ราชาศัพท์-สรรพนาม

คำสรรพนามที่ใช้เป็นราชาศัพท์  คำสรรพนามที่จะต้องเปลี่ยนแปลงใช้ตามราชาศัพท์  ก็มีแต่บุรุษสรรพนามพวกเดียวเท่านั้น และคำบุรุษสรรพนามในภาษาไทยที่มีซ้ำกันหลายๆ คำนั้น  ก็เพราะมีวิธีใช้ต่างกันตามชั้นของบุคคล ดังจะรวบรวมมาไว้ต่อไปนี้

(๑) บุรุษที่ ๑
silapa-0174
(๒) บุรุษที่ ๒

silapa-0174111

silapa-0175 - Copy

(๓) บุรุษที่ ๓ สรรพนามพวกนี้ ไม่นิยมผู้พูดหรือผู้ฟัง นิยมแต่ผู้ที่อ้างอึง ว่าจะเป็นชั้นอะไรเท่านั้น
silapa-0175 - Copy1
คำกริยาที่ใช้เป็นราชาศัพท์  คำกริยาที่ใช้เป็นราชาศัพท์ โดยมากมีอยู่ ๒ ชั้น คือ พระราชากับเจ้านาย และมักจะใช้อย่างเดียวกันด้วย ที่ต่างกันก็มีบ้างแต่น้อย ส่วนคำที่มีบัญญัติใช้แยกออกเป็นหลายชั้นนั้นมีบางคำจักกล่าวทีหลัง
(๑) คำกริยาที่ใช้ร่วมกันทั้งพระราชาและเจ้านาย คือ
ก. คำกริยาที่มีรูปแปลกออกไปจากคำธรรมดา เช่น
silapa-0176 - Copy
ข. คำกริยาที่ใช้คำ “ทรง” นำหน้าคำกริยาธรรมดา เช่น ทรงฟัง ทรงยินดี ทรงรับ ทรงชุบเลี้ยง ทรงสั่งสอน เป็นต้น แต่คำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้วดังข้อ ก. จะเติมคำ “ทรง” เข้าอีก เช่นกล่าวว่า ทรงตรัส ทรงเสวย ฯลฯ ดังนี้ไม่ได้  ต้องใช้เฉพาะแต่คำกริยาธรรมดา

ค. ใช้คำ “ทรง” นำหน้านามราชาศัพท์  คำพวกนี้ถ้าจะว่าทางไวยากรณ์ก็คือ คำกริยาอย่างข้อ ก. นั่นเอง คือมีคำ “ทรง” เป็นสกรรมกริยา แปลได้ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว และมีนามราชาศัพท์เป็นกรรม แต่ที่แยกมากล่าวอีกข้อหนึ่งนี้เพราะนิยมใช้กันมาก ดังตัวอย่างต่อไปนี้
silapa-0177 - Copy
ข้อสังเกต นามที่ใช้เป็นกรรมของกริยา “ทรง” นี้ จะไม่เป็นราชาศัพท์ก็ใช้ได้อย่างข้อ ก. เช่น ทรงช้าง ทรงม้า เป็นต้น หรือนามบางคำ เช่น เมตตา กรุณา อุตสาหะ ฯลฯ ถ้าไม่ใช้คำวิเศษณ์ “พระ” นำหน้า ก็ใช้เป็นคำกริยาธรรมดาได้ หรือถ้าเอาคำ “ทรง” นำหน้าคำเหล่านี้เข้าเป็น ทรงเมตตา ทรงกรุณา ฯลฯ ก็นับว่าเป็นกริยาราชาศัพท์อย่างข้อ ข. เช่นเดียวกับ ทรงฟัง ทรงใช้ เป็นต้น ใช้ได้ถูกต้องเหมือนกัน ทั้งนี้แล้วแต่นิยมใช้

(๒) คำกริยาที่บัญญัติใช้แยกออกเป็นหลายชั้นมีบางคำ เช่น
ก. คำกริยา-ตาย
silapa-0177 - Copy1
*ปัจจุบันนี้อนุโลมใช้กับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และประธานสภา
**ปัจจุบันนี้อนุโลมใช้กับข้าราชการชั้นพิเศษ หรือเทียบเท่า

ข. คำกริยา “มีคำสั่ง” ใช้คำ “มี” นำหน้า “คำสั่ง” (ตามชั้นของบุคคล) แล้วเติมคำว่า “สั่ง” เข้าข้างท้าย เว้นแต่คำว่า “มีรับสั่ง” “มีคำสั่ง” ไม่ต้องเติม พระราชาใช้ว่า “มีพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่ง” หรือ “มีพระราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่ง” ชั้นต่อๆ ไปให้ประกอบใช้ตามอธิบายนี้

ค. คำกริยา เบ็ดเตล็ด

silapa-0178 - Copy
(๓) คำกริยาของผู้น้อยที่จะต้องใช้แก่บุคคลชั้นต่างๆ นั้น โดยมากเป็นกริยาปรกติ แต่มีบางคำที่ใช้ต่างกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
silapa-0179 - Copy
(๔) ยังมีคำกริยาอีกมากที่ผู้น้อยใช้ต่อบุคคลชั้นต่างๆ ที่ลงรอยกันบ้าง แตกต่างหรือยิ่งหย่อนต่อกันบ้างตามความนิยมของผู้ใช้ จะคัดมาไว้เป็นหลักสัก ๒ คำ คือ

ก. กริยา-แจ้งความ (ที่ใช้หน้าซองหรือขึ้นต้นจดหมาย)

silapa-0180 - Copy๑ เดิมเรียกว่า “เสนาบดี”
๒ เรียกว่า “ปลัดทูลฉลอง”

ข. คำกริยา-ขอบใจ (มักใช้คำอื่นแทน)

silapa-0181 - Copyคำวิเศษณ์ที่ใช้เป็นราชาศัพท์
(๑) คำวิเศษณ์ประกอบนาม  ตามนิยมในภาษาไทย คำวิเศษณ์พวกนี้ไม่ใช้เกี่ยวข้องเป็นราชาศัพท์ เพราะใช้คำนามเป็นราชาศัพท์แล้ว คำวิเศษณ์ประกอบท้าย จึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยให้รุงรัง เช่นกับ “มือสั้น” ก็ว่า “พระหัตถ์สั้น” “ผมยาว” ก็ว่า “พระเกษายาว” ดังนี้เป็นต้น ที่มีเกี่ยวข้องอยู่บ้างก็เฉพาะบางคำ ดังต่อไปนี้

ก. คำ “พระ” นี้ ท่านแผลงมาจาก “วร” ในภาษาบาลี และสันสกฤต แปลว่า ประเสริฐ ใช้นำหน้าคำนามเฉพาะที่มาจากบาลีและสันสกฤต หรือคำเขมร และคำโบราณบางคำ ให้เป็นราชาศัพท์สำหรับพระราชาและเจ้านาย เช่น พระ หัตถ์ พระ บาท พระ เขนย พระ จุไร พระ บังคม เป็นต้น แต่จะใช้นำหน้าคำไทยธรรมดาว่า พระ มือ พระ เท้า เช่นนี้ไม่ได้

ข. คำ “ต้น” และ “หลวง” ใช้ประกอบข้างท้ายคำไทยธรรมดา ให้เป็นราชาศัพท์สำหรับพระราชา เช่น ช้าง ต้น ม้า ต้น ลูก หลวง หลาน หลวง ดังนี้เป็นต้น

ค. คำ “ราช บรม บรมราช บวร บวรราช” เหล่านี้เป็นคำบาลีและสันสกฤต ราช แปลว่า พระราชาหรือหลวง บรม แปลว่า อย่างยิ่ง บวร แปลว่า ประเสริฐ มักใช้ประกอบข้างหน้าคำสมาสที่มาจากบาลีและสันสกฤตและมีคำว่า “พระ” นำหน้าอีกชั้นหนึ่ง ใช้สำหรับพระราชา เช่น พระราชทรัพย์ พระ ปรมา ภิไธย พระ บรมราช โองการ เป็นต้น คำ “บรม” นี้ เดิมใช้สำหรับวังหลวงคู่กับคำ “บวร” ซึ่งใช้สำหรับวังหน้า เช่น “พระบรมราชโองการ” ซึ่งคู่กับ “พระ บวร ราชโองการ” เป็นต้น บัดนี้คงอยู่แต่คำ “บรม” ซึ่งมักจะใช้สำหรับพระราชาเท่านั้น  ถ้าจะว่าทางไวยากรณ์แล้ว คำ “ราช” หรือ “บรม” เป็นต้นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของคำสมาส หาได้แยกออกเป็นคำๆ ไม่

(๒) คำวิเศษณ์ประกอบกริยา  คำวิเศษณ์พวกนี้ใช้เป็นราชาศัพท์ ก็มีแต่ประติชญาวิเศษณ์ พวกเดียวเท่านั้น ใช้ต่างกันตามชั้นของบุคคล ดังนี้

silapa-0182 - Copyข้อสังเกต  คำประติชญาวิเศษณ์  ที่ผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อยนั้น ไม่ใคร่จะมีกำหนด เพราท่านเลือกใช้ตามอัธยาศัยได้ เช่น เจ้านายจะตรัสกับขุนนางว่า “ขอรับ” ก็ได้ หรือ “จ้ะ” ฯลฯ ก็ได้ แล้วแต่พระทัย

คำสุภาพ  คำราชาศัพท์ทั้งหลาย  นอกจากที่จะต้องเปลี่ยนแปลงใช้ตามวิธีที่กล่าวมาแล้วนี้ ยังมีคำธรรมดาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงให้เปนคำสุภาพอีก คำสุภาพในที่นี้ มีลักษณะดังจะอธิบายต่อไปนี้

(๑) ไม่ใช้คำกระด้างอย่างไม่เคารพ  เช่น ใช้คำอุทานว่า หือ! หา! เออ! เว้ย! โว้ย! เป็นต้น หรือพูดกระชากหางเสียงห้วน! เช่น “เปล่า ไม่ใช่ ไม่มี” ดังนี้เป็นต้น หรือใช้อาการพยักหน้าแทนรับ และสั่นศีรษะแทนปฏิเสธอย่างพูดกับเพื่อนกัน เหล่านี้เป็นต้น

คำปฏิเสธว่า “เปล่า” ต้องใช้ว่า “หามิได้” หรือ “มิได้” แทน ถึงคำปฏิเสธอื่นๆ ก็ต้องเติมคำว่า “หามิได้” หรือ “มิได้” เข้าข้างต้นเพื่อกันห้วน เช่น “ไม่มีหามิได้” “ไม่อยู่มิได้” ดังนี้เป็นต้น

(๒) ไม่ใช้คำหยาบ เช่น “อ้าย อี ขี้ เยี่ยว” ฯลฯ คำเหล่านี้ถ้าปนอยู่ในที่แห่งใด ต้องเปลี่ยนแปลงหรือตัดออกเสีย ตามแต่จะเห็นควร ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ก. คำ “อ้าย” ใช้ที่นำหน้านาม เช่น อ้ายนี่ อ้ายนั้น ฯลฯ ให้เปลี่ยนเป็น สิ่งนี้ สิ่งนั้น ฯลฯ ถ้าตัดออกได้ก็ตัดออกเสีย เช่น ปลา อ้าย บ้า เรียก ปลาบ้า เป็นต้น คงไว้แต่คำ “อ้าย” ที่ใช้นำหน้านักโทษ หรือผู้ร้ายเท่านั้น(เดี๋ยวนี้ใช้ “นักโทษชาย” “นักโทษหญิง” แล้ว)

ข. คำ “อี” มักใช้คำ “นาง” แทน เช่น อี เลิ้ง เรียกนางเลิ้ง อี เห็น เรียก นางเห็น อี แอ่น เรียก นางแอ่น เป็นต้น ที่ตัดออกได้ก็ตัดออกเสีย เช่น อี แร้ง อี กา เรียกแต่เพียง แร้ง กา เป็นต้น และคงไว้แต่คำ “อี” ที่นำหน้านักโทษหรือผู้ร้ายอย่างเดียวกับคำ “อ้าย”

ค. คำ “ขี้ เยี่ยว” “ขี้” ใช้คำ “คูถ” หรือ “อุจจาระ” แทน “เยี่ยว” ใช้คำ “มูตร” หรือ “ปัสสาวะ” แทน แต่คำ “ขี้” ถ้าเป็นขี้สัตว์ หรือขี้อื่นๆ เช่น ขี้ นก ขี้ หนู ขี้ เลื่อย ขี้ กบ ฯลฯ ใช้คำว่า “มูล” แทน เช่น มูล นก มูล หนู มูล เลื่อย มูล กบ มูล ดิน มูล บุหรี่ มูล หู มูล ตา เป็นต้น บางคำก็ตัดออกเสียหรือแก้เป็นอย่างอื่นก็มี เช่น ดอก ขี้ เหล็ก เรียก ดอกเหล็ก ขี้ มูก เรียก น้ำมูก ขนม ขี้ หนู เรียก ขนมทราย เป็นต้น

(๓) ไม่ใช้คำที่นิยมใช้เปรียบเทียบกับของหยาบ เช่น คำว่า “ปลาช่อน” หรือ “สากกะเบือ” ซึ่งเคยเปรียบเทียบกับของลับชาย คำว่า “ไข่” หรือ “สองบาท” เคยใช้เปรียบเทียบกับลูกอัณฑะ คำ “ปลาสลิด” เคยเปรียบเทียบกับของลับหญิง เป็นต้น คำเหล่านี้ต้องเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ดังนี้ ปลาช่อน เป็น ปลาหาง สากกะเบือ เป็น ไม้ตีพริก ไข่ เป็น ฟอง สองบาท เป็น กึ่งตำลึง ปลาสลิด เป็น ปลาใบไม้ ดอกสลิด เป็น ดอกขจร เป็นต้น

(๔) ไม่ใช้คำผวน  คำผวนในที่นี้หมายถึงคำที่ผวนหางเสียงกลับมาเป็นคำหยาบ เช่น “แขกตี้” ผวนเป็น “ขี้แตก” “ผักบุ้ง” ผวนเป็น “พุ่งบัก” เป็นต้น ต้องพยายามแก้ไขหรือเปลี่ยนเสีย มิให้ผวนมาเป็นคำหยาบเช่นนั้น ตัวอย่าง “ผักบุ้ง” แก้เป็น “ผักทอดยอด” “ที่ห้า ที่หก” แก้เป็น “ครบห้า ครบหก” “แปดตัว” แก้เป็น “สี่คู่” “ควรด้วย” แก้เป็น “สมควร” ดังนี้เป็นต้น

คำเหล่านี้มีอีกมาก ผู้อยากทราบพิสดารต้องดูในตำรา ราชาศัพท์ในที่นี้ชักมาพอเป็นหลักที่สังเกตเท่านั้น

วิธีเพ็ดทูล  ในการเพ็ดทูลพระราชาหรือเจ้านายก็ดี กราบเรียนขุนนางชั้นสูงก็ดี นอกจากจะใช้ราชาศัพท์ ดังแสดงมาแล้วนี้ ยังจะต้องมีวิธีใช้ถ้อยคำเป็นพิเศษต่างออกไปอีก จะอธิบายไว้พอเป็นตัวอย่างต่อไปนี้

(๑) สำหรับพระราชา เมื่อจะกราบบังคมทูลพระกรุณาขึ้นก่อน โดยไม่มีพระบรมราชโองการถาม ต้องขึ้นคำนำว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม” แล้วจึงดำเนินเนื้อเรื่อง เมื่อจบแล้วลงท้ายว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ”

ถ้ามีพระบรมราชโองการถามก่อน ขึ้นคำนำว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอรับ รับใส่เกล้าใส่กระหม่อม” แล้วดำเนินเนื้อเรื่อง และลงท้ายว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม” ถ้าเป็นการด่วนให้กราบทูลเนื้อเรื่องขึ้นก่อน แล้วเอาคำนำมาไว้ข้างท้าย เช่น มีพระบรมราชโองการถามว่า “ครูใหญ่อยู่ไหน” ก็กราบทูลว่า “ครูใหญ่อยู่ในโรงเรียน พระพุทธเจ้าข้าขอรับ รับใส่เกล้าใส่กระหม่อม” หรือจะใช้ย่อว่า “ครูใหญ่อยู่ในโรงเรียน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม” ก็ได้ ถ้าจะกราบทูลซ้ำต่อไปอีก ก็ไม่ต้องใช้คำนำต่อไปอีก เป็นแต่ใช้คำลงท้ายว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม” แทนทุกคำตอบ อย่างที่ใช้คำ “ขอรับ” กับขุนนาง

(๒) เมื่อจำเป็นจะต้องกล่าวถึงของหยาบ เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น ต้องใช้คำนำขึ้นก่อน อย่างที่ใช้คำว่า “ขอโทษ” แก่คนสุภาพ ดังนี้
พระราชา “ไม่ควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณา”
เจ้านายชั้นสูง “ไม่ควรจะกราบบังคมทูล”
เจ้านายชั้นรองลงมา “ไม่ควรจะกราบทูล”
ขุนนางชั้นสูง “ไม่ควรจะกราบเรียน”

เช่นตัวอย่างจะตอบพระบรมราชโองการว่า “นายแดงถ่ายอุจจาระเป็นโลหิต” ก็ใช้ว่า “พระพุทธเจ้าข้าขอรับ รับใส่เกล้าใส่กระหม่อม ไม่ควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณา นายแดงถ่ายอุจจาระเป็นโลหิต ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม” ดังนี้เป็นต้น

(๓) เมื่อจะกล่าวถึงตนได้รับความสุขสบาย หรือคลาดแคล้วอันตรายต่างๆ เป็นต้น ให้ใช้คำนำว่า “เดชะพระบารมีปกเกล้าฯ” ขึ้นก่อน แล้วดำเนินเนื้อเรื่อง ส่วนคำอื่นก็ประกอบใช้อย่างเดียวกับข้างต้น ข้อนี้ใช้แต่พระราชากับเจ้านายชั้นสูงเท่านั้น ชั้นรองลงมาไม่ต้องใช้

(๔) เมื่อกล่าวถึงเรื่องที่ตนได้รับอนุเคราะห์จากท่าน เช่น ท่านทรงเอื้อเฟื้อ ถามถึงทุกข์สุข หรือทรงแนะนำอุบายอะไรให้ เป็นต้น ให้ใช้คำว่า “พระเดชะพระคุณเป็นล้นเกล้าฯ” เติมข้างท้ายเรื่อง ข้อนี้ใช้ทั้งสำหรับพระราชาและเจ้านายอย่างเดียวกันก็ได้ หรือจะใช้สำหรับพระราชาให้แปลกไปว่า “พระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าฯ ดังนี้ก็ได้

(๕) เมื่อกล่าวถึงเรื่องที่ตนได้กระทำพลั้งพลาดลงไป ซึ่งจะต้องแสดงความเสียใจ ให้ใช้คำว่า “พระราชอาญาเป็นล้นเกล้าฯ” สำหรับ พระราชา พระราชินี พระยุพราช และใช้คำว่า “พระอาชญาเป็นล้นเกล้าฯ สำหรับเจ้านายชั้นสูง ต่อท้ายเรื่อง

(๖) คำว่า “กิน” ที่หมายความถึงตนหรือคนอื่น ตลอดจนสัตว์ กินอาหารหรือของที่ควร (คือไม่ลักเขากิน หรือกินเหล้ากินยาฝิ่น เป็นต้น) ให้ใช้ว่า “รับพระราชทาน” สำหรับพระราชา พระราชินี พระยุพราช และใช้ว่า “รับประทาน” สำหรับเจ้านายตลอดมาถึงคนสุภาพซึ่งเป็นที่นับถือ ถ้าใช้ในความว่า “กิน” ที่ไม่ควร เช่น กินเหล่า กินยาฝิ่น ลักเขากิน ฆ่าสัตว์กิน หรือ คำ “กิน” ที่หมายความเป็นอย่างอื่น เช่น กินเวลาเท่านี้ กินเนื้อที่เท่านั้น เป็นต้น ให้ใช้ “กิน” คงเดิม

ข้อสังเกต  คำ “รับพระราชทาน” หรือ “รับประทาน” ที่ใช้แทนคำ “กิน” นี้ใช้เฉพาะทูลเจ้านาย หรือพูดกับผู้ที่นับถือเท่านั้น เป็นที่ยกย่องว่า ของทุกสิ่งที่คนหรือสัตว์ได้กินนั้น ล้วนเป็นของที่ท่านให้ทาน เพราะฉะนั้น ถ้าพูดเป็นคำกลางๆ คือไม่พูดกับผู้ที่นับถือก็ดี หรือพูดถึงเรื่องกินที่ไม่ควรเป็นต้น ก็ดี จึงไม่ต้องใช้คำว่า “รับพระราชทาน” หรือ “รับประทาน” แทน

(๗) คำ “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ใต้ฝ่าละอองพระบาท ใต้ฝ่าพระบาท” นี้เป็นบุรุษสรรพนาม บุรุษที่ ๒ ตรงกับคำว่า “ใต้เท้า” จึงได้มีคำ “ใต้” นำหน้าอยู่ แต่ไม่ควรใช้คำ “ใต้” นำหน้าคำที่หมายความว่า “รู้” คือ “ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ทราบฝ่าละอองพระบาท ทราบฝ่าพระบาท” เพราะคำเหล่านี้เป็นคำยกย่องอย่างที่ว่า “ทราบฝ่าเท้า” ไม่ใช้ “ทราบใต้เท้า”

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร