การทำแก้ว

Socail Like & Share

อย่างไรก็ตาม ขวดที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นเครื่องใช้นั้น คือขวดที่ทำด้วยแก้ว เพราะแก้วเป็นวัตถุที่โปร่งใส และบางชนิดก็ทำให้มีความวาวด้วยความหักเหของแสงได้ เช่น แก้วเจียระไน เป็นต้นแก้ว

แก้วนั้นเกิดตามธรรมชาติก็มี แต่ก็หายาก และนำเอามาทำเครื่องใช้ไม่สะดวก ดังนั้น มนุษย์เราจึงคิดทำแก้วขึ้นเอง ตามหลักฐานของไพลนี นักเขียนชาวโรมัน ปรากฏว่า เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๖ ชาวเมืองพีนีเซียนเป็นพวกแรกที่ได้พบแก้วโดยบังเอิญอันเกิดจากการหลอมตัวของโซดาและทรายซึ่งกลายเป็นวัตถุโปร่งแสง ต่อมาจึงเกิดอุตสาหกรรมย่อยๆ ในการทำภาชนะแก้วในประเทศพีนีเซียและอียิปต์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกในโลกที่รู้จักวิธีทำแก้ว ต่อมาวิชาการทำแก้วนี้ได้แพร่หลายออกไปในประเทศต่างๆ เช่นประเทศอิตาลี โดยเฉพาะในกรุงโรมและเวนิส ตลอดไปถึงประเทศเยอรมัน ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ได้เริ่มใช้แก้วกันแพร่หลายในประเทศต่างๆ ในยุโรป ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๒๓ การทำแก้วโดยวิธีวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยจึงได้เริ่มต้น และในพุทธศตวรรษที่ ๒๕ จึงได้มีการใช้เครื่องจักรทำแก้ว ประเทศที่ทำแก้วมากได้แก่ประเทศเยอรมัน เบลเยี่ยม สำหรับประเทศเยอรมัน ปรากฏว่าผลิตแก้วได้ถึง ๖๐๐,๐๐๐ ตันต่อปี หรือประมาณ ๓๐ % ของจำนวนแก้วทั้งหมดที่ใช้ในปีหนึ่งๆ ทั่วโลก

แก้วนั้นทำจากทรายขาวบริสุทธิ์ ผสมกับหินปูนและโซดาคาร์บอเนต หลอมให้เหลว โดยใช้ความร้อนหรืออุณหภูมิสูงประมาณ ๑๓๐๐º -๑๖๐๐ º ซ.

การทำแก้วหรือหุงแก้วในประเทศไทย คงจะมีมานานแล้วเหมือนกัน แต่ไม่ได้ทำเป็นล่ำเป็นสันเพิ่งมาทำเป็นอุตสาหกรรมเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง เวลานี้แก้วส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทยจึงเป็นแก้วที่ทำในประเทศของเราเอง

ที่มา:วิชาภรณ์  แสงมณี