๒๓๘๕ เกสร, ม่วง, ชิน
นิราศเมืองเพชร พ.ศ. ๒๓๘๘-๒๓๙๒ ทอง, ปราง, ชิน
นิราศพระแท่นดงรัง ม่วง

ถาม สุนทรภู่แต่งนิราศเป็นโคลงสี่สุภาพกี่เรื่องเรื่องใดบ้าง ยกตัวอย่างมา ๑ บท
ตอบ แต่งนิราศเป็นโคลงสี่ ๑ เรื่อง คือ นิราศสุพรรณ
ตัวอย่าง
แจ้วแจ้วจักกระจั่นจ้า        จับใจ
หริ่งหริ่งเรื่อยเรไร            ร่ำร้อง
แซงแซวส่งเสียงใส        ทราบโสต
แหนงนิ่งนึกนุชน้อง         นิ่มเนื้อนวลนาง

ถาม วรรณคดีเรื่องใดของสุนทรภู่ ที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ว่าเป็นยอด
ตอบ เรื่องพระอภัยมณี เป็นยอดของกลอนนิทาน

ถาม อิเหนาที่มีผู้แต่งเป็นวรรณคดีไทย มีกี่สำนวน ใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ มีอยู่ ๕ สำนวน คือ
๑. ดาหลัง หรืออิเหนาใหญ่ เจ้าฟ้าหญิงกุณฑล ทรงนิพนธ์
๒. อิเหนา หรือ อิเหนาเล็ก พระราชนิพนธ์ ของเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ
๓. อิเหนาคำฉันท์ ของ หลวงสรวิชิต (หน)
๔. อิเหนา ของรัชกาลที่ ๒ พระราชนิพนธ์ด้วยกลอนบทละคร
๕. นิราศอิเหนา ของ สุนทรภู่

ถาม โคลงลี่สุภาพต่อไปนี้ ใครเป็นผู้แต่ง และแต่งเปรียบเทียบหนังสือใด
กำสรวลศรีปราชญ์พร้อง         เพรงกาล
จากจุฬาลักษณ์ลาญ            สวาทแล้ว
ทวาทศมาสสาร                สามเทวษ ถวิลแฮ
ยกทัดกลางเกศแก้ว            กึ่งร้อนทรวงเรียม
ตอบ นรินทร์ธิเบศทร์ แต่งเปรียบเทียบกำสรวลศรีปราชญ์ และทวาทศมาส

ถาม วรรณคดีเรื่องใดที่ วรรณคดีสโมสร ยกย่อง ให้เป็นยอดแห่งความเรียง อธิบาย
ตอบ พระราชพิธีสิบสองเดือนในรัชกาลที่ ๕

ถาม วรรณคดีเรื่องใดที่วรรณคดีสโมสร ยกย่องว่าเป็นยอดของบทละครพูด
ตอบ บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๖

ถาม ลิขสิทธิ์ คืออะไร ใครเป็นผู้ใช้ลิขสิทธิ์ก่อน
ตอบ ลิขสิทธิ์ คือกรรมสิทธิ์ในการพิมพ์ ซึ่งเอาแบบอย่างของตะวันตก หม่อมราโชทัย ขายลิขสิทธิ์ นิราศลอนดอน ให้แก่หมอบรัดเล จัดพิมพ์ด้วยเงิน ๔๐๐ บาท เมื่อ พ ศ. ๒๔๐๕

ถาม ใครเป็นผู้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์อักษรไทย เพื่อใช้ในการพิมพ์หนังสือไทย ตั้งแต่เมื่อใด
ตอบ ร้อยเอก เจมส์โล ชาติอังกฤษ ประดิษฐ์ตัวพิมพ์อักษรไทยที่เมืองเบงกอล เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๑ นำมาพิมพ์หนังสือไทยครั้งแรกที่เมืองสิงคโปร์ พิมพ์เกี่ยวกับคำสอนศาสนาคริสต์

ต่อมา หมอบรัดเลได้ตั้งโรงพิมพ์ อักษรไทย ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๒ รับจ้างพิมพ์ประกาศของทางราชการ เรื่องห้ามสูบฝิ่น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๒

ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้า ฯ ตั้งโรงพิมพ์ ขึ้นที่วัดบวรนิเวศ เป็นโรงพิมพ์หลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑

ถาม หนังสือพิมพ์ เกิดขึ้นครั้งแรกในเมืองไทยเมื่อใด
ตอบ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ หนังสือพิมพ์ฉบับแรก คือบางกอกรีคอร์เดอร์ หนังสือพิมพ์ทางราชการฉบับแรก คือ ราชกิจจานุเบกษา เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑

ถาม พระยาตรัง เป็นกวีสมัยรัชกาลใด ได้แต่ง วรรณคดีเรื่องอะไรไว้บ้ าง
ตอบ พระยาตรังเป็นกวีสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้แต่ง โคลงนิราศเสด็จตามลำน้ำน้อย นิราศถลาง โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระพุทธเลิศหล้า

ถาม ละครรำของไทย มีกี่อย่าง อะไรบ้าง
ตอบ มี ๓ อย่าง คือ
๑. ละครชาตรี เป็นละครดั้งเดิมของไทย มีตัวละครสามตัว นิยมเล่นเรื่องเกี่ยวกับกษัตริย์
๒. ละครนอก ดัดแปลงมาจากละครชาติ มีตัวแสดงเพิ่มขึ้น การแสดงเป็นชายล้วน
๓. ละครใน    เป็นละครที่เล่นภายในวัง ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน

ถาม ใครแต่งกาพย์เห่เรือ ซึ่งวรรณคดีสโมสรยกย่องว่า เป็นยอดในบรรดากาพย์เห่เรือ แต่งเพื่อประสงค์อะไร
ตอบ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ทรงนิพนธ์ เพื่อใช้ในการแห่ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกาพย์เห่เรือเรื่องแรกของไทย

ถาม โคลงต่อไปนี้ ใครเป็นผู้แต่ง ในหนังสืออะไร
ศรเนตรเสียบเนตรค้น             คมขัน
ศรสำเนียงตรึงกรรณ            ส่งซ้ำ
ศรโฉมแม่ยิงยัน                ยายาก
ต้องผู้ใดอกช้ำ                เฉกท้าวสาดศร
ตอบ พระมหานาค วัดท่าทรายแต่ง ในหนังสือ โคลงนิราศพระบาท

ถาม นิราศภูเขาทอง ใครเป็นผู้แต่ง คำว่าภูเขาทองหมายถึงภูเขาทองวัดสระเกษใช่หรือไม่
ตอบ นิราศภูเขาทอง สุนทรภู่ เป็นผู้แต่ง นิราศภูเขาทอง แต่งขณะที่บวชเป็นพระ คราวขึ้นไปนมัสการภูเขาทองที่กรุงศรีอยุธยา ถือเป็นนิราศที่ดีที่สุดของสุนทรภู่

ถาม ร่ายต่อไปนี้ อยู่ในหนังสืออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
ดังราชหงส์ปีกหักตกปลักหนอง    กาแกก็จะแซ่ซร้องเข้าสาวไส้
ท่านว่ามีเงินนั้นหรือจะไร้ของ    มีทองนั้นหรือจะไร้แหวน
จะมารักเหากว่าผม            จะมารักลมกว่าน้ำ
จะมารักถ้ำกว่าเรือน            จะมารักเดือนยิ่งกว่าตะวัน
ตอบ อยู่ในหนังสือ ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก พระนิพนธ์ของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส

ถาม บทละครเรื่องใด ที่แต่งเป็นเรื่องตลกและเสียดสีลังคม เป็นเรื่องแรก
ตอบ บทละครเรื่องระเด่นลันได พระมหามนตรี (ทรัพย์) กวีในรัชกาลที่ ๓ เป็นผู้แต่ง

ถาม คำกลอนต่อไปนี้ อยู่ในหนังสือเล่มใด ใครเป็นผู้แต่ง
ถึงมิใช่ตัวเปล่าเจ้ามีผัว     พี่ไม่กลัวบาปดอกนะโฉมศรี
อันนรกตกใจไปใยมี        ยมพบาลกับพี่เป็นเกลอกัน
ตอบ อยู่ในหนังสือ บทละครเรื่องระเด่นลันได พระมหามนตรี (ทรัพย์) เป็นผู้แต่ง

ถาม “บุษบาท่าเรือจ้าง” หมายถึงใคร เหตุใด จึงเรียกเช่นนั้น
ตอบ หมายถึงคุณพุ่ม เป็นข้าหลวงเดิม ในพระ
บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว    เป็นบุตรพระยาราช
มนตรี (ภู่)
โดยเหตุที่อยู่เรือนแพ ที่ท่าพระ ชอบแต่งเพลงยาวและบทสักวา จึงเรียกว่า บุษบาท่าเรือจ้าง

ถาม นักกวีท่านใด ที่แต่งไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน ยกตัวอย่าง บทกวีประกอบด้วย
ตอบ “คุณสุวรรณ” เป็นกวีที่แต่งไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนตัวอย่าง เช่น ‘”บทจำแลงกาย”
ว่าพลางนางแปลงกายา     เป็นองค์สุดาเยาวมาลย์
รี้พลให้กลายเป็นโยธา        ไอยราแปลงเป็นคชสาร
พาชีแปลงเป็นอาชาชาญ     พระพรหมมานแปลงเป็นท้าวธาดา
ไกรสรให้แปลงเป็นสิงหรา     สกุณชาติให้แปลงเป็นปักษา

ถาม นายมีเป็นใคร เกี่ยวข้องกับสุนทรภู่อย่างไร ได้แต่งเรื่องอะไรไว้บ้าง
ตอบ นายมี (หมื่นพรหมสมภักษร) เป็นศิษย์สุนทรภู่ ที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่ง ได้แต่งนิราศเดือน ให้ความรู้ขนบประเพณีของสังคมไทยในแต่ละเดือน นิราศเดือนนี้ เคยมีคนเข้าใจว่าเป็นของสุนทรภู่

ถาม คำกลอนต่อไปนี้ ใครเป็นผู้แต่ง
เมื่อแรกรักน้ำผักก็ว่าหวาน            ครั้นเนิ่นนานน้ำอ้อยก็กร่อยขม
เหมือนคำหวานพาลนักมักเป็นลม        แต่เขาชมกันว่าดีนี่กระไร
บอระเพ็ดนั้นเป็นยารักษาโรค         แต่ว่าโลกเขาว่าขมหาชมไม่เหมือนคนชั่วพูดจาประสาใจ        ไม่มีใครชมปากมิอยากกิน
ตอบ หลวงจักรปราณี (มหาฤกษ) เบนผู้แต่งใน นิราศทวาราวดี

ถาม การอ่านนิราศลอนดอน ได้ประโยชน์อะไรบ้างใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ ได้ประโยชน์
๑. รู้ประวัติ ขนบประเพณี ของเมืองต่างแดนที่ผ่านไป
๒. รู้ความเป็นอยู่ของประเทศต่างๆ ที่ผ่านไปและแม้กระทั่งประเทศอังกฤษในสมัยนั้น มีความเจริญแค่ไหน มีอะไรแปลกไปจากเมืองไทยบ้าง เรียกว่า ได้ความรู้จากต่างประเทศ ในสมัยนั้นเป็นอย่างดี
๓. รู้ระเบียบแบบแผนการปกครอง และความเป็นอยู่ของกษัตริย์ในประเทศอังกฤษ

ถาม ผู้ที่สามารถแต่งหนังสือได้ ต้องอาศัยการศึกษาเล่าเรียนจึงจะมีความรู้กว้างขวาง โรงเรียนแบบปัจจุบันนี้ ตั้งขึ้นในสมัยใด เรียกชื่ออะไร
ตอบ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เรียกว่าโรงเรียน พระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔

ถาม หอสมุดวชิรญาณ ตั้งขึ้นเมื่อใด มีประสงค์อย่างใด
ตอบ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๔๘ เพื่อรวมรวบตำราต่างๆ ที่เกี่ยวกับความรู้ และพิจารณาคุณภาพของหนังสือทุกวิชาการด้วย

ถาม ถ้าอยากรู้ พระราชประเพณีต่างๆ ในสมัยโบราณ ควรจะอ่านหนังสืออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ ควรจะอ่านหนังสือ พระราชพิธีสิบสองเดือนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์

ถาม คำโคลงต่อไปนี้    ใครเป็นผู้แต่งไว้ในหนังสืออะไร มีความหมายอย่างไร
รํ่าเรื่องนิราศให้         หาศรี
ท้าวสุภัติการภักดี    กล่าวอ้าง
แสดงศักดิ์กระสัตรี    ตรองตรึง ทำแฮ
ไร้เพื่อนภิรมย์อ้าง    รักเร้นแรมไกล
ตอบ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชนิพนธ์ ในหนังสือ โคลงนิราศเมืองกาญจน์ มีความหมาย รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชนิพนธ์ในนามของ ท้าวสุภัติการภัทติ

ถาม พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน รัชกาลใดพระราชนิพนธ์ ผู้อ่านจะได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง
ตอบ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชนิพนธ์ คล้ายจดหมายเหตุรายวัน เมื่อครั้งพระองค์เสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๒ พระองค์ได้มีพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าฟ้า นิภานภดล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เป็นการส่วนพระองค์ รวม ๔๓ ฉบับ
ประโยชน์สำหรับผู้อ่าน
ได้ความรู้ในด้านยุโรปในสมัยนั้น ของประเทศต่างๆ ที่พระองค์เสด็จไป จะได้รู้ถึงขนบประเพณี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศิลปกรรม ยังแถมขบขันอ่านแล้วไม่เบื่อ

ถาม โคลงต่อไปนี้ใครแต่ง อยู่ในหนังสืออะไร
เพื่อนกินสิ้นทรัพย์แล้ว     แหนงหนี
หาง่ายหลายหมื่นมี        มากได้
เพื่อนตายถ่ายแทนชี        วาอาตม์
หายากฝากผี ไข้            ยากแท้จักหา
ตอบ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๕ ในหนังสือ ลิลิตนิทราชาคริต

ถาม โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เป็นโรงเรียนแห่งแรกของเมืองไทย ใช้แบบเรียนภาษาไทยเล่มแรกชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
ตอบ ใช้แบบเรียนภาษาไทย    ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูล) เป็นผู้แต่ง มี ๖ เรื่องด้วยกันคือ มูลบทบรรพกิจ วาหนิติกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์วิจารณ์ และพิศาลการันต์

ถาม พระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร ประกาศ ใช้เมื่อใด มีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ในรัชกาลที่ ๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือไทยให้มีมาตรฐานดีขึ้น ทั้งปริมาณและคุณภาพ

ถาม ตราพระลัญจกร มีความหมายอย่างไร ใช้เมื่อใด
ตอบ ตราพระลัญจกร มีรูปพระคเณศ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทาน สำหรับเป็นตราประจำวรรณคดีสโมสรเมื่อกรรมการได้คัดเลือกหนังสือของผู้แต่ง และยกย่องให้เป็นยอดแล้วก็มีการประทับตราพระลัญจกร ไว้ให้เป็นเกียรติ

ถาม พระราชนิพนธ์ ของรัชกาลที่ ๖ เรื่องใดที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอด
ตอบ คณะกรรมการวรรณคดีสโมสร เลือกบทละครพูดร้อยแกว เรื่องหัวใจนักรบ เป็นยอดบทละครพูดร้อยแก้ว

มัทนะพาธา บทละครพูดคำฉันท์ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ คณะกรรมการ วรรณคดีสโมสร ได้ยกย่องว่าเป็นยอดแห่งบทละครพูดคำฉันท์

ถาม ศรีอยุธยา รามจิตติ อัศวพาหุ เป็นนามปากกาของใคร
ตอบ นามปากกาของ รัชกาลที่ ๖

ถาม เมืองไทย จงตื่นเถิด เป็นบทประพันธ์ของใคร มีความหมายอย่างไร
ตอบ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์ มีความมุ่งหมายเพื่อปลุกใจให้คนไทยรักชาติ ให้เกิดความมานะ สร้างความเจริญให้แก่ชาติบ้านเมือง

ถาม สาส์นสมเด็จ ใครเป็นผู้แต่ง มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ เป็นลายพระหัตถ์ ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงโต้ตอบกันให้ความรู้ในเรื่องโบราณคดี ศิลปกรรม และวรรณกรรม

ถาม บทละครเรื่องสาวเครือฟ้า ใครเป็นผู้แต่ง ได้รับคำยกย่องอย่างไรบ้าง
ตอบ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงนิพนธ์ โดยดัดแปลงมาจากบทละครตะวันตก เรื่องมาดามบัตเตอรไฟล์ ของบุชชินี ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร    ว่าเป็นยอดของบทละครร้อง

ถาม น.ม.ส. เป็นนามปากกาของใคร
ตอบ เป็นนามปากกาของ พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
ถาม การใช้นามแฝง ในการแต่งหนังสือ เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในเมืองไทย ในหนังสืออะไร
ตอบ ในหนังสือ วชิรญาณ

ถาม หอสมุดสำหรับประชาชน ตั้งขึ้นเมื่อใด ชื่ออะใร
ตอบ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ เรียกว่า หอสมุด วชิรญาณ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นหอสมุดแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕

ถาม การแปลหนังสือ จากภาษาต่างประเทศ มาเป็นภาษาไทยเริ่มนิยมกัน ตั้งแต่สมัยใด
ตอบ  สมัยรัชกาลที่ ๕-๖

ถาม โบราณคดีสโมสร ตั้งขึ้นเมื่อใด มีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ  ตั้งขึ้นในรัชกาลที่ ๕ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการประพันธ์ มีตราพระลัญจกรรูป มังกรคาบแก้ว

ถาม การแต่งโคลงเริ่มต้นในสมัยใด ยุคใดนิยมมากที่สุด
ตอบ  เริ่มปรากฏในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ แต่มาเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด ในสมัยพระนารายณ์มหาราช มีนักกวีที่มีความสามารถ เช่น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระศรีมโหรสถ ศรีปราชญ์ ฯลฯ

ถาม ฉันท์ เริ่มนิยมแต่งในสมัยใด
ตอบ ในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่น เสือโคคำฉันท์ ของพระมหาราชครู

ถาม กาพย์ เริ่มนิยมแต่งในสมัยใด
ตอบ เริ่มมีในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ผู้ที่มีชื่อเสียงในการแต่งกาพย์ได้แก่ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (กุ้ง)

ถาม กลอน นิยมแต่งมากในสมัยใด
ตอบ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รุ่งเรืองที่สุดในรัชกาลที่ ๒ มีนักกลอนเด่นๆ หลายท่าน เช่น สุนทรภู่ เป็นต้น

ถาม นักกวีหญิงคนแรกของเมืองไทย เกิดในสมัยใด ชื่ออะไร ได้แต่งอะไรไว้บ้าง
ตอบ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือที่เรียกว่านางนพมาศ ได้แต่งตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

ที่มา:โฆฑยากร