คุณสมบัติของบุคคลประเภทต่างๆ

Socail Like & Share

ในแต่ละประเทศย่อมมีประชาชนฝ่ายบริหารกับฝ่ายธรรมดา ธรรมสำหรับฝ่ายบริหาร นอกจากทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม พรหมวิหารธรรม และเว้นอคติแล้ว ยังมีธรรมอื่นๆ ที่ทางพระพุทธศาสนาได้แสดงไว้ดังนี้

คุณสมบัติของผู้นำ
ยังมีคุณสมบัติอื่นอีกมากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ สำหรับบุคคลที่จะเป็นผู้นำ นอกเหนือจากที่ได้กล่าวแล้ว ซึ่งมีดังนี้

๑. เป็นผู้อดทนต่อความลำบากกายใจ ต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์ เป็นต้น

๒. ตื่นตัวทันโลก เตรียมตัวไม่ประมาท

๓. ขยันทำงาน

๔. จำแนกเหตุการณ์ได้ถูกต้อง แบ่งงาน แบ่งบุคคลสำหรับงานได้เหมาะสม

๕. มีความกรุณา

๖. สอดส่อง ตรวจตรา ติดตามงาน

และ
๑. สามารถในการค้นหาปัญหา
๒. สามารถในการแก้ปัญหาต่างๆ

และ
๑. สงเคราะห์ประชาชน
๒. สร้างมิตรภาพกับผู้อื่น
๓. รู้จักพูด
๔. ใจกว้าง
๕. เป็นผู้นำเขา

และ
๑. องอาจ ฉลาด
๒. คงแก่เรียน
๓. เอาธุระหน้าที่ดี
๔. มีวัตร(หลักธรรม)ประจำใจ
๕. เป็นคนมีใจอันประเสริฐ
๖. เป็นสัตบุรุษ
๗. เป็นคนมีปัญญา ความคิดอ่านดี

ประเทศใดมีผู้นำอย่างนี้ ก็ย่อมมีความสุขความเจริญ มีความก้าวหน้าอย่างแน่นอน

คุณสมบัติของนักรบ
ลักษณะของนักรบที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ บางอย่างก็เหมาะกับข้าราชการอื่นๆ และบางอย่างก็เหมาะแต่เฉพาะนักรบ เป็นต้นว่า
๑. ขยัน
๒. กล้าหาญ
๓. รอบรู้

และ
๑. รอบรู้ในการตั้งกองทัพ
๒. สามารถให้อาวุธตกไปได้ไกล
๓. ยิ่งแม่น รู้เป้า
๔. ทำลายขุมกำลังได้

และ
๑. แกล้วกล้า
๒. เป็นนักสู้
๓. ไม่หวาดหวั่น
๔. ไม่สะดุ้งตกใจ
๕. ไม่ครั่นคร้ามพรั่นพรึง
๖. สู้ไม่ถอย

และ
๑. ฉลาดรอบรู้
๒. กล้าหาญ
๓. คงแก่เรียน
๔. ประพฤติดี

และ
๑. มีปัญญา ฉลาด
๒. มีวินัยดี แนะนำผู้อื่นดี
๓. แกล้วกล้า
๔. มีความรู้ดี
๕. ทรงธรรม

คุณสมบัติของข้าราชการ
พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงคุณสมบัติของข้าราชการทั่วไปไว้เป็นอันมาก เป็นต้นว่า
๑. ขยันทำงาน
๒. ไม่ประมาทในเหตุการณ์ต่างๆ
๓. รอบรู้ในเรื่องต่างๆ
๔. ปฏิบัติหน้าที่ได้เรียบร้อย

และ
๑. เป็นผู้นำที่ดีของประชาชน
๒. มีหลักพิเศษในการปฏิบัติงาน
๓. ได้รับการศึกษาดีแล้ว
๔. บำเพ็ญประโยชน์ตนและผู้อื่น
๕. มีใจมั่นคง เชื่อมั่นในตัว
๖. เป็นคนสุภาพ
๗. เตรียมตัวเสมอเพื่อรับเหตุการณ์นั้นๆ
๘. มีพฤติกรรมอันสะอาด ไม่ทำทุจริต
๙. ขยัน

และ
๑. ฟังเป็น พูดให้เขาฟังเป็น
๒. ขจัดอารมณ์ร้ายได้

๓. ทนทุกข์กาย ใจ ทนถูกว่า ทนต่อสิ่งเย้ายวนได้
๔. ปฏิบัติราชการได้คล่องแคล่ว รวดเร็ว

และ
๑. มีความประพฤติดี
๒. ไม่โลภ
๓. ทำตามคำสั่ง ไม่อวดดีกับผู้บังคับบัญชา
๔. บำเพ็ญประโยชน์ ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้บังคับบัญชา

และ
๑. นับถือผู้ที่เจริญด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิ
๒. เคารพผู้ใหญ่ในราชการ
๓. รู้จักประมาณตัว
๔. เข้ากับเขาได้

และ
๑. ฉลาดรอบรู้ มีปัญญา
๒. สมบูรณ์ด้วยความรู้
๓. ทำงานเก่ง
๔. รู้จักกาลอันควร หรือไม่ควรทำ
๕. รู้จักว่าสมัยนั้นๆ เป็นสมัยแห่งอะไร และควรทำอย่างไร

และ
๑. ไม่พูดมากเกินไป
๒. ไม่นิ่งหรือพูดน้อยเกินไป
๓. รู้จักประมาณในการพูด
๔. ไม่พูดด้วยอารมณ์
๕. ไม่พูดกระทบแดกดันผู้อื่น
๖. พูดจริง
๗. พูดดี น่าฟัง
๘. ไม่พูดยุยง
๙. ไม่พูดเพ้อเจ้อ

ผู้เป็นข้าราชการควรระวังการพูดดังกล่าว แล้วจะเกิดผลดีแก่ทุกฝ่าย

คุณสมบัติของทูต
พระพุทธเจ้าทรงแสดงคุณสมบัติของคนเป็นทูตไว้ดังนี้
๑. เป็นคนฟังเป็น
๒. พูดเป็น พูดให้เขาฟังเข้าใจเรื่องได้ดี
๓. คงแก่เรียน
๔. จำแม่น
๕. เข้าใจในเรื่องต่างๆ ได้ง่าย
๖. พูดเก่ง สามารถพูดชักจูงคนฟังให้เห็นตาม
๗. ฉลาด รอบรู้ในสิ่งที่มีคุณมีโทษต่อบ้านเมือง
๘. ไม่ก่อเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น เป็นคนสุภาพ

และ
๑. ขยันทำงาน
๒. ทำงานด้วยมีสติสัมปชัญญะเสมอ
๓. เป็นคนสุจริต
๔. ใคร่ครวญพิจารณารอบคอบแล้วจึงทำ
๕. เป็นคนเรียบร้อยระมัดระวังตัว
๖. เป็นคนประกอบด้วยธรรม
๗. เป็นคนไม่ประมาท เตรียมตัวรับสถานการณ์เสมอ

นี่คือส่วนหนึ่งของข้าราชการ เมื่อปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ก็จะเจริญไปด้วยยศ ข้อปฏิบัติดังกล่าว ประชาชนทั่วไปก็ปฏิบัติได้ ผลที่ได้รับก็คือ ความยกย่อง และความเจริญก้าวหน้าเหมือนกัน

ส่วนผู้ที่มีอาชีพอื่นๆ เช่น ค้าขาย เกษตรกร เป็นต้น พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงธรรมไว้เช่นกัน เป็นต้นว่า

คุณสมบัติของพ่อค้าแม่ค้า
หากพ่อค้าแม่ค้าต้องการประสบความสำเร็จในอาชีพ ก็ต้องปฏิบัติดังนี้
๑. ตื่นแต่เช้า เอาใจใส่ดูแลกิจการงานของตน
๒. เวลากลางวัน เอื้อเฟื้อสนใจในกิจการงานของตน
๓. เวลาเย็น ต้องตรวจตรากิจการงานของตนในด้านการค้า การเงิน การทำงานของคนในร้าน การติดต่อ เป็นต้น

และต้อง
๑. มีตาดี คือ รู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรขายดีไม่ดี รู้จักหลักการค้า และรู้จักค้าขาย

๒. เอาใจใส่ในการค้า ไม่ปล่อยปละละเลยหรือมอบให้คนอื่นค้าขาย ด้วยไว้ใจจนเกินไป

๓. มีนิสัยในการค้า

การค้าย่อมประสบความสำเร็จแน่นอน หากปฏิบัติได้เช่นนี้ แต่ไม่ควรนำสินค้าเหล่านี้มาขาย เช่น
๑. เครื่องทำลายชีวิต ทำร้ายร่างกาย
๒. คน
๓. สัตว์เป็นสำหรับให้เขาฆ่า
๔. น้ำเมา ของเสพติด
๕. ยาพิษ

โดยเฉพาะผู้ที่เป็นพุทธศาสนิกชนไม่ควรขายสิ่งเหล่านี้ เนื่องจากเป็นเครื่องทำลายผู้อื่นและตนเอง บางท่านอาจคิดว่า ถ้าไม่ขายสัตว์เป็นให้เขานำไปฆ่า แล้วคนจะได้กินเนื้อสัตว์หรือ เป็นการตัดวิธีหากินหรือเปล่า เรื่องนี้ไม่ต้องวิตก เพราะยังมีของอื่นอีกมากที่จะขายได้ ไม่ใช่มีเฉพาะของ ๕ อย่างนี้เท่านั้น และคนทั่วไปก็ไม่ได้เป็นพุทธศาสนิกชนเสียทั้งหมด

คุณสมบัติของดนตรี
พระพุทธองค์ทรงแสดงคุณสมบัติของดนตรีที่ดีไว้ดังนี้

๑. ไพเราะ
๒. เร้าอารมณ์
๓. ให้เพลิดเพลิน
๔. ดื่มด่ำ
๕. ให้เกิดความสบายใจ

พระพุทธองค์ทรงทราบแม้กระทั่งเรื่องของดนตรี

ที่มา: จากหนังสือเรื่อง 1 ใน 84000 ของ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา