พงศาวดารล้านช้างที่เกี่ยวกับควาย

Socail Like & Share

ควายนั้น คงจะเป็นสัตว์ใช้งานของคนไทยมาก่อนกว่าวัว วัวนั้นเข้าใจว่าเราเอามาใช้งาน เมื่อชนชาติอินเดียได้อพยพเข้ามาทำมาหากินในตอนใต้ของประเทศไทยเราแล้ว ที่ว่าเราใช้ควายก่อนวัวนั้นมีปรากฏในพงศาวดารของลานช้างว่า “มีผู้ใหญ่ ๓ คน ชื่อปู่ลางเชิง ขุนเด็ก และขุนคาน สร้างบ้านเมืองอยู่ในลุ่มเวลาได้ข้าวได้ปลาไม่ได้เซ่นไหว้บอกกล่าวแก่ผี ผีจึงโกรธ บันดาลให้น้ำควาย3ท่วมบ้านเมือง คนทั้งสามต้องต่อแพตนเองและลูกเมียลงอยู่ในแพจึงรอดชีวิตอยู่ได้ ขุนทั้งสามจึงนำแพทวนน้ำขึ้นไปถึงเมืองสวรรค์ ไปเฝ้าพระยาแถนซึ่งประทับอยู่บนสวรรค์ เพื่อฟ้องร้องเรื่องผีทำให้น้ำท่วม” พระยาแถนก็ต้อนรับขับสู้เป็นอย่างดี แต่ ขุนทั้งสามก็อยู่เมืองสวรรค์ไม่ได้รู้สึกอึดอัดเป็นกำลังจึงขอลาพระยาแถนกลับ พระยาแถนก็อนุญาตและแถมควายลงมาให้ใช้ด้วย และตั้งแต่นั้นมามนุษย์ก็เลยมีควายไถนา ถ้าเราจะคิดว่าคนไทยกับคนลาวก็เป็นเผ่าและเชื้อสายเดียวกัน ควายจึงน่าจะเป็นสัตว์ชนิดแรกที่คนไทยเรารู้จักใช้ลากไถ และความรู้สึกที่ว่าควายวัวเป็นสัตว์มีบุญคุณแก่เราก็มีทั้งลาวและไทย แต่คนไทยบางเผ่าระลึกถึงบุญคุณของควายหนักแน่นกว่าไทยเรามากนัก ส. พลายน้อยเล่าไว้ในหนังสือสัตวนิยายตอนหนึ่งว่า “ชนบางเหล่าเช่นพวกไทยลื้อเขายังระลึกถึงคุณของควาย มีการขอขมาลาโทษในหนังสือ “ลื้อคนไทยในประเทศจีน” ได้กล่าวถึงธรรมเนียมการปล่อยควายให้เป็นอิสระไว้ว่า ภายหลังจากทำนานวดข้าวเสร็จแล้ว และท้องนาว่างไม่มีข้าวเหลืออยู่ เขาจะปล่อยควายให้ไปกินหญ้าได้ แต่ก่อนจะปล่อย เจ้าของเขาจะทำพิธีสู่ขวัญคือ ฆ่าไก่ ๑ คู่ เส้นด้ายไหมขวัญ ๑ เสน เทียนขี้ผึ้ง ๑ คู่ กับดอกไม้ เอาวางตรงหน้าควายที่จะปล่อย มัดเส้นด้ายที่เขาทั้งสองข้าง เอ่ยปากกล่าวคำขวัญว่า

“ข่อยได้เจ่ามาใสไฮ่ (ไร่) ใส่นา ได้ค่าได้ตี๋ (ตี) ได้ป่อ (ทุบ) บัดเดี๋ยวนิเสร็จนาแล่ว ได้คลี่ก๋รรมคลายเวร อย่าหื้อได้เป็นบาปเป็นกรรม เจ่าควายหื้อได้อยู่ลี (ดี) กินหวานโต๋ (ตัว) ข่อยผู้เป็นเจ้าของได้สุขย้อนบุญเจ่าได้อยู่ดีแล”

แล้วก็ปล่อยควายให้ไปหากินตามใจชอบ จนกว่าจะถึงหน้านาจึงไปตามเอามาใช้งานอีก ถ้าหากควายมันรู้คงจะดีใจหาน้อยไม่ แต่ประเพณีเช่นว่านี้อย่าได้เอามาใช้ในเมืองเราเป็นอันขาด ขืนปล่อยควายไปอย่างพวกไทยลื้อ ถึงหน้านาเราก็ต้องหน้าเหี่ยว เพราะควายถูกขโมยเอาไปกินเสียหมดแล้ว ขนาดไว้ในคอกยังถูกปล้นถูกขโมยไปเลย

ที่มา:วิชาภรณ์  แสงมณี