หลักเทียบคำบาลีและสันสกฤต

มีคำโดยมากที่เราใช้เขียนได้ทั้ง ๒ อย่าง เช่น นิจ, ภิกขุ จะเขียนเป็น นิตย์ ภิกษุ ก็ได้ ที่เป็นเช่นนี้ มิใช่เราเอามาแผลงใช้ในภาษาไทยเป็นด้วยที่มาต่างกันคือ นิจ ภิกขุ เป็นภาษา บาลี, นิตย์, ภิกษุ เป็นภาษา สันสกฤต แต่บางคำเราก็ใช้ทั้งคู่ ยากที่จะสังเกตว่าเป็นคำภาษาไหน หรือแผลงมาจากภาษาไหน ต่อไปนี้จะวางหลักไว้เพื่อเป็นที่สังเกตได้บ้างดังนี้

(๑) สระ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ และตัว ศ ษ นี้มีในภาษาสันสกฤต ไม่มีในภาษาบาลี คำที่มีอักษรเหล่านี้ต้องมาจากสันสกฤต ที่เราแผลงมาใช้ก็มีบ้าง แต่น้อย เช่น อังกฤษ, ศอก, ศึก เป็นต้น

(๒) คำบาลีไม่ใคร่มีพยัญชนะประสม (คือควบกัน เช่น กฺย, กฺร, ทฺย, ทฺร ฯลฯ) มากเหมือนสันสกฤต ทั้งส่วนพยัญชนะต้น และตัวสะกด ตัวสะกด ในภาษาบาลีมีหลักที่จะสังเกตดังนี้

ก. ตัวสะกดต้องมีตัวตามด้วย จะมีตัวเดียวไม่ได้ และต้องเป็นพยัญชนะที่๑ ที่๓ ที่๕ และตัว ย ล ว ส ฬ (ตัว ห สะกดได้บ้าง เช่น พฺรหฺมา) จึงจะสะกดได้

ข. ส่วนตัวตามนั้นก็มีที่สังเกตเห็น คือพยัญชนะที่ ๑ ที่ ๒ ตามตัวสะกด ที่เป็นพยัญชนะที่ ๑ เช่น สกฺก, ทุกฺข, สจฺจ, อจฺฉ ฯลฯ พยัญชนะที่ ๓ ที่ ๔ ตามหลังตัวสะกดที่เป็นพยัญชนะตัวที่ ๓ เช่น วคฺค, พยคฺฆ ฯลฯ พยัญชนะ ทั้ง ๕ ตัวตามหลังตัวสะกดที่เป็นพยัญชนะที่ ๕ ในวรรคของมันได้ เช่น วงฺก, อุญฺฉา,ทณฺฑ,สนธิ,สมฺมา ฯลฯ ในเศษวรรคตัว ย ล ส ตามหลังตัวเองได้ เช่น เสยฺย, สลฺล, ผสฺส ฯลฯ แต่ตัว ย ร ล ว ห ตามหลังตัวสะกดหรือไม่ใช่ตัวสะกดก็ได้ เช่น พฺยาบาล, อคฺยาคาร. พฺรหฺม, กิเลส, อวฺหย, วิรุฬฺห ฯลฯ

(๓) ส่วนตัวสะกดในภาษาสันสกฤตนั้นตัวเดียวก็สะกดได้ เช่น มนสฺ, หสฺดิน ฯลฯ และตัว ร สะกดก็ได้ และมีใช้ชุกชุมด้วย เช่น ธรฺม, สรฺว, ติรฺถ ฯลฯ ส่วนตัวตามหลังนั้นมีกำหนดคล้ายบาลี แต่ต่างวรรคกันก็ตามหลังกันได้ เช่น ฤกฺษ, มุกฺต, ปุทฺคล, สปฺต, สนิคฺธ ฯลฯ

คำบาลี และสันสกฤตมีมูลรากเป็นอันเดียวกัน แต่ใช้ตัวอักษร แตกต่างกันไป จะคัดมาเทียบไว้พอเป็นหลักสังเกตดังนี้
silapa-0036 - Copy

silapa-0037
silapa-0038silapa-0039silapa-0040

 

 

silapa-0041 - Copy

ยังมีคำอื่นๆ อีกเป็นอันมาก ที่ไม่เป็นระเบียบดังข้างบนนี้ ต้องอาศัยสังเกตเปรียบเทียบเอาเองจากภาษาเดิม

คำที่ต่างภาษากันเช่นข้างบนนี้ จะนับว่าฝ่ายหนึ่งแผลงมาจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ เพราะเป็นคนละภาษา ต่อเมื่อไรภาษาเดิมเขาเป็นอย่างหนึ่ง ไทยนำมาใช้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่นนี้จึงจะนับว่า แผลง ในที่นี้ เช่นคำบาลีว่า มคฺก, วณฺณ, กมฺม, กตฺติค, ขคฺค, อคฺค, ชุณฺห แต่สันสกฤตเป็น มารฺค, วรฺณ, กรฺม, การฺกติก, ขรฺค, อคฺร, โชฺยตฺสฺน ดังนี้จะนับว่าฝ่ายใดแผลงไม่ได้ ต่อเมื่อไทยนำมาใช้ผิดไปจากเดิมเป็น วรรค, วรรณ, กรรม, กรรดึก, ขรรค์, อัคร, ชุณห เช่นนี้จึงจะนับว่าแผลง ถ้าคำที่แผลงนั้นใกล้ข้างภาษาใด ก็ให้นับว่าแผลงตามภาษานั้นหรือจากภาษานั้น คำแผลงข้างบนนี้ใช้กันมานมนาน เป็นอันใช้ได้ แต่จะคิดแผลงขึ้นตามหลักนี้ เช่น สพฺพญฺญู ใช้อย่างสันสกฤต ว่า สรรเพช หรือ สรรเพชญ์ และจะใช้คำกตฺญว่า กเดช หรือ กเดชญ์ เลียน ตามนั้นไม่ได้ ต้องให้ถูกตามภาษาของเขา ให้สังเกตหลักเทียบที่ไทยใช้ตามข้างบนนี้

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร