ลักษณะของคนดีคนชั่ว

Socail Like & Share

ในสังคมจะต้องประกอบไปด้วยคนดีและคนเลวอยู่บ้าง นอกจากลักษณะของเพื่อนที่ได้กล่าวแล้ว พระพุทธองค์ยังทรงแสดงลักษณะของคนดีคนชั่วไว้อีกเป็นอันมาก ดังนี้

ลักษณะคนดี ๗ ประการ คือ
๑. รู้เหตุ

๒. รู้ผล

๓. รู้จักตนและหน้าที่ของตน

๔. รู้จักประมาณในการต่างๆ เช่น การพูด การเงิน การนอน การใช้จ่าย เป็นต้น

๕. รู้จักใช้กาลเวลาให้ถูกต้องแก่ภาวะนั้นๆ

๖. รู้จักสังคม เช่น สังคมนี้เป็นอย่างนี้ สังคมนั้นเป็นอย่างนั้น ต้องทำตัวอย่างนั้นๆ เพื่อให้เข้ากับเขาได้ ถ้าเป็นสังคมคนชั่วก็ไม่ไปเกี่ยวข้อง เป็นต้น

๗. รู้จักบุคคลว่า คนนี้ควรคบ คนนั้นไม่ควรคบ คนนี้เป็นเทพ คนนั้นเป็นสัตว์ เป็นต้น

ลักษณะคนชั่ว
ลักษณะของคนชั่วนั้นมีมาก นอกจากจะเป็นคนชั่วเพราะคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วแล้ว ยังมีที่ร้ายแรงกว่านั้นอีก คือ

๑. ฆ่าผู้หญิงได้
๒. ชอบเป็นชู้เขา
๓. ประทุษร้ายมิตร
๔. ฆ่าพระได้
๕. ตระหนี่เห็นแก่ตัวจัด

และคนอีกพวกหนึ่งที่คนดีไม่ควรคบ คือ
๑. ชอบพูดปด
๒. เย่อหยิ่ง
๓. พูดมาก

๔. ขี้โอ่อวดตัว
๕. ยกตนเอง
๖. มีใจไม่มั่นคง

หากไปคบคนเหล่านี้อาจต้องประสบกับภาวะดังนี้
๑. ต้องกลายเป็นนักเลงการพนัน
๒. เป็นนักเลงเจ้าชู้
๓. เป็นนักเลงสุรา ติดสิ่งเสพติด
๔. เป็นนักหลอกลวง
๕. เป็นคนเจ้าเล่ห์
๖. เป็นนักเลงอันธพาล และต้องประสบภัยอันตราย มีอุปสรรคในชีวิต เป็นต้น คนเลวเหล่านี้เลวยิ่งกว่าโจรที่ปล้นเขากินเสียอีก เพราะโจรในสมัยพระพุทธเจ้าจะมีธรรมประจำใจ คือ

๑. ไม่ฆ่าคนที่ยอมแพ้
๒. ไม่ถือเอาของเขาจนหมดสิ้น ยังเหลือไว้บ้าง
๓. ไม่ลักพาหญิง ไม่ทำร้ายหญิง
๔. ไม่ทำร้ายเด็ก
๕. ไม่ปล้นนักบวช
๖. ไม่ปล้นของแผ่นดิน
๗. ไม่ปล้นใกล้บ้านตน
๘. ฉลาดในการเก็บทรัพย์ที่ปล้นได้

ในสมัยนี้มีความเจริญทางวัตถุมาก แต่ทางด้านจิตใจแล้วยังต่ำกว่าคนสมัยก่อนมาก และโจนสมัยนี้ก็ไม่มีธรรมเหมือนโจรในสมัยก่อนด้วย และลักษณะของคนดีคนชั่วก็ยังมีอีกมาก

ที่มา: จากหนังสือเรื่อง 1 ใน 84000 ของ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา