หน้าที่เกี่ยวข้องของคำ

คำพูดทั้งหลาย ทั้งที่ใช้ต่างกันตามระเบียบดังอธิบายแล้วก็ดี หรือที่ไม่ต้องใช้ตามระเบียบก็ดี เมื่อนำมาใช้พูดจากันเป็นเรื่องความ ย่อมมีหน้าที่เกี่ยวเนื่องติดต่อกันแทบทั้งนั้น เช่น คำนี้มีหน้าที่เป็นผู้กระทำของกริยานั้น คำนี้มีหน้าที่เป็นผู้ถูกกริยานั้นกระทำ และคำนั้นมีหน้าที่ขยายเนื้อความของคำนั้น ดังนี้เป็นต้น ลักษณะที่คำพูดเกี่ยวข้องกันเช่นนี้เรียกว่า ‘หน้าที่เกี่ยวข้องของคำ’ นับว่าเป็นข้อสำคัญมากในไวยากรณ์ไทย เพราะคำในภาษาไทยย่อมมีลักษณะไม่แน่นอน อาจจะเป็นชนิดนั้นก็ได้ ชนิดนี้ก็ได้ และวิธีกระจายคำในวจีวิภาค ย่อมจะต้องวินิจฉัย คำพูดต่างๆ ว่าเป็นชนิดไร ลึงค์อะไร พจน์อะไร และทำหน้าที่อะไร เป็นต้น จึงจำเป็นต้องรู้หน้าที่เกี่ยวข้องของคำในข้อความนั้นๆ เสียให้แน่นอนก่อน จึงจะวินิจฉัยได้ถูกต้อง จะรวบรวมมาอธิบายทีละชนิดๆ เพื่อสังเกตง่าย ดังต่อไปนี้

หน้าที่เกี่ยวข้องของนาม  หน้าที่อันสำคัญของนามที่จะต้องใช้เกี่ยวข้องกับคำอื่น ก็คือใช้เป็นการกต่างๆ ดังอธิบายต่อไปนี้

(๑) เป็นกรรตุการก คือ เป็นผู้กระทำกริยา ย่อมมีหน้าที่เป็น ๒ อย่าง
คือ:-
ก. อยู่หน้าข้อความ คือ เป็นประธาน เช่นคำ ‘ครู’ ต่อไปนี้
ทำเอง-‘ครู อ่านหนังสือ’ เป็นต้น
เป็นผู้ใช้-‘ครู ให้ศิษย์อ่านหนังสือ’ เป็นต้น

ข. อยู่หลังคำ ‘ ถูก ’ ทำหน้าที่ช่วยกริยา เช่นคำ ‘ ครู ’ ต่อไปนี้
ทำเอง-‘หนังสือถูก ครู อ่าน’
เป็นผู้ใช้ – ‘ หนังสือถูก ครู ให้ศิษย์อ่าน’
-‘ศิษย์ถูก ครู ให้อ่านหนังสือ’ ดังนี้เป็นต้น

อนึ่ง กรรตุการกพวกนี้ ใช้บุพบท ‘โดย’ นำหน้าก็มี แต่เรียงไว้หลังข้อความดังตัวอย่างประโยคที่แปลงมาจากภาษาอังกฤษ เช่น คำ ‘ครู’ ต่อไปนี้ ‘หนังสือที่แต่งโดย ครู’ เป็นต้น

(๒) เป็นกรรมการก คือเป็นผู้ถูกกริยาทำ มีหน้าที่เป็น ๒ อย่าง คือ:-
ก. อยู่หน้าข้อความ คือเป็นประธาน เช่นคำ ‘หนังสือ’ ต่อไปนี้
ถูกกรรตุการกทำ-‘หนังสือ ถูกครูอ่าน’ เป็นต้น
ถูกการิตการกทำ-‘หนังสือ ถูกครูให้ศิษย์อ่าน’ เป็นต้น

ข. อยู่หลังสกรรมกริยา เพื่อช่วยกริยาให้มีเนื้อความเต็ม เช่น คำ ‘หนังสือ’ ต่อไปนี้
ถูกกรรตุการกทำ- ‘ครูอ่าน หนังสือ’ เป็นต้น
ถูกการิตการกทำ- ‘ครูให้ศิษย์อ่าน หนังสือ’ เป็นต้น

(๓) เป็นการิตการก คือเป็นผู้รับใช้ให้ทำกริยา มีหน้าที่เป็น ๒ อย่าง
คือ
ก. อยู่หน้าข้อความ คือเป็นบทประธานเช่น คำ ‘ศิษย์’ ต่อไปนี้ ‘ศิษย์ ถูกครูให้อ่านหนังสือ’ เป็นต้น

ข. อยู่กลางข้อความหลังกริยา ‘ให้’ ทำหน้าที่รับใช้ช่วยกริยา ‘ให้อ่าน’ เช่น คำ ‘ศิษย์’ ต่อไปนี้ (ก) ประธานใช้ ‘ครูให้ศิษย์อ่านหนังสือ’ เป็นต้น (ข) ไม่ใช่ประธานใช้ ‘หนังสือถูกครูให้ ศิษย์ อ่าน’ เป็นต้น

(๔) เป็นวิเศษณการก ซึ่งมีบุพบทนำหน้าเป็นพื้น ใช้ประกอบหน้าบท เพื่อบอกหน้าที่ เช่นตัวอย่างต่อไปนี้ ‘เสื้อของฉัน’ คำ ‘ฉัน’ เป็น วิเศษณการกประกอบ ‘เสื้อ’ บอกหน้าที่เจ้าของ ‘เขาอยู่ที่ บ้าน’ คำ ‘บ้าน’ เป็นวิเศษณการกประกอบ ‘อยู่’ บอกสถานที่ซึ่งล้วนแล้วแต่คำบุพบทข้างหน้าจะบ่งความ ดังกล่าวแล้วในข้อ- ‘ชนิดบุพบท และระเบียบของคำที่ว่าด้วยการก’

(๕) เป็นวิกัติการก ย่อมทำหน้าที่เป็นส่วนขยายบทหน้า ทั้งนามและ กริยาได้หลายสถาน ดังต่อไปนี้

ก. ขยายนาม คำวิกัติการกขยายนามนี้ คล้ายกับนามที่นำมาใช้เป็นวิเศษณ์ เพราะไม่มีบุพบทนำหน้า ต้องสังเกตเนื้อความเป็นหลักคือคำนามที่ใช้เป็นวิเศษณ์นั้น บอกลักษณะของนามข้างหน้าอย่างเดียวกับคำวิเศษณ์ เช่น ‘คนป่า’ ดังนี้คำ ‘ป่า’ แสดงลักษณะของคำ ‘คน’ว่ามีลักษณะอาการอย่างชาวป่าจึงเป็นคำวิเศษณ์ แต่คำว่า ‘คน แขก’ ดังนี้ คำ ‘แขก’ เป็นชื่อชนิดย่อยของคำคนอีกทีหนึ่ง ถึงจะทิ้งคำ ‘คน’ เสีย พูดแต่คำ ‘แขก’ คำเดียว ก็ได้ความอย่างเดียวกัน จึงเรียกว่าวิกัติการกของคำ ‘คน’ มีต่างๆ กันดังนี้

(ก) เป็นสามานยนามบอกชนิดย่อยของนามข้างหน้า เช่นนก กระจอก ส้ม โอ คน ลาว ธาตุ ทองแดง เป็นต้น
(ข) เป็นสามานยนาม บอกตำแหน่งของนามข้างหน้า เช่น ทหาร ลูกแถว เด็ก นักเรียน พระ สมภาร นายสี อำเภอ ชาย สามี หญิง แม่เรือน เป็นต้น
(ค) เป็นวิสามานยนาม คือเป็นชื่อเฉพาะของนามข้างหน้า เช่น นายสอน นางสี ขุน จำนงภักดี ประตู เทวาพิทักษ์ เป็นต้น
(ฆ) เป็นลักษณนาม สำหรับบอกลักษณะของนามข้างหน้า ว่าจะร้อง เรียกอย่างนั้นอย่างนี้ ดังแสดงไว้ในลักษณะนาม เช่น เรือสาม ลำ พระ รูปนี้ ม้า ตัวที่อาบน้ำ ข้าว ๕ เกวียน ควาย ฝูง นี้ เป็นต้น

ข. ขยายกริยา คือวิกัติการกที่ช่วยวิกตรรถกริยา ให้มีเนื้อความเต็มที่ เช่น เขาเป็น อำเภอ เขาเป็น บ้า เป็นต้น วิกัติการกพวกนี้บางทีก็เป็นลักษณนาม เช่น พระ ก เป็น รูป แรก คนเป็น อัน มาก เป็น ส่วน น้อย เป็นต้น

ข้อสังเกต นามการกต่างๆ ที่มีบุพบทนำหน้า บางทีก็ละคำบุพบทนี้ ใช้แต่นามลอยๆ ข้อนี้ให้สังเกตเนื้อความเป็นหลัก เช่นตัวอย่าง ‘เขา อยู่บ้าน’ คือ ‘เขาอยู่ (ที่) บ้าน’ ‘บ้าน’ เป็นวิเศษณการกบอกสถานที่ ‘ฝูงนก’ คือ ‘ฝูง (ของ) นก’ ‘นก’ เป็นวิเศษณการกบอกหน้าที่เจ้าของ ดังนี้เป็นต้น

คำนามที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเป็นการกต่างๆ นั้น ได้แก่ นามอาลปน์ คือ คำร้องเรียก เช่น ‘นายแดง แก ไปไหน’ ดังนี้เป็นต้น

หน้าที่เกี่ยวข้องของสรรพนาม คำสรรพนามย่อมมีหน้าที่ใช้แทนนาม เพราะฉะนั้นจึงมีหน้าที่เกี่ยวข้องเป็นการกต่างๆ อย่างเดียวกับคำนาม ให้สังเกตเช่นเดียวกัน  แต่มีคำสรรพนามบางพวกที่ใช้ในหน้าที่แปลก ออกไปซึ่งควรจะสังเกต คือ:-

(๑) คำประพันธสรรพนาม มักมีหน้าที่สำคัญอยู่ ๓ อย่าง คือ:-
ก. เป็นวิกัติการกของนามในประโยคใหญ่ที่อยู่ข้างหน้า
ข. ใช้เป็นบทเชื่อมของประโยคทั้งสองนั้นด้วย
ค. ทำหน้าที่เป็นการกต่างๆ ของประโยคเล็กอีกด้วย เช่นตัวอย่าง ‘ม้า ที่ ฉันเลี้ยงตาย’ ดังนี้ “ที่” เป็นวิกัติการกของ “ม้า” และเป็นบทเชื่อมของประโยคใหญ่ ‘ม้า…..ตาย’ กับประโยคเล็ก ‘ที่ฉันเลี้ยง’ และคำ ‘ที่’ ยังทำหน้าที่เป็นกรรมการกของประโยคเล็กนี้ด้วย คือ ‘ที่ฉันเลี้ยง = ม้าฉันเลี้ยง แต่บางทีก็ใช้เพียงเป็นวิกัติการกของนามในประโยคใหญ่ และเป็นเครื่องเกี่ยวกับประโยคเล็กที่อยู่ข้างหลังเท่านั้น มิได้เกี่ยวข้องอย่างไร กับประโยคเล็กก็มี เช่นตัวอย่าง ‘พระรูป ที่ศิษย์ของท่านดื้อต้องลำบาก’ ดังนี้คำ ‘รูป’ เป็นลักษณนามวิกัติการกของ ‘พระ’ และ ‘ที่’ เป็นวิกัติการกของ ‘รูป’ และเป็นบทเชื่อมของประโยค ‘พระรูป….ต้องลำบาก’ กับ ‘ศิษย์ของท่านดื้อ ’ เท่านั้น ดังนี้เป็นต้น

(๒) คำวิภาคสรรพนาม ‘ต่าง’ กับ ‘บ้าง’ มักใช้เป็นวิกัติการกของนามข้างหน้า เช่น ‘คน ต่าง กินข้าว คน บ้าง กินข้าว’ แต่แปลกกับวิกัติการก อื่นๆ ที่เติมคำอื่นลงในระหว่างก็ได้ เช่น ‘คนในบ้านต่างกินข้าว คนในบ้าน บ้างนอน บ้างนั่ง’ ดังนี้เป็นต้น และแสดงให้รู้ว่าคำข้างหน้าเป็นพหูพจน์ด้วย

และวิภาคสรรพนาม ‘กัน กันและกัน’ มีหน้าที่เป็นการกต่างๆ ได้ แต่ ไม่ใช้เป็นบทประธานและวิกัติการก และใช้เป็นพหูพจน์ทั้งนั้น

หน้าที่เกี่ยวข้องของกริยา ได้อธิบายแล้วว่าคำในภาษาไทย ย่อมเปลี่ยนแปลงเป็นชนิดต่างๆ ได้ แล้วแต่การเกี่ยวข้องของมัน คำกริยาย่อมเป็นเช่นนี้โดยมาก จึงต้องอธิบายไว้พอเป็นที่สังเกตในที่นี้ คือ คำกริยาทั้งหลาย ที่จะใช้เกี่ยวข้องกับนามโดยฐานเป็นคำกริยานั้น ต้องเป็นคำแสดงอาการต่างๆ ของนามนั้น เล็งถึงอาการของนามที่แสดงขึ้นหรือปรากฏขึ้น เช่น คน ตี ทอง จีน ตี เหล็ก คน นอน เป็น คน แต่ถ้าคำเหล่านี้ไม่เล็งถึงอาการของนามดังกล่าวแล้ว เป็นแต่บอกลักษณะประจำตัวคนว่า เขาเป็นคนเคยตีทอง ตีเหล็กมา เขาพูดว่า ‘คน ตีทอง ต้องเป็นคนแข็งแรง’ ดังนี้คำ  ‘ตีทอง’ ในที่นี้เป็นแต่บอกลักษณะของคนว่าเป็นคนชนิดนั้น จึงต้องเป็นวิเศษณ์หาใช่กริยาไม่ แต่ถ้า คำ ‘ตีทอง’นั้นเรียกกันจนชินเข้า ไม่ปรากฏลักษณะของนาม เป็นแต่หมายถึงคนหรือสัตว์หรือของชนิดหนึ่งเท่านั้น ดังนี้ก็ต้องนับว่าเป็นคำนาม เช่น นก ตีทอง ถนน ตีทอง เป็นต้น กริยาที่เปลี่ยนแปลงเป็นชนิดอื่นเช่นนี้ ก็ต้อง เข้าในพวกคำชนิดนั้นๆ หาใช่กริยาไม่ ให้สังเกตไว้ เพื่อจะได้เป็นหลักวินิจฉัยต่อไป คำกริยาที่มีกรรตุการกหรือกรรมการก พ่วงอยู่ด้วย ถ้านำมาใช้เป็นคำวิเศษณ์ มักจะรวมกันเป็นคำประสม เช่น คน ตาบอด คน ขาหัก คน เลี้ยงม้า เป็นต้น ต่อไปนี้จะพูดถึงลักษณะเกี่ยวข้องของกริยาต่อไป คือ

(๑) คำกริยาทั้งหลายนอกจากกริยานุเคราะห์ ย่อมเกี่ยวข้องเป็นวาจกต่างๆ ของนามและสรรพนามได้ทั้งนั้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
silapa-0146 - Copy
(๒) เกี่ยวข้องเป็นการก หรือบทขยายของนาม สรรพนาม และกริยา กริยาพวกนี้ได้แก่ กริยาสภาวมาลา ที่ใช้เป็นการกต่างๆ บ้าง เป็นบท ขยายกริยาบ้าง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ก. เป็นกรรตุการก เช่น ‘นอน มาก ไม่ดี’ เป็นต้น
ข. เป็นกรรมการก เช่น ‘ฉันอยากจะพบท่าน’ เป็นต้น
ค. เป็นวิเศษณการก เช่น ‘ศาลาสำหรับ พัก ชั่วคราว, เขามาเพื่อจะดู ละคร’ เป็นต้น
ฆ. เป็นบทขยายกริยา เช่น ‘ตาสีฝัน เห็นช้าง’ เป็นต้น

(๓) ใช้ควบกับนามหรือวิเศษณ์ เพื่อให้มีเนื้อความเต็มที่ กริยาพวกนี้ ได้แก่วิกตรรถกริยา ที่ต้องใช้นามหรือวิเศษณ์ประกอบข้างหลังเพื่อช่วยให้ได้ความเต็ม เช่น
ก. ควบกับนาม ‘เขา เป็น อำเภอ เขา คล้าย โจร’ เป็นต้น
ข. ควบกับวิเศษณ์ ‘เขาเป็นใหญ่ อยู่ได้ เป็นดี’ เป็นต้น

(๔) ใช้ช่วยกริยาด้วยกัน ได้แก่ กริยานุเคราะห์ซึ่งใช้ช่วยกริยาพวกอื่น ให้ได้ความครบตามระเบียบ ดังจะคัดมารวบรวมไว้ พอเป็นตัวอย่างต่อไปนี้

ก. บอกมาลา
นิเทศมาลา ควร น่า พึง ฯลฯ
ปริกัลปมาลา เห็น จะ ชะรอย ดูเหมือน คูที คูท่า ทีจะ ท่าจะ ฯลฯ
ศักดิมาลา คง ต้อง จำต้อง จำเป็นต้อง ฯลฯ
อาณัติมาลา จง ขอจง อย่า ขอจงอย่า จงอย่า โปรด ได้โปรด อย่าเพ่อ อย่าพึ่ง อย่าเพิก ฯลฯ โปรดอย่า เชิญ ขอเชิญ จง-เถิด จง-เทอญ โปรด-เถิด โปรด-เทอญ -เถิด -เทอญ -ซิ -เสีย -นะ ฯลฯ

สภาวมาลา ไม่ต้องมีกริยานุเคราะห์ช่วยโดยมาก เพราะกริยาสภาวมาลา มีหน้าที่คล้ายกับนามหรือวิเศษณ์ จะมีบ้างก็บางกริยา เช่น ‘ต้องอยู่ใต้บังคับ เขานั้นไม่ดี’ เป็นต้น

ข. บอกกาล
ปรัตยุบันกาล กำลัง กำลัง-อยู่ ยัง ยัง-อยู่ ฯลฯ
อดีตกาล ได้ เคย มา (เช่นเขาทำ มา นาน)
อนาคตกาล จะ จัก จะได้ จักได้
อนุตกาล ย่อม มัก ขี้มัก ได้ (ที่ไม่ใช่อดีต) ฯลฯ
กาลสมบูรณ์ -แล้ว -เสร็จ (ควบกับกริยานุเคราะห์บอกกาลสามัญ) เช่น กำล่ง -แล้ว ได้-แล้ว ฯลฯ
กาลซ้อน ใช้กริยานุเคราะห์บอกกาลต่างๆ ข้างบนนี้ซ้อนกัน เช่น กำลัง จะ จะกำลัง ยังจะ-อยู่ ฯลฯ

ค. บอกวาจก
กรรตุวาจก ไม่ต้องมี เพราะกรรตุการกอยู่หน้าข้อความ เป็นเครื่อง
หมาย

กรรมวาจก ถูก ถูกให้ หรือไม่ต้องมีโดยใช้กรรมการกอยู่หน้าข้อความเป็นเครื่องหมาย

การิตวาจก ถูกให้ ถูก-ให้ และการิตการกอยู่หน้าข้อความด้วย

ข้อสังเกต กริยานุเคราะห์ ‘ได้’ ใช้บอกอดีตกาลก็มี ไม่ได้บอกอดีตกาล เป็นแค่ช่วยกริยาให้ได้ความเต็มอย่างเดียวก็มี ซึ่งแปลว่า ‘มีโอกาส’ หรือ ‘มีช่อง’ เช่น ‘พรุ่งนี้จะได้กินขนม’ หรือ ‘ต่อไปเขาคงได้เป็นขุนนาง’ คำ ‘ได้’ ในที่นี้ไม่ได้บอกอดีตกาลเลย หมายความว่า จะมีโอกาสกินขนม และคงมีโอกาสเป็นขุนนางเท่านั้น ต้องสังเกตเนื้อความ

อนึ่งคำ ‘จะ’ กับ ‘จัก’ ใช้ต่างกันอยู่ คือ กำ ‘จะ’ บอกอนาคตใกล้ ปรัตยุบัน ตรงกับความว่า ‘เตรียม’ หรือ ‘เริ่ม’ เช่น ‘พอจะกินข้าวฝนก็ ตก’ ดังนี้หมายความว่า พอจะเริ่มกินข้าว คือเกือบ ‘กำลังกิน’ ซึ่งเป็นเวลาปรัตยุบันอยู่แล้ว และมักจะใช้ประกอบกับกริยาสภาวมาลา เช่น ‘คิดจะไป ตั้งใจ จะ นอน’ เป็นต้น และใช้ประสมกับกริยานุเคราะห์อื่นบอกปริกัลปมาลาด้วย เช่น เห็นจะ ดูเหมือนจะ ฯลฯ แสดงว่าเป็นการคาดคะเน ใช้ในกาลอื่นๆ ก็ได้ ส่วนคำ ‘จัก’ ใช้เป็นอนาคตกาลอย่างเดียว และไม่ใช้ในปริกัลปมาลาเลย

(๕) ใช้รวมกับกริยาพวกเดียวกัน คือเอากริยาหลายๆ กริยามาใช้รวม กัน อย่างเดียวกับที่ใช้นามหลายๆ คำรวมกัน เช่น ‘ตาสีไปนั่งสูบบุหรี่ที่นา’ ดังนี้คำ ‘ไป’ เป็นกริยาหัวหน้า ‘นั่ง’ เป็นกริยารองของกริยา ‘ไป’ และ ‘สูล’ เป็นกริยารองของกริยา ‘นั่ง’ อีกทีหนึ่ง คำกริยา ‘ไปนั่งสูบ’ เรียกว่ากริยารวม ซึ่งใช้ในประโยครวมในวากยสัมพันธ์ข้างหน้า วิธีใช้กริยารวมเช่นนี้ มีมากในภาษาไทย ในวิธีบอกสัมพันธ์ต้องแยกออกเป็นกริยาละประโยค คือ ‘ตาสีไปที่นา ตาสีนั่งที่นา ตาสีสูบบุหรี่ที่นา’ ดังนี้กริยารองเหล่านี้ก็นับว่าเป็นกริยาใหญ่ของประโยค เช่นเดียวกับกริยาหัวหน้าเหมือนกัน

ข้อสังเกต กริยารองเหล่านี้ ต่างกับกริยาสภาวมาลาที่ใช้เป็นกรรมการก หรือบทขยายของกริยาในข้อ ๒ นั้น คือ กริยารองอาจจะแยกออกเป็นประโยคๆ ล้วนเป็นกริยาที่บทประธานคนเดียวกันกระทำ ได้ความเป็นลำดับกันเรียบร้อยอย่างเดิม ส่วนคำกริยาสภาวมาลานั้นเป็นแต่กรรมการกหรือบทขยายของบทกริยาเท่านั้น หาได้เป็นกริยาของบทประธานไม่ เมื่อแยกออกเป็นประโยคๆ จึงไม่ได้ความคงเดิม เช่น ‘ตาสีอยากเห็นช้าง ตาสีบอก ขาย เรือ’ ดังนี้ จะเห็นได้ว่าแยกออกเป็นประโยคละคำ ‘เห็น’ กับ ‘ขาย’ จะไม่ได้ความคงเดิม คือ ตาสีไม่ได้แสดงกริยา เห็นช้าง และขายเรือจริงๆ จึงไม่นับว่าเป็นกริยารอง คือ ‘เห็น’ เป็นกรรมของบทกริยา ‘อยาก’ และ ‘ขาย’ เป็นบทขยาย กริยา ‘บอก’ เท่านั้น ให้สังเกตตามนัยนี้

หน้าที่เกี่ยวข้องของคำวิเศษณ์ คำวิเศษณ์ย่อมมีหน้าที่เกี่ยวข้องเป็นบทขยายของนาม สรรพนาม กริยา และคำวิเศษณ์ด้วยกันดังกล่าวแล้ว แต่การเรียงลำดับย่อมใช้ประกอบข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง มีระเบียบนิยมดังนี้

(๑) จำพวกประกอบนามและสรรพนาม มีดังนี้:-
ก. พวกประกอบข้างหน้า ได้แก่
ประมาณวิเศษณ์บางพวก เช่น บรรดา ทุก ต่าง บาง ละ (แปลว่า เฉพาะหนึ่งๆ เช่น ละสิ่ง ละคน) ฯลฯ

ประมาณวิเศษณ์ บอกจำนวนนับ คือ สังขยา นอกจากคำว่า ‘หนึ่ง เดียว’ เช่น สอง สิบ ร้อย พัน ฯลฯ

อนิยมวิเศษณ์ ปฤจฉาวิเศษณ์ บางคำ เช่น กี่ ตัวอย่าง กี่คน กี่ พวก ฯลฯ

หมายเหตุ คำประมาณวิเศษณ์ บอกจำนวนนับ ที่เรียกว่า ‘สังขยา’ เหล่านี้ มักใช้รวมกับ ลักษณนาม เป็น วิเศษณวลี เช่น ‘๒ รูป ๕ ตัว’ ฯลฯ หรือที่เรียกว่า นามวลี เช่น ‘รูป ๑ ตัวหนึ่ง ตัวเดียว’ ฯลฯ แล้วใช้ประกอบบทข้างหน้าอีกทีหนึ่ง เช่นความว่า ‘พระ ๒ รูป ม้าตัวเดียว’ เป็นต้น

ข้อสังเกต คำ ‘หนึ่ง’ ประกอบข้างหน้าก็มี แต่ไม่ใคร่นิยมใช้ มักใช้ใน การทำบัญชีเพี่อให้ตัวเลขตรงกัน แต่คำ ‘เดียว’ ต้องใช้ประกอบข้างหลัง

ข. ที่ประกอบได้ทั้งข้างหน้าข้างหลัง ได้แก่ประมาณวิเศษณ์ที่เป็นคำมูลโดยมาก เช่น มาก น้อย ผอง ปวง ฯลฯ ตัวอย่าง มาก คน คน มาก น้อยคน คนน้อย ผอง ชน ชน ผอง เป็นต้น

ค. พวกที่ประกอบข้างหลัง ได้แก่ คำวิเศษณ์อื่นๆ นอกจากที่กล่าวข้าง บนนี้ ถึงแม้คำวิเศษณ์ข้างบนนี้ ถ้าใช้รวมกับคำอื่น เป็นคำประสมแล้ว ก็ต้องใช้ประกอบข้างหลังเหมือนกัน เช่น ทั้งปวง ทั้งผอง ทั้งห้า ที่สาม ครบหก ทีแรก กี่มากน้อย เหล่านี้เป็นต้น

(๒) คำวิเศษณ์ที่ประกอบกริยาและวิเศษณ์ด้วยกัน คำพวกนี้ก็มักใช้ประกอบข้างหลังเป็นพื้น ที่ใช้ประกอบแปลกไปจากนี้ก็มีบ้าง ดังนี้
ก. พวกประกอบข้างหน้า คือ
ประมาณวิเศษณ์บางคำ เช่น จน จวน เกือบ แทบ พอ สัก เป็นต้น
ประติเษธวิเศษณ์ เช่น บ บ่ ไม่ มิ ฤ ฤๅ (เช่น ฤบังควร ฤๅเห็นสม) เป็นต้น

ข. พวกประกอบต่างๆ พวกนี้มักใช้ประกอบได้ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
ได้แก่

กาลวิเศษณ์ที่เป็นคำประสม เช่น บัดนั้น บัดนี้ เมื่อนั้น เมื่อนี้ เดี๋ยวนี้ ทันใดนั้น เป็นต้น

ปฤจฉาวิเศษณ์ เช่น ทำไม? เหตุไร? ไฉน? เป็นต้น

ประติเษธวิเศษณ์บางคำ เช่น มิได้ ฯลฯ ที่ใช้คร่อมกันก็มี เช่น หา- ไม่ ไม่-มิได้ ไม่-หามิได้ ตัวอย่าง หา ทำ ไม่ ไม่ ทำ มิได้ เป็นต้น

ประติชญาวิเศษณ์ เช่น จ้ะ เจ้าขา ขอรับ พระเจ้าข้า เป็นต้น

หน้าที่เกี่ยวข้องของคำบุพบท คำบุพบทมีหน้าที่เกี่ยวข้อง สำหรับนำหน้าคำบางพวก ดังกล่าวมาแล้ว แต่ยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคำข้าง หน้าอีก เพราะบุพบทเป็นเหมือนสันธาน ซึ่งต้องเชื่อมคำข้างหน้ากับข้างหลัง ให้ติดต่อกัน ซึ่งเป็นข้อที่ควรสังเกต ดังคำประพันธ์ท่านกล่าวไว้ว่า “อยู่ใน และให้ แก่ กระแสนี้สัมพันธ์ถึง” ดังนี้ เพราะฉะนั้นในที่นี้จะนำมากล่าวแต่ข้อที่ควรสังเกต ดังต่อไปนี้

(๑) บุพบทที่ไม่เชื่อมกับบทอื่น ได้แก่บุพบทสำหรับใช้นำหน้า คำ อาลปน์ ไม่ได้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับคำอื่น จึงไม่ต้องกล่าว

(๒) บุพบทที่เชื่อมกับบทอื่นย่อมมีเป็นพื้นในภาษาไทย แต่จะนำมา อธิบายเฉพาะคำที่ควรสังเกต ดังต่อไปนี้

ก. คำ ‘ซึ่ง’ ใช้นำหน้ากรรมการก ในสำนวนโบราณซึ่งติดมาจากภาษา บาลี เช่น พระแสดงซึ่งธรรม ฯลฯ จึงใช้เกี่ยวข้องกับสกรรมกริยาอย่างเดียว แต่ตามปรกติบทกรรมการกไม่ใช้บุพบทใดๆ นำหน้าเลย

ข. คำ ‘ถึง’ ใช้นำหน้าวิเศษณการกบอกสถานที่สุดท้ายคล้ายกับบุพบท ‘สู่ ยัง กระทั่ง’ เช่น ‘เขาไป ถึง บ้าน เขาไป สู่ บ้าน เขาไป ยัง บ้าน เขาไป กระทั่ง บ้าน’ เป็นต้น และใช้นำหน้าวิเศษณ์บอกลักษณะเป็นผู้รับกริยาคล้ายกรรมการก เช่น ‘ท่านเขียนหนงสือ ถึง ฉัน’ ด้วยเหตุที่คำ ‘ฉัน’ ทำหน้าที่คล้ายกรรมการกได้ จึงนำมาเป็นประธานในประโยคกรรมได้ เช่น ‘ฉันถูกท่านเขียนหนังสือถึง’ เมื่อเป็นเช่นนี้ให้ถือว่า ‘ฉัน’ ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรมการก และกริยา ‘ถูก-เขียน’ ให้ถือว่าเป็น ‘กรรมวาจก’ และคำ ‘ถึง’ ในที่นี้ต้องเป็น ลักษณวิเศษณ์’ เพราะคำบุพบท ถ้าไม่มีนามมาเชื่อมต้องนับว่าเป็นวิเศษณ์ ตัวอย่างอื่นๆ เช่น ‘ฉันคิดถึงท่าน’ และ ‘ท่านถูกฉันคิดถึง’ เป็นต้น ก็ถือตามนัยนี้ แต่ ‘ถึง’ ที่ใช้เป็นกริยานั้น บนอีกอย่างหนึ่งไม่เกี่ยวด้วยข้อนี้

ค. คำ ‘ยัง’ นอกจากเป็นบุพบท เช่นเดียวกับ ‘ถึง’ ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นบุพบทนำหน้าการิตการกอย่างประโยคบาลีอีก เช่น ‘ครูยังศิษย์ให้อ่าน หนังสือ’ ดังนั้น คำ ‘ยัง’ ที่นี้จึงเป็นบุพบทนำหน้าการิตการกบอกลักษณะเป็นบทรับใช้ ส่วนคำ ‘ยัง’ เป็นกริยาแปลว่า ‘มิ’ ว่า ‘ไม่แล้ว’ ไม่เกี่ยวด้วย ข้อนี้

ฆ. คำ ‘กับ’ โดยมากใช้ทำหน้าที่วิเศษณการกบอกลักษณะแสดงอาการ ตามบทหน้า ทั้งที่เป็นนามและเป็นกริยา เช่น ‘พ่อกับลูกไปด้วยกัน พ่อไปกับลูกด้วยกัน หรือ พ่อไปด้วยกันกับลูก’ คำ ‘กับ’ ทั้งหมดนี้ทำหน้าที่ เป็นบุพบทแปลว่า ‘พร้อมด้วย’ หรือ ‘ด้วย’ คล้ายกับ ‘with’ ของอังกฤษ แต่บางทีก็ใช้เป็นสันธานปนกับคำ ‘และ’ เช่นตัวอย่าง ‘นายมีเฝ้าบ้าน กับ ดูแลเด็ก’ ดังนี้เป็นต้น ซึ่งที่ถูกควรใช้ ‘และ’ ดีกว่า ส่วน ‘กับ’ ที่เป็นนาม เช่น กับดักหนู หรือ ‘กับ’ ที่เป็นอาหารไม่เกี่ยวในข้อนี้

ง. คำ ‘แก่ แด่ เพื่อ ต่อ เผื่อ สำหรับ’ ใช้นำหน้าวิเศษณการกบอก ลักษณะเป็นผู้รับทั้งสิ้น แต่วิธีใช้ต่างกัน คือ ‘แก่’ ใช้ในความว่ารับในเวลาให้ มักใช้ต่อกับคำ ‘ให้’ เช่น ‘ฉันเก็บเงินให้แก่บุตร’ ซึ่งหมายถึงเก็บมาได้ก็ให้ บุตร และบุตรได้รับทันที และคำ ‘แด่’ ใช้เหมือนคำ ‘แก่’ แต่ใช้นำหน้า ผู้มีบรรดาศักดิ์สูง เช่น พระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้าใหญ่นายโตชั้นสูง ตัวอย่าง ‘ของนี้ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว’ เป็นต้น คำ ‘เพื่อ’ ใช้ในความว่าต้องการให้รับภายหน้า เช่น ‘ฉันเก็บเงินไว้ เพื่อ บุตร’ ซึ่งหมายความว่าเก็บเงินมาได้ก็ยังไม่ให้ แต่จะให้ในภายหน้า คำ ‘ต่อ’ ใช้ในความว่า รับต่อหน้าธารกำนัลโดยผู้รับเป็นเจ้าหน้าที่ เช่น ‘ยื่นเรื่องราว ต่อ นายอำเภอ ร้องเรียน ต่อ ผู้ใหญ่ เสนอต่อ ที่ประชุม’ เป็นต้น คำ ‘เผื่อ’ ใช้คล้ายกับคำ ‘เพื่อ’ แต่ผู้รับไม่ได้รับเต็มที่เช่น ‘เขาเก็บเงินไว้เผื่อลูก’ คือลูกได้รับบางส่วนเป็นต้น คำ ‘สำหรับ’ ใช้คล้ายกับคำ ‘เพื่อ’ มาก แต่ ‘สำหรับ’ ผู้ให้ตั้งใจให้ไว้เป็นเครื่องใช้หรือประจำตัวของผู้รับด้วย เช่น ‘เขาเลี้ยงม้าไว้ สำหรับ ลูก’ ซึ่งหมายความว่าม้านั้นเหมาะที่จะเป็นพาหนะประจำตัวของลูกด้วย และ ความอื่นๆ ก็เป็นทำนองนี้ เช่น ‘เขาเลี้ยงนกไว้เพื่อชม’ ‘เลี้ยงนกไว้สำหรับชม’ฯลฯ ก็ต่างกันทำนองนี้ ทั้งนี้กล่าวไว้พอเป็นหลักผู้ศึกษาต้องเทียบเคียงเอาเอง

หมายเหตุ จริงอยู่ คำบุพบท ‘แก่’ นี้ย่อมนำหน้าวิเศษณการกบอก ลักษณะเป็นผู้รับทั้งนั้น แต่เชื่อมกับกริยาข้างหน้าแปลกๆ ตามนิยมของภาษาดังนี้

(ก) กริยาที่มีความว่า ‘ให้ บอก’ เช่น ‘เขาให้เงิน แก่ ฉัน บิดามอบหน้าที่ แก่ บุตร กษัตริย์เว้นราชสมบัติ แก่ พระโอรส เขาบอก แก่ ฉัน’ หรือบางทีก็ใช้กริยาเหล่านี้รวมกับกริยา ‘ให้’ ว่า ‘มอบเงินให้แก่ สละสิทธิ์ให้แก่’ ดังนี้เป็นต้น

(ข) กริยาที่มีความว่า ‘เกิด ปรากฏ มี อยู่ เจริญ เป็น’ เช่น ‘โรค เกิดแก่เขา ผลร้าย ปรากฏ แก่เขา ความดีจง มี แก่สาธุชน บาป อยู่ แก่คนทำ ลาภย่อม เจริญ แก่เขา ทำเช่นนี้ เป็น โทษแก่ตัว ’ เป็นต้น

(ค) กริยาที่มีความว่า ‘ถึง ลุ สำเร็จได้ อาศัย ตรัส ตรัสรู้ เห็น’ เช่น ‘พระภิกษุถึงแก่มรณภาพ เขาลุแก่ตัณหา ขันตีได้แก่ความอดทน พระพุทธองค์ อาศัยแก่วิหารเชตุวัน (โบราณ) พระพุทธองค์ ตรัส แก่พระโพธิญาณ หรือ ตรัสรู้ แก่พระโพธิญาณ เขา เห็น แก่หน้า’ เป็นต้น

(ฆ) กริยาที่มีความว่า ‘ทำโทษ ปรับไหม ทวงสิทธิ์’ เช่น ‘ครู ทำโทษ แก่ศิษย์ ศาลปรับไหม แก่ จำเลย เขาเรียกค่าเสียหาย แก่ ฉัน ท่านเรียกค่าเช่าเอา แก่ ฉัน’ เป็นต้น

(ง) กริยาที่มีความว่า ‘เหมาะ สม ควร’ เช่น ‘ทำเช่นนี้ เหมาะ แก่เขาแล้ว ทำเช่นนี้สมแก่เขาแล้ว พูดเท่านี้ ควร แก่ เวลาแล้ว’ ดังนี้เป็นต้น

ข้อสังเกต คำ ‘แก่’ คำ ‘กับ’ มักใช้ปนกัน ควรสังเกตตามหลักต่อไปนี้

บทที่มีคำ ‘แก่’ นำหน้า ย่อมทำหน้าที่เป็นผู้รับ ส่วนบทที่มีคำ ‘กับ’ นำหน้า ย่อมทำหน้าที่เป็นเครื่องใช้ หรือเป็นผู้ร่วมกัน จงสังเกตตัวอย่าง ต่อไปนี้

(ก) ‘เรื่องนี้เกี่ยวแก่รัฐบาล’ หมายความว่ารัฐบาลต้องรับผิดชอบ จัดการในฐานเป็นผู้ปกครอง ฯลฯ แต่ไม่ได้ร่วมมือทำด้วยเลย ‘เรื่องนี้เกี่ยว กับรัฐบาล’ หมายความว่ารัฐบาลร่วมมือด้วย

(ข) ‘ลักษณะนี้ได้แก่ ก’ หมายถึง ก ควรเป็นผู้รับลักษณะนี้ แต่ ‘ลักษณะนี้ได้แก่ ก หมายถึงลักษณะนี้ไปร่วมกับ ก เข้า ซึ่ง ก มีอยู่แล้ว หรืออีกอย่างหนึ่ง ‘ลักษณะนี้เหมาะแก่ ก’ ก็หมายถึง ก ควรได้รับลักษณะนี้ ส่วน ‘ลักษณะนี้ เหมาะกับ ก’ ก็หมายถึงลักษณะนี้ร่วมกับ ก หรืออย่างเดียวกับที่ ก มีอยู่แล้ว ดังนี้เป็นต้น

(ค) บทกรรมการกบางบทโบราณใช้ ‘แก่’ นำหน้าต้องบอกสัมพันธ์เป็นวิเศษณการกทำหน้าที่เป็นผู้รับ เช่น ‘อาศัยแก่- ถึงแก่- ตรัสแก่- เป็นต้นเพราะบทนี้มีความหมายเป็นผู้รับอยู่ด้วย กล่าวคือ ‘คนอาศัยแก่วิหาร’ เพราะวิหารเป็นที่รับคนซึ่งเข้าไปอาศัย ‘สัตว์ ถึงแก่ ความตาย’ เพราะความตายรับสัตว์ผู้ถึงไว้ ‘ พระองค์ ตรัสแก่  พระโพธิญาณ’ เพราะพระโพธิญาณรับพระองค์ไว้ให้อยู่ในภูมิโพธิญาณ ดังนี้เป็นต้น แต่เมื่อใช้‘ซึ่ง’ นำหน้า หรือ ใช้เฉยๆ ว่า ‘เขาอาศัยซึ่งกันและกัน’ หรือ ‘เขาอาศัยกันและกัน’ เป็นต้น จึงบอกสัมพันธ์ว่าเป็นกรรมการก ตามแบบ

(ฆ) บางทีคำ ‘แก่’ หรือ ‘กับ’ รวมอยู่กับกริยา มีความหมายไปอีกทางหนึ่ง เช่น คำ ‘ได้แก่’ หรือ ‘เท่ากับ’ ซึ่งแปลว่า ‘คือ’ ว่า ‘เป็น’ ด้วยกัน ทั้งคู่ เช่นนี้คำประสม ‘ได้แก่’ ‘เท่ากับ’ ต้องบอกสัมพันธ์เป็นวิกตรรถกริยา อย่างเดียวกับคำ ‘คือ’ หรือคำ ‘เป็น’ ดังนี้เป็นต้น ให้ผู้ศึกษาสังเกตหลักข้างบนนี้เป็นข้อวินิจฉัยในบทอื่นๆ ต่อไป

(จ) คำ ‘แต่’ กับคำ ‘จาก’ นี้เป็นบุพบทนำหน้าวิเศษณการกซึ่งบอก สถานที่เป็นแหล่งเดิม เป็นเค้าเดิมเหมือนกัน แต่เชื่อมกับบทหน้ามีความหมายต่างกัน คือ คำ ‘แต่’ ใช้ร่วมกันโดยร่วมกับบทหน้าที่มีความ เคลื่อนที่มาปรากฏทางมา เป็นผลมา โดยยังไม่ขาดกัน ตัวอย่าง ‘น้ำไหลมาแต่เขานั้น- มาจากเขานั้น ทางรถไฟนี้มา แต่ กรุงเก่า-มาจากกรุงเก่า โรคเกิด แต่ น้ำเค็ม- จากน้ำเค็ม เป็นต้น แต่คำ ‘จาก ย่อมใช้เชื่อมต่างออกไปอีก ซึ่งใช้ ‘แก่’ เชื่อมไม่ได้คือเชื่อมบทที่มีความว่า ห่างไกลออกไปพ้นกัน หรือพรากออกไปพ้นกัน เช่น ‘เขาไปจากศัตรู เขาอยู่ห่างจากศัตรู เขาพ้นจากศัตรู เขาถูกพรากจากเมีย เขารอดจากอันตราย’ ดังนี้เป็นต้น

หมายเหตุ คำ “แต่” โบราณใช้เชื่อมกับบทหน้า ที่มีความว่า ‘ กลัว ’ ตามแบบบาลี และบทหน้านั้นจะเป็นนามหรือกริยาก็ได้ ตัวอย่าง ‘ภัย แต่ โจร ความกลัวแต่โจรผู้ร้าย เขากลัวแต่อุทกภัย’ เป็นต้น ให้สังเกตไว้ด้วย เพราะ โบราณใช้มาก และคำ ‘แต่’ ยังคล้ายกับคำ ‘เฉพาะ’ ได้อีก ดูต่อไปนี้ในข้อ (ช)

(ฉ) คำ ‘ที่ ใน บน เหนือ’ เหล่านี้เป็นบุพบทนำหน้าวิเศษณการกบอก สถานที่ด้วยกันทั้งนั้นก็จริง แต่มีวิธีใช้ต่างกันอยู่ ควรสังเกตดังนี้
‘ที่’ บอกบริเวณสถานที่ซึ่งไม่จำกัดแน่นอน เช่น ของอยู่ที่หีบ หมาย ความว่าอยู่ที่บริเวณหีบ จะอยู่บนหีบ ใต้หีบ ริมหีบ หรือในหีบก็ได้ หมายความว่า คำ ‘ที่’ จะใช้แทนคำ บน ใต้ ริม หรือ ใน ก็ได้

‘ใน’ บอกภายในบริเวณอีกชั้นหนึ่ง เช่น ‘ในหีบ ในห้อง ในบ้าน ในเมือง ฯลฯ’ และมักใช้เชื่อมกับอกรรมกริยาที่เกี่ยวกับจิตใจ เช่น ‘เขากำหนัด ในกามคุณ เขาเพลิดเพลินในดนตรี เขาแค้นใจในคำพูดท่าน’ ดังนี้เป็นต้น

ถึงสกรรมกริยาที่เกี่ยวกับจิตใจทำนองนี้ เช่น ‘ เขารักเมีย เขาหลงเมีย เขาเชื่อเมีย เขาโกรธเมีย’ ฯลฯ ถ้าแปลงกริยาเหล่านี้มาเป็นอาการนาม แล้วบทกรรมข้างท้ายกริยานั้นๆ (เช่น ‘เมีย’) ก็มักกลายเป็นวิเศษณการกบอกสถานที่ไป ใช้ ‘ใน’ นำหน้า เช่น ความรักในเมีย ความหลงในเมีย ความ เชื่อในเมีย ความโกรธในเมีย เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องมาจากแบบบาลี ถ้าจะใช้เป็นบทกรรมคงที่อยู่ เช่น ‘ความรักเมีย’ ฯลฯ ก็ได้ แต่ต้องนับเป็นนามวลีกลุ่มเดียวกัน

‘บน’ ‘เหนือ’ สองคำนี้ใช้ร่วมกันได้ก็มี เช่น ‘นั่ง บน เตียง นั่ง เหนือ เตียง เทินไว้ บน หัว เทินไว้ เหนือ หัว’ แต่ ‘บน’ ยังมีใช้ต่างออกไปอีก คือใช้ แทน ‘ใน’ สำหรับของที่อยู่สูง เช่น ‘เขาอยู่บนเรือน’ ซึ่งหมายความว่าเขาอยู่ ในเรือนนั้น แต่ผู้พูดอยู่ข้างล่างซึ่งต่ำกว่า ตัวอย่างอื่นๆ เช่น ‘ของอยู่บน ศาล พระภูมิ เทวดาอยู่ บน สวรรค์’ ฯลฯ ก็ทำนองเดียวกัน ซึ่งจะใช้คำ ‘เหนือ’ ว่าเขาอยู่เหนือเรือน ของอยู่เหนือศาลพระภูมิฯลฯ ไม่ได้

ข้อสังเกต มีผู้ใช้ตามสำนวนอังกฤษว่า เขียนบนกระดาษ ฯลฯ เช่นนี้
ไม่ถูกแบบภาษาไทย ต้องใช้ ‘เขียนที่กระดาษ’ ฯลฯ หรือใช้ ‘เขียนกับ กระดาษ’ ในความอีกทางหนึ่ง เช่นพู่กันจีน (ปิ้ก) ต้อง ‘เขียนกับกระดาษฟาง’ เป็นต้น ขอให้สังเกตไว้ว่าคำบุพบท จะใช้ตามภาษาอื่นไม่ได้ทั่วไป

(ช) คำ ‘เฉพาะ’ และ ‘แต่’ ซึ่งเป็นนิยมวิเศษณ์ดังกล่าวมาแล้วนั้น ย่อมทำหน้าที่เป็นบุพบทได้อีก เช่น ‘เขาให้เงิน เฉพาะ แก่ลูก เขาเห็น แต่ แก่
ลูกเท่านั้น ดังนี้คำ ‘เฉพาะ’ และ ‘แต่’ เป็นวิเศษณ์ดังกล่าวแล้ว แต่ถ้าละบุพบท ‘แก่’ เสีย เอากำ ‘เฉพาะ’ และ ‘แต่’ เป็นบุพบทแทน คำ ‘เฉพาะ’ และ ‘แต่’ ก็เป็นบุพบทนำหน้าวิเศษณการกบอกลักษณะเป็นผู้รับแทนคำ “แก่” ได้ ให้สังเกตทั่วไปในตัวอย่าง เช่น ‘เขานั่งแต่เก้าอี้นวม เขาชอบแต่เก่าอี้นวม คำ ‘แต่’ ย่อมเป็นบุพบทนำหน้าวิเศษณการกบอกสถานที่ และนำหน้ากรรมการกตามลำดับ ดังนี้เป็นต้น

หน้าที่เกี่ยวข้องของสันธานและอุทาน
(๑) คำสันธานย่อมมีหน้าที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องเกี่ยวข้องคำ ประโยค และเนื้อความ ไม่มีข้อพิเศษที่จะอธิบายในที่นี้

(๒) คำอุทานพวกต้น คือพวกอุทานบอกอาการนั้น มิได้เกี่ยวข้องกับคำใดๆ หมด แต่อุทานเสริมบทนั้น ย่อมมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคำอื่นอยู่บ้างคือ

อุทานเสริมบท ก็มีหน้าที่เป็นบทขยายของคำเดิมที่กล่าวเลยออกมา ซึ่ง
อยู่ข้างหน้าหรือข้างหลัง และไม่เฉพาะต้องเกี่ยวข้องกับคำต่อคำ บางทีก็หลายคำ บางทีก็ทั้งประโยค เช่น:-

เฉพาะคำ เช่น กง การ รั้ว งาน แขน แมน ลูก เต้า เป็ต้น
หลายคำ เช่น ไม่ดิบ ไม่ดี ไม่รู้ ไม่ชี้ เป็นต้น
ทั้งประโยค เช่น ฉันไม่เข้าอกฉันไม่เข้าใจ ฉันไม่เห็นฉันไม่พบ เป็นต้น

ข้อสังเกต คำอุทานเสริมบทของคำหลายคำก็ดี หรือของประโยคก็ดี ไม่ ต้องกระจายออกเป็นคำๆ บอกรวมว่าเป็นอุทานเสริมบทของคำนั้น หรือประโยคนั้นก็พอ เช่นบอกว่า ‘ฉันไม่เข้าอก’ เป็นอุทานเสริมบทของประโยค ว่า ‘ฉันไม่เข้าใจ’ ดังนี้เป็นต้น

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

วิธีใช้กริยาและวิเศษณ์

วิธีใช้กริยา
คำกริยาทั้งหลายย่อมใช้ต่างกันตามระเบียบทั้ง ๕ คือ มาลา ๑ กาล ๑ วาจก ๑ การก ๑ (เฉพาะกริยาสภาวมาลา) และราชาศัพท์ และคำกล่าวเหล่านี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปอย่างภาษาอื่นๆ เลย มักใช้คำกริยานุเคราะห์ประกอบบ้าง ใช้คำวิเศษณ์ประกอบบ้าง , ใช้เรียงลำดับคำบ้าง และใช้เนื้อความของคำบ่งบ้างตามวิธีเปลี่ยนแปลง ๔ ข้อ ข้างต้นนี้ ดังจะอธิบายต่อไปนี้:-

มาลา  กริยาที่ใช้ตามมาลานั้น โดยมากมักมีกริยานุเคราะห์ ประกอบข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง หรือมิฉะนั้นก็ใช้เนื้อความของคำบ่ง ดังนี้:-

(๑) นิเทศมาลา ใช้ในความบอกความหมายจัดเป็น ๒ อย่าง คือ:-
ก. บอกความเพื่อให้ทราบอย่างหนึ่ง และบอกความหมายเพื่อขอทราบ ได้แก่ ซักถามอย่างหนึ่ง เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง เขาไม่อยู่ เขาไปไหน? เขาสบายหรือ? เป็นต้น พวกนี้ไม่ต้องมีคำใดๆ ประกอบ

ข. บอกความหมายเพื่อแสดงความเห็นหรือความประสงค์ของตน พวก นี้มักใช้กริยานุเคราะห์ที่ช่วยให้ความบริบูรณ์ประกอบ เช่น ‘ควร น่า พึง’ เป็นต้น ตัวอย่าง เขา ควรไป เขา น่าชม เขา พึงไป เป็นต้น

(๒) ปริกัลปมาลา ใช้ในความ ๒ อย่าง คือ
ก. บอกความคาดคะเนใช้กริยานุเคราะห์ เช่น ‘ชะรอย’ เป็นต้น ประกอบข้างหน้า เช่นตัวอย่าง ชะรอย เขา จะมา เป็นต้น บางทีก็ใช้เนื้อความของคำวิเศษณ์บางคำ เช่น ‘กระมัง บางที’ ฯลฯ บ่ง ตัวอย่าง ‘เขาอยู่ กระมัง บางที เขาอยู่’ ดังนี้คำกริยา ‘อยู่’ นับว่าเป็นปริกัลปมาลา เพราะความหมายของคำ ‘กระมัง’ และ ‘บางที’ บ่งให้เป็นความคาดคะเน

ข. บอกความแบ่งรับแบ่งสู้ พวกนี้ใช้ความหมายของคำที่มีความหมาย แบ่งความรับรอง คือสันธาน เช่น ถ้า และ ถ้า ก็ ฯลฯ บ่ง ตัวอย่าง ‘ถ้า และ ฝนตกเขาจะอยู่บ้าน’ ดังนี้คำ ‘ตก’ เป็นปริกัลปมาลา เพราะเนื้อความของคำ ‘ถ้าและ’ บ่งความแบ่งโอกาสที่เขารับว่าจะอยู่เฉพาะแต่ฝนตกเท่านั้น ดังนี้เป็นต้น

(๓) ศักดิมาลา ใช้กริยานุเคราะห์ เช่น คง ต้อง ฯลฯ ประกอบตัวอย่าง เขา คงนอน เขา ต้องนอน เป็นต้นอย่างหนึ่ง ใช้ความหมายของนิยมวิเศษณ์บ่ง ตัวอย่าง เขานอน แน่นอน เขานอน มั่นคง ดังนี้เป็นต้น อย่างหนึ่ง

(๔) อาณัติมาลา ใช้กริยานุเคราะห์ เช่น จง ขอจง อย่า อย่าเพ่อ ฯลฯนำหน้า ตัวอย่าง ‘จงมา ขอจง เจริญ อย่าไป’ เป็นต้น อย่างหนึ่ง ใช้กริยานุเคราะห์ เช่น ‘ซิ เสีย เถิด’ ฯลฯ ประกอบข้างท้าย ตัวอย่าง ‘นอนซิ นอน เสีย นอน เถิด ’ เป็นต้นอย่างหนึ่ง

(๕) สภาวมาลา กริยาที่ใช้เป็นสภาวมาลา ไม่ใช้เป็นกริยาของประโยค อย่างมาลาอื่นๆ เป็นแต่ส่วนของประโยค มักใช้ลอยๆ เช่น ‘นอนนานๆ ไม่ดี เขาไม่ชอบ ทำงาน คนเดียว’ ดังนี้บ้าง ใช้ตามหลังบุพบท ‘เพื่อ สำหรับ’ เช่น ‘เขามาเพื่อ ทำงาน เขาเลี้ยงนกสำหรับ ดูเล่น’ เป็นต้น ดังนี้บ้าง

กาล กริยาที่ใช้ในกาลต่างๆ นั้น ใช้กริยานุเคราะห์ประกอบบ้าง ใช้เนื้อความของคำอื่นมีคำวิเศษณ์เป็นต้น บ่งบ้าง ดังต่อไปนี้

(๑) กาลสามัญ คือ
ก. ปรัตยุบันกาล ใช้กริยานุเคราะห์ เช่น ‘กำลัง กำลัง-อยู่ ยัง ยัง-อยู่’ ฯลฯ ประกอบตัวอย่าง เขา กำลังนอน เขา กำลังนอนอยู่ เขา ยัง ไม่ นอน เขา ยังนอนอยู่’ เป็นต้น ใช้เนื้อความของคำอื่นบ่ง ตัวอย่าง ‘เดี๋ยวนี้ เขา นอน เป็นต้น

ข. อดีตกาล ใช้กริยานุเคราะห์ เช่น ‘ได้เคย’ ประกอบ เช่น ‘เขา ได้มา ที่นี่ เขา เคยมา ที่นี่’ เป็นต้น ใช้เนื้อความของคำอื่นบ่ง เช่น ‘วานนี้ เขา มา ที่นี่ ’ เป็นต้น

ค. อนาคตกาล ใช้กริยานุเคราะห์ เช่น ‘จะ จัก’ ประกอบข้างหน้า ‘เขาจะกิน เขา จักสบาย’ เป็นต้น ใช้เนื้อความของคำอื่นบ่ง เช่น ‘เขา มาพรุ่งนี้’ เป็นต้น

ฆ. อนุตกาล ใช้กริยานุเคราะห์ เช่น ‘ย่อม’ ประกอบ เช่น “คนดี ย่อมประพฤติ ดี” เป็นต้น ก็ดี หรือไม่ต้องใช้กริยานุเคราะห์ที่บอกกาลเลยก็ดี หรือไม่มีเนื้อความบ่งให้รู้ว่าเป็นกาลใดแน่นอน ก็ดี เช่น ‘เขานอนเสมอ เขา ทำงาน’ ดังนี้เป็นต้น นับเข้าในพวกอนุตกาลทั้งสิ้น

(๒) กาลสมบูรณ์  ใช้กริยานุเคราะห์ เช่น ‘แล้ว เสร็จ’ ประกอบกาลสามัญอีกทีหนึ่ง ตัวอย่าง

ก. ปรัตยุบันกาลสมบูรณ์ เช่น เขา นอนอยู่แล้ว ฯลฯ
ข. อดีตกาลสมบูรณ์ เช่น เขา ได้นอนแล้ว ฯลฯ
ค. อนาคตกาลสมบูรณ์ เช่น เขา จะทำแล้ว ฯลฯ
ฆ. อนุตกาลสมบูรณ์ เช่น เขา นอนแล้ว ฯลฯ

(๓) กาลซ้อน ใช้วิธีประกอบกริยาอย่างกาลสามัญ หรือ กาลสมบูรณ์นั้นเอง แต่ใช้ซ้อนกันหลายกาล เช่น ‘ วาน นี้ฉันกินข้าว ’ เป็นอดีตกาลอยู่แล้ว’ ถ้าหาคำประกอบบอกกาลใดๆ ซ้ำลงไปอีก เช่น ‘วานนี้ฉัน กำลังกิน ข้าว’ ดังนี้นับว่าเป็นกาลซ้อน เรียกว่า ‘ปรัตยุบันกาลในอดีต’ เพราะเอากาลปรัตยุบัน ไปใช้ในกาลอดีต ดังนี้เป็นต้น กาลซ้อนนี้ยังมีชื่อต่างๆ กันอีกมาก ตามกาลที่ใช้ซ้อนกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นต้น

ก. ‘เขา ได้กิน ข้าว อยู่’ เป็นปรัตยุบันกาลในอดีต
ข. ‘วานนี้ ฉัน กำลังกิน ข้าว แล้ว’ เป็นปรัตยุบันกาลสมบูรณ์ในอดีต
ค. ‘เขา จักกำลังเกี่ยว ข้าวกัน’ เป็นปรัตยุบันในอนาคต
ฆ. ‘เดือนหน้า เขา กำลังเกี่ยว ข้าว แล้ว’ เป็นปรัตยุบันกาลสมบูรณ์
ในอนาคต
ง. ‘เดี๋ยวนี้ เขา ได้ทำ งาน’ เป็นอดีตกาลในปรัตยุบัน
จ. ‘เดี๋ยวนี้ เขา ได้ทำ งาน แล้ว’ เป็นอดีตกาลสมบูรณ์ในปรัตยุบัน

วาจก กริยาที่ใช้ในวาจกนั้น ใช้สังเกตคำที่เป็นประธาน คือคำที่เรียงไว้หน้ากริยานั้นๆ เป็นหลัก และบางทีก็ใช้สังเกตกริยานุเคราะห์
ประกอบกริยานั้นๆ เป็นหลักบ้าง ดังนี้

(๑) กรรตุวาจก ใช้สังเกตประธานเป็นหลัก คือถ้าประธานเป็นกรรตุ การกแล้ว กริยานั้นก็เป็นกรรตุวาจก และวาจกนี้ไม่ใช้กริยานุเคราะห์ประกอบเลย เช่น ‘คน นอน คน กินข้าว’ เป็นต้น หรือในประโยคการิตที่มีการิตการกรับใช้อยู่ด้วย เช่น ‘ครู ให้ศิษย์อ่าน หนังสือ’ คำ ให้-อ่าน ก็นับว่าเป็น ‘กรรตุวาจก’ ของคำ ‘ครู’ เพราะบท ‘ครู’ ประธานนั้นเป็นกรรตุการก

(๒) กรรมวาจก ใช้สังเกตคำประธานเป็นกรรมการก และมีคำกริยานุเคราะห์ ‘ถูก’ หรือ “ถูก-ให้” นำหน้ากริยา เช่นคำ ‘ฉัน’ ในความต่อไปนี้ ‘ฉัน ถูก พ่อ ตี ฉัน ถูกตี ’ เป็นต้น คำ ‘ถูก ’ นี้มักจะใช้กับกริยาที่มีความไปในทางไม่ดี เช่น ถูกตี ถูกด่า ถูกเฆี่ยน ถูกทำโทษ เป็นต้น นอกจากนี้ไม่นิยมใช้ มักใช้แต่กริยาลอยๆ ละคำ ‘ถูก’ ไว้ในที่เข้าใจ เป็นแต่เอาคำประธานเป็นกรรมการกไว้ข้างหน้าเพื่อให้รู้ว่ากริยานั้นเป็นกรรมวาจก
ดังตัวอย่าง ‘ขนมนี้ กิน ดี บุหรี่นี้ ขาย ดี’ ดังนี้คำกริยา ‘กิน’ และ ‘ขาย’ ย่อมละคำ‘ถูก’ ไว้ในที่เข้าใจ นับว่าเป็นกรรมวาจก อย่างเดียวกับกล่าวว่า ‘ขนมนี้ถูกกินดี บุหรี่นี้ถูกขายดี’ เหมือนกัน

อีกประการหนึ่ง คำกริยา ‘ถูก-ให้’ หรือ ‘ถูกให้ – ในประโยคการิต ซึ่งมีกรรมการกเป็นประธานก็เรียกว่าเป็นกรรมวาจกด้วย ตัวอย่าง ‘หนังสือนี้ ถูก ครู ให้ เด็ก อ่าน’ หรือ ‘ถูกให้อ่าน’ นับว่าเป็นกริยา ‘กรรมวาจก’ ด้วย เพราะหลักอยู่ที่ประธานเป็นกรรมการก

ข้อสังเกต บทกริยาที่มีกริยานุเคราะห์ ‘ถูก-ให้’ หรือ ‘ถูกให้’ นำหน้านี้ ถ้าประธานเป็นการิตการก กริยาก็เป็นการิตวาจก แต่ถ้าประธานเป็นกรรมการก กริยาก็เป็นกรรมวาจก ดูต่อไป

(๓) การิตวาจก ใช้สังเกตคำประธานเป็นการิตการก และมีกริยานุ เคราะห์ ‘ถูก-ให้’ หรือ ‘ถูกให้’ นำหน้ากริยาอีกทีหนึ่ง ตัวอย่าง ‘ศิษย์ ถูก ครู ให้อ่าน หนังสือ’ หรือ ‘ศิษย์ถูกให้อ่าน หนังสือทั้งวัน’ หรือบางทีละคำ ‘ให้’ ไว้ในที่เข้าใจกัน กล่าวแต่เพียงว่า ‘ศิษย์ถูกอ่านหนังสือ’ ก็ได้ ดังนี้กริยา ‘ถูก-ให้อ่าน’ หรือ‘ถูกให้อ่าน’ หรือ‘ถูกอ่าน’ เป็นกริยา‘การิตวาจก’ เพราะมีคำศิษย์ซึ่งเป็นการิตการกเป็นบทประธาน

หมายเหตุ ตามระเบียบในภาษาไทย บทประธานต้องอยู่หน้าบทกริยา เสมอไป แต่ยกเว้นบางแห่งซึ่งต้องการให้คำกริยาเป็นส่วนสำคัญ จึงใช้เรียงคำกริยาไว้หน้าบทประธาน แต่มักจะใช้เฉพาะกริยาที่มีความว่า ‘เกิด มี ปรากฏ’ เท่านั้น เช่น ‘ เกิด กาฬโรคขึ้นที่โน่น ที่นี่ มี ยุงชุม ปรากฏ การฆาตกรรมขึ้นในเมืองนี้เนืองๆ’ เป็นต้น เช่นนี้ บทกริยาที่อยู่ข้างหน้าก็เป็นกรรตุการก เหมือนกัน เพราะบทประธานที่อยู่หลังกริยานั้นๆ เป็นกรรตุการก

การก ได้กล่าวแล้วว่ากริยาสภาวมาลา ไม่ใช้เป็นกริยาของประโยค แต่ใช้เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคก็ได้ เพราะฉะนั้น กริยาพวกนี้ จึงมีหน้าที่เป็นการกต่างๆ ได้อย่างเดียวกับนามและสรรพนาม เช่น ตัวอย่าง ‘นอน มากนักเป็นโทษ’ ดังนี้ คำกริยาสภาวมาลา ‘นอน’ ในที่นี้เป็นกรรตุการก และ ‘ฉันไม่ชอบ นอน นานๆ’ คำ ‘นอน’ ในที่นี้เป็นกรรมการก และ ‘เขาเลี้ยงนกไว้เพื่อ ชม เล่น’ คำ ‘ชม’ ในที่นี้เป็นวิเศษณการก ดังนี้เป็นต้น

กริยา ‘ไล่’ แจกเฉพาะปรัตยุบันกาล

silapa-0138
หมายเหตุ กริยาสภาวมาลาเหล่านี้ถึงแม้ว่าไม่มีประธานก็ดี แต่ก็ยังมีรูป ปรากฏอยู่ว่าเป็นกริยาชนิดไร และเป็นของประธานชนิดไร (คือ กรรตุการก กรรมการก หรือการิตการก) เพราะฉะนั้นคำกริยาพวกนี้ เมื่อกระจายคำต้องบอกระเบียบต่างๆ ด้วย อย่างคำกริยาอื่นๆ แล้วจึงบอกการก ตามหน้าที่ของกริยาพวกนี้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ก. ‘นอน นานๆ เป็นโทษ’ ‘นอน’ เป็นอกรรมกริยา สภาวมาลา กรรตุวาจก อนุตกาล เป็นกรรตุการกของกริยา ‘เป็น’
ข. ‘ถูกตี บ่อยๆ ไมดี’ ‘ถูกตี’ เป็นอกรรมกริยา สภาวมาลา กรรมวาจก อนุตกาล เป็นกรรตุการกของกริยา ‘ไมดี’
ค. ‘ถูกให้ตีเด็กบ่อยๆ ไม่ดี’ ‘ถูกให้ตี’ เป็นสกรรมกริยา สภาวมาลา การิตวาจก เป็นกรรตุการกของกริยา ‘ไม่ดี’ ดังนี้เป็นต้น

แบบแจกกริยา ต่อไปนี้จะทำแบบแจกกริยาตามระเบียบทั้ง ๓ คือ มาลา กาล วาจก ไว้ให้ดูเป็นตัวอย่าง ส่วนการกนั้นมีเฉพาะกริยาสภาวมาลาอย่างเดียวไม่เกี่ยวกับคำกริยาอื่นจึงยกเสีย และให้สังเกตด้วยว่า ระเบียบเหล่านี้ บางอย่างก็ขาดบ้าง เพราะติดขัดเนื้อความ เช่น อาณัติมาลา ย่อมมีในอดีตกาลไม่ได้ เป็นต้น

ส่วนกาลอื่นๆ ก็แจกเช่นเดียวกัน เป็นแต่เปลี่ยนคำประกอบให้เป็นกาล นั้นๆ เช่น อดีตกาล เป็น ‘คน ได้ ไล่กา’ อนาคตกาล เป็น ‘คน จัก ไล่กา’ และอนุตกาล เป็น ‘คน ไล่ กา’ ดังนี้เป็นต้น

วิธีใช้คำวิเศษณ์
คำวิเศษณ์ในภาษาบาลีและสันสกฤต ย่อมใช้เปลี่ยนแปลงไปตาม ลึงค์ พจน์ การก อย่างเดียวกับคำนาม และยังต้องใช้ต่างกันตามอุปมาน คือ เปรียบเทียบชั้นสูงต่ำของคำวิเศษณ์นั้นอีก เช่น ‘สุนฺทโร’ ดี (ธรรมดา) ‘สุนฺทรตโร’ ดีกว่า, และ ‘สุนฺทรตโม’ ดีที่สุด ส่วนในภาษาอังกฤษก็มีอย่างนี้เหมือนกัน เช่น ‘กู๊ค’ (Good) ดี (ธรรมดา), ‘เบ็ตเตอร์’ (Better) ดีกว่า,และ ‘เบ๊ส๎ต’ (Best) ดีที่สุด มีรูปแปลกกันเป็น ๓ ชั้น เป็นระเบียบเช่นนี้เราจึงควรจะต้องศึกษา แต่ในภาษาไทยไม่มีระเบียบเช่นนี้ เมื่ออยากจะให้ความเป็นอย่างไร ก็ใช้คำวิเศษณ์ด้วยกันประกอบเข้า เป็น ดียิ่ง ดีจริง ดีนัก เป็นต้น ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงรูปดังภาษานั้นๆ เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องมีระเบียบอย่างเขา ให้ยุ่งยาก ในส่วนพจน์นั้น มีคำวิเศษณ์บางคำบอกพจน์ได้ เช่น คน เดียว คนมาก คนนี้ ฯลฯ คำ เดียว, มาก, นี้’ ที่ประกอบข้างท้ายนั้นบอกพจน์ของนามข้างหน้า ถ้าจะให้เป็นพจน์อะไรก็ต้องหาคำวิเศษณ์อื่นที่มีความบอกพจน์นั้นๆ มาประกอบ หามีวิธีเปลี่ยนแปลงคำวิเศษณ์เหล่านี้ให้เบนพจน์ต่างๆ ไม่ เช่น คำ ‘นี้’ มีเนื้อความชี้เฉพาะสิ่งเฉพาะอัน เมื่อประกอบนามใดก็เป็น เอกพจน์ เช่น ‘คนนี้’ เมื่อจะให้เป็นพหูพจน์ ก็ใช้ว่า ‘คนเหล่านี้’ ฯลฯ ใน ที่นี้ คำ ‘คน’ เป็นพหูพจน์ เพราะอาศัยความของคำ ‘เหล่า’ แต่คำ ‘นี้’ ก็มีความชี้เฉพาะเป็นเอกพจน์อยู่นั่นเอง คือหมายความว่า เหล่านั้นเหล่าเดียว ไม่ใช่หลายเหล่า เหตุฉะนี้คำวิเศษณ์ถึงจะมีเนื้อความบอกพจน์อยู่บ้างก็เป็นไปตามเนื้อความของมัน ไม่มีวิธีเปลี่ยนแปลงอย่างภาษาอื่น เพราะฉะนั้นคำวิเศษณ์ในภาษาไทย จึงจำเป็นจะต้องใช้ตามระเบียบเพียง ๒ อย่างเท่านั้น คือ ลึงค์ กับราชาศัพท์ แต่ราชาศัพท์จะยกไว้กล่าวทีหลัง ในที่นี้จะกล่าวแต่ลึงค์อย่างเดียว คือ:-

(๑) ลักษณวิเศษณ์ คำวิเศษณ์ประกอบนามบอกลึงค์นั้น ได้แก่ ลักษณวิเศษณ์ ซึ่งเดิมเป็นนามเฉพาะลึงค์ เช่น ชาย หญิง สาว หนุ่ม สะใภ้ พลาย พัง (ช้าง) เป็นต้น แล้วเอามาทำหน้าที่เป็นวิเศษณ์ประกอบนามบอกลึงค์อีกทีหนึ่ง

(๒) คำประติชญาวิเศษณ์ นอกจากลักษณวิเศษณ์ที่มาจากนามข้อต้นแล้วยังมีประติชญฺาวิเศษณ์อีกพวกหนึ่งที่ใช้บอกลึงค์ได้ดังนี้

ก. ปุลลึงค์ เช่น พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม พระพุทธเจ้าข้าขอรับ พระพุทธเจ้าข้า พระเจ้าข้า ขอถวายพระพรขอรับ เป็นต้น

ข. สตรีลึงค์ เช่น เพคะใส่เกล้าใส่กระหม่อม  เพคะ เจ้าข้า เป็นต้น
ค. อลึงค์ เช่น จ้ะ

คำประติชญาวิเศษณ์ที่เป็นนปุงสกลึงค์ไม่มี และคำพวกนี้จะต้องใช้ตามชั้นของบุคคล ดังจะกล่าวต่อไปในราชาศัพท์

คำที่ต้องใช้ต่างกันตามระเบียบทั้ง ๘ นั้น มีอยู่เพียง ๔ ชนิดเท่านั้น อีก ๓ ชนิด คือ บุพบท สันธาน อุทาน นั้น ไม่ต้องใช้ตามระเบียบ

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

วิธีใช้นามและสรรพนาม

วิธีใช้นาม
คำนามทั้งหลายต้องใช้ต่างกันตามระเบียบทั้ง ๕ คือ บุรุษ๑ ลึงค์ ๑ พจน์๑ การก๑ ราชาศัพท์๑ แต่ใช้ไม่ได้ทั่วกัน มีนามบางพวกใช้ได้ทั่วไป ทั้ง ๕ ระเบียบนั้น บางพวกก็ไม่ทั่วไป จะอธิบายทีละระเบียบ ดังต่อไปนี้ แต่ราชาศัพท์นั้นจะยกไปอธิบายรวมกันในภายหลัง

บุรุษ ตามลักษณะการพูดจากันในภาษาไทย ผู้พูดไม่ได้ใช้คำสรรพนามแทนชื่อตัว ชื่อผู้ฟัง หรือชื่อผู้ที่กล่าวถึงเสมอไป ย่อมใช้คำนามตรงๆ ก็ได้ เพราะฉะนั้นคำนามจึงใช้เป็นบุรุษด้วย ดังนี้:-

(๑) บุรุษที่๑ ได้แก่คำนามที่เป็นชื่อของผู้พูด ซึ่งผู้พูดยกขึ้นกล่าวกับ ผู้ฟัง ตัวอย่าง
ก. สามานยนาม เครือญาติ เช่น ‘เสื้อของ พี่ ไปไหน’ เป็นต้น ตำแหน่ง ‘มานี่แน่ะ! ครู จะบอกอะไรให้’ เป็นต้น

ข. วิสามานยนาม เช่น ‘อิ่ม รู้แล้วว่าเขามาหา’ เป็นต้น

(๒) บุรุษที่ ๒ ได้แก่นามของผู้ฟัง ที่ผู้พูดยกขึ้นกล่าว ตัวอย่าง
ก. สามานยนาม เครือญาติ เช่น ‘น้อง อย่าซนไป’ เป็นต้น ตำแหน่ง เช่น‘คุณเจากรม จะไปไหน’ เป็นต้น

ข. วิสามานยนาม เช่น ‘อ่ำ อย่าซนไป’ เป็นต้น

(๓) บุรุษที่ ๓ ได้แก่นามอื่นๆ ที่ผู้พูดนำมากล่าวกับผู้ฟัง เช่นตัวอย่าง “ฉันเห็น นายสอน พา น้อง ไปเที่ยวที่ โรงเรียน” ดังนี้คำ ‘นายสอน น้อง โรงเรียน’ นับว่าเป็นบุรุษที่ ๓ ทั้งนั้น

ข้อสังเกต นามที่เป็นบุรุษที่ ๑ หรือบุรุษที่ ๒ นั้น มีแต่สามานยนาม กับ วิสามานยนามเท่านั้น แต่ส่วนบุรุษที่ ๓ นั้น เป็นได้ทุกชนิด ให้พึงเข้าใจ ว่า คำนามใดๆ ถ้าไม่เป็นบุรุษที่ ๑ หรือ บุรุษที่ ๒ แล้ว ต้องนับว่าเป็นบุรุษที่ ๓ ทั้งสิ้น

ลึงค์ คำนามทั้งหลายที่ใช้ต่างกันตามลึงค์ มีเป็น ๒ แผนกคือ:-

(๑) นามที่มีเพศพรรณ หมายความว่านามที่เป็นชื่อ คน สัตว์ หรือ ผี- สางเทวดา ที่นิยมว่ามีเพศเป็นชายเป็นหญิงได้ นามแผนกนี้ยังแบ่งออกได้เป็นพวกๆ ดังนี้

ก. นามคำไทยแท้ที่ใช้เฉพาะลึงค์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นต้น
silapa-0126 - Copy
ข. นามคำบาลีและสันสฤตที่ใช้เฉลาะลึงค์ นามพวกนีมักมีวิธีเปลี่ยน แปลงติดมาจากภาษาเดิม คือ นามปุลลึงค์เป็นรูปอย่างหนึ่งแล้วเอามาเปลี่ยนแปลงท้ายศัพท์ใช้เป็นสตรีลึงค์อีกรูปหนึ่ง มีวิธีควรสังเกตเป็นพวกๆ ดังต่อไปนี้ เช่นตัวอย่าง
(ก) นามปุลลึงค์ที่แปลงท้ายเป็น อี ใช้เป็นสตรีลึงค์
silapa-0126 - Copy1
(ข) นามปุลลึงค์ ที่แปลงท้ายศัพท์เป็น นี อานี อินี(หรือเป็น ณี อิณี เมื่ออยู่หลังตัว ร และ ษ) ใช้เป็นสตรีลึงค์
silapa-0127 - Copy
(ค) นามปุลลึงค์ส่วนท้ายเป็น ‘ก’ แปลงเป็น ‘อิกา’ ใช้เป็นสตรีลึงค์
silapa-0127 - Copy1
ค. นามที่ใช้เป็นอลึงค์ นามพวกนี้มักมีเป็นพื้นในภาษาไทย ทั้งที่เป็นคำ ไทยแท้และที่มาจากบาลีและสันสกฤต ถึงนามที่มาจากบาลีและสันสกฤตที่ใช้ เฉพาะลึงค์ ในข้อ ข. ข้างบนนี้บางคำ มีรูปเป็นปุลลึงค์บางทีก็นำมาใช้เป็นอลึงค์ เช่น ‘เขามีบุตร ๓ คน เป็นชาย ๑ เป็นหญิง ๒ คน’ ดังนี้คำ ‘บุตร’ ตามรูป ควรเป็นปุลลึงค์ แต่ในที่นี้เป็นอลึงค์เพราะฉะนี้ควรสังเกตเนื้อความประกอบด้วย

นามที่เป็นอลึงค์นี้ เมื่อต้องการจะใช้เป็นลึงค์อะไรแน่นอนก็ใช้คำอื่น ประกอบข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ดังตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นต้น
silapa-0127 - Copy2
(๒) นามที่ไม่มีเพศพรรณ คือนามที่ไม่ปรากฏเป็นเพศชายหรือหญิง ได้แก่นามที่ไม่มีวิญญาณ เช่น ต้นไม้ ผัก หญ้า บ้าน เมือง จิต วาจา เวลา ดิน  น้ำ มือ เท้า ตา หู ความคิด พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาว เหล่านี้เป็นต้น นามแผนกนี้ต้องเป็น นปุงสกลึงค์อย่างเดียวเท่านั้น

ข้อสังเกต ลึงค์ในภาษาไทยต้องสังเกตเนื้อความของศัพท์เป็นใหญ่ จะ สังเกตตามรูปศัพท์เท่านั้นไม่พอ เพราะรูปศัพท์เป็นลึงค์หนึ่งแต่เนื้อความเป็นลึงค์อื่นไปก็ได้ เช่น คำที่มาจากบาลีและสันสกฤต ซึ่งมีรูปเป็นปุลลึงก์ อาจจะนำมาใช้ในที่เป็นอลึงค์ก็ได้ ดังคำ ‘บุตร’ ที่กล่าวแล้ว ถึงคำไทยแท้ก็เหมือนกัน เช่นคำ ‘แม่กอง แม่ทัพ แม่คู่ นางแอ่น (นก) นางเห็น (สัตว์)’ เหล่านี้ต้องเป็นอลึงค์ และคำ กะลาตัวผู้ กะลาตัวเมีย กระเบื้องตัวผู้ กระเบื้องตัวเมีย อีลุ้ม แม่แคร่ เหล่านี้ต้องเป็นนปุงสกลึงค์ ดังนี้เป็นต้น อนึ่งคำบางคำที่นิยมกันเป็นต่างๆ เช่นคำ พระอาทิตย์ พระจันทร์ เป็นต้น ที่แท้ก็เป็นนปุงสกลึงค์ แต่ในที่บางแห่งนิยมให้เป็นเทวบุตร มีภรรยา มีบุตรได้ เช่นนี้ก็ต้องนับเป็นปุลลึงค์เฉพาะในเรื่องที่กล่าวนั้นๆ

การกำหนดลึงค์ในภาษาไทยเราต่างกับภาษาบาลีและสันสกฤต ซึ่งกำหนดตามรูปศัพท์ เช่น คำ ทาร (เมีย) มาตุคาม (หญิง) เขากำหนดเป็นปุลลึงค์, ตามรูปศัพท์ และคำ ศาลา ธรณี คงคา เป็นสตรีลึงค์ ตามรูปศัพท์เหมือนกัน ดังนี้เป็นต้น แต่คำเหล่านี้เมื่อตกมาในภาษาไทยแล้ว ต้องกำหนดลึงค์ตามเนื้อความดังกล่าวแล้ว

พจน์ คำนามในภาษาไทย ย่อมมีรูปศัพท์เป็นอพจน์ทั้งสิ้น และไม่มีวิธีเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ให้เป็นพจน์ต่างๆ อย่างภาษาอื่นด้วย ถ้าจะต้อง การให้เป็นเอกพจน์ก็ใช้วิเศษณ์ประกอบข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง เช่นคน หนึ่ง หนึ่ง คน คน เดียว คนนี้ คน นั้น เป็นต้น หรือจะให้เป็นพหูพจน์ ก็ใช้คำประกอบเช่นเดียวกัน เช่น คนมาก หลายคน คนเหล่านี้ คนสามคน ดังนี้เป็นต้น คำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบบอกพจน์ มักจะเป็นประมาณวิเศษณ์ แต่ประมาณวิเศษณ์ที่บอกจำนวนครบ (บุรณสังขยา) เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ฯลฯ เหล่านี้เป็นอพจน์ ถ้าจะให้เป็นพจน์อื่น ต้องมีคำประกอบเข้าอีก เช่น ‘คนที่หนึ่งเหล่านั้น’ หรือ ‘คนที่หนึ่ง ผู้นี้’ เป็นต้นนอกจากนี้ยังสังเกตเนื้อความของ ศัพท์เป็นการบอกพจน์ได้อีก เช่น ‘คนพูดกัน’ ดังอธิบายแล้ว

ข้อสังเกต คำนามที่เนื่องกันแยกไม่ออก เช่น น้ำ ลม เป็นต้น โดยปกติต้องนับเป็นอพจน์ ต่อเมื่อวิธีบอกให้รู้จำนวนของชนิดหรือจำนวนที่แบ่ง ออกไปเป็นส่วนๆ เช่น ลมชนิดหนึ่ง ลมหลายชนิด น้ำถวยหนึ่ง นํ้าหลายถ้วย ดังนี้ จึงต้องบอกเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ตามเนื้อความที่กล่าว

อนึ่งคำนามที่อยู่รวมกันมากๆ โดยธรรมดา เช่น ทราย ข้าว เป็นต้น ถ้าพูดขึ้นลอยๆ ว่า สีเหมือนทราย เบาเหมือนข้าวเปลือก’ เช่นนี้ ก็ต้องนับ เป็นอพจน์ เพราะไม่นิยมจะต้องการรู้เป็นจำนวนเม็ดหรือเมล็ด ต่อเมื่อมีความบ่งว่าทรายเม็ดหนึ่ง หรือข้าวเปลือกเมล็ดหนึ่งก็ดี หลายเมล็ดก็ดี จึงต้องบอกพจน์ตามเนื้อความนั้น เช่นตัวอย่าง ‘ข้าวเปลือกเมล็ดหนึ่ง ทราย ๑๐ เม็ด’ ดังนี้ ข้าวเปลือกและทรายในที่นี้เป็นเอกพจน์ หรือพหูพจน์ตามจำนวน ดังนี้เป็นต้น

อีกประการหนึ่ง คำภาษาอื่น ที่เขามีรูปต่างกันตามพจน์ เช่น อังกฤษ ฟุต ไมล์ เป็นเอกพจน์ และฟีต ไมล์ เป็นพหูพจน์ หรือ บาลี ราชา ราชินี เป็นเอกพจน์ และราชาโน ราชินิโย เป็นพหูพจน์ เป็นต้น คำเหล่านี้เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ไม่ต้องกำหนดพจน์ตามวิธีของเขา ให้ถือเอาคำเอกพจน์ของเขา เช่น ฟุต ไมล์ ราชา ราชินี หรือคำกลางที่ยังไม่มีพจน์ เช่น ราชกุมาร โจร เป็นต้น เป็นหลัก และให้ถือว่าคำเหล่านั้นเป็นอพจน์ ถ้าจะให้คำเหล่านี้เป็นเอกพจน์ หรือพหูพจน์ ก็ใช้คำอื่นประกอบ เช่น ฟุตหนึ่ง สองฟุต หรือ พระราชาองค์หนึ่ง พระราชาสององค์ เป็นต้น ตามหลักไวยากรณ์ในภาษาไทยเรา

การก คำนามทั้งหลายย่อมมีหน้าที่เป็นการกทั้ง ๕ ดังได้อธิบาย แจ่มแจ้งแล้วในระเบียบของคำ ตามนิยมในภาษาไทยมักใช้นาม วิกัติการก ประกอบนามข้างหน้าอีกทีหนึ่ง เพื่อขยายนามข้างหน้าให้ชัดเจนขึ้น ทำนองเดียวกับวิเศษณ์ เช่นตัวอย่าง เด็ก นักเรียน เดินมา นก กระทา ขันเพราะ ฉันพบนายสี อำเภอ ดังนี้เป็นต้น และนามที่เป็นการกเหล่านี้ มีที่สังเกตดังนี้

(๑) กรรตุการก สังเกตลำดับที่เรียง คือที่เป็นประธาน (คือเป็นตัวแสดงอาการ) ใช้เรียงไว้หน้ากริยา กรรตุวาจก เช่น ‘พ่อ’ ในความว่า “พ่อ ตีฉัน” ซึ่งแสดงว่า พ่อ เป็นผู้ทำการตี เป็นต้น ที่ไม่ใช่ประธานใช้เรียงไว้ระหว่างกริยา กรรมวาจก หรือ ระหว่าง ประธานกับกริยา กรรมวาจก เช่นคำ ‘พ่อ’ และ ‘เศรษฐี’ ในความว่า “ฉันถูก พ่อ ตี วัดนี้ เศรษฐี สร้าง” ดังนี้ ‘พ่อ’ และ ‘เศรษฐี’ เป็นผู้ทำการตี การสร้างตามลำดับ นับว่าเป็น “กรรตุการก” ช่วยกริยา ‘ตี’ และ “สร้าง” แต่ไม่ใช่ประธาน เพราะประธานเขามีแล้ว คือ ‘ฉัน’ และ ‘วัด’ เป็นต้น

(๒) กรรมการก ที่เป็นประธาน เรียงอยู่หน้ากริยานุเคราะห์ ‘ถูก’ หรืออยู่หน้ากรรตุการก เช่น คำ ‘เด็ก’ และ ‘วัด’ ในความว่า ‘เด็กถูก พ่อตี วัด นี้เศรษฐีสร้าง วัด นี้เศรษฐีให้ช่างสร้าง ’ เป็นต้น ถ้าไม่ใช่ประธาน เรียง อยู่หลังสกรรมกริยาหรือหลังบุพบท ‘ซึ่ง’ เช่นคำ ‘ธรรม’ ในความว่า ‘พระ แสดง ธรรม พระให้ศิษย์แสดง ธรรม พระแสดงซึ่ง ธรรม’ เป็นต้น

(๓) การิตการก ที่เป็นประธานเรียงไว้หน้ากริยา ‘ถูกให้’ เช่นคำ ‘ศิษย์’ ในความว่า ‘ศิษย์ ถูกครูให้อ่านหนังสือ ศิษย์ ถูกให้อ่านหนังสือ’ เป็นต้น ถ้าไม่ใช่ประธานเรียงไว้หลังบุพบท ‘ยัง’ หรือหลังกริยานุเคราะห์ ‘ให้’ เช่น คำ ‘ศิษย์’ ในความต่อไปนี้ ‘ครูยัง ศิษย์ ให้เขียนหนังสือ ครูให้ ศิษย์ เขียนหนังสือ’ ดังนี้เป็นต้น

(๔) วิเศษณการก มักเรียงอยู่หลังบุพบทที่ใช้เป็นบทเชื่อม (นอกจาก ‘ซึ่ง’ ที่เชื่อมกรรม) เช่น ‘เสื้อของ ฉัน เขามายัง บ้าน เขากินด้วย ช้อน’ เป็นต้น ถ้าละบุพบทเสียก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบทีเดียว เช่น ‘เสื้อ ฉัน เขามา บ้าน เขากิน ช้อน’ ดังนี้เป็นต้น

(๕) วิกัติการก เป็นการกที่อธิบายตำแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงต้องเรียงอยู่หลังบทการกที่มันประกอบเสมอไป และต้องบอกชื่อเป็นวิกัติการกของบทการกข้างหน้าด้วย เช่น คำ ‘นักเรียน’ ในความต่อไปนี้ ‘เด็ก นักเรียน นอน’ ดังนี้ ‘นักเรียน’ เป็นบทวิกัติการกของ ‘เด็ก’ และประกอบบทการกอื่นๆ ทำนองนี้ด้วยเช่น ‘เสื้อของนาย ก นักเรียน ฉัน เห็นนก กระทา เขามากับตามี คนใช้’ ดังนี้ คำ ‘นักเรียน กระทา คนใช้’ ก็เบนบทวิกัติการกของนาย ก ของนก ของตามี ตามลำดับ

ยังมีวิกัติการกอีกพวกหนึ่งที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยา ซึ่งเรียงไว้หลัง วิกตรรถกริยา เช่น เขาเป็น นาย เขาคือ นาย’ ดังนี้ คำ. ‘ นาย ’ เป็นวิกัติการก ช่วยกริยา ‘เป็น’ และกริยา ‘คือ’ ตามลำดับดังนี้เป็นต้น

วิธีใช้สรรพนาม
คำสรรพนามย่อมมีหน้าที่ใช้แทนนาม เพราะฉะนั้น จึงมีวิธีใช้ต่างกันตามระเบียบทั้ง ๕ อย่างเดียวกับนาม คือ บุรุษ ลึงค์ พจน์ การก และ ราชาศัพท์ดังกล่าวแล้ว แต่มีแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ดังจะอธิบายต่อไปนี้:-

(๑) บุรุษ คำสรรพนามที่ใช้ต่างกันตามบุรุษนั้น มีอยู่พวกเดียว คือ บุรุษสรรพนาม และนิยมใช้มากกว่าคำนามในบุรุษหนึ่งๆ มีซ้ำกันหลายๆ คำ ผิดกับภาษาอื่น ซึ่งมักจะมีบุรุษละคำ ๒ คำเท่านั้น เช่นตัวอย่าง

ก. บุรุษที่ ๑ คือ ฉัน กู ข้า ข้าพเจ้า ผม กระผม เป็นต้น
ข. บุรุษที่ ๒ คือ เอ็ง มึง เจ้า สู ใต้ฝ่าพระบาท เป็นต้น
ค. บุรุษที่ ๓ คือ เขา มัน พระองค์ เป็นต้น

บุรุษสรรพนามที่มีซ้ำกันมากๆ เช่นนี้ ย่อมมีที่ใช้ต่างกันตามชั้นของบุคคล

(๒) ลึงค์ สรรพนามที่ใช้เฉพาะลึงค์นั้น มีอยู่บางคำ คือ‘ผม กระผม เกล้าผม เกล้ากระผม เจ้ากู’ เหล่านี้เป็นปุลลึงค์ และคำ ‘อีฉัน หล่อน’* นี้เป็นสตรีลึงค์ และคำ ‘อะไร’ เป็นนปุงสกลึงค์ นอกจากนี้ก็มีรูปเป็นอลึงค์ ทั้งนั้น ต้องสังเกตตามเนื้อเรื่องหรือรูปความที่กล่าว หรือสังเกตตามนามที่ใช้สรรพนามเหล่านี้แทน คือ นามเป็นลึงค์ใด สรรพนามเหล่านี้แทนก็เป็นลึงค์นั้น
………………………………………………………………………………………….
* คำ ‘หล่อน’ โบราณหมายถึง เพศชายก็ได้ เช่น‘…เจ้าเวสสันดร หล่อนกระทำละเมิด…’ เพราะเป็นคำย่อจาก ‘ลูก-อ่อน’ แต่บัดนี้นิยมใช้เบนเพศหญิงโดยมาก
………………………………………………………………………………………..

(๓) พจน์ สรรพนามที่เรามักใช้เป็นพหูพจน์นั้น คือคำ ‘เรา’ และ ‘กัน’ แต่ไม่ทั่วไปทีเดียว คำ ‘เรา’ โบราณใช้สำหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย ใช้เป็นเอกพจน์ก็ได้ และคำ ‘กัน’ ที่ใช้เป็นวิภาคสรรพนามเช่น ‘ ผัวเมียตีกัน ’ เช่นนี้เป็นเอกพจน์ แต่ถ้าเอามาใช้เป็นบุรุษที่๑ เช่น ‘กัน คิดถึงแกมาก’ เช่นนี้เป็นเอกพจน์ นอกจากนี้ก็ใช้สังเกตตามคำนามที่ใช้สรรพนามเหล่านี้แทน ถ้าไม่มีนามก็ให้สังเกตเนื้อความอย่างเดียวกับลึงค์

(๔) การก สรรพนามทั้งหลายใช้เป็นการกอย่างเดียวกับนาม ให้สังเกตตามที่ได้อธิบายแล้วในนาม แต่มีข้อที่ควรสังเกตอยู่อย่างหนึ่ง คือ ใน ภาษาไทยมักใช้สรรพนามเป็นวิกัติการก เพื่อแสดงชั้นสูงต่ำของนามข้างหน้า ตามความนับถือของผู้พูด เช่นตัวอย่าง (ก) นายสี ท่าน บอกฉัน (ข)นายสี เขา บอกฉัน (ค) นายสี แก บอกฉัน (ฆ) นายสี มัน บอก ดังนี้เราอาจทราบได้ว่า นายสี ในความทั้ง ๔ ข้อนั้น ผู้พูดนับถือสูงต่ำต่างกันตามที่ใช้สรรพนาม วิกัติการก ‘ท่าน เขา แก มัน’ ประกอบข้างท้าย

อนึ่งคำวิภาคสรรพนาม ‘ต่าง’ ‘บ้าง’ นี้ มักใช้ในที่เป็นวิกัติการกเป็นพื้น เช่น ‘คนทั้งหลาย ต่าง กลับบ้าน คนทั้งหลาย บ้าง ทำนา บ้าง ทำสวน ดังนี้เป็นต้น

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

ระเบียบของคำ

วิธีใช้ถ้อยคำ
ระเบียบของคำ
คำที่จำแนกออกเป็นชนิดๆ ดังอธิบายนั้น คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์ รวม ๔ ชนิดนี้ ยังจะต้องมีวิธีใช้ให้ถูกต้องตามระเบียบอีก ระเบียบของถ้อยคำในภาษาไทยนั้นมี ๘ อย่าง คือ ๑. บุรุษ ๒. ลึงค์ ๓. พจน์ ๔. การก ๕. มาลา ๖. กาล ๗. วาจก ๘. ราชาศัพท์ ดังจะอธิบายต่อไปนี้

(๑) บุรุษ แปลว่า ชาย ในที่นี้หมายความถึงบุคคลที่ใช้ในการพูดจากัน จัดเป็น ๓ พวก คือ:-

ก. บุรุษที่หนึ่ง คือ คำที่ผู้พูดกล่าวถึงตัวของเขาเอง ตัวอย่าง คำนาม เช่น พี่, น้อง, อิ่ม, อ่ำ เป็นต้น ซึ่งเขาเรียกชื่อตัวของเขาเอง ดังตัวอย่าง ‘พี่ ลาก่อนล่ะน๋ะ, น้อง ลาก่อนนะค๋ะ, อิ่ม ลาก่อนนะจ๋ะ!’ เป็นต้น คำสรรพนาม เช่น ข้าพเจ้า, ผม, ข้า, กู ฯลฯ ดังตัวอย่าง ‘ข้าพเจ้า ลาก่อนละ, ผม ลา ก่อนละ’ เป็นต้น

ข. บุรุษที่สอง คือคำที่ผู้พูดใช้เรียกผู้ฟัง คำนาม เช่น สอน, คุณหลวง, เพื่อน ฯลฯ ตัวอย่าง ‘สอน อย่าเที่ยวนักเลย’ เป็นต้น คำสรรพนาม เช่น ใต้เท้า, ท่าน, เอ็ง, มึง ฯลฯ ตัวอย่าง ‘ใต้เท้าสบายดีหรือ? เป็นต้น

ค. บุรุษที่สาม คือคำที่ผู้พูดอ้างถึงในเวลาพูดจากัน ตัวอย่าง คำนามเช่น นายสอน, คน, ช้าง, บ้าน, น้ำ, ลม, ใจ ฯลฯ ตัวอย่าง ‘นายสอน ไม่อยู่นี่แล้ว’ เป็นต้น คำสรรพนาม เช่น เขา, มัน ฯลฯ ตัวอย่าง ‘เขา เป็นคนดีมาก’ เป็นต้น

(๒) ลึงค์ แปลว่าเพศ ในที่นี้หมายถึงคำที่ใช้ต่างกันตามเพศ จัดเป็น ๔ เพศด้วยกัน คือ:-
ก. ปุลลึงค์ คือเพศชาย เช่นคำ ราชา, พ่อ, ปู่ เป็นต้น
ข. สตรีลึงค์ คือเพศหญิง เช่นคำ ราชินี, แม่, ย่า เป็นต้น
ค. อลึงค์ คือเพศไม่กำหนด เช่นคำ เทวดา, คน, สัตว์ เป็นต้น
ฆ. นปุงสกลึงค์ คือคำที่ไม่มีเพศ เช่นคำ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ เป็นต้น

(๓) พจน์ แปลว่า คำพูด ในที่นี้หมายถึงคำที่ใช้ต่างกันตามกำหนดมาก และน้อย จัดเป็น ๓ พจน์ คือ :-

ก. เอกพจน์ คือคำที่มีกำหนดสิ่งเดียว เช่น คนผู้หนึ่ง, สัตว์ตัวเดียว ของสิ่งเดียว เป็นต้น

ข. พหูพจน์ คือคำที่มีกำหนดมาก (ตั้งแต่สองชั้นไป) เช่นคนทั้งสอง สัตว์ทั้งหลาย, ของทั้งปวง เป็นต้น

ค. อพจน์ คือคำที่ไม่กำหนด หมายความว่าคำที่ไม่รู้กำหนด เช่น คน, สัตว์, สิ่งของ เป็นต้น ที่ไม่บอกกำหนดว่าเป็นสิ่งเดียวหรือหลายสิ่ง

(๔) การก แปลว่าผู้กระทำ หมายถึงนาม คำสรรพนามหรือกริยา สภาวมาลาที่ใช้แทนนาม ซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ เช่น เป็นผู้ทำก็ดี, เป็นผู้ถูกทำก็ดี, เป็นเจ้าของ, หรือบอกอาการ, บอกสถานที่ เป็นต้น ก็ดี เหล่านี้ท่านเรียกว่า ทารก จำแนกเป็น ๕ การกด้วยกัน ดังนี้

ก. กรรตุการก คือคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ เช่นคำ “ตาสี, เขา” ในความต่อไปนี้ ‘ตาสีนอน, เขากินข้าว’ เป็นต้น และคำกรรตุการกนี้ทำหน้าที่ ๒ อย่าง คือ (ก) เป็นประธานของประโยค ได้แก่คำที่อยู่หน้าข้อความ เช่น ‘ตาสี’ และ ‘เขา’ ข้างบนนี้อย่างหนึ่ง และ (ข) ใช้เป็นคำช่วยกริยา ซึ่งเรียงไว้หลังประธาน หรือหลังคำ ‘ถูก’ เช่นคำ ‘ครู’ ในความต่อไปนี้ “ศิษย์นี้ ครู ตีสามหนแล้ว, ศิษย์นี่ถูก ครู ตี, หรือศิษย์นี้ถูก ครู ให้อ่านหนังสือ” เป็นต้น

ฃ. กรรมการก คือคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำของสกรรมกริยา และ ทำหน้าที่ ๒ อย่าง คือ (ก) ทำหน้าที่เป็นผู้ถูกตามธรรมดา คือเรียงไว้หลังกริยา เช่น คำ ‘ข้าว’ ในความว่า ‘เขากิน ข้าว’ ข้างบนนี้อย่างหนึ่ง และ
(ข) ทำหน้าที่เป็นประธาน คืออยู่หน้าข้อความเช่น คำ ‘ศิษย์’ ในความต่อไปนี้ “ศิษย์ ถูกครูตี, ศิษย์ ถูกตี” เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง

ค. การิตการก คือคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้รับใช้ ซึ่งมีในข้อความซึ่งเรียกว่า ประโยคการิต คือข้อความที่มีคำ ‘ให้’ นำหน้ากริยา (ซึ่งจะมีข้างหน้า) เช่น คำศิษย์’ ในความต่อไปนี้ “ครูยัง ศิษย์ ให้อ่านหนังสือ”,หรือ “ครูให้ศิษย์ อ่านหนังสือ” เป็นต้น ย่อมทำหน้าที่ ๒ อย่างเหมือนกัน คือ (ก) ทำหน้าที่การิตการกธรรมดา ซึ่งอยู่หลังบุพบท ‘ยัง’ หรืออยู่หลังกริยานุเคราะห์ ‘ให้’ อย่างข้อความข้างบนนี้อย่างหนึ่ง และ (ข) ทำหน้าที่ประธานคล้ายกรรมการก เช่นคำ ‘ศิษย์’ ในความต่อไปนี้ ‘ศิษย์ ถูกครูให้อ่านหนังสือ’ หรือ ‘ศิษย์ ถูกให้ อ่านหนังสือ’ เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง

ข้อสังเกต คำ ‘ศิษย์’ ในความข้างบนนี้เป็น การิตการก เพราะเป็นผู้รับใช้ให้ทำกริยา ‘อ่าน’ และคำ ‘หนังสือ’ เป็น กรรมการก เพราะเป็นผู้ถูก กริยาอ่าน

ฆ. วิเศษณการก คือคำนาม สรรพนาม หรือกริยาสภาวมาลาที่ประกอบ บททั้งหลายเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ คล้ายคำวิเศษณ์ เช่น ‘เสื้อของฉัน’ คำ ‘ฉัน’ เป็นวิเศษณการก ประกอบเสื้อทำหน้าที่เป็นเจ้าของ ดังนี้เป็นต้น วิเศษณการก นี้มักมีบุพบทนำหน้าที่เรียกว่า บุพบทวลี เช่น ‘สู่ บ้าน, ที่ บ้าน, แต่ บ้าน’ คำ ‘บ้าน’ เป็นวิเศษณการก ทำหน้าที่บอกสถานที่ ‘เขามาเมื่อเช้า’ คำ ‘เช้า เป็นวิเศษณการกบอกเวลา ดังนี้เป็นต้น ที่ไม่ใช่บุพบทนำหน้าก็มี เช่น นอน, เตียง, นั่งเก้าอี้ ฯลฯ ดังนี้ คำ ‘เตียง’ และ ‘เก้าอี้’ ก็เป็นวิเศษณการกบอกสถานที่เช่นเดียวกัน

ง. วิกัติการก คือคำที่ทำหน้าที่ต่างหรือแทน หมายถึงคำที่ทำหน้าที่ แทนการกข้างหน้า เช่น คำ ‘อำเภอ’ ในความ ‘ตามี อำเภอ กินข้าว’ คำ อำเภอ’ ทำหน้าที่อย่างเดียวกับ ‘ตามี’ หมายความว่า ถึงไม่มีคำ ‘ตามี’ อยู่คำ ‘อำเภอ’ ก็ทำหน้าที่ต่างตามี ได้ความเท่ากัน ดังนั้น คำ ‘อำเภอ’จึงเป็น วิกัติการกของตามี  วิกัติการกนี้ มี ๒ อย่าง คือ  (ก) วิกัติการกที่ประกอบการกข้างหน้าได้ทุกชนิด และทำหน้าที่อย่างเดียวกันด้วย เช่น คำ ‘อำเภอ’ ในความต่อไปนี้ ‘ฉันเห็นตามี อำเภอ เสื้อของตามี อำเภอ เขาไปกับตามี อำเภอ’ เป็นต้นอย่างหนึ่งและ (ข) วิกัติการกที่ช่วยวิกตรรถกริยาให้ได้ความเต็ม เช่นคำ ‘อำเภอ’ ในความต่อไปนี้ ‘เขาเป็นอำเภอ เขาเท่ากับอำเภอ เขาคืออำเภอ’ ดังนี้ คำ ‘อำเภอ’ เป็นวิกัติการกช่วยกริยา ‘เป็น’ กริยา ‘เท่ากับ’ และ ‘คือ เป็นต้นอีกอย่างหนึ่ง

(๕) มาลา แปลว่าระเบียบ ในที่นี้หมายความถึงระเบียบของกริยา แสดงออกมาเป็นความหมายต่างๆ จัดเป็น ๕ มาลา คือ:-

ก. นิเทศมาลา คือระเบียบของกริยาที่มีเนื้อความบอกเล่า เช่นบทกริยา ในความต่อไปนี้ ‘เขา นอน แล้ว ฝน ตก มาก’ เป็นต้น

ข. ปริกัลปมาลา คือระเบียบกริยาที่บอกเนื้อความคาดคะเน หรือแบ่ง รับแบ่งสู้ เช่นบทกริยาในความต่อไปนี้ ‘เขา ชะรอยนอน หลับ ถ้า ฝน ตก ฉันจะกลับบ้าน’ เป็นต้น

ค. ศักดิมาลา คือระเบียบกริยาที่บอกเนื้อความเชื่อแน่ และบังคับ เช่น บทกริยาในความต่อไปนี้ ‘เขา ต้องนอน ฝน คงตก’ เป็นต้น

ฆ. อาณัติมาลา คือระเบียบกริยาที่บอกเนื้อความบังคับ หรืออ้อนวอน เช่นบทกริยาในความต่อไปนี้ ‘แก จงนอน ท่านโปรดช่วย ฉันด้วย’ เป็นต้น

ง. สภาวมาลา คือระเบียบกริยาธรรมดา หมายความถึงกริยากลาง ไม่ เป็นรูปประโยค ใช้พูดลอยๆ เช่น กล่าวว่า ‘ไปเที่ยว ดูละคร, เพื่อ นั่งเล่น, สำหรับชมเล่น’ เป็นต้น กริยาเหล่านี้ใช้เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคได้ คล้ายคำนาม

(๖) กาล แปลว่าเวลา หมายความถึงคำกริยาที่ใช้ต่างกันตามกาลต่างๆ จัดเป็นกาลสามัญ ๔ อย่าง คือ:-

ก. ปรัตยุบันกาล คือเวลาเดี๋ยวนั้น หรือเวลาที่กำลังเป็นไปอยู่ เช่น
ตัวอย่าง ‘ เขา กำลังกิน ข้าว ’ เป็นต้น

ข. อดีตกาล คือเวลาล่วงแล้ว เช่น ‘เขา ได้กิน ข้าว’ เป็นต้น

ค. อนาคตกาล คือเวลาภายหน้า เช่น ‘เขา จักกิน ข้าว’ เป็นต้น

ฆ. อนุตกาล คือเวลาที่ไม่กล่าวแน่นอน คือกล่าวทั่วไป จะเป็นเวลาไรก็ได้ เช่น ‘คนกินข้าว’ เป็นต้น

กาลสามัญเหล่านี้ยังจัดออกเป็น “กาลสมบูรณ์” ซึ่งหมายถึงเวลาที่ทำการนั้นๆ เสร็จแล้ว อีก ๔ อย่าง คือ:-

ก. ปรัตยุบันกาลสมบูรณ์ เช่น ‘เขา กำลังกิน ข้าว แล้ว’ เป็นต้น

ข. อดีตกาลสมบูรณ์ เช่น ‘เขา ได้กิน ข้าว แล้ว’ เป็นต้น

ค. อนาคตกาลสมบูรณ์ เช่น ‘เขา จักกิน ข้าว แล้ว’ เป็นต้น

ฆ. อนุตกาลสมบูรณ์ เช่น ‘เขา กิน ข้าว แล้ว’ เป็นต้น
กาลทั้ง ๘ นี้ยังมีซ้อนกันได้อีก ซึ่งเรียกว่า ‘กาลซ้อน’ มีชื่อตามกาลที่ใช้ ซ้อนกัน เช่นตัวอย่าง กาลปรัตยุบัน ถ้าเอาไปใช้ในเวลาล่วงแล้ว ดังกล่าวว่า ‘วานนี้เขา กำลังกิน ข้าวอยู่’ เช่นนี้ก็เรียกว่า ‘ปรัตยุบันในอดีต’ คำใช้ในเวลาภายหน้า ดังกล่าวว่า ‘พรุ่งนี้เขา จักกำลังกิน ข้าว’ เช่นนี้เรียกว่า ‘ปรัตยุบันกาลในอนาคต’ เป็นต้น หรือถ้าเป็นกาลสมบูรณ์ ดังกล่าวว่า ‘วานนี้เขากำลังกินข้างแล้ว’ ก็เรียกว่า ‘ปรัตยุบันกาลสมบูรณ์ในอดีต’ เป็นต้น ให้เปลี่ยนชื่อตามเนื้อความที่ใช้ประกอบตามหลักข้างบนนี้

(๗) วาจก แปลว่าผู้บอก ในที่นี้หมายถึงกริยาที่บอกประธานว่าเป็น การกอะไร มีเป็น ๓ วาจก คือ:-

ก. กรรตุวาจก คือกริยาที่บอกว่าประธานเป็นการก หรือผู้กระทำ จัด เป็น ๒ พวก คือ (ก) กริยาที่บอกประธานเป็นกรรตุการกธรรมดา เช่น‘คน กิน ข้าว’ คำกริยา‘กิน’ เรียก ‘กรรตุการก’ ดังนี้เป็นต้น (ข) กริยาที่ บอกประธานเป็นผู้ใช้ เช่น ‘คนให้เด็กกินข้าว’ คำกริยา ‘ให้-กิน’ เรียก ชื่อว่า ‘กรรตุวาจก’ เหมือนกัน

ข. กรรมวาจก คือกริยาที่บอกประธานเป็นกรรมการก หรือผู้ถูกกระทำ จัดเป็น ๒ พวกเหมือนกัน คือ (ก) กริยาในประโยคกรรมที่บอกประธานเป็น กรรม ธรรมดา เช่น “ข้าว ถูก คน กิน” คำกริยา ‘ถูก-กิน’ เรียกว่า ‘กรรมวาจก’ เป็นต้น (ข) กริยาในประโยคการิตที่มีกรรมการกเป็นประธาน เช่น ‘หนังสือ ถูก ครู ให้ ศิษย์ อ่าน’ คำกริยา‘ถูก-ให้-อ่าน’ ก็เรียกว่า ‘กรรมวาจก’ เหมือนกันดังนี้เป็นต้น

ค. การิตวาจก คือ กริยาที่บอกประธานเป็นการิตการก หรือผู้รับใช้ เช่น “ศิษย์ ถูก ครู ให้อ่าน หนังสือ” คำกริยา ‘ถูก-ให้-อ่าน’ เรียกว่า ‘ การิตวาจก ’ เป็นต้น

(๘) ราชาศัพท์ แปลว่าศัพท์หลวง หมายความถึงคำที่ใช้เกี่ยวข้องกับ พระราชา ตลอดลงไปถึงชั้นขุนนาง ข้อนี้นับว่าเป็นระเบียบสำคัญ

วิธีใช้ถ้อยคำตามระเบียบเหล่านี้ ในภาษาบาลีและสันสกฤตใช้ เปลี่ยนแปลงส่วนท้ายของคำเป็นพื้น เช่น ‘ชโน’ เป็น กรรตุการก ‘ชนํ’ เป็น กรรมการก หรือ ‘โจโร’ เป็น ปุลลึงค์ และ ‘โจรี, เป็น สตรีลึงค์ ดังนี้เป็นต้น แต่ในภาษาไทยไม่เป็นเช่นนั้น มีที่สังเกตวิธีใช้เป็น ๔ อย่าง คือ:-

(๑) มีคำสำหรับใช้เฉพาะเป็นคำๆ วิธีใช้สำหรับลึงค์ เช่น ปุลลึงค์ ก็มีคำพวกหนึ่ง เช่น ปู่ ตา ลุง อ้าย เป็นต้น สตรีลึงค์ก็มีคำพวกหนึ่ง เช่น ย่า ยาย ป้า อี เป็นต้น วิธีนี้ในภาษาบาลีและสันสกฤตก็มีเหมือนกัน เช่น ปุลลึงค์-บิดา บุรุษ สามี เป็นต้น สตรีลึงค์-มารดา สตรี ภรรยา เป็นต้น

(๒) ใช้คำอื่นประกอบ วิธีนี้ใช้เป็นพื้นในภาษาไทย เช่น คำ ‘ลูก, เด็ก’ เป็นอลึงค์ เมื่ออยากจะให้เป็นลึงค์อะไรหรือพจน์อะไรเป็นต้น ก็เอาคำ อื่นประกอบเข้า เช่น ปุลลึงค์-ลูกชาย เด็กชาย สตรีลึงค์-ลูกสาว เด็กหญิง และเป็นเอกพจน์-ลูกคนเดียว เด็กนี้ พหูพจน์-ลูกมาก เด็กเหล่านั้น ดังนี้ เป็นต้น

(๓) ใช้เนื้อความของคำบ่ง คือใช้เนื้อความของคำนั้นๆ เป็นเครื่อง หมายบอกระเบียบต่างๆ เช่นลึงค์ พจน์ ฯลฯ เช่นตัวอย่าง ‘ไก่ไข่’ และ ‘คนพูดกัน’ ดังนี้ คำว่า ‘ไข่’ บ่งความบอกลึงค์ว่าเป็นไก่ตัวเมีย และคำ ‘กัน’ บ่งความพหูพจน์ว่า คนหลายคน ดังนี้เป็นต้น

(๔) ใช้เรียงลำดับคำ วิธีใช้สำหรับกรรตุการกและกรรมการก เพราะ  การกทั้ง ๒ นี้มีรูปเดียวกัน ต้องอาศัยวิธีเรียงลำดับเป็นที่สังเกตว่าเป็นการกอะไร เช่น กล่าวว่า ‘สัตว์ กิน คน’ ดังนี้ต้องเข้าใจว่า ‘สัตว์’ เป็นกรรตุการก และ ‘คน’ เป็นกรรมการก แต่ถ้าเรียงกลับกันเสีย เป็น ‘คนกินสัตว์, ดังนี้ การกก็ย่อมเปลี่ยนไปตรงกันข้ามตามลำดับที่เรียงไว้

ข้อสังเกต ตามนิยมในภาษาไทย ถ้ามีวิธีใดใน ๔ วิธีข้างบนนี้บอกให้รู้ว่า เป็น ลึงค์ พจน์ หรือระเบียบใดๆ อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องใช้วิธีอื่นบอก ลึงค์ พจน์ หรือระเบียบนั้นๆ ให้ซ้ำกันอีก เช่น ตัวอย่าง ‘ไก่ไข่ คนพูดกัน’ ดังข้อ (๓) ข้างบนนี้ เนื้อความของคำ ‘ไข่’ และ ‘กัน’ บอกลึงค์และพจน์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องหาคำอื่นประกอบบอกลึงค์ว่า ‘ไก่ ตัวเมีย ไข่’ หรือ ‘คน ทั้งหลาย พูดกัน’ ก็ได้ ถึงระเบียบอื่นๆ ก็เหมือนกัน เช่น “วานนี้ ฉันนอนวันยังค่ำ” ดังนี้ คำ ‘วานนี้’ บอกอดีตกาลอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องใช้ว่า ‘ได้ นอน’ เพื่อบอก อดีตกาลซ้ำเข้ามาอีก เป็นต้น เพราะฉะนั้นการใช้ถอยคำตามระเบียบทั้ง ๘ นั้น ให้สังเกตตามวิธีทั้ง ๔ ข้างต้นนี้ จะสังเกตแต่เพียงรูปของคำหรือคำประกอบเท่านั้นไม่พอ

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

ชนิดของคำบาลีและสันสกฤต

ชนิดของคำไทยที่อธิบายมาแล้ว มีรูปโครงคล้ายคลึงกับภาษาอังกฤษ ส่วนชนิดคำบาลีและสันสกฤตนั้น มีรูปโครงไปอีกอย่างหนึ่ง จะยกมากล่าวเป็นเลาๆ พอเป็นหลักแห่งความรู้ เพราะภาษาไทยเราใช้คำบาลีและสันสกฤตเป็นพื้น จึงควรรู้รูปโครงของภาษาเขาไว้บาง ดังนี้

คำบาลีและสันสกฤต กล่าวโดยย่อมี ๓ ชนิด คือ:-
(๑) นาม (๒) อัพยศัพท์* (๓) กริยา

(๑) นาม นั้นเขานับทั้งคำวิเศษณ์ประกอบนามและสรรพนามรวมเข้า ด้วย เรียกชื่อต่างกันเป็น ๓ คำ คือ นามนาม ตรงกับคำนามภาษาไทยพวกหนึ่ง คุณนาม ตรงกับ คำวิเศษณ์ ประกอบนามภาษาไทยพวกหนึ่ง และสรรพนาม ตรงกับสรรพนามภาษาไทยพวกหนึ่ง คำนามนาม และคุณนามนั้น โดยมากมักมาจากรากศัพท์ ที่เขาเรียกว่า ‘ธาตุ’ เขามีตำราที่ว่าด้วยวิธีเปลี่ยนคำธาตุนี้เป็นนามบ้าง เป็นวิเศษณ์บ้าง เป็นกริยาบ้าง ตำรานี้เรียก ‘ตำรากิตก์’ คำที่เปลี่ยนแปลงตามตำรานี้เรียกว่า ‘คำกิตก์’ จักนำมาแสดงไว้ข้างท้ายนี้ พอเป็นตัวอย่าง เพราะเรานำมาใช้ในภาษาไทยมาก ส่วนคำกิตก์ก็ใช้เป็นนามนามหรือเป็นคุณนามนั้นเขาเรียกว่า ‘นามกิตก์’ ที่ใช้เป็นกริยานั้นเขาเรียกว่า ‘กริยากิตก์’ ตามวิธีของเขา คำนามทั้ง ๓ พวกนี้มีวิธีเปลี่ยนแปลงรูปตาม ลึงค์ พจน์ การก อย่างเดียวกัน เขาจึงได้จัดไว้พวกเดียวกัน
…………………………………………………………………………………………
*อัพยศัพท์ อ่าน “อับ-พยะ-สับ” แปลว่า ศัพท์ไม่ฉิบหาย เอาความว่า ไม่เปลี่ยนรูป คือ ใช้คงที่
…………………………………………………………………………………………
(๒) อัพยศัพท์ คำพวกนี้ไม่มีวิธีเปลี่ยนแปลงรูปเป็นอย่างอื่นได้อย่าง นาม มี ๒ พวก คือ อุปสรรค คำประกอบหน้าศัพท์คล้ายคำวิเศษณ์ ดังอธิบายแล้วพวกหนึ่ง คำนิบาต สำหรับเชื่อมคำหรือความให้ติดต่อกัน มีลักษณะคล้ายกับคำสันธานในภาษาเราพวกหนึ่ง

(๓) กริยา คำพวกนี้เปลี่ยนแปลงมาจากคำธาตุ จัดเป็น ๒ พวก คือ กริยาอาขยาต เป็นกริยาใหญ่ของประโยคซึ่งมีวิธีเปลี่ยนแปลงรูป ยุ่งยากมาก เราไม่ใคร่ได้นำมาใช้ในภาษาไทยนัก ถึงจะมีบ้างก็มักจะทิ้งวิภัตติ ปัจจัย ที่ประกอบข้างท้าย เช่น ‘โจเทติ โจทยติ (ฟ้อง)’ ใช้แต่เพียงว่า ‘โจท’ หรือ ‘โจทย’ เป็นต้น พวกหนึ่ง กำ กริยากิตก์ ที่กล่าวแล้วในข้อนามอีกพวกหนึ่ง คำกริยากิตก์นี้ มีวิธีเปลี่ยนรูปอย่างเดียวกับคำนาม ซึ่งผิดกับกริยาอาขยาตมาก แต่ใช้เป็นกริยาได้อย่างเดียวกัน

คำบาลีและสันสกฤตที่เรานำมาใช้ในภาษาไทยโดยมากนั้น คือ

(๑) นามนาม (นาม) พวกหนึ่ง (๒) คุณนาม (คำวิเศษณ์ประกอบนาม หรือคุณศัพท์ ) พวกหนึ่ง (๓) คำกิตก์ ทั้งที่เป็นนามกิตก์และกริยากิตก์อีกพวกหนึ่ง นอกจากนี้ก็มีคำกริยาอาขยาตบ้างเล็กน้อยดังกล่าวแล้ว คำเหล่านี้ เมื่อตกมาในภาษาไทย มักจะลดวิภัตติที่ประกอบข้างท้ายออกเสีย เช่น ‘ชโน ชนา ชนํ ชเน ฯลฯ’ ใช้แต่รูปศัพท์เดิมว่า ‘ชน’ เท่านั้น

(๑) นามนาม นั้นเรานำมาใช้ดาษดื่น เช่น บุรุษ สตรี กษัตริย์ เป็นต้น ที่ใช้คงเป็นนามตามเดิมก็มี ที่ใช้เป็นคำวิเศษณ์หรือกริยาก็มี แต่โดยมากมักจะเป็นคำกิตก์ ดังจะกล่าวข้างหน้า

(๒) คุณนาม นั้น เรานำมาใช้เป็นคำวิเศษณ์ประกอบนาม แต่มักจะ ใช้ติดกันเป็นคำนาม ซึ่งรวมกันเป็นคำสมาส ดังตัวอย่างคุณนาม ‘ธรรมิก เศวต สุนทร ลามก’ ฯลฯ มักจะใช้ควบนามว่า ‘ธรรมิกราช เศวตพัสตร์ สุนทรพจน์’ ดังนี้เป็นต้น ถ้าเป็นดังนี้ก็ต้องนับว่าเป็นคำสมาสคำเดียว ไม่ต้องแยกอย่างคำวิเศษณ์ ที่ใช้โดดๆ ในภาษาไทยก็มีบ้างแต่น้อย เช่น คนลามก สารเศวต เป็นต้น ดังนี้จึงควรแยกออกเป็นคำวิเศษณ์อย่างภาษาไทย

(๓) คำกิตก์ คำพวกนี้เรามักนำมาใช้เป็นนามบ้าง เป็นวิเศษณ์บ้าง เป็นกริยาบ้าง บางทีก็ไม่ตรงกับชนิดเดิมของเขา เช่น คำ ‘โทษ’ ของเขาเป็น นาม เรานำมาใช้เป็นนามก็มี เช่น ‘ เขามี โทษ ’ เป็นวิเศษณ์ก็มี ‘ เขาปล่อยคน โทษ’ เป็นกริยาก็มี เช่น ‘อย่า โทษ ฉัน’ ดังนี้เป็นต้น คำเช่นนี้ต้องสังเกตวิธีใช้ตามภาษาไทย แต่มีบางคำที่ท่านใช้ตามรูปศัพท์ เช่น ‘สุทธ (หมดจดแล้ว) ชาต (เกิดแล้ว)’ ดังนี้เป็นวิเศษณ์และสุทธิ (ความหมดจด) ชาติ (ความเกิด)’เป็นนาม เป็นต้น เหล่านี้สังเกตได้ตามรูปศัพท์เดิม

ต่อไปนี้จะคัดคำกิตก์มาไว้เพื่อให้สังเกตว่าไทยใช้อย่างไร
silapa-0114 - Copy

 

silapa-0115

silapa-0116 - Copy
ยังมีคำอื่นๆ อีกมาก ควรสังเกตตามหลักข้างต้นนี้

ยังมีข้อควรสังเกตอีกอย่างหนึ่ง คือบาลีและสันสกฤต ที่ไทยนำมาใช้เป็นกริยานั้น มักจะเป็นคำนามในภาษาเดิมของเขา เพราะคำกริยาของเขามีเครื่องประกอบรุงรัง ดังกล่าวแล้ว จึงไม่ใคร่นำมาใช้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

silapa-0116 - Copy1

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

คำอุทาน

คำอุทาน คำ “อุทาน”  แปลว่าเสียงที่เปล่งออกมาและคำอุทานในที่นี้หมายความถึงคำพวกหนึ่ง ที่ผู้พูดเปล่งออกมา แต่ไม่มีความแปล เหมือนคำชนิดอื่น เป็นแต่ให้ทราบความต้องการ หรือนิสัยใจคอว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เท่านั้น เช่นตัวอย่าง ‘เออ! เอ๊ะ! โอย! เอย!’ ดังนี้เป็นต้น บางทีก็เอาคำที่มีคำแปลมาเปล่งเป็นอุทานก็มี เช่น พุทโธ่! อนิจจา! อกเอ๋ย! เจ้าเอ๋ย! ดังนี้เป็นต้น แต่ก็ไม่มีกำหนดเนื้อความอย่างคำชนิดอื่นๆ เป็นแต่บอกอาการหรือความรู้สึกของผู้กล่าวเท่านั้น คำอุทานนี้แบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ (๑) อุทาน บอกอาการ (๒) อุทานเสริมบท ดังจะอธิบายต่อไปนี้:-

อุทานบอกอาการ คือ คำอุทานที่ผู้พูดเปล่งออกมาเพื่อให้รู้จักอาการต่างๆ ของผู้พูด มีเป็น ๒ อย่างคือ:-
(๑) ใช้บอกอาการในเวลาพูดจากัน เซ่น

ก. แสดงอาการร้องเรียกหรือบอกให้รู้ตัวได้แก่คำ เฮ้ย! แน่ะ! โว้ย!
แฮ้! นี่แน่! หนา! เป็นต้น

ข. แสดงอาการโกรธเคือง ได้แก่คำ ดูดู๋! เหม่! ชๆ! ชิ๋ะๆ! เป็นต้

ค. แสดงอาการประหลาดใจหรือตกใจ ได้แก่คำ เอ๊ะ! เอ! โอ!
คุณพระ! แหม! เออแน่ะ! แม่เจ้าโว้ย! เป็นต้น

ฆ. แสดงอาการสงสาร หรือปลอบโยน ได้แก่คำ พุทโธ่! พุทโธ่เอ๋ย! อนิจจา! เจ้าเอ๋ย! น้องเอ๋ย! เป็นต้น

ง. แสดงอาการเข้าใจหรือรับรู้ ได้แก่คำ อ้อ! หื้อ! เออ! เออน่ะ! เป็นต้น

จ. แสดงอาการเจ็บปวด ได้แก่คำ อุ๊ย! อุ๊ยหน่า! โอย! โอ๊ย! เป็นต้น

ฉ. แสดงอาการสงสัยหรือไต่ถาม ได้แก่คำ หือ! แห! หา! หนอ! เป็นต้น

ช. แสดงอาการห้ามหรือทักท้วง ได้แก่คำ ไฮ้! หื้อหือ! ฮ้า! เป็นต้น

ที่แสดงอาการอื่นๆ นอกจากนี้ก็ยังมีอีก คำเหล่านี้บางทีก็อยู่หน้าคำพูด บางทีก็อยู่หลังคำพูด เช่นตัวอย่าง ‘เฮ้ย! ไปไหน, ข้าไม่รู้ด้วย เน้อ!’ ดังนี้เป็นต้น และต้องใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) กำกับข้างท้ายด้วย เพื่อให้ผู้อ่านทำเสียงให้เหมือนกับที่เป็นจริง

(๒) ใช้สอดลงในระหว่างถ้อยคำ เพื่อให้ถ้อยคำนั้นสละสลวยยิ่งขึ้น ได้แก่คำ ‘อ้า โอ้ แฮ เฮย แล อา เฮย นอ’ เหล่านี้เป็นต้น คำพวกนี้มักจะใช้ในคำประพันธ์ต่างๆ เช่นตัวอย่างที่ใช้ในสร้อยโคลงว่า ‘เถิด นา จริงแฮ พ่อ เฮย’ ดังนี้เป็นต้น ที่จริงคำพวกนี้เดิมก็เป็นอย่างเดียวกับคำในข้อ (๑)  แต่เอามาใช้เปลี่ยนแปลงวรรณยุกต์เสีย เช่น หนา เป็น นา, ฮ้า เป็น ฮา, แฮ้ เป็น แฮ เป็นต้น เพื่อให้เสียงวรรณยุกต์เข้าระเบียบของคำประพันธ์๑  และอุทานพวกนี้ไม่ต้องมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ เพราะไม่ต้องทำให้เหมือนเสียงพูดจริงๆ

อุทานเสริมบท๒ คำอุทานที่ผู้พูดกล่าวเพิ่มเติมถ้อยคำเสริมขึ้น เรียกว่า ‘อุทานเสริมบท’ อุทานพวกนี้มักจะนิยมใช้แต่ในภาษาไทย เพราะ ภาษาไทยมีน้อยพยางค์พูดหมดเสียงเร็ว จึงมีวิธีใช้ลากหางเสียงเลียนคำเดิมเยิ่นออกไปอีก เช่นตัวอย่าง ลูก เต้า, แขน แมน, เลข ผา, เป็นต้น ดังนี้คำ ‘เต้า แมน, ผา’ ย่อมไม่มีใจความเลย เรียกว่า คำอุทานเสริมบท บางทีก็เป็นคำธรรมดาเรานี่เอง แต่ผู้พูดไม่ประสงค์เนื้อความของคำนั้นเลย เช่นกล่าวว่า ‘ไม่ลืมตา ลืมหู บ้างเลย, ไม่มีเรือ แพ จะไปเที่ยว’ ดังนี้คำ ‘ลืมหู’ หรือ ‘แพ’ ในที่นี้ต้องเป็นอุทานเสริมบท เพราะผู้พูดไม่ต้องการความหมายของคำเสริมนั้นเลย แต่ต้องการให้คำหน้านั้นแน่นอนยิ่งขึ้น ซึ่งแต่เดิมก็เอาคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันมาเสริม เช่น’ ‘เสื่อ สาด, เรือ แพ, ม้า ลา ฯลฯ’ ครั้นต่อมา คำเสริมเหล่านี้ก็เลอะเลือนไป โดยไม่มีใครเอาใจใส่ จึงไม่ใคร่รู้ความหมาย เช่น ลูก เต้า, แขน แมน ฯลฯ ครั้นต่อมาก็ใส่คำเสริมเอาเองพอให้คล้องจองเท่านั้น, ‘ชามแซม, ผู้หญิงยิงเรือ’ เป็นต้น

ข้อสังเกต คำอุทานเสริมบทนี้ ให้สังเกตว่า ผู้พูดกล่าวโดยไม่ต้องการ เนื้อความเลย เป็นแต่กล่าวให้คล้องจองเท่านั้น แต่ถ้าคำที่กล่าวต่อออกไปนั้น มีเนื้อความเข้ารูปเป็นเรื่องเดียวกันได้ ก็ไม่นับว่าเป็นอุทานเสริมบท ดังกล่าวว่า ‘ไม่ดูไม่แล’ หรือ ‘เขาเป็นลูกเป็นหลาน’ ดังนี้ เนื้อความเข้ากันได้ ต้องนับว่าเป็นคำชนิดอื่น ทั้งนี้ต้องเอาความเป็นใหญ่ตามที่เรียนมาแล้ว และอุทานพวกนี้ไม่ต้องใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ เพราะไม่ต้องดัดเสียงอย่างอุทานข้อต้น
………………………………………………………………………………………….
๑. การใช้เสียงวรรณยุกต์เข้าระเบียบคำประพันธ์นี้ หนังสือโบราณใช้มาก เช่น อย่า เป็น ยา, ทั้ง เป็น ทัง, เพี้ยง เป็น เพียง เป็นต้น

๒. อุทานเสริมบทนี้ เดิมคงติดมาจากภาษาจีนซึ่งมีเป็นพื้น เขาเรียกว่า ‘คำซ้อน หรือ คำร่วม’ เพื่อให้ความหมายแน่นอน เพราะภาษาของเขามีคำพ้องมากอย่างของเรา เช่น หยูกยา, เยียวยา, เชื้อเชิญ, เชื้อสาย ฯลฯ ถ้าจะใช้คำเดียวว่า‘ ยา ’หรือ ‘ เชื้อ ’คงเลอะ
………………………………………………………………………………………….

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

คำสันธาน

คำว่า สันธาน แปลว่าการต่อหรือเครื่องต่อ หมายความถึงคำพวกหนึ่ง ซึ่งใช้ต่อเชื่อมถ้อยคำให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งทำหน้าที่เป็นบท เชื่อมมี ๓ อย่างด้วยกัน คือ:-

(๑) ใช้เชื่อมคำให้ติดต่อกัน เช่น คำ “กับ และ” ในความต่อไปนี้

ก. อ่าน กับ เขียน ข. ลูก และ หลาน และเหลน เป็นต้น (ถ้าเชื่อมคำมาก กว่า ๒ คำขึ้นไป มักละสันธานข้างหน้าที่ซ้ำกันออกเสีย เช่น ข้อ ข. คงกล่าวแต่ว่า ‘ลูกหลาน และ เหลน’)

(๒) ใช้เชื่อมประโยคให้ติดต่อกัน คือ:
เชื่อมประโยคที่มีใจความเท่ากันดังคำ ‘และ’ ในความต่อไปนี้ ‘ผัวเดิน ข้างหน้า และ เมียเดินข้างหลัง ฯลฯ

(๓) เชื่อมให้ความติดต่อกันมี ๒ อย่าง คือ:-
ก. เชื่อมความตอนต้นกับตอนต่อไปให้ติดต่อกัน เช่นกล่าวเนื้อความ ตอนต้นจบแล้ว ก็ใส่สันธานบางคำ เช่น ‘เพราะฉะนั้น เหตุฉะนี้ แต่แท้จริง’ เป็นต้น คั่นลงแล้วก็กล่าวเนื้อความต่อไป ให้ติดต่อกับความตอนต้นอย่างหนึ่ง

ข. กับให้เชื่อมความในประโยคเดียวกัน หรือเรื่องเดียวกันให้ได้ความติดต่อกัน สละสลวยขึ้น เช่น ตัวอย่าง ‘เขา ก็ เป็นคนดีเหมือนกัน คนเราก็ต้องมีผิดพลาดบ้างเป็นธรรมดา’ ดังนี้เป็นต้นอีกอย่างหนึ่ง

คำสันธานทั้งหลายไม่จำเป็นจะต้องอยู่ระหว่างประโยค หรือระหว่างความเสมอไป จะสอดลงไว้ในที่แห่งใดก็ได้ และจะใช้กี่คำก็ได้แล้วแต่เหมาะ คำสันธานบางคำไม่อยู่ในที่แห่งเดียว มีคำอื่นคั่นอยู่ เช่นคำ ‘ทั้ง…และ ถึง…ก็’ ฯลฯ ในความต่ไปนี้ ‘ ทั้ง ลูก และหลาน ถึง ฝนตก ก็ ต้องไป’ ดังนี้เป็นต้น

เชื่อมความคล้อยตามกัน มีอยู่ ๒ อย่างคือ:-
๑. เชื่อมความที่มีเวลาต่อเนื่องกัน ได้แก่ คำว่า ‘ก็…จึง ครั้น…จึง ครั้น…ก็ เมื่อ…ก็ พอ…ก็ เป็นต้น ตัวอย่าง เขาทำอะไรก็มักสรรเสริญเขา เขาอาบน้ำแล้ว จึง กินข้าว ครั้น ถึง จึง อาบน้ำ พอ ฝนตกฉัน ก็ นอน เป็นต้น

๒. เชื่อมความให้รวมกัน ได้แก่คำว่า ‘กับ และ ก็ได้ ก็ดี ทั้ง ทั้ง…ก็ ทั้ง…และ ทั้ง…กับ’ เป็นต้น ตัวอย่าง ‘ยายกินข้าว กับ กินขนม ยานี้ใช้กิน ก็ได้ ทา ก็ได้ เขาจะตี ก็ดี ด่า ก็ดี ฉันไม่โกรธเขา วันนี้ ทั้ง ฝน ก็ ตก ทั้งแดด ก็ ออก’ เป็นต้น

เชื่อมความที่แย้งกัน ได้แก่คำว่า แต่ แต่ว่า แต่ทว่า ถึง..ก็ กว่า…ก็’ เป็นต้น ตัวอย่าง เช่น ‘น้ำขึ้น แต่ ลมลง เขานอน แต่ว่า เขาไม่หลับ ปากเขาร้าย แต่ทว่า ใจเขาดี ถึง เขาสู้ไม่ได้เขา ก็ ไม่กลัว กว่า ถั่วจะสุกก็ งาไหม้’ ดังนี้เป็นต้น

เชื่อมความต่างตอนกัน  สันธานพวกนี้มักจะใช้เชื่อมข้อความที่กล่าวถึงตอนหนึ่งจบแล้ว กับข้อความที่จะกล่าวอีกตอนหนึ่งให้ติดต่อกัน ได้แก่คำว่า ‘ฝ่าย ส่วน ฝ่ายว่า ส่วนว่า อนึ่ง อีกประการหนึ่ง’ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ‘นาย ก นาย ข สองคนพี่น้อง นาย ก ช่วยบิดาทำงานที่บ้าน ฝ่าย นาย ข นั้นบิดาส่งไปเรียนหนังสือ’ ดังนี้เป็นต้น

เชื่อมความที่เป็นเหตุผลแก่กัน คือ :-
เชื่อมความที่เป็นผลของความเบื้องต้น ได้แก่คำว่า ‘จึง ฉะนั้น ฉะนี้ ฉะนั้น…จึง เพราะฉะนั้น เหตุฉะนี้ เป็นต้น ตัวอย่าง เช่น ‘นาเน่ายุง จึง ชุม เขาไม่อยากเกี่ยวข้องกบใคร ฉะนั้น เขา จึง ไม่เคยคบเพื่อน ดังนี้เป็นต้น

เชื่อมความที่เลือกเอา ได้แก่คำว่า ‘หรือ มิฉะนั้น ไม่เช่นนั้น หรือมิฉะนั้น ไม่…ก็’ เป็นต้น มีที่ใช้เป็น ๒ อย่าง คือ:

(๑) ใช้ในความถาม เช่น ตัวอย่าง ‘ท่านจะอยู่หรือจะไป? ท่านชอบ หรือไม่ชอบ?’ เป็นต้น บางทีก็ย่อความข้างท้ายที่ตรงกันข้ามไว้ในที่เข้าใจ เช่น กล่าวว่า ‘ท่านชอบขาว หรือ ดำ (หรือ ท่านชอบคนดำ) ท่านจะยอม หรือ ไม่ (หรือท่านไม่ยอม) ท่านจะไป หรือ (หรือท่านจะไม่ไป)’ ดังนี้เป็นต้น คำ ‘หรือ”ไม่’ พูดเร็วเข้ากลายเป็น ‘ไหม’ เช่น ‘กินไหม?’‘นอนไหม?’ ดังนี้ คำ ‘ไหม’ เลยแยกออกไม่ได้ ต้องเป็นปฤจฉาวิเศษณ์

(๒) ใช้ในที่ไม่ใช่คำถาม เช่นตัวอย่าง ‘นาย ก หรือ นาย ข ต้องมาหาฉัน ท่านต้องทำงาน มิฉะนั้น ต้องลาออก อย่านั่งเปล่า อ่านหนังสือไป ไม่ ก็ นอนเสีย’ ดังนี้เป็นต้น

เชื่อมความที่แบ่งรับรอง ได้แก่คำสันธานที่ใช้เชื่อมความซึ่ง บอกคาดคะเน หรือบอกแบ่งรับแบ่งสู้ ได้แก่คำว่า ‘ถ้าและ ถ้า…ก็’ เป็นต้น ตัวอย่าง ‘ถ้า และ ฝนไม่ตก ฉันจะไป ถ้า ฝน ไม่ตกฉัน ก็ จะไป’ ดังนี้เป็นต้น

ชนิดที่เชื่อมเพื่อให้ความสละสลวย ได้แก่คำสันธานใช้เชื่อมความ เพื่อช่วยเนื้อความให้บริบูรณ์เรียบร้อยตามโวหารที่ใช้พูดกัน, คำพวกนี้บาง ทีก็ใส่ไว้ในต้นข้อความ เช่นตัวอย่างำ ‘ทำไม กับ’ และคำ ‘อันว่า ’ ในความต่อไปนี้ ‘ทำไมกับ หูแหว่งจมูกวิ่น ถึงจะด้วนไปสิ้นก็ของข้า ’ และ อันว่า อรรถคดีอันโบราณกษัตราธิราชได้ทรงบัญญัติไว้’ เป็นต้น บางทีก็สอดลงในที่ต่างๆ เช่นคำ ‘ก็’ ในความต่อไปนี้ ‘เรา ก็ เป็นมนุษย์คนหนึ่งนี่นา เรา ก็ ไม่เลวทีเดียวนัก ดังนี้เป็นต้น บางทีก็เป็นคำประสม เช่น ‘อย่างไรก็ดี’ ‘อย่างไรก็ตาม’ เป็นต้น สอดลงในที่ต่างๆ แล้วแต่ความจะเหมาะ สันธานพวกนี้มีที่ใช้มาก ให้พึงสังเกตว่า นอกจากคำสันธานที่มีลักษณะดังกล่าวแล้วข้างบน ต้องนับเข้าในสันธานพวกนี้ทั้งสิ้น

ข้อสังเกต คำสันธาน บางทีก็มีลักษณะคล้ายกับคำชนิดอื่นๆ ข้อสำคัญ ให้สังเกตว่า คำใดถ้านำมาใช้เชื่อมถ้อยคำตามลักษณะที่อธิบายมาแล้ว ต้องนับว่าเป็นสันธานทั้งสิ้น มีชื่อต่างกันตามวิธีที่กล่าวข้างบนนี้

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

คำบุพบท

บุพบท (อ่าน บุบ-พะ-บท) แปลว่าคำหน้าบท* หมายความ ถึงคำชนิดที่ใช้นำหน้านาม สรรพนาม หรือกริยาบางพวกที่เรียกว่า กริยาสภาวมาลา เพื่อบอกตำแหน่งของคำนาม สรรพนาม หรือกริยาเหล่านั้นว่า มีหน้าที่เป็นอะไร เช่นตัวอย่างว่า ‘เขาตีฉันด้วยมือ’ ดังนี้บุพบท ‘ด้วย’ บอกตำแหน่งของคำ ‘มือ’ ว่ามีหน้าที่สำหรับตี เป็นต้น

คำบุพบทภาษาไทย ต่างกับบุพบทของภาษาอังกฤษอยู่บ้าง คือของเขา ต้องทำหน้าที่เชื่อมคำให้ติดต่อกันเป็นข้อสำคัญ แต่ของไทย ‘บุพบท’หมายถึง คำหน้าบท นามซึ่งท่านตั้งขึ้นแทนวิภัตติในภาษาบาลี ดังนั้นจึงนำหน้าคำที่ตั้งต้นขึ้นเฉยๆ ก็ได้ เช่นตัวอย่างคำบุพบท ‘ดูกร ข้าแต่’ ที่นำหน้าคำนามของผู้ถูกร้องเรียก (คำอาลปน์) เช่นตัวอย่าง ‘ดูกร สงฆ์ ข้าแต่ ท่าน’ ซึ่งไม่เชื่อมกับ คำใดเลย* เป็นต้น ดังจะกล่าวต่อไป เพื่อให้สะดวกแก่การศึกษายิ่งขึ้น จึงรวบรัดบุพบทภาษาไทยออกเป็นจำพวกใหญ่ ๒ พวก คือ (๑) จำพวกที่ไม่เชื่อมกับคำอื่น และ (๒) จำพวกที่เชื่อมกับคำอื่น ดังจะอธิบายต่อไปนี้
………………………………………………………………………………………..
* บท ที่นี้หมายความกว้าง ได้แก่คำ วลี หรือประโยคก็ได้
*คำบุพบทในภาษาไทยนั้น ชั้นเดิมก็ตั้งขึ้นแทนวิภัตตินามในภาษาบาลี ซึ้งคำนามของเขาต้องมี วิภัตติ ติดอยู่ท้ายด้วยทุกคำ เราจึงตั้งคำบุพบทเหล่านี้แทน วิภัตติ ของบาลีเพื่อให้แปลได้ตรงกัน ต่างกันก็เพียงบาลีเอาวิภัตติไว้ท้าย แต่เราเอาบุพบทไว้หน้าตามระเบียบภาษาไทยของเรา เท่านั้น เช่นตัวอย่าง
เทวะ (อะ) = (ข้าแต่) เทวดา คำร้องเรียก (อาลปน์)
เทโว (โอ) = (อันว่า) เทวดา คำประธาน
เทวํ (อํ) = (ซึ่ง) เทวดา คำกรรม
เทเวน (เอน) = (ด้วย) เทวดา คำทำหน้าที่เครื่องใช้
เทวายะ (อายะ) = (แก่) เทวดา คำทำหน้าที่ผู้รับ ดังนี้เป็นต้น

คำในวงเล็บท้ายบาลีคือวิภัตตินาม คำในวงเล็บหน้าคำไทยนั้น คือคำบุพบทซึ่งตั้งขึ้นแทนวิภัตตินาม ที่จรงคำบุพบทของเราไม่มีมาก เพิ่งมามีมากภายหลังเมื่อเรานิยมใช้ภาษาบาลี อนึ่งคำ ‘อันว่า’ ที่ท่านใช้นำหน้าประธานนั้น สังเกตเห็นเป็นคำนำหน้าข้อความเป็นพื้นไม่มีนำหน้าคำเลย จึงจัดไว้ในชนิดคำสันธาน
…………………………………………………………………………………………
บุพบทที่ไม่เชื่อมกับคำอื่น  บุพบทพวกนี้คือบุพบทที่เนื่องมาจากภาษาบาลี มีหน้าที่นำหน้าคำอื่นเท่านั้น แต่ไม่ได้เชื่อมกับคำข้างหน้าเลย จึงมักจะมีในหนังสือเทศน์ และข้อความที่ใช้ศัพท์แสงทำนองบาลี เช่น คำ ประพันธ์ต่างๆ เป็นต้น อันนับว่าเป็นภาษาไทยของเราเหมือนกัน บุพบทพวกนี้จำแนกออกเป็นประเภทได้ดังนี้

ก. บุพบทนำหน้าคำอาลปน์ หมายถึงบุพบทที่นำหน้าคำร้องเรียก ได้แก่คำ ‘ดูกร ดูรา ดูก่อน ข้าแต่’ เหล่านี้ ซึ่งโดยธรรมดาเราจะพูดกับใคร เราจะต้องเรียกผู้นั้นขึ้นก่อน เพื่อให้ฟังคำพูดของเราต่อไป คำที่เราเรียกนี้มัก เป็นสามานยนาม เช่น ‘นักเรียนทั้งหลายฟังฉันพูด’ หรือเป็นวิสามานยนาม เช่น ‘นายแดงฟังฉันพูด’ หรือเป็นสรรพนามบุรุษที่สอง เช่น ‘ท่านทั้งหลาย ฟังฉันพูด’ ฯลฯ คำนั้น เรียกว่า นาม หรือ สรรพนาม อาลปน์ แต่คำอาลปน์เหล่านี้ ท่านมักใช้คำบุพบทนำหน้าเข้าอีก เพื่อให้ตรงกับภาษาบาลี เช่น ‘ดูกรนักเรียนทั้งหลาย ดูรานายแดง ข้าแต่ท่านทั้งหลาย’ เป็นต้น หรือ บางทีก็ใช้คำอุทานนำหน้าบ้าง เช่น ‘แน่ะ! นักเรียนทั้งหลาย เฮ้ย!นายแดง โอ!ท่านทั้งหลาย’ ดังนี้เป็นต้น คำบุพบทจำพวกนี้เมื่อเวลาบอกสัมพันธ์ ท่านให้เขียนรวมกับคำอาลปน์ซึ่งเรียกว่า ‘บุพบทวลี* อาลปน์’ มิได้มีหน้าที่ประกอบส่วนใดๆ ของประโยคเลย ถึงแม้ว่าจะกรอกไว้ในตารางช่อง ‘บทเชื่อม’ อย่างเดียวกับคำอุทาน แต่ก็ไม่บ่งความว่าเป็นบทเชื่อมกับคำใดๆ เลย ดังนั้นจึงจัดว่าเป็นบุพบทไม่เชื่อมกับคำอื่น ซึ่งมีใช้อยู่ ๔ คำ คือ ‘ดูกร ดูรา ดูก่อน ข้าแต่’ และใช้ในที่ต่างกัน คือคำ ‘ดูกร ดูรา ดูก่อน’ ใช้นำหน้านามหรือสรรพนามผู้น้อย แต่คำ ‘ขำแต่’ นั้นใช้นำหน้านามหรือสรรพนามผู้ใหญ่ หรือในที่กล่าวถ่อมตัว เช่นตัวอย่าง พระพุทธองค์ ตรัสว่า ‘ดูกรสงฆ์’ พระสงฆ์ทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์…’ และปาฐกกล่าวว่า ‘ข้าแต่ท่านสมาชิกทั้งหลาย’ เป็นต้น
………………………………………………………………………………………….
*วลี หมายถึงคำกลุ่มหนึ่งตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป เรียกชื่อตามคำข้างหน้า เช่นคำหน้าเป็นบุพบท ว่า “ของฉัน ในบ้าน ฯลฯ” ก็เรียก “บุพบทวลี” และคำนามนำหน้าว่า “นกยางกรอก คนไทย ฯลฯ” ก็เรียกนามวลีเป็นต้น ซึ่งจะมีกล่าวพิสดารในวากยสัมพันธ์
………………………………………………………………………………………….
ข้อสังเกต คำอุทานเช่น แน่ะ! เฮ้ย! ฯลฯ ก็นำหน้าคำอาลปน์ได้เหมือนกัน เช่น ‘แน่ะ! ท่านดูโน่น’ ‘เฮ้ย! เด็กดูโน่น’ฯลฯ แต่มีลักษณะต่างกัน คือ คำอุทานเหล่านี้ถึงจะแปลไม่ได้ก็มีความหมายเฉพาะคำ เช่น‘แน่ะ!’ เป็น สำเนียงร้องให้ดู และ ‘เฮ้ย!’ เป็นสำเนียงร้องให้รู้แล้ว และจะเอาไว้หลังสรรพนามหรือเอาไว้ลอยๆ ก็ได้ เช่น ‘ ท่าน แน่ะ, ดูโน่น ’ หรือ ‘ แน่ะ! ดูโน่น ’ เป็นต้น แต่บุพบทพวกนี้มีหน้าที่อย่างเดียวที่นำหน้าคำอาลปน์อย่างบุพบทอื่นๆ เท่านั้น จะเอาไว้ข้างหลังนามหรือเอาไว้ลอยๆ ว่า ‘ท่านดูกร ดูโน่น’ หรือว่า ‘ดูกร ดูโน่น’ ไม่ได้ทั้งนั้น

บุพบทที่นำหน้าการิตการก’ คือคำที่ทำหน้าที่รับใช้ ได้แก่คำ ‘ยัง’ ซึ่งติดมาจากภาษาบาลีว่า ‘ครูยังศิษย์ให้นอน’ คำ ‘ยัง’ หาได้เชื่อมกับคำ ‘ครู’ ข้างหน้าไม่ แต่ใช้นำหน้าคำ ‘ศิษย์’ อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งยังมีใช้อยู่ในภาษาไทย เช่นในคำเทศน์และคำประพันธ์เป็นต้น จึงยังคงใช้เรียกอยู่ว่าบุพบทนำหน้าคำการิตการก แต่ที่ไทยใช้ทั่วไปนั้น ใช้ว่า ‘ครูให้ศิษย์นอน’ หาต้องใช้ ‘ยัง’ นำหน้าศิษย์ไม่ ดังจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า*

บุพบทที่เชื่อมกับบทอื่น คือบุพบทที่นำหน้านาม สรรพนาม หรือกริยาสภาวมาลาดังกล่าวแล้ว รวมกันเป็นบุพบทวลีซึ่งจะกล่าวในวากย-สัมพันธ์ต่อไป ย่อมทำหน้าที่ประกอบคำอื่นทั้งนั้น เว้นไว้แต่บุพบทนำหน้าคำ อาปน์และการิตการกเท่านั้น และเมื่อบุพบทวลีประกอบคำใด คำบุพบทนำหน้าวลีก็ได้ชื่อว่าเชื่อมคำนั้นให้ติดต่อกับคำท้ายวลีนั้นๆ ด้วย ตัวอย่าง ‘เสื้อของฉัน’ ดังนี้ คำ ‘ของ’ ซึ่งอยู่หน้าบุพบทวลี ‘ของฉัน’ ย่อมเชื่อมคำ ‘เสื้อ’ ข้างหน้าให้ติดต่อกับคำ ‘ฉัน’ ข้างท้ายเสมอไป ดังนั้นท่านจึงเรียกชื่อตามหน้าที่ของคำข้างท้ายบุพบทนั้นๆ เช่นบุพบทนำหน้านามหรือสรรพนามเจ้าของเป็นต้น คงจะแยกไว้เป็นประเภทๆ ให้สังเกตเป็นหลักต่อไปนี้
…………………………………………………………………………………………
*ยังมีบุพบทที่ใช้นำหน้ากรรตุการกในประโยคกรรมตามแบบบาลีอีกคำหนึ่ง คือคำ ‘อัน’ ซึ่งตรงกับคำ ‘โดย’ ในสำนวนอังกฤษ เช่น ‘หนังสือเขียนโดยนาย ก’- แต่บาลีว่า ‘หนังสืออัน นาย ก เขียน’ แต่มาเป็นภาษาไทยคำ ‘อัน’ ที่นี้เป็นคำประพันธสรรพนามในภาษาไทย หาใช่เป็น
คำบุพบทอย่างคำ ‘ยัง’ ไม่
………………………………………………………………………………………….
ก. บุพบทนำหน้ากรรม ไค้แก่คำ ‘ซึ่งแก่’ ที่จริงบุพบทที่ใช้นำหน้ากรรมการก (ผู้ถูกกระทำ) ในภาษาไทยเราไม่นิยมใช้เลย มักชอบใช้กรรม
การก ลอยๆ ว่า ‘เขาชอบเด็ก เขาชอบฉัน’ เป็นต้น

คำ ‘ซึ่ง’ ที่ใช้นำหน้ากรรมการกนี้มักติดมาจากหนังสือเทศน์ ซึ่งท่านใช้ ตามสำนวนบาลี เช่น ‘คนต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เขาบริโภคซึ่งอาหาร’ เป็นต้น

คำ ‘แก่’ นี้ใช้ในหนังสือโบราณ เช่นตัวอย่าง ‘พระองค์อาศัย แก่ เชตุพน วิหาร’ เป็นต้น บัดนี้ไม่ได้ใช้แล้ว มีใช้อยู่บ้างก็เป็นคำพิเศษ เช่น ใช้แก่ กริยา‘ถึง’เช่น‘ถึงแก่กรรม ถึงแก่พิราลัย ลุแก่โทษ ฯลฯ’ และกริยา ‘เห็น’ เช่น ‘เห็นแก่หน้า เห็นแก่สินบน’ เป็นต้น

หมายเหตุ บุพบทที่นำหน้ากรรมการกนี้ ในภาษาสามัญไม่นิยมใช้โดย มาก แต่คำ ‘ซึ่ง’ ยังคงใช้อยู่บ้างในสำนวนติดมาจากหนังสือเก่า ดังตัวอย่างข้างบนนี้ประการหนึ่ง หรือใช้ประโยคที่มีภาคกริยายืดยาว เมื่อใส่ ‘ซึ่ง’ เข้าจะได้รู้ง่ายว่าเป็นภาคกรรมของประโยคนั้นๆ เช่น ‘ผู้ใดฆ่าก็ดี ให้ผู้อื่นฆ่าก็ดี ซึ่ง สัตว์มีชีวิต….” เป็นต้น ข้อหลังนี้ยังมีประโยชน์ควรเลือกใช้ตามควร

ข. คำบุพบทที่นำหน้าคำที่เป็นเจ้าของ ได้แก่ ‘แห่ง, ของ’ ซึ่งเชื่อมกับนามข้างหน้าเป็นพื้น เช่นตัวอย่าง ‘บุตรแห่งนายสี, ชีวิตของเขา

หมายเหตุ ในบุพบททั้ง ๒ คำนี้ คำ ‘ของ’ แพร่หลายมากกว่าคำ ‘แห่ง’และคำ ‘ของ’ นอกจากใช้เช่นเดียวกับคำ ‘แห่ง’ ดังกล่าวแล้ว ยังใช้เชื่อมกับกริยาของประโยคเป็นพิเศษได้อีก เช่น ‘เรื่องนี้เขาคิดของเขาเอง’ หรือ ‘เขาพูดของเขาน่าฟัง’ ดังนี้เป็นต้น

ค. คำบุพบทนำหน้าบทบอกลักษณะ ได้แก่ บุพบทที่นำหน้าคำหรือวลี ที่ทำหน้าที่บอกลักษณะหรืออาการของบทข้างหน้า ซึ่งมักเป็นคำกริยา หรือ อาการนามเป็นพื้น ดังจะจำแนกไว้ให้เป็นที่สังเกตต่อไปนี้
(๑) นำหน้าบทที่บอกลักษณะเป็นเครื่องใช้ หรือมีอาการร่วมกัน ตาม กัน หรือแสดงอาการต่างๆ ได้แก่คำ ‘ด้วย กับ ทั้ง โดย ตามฯลฯ’ ตัวอย่าง ‘ตีด้วยไม้ เห็น กับ ตา ไป กับ เพื่อน อยู่ ด้วย กัน นอน ทั้ง เครื่องแบบ กล่าว โดย จริง เดิน ตาม ทาง ทำ ตาม กฎหมาย’ ดังนี้เป็นต้น

(๒) นำหน้าบทบอกลักษณะเป็นผู้รับ และเป็นความประสงค์ของบท หน้า ได้แก่คำ ‘แก่ แด่ ต่อ เพื่อ สำหรับ เฉพาะ’ เหล่านี้ เป็นต้น ดังตัวอย่าง ‘ให้เงิน แก่ บุตร  ถวาย แด่ เจ้านาย หาเงิน เพื่อ บุตร ยื่นคำร้อง ต่อ ศาล มีไว้ สำหรับ ชม มีไว้ เฉพาะ ตัวเขา’ เป็นต้น

ฆ. คำบุพบทนำหน้าบอกเวลา ได้แก่ บุพบทซึ่งนำหน้าคำหรือวลีที่ทำ หน้าที่บอกเวลา ดังจะจำแนกไว้พอเป็นที่สังเกต คือ:-

(๑) นำหน้าบทบอกเวลาทั่วไป ได้แก่คำ ‘เมื่อ ใน ณ’ ฯลฯ เช่น ‘เมื่อเช้า เมื่อวันที่ ๑ เดือนนี้ ใน กลางเดือน ณ วันที่ ๑ เดือนนี้’ เป็นต้น

(๒) นำหน้าบทบอกเวลาเริ่มต้น ได้แก่คำ ‘แต่ ตั้งแต่’ ฯลฯ เช่น ‘แต่เช้า ตั้งแต่เช้า’

(๓) นำหน้าบทบอกเวลาสุดท้าย ได้แก่คำ ‘จน กระทั่ง’ ฯลฯ ‘จน เช้า กระทั่ง เที่ยง’

(๔) นำหน้าบทบอกเฉพาะเวลา ได้แก่คำ ‘สำหรับ เฉพาะ’ ฯลฯ เช่น ‘สำหรับปีหน้า เฉพาะ ปีนี้’

หมายเหตุ บุพบทพวกนี้เชื่อมได้ทั้งนาม กริยา และวิเศษณ์แล้วแต่ความ เช่นตัวอย่าง ‘เชื่อมกับนาม-คน เมื่อ ครั้งโน้น อาหาร สำหรับ วันหน้า ฯลฯ เชื่อมกับคำกริยา-เขาไป แต่ เช้า เขาอยู่ จน เย็น เขาอยู่ เฉพาะ กลางคืน ฯลฯ และเชื่อมกับคำวิเศษณ์-หอม จน เย็น หอม เฉพาะ เวลาเช้า’ เป็นต้น

ง. บุพบทนำหน้าบทบอกสถาน ได้แก่ บุพบทที่นำหน้าคำหรือวลี อันทำหน้าที่บอกสถานที่ต่างๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับบุพบทนำหน้าคำบอกเวลาเหมือนกัน ดังจะจำแนกไว้พอเป็นตัวอย่างต่อไปนี้:-

(๑) นำหน้าบทบอกสถานที่ทั่วไป คือบอกสถานกว้างๆ ซึ่งไม่รู้ว่าตรงไหน  ได้แก่คำ  ‘ที่’  เช่นตัวอย่าง ‘ของ ที่ ตู้’ คำ ‘ที่’ หมายความกว้างๆ ว่า บนตู้ก็ได้  หรือ ใต้ตู้ ในตู้ ข้างตู้ก็ได้ ไม่จำกัดแน่นอน ดังนี้เป็นต้น

(๒) นำหน้าบทบอกสถานที่เฉพาะ เช่นคำ ‘ใต้ ใน เหนือ บน ข้าง ริม’ ฯลฯ เช่น ‘ของ ใน ตู้ ของ ใต้ ตู้ เป็นต้น

(๓) นำหน้าบทบอกระยะของสถานที่ เช่น ‘ใกล้ ไกล ห่าง ชิด’ ฯลฯ
ตัวอย่าง ‘บ้านอยู่ ใกล้ นา ป่าอยู่ ไกล เขา’ เป็นต้น

(๔) นำหน้าบทบอกสถานที่ต้นทางหรือเหตุการณ์ต้นเค้า เช่น  ‘แต่ จาก’ ตัวอย่าง ‘ต้นไม้เกิดแต่แผ่นดิน เขามาจากพระนครศรีอยุธยา’ เป็นต้น

(๕) นำหน้าบทบอกสถานที่เบื้องปลาย ซึ่งมักใช้กับกิริยาเคลื่อนไหว ‘ไป มา’ ฯลฯ ได้แก่คำ ‘ถึง สู่ ยัง ที่ จน กระทั่ง’ ฯลฯ ตัวอย่าง ‘ไป ถึง บ้าน ไป สู่ บ้าน มา ยัง บ้าน ไป ที่ บ้าน ตลอด จน ห้องสวม ไป กระทั่ง เมือง แขก’ เป็นต้น

จ. คำบุพบทนำหน้าบทบอกประมาณ ได้แก่บุพบทที่นำหน้าคำ หรือวลีที่ทำหน้าที่บอกกำหนดจำนวน มีประเภท ดังต่อไปนี้:-

(๑) นำหน้าบทบอกกำหนดแน่นอน ได้แก่คำ ‘สิ้น ทั้ง ทั้งสิ้น หมดทั้งตลอด พอ’ ฯลน ซึ่งเชื่อมได้ทั้งนาม กริยา หรือวิเศษณ์ ตัวอย่าง ‘ใช้เงิน สิ้น สามชั่ง ข้าว ทั้ง ยุ้งนี้ ข้าว ทั้งสิ้น สามยุ้งนี้ ทหาร หมดทั้ง กองร้อยนี้  นอน ตลอด คืน เก็บไว้ พอ สามปี เป็นต้น

(๒) นำหน้าบทบอกกำหนดไม่แน่นอน ได้แก่คำ ‘เกือบ ประมาณ สัก ราว’ ฯลฯ ซึ่งใช้ได้ทั่วไปอย่าง ข้อ (๑) ดังตัวอย่าง คน เกือบ สาม
ร้อย อยู่ เกือบ สามปี คน สัก ห้าร้อย ไปได้ ราว ห้าเส้น เป็นต้น

ข้อสังเกต วิธีสังเกตคำบุพบทที่เชื่อมกับคำอื่นนั้น ก็คือ บุพบทพวกที่ทำหน้าที่เชื่อมบทหน้ากับบทหลังให้ติดต่อกัน และความหมายสำคัญอยู่ที่บทหลัง ส่วนตัวบุพบทมีความหมายเพียงทำหน้าที่เชื่อมบททั้งสอง ให้ติดต่อกันอย่างหนึ่ง และแสดงว่า บทหลังบุพบทนั้นทำหน้าที่ประกอบบทหน้า เพื่อบอกลักษณะ บอกกาล บอกสถาน และบอกประมาณ ดังอธิบายมาแล้วอีกอย่างหนึ่งเท่านั้น จึงควรสังเกตไว้ว่า ใจความสำคัญอยู่ที่บทหังบุพบท ส่วนตัวบุพบทนั้นมีความหมายเพียงบอกหน้าที่ของบทหลังให้ละเอียดยิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้นในความหมายกว้างๆ เราจึงไม่ต้องใช้บุพบทเชื่อมก็ได้ เช่น ‘อยู่บ้าน’ ดังนี้ คำ บ้าน ก็เป็นบทประกอบบอกสถานที่อยู่แล้ว ถ้าจะให้ความหมายละเอียดยิ่งขึ้นก็เติมบุพบทลงไปว่า ‘อยู่ ใน บ้าน อยู่ ใกล้ บ้าน’ เป็นต้น หรือบางแห่งเรารู้ความหมายกันทั่วไปแล้ว เช่น ‘นอนเตียง นั่งเก้าอี้’ เช่นนี้ก็ไม่นิยมใส่บุพบทว่า ‘นอน บน เตียง นั่ง บน เก้าอี้’  ให้เป็นการยืดยาว ตัวอย่างเช่นนี้มีในภาษาไทยมากมาย เช่น ‘ว่ายน้ำ,กินตะเกียบ’ ฯลฯ บางแห่งเลยกลายเป็นคำประสมไปก็มี และยังมีข้อสังเกตเป็นพิเศษอีกหลายอย่าง ดังจะรวบรวมมาไว้พอเป็นหลักดังนี้ :

(๑) มีข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่ง คือ ถ้าคำบุพบทเหล่านี้ไม่มีบทตามหลัง ต้องนับว่าเป็นคำ ‘วิเศษณ์’ ประกอบบทหน้า เรียกชื่อตามความหมายของคำวิเศษณ์นั้นๆ ตัวอย่าง ‘ไปเมือง ไกล บ้าน ใกล้ เรือนเคียง เขาอยู่ ใต้ มาก ฉันอยู่ เหนือ มาก’ เป็นต้น

(๒) ใช้วิเศษณ์แทนบุพบทได้ในที่บางแห่ง ตัวอย่าง ‘บ้านอยู่ ไกล จากบ้านฉัน’ ‘บ้านเขาอยู่ ใกล้ กับบ้านฉัน’ คำ ไกล และ ใกล้ เป็นวิเศษณ์ ประกอบกริยา ‘อยู่’ และคำ ‘จาก’ และ ‘กับ’ เป็นบุพบทเชื่อมคำ ‘ไกล ใกล้’ ให้ติดต่อกับ ‘บ้านฉัน’ แต่ถ้าเราพูดละบุพบท จาก และ กับ เสียว่า ‘บ้านเขา อยู่ ไกล บ้านฉัน บ้านเขาอยู่ ใกล้ บ้านฉัน’ เช่นนี้ คำ ‘ไกล ใกล้’ ก็ทำหน้าที่ เป็นบุพบทแทน ‘จาก’ และ ‘กับ’ ได้

(๓) คำกริยารองที่ไช้เป็นวิเศษณ์ จะทำหน้าที่เป็นบุพบทไม่ได้ เพราะ ใจความอยู่ที่กริยารอง เช่นตัวอย่าง ‘เขาเดิน มา ยังบ้าน เขาวิ่ง ข้าม ซึ่งรั้ว เขาเดิน เตะ ซึ่งกระโถน’ ฯลฯ ดังนี้ถึงจะละบุพบทเสียว่า ‘เขาเดินมา บ้าน เขาวิ่ง ข้าม รั้ว เขาเดิน เตะ กระโถน’ เช่นนี้ คำ ‘มา ข้าม เตะ’ ไม่ใช่บุพบท แต่ทำหน้าที่เป็นวิเศษณ์ประกอบคำข้างหน้า ถึงละบุพบทหรือไม่ละก็ตาม ก็รวมเรียกว่าเป็น กริยาวลี แต่งคำข้างหน้าทั้งนั้น

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

คำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์ คือคำจำพวกที่ใช้ประกอบคำอื่นให้มีเนื้อความแปลกออกไป ได้แก่คำว่า ดี ชั่ว ขาว ดำ ต่ำ สูง เร็ว ช้า เป็นต้น สำหรับประกอบคำอื่น คือ
๑. ประกอบนาม เช่น ‘ม้าเร็ว’ ฯลฯ
๒. ประกอบสรรพนาม เช่น ‘ใครบ้าง’ ฯลฯ
๓.ประกอบกริยาเช่น ‘เดินช้า’ ฯลฯ
๔. ประกอบ วิเศษณ์ด้วยกัน เช่น ‘เร็วมาก’ ฯลฯ
และนอกจากนี้ คำวิเศษณ์ทำหน้าที่เป็นอกรรมกริยาได้ด้วย เช่น ตัวอย่าง ‘เขาโง่, เขาจักดีต่อไป’ คำ ‘โง่’ และ ‘ดี’ นี้เป็นคำวิเศษณ์ ทำหน้าที่เป็นอกรรมกริยา ดังกล่าวมาแล้ว

หมายเหตุ คำวิเศษณ์นี้ ภาษาฝรั่งเช่น อังกฤษ ฯลฯ เขามีเป็น ๒ รูป คือ รูปหนึ่งใช้ประกอบนามและสรรพนาม เราเรียกว่า ‘คุณศัพท์’ และอีก รูปหนึ่งใช้ประกอบกริยา คุณศัพท์ และประกอบวิเศษณ์ด้วยกันอีกชั้นหนึ่ง เราเรียกว่า ‘กริยาวิเศษณ์’ เพราะในภาษาเขามีรูปต่างกัน เช่น รูปคุณศัพท์ ‘ดี’เบน ‘กูด’ (good)’ และ ‘ชั่ว’ เป็น ‘แบด (bad)’ แต่รูปกริยาวิเศษณ์ของเขาไปอีกอย่างหนึ่ง เช่น ‘ดี’ เป็น ‘เวล (well)’ และ ‘ชั่ว’ เป็น ‘แบดลี่ (badly)’ ดังนี้เป็นต้น ดังนั้นเขาจึงเรียกชื่อเป็น ๒ อย่างตามรูปของมัน แต่ในภาษาไทยมีรูปอย่างเดียวกันทั้งหมด จึงเรียกว่าคำ‘วิเศษณ์’ ทั่วไป เพื่อสะดวกแก่การศึกษา และเชิงวิชาของเรา คำจำพวกนี้ในภาษาบาลีท่านก็เรียก “วิเสสนะ” ทั่วไปเหมือนกัน

และคำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่เป็นอกรรมกริยานั้น ในภาษาอื่นเขาต้องใช้ วิกตรรถกริยา ‘เป็น’ ประกอบ เช่น ‘เขาเป็นโง่’ ‘เขาเป็นดี’ เป็นต้น แต่ ในภาษาไทยใช้ ‘ เป็น ’ ประกอบไม่ได้ ถ้าใช้ ‘ เป็น ’ ประกอบเข้า มีเนื้อความเป็นพิเศษไปทางอื่น เช่น ‘เขาเป็นใหญ่’ ความกลายไปว่าเขาเป็นคนมีอำนาจ วาสนา หาใช่ตัวเขาใหญ่ไม่ เป็นต้น และคำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่เป็นกริยานี้ ย่อมใช้คำกริยานุเคราะห์ประกอบได้เหมือนกริยา เช่น ‘เขาคงชั่ว’ ‘เขาจักดี’ เป็นต้น

คำวิเศษณ์ รวมทั้งพวกประกอบนาม สรรพนาม กริยา และประกอบ วิเศษณ์ด้วยกัน จำแนกออกเป็น ๑๐ จำพวก คือ
(๑) ลักษณวิเศษณ์ (๒) กาลวิเศษณ์ (๓) สถานวิเศษณ์ (๔) ประมาณวิเศษณ์ (๕) นิยมวิเศษณ์ (๖) อนิยมวิเศษณ์ (๗) ปฤจฉาวิเศษณ์ (๘) ประติชญาวิเศษณ์ (๙) ประติเษธวิเศษณ์ และ (๑๐) ประพันธวิเศษณ์ ดังจะอธิบายต่อไปนี้

ลักษณวิเศษณ์ (อ่าน ลักสะหนะวิเสด) คือ คำวิเศษณ์บอกลักษณะ ซึ่งหมายถึงคำวิเศษณ์ประกอบนาม หรือสรรพนามเป็นพื้น ที่ใช้ประกอบ ‘กริยา’ และ ‘วิเศษณ์’ มีไม่สู้มากนัก ‘ลักษณะ’ หมายถึงสิ่งสำคัญ ที่ให้เราสังเกตได้ เช่น ‘ขาว ดำ ต่ำ สูง โง่ ฉลาด เร็ว ช้า ตาบอด ผมยาว สีคราม’ เป็นต้น คำวิเศษณ์พวกนี้เอาคำชนิดอื่นมาใช้ก็ได้ เช่น ‘ช้างป่า ช้างบ้าน ช้างไม้ ช้างปั้น ช้างหล่อ ฯลฯ’ ดังนี้จะเห็นได้ว่า คำ ‘ป่า บ้าน  ไม้’ เดิมก็เป็นคำนามทั้งนั้น แต่เอามาเป็นคำวิเศษณ์ประกอบ ‘ช้าง’ บอกลักษณะว่าเป็นช้างชนิดไร และคำ ‘ปั้น หล่อ’ เดิมก็เป็นคำกริยานำมาใช้เป็นลักษณวิเศษณ์ บอกชนิดเช่นเดียวกัน ดังจะยกคำลักษณวิเศษณ์ต่างๆ มาไว้ให้ดูเป็นที่สังเกต ดังต่อไปนี้

(๑) บอกชนิด เช่น ‘ชั่ว ดี อ่อน แก่ หนุ่ม สาว หลวง (ม้าหลวง ต้น (ช้างต้น) ป่า (สัตว์ป่า) ทะเล (ปลาทะเล) จีน (ร่มจีน) ตัดผม
(คนตัดผม) หูหนวก (คนหูหนวก) เป็นต้น
(๒) บอกขนาด เช่น ‘ใหญ่ โต เล็ก กว้าง ยาว ย่อม เขื่อง เป็นต้น
(๓) บอกสัณฐาน เช่น ‘กลม แบน แป้น ทุย’ เป็นต้น
(๔) บอกสี ‘แดง ขาว ดำ เหลือง’ เป็นต้น
(๕) บอกเสียง เช่น ‘เพราะ เสนาะ ดัง ค่อย แหบ เครือ’ และเสียงสัตว์ร้อง เช่น เสียง เจี๊ยก เสียงของตก เช่น เสียง ตึง เป็นต้น
(๖) บอกกลิ่น เช่น ‘หอม เหม็น ฉุน เหม็นอับ เหมือนสาบ’ เป็นต้น
(๗) บอกรส เช่น ‘จืด เค็ม หวาน มัน เปรี้ยว ขม เผ็ด’ เป็นต้น
(๘) บอกสัมผัส เช่น ‘ร้อน เย็น อุ่น นุ่ม แข็ง’ เป็นต้น
(๙) บอกอาการ เช่น ‘เร็ว ช้า เซ่อ ว่องไว ฉลาด ประเปรียว กระฉับกระเฉง’ เป็นต้น

คำลักษณวิเศษณ์ที่บอกอาการนี้ มีใช้ประกอบนามหรือสรรพนามไม่มากนัก ดังข้างบนนี้ แต่ที่ใช้ประกอบกริยามีมาก เพราะคำกริยามีหน้าที่แสดงอาการของนามอยู่แล้ว เช่น นั่ง นอน วิ่ง เต้น ฯลฯ ฉะนั้น คำวิเศษณ์ ที่ประกอบกริยา จึงมีหน้าที่แสดงอาการให้แปลกๆ ออกไป เช่น นั่ง โงกเงก นอน คลุมโปง นอน ละเมอ กระโดด แผล็ว ลิงร้อง เจี๊ยก หมาเห่า โฮก เป็นต้น

หมายเหตุ ได้อธิบายแล้วว่า ‘ลักษณะ ’ คือเครื่องหมายที่ให้เราสังเกตได้ ว่าสิ่งนี้ต่างกับสิ่งนั้น ดังชี้แจงมาแล้ว แต่คำ ‘อาการ’ หมายถึงความประพฤติ ความเป็นไปของคนสัตว์หรือสิ่งของต่างๆ ซึ่งรวมอยู่ในลักษณะที่จะให้เราสังเกตเหมือนกัน จึงนับรวมกันเข้าในลักษณวิเศษณ์’ พวกเดียวกัน คือคำวิเศษณ์ บอกลักษณะก็ดี คำวิเศษณ์บอกอาการก็ดี ให้รวมเรียกว่า ‘ลักษณวิเศษณ์ทั้งนั้น เพื่อสะดวกแก่การศึกษา

กาลวิเศษณ์ (อ่าน กาน-ละวิเสด) คือคำวิเศษณ์บอกเวลา หมายความว่าคำวิเศษณ์ที่แสดงเวลาภายหน้าภายหลัง หรือเวลาปัจจุบัน หรือ เวลาเร็ว ช้า ก่อน หลัง ฯลฯ ตัวอย่าง

(๑) ประกอบนาม คน โบราณ คน ภายหลัง คน เดี๋ยวนี้ เวลา นาน เวลา ช้า เวลา เร็ว เวลา เช้า เวลา เย็น เวลา ค่ำ ฯลฯ
(๒) ประกอบกริยา นอน ช้า นอน นาน นอน ก่อน นอน ภายหลัง นอน เดี๋ยวนี้ นอน เย็น ตื่น เช้า ฯลฯ

คำวิเศษณ์ที่ประกอบคำสรรพนามหรือวิเศษณ์ ก็เป็นทำนองนี้เหมือนกัน

ข้อสังเกต ในที่นี้ยกมาแสดงเฉพาะคำกาลวิเศษณ์เท่านั้น แต่อย่าให้เอา บทวลีบอกกาลมาปน คือบทวลีบอกกาลนั้นเป็นคำหลายคำเรียงกัน เช่น วันนี้ เดือนนี้ ศก ๒๔๘๐ ปีกลายนี้ ฯลฯ ซึ่งจะแสดงในวากยสัมพันธ์ต่อไป

สถานวิเศษณ์ (อ่าน สะถาน-นะวิเสด) คือ คำวิเศษณ์บอกสถานที่ หมายถึงคำวิเศษณ์แสดงที่อยู่หรือระยะที่ตั้งอยู่ เช่น ใกล้ ไกล ใต้ เหนือ ฯลฯ เช่น ตัวอย่าง

(๑) ประกอบนาม บ้าน ใกล้ บ้าน ไกล บ้าน ใต้ บ้าน เหนือ สัตว์บก สัตว์ นํ้า ฯลฯ

(๒) ประกอบกริยา อยู่ ใกล้ อยู่ ไกล อยู่ ใต้ อยู่ เหนือ ฯลฯ ยังมี คำอื่นๆ อีกมาก ให้สังเกตตัวอย่างข้างบนนี้เป็นหลัก

ข้อสังเกต คำวิเศษณ์พวกนี้ย่อมทำหน้าที่เป็นบุพบทด้วย กล่าวคือ ถ้ามี นามหรือคำที่ทำหน้าที่นาม ต่อคำเหล่านี้ออกไปอีก คำเหล่านี้ก็กลายเป็นบุพบทบอกสถานที่ไป เช่น บ้านอยู่ไกลนาป่าอยู่ใกล้เขา ฯลฯ ‘ไกล’ และ ‘ใกล้’ ที่นี้ เป็นบุพบทบอกสถานที่ ซึ่งจะกล่าวต่อไป

ประมาณวิเศษณ์ (อ่านประมาน-นะวิเสด) คือคำวิเศษณ์ บอกจำนวนผิดแผกกัน เช่นคำ มาก น้อย หมด ครบ สิ้น ฯลฯ จำนวนนับที่เรียกว่า ‘ส่งขยา’ หรือ ‘จำนวนเลข’ เช่น หนึ่ง สอง สาม ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ครบหนึ่ง ครบสอง ฯลฯ และบอกจำนวนขาดเกิน ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น คำวิเศษณ์เหล่านี้แบ่งออกเป็น ๔ ประเภทด้วยกัน คือ :-

(๑) บอกจำนวนไม่มีจำกัด กล่าวคือ เป็นแต่บอกคร่าวๆ ซึ่งไม่รู้จำนวนได้ชัดเจน เช่นคำ มาก น้อย หลาย ทั้งหลาย จุ กัน เช่นตัวอย่าง

ก. ประกอบนาม คน มาก คน หลาย เรือ จุ เรือไม่ จุ ฯลน

ข. ประกอบกริยา กิน มาก กิน หลาย กิน จุ กินไม่ จุ เขานอน กันแล้ว ฯลฯ

(๒) บอกจำนวนจำกัด ซึ่งหมายความว่า บอกกำหนดขีดขั้นให้รู้ได้ว่า เพียงนั้นเพียงนี้ เช่นกำ หมด ทั้งหมด ปวง ทั้งปวง ผอง ทั้งผอง ทุก บรรดา ฯลฯ

ก. ประกอบนาม คนหมด คนทั้งหมด ปวงคน ผองคน คนทั้งปวง คนทั้งผอง คนทุกคน บรรดา คน ฯลฯ

ข. ประกอบกริยา กิน หมด กิน ทั้งหมด ฯลฯ

(๓) บอกจำนวนแบ่งแยก คือหมายความว่าแสดงจำนวนแยกออกเป็น พากๆ เช่นคำ บาง บ้าง ต่าง ต่างๆ ฯลฯ และแสดงจำนวนเป็นรายตัว เช่น คนละ ละคน สิ่งละ ละสิ่ง ฯลฯ เช่นตัวอย่าง
ก. ประกอบนาม บาง คน ต่าง คน คน ต่างๆ สิ่งละ คน
ข. ประกอบกริยา กิน บ้าง ต่าง ทำ ทำ ต่างๆ ทำ ละครั้ง (โบราณ)
ฯลฯ

หมายเหตุ ส่วนประกอบกริยานี้ มักใช้ไปในทางวลีโดยมาก เช่น ทำ บางครั้ง ทำต่างเวลา ทำคนละครั้ง ทำคนละอย่าง ฯลฯ ซึ่งจะกล่าวใน วากยสัมพนธ์ต่อไป

(๔) บอกจำนวนนับ คือ หมายถึงกำหนดนับชัดเจนลงไปว่า เท่านี้ เท่านั้น มี ๒ พวก คือ
ก. บอกจำนวนเลขธรรมดา (บาลีเรียกว่าปกติสังขยา) ได้แก่ จำนวนเลข ๑, ๒, ๓, ๑๐, ๑๐๐, ๑๐๐๐ เป็นต้น ซึ่งประกอบนาม เช่น ๑ คน ๕ คน ๘ ครั้ง ฯลน

ข. บอกจำนวนเลขที่ (บาลีเรียกปูรณสังขยา) เช่นที่๑ ที่ ๒ ครบ ๕ ครบ๑ ฯลน มักใช้ประกอบนาม เช่น คนที่ ๑ วันครบ ๕ เป็นต้น

หมายเหตุ ประมาณวิเศษณ์นี้ ใช้ประกอบหน้าศัพท์ก็มี หลังศัพท์ก็มี ดังตัวอย่างที่อ้างข้างบนนี้ ประกอบทั้งข้างหน้าและข้างหลังศัพท์ก็มี เช่น มากคน น้อยคน คนมาก คนน้อย ฯลฯ ดังจะอธิบายข้างหน้าต่อไป

นิยมวิเศษณ์ (อ่าน นิยม-มะ-วิเสด) คือคำวิเศษณ์ที่บอก กำหนดเขตของความหมายชัดเจน ว่าเป็นสิ่งนี้สิ่งนั้นอย่างเดียว หรือเป็นเช่นนี้ เช่นนั้นอย่างเดียว ไม่แปรปรวนเป็นอย่างอื่น เช่นคำ นี้ นั้น โน้น ดังนี้ ดังนั้น ทีเดียว แท้จริง แน่นอน เป็นต้น คำพวกนี้แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ:-

ก. บอกกำหนดแน่นอนเกี่ยวกับสถานที่ เช่น นี้ นั้น โน้น คือคำ ‘นี้’ หมายถึงสิ่งหรือกิจการที่อยู่ใกล้ เช่น คนนี้ ที่นี้ คนเหล่านี้ ทำเช่นนี้ ฯลฯ และคำ ‘นั้น’ หมายถึงห่างจากคำ ‘นี้’ ออกไป เช่น คนนั้น ที่นั้น คนเหล่านั้น ทำเช่นนั้น ฯลฯ และ ‘โน้น’ หมายถึงไกลจาก ‘นั้น’ ออกไปอีก เช่นคนโน้น ที่โน้น ทำเช่นโน้น ฯลฯ

หมายเหตุ คำ ‘นี้ นั้น โน้น’ ยังใช้เป็นคำประสม โดยเอาคำอื่นมา, ประกอบข้างหน้าอีกมากมาย เช่น อย่างนี้ อย่างนั้น อย่างโน้น ทั้งนี้ ทั้งนั้น หมดนี้ หมดนั้น และที่แผลงใช้ก็มี เช่น อะนี้ อะนั้น อันนี้ อันนั้น กระนี้ กระนั้น แล้วแต่ภาษานิยม ทั้งนี้นับว่าเป็นนิยมวิเศษณ์พวกเดียวกันทั้งนั้น

ข. บอกกำหนดแน่นอนเกี่ยวกับความหมาย (คือไม่เกี่ยวกับสถานที่)เช่น เอง ดอก เช่น ฉันเอง ฉันดอก ทำเอง พูดเล่นดอก ฯลน และคำวิเศษณ์ที่ แสดงความหมายมีกำหนดแน่นอน เช่น เทียว ทีเดียว เจียว แน่นอน แท้จริง แน่แท้ ฯลน นับว่าเป็นนิยมวิเศษณ์พวกนี้ทั้งนั้น

ยังมีคำวิเศษณ์พวกนี้ที่ควรสังเกตคือ ‘เฉพาะ’ และ ‘แต่’ เช่น ‘เขาให้เงินเฉพาะแก่ลูกเขา’ ‘เขาเห็นแต่แก่ตัวเขา’ คำ ‘เฉพาะ’ และ ‘แต่’ ที่นี้เป็น นิยมวิเศษณ์บอกกำหนดความหมาย เพราะมีบุพบท ‘แก่’ ประจำอยู่หน้า แต่ถ้าละบุพบทเสีย คำ ‘เฉพาะ’ และ ‘แต่’ ก็ทำหน้าที่เป็นบุพบท นำหน้าการก ต่างๆ ได้ เช่น ‘เขารักเฉพาะบุตรเขา’ หรือ ‘เขารักแต่บุตรเขา’ ดังนี้ คำ ‘เฉพาะ’ และ ‘แต่’ ก็เป็นบุพบทนำหน้ากรรมการกไป ดังจะกล่าวในข้อบุพบทอีก ขอให้สังเกตไว้

หมายเหตุ คำ ‘นี้’ ‘นั้น’.‘โน้น’ และคำประสมที่เกี่ยวกับ ๓ คำนี้บางที ก็ใช้เป็นนิยมสรรพนาม เช่น ‘นี้ของใคร’ ‘ทั้งนี้ของใคร’ ฯลน ก็มี และคำ ‘นี่ นั่น โน่น’ ซึ่งเป็นนิยมสรรพนาม บางทีก็ใช้เป็นนิยมวิเศษณ์ เช่น ‘ฉัน
ไม่ชอบนายแพทย์นั่น คำ ‘นั่น’ ในที่นี่เป็นนิยมวิเศษณ์ตามรูปประโยคดังนี้ก็มี เพราะฉะนั้นการสังเกตคำ ‘นี้ นั้น โน้น’ หรือ ‘นี่ นั่น โน่น’ และคำประสมซึ่งเกี่ยวด้วยคำพวกนี้ จึงจำเป็นต้องสังเกตรูปความว่า คำพวกนี้ทำหน้าที่อย่างไร ในข้อความนั้นด้วย

อนิยมวิเศษณ์ (อ่านอะ-นิ-ยม-มะ-วิเสด) คือคำวิเศษณ์แสดงความไม่กำหนดแน่นอนลงไป รวมย่อๆ เป็น ๒ พวกด้วยกัน คือ

ก. พวกตรงข้ามนิยมวิเศษณ์ เช่น อื่น อื่นๆ เหล่าอื่น อย่างอื่น พวกอื่น ดังตัวอย่าง คนอื่น คนเหล่าอื่น ทำอย่างอื่น คนพวกอื่น เหล่านี้เป็นต้น

ข. พวกที่บอกความไม่แน่ซึ่งไม่ใช่บอกความสงสัย หรือใช้เป็นคำถาม แต่นำมาใช้ในความไม่กำหนด เช่นคำ ใด ใดๆ อะไร อะไรๆ ไร ไรๆ ไหน ไหนๆ ไฉน ไย ทำไม ฯลฯ และคำประสมที่เกี่ยวกับคำ ‘ กี่ ’ หรือบางคำข้างต้นนั้น เช่น กี่คน กี่ครั้ง ฉันใด เช่นไร ฯลฯ ดังตัวอย่าง เขามาเวลาใดก็ได้  เขาห่มผ้าอะไรได้ทั้งนั้น เขาจะมาทำไมก็ตาม เจ้าทำไฉนได้ทั้งนั้น ไยมาด่าฉัน ไม่กลัวเลย จะกินข้าวกี่ชามก็ได้ มีอุปมาฉันใดก็มีอุปไมยฉันนั้น เหล่านี้เป็นต้น

ปฤจฉาวิเศษณ์ (อ่านปริค-ฉา-วิเสด) คือคำวิเศษณ์ที่แสดงความสงสัยหรือใช้ในคำถาม ได้แก่คำอนิยมวิเศษณ์ข้อ ข. (แต่เว้นบางคำที่ไม่แสดงความสงสัยหรือใช้ในคำถาม) เช่นคำ ใด อะไร ไหน ไย ทำไม กี่คน อย่างไร เหตุไร ฉันใด อันใด เหล่านี้เป็นต้น ดังตัวอย่าง คนใดหนอแกล้งเรา  นั้นเป็นสัตว์อะไร โกรธกันแล้วไยมาพูดกับฉัน ทำไฉนดีหนอ คนไหนเป็นบุตรท่าน ท่านมีบุตรกี่คน ท่านอายุเท่าไร เหล่านี้เป็นต้น

ข้อสังเกต คำวิเศษณ์พวกนี้ ต้องเกี่ยวกับบอกความสงสัย หรือใช้เป็น คำถาม ถ้าแสดงความอย่างอื่น ต้องเป็นอนิยมวิเศษณ์

ประติชญาวิเศษณ์ (อ่านประ-ติด-ยา-วิเสด) ได้แก่คำวิเศษณ์ที่แสดงการรับรองในเรื่องเรียกขานและโต้ตอบกัน เช่นคำ จ๋า เจ้าขา เจ้าค่ะ โว้ย (เช่น แดงโว้ย) ขอรับ ขอรับผม ขอรับกระหม่อม พระพุทธเจ้าขอรับเหล่านี้เป็นต้น

หมายเหตุ คำประติชญาวิเศษณ์เกี่ยวกับคำโต้ตอบกันโดยมาก ดังนั้นรูปคำจึงเพี้ยนจากคำเดิมไป เช่นคำเดิมเป็น ‘พระเจ้าข้า’ ผู้ชายพูดก็กลายเป็น เพ็ด ช่ะข้ะ พ่ะย่ะข้า ผู้หญิงพูดก็กลายเป็น ป้ะข้ะ เพคะ และคำเดเม  ‘จ้ะ’ ก็กลายเป็น จ๊ะ จ๋า ย๋ะ ย่ะ เป็นต้น และคำเหล่านี้ยังใช้แปลกกันไปตามยศอีกมากมาย

อนึ่ง คำพวกนี้ได้ชื่อว่าคำวิเศษณ์ ก็เพราะประกอบนามและกริยา ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เกี่ยวกับความเรียกร้อง เช่น ‘หนูจ๋า คุณขอรับ แดงโว้ย ฯลฯ ดังนี้ คำ ‘จ๋า ขอรับ โว้ย’ ย่อมประกอบคำที่อยู่หน้าคือ ‘หนู คุณ แดง’ ถ้าเป็นคำ ขานตอบซึ่งกล่าวหวนๆ ว่า ‘จ๋า ขอรับ โว้ย’ ดังนี้ คำเหล่านี้ก็เรียกว่า ‘ประ¬ติชญาวิเศษณ์บอกเสียงขานรับ’ ไม่ต้องประกอบคำอะไร เพราะเมื่อบอกสัมพันธ์ คำเหล่านี้อยู่ในช่อง ‘บทเชื่อม’

แต่ถ้าเป็นความโต้ตอบกัน ซึ่งอยู่ต้นประโยคก็มี เช่นถาม ‘ท่านเป็นทหาร หรือ’ คำตอบ ‘ขอรับ ผมเป็นทหาร’ หรืออยู่ท้ายประโยคว่า ‘ผมเป็นทหาร ขอรับ ’ ดังนี้ คำ ‘ขอรับ’ ทั้ง ๒ ประโยคนี้ต้องกระจายคำว่า ‘ประติชญาวิเศษณ์ ประกอบกริยา เป็น’

ประติเษธวิเศษณ์ (อ่านประติ-เสด-ธะ-วิเสด) คือคำวิเศษณ์ ที่บอกความห้าม หรือความไม่รับรอง ได้แก่คำ ‘ใช่ (ที่หมายความว่า ไม่ใช่ ไม่ถูก) ไม่ มิ บ บ่อ หาไม่ มิได้ หามิได้ ไม่-หามิได้’ เป็นต้น คำพวกนี้ประกอบหน้าก็มี ประกอบหลังก็มี อยู่ทั้งข้างหน้าข้างหลังก็มี ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ประกอบนาม ‘ใช่กิจของนักเรียน’ (ไม่ใช่กิจของนักเรียน) ประกอบกริยา ‘ไม่อยู่ มิอยู่ บอยู่ มิได้อยู่ อยู่หาไม่ หาอยู่ไม่ ไม่อยู่หามิได้’ เป็นต้น และประติเษธวิเศษณ์ ใช้ในการโต้ตอบก็มี เช่นคำ ‘เปล่า มิได้ หามิได้ เช่นถามว่า ‘ท่านหิวหรือ?’ ตอบว่า ‘ เปล่า มิได้ หามิได้ ’ แล้วแต่จะเหมาะกับยศซึ่งจะแสดงต่อไป คำพวกนี้ ถ้าบอกหน้าที่ของมันให้ละเอียดก็บอกว่าเป็น ‘ประติเษธวิเศษณ์ในความโต้ตอบกัน’ และใช้ควบกันไปกับคำประติชญาวิเศษณ์ ก็ได้ เช่นตอบคำถามข้างบนว่า ‘เปล่าขอรับ มิได้ขอรับ’ เป็นต้น

ประพันธวิเศษณ์ คือคำประพันธสรรพนามที่เอามาใช้เป็นคำวิเศษณ์ ได้แก่คำ ‘ที่ ซึ่ง อัน’ และคำประสมที่เกี่ยวกับคำพวกนี้ เช่น ‘อย่าง ที่’ฯลฯ ซึ่งนำมาให้ติดต่อกับคำวิเศษณ์หรือคำกริยา เช่นตัวอย่าง ‘เด็กคนนี้โง่แปลก คือโง่ ที่ อธิบายไม่ถูก’ หรือ ‘เป็นเวลาอันนานซึ่งประมาณไม่ได้’ หรือ ‘เป็นของมาก อัน ไม่สามารถคำนวณได้ หรือ ‘เขากินอย่างที่เรียกว่ายัดนุ่น’ เป็นต้น ดังนี้คำ ‘ที่’ ที่ต่อคำ ‘โง่’ คำ ‘ซึ่ง’ ที่ต่อคำ ‘นาน’ คำ ‘อัน, ที่ต่อคำ ‘มาก’ และคำ ‘อย่างที่’ ที่ต่อคำ ‘กิน’ ล้วนเป็นบทขยายคำวิเศษณ์ และกริยาทั้งนั้น จึงนับว่าเป็นประพันธวิเศษณ์

คำที่เป็นเหตุของความเบื้องต้น ได้แก่คำว่า ‘เพราะ’‘ด้วย’‘เหตุเพราะ’ ‘เหตุว่า’ ด้วยว่า’‘เพราะว่า’‘คำที่’ เป็นต้น ตัวอย่าง ‘เด็กเสียคน เพราะ ผู้ใหญ่สอนไม่ดี คนทำบุญด้วยกันอื่นชักชวน เขาทำผิดค่าที่เขาไม่รู้จักผิด’ ดังนี้เป็นต้น คำ ‘เพราะ’ ‘ด้วย’ ‘คำที่’ ล้วนเป็นบทขยายกริยาทั้งนั้น จึงนับว่าเป็นประพันธวิเศษณ์ด้วย

คำขยายบทเบื้องต้น ได้แก่คำต่อไปนี้ ‘เพื่อว่า เพื่อให้’ เป็นต้น ตัวอย่าง เขาพูดเพื่อให้เราเสีย เขาเลี้ยงเพื่อว่าลูกจะได้เลี้ยงเขา คำว่า‘เพื่อให้’ ‘เพื่อว่า ’ ล้วนเป็นบทขยายกริยา จึงนับว่าเป็นประพันธวิเศษณ์ด้วย

หมายเหตุ คำประพันธวิเศษณ์เหล่านี้ทำหน้าที่เป็นบทเชื่อมของวิเศษณานุประโยค ในวิธีบอกสัมพันธสังกรประโยคด้วย

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร

คำกริยา

คำกริยา คือคำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม เพื่อให้รู้ว่า นามหรือสรรพนามนั้นๆ ทำอะไร หรือเป็นอย่างไร เช่นตัวอย่าง นกบิน คนนั่ง ไฟดับ ดังนี้ คำ ‘บินนั่ง ดับ’ เป็นคำกริยา แสดงอาการของนาม นก บิน และไฟ ปรากฏอาการคือ ดับ ดังนี้เป็นต้น

คำกริยานี้จำแนกเป็น ๔ พวก คือ
(๑) อกรรมกริยา
(๒) สกรรมกริยา
(๓) วิกตรรถกริยา(อ่าน “วิ-กะ-ตัด-ถะ-กริยา”)
(๔) กริยานุเคราะห์ ดังจะขยายต่อไปนี้

อกรรมกริยา คำ ‘อกรรม’ แปลว่า (ไม่มีกรรมคือผู้ถูก คำกริยาใดมีใจความครบบริบูรณ์ ไม่ต้องมีคำที่เป็นกรรม คือผู้ถูกรับข้างท้าย คำกริยานั้นเรียกว่า ‘อกรรมกริยา’ เช่นตัวอย่าง เขาไป เรามา คนนอน เป็นต้น คำ ‘ไป มา นอน’ ในที่นี้มีใจความครบบริบูรณ์ เรียกว่า อกรรมกริยา

หมายเหตุ ภาษาไทยเราใช้คำวิเศษณ์บางพวกเป็นอกรรมกริยาได้อีก เช่น เขาสวย เขาช้า ฯลฯ คำ ‘สวย ช้า’ ในที่นี้เป็น ‘วิเศษณ์ทำหน้าที่เป็นอกรรมกริยา ’

สกรรมกริยา คำว่า ‘สกรรม’ แปลว่า มีกรรมหรือมีผู้ถูก คำกริยามีใจความไม่ครบบริบูรณ์ในตัว ต้องมีคำที่เป็นกรรมรับข้างท้ายอีก กริยา นั้นเรียกว่า ‘สกรรมกริยา ’ เช่นตัวอย่าง เขา เห็น… เขา อยาก… ดังนี้ คำ ‘ เห็น, อยาก’ ในที่นี้มีใจความยังไม่ครบ คือไม่ทราบว่าเห็นอะไร และอยากอะไร ต่อเมื่อมีกรรมเข้ามารับข้างท้ายว่า ‘เขาเห็นคน, เขาอยากน้ำ’ หรือ ‘เขาอยากนอน’ ดังนี้จะได้ความเต็ม กริยาเช่นนี้เรียกว่า สกรรมกริยา

ข้อสังเกต คำกริยาบางคำเป็นได้ทั้งอกรรมกริยาและสกรรมกริยาก็มี เช่น ตัวอย่าง ‘หน้าต่างเปิด’ คำ ‘เปิด’ ในที่นี้มีความเต็ม หมายความว่า เผยออก นับว่าเป็น อกรรมกริยา แต่ถ้าพูดว่า ‘ คนเปิดหน้าต่าง ’ ดังนี้ คำ ‘เปิด’ ในที่นี้ ไม่ได้ความเต็ม คือไม่รู้ว่าเปิดอะไร ต้องมีคำ ‘หน้าต่าง’ เข้ามารับจึงจะได้ความเต็ม นับว่าเป็นสกรรมกริยา ดังนี้เป็นต้น ให้สังเกตเนื้อความของคำกริยานั้นๆ เป็นประมาณ

วิกตรรถกริยา คำวิกตรรถ (วิกต +อรรถ) แปลว่า เนื้อความของวิกัติการก วิกตรรถกริยา หมายความว่า กริยาที่มีเนื้อความอยู่ที่วิกัติการกกล่าวคือ กริยาพวกนี้ไม่มีเนื้อความในตัว ต้องอาศัยเนื้อความของศัพท์ วิกัติการกหรือการกอื่นที่อยู่ข้างท้ายเข้าช่วยจึงจะได้ความครบ ได้แก่คำว่า ‘เป็น’ เหมือน, คล้าย, เท่า’ เป็นต้น ตัวอย่าง ‘เขาเป็นหมอ เขาเป็นใหญ่ เขาเหมือนกับเด็ก เข้าคล้ายกับฉัน เขาเท่ากับลุงฉัน’ เป็นต้น ใจความสำคัญนี้ อยู่ที่คำพ่วงท้าย คือ ‘หมอ, ใหญ่, เด็ก, ฉัน, ลุงฉัน’ คำกริยาที่อยู่ขางหน้านั้น คล้ายกับเป็นทุ่นให้คำที่พ่วงท้ายเกาะพอให้สำเร็จรูปเป็นประโยคเท่านั้น บางคำก็ใช้บุพบท ‘กับ’ นำหน้า เช่น ‘เขาเท่ากับหมอ’ เป็นต้น

ข้อสังเกต คำวิกตรรถกริยาในภาษาอื่น เช่น อังกฤษ หรือ บาลี เขาใช้ เข้ากับคำนามหรือคำวิเศษณ์ก็ได้ แต่ในภาษาไทยมักจะใช้ประกอบกับคำนาม เป็นพื้น เช่น ‘เขาเป็นนายอำเภอ, เขาเป็นคนดี, เขาเหมือนกับบ้า, เขาเท่ากับ ใบ้’ ดังนี้เป็นต้น คำ ‘บ้า’ และ ‘ใบ้’ ถึงแม้จะเป็นคำวิเศษณ์ได้ก็ดี แต่ในที่นี้ต้องเป็นคำนาม เพราะคำทั้ง ๒ นี้เป็นนามก็ได้ เช่น ตัวอย่าง ‘อย่าคบบ้า, อย่าเล่นกับใบ้’ เป็นต้น ถ้าจะใช้กับวิเศษณ์ ต้องเติมนามเข้าข้างหน้าว่า ‘เขา เป็นคนดี’ หรือมิฉะนั้นก็ใช้แต่คำวิเศษณ์ว่า ‘เขาดี’ คำ ‘ดี’ ในที่นี้ใช้เป็นภาคแสดงของประโยคได้อย่างอกรรมกริยาทั้งหลาย และใช้กริยานุเคราะห์ประกอบไปด้วย เช่น ‘เขาคงดี ’ ‘ เขาจักดี ’ เป็นต้น ดังนั้นคำ ‘ ดี ’ ที่นี้นับว่า ทำหน้าที่เป็นอกรรมกริยา หาใช่เป็นวิเศษณ์ไม่

วิกตรรถกริยาที่ใช้กับวิเศษณ์มีอยู่บ้าง ก็มักประสงค์ความไปทางหนึ่ง เช่นพูดว่า ‘เขาเป็นใหญ่กว่าฉัน’ ดังนี้มิได้หมายความว่าเขาตัวใหญ่ หมายความว่าเขามีตำแหน่งใหญ่ ซึ่งผิดกับพูดว่า ‘เขาใหญ่กว่าฉัน’ ดังนี้เป็นต้น

กริยานุเคราะห์  คำ ‘อนุเคราะห์ แปลว่า ช่วยอุดหนุน กริยานุเคราะห์ หมายความถึงกริยาที่ใช้ช่วยกริยาอื่นให้ได้ความครบตามระเบียบของ กริยา (คือครบตาม มาลา กาล วาจก ดังจะกล่าวข้างหน้า) ได้แก่คำว่า ‘คง จะ ถูก อย่า’ เป็นต้น เช่น ตัวอย่างพูดว่า ‘เขาคงตีฉัน เขาจะตีฉัน เขาถูกฉันตี อย่าทำเขา ดังนี้เป็นต้น คำเหล่านี้มักใช้ประกอบข้างหน้ากริยา แต่บางพวกก็ใช้ประกอบข้างหลังกริยา เช่นคำว่า ‘ซิ, เถิด’ ตัวอย่าง ‘กินซิ, กินเถิด’ ดังนี้เป็นต้น และกริยานุเคราะห์นี้จำแนกตามลักษณะเป็น ๒ จำพวก คือ :-

(๑) พวกที่ใช้เป็นกริยานุเคราะห์อย่างเดียว ได้แก่คำว่า ‘คง พึง จง ซิ น่ะ เถอะ กำลัง ย่อม น่า อย่า อย่าเพ่อ จะ จัก ชะรอย เทอญ’ เหล่านี้เป็นต้น

(๒) พวกกริยาอื่นที่นำมาใช้เป็นกริยานุเคราะห์ ดังในความต่อไปนี้ เป็นต้น
silapa-0086 - Copy
ข้อสังเกต คำกริยานุเคราะห์ ต้องเป็นคำกริยา ๒ จำพวก ดังข้างบนนี้ ซึ่งนำมาใช้ช่วยกริยาอื่น ให้มีเนื้อความตามหน้าที่กริยา คือ มาลา กาล วาจก ดังกล่าวแล้ว ไม่ใช่คำกริยา หรือคำอื่น ที่นำมาใช้เป็นคำวิเศษณ์ประกอบกริยา ให้มีความแปลกออกไป เช่น ‘ตาสีกินข้าวหมด ตาสีตีแมวตาย ตาสีไม่มา เป็นต้น ดังนี้ คำ ‘หมด ตาย ไม่’ ในที่นี้ไม่ใช่กริยานุเคราะห์

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร