การดับพิษนํ้าที่เดือดแล้วตักกินได้ด้วยพลังจิต

ขั้นต่อไปจะได้สอนให้ส่งจิตออกนอกกาย คือ ส่งไปใส่นํ้ามันที่กำลังเดือด หรือนํ้าที่กำลังเดือด ทำให้เย็นลงได้

เพื่อให้การเรียนใช้เวลาสั้นๆ จึงจะเริ่มขั้นที่ ๒ ด้วยการฝึกดับพิษน้ำเดือดก่อน

การดับพิษนํ้าที่เดือดแล้วตักกินได้
พ.อ. ชม เรียนจากพระอาจารย์ในดง
(๑). จัดดอกไม้ธูปเทียนใส่พานพร้อมกับเงินค่า บูชาครู ๖ บาท แล้วกราบพระและจุดธูปเทียนบูชาครู ภาวนาในใจว่า “ข้าพเจ้าขอสักการะบูชาต่อคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูอาจารย์ มีหลวงตาดำ อาจารย์ชาญณรงค์ ขอให้มาช่วยทำนํ้าให้ เป็นยาดับพิษร้อนของนํ้าเดือดให้หมดไป เมื่อนํ้าถูกปากถูกมือก็อย่าให้ร้อนอย่าให้มีอันตราย”

(๒). เอานํ้าเทใส่กะทะหรือภาชนะที่จะต้มนํ้า

(๓). ว่า “นะโม” สามจบ แล้วว่า “พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ”

(๔). ภาวนา “สัคเค กาเม จะรูเป คีริสิขะ- ระตะเฏ จันตะลิเข วิมาเน ทีเปรัฐเถ จะคาเม ตะรุวะนะ- คะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเตภุมมาจายันตุ เทวาชะละ-ถะละ วิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโวเม สุณันตุ ธัมมัสสะวะนะกาโล อยัมภะทันตา” คำสุดท้าย “อะยัมภะทันตา” ว่าหนเดียว (โดยที่ธรรมดาว่า ๓ หน)

(๕). อัญเชิญว่าดังนี้ “ข้าพเจ้าขออาราธนา คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูอาจารย์ ขอให้มาช่วยทำนํ้านี้ให้เป็นยา และช่วยดับพิษร้อนให้หมดไป ขอเชิญธาตุนํ้า ธาตุลม มาช่วย ดับพิษร้อนทั้งหลายให้สูญสิ้นไป”

(๖). ยกกระทะนํ้าขึ้นตั้งบนเตาไฟ (เตาถ่าน, หรือเตาไฟฟ้า, เตาแก๊ส) แล้วเสกนํ้าในกระทะให้เป็นยา หายใจเข้าอัดลมไว้แล้วพนมมือก้มหน้าลงห่างนํ้าประมาณ ๑ ฟุตแล้วว่า “สมุหะ คัมภีรัง อะโจระ ภะยัง อะเสสะโต โสภะคะวา พุทโธหยุด ธัมโมหยุด สังโฆหยุด โรคภัยทั้งหลายจงหยุด หยุดด้วยนะโมพุทธายะ” ว่าประมาณ ๒ จบแล้วเป่าลงไปที่นํ้าเวลาเป่าให้ว่าอีก ๑ จบ (ว่าในใจ) ต่อไปสูดลมหายใจเข้าอัดลมภาวนาบททำนํ้ามันให้เป็นยา คือ “สมุหะคัมภีรัง อะโจระภะยัง อะเสสะโตโสภะคะวา พุทโธหยุด ธัมโมหยุด สังโฆหยุด โรคภัยทั้งหลายจงหยุด
หยุดด้วยนะโมพุทธายะ” ข้อสำคัญยิ่งก็คือในการเสก ให้ว่าและเป่าอย่างเดิมให้ครบ ๗ ครั้ง จิตนึกภาพนํ้า และตั้งใจปล่อยกระแสจิตลงไป นํ้าร้อนขึ้นมากแล้วก็เริ่มภาวนา ว่าบทดับพิษร้อน โดยสูดลมหายใจเข้าอัดไว้ ภาวนาในใจว่า

“มะอะอุ นะมะพะทะ สะกะพะจะ” ว่าประมาณ ๕ จบ แล้วเป่าลงไป เวลาเป่าภาวนาอีก ๑ จบ ต่อไปก็สูดลมเข้าภาวนาและเป่าอย่างเดิมอีกเรื่อยๆ ไปจนนํ้าเริ่มเดือดจิตนึกภาพนํ้าและตั้งใจปล่อยกระแสจิตลงไปที่นํ้าตลอดเวลา ถ้าเริ่มจะเหนื่อยก็ภาวนาเป็นสมาธิ คือ ไม่ต้องอัดลมไว้หายเหนื่อยดีแล้วก็ภาวนาด้วยวิธีอัดลมอีกหลายครั้ง

เมื่อนํ้าเริ่มเดือด จะลองเอานิ้วจุ่มลงตรงไหน ก็ตั้งจิตนึกถึงตรงนั้น สูดลมหายใจเข้าอัดลมไว้ หลับตา ภาวนาคาถาดับพิษร้อน ๓ จบแล้วเป่าลงตรงที่จะเอานิ้วจุ่ม พร้อมคาถาบทดับพิษร้อนอีก ๑ จบ ต่อไปสูดลมหายใจอัดลมไว้ เอานิ้วชี้ชี้เข้าใกล้น้ำเกือบจะแตะนํ้าภาวนาว่า “นะโมพุทธายะ” แล้วเอานิ้วชี้แตะลงในน้ำพร้อมกับภาวนาว่า “ปติรูปัง” ยกนิ้วขึ้นดู ถ้ายังร้อนก็ดับพิษซํ้าอีก ถ้ารู้สึกอุ่นๆ เวลาแตะนํ้าเมื่อยกนิ้วขึ้นมาก็หายร้อน หายอุ่น ก็เป็นอันว่าดับพิษร้อนได้ผลดีแล้ว ต่อไปให้หายใจเข้าอัดลมไว้เอานิ้วเตรียมจุ่มซํ้าอีกว่า “นะโมพุทธายะ” เวลาจุ่มว่า “ปติรูปัง” จุ่มให้ลึกลงไปประมาณกึ่งกลางนิ้ว เมื่อยกมาไม่ร้อนก็ใช้ได้

การตักน้ำเดือดขึ้นอม ทำเหมือนการเอานิ้วจุ่ม ครั้งแรกคือจะตักตรงไหนก็ว่าบทดับพิษร้อนเป่าลงไปช้อน ที่จะตักควรใช้ช้อนกระเบื้อง ถ้าไม่มีก็ใช้ช้อนสังกะสีเคลือบล้างให้สะอาดเวลาจะตักสูดลมเข้าอัดลมไว้ว่า “นะโมพุทธายะ” แล้วตักนํ้ามาเล็กน้อย ขณะเทใส่ปาก ให้ภาวนาว่า “ปติรูปัง” แล้วพ่นนํ้าออกมา เมื่อไม่ร้อน เพียงอุ่นๆ ครั้งหลังก็ตักนํ้ามากขึ้นโดยสูดลมเข้าอัดลมไว้ภาวนาว่า “นะโมพุทธายะ” แล้วตักนํ้าร้อนเทใส่ปากว่า “ปะติรูปัง” อมไว้ก่อนจึงกลืนกิน

การทำครั้งแรกไม่ชำนาญเมื่อนํ้าเริ่มเดือดให้ลดไฟเหลือน้อยๆ ถ้าเป็นถ่านก็ตักถ่านออกให้เหลือแต่น้อย จะได้มีเวลาดับพิษร้อนได้นานพอควร ถ้าเวลาเอามือจุ่ม ทดลองรู้สึกร้อนมากยกนิ้วขึ้นก็ร้อนเผ่าๆ ร้อนตุบตุบก็ยังดับพิษร้อนไม่ลง ต้องภาวนาดับพิษร้อนใหม่อีกหลายๆ ครั้ง จนหมดพิษร้อนทำครั้งแรกจะร้อนเล็กน้อย เพราะยังกลัวอยู่ข้อสำคัญก่อนจะกลืนนํ้าร้อนให้อมไว้ก่อน
น้ำที่กำลังเดือด ถ้าตักใส่ปากพ่นลงตรงที่เจ็บปวด หรือที่เป็นฝีมักจะได้ผลดีกว่าเอานํ้ามันทาแก้ปวด การเสกก็ใช้อัดใจภาวนาคาถาหลายจบ แล้วเป่าลงพร้อมด้วยภาวนาคาถาด้วย อย่าลืมนึกภาพนํ้าตั้งจิตหรือนึกคิดอยู่ที่นํ้าปล่อยลมที่เป่าและกระแสจิตให้ดิ่งลงไปสู่นํ้าอยู่เสมอ

การปล่อยกระแสจิตลงนั้น ถ้าเหนื่อยก็จะปล่อยกระแสจิตลงได้ผลน้อย ดังนั้นเวลาเอานํ้าตั้งไฟอยู่ เมื่อเสกหรือภาวนาแล้วเป่าหลายทีเริ่มเหนื่อยก็ให้ภาวนา โดยหายใจเข้าออกเบาๆ สบายๆ แบบทำสมาธิ ไม่ต้องอัดลมหายใจไว้นึกแต่ภาพนํ้าและตั้งจิตดิ่งลงไปในนํ้า ทำแบบนี้ไม่เหนื่อยเพราะไม่ได้อัดลมหายใจไว้เป็นการพักให้หายเหนื่อยไปในตัว แต่ก็ยังมีกระแสจิตลงไป วิธีนี้ เรียกว่า “ภาวนาเป็นสมาธิ” พอหายเหนื่อยแล้วก็เริ่มใช้วิธีอัดลมหายใจภาวนาแล้วเป่า เพราะเป็นวิธีที่ปล่อยกระแสจิตได้ดี แล้วก็ภาวนาเป็นสมาธิสลับกันไป

การดับพิษนํ้าเดือดแล้วตักกินได้ที่กล่าวมานี้ เป็นวิธีที่อธิษฐานขออนุญาตพระอาจารย์ในดง ขอใช้คาถาและวิธีในการทำนํ้ามันรักษาโรคและดับพิษร้อนมาใช้ในการดับพิษนํ้าเดือดส่วนการทำนํ้ามันรักษาโรค จะกล่าวภายหลังเพราะใช้เวลานาน

ที่มา:ชม  สุคันธรัต

พลังจิตวิชาคงกระพัน

ลำดับการสอนให้ใช้พลังจิต
สอนวิชาคงกระพัน
ซึ่งจะบังเกิดผลคือเปลี่ยนรสของธรรมชาติได้, ทดลองเอามีดฟันหรือแทงก็ไม่มีอันตรายจะไม่ทดลองก็ได้ ขอให้ทำตามลำดับต่อไปนี้

๑. เตรียมดอกไม้ธูปเทียนใส่พาน ไม่มีพานจะใส่จานที่สะอาดหรือใส่ฝาบาตรของพระก็ได้ ดอกไม้อะไรก็ได้ประมาณ ๓ ดอก ธูป ๓ ดอกหรือ ๕ ดอกก็ได้ เทียนใช้เทียนขี้ผึ้งขนาดหนักประมาณ ๑ บาท จำนวน ๒ เล่ม หาปูนที่กินกับหมากไว้เล็กน้อย ใช้ปูนที่ไม่ใส่สีเสียด เอาเงินบูชาครูใส่ในพานดอกไม้ธูปเทียน ๖ บาท เมื่อเสร็จพิธีแล้วเอาเงิน ๖ บาทนี้ไปทำบุญทำทานตามที่เห็นสมควร

๒. จุดธูปเทียนบูชาพระ โดยจุดธูปเทียนแล้ว กราบพระ ๕ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ตั้งใจเคารพพระพุทธเจ้า แล้วจึงกราบ ครั้งที่ ๒ ตั้งใจเคารพพระธรรม ครั้งที่ ๓ ตั้งใจเคารพพระสงฆ์ ครั้งที่ ๔ ตั้งใจเคารพบิดามารดาของตนและกราบลงไป แล้วตั้งใจเคารพครูอาจารย์ กราบลงครั้งที่ ๕ อาจารย์ปู่คำสอนอาจารย์ฟื้น พ.อ.ชม เรียนจากอาจารย์ฟื้น และคุณแม่ลำใย (ภรรยา อ. ฟื้น)

๓. เอาปูนทาที่ปลายนิ้วชี้ของมือขวา หรือเอาปลายนิ้วชี้ไปแตะปูนให้ปูนติดอยู่ด้านข้างตอนปลาย แล้วนั่งพนมมือในท่านั่งพับเพียบหรือท่านั่งขัดสมาธิก็ได้ ยกมือที่พนมมาไว้ใกล้ปากให้ปลายนิ้วชี้ที่มีปูนติดมาอยู่ห่างปากประมาณ ๑ คืบ ทดลองเป่าลมออกจากปากเบาๆ ยาวๆ ไปที่ปูน ถ้าลมที่เป่านั้นไม่ตรงปูน ที่ปลายนิ้วชี้ ก็เลื่อนมือให้ลมที่เป่านั้นตรงไปที่ปูนพอดีต่อไปให้หลับตา นั่งนิ่งไม่ขยับมือไม่ขยับหน้าไม่ลืมตา ตั้งใจว่าในใจ ดังต่อไปนี้

“ข้าพเจ้าขออัญเชิญคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครูอาจารย์ ขอให้มาช่วยเสกปูนนี้ ให้เป็นปูนคงกระพันด้วยเถิด”

“นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุธธัสสะ”

๔. สูดลมหายใจเข้าเต็มปอดแล้วอัดลมไว้ ไม่หายใจเข้าไม่หายใจออกจิตนึกถึงภาพปูนที่นิ้วชี้ตลอดเวลาภาวนาคาถาบทที่ ๑  ซึ่งมี ๓ คำ (ว่าในใจ) ตลอดเวลา เมื่อภาวนาไปจนถึงปลายลม คือ ประมาณ ๒๐ จบ แล้วให้เป่าลมออกทางปากเบาๆ ยาวๆ เป่าไปที่ปูน การภาวนาให้มีความสม่ำเสมอไม่ใช่เร็วบ้างช้าบ้าง ขณะเป่าก็ภาวนาคาถาและนึกถึงภาพปูนอยู่ตลอดเวลา เป่าลมออกไปนั้นภาวนาให้ได้ ๓ หรือ ๔ จบก็พอ ต่อไปก็สูดลมเข้าทางจมูกอีกอัดลมไว้ ภาวนาคาถาและนึกถึงภาพปูนไว้เรื่อย ภาวนาได้นานถึงปลายลม คือ เกือบจะรู้สึกเหนื่อย ก็เป่าลมไปที่ปูนพร้อมกับภาวนาคาถาด้วย แล้วจึงสูดลมเข้าภาวนาคาถาและเป่าออกซํ้าๆ อย่างนี้ ให้ได้ ๗ ครั้ง คือ เป่าไปที่ปูนได้ ๗ ครั้ง จะมากกว่า ๗ ครั้งก็ได้ ไม่ต้องกังวลไม่ต้องหวังว่าจะครบ ๗ ครั้งแล้ว หรือยัง เพียงแต่ประมาณว่าได้ ๗ ครั้ง จะเป็น ๖ ครั้ง หรือ ๑๐ ครั้งก็ได้ การภาวนาก็ไม่ต้องไม่ต้องกังวลว่าจะภาวนาให้ได้ ๒๐ จบ เพียงแต่ประมาณว่า ๒๐ จบ หรือรู้สึกว่าจะเหนื่อยก็เป่าออก ครั้งหลังๆ อาจภาวนาได้เพียง ๑๐ จบในเวลาอัดลมไว้ ส่วนเวลาเป่าออกจะภาวนาได้เพียง ๒ จบก็ได้ กะประมาณให้พอเหมาะ ไม่เหนื่อย ถ้าเหนื่อยกระแสจิตจะออกไปได้น้อย

เมื่อเป่าไปที่ปูนได้ประมาณ ๗ ครั้งแล้ว ให้เอาปลายนิ้วชี้ที่มีปูนติดอยู่กดลงที่ปลายลิ้นพร้อมกับหายใจเข้าอัดลมไว้ ภาวนาคาถาไว้ให้ปูนแตะถูกลิ้นและกดไว้สักครู่ใหญ่ก็เอานิ้วชี้ออกจากลิ้น คอยสังเกตพิจารณาว่าบริเวณที่ลิ้นที่ถูกปูนนั้นรู้สึกอย่างไร ถ้ารู้สึกเฉยๆ รู้สึกจืด รู้สึกเค็ม รู้สึกหวาน หรือรู้สึกขม รู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก็แสดงว่าอำนาจจิตได้ส่งไปที่ปูนมากพอแล้ว จึงทำให้รสของปูนเปลี่ยนไปได้ ถ้าเป็นปูนธรรมดาไม่ได้เสก เอามาแตะที่ลิ้นจะกัดลิ้นมีอาการแสบและรู้สึกเหมือนของมีคมกรีด ปูนที่เสกได้ดีแล้ว เวลาแตะลิ้นรสจะเปลี่ยนไปแปลกๆ หรือรู้สึกเฉยๆ รู้สึกเย็นๆ บางทีก็มีแสบบ้างเล็กน้อยก็ใช้ได้ ปูนยังกัดลิ้นรู้สึกแสบมากต้องเสกใหม่ ทำซํ้าอย่างที่เคยทำจนใช้การได้ไม่กัดลิ้น

ต่อไปหายใจเข้าอัดลมไว้เอานิ้วชี้ที่มีปูนติดแตะไว้ ข้างคอ ภาวนาคาถา ๑ จบว่า “อุนุยัง” พร้อมกับลากนิ้วชี้ข้ามคอมาอีกด้านหนึ่งเรียกว่าเอาปูนคาดคอ ลากนิ้วมายาวประมาณ ๑ นิ้วหรือ ๒ นิ้ว ก็ได้ให้ข้ามกึ่งกลางคอมาอีกทางหนึ่ง ทำดังนี้แล้วก็เป็นอันว่าทำให้คงกระพัน เสร็จแล้ว จะทดลองฟันหรือแทงดูก็ได้ แต่เนื่องจากวิชาคงกระพันทำให้หนังเหนียวป้องกันการเจ็บการชํ้ายังไม่ได้ ต้องเป็นวิชาชาตรีจึงไม่เจ็บไม่ช้ำเมื่อสมาธิดีคือถึงขั้นกลาง จึงเรียนวิชาชาตรีได้ ดังนั้นเวลาทดลองให้ดึงหนังที่แขนซ้ายระหว่างข้อศอกถึงข้อมือออกมาให้หนังที่แขนยืดออก มาแล้วเอามีดปลายแหลมกดลงที่หนังเตรียมทดลอง แทง คือ ให้ปลายมีดแตะหนังไว้ เตรียมกดด้ามมีดลงแรงๆ

ก่อนจะกดปลายมีดลง ให้สูดลมหายใจเข้าจนเต็มปอด อัดลมหายใจไว้ ภาวนาคาถาบทที่ ๑ ซึ่งมีสามคำ ภาวนาได้ประมาณ ๗ จบ ก็เริ่มกดมีดลงไปได้ ขณะที่เริ่มกดมีดลงไปก็ภาวนาคาถาไว้เรื่อยๆ ภาวนา ให้ถี่คือเร็วขึ้นจะช่วยให้เจ็บน้อยภาวนาไปได้อีกประมาณ ๙ จบ ก็ให้เลิกกดมีดลงไปให้ยกมีดขึ้นการดึงหนังที่แขน จะให้ผู้อื่นช่วยดึงให้ก็ได้

การที่กดมีดลงไปในเวลาอัดลมหายใจไว้ และทำจิตให้นิ่งพร้อมภาวนาได้ประมาณ ๗ จบนั้น จะช่วยให้มีอำนาจจิตหรือพลังจิตมากขึ้นช่วยต่อต้านอันตราย ถึงจะกดมีดลงแรงๆ เต็มที่ก็ไม่มีอันตราย ผิวหนังรอบๆ ไม่แดง ไม่บวม และไม่มีเลือดออก เพียงแต่รู้สึกเจ็บนิดหน่อยเท่าการฉีดยา หรืออาจจะไม่เจ็บเลย ถ้าไม่อัดลมหายใจและไม่ภาวนาไว้แล้วกดมีดลงไป แต่ตั้งจิตให้มั่นไว้ก็ไม่มีอันตราย แต่ผิวหนังรอบๆ จะแดงนานหน่อย จะมีการบวม และจะมีเลือดซึมออกเล็กน้อย และรู้สึกมีการเจ็บมากกว่าการอัดลมหายใจไว้

ข้อควรระวัง มีดใช้มีดขนาดปานกลางทั้งด้าม ทั้งตัวมีดยาวประมาณ ๑ ฟุต หรือสั้นกว่านี้เล็กน้อย ปลายให้แหลมแต่พอควร ถ้าปลายแหลมและเรียวยาวเกินไป มีดเล็กเกินไปจิตจะเกิดพะวงกังวลว่ามีดจะหัก กลัวว่ามีดจะพลิก เมื่อมีการระแวงก็ทำให้สมาธิไม่ดีพลังจิตก็มีน้อย อีกประการหนึ่งตอนปลายๆ ลม คือเมื่อเริ่มอัดใจภาวนาไป ๗ จบ ให้จิตนิ่งมั่นคงแล้วกดและภาวนาไปอีก ๙ จบ รวมเป็น ๑๖ จบ เป็นระยะกลางๆ ลมต่อไป เป็นระยะปลายๆ ลม เพราะเราอัดลมไว้ภาวนาไปสุด อัดลมจะได้ประมาณ ๒๕ หรือ ๓๐ จบ ระยะปลายลม คือจาก ๑๖ จบไปแล้ว อำนาจจิตหรือพลังจิตจะน้อย เพราะผู้ฝึกใหม่ตั้งจิตให้นิ่งไม่ได้นานนัก เมื่อสมาธิสูงขึ้นจึงจะตั้งจิตให้นิ่งให้มั่นคงได้นานๆ ฉะนั้นผู้ฝึกใหม่ ควรทำตามที่แนะนำโดยเคร่งครัดก่อน อย่ารีบทำพลิกแพลงไปนอกแบบ เช่นแทงให้นาน ลองใช้มีดโกน ลองใช้เข็มแทงดังนี้ยังไม่ควร เพราะยังทำสมาธิไม่ได้ดี เราควรทดลองด้วยความรอบคอบ ตั้งจิตใจให้มั่นคงทุกครั้งก่อนทดลอง หรือทำตามที่อธิบายไว้

เคล็ดลับสำคัญในการใช้อำนาจจิต นอกจากเคล็ดลับในการใช้อำนาจจิตที่กล่าวไว้ในหนังสือวิทยาศาสตร์ทางใจฉบับเปิดโลก และฉบับส่องโลกแล้ว ยังมีเคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งคือ ในการใช้อำนาจจิตไปในทางต่อสู้หรือในการเสี่ยงอันตราย เช่น วิชาคงกระพันนั้น ก่อนจะลงมือทำให้ทำจิตใจให้สงบ และทำจิตใจเอาจริงเอาจังเป็นนักสู้ คิดเสียว่าเป็นคราวสัจจ์-คราวจริงของเราแล้ว ต้องเอาจริงเอาจัง เป็นการสร้างอารมณ์ห้าวหาญไว้ แล้วจึงลงมือเสกปูน จนถึงทดลองได้จริงๆ ถ้าเป็น การเสกของให้เป็นเมตตามหานิยมก็สร้างอารมณ์ยิ้มแย้มแจ่มใสทำใจให้สงบยิ้มในใจ ทำจิตเมตตารักใคร่ ทุกคนที่เป็นเพื่อนมนุษย์ แล้วจึงลงมือเสกของ

การทดลองดูปูนว่ากัดลิ้นอย่างไร ไม่ควรทดลองติดต่อกับการเสกปูน จะทำให้เกิดการสงสัย เพราะจิตมีความเชื่อมั่นในการเสกปูน หรือปูนที่เสกไปติดอยู่ที่ลิ้น จะปะปนกัน ควรทดลองก่อนหรือหลังการทดลองใช้ อำนาจจิตประมาณ ๑ วันหรือมากกว่า ๑ วันจะดีกว่า

วิชาคงกระพันอีกอย่างหนึ่งคือการเสกใบไม้กิน การเริ่มเรียนให้เสกใบพลูก่อนใช้ใบพลูหนึ่งใบ ลำดับการทดลองและการจัดเครื่องบูชาค่าบูชาครู และอื่นๆ ทำเหมือนการเสกปูน แต่ให้ใช้ใบพลูแทนปูน ใช้คาถาบทที่ ๒ เอาใบพลูมาวางไว้ในฝ่ามือที่พนมอยู่ ยกมือที่พนมอยู่นั้นไว้ห่างจากปากประมาณ ๑ คืบ คือให้ใบพลูอยู่ห่างจากปาก ๑ คืบนั่นเอง ใบพลูวางแบนตามฝ่ามือ จะมีใบพลูโผล่ออกมาจากฝ่ามือบ้างก็ได้ นึกภาพใบพลูไว้ตลอดเวลา และภาวนาคาถาไว้ทั้งเวลาอัดลมหายใจไว้ และในเวลาเป่าลมออกทางปากเป่าให้ได้ประมาณ ๗ ครั้งเหมือนกันเสร็จแล้วก็เอาใบพลูนั้นพับเคี้ยวกลืนลงไปหมด จะกินนํ้าตามลงไปอีกก็ได้ ขณะเคี้ยวใบพลูกินนั้นให้หายใจเข้าและอัดลมหายใจไว้ ภาวนาไปด้วยเคี้ยว ใบพลูไปด้วย เมื่อกลืนหมดแล้วสักครู่ก็ทดลองแทงดูได้ ทำเช่นเดียวกับการทดลองแทงในคราวเสกปูน คาถาที่ใช้ในการเสกใบพลู ให้ใช้คาถาบทที่ ๒ เวลาทดลองแทงก็อยู่ในจังหวะอัดลมหายใจไว้และภาวนา คาถาบทที่ ๒ โดยภาวนาให้เร็วให้ถี่ขึ้น

รวมความว่า ให้ตั้งใจทำจริงจัง ให้รู้สึกเป็นคนเอาจริงเอาจังกล้าหาญ เชื่อมั่นในตนเองและคำสอนที่กล่าวไว้ น้อมใจเคารพคุณพระทั้ง ๕ แล้วกราบ จุดธูป เทียนบูชา อธิษฐาน คืออัญเชิญให้คุณพระมาช่วยในการเสกใบพลู จะว่าคำเชิญต่างจากที่เขียนไว้บ้างก็ได้ ต่อไปว่า นะโมฯ สามจบ แล้วสูดลมเข้าพอสบาย และอัดลมไว้ภาวนาคาถา และนึกภาพที่จะเสกไว้ตลอดเวลา ปลายลมแล้วให้เป่าลมออกทางปากเบาๆ ยาวๆ ไปยังของที่เสกคือใบพลู ขณะเป่าลมออกก็ภาวนาคาถาไปด้วย ภาวนาคาถาตลอดเวลา นึกภาพไว้ตลอดเวลา จะเห็นภาพทางจิตหรือไม่เห็นก็ได้ เมื่อเป่าได้ประมาณ ๗ ครั้ง หรือมากกว่า ๗ ครั้ง จึงตรวจสอบรสใบพลูด้วยการเคี้ยวกินดู อยากรู้ว่าใบพลูที่ไม่ได้เสกมีรสเป็นอย่างไรต่างกับที่เสกแล้วอย่างไร ให้ทดลองก่อนหรือหลังจากวันเสกจริง ไม่น้อยกว่า ๑ วัน เพื่อไม่ให้เกิดปะปนสงสัยการทดลองแทงให้ทำโดยวิธีดึงหนังที่แขนออกมา และกดมีดในจังหวะกลางลม คือกดมีดระหว่างที่อัดใจภาวนาคาถาได้ ๗ จบแล้ว ให้ภาวนาคาถาถี่ๆ เพื่อให้จิตนิ่งและไม่กลัว เมื่อภาวนาต่อไปอีกประมาณ ๙ จบ ให้เลิกกดมีดลง เพราะปลายลมอำนาจจิตไม่ดีเท่าตอนกลางๆ ลม เมื่อทำได้แล้วทดลองได้แล้วมีความเข้าใจมั่นใจดีแล้วไม่ต้องเอาปูนคาดคอหรือไม่ต้องกินใบพลูเพียงแต่อัดลมหายใจไว้ภาวนาไว้ก็ทดลองกดมีดแทงในตอนกลางๆ ลมได้

ขอให้พิจารณาให้ดีว่าการแทงอย่างนั้น ถ้าแทงคนที่ไม่ได้ตั้งใจไม่รู้เรื่องการเหนียวก็คงจะเข้าเลือดออก เมื่อเราใช้วิชาดังกล่าวกดมีดแรงๆ ก็ไม่เข้า จะมีหลุมที่หนังทั้ง ๒ ข้างเท่านั้น แต่หลุมทั้ง ๒ ข้างก็บุ๋มเข้าข้างใน ทั้ง ๒ ข้าง ถ้าไม่เหนียวหลุมทางตรงกันข้ามจะตุงออกมา มีดทะลุผิวหนัง รู้ว่าอำนาจจิตอำนาจคุณพระมีจริง ทำให้รสของปูนและใบพลูเปลี่ยนไปได้เพียงแค่นี้ก็ดีแล้ว ไม่ควรทดลองพลิกแพลงแปลกๆ เพราะสมาธิหรือความมั่นคงไม่พอจะพลั้งพลาด ใครอยากจะพลิกแพลง
ไปอย่างอื่นก็ไปหาอาจารย์โดยตรงทำต่อหน้าอาจารย์จึงจะมีความปลอดภัย เมื่อเข้าใจดีแล้วจึงทำพลิกแพลงตามลำพังได้ เรื่องนี้เตือนไม่ให้พลิกแพลงก็หวังดีที่จะให้มีโอกาสฝึกใช้อำนาจจิตอำนาจคุณพระขั้นสูงขึ้นต่อไปได้ง่าย ฝึกสมาธิให้สูงขึ้นจะทำอะไรได้แปลก ใช้ประโยชน์ได้พิสดารขึ้นทั้งทางโลกและทางธรรม คนที่ยังนึกกลัวอยู่มากไม่กล้าทดลองก็ยังไม่ควรทดลองในวันนั้น

ข้อห้าม
วิชาคงกระพันที่เรียนนี้และวิชาอื่นๆ ที่ข้าพเจ้าสอน เป็นวิชาทางคุณพระ ส่วนมากไม่มีข้อห้าม แต่บางวิชามีข้อห้าม แต่ก็เป็นข้อห้ามง่ายๆ ทำผิดข้อห้ามก็ไม่มีโทษ ไม่ทำให้เจ็บป่วยเหมือนไสยศาสตร์โบราณเมื่อพลั้งเผลอ ข้อห้ามวิชาทางคุณพระไม่เกิดโทษให้เจ็บป่วย แต่ก็ควรมีการเคารพต่ออาจารย์และคุณพระ คือเมื่อทำพลั้งเผลอ แล้วก็จุดธูปเทียนบูชาบอกกล่าวและขอใช้วิชานั้นต่อไป ก่อนมีเวลาก็ไปบอกกล่าวกับอาจารย์ขอยกครูใหม่

วิชาคงกระพันนี้มีข้อห้าม ๓ ข้อ คือ
๑. ห้ามเอาคาถาไปบอกต่อให้แก่ผู้อื่น ถ้าเรียนแล้วครบ ๕ ปีจึงเป็นครูสอนหรือบอกต่อผู้อื่นได้ ถ้ายังไม่ครบ ๕ ปี ต้องไปทำพิธีครอบครูเรียนวิธีเป็นครูก่อน จึงสอนผู้อื่น

๒. ห้ามเอากระดาษที่มีอักษรไทย อักษรขอมไปเช็ดก้นเวลาถ่ายอุจจาระ

๓. ห้ามด่าแม่เขาเวลาเกิดต่อสู้กัน ข้อนี้ขอเพิ่มเติมตำราเดิมอีกว่า เวลาต่อสู้หรือใช้วิชานี้เรามีหน้าที่อัดลมหายใจไว้ และภาวนาคาถา เมื่อถึงปลายลมอัดไว้ ไม่ได้ก็หายใจออกเร็วและแรง แล้วสูดลมหายใจเข้าอัด ลมไว้อีกโดยเร็ว คือหายใจออกทางจมูกแบบกระแทกออกแรงๆ เร็วและหายใจเข้าอัดลมและภาวนาถี่ๆ อีก

การทำให้ผู้อื่นเหนียวคง วิชาเหนียวคงที่สอนนี้ เรียนตกทอดกันมาหลายชั่วคนแล้วเรียกว่าวิชาแต่งกองทัพ คือทำให้ผู้อื่นเหนียวคงได้ การทำให้ผู้อื่นเหนียวคง ก็อธิษฐานหรืออัญเชิญให้คุณพระช่วยคุ้มครองเป็นรายบุคคล เช่น เขาชื่อนายแดงก็ให้คุ้มครองนายแดง หรือทำให้ช้างม้าที่ใช้ในสงครามเหนียวคงก็เสกปูนคาดคอให้ช้างและม้า การทำให้ผู้อื่นเหนียวคงตนเอง ต้องเชื่อมั่นทดลองจนมั่นใจ ๓ หรือ ๔ ครั้งก่อน เช่น วันนี้ทดลองแล้วอีก ๗ วันหรือ ๑๐ วันทดลองใหม่ พอมั่นใจดีจึงทดลองทำให้คนอื่น เวลาลองให้เขาอยู่ในจังหวะอัดและภาวนาพุทโธ ถี่ๆ เราภาวนาคาถาแทนเขา จึงจะไม่เจ็บ ไม่ชํ้า ไม่บวม ผู้มีความเชื่อมั่นดีและฝึกสมาธิดีพอควรจะเสกปูนครั้งเดียวคาดคอให้ ๗ คนก็ได้ หรือเสกใบพลูครั้งละ ๗ใบ ให้คน ๗ คนกินคนละใบก็ได้ ผู้มีสมาธิสูงจะทำให้ได้หลายคน หลังจากทดลองแทงแล้วจะมีหลุมที่แทงทั้งสองข้าง คือมีหลุมบุ๋มเข้าทั้งสองข้างนั้น ห้ามเอามือจับแหวะดู เพราะเนื้อข้างในจะขาด และมีเลือดซึมออกมา ปล่อยไว้อย่างนั้นหลุมจะเต็มเอง ไม่ควรทดลองฟันหรือเถือไปมา ไม่ควรทดลองใช้ใบมีดโกนหรือมีดหมอทดลอง เพราะในระดับสมาธิขั้นต้นนั้น ยังมีพลังไม่มากพอ และการเหนียวก็เหนียวเฉพาะหนังข้างนอก เนื้อหรือกระดูกไม่เหนียวพอที่จะต้านทานความคมความแรงได้ อย่างน้อยก็อาจชํ้าในและกลายเป็นฝีช้ำภายหลัง เคยรักษาคนที่เกวียนทับที่วัดพระแก้ว ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ หลังจากถูกเกวียนทับมาประมาณ ๕ ปี เกิดเป็นฝีช้ำ หลังจากผ่าขูดเอาเนื้อเน่าออกก็รักษาไม่หายนานกว่าเดือนจึงมาให้รักษาโดยการใช้ปรอท เพียง ๓ วันอาการก็ดีขึ้นมาก กำลังใจดีกินข้าวได้ ผู้ป่วยนี้เป็นบิดาของท่านเจ้าอาวาสวัดพระแก้วและแผลก็หายดี ทั้งนี้ได้รักษาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ ใช้เวลารักษา ๑๐ วัน แผลก็หายเป็นปกติ มีดที่ใช้ทดลองใช้มีดเดินป่าซึ่งปลายแหลมไม่มาก ถ้าใช้มีดปลายแหลมเรียวเล็กก็ไม่สมควร เพราะมีจิตส่วนหนึ่งกลัวหัก ทางที่ดีที่สุดคือให้เร่งฝึกสมาธิขั้นกลางได้แล้ว จบสมาธิขั้นกลางเอามีดดาบฟัน หรือเอาเหล็กฟาดหน้าแข้งก็ไม่เจ็บ ไม่มีอันตราย ไม่รู้สึกเจ็บเพราะพลังสมาธิผลักเหล็กหรือมีดดาบออกไปก่อน ที่จะถึงหน้าแข้ง ตัวอย่างแบบนี้พระอาจารย์ในดงท่านเล่าให้ฟังว่าเมื่อท่านกำลังขุดมันที่จังหวัดนครปฐม ระหว่างที่ท่านเป็นเณร พระอาจารย์ใหญ่ให้ทดลองเอาเสียมตอนเป็นเหล็กตีหน้าแข้งของพระอาจารย์ใหญ่ ตีจนเหนื่อยก็ไม่มีอันตรายแม้แต่น้อย

ผู้มีสมาธิขั้นต้นใจยังนึกกลัวขณะแทงก็จะมีหลุมบุ๋มเข้าไปทั้ง ๒ ด้าน ถ้าไม่เหนียวไม่ตั้งใจทำปลายมีดก็จะแทงเข้าคือหนังทะลุตุงออกไปเลือดไหล เมื่อฝึกสมาธิบ่อยเพียงสมาธิขั้นต้นนั้นก็จะมีรอยบุ๋มเข้าข้างเดียวด้านล่างไม่มีรอยบุ๋ม เมื่อสมาธิดีขึ้นเอามีดแทงโยกไปมาที่หนังจะมีหลุมเล็กนิดเดียว เมื่อฝึกถึงสมาธิขั้นสูงจะใช้มีดคมปลายแหลมแทงโยกไปมา ที่หนังก็ยังเป็นปกติไม่เจ็บ ไม่มีหลุมเหมือนที่พระอาจารย์ใหญ่ให้เอาเสียมตีหน้าแข้ง ตามที่ผู้เขียนสอนมากว่า ๓๕ ปี พบพระที่มาเรียนเพียงองค์เดียวที่ทดลองแทงเต็มแรงไม่มีบุ๋มเลย พระท่านขอแทงด้วยตนเองอีก ๒ ครั้งเต็มแรงก็ไม่มีหลุม แต่จะแทงซํ้าก็ขอจากครูอาจารย์ว่าขอแทงซํ้าเพื่อความชำนาญ ไม่ได้มีจิตไม่เชื่อโดยประมาท

การใช้คาถา จะใช้คาถา (บทที่ ๑) เสกปูนก็ใช้อย่างเดียว จะใช้คาถา (บทที่ ๒) เสกใบพลูก็ใช้แต่อย่างเดียว อย่าใช้ ๒ อย่างในเวลาเดียวกัน เป็นการแสดงว่า จิตใจไม่เชื่อมั่น เมื่อถึงคราวจำเป็นจะเสกนํ้าลายแทนปูนก็ได้ หรือไม่มีเวลาเสก ไม่มีเวลาคาดคอจะหายใจเข้าอัดลมหายใจไว้ และภาวนาคาถาก็ใช้ได้ คุ้มครองได้ไม่มีอันตราย แต่ให้เลือกเอาบทเดียว (บทที่ ๑ หรือ บทที่ ๒  ใบพลูถ้าเป็นใบเล็กก็เอา ๒ หรือ ๓ ใบ ใบใหญ่ก็เอาใบเดียวถ้าจำเป็นก็ใช้ใบไม้อื่นๆ ก็ได้ ถ้าใบไม้เล็กๆ เช่นใบมะขามก็ใช้ ๑ กำมือมาเสกกิน ถ้าเสกปูนคาดคอ หรือเสกใบพลูกินอย่างใดอย่างหนึ่ง วันละครั้งทุกวันจนครบ ๕ ปี จะทำให้เหนียวแบบอยู่ตัว คือไม่ต้องเสกก็เหนียว นอนหลับอยู่ก็ฟันไม่เข้า และฉีดยาไม่เข้า

อาจารย์ที่สอนให้ข้าพเจ้า ชื่ออาจารย์ฟื้น และอาจารย์ฟื้นเรียนวิชาคงกระพันนี้มาจากอาจารย์คำ อาจารย์คำ ศิษย์มักจะเรียกว่าปู่คำ อยู่ที่บางลำพู พระนคร ปู่คำทำตัวให้เหนียวคงแบบอยู่ตัว คือเสกทำครบ ๕ ปี ส่วนอาจารย์ฟื้น ศิษย์มักจะเรียกว่าพ่อฟื้น อาจารย์ฟื้นตายแล้ว ภรรยาท่านชื่อคุณแม่ลำใย ก็เป็นอาจารย์สอนแทน, คุณแม่ลำใยเป็นผู้ครอบครูคือประสิทธิ์ประสาทให้ข้าพเจ้าเป็นครูได้

ที่มา:ชม  สุคันธรัต

วิธีสอนให้ใช้พลังจิตที่ได้ผลดีได้ผลเร็ว

พลังจิตทุกคนเรียนรู้สมาธิและรักษาโรคเอดส์-มะเร็งได้ในวันเดียว
พ.อ.ชม สุคันธรัต วิทยาศาสตร์บัณฑิต ทบ. ได้สอนตามคำสอนของพระอาจารย์ในดง ซึ่งตรงตามพระไตรปิฎก สอนเพียงวันเดียวทุกคนก็ทำสมาธิถูกต้อง และสามารถรักษาโรคเอดส์,โรคมะเร็ง,วัณโรค ดื้อยา,ไซนัส,เบาหวาน, หืด, ทอนซิลอักเสบ, ไวรัสบางชนิด, เรื้อนกวางแบบแห้ง, งูสวัด, เริม, พิษสุนัขบ้าที่มีอาการแล้ว, นิ่วในไตในดี, ต่อมลูกหมากโต และโรคที่ฝรั่งยังไม่มียารักษาที่ได้ผลดี

ยาทุกขนานเป็น “ยาปลุกเสก” ด้วยพลังคุณพระ

พ.อ.ชม ได้สอนและค้นคว้าทดลองมากว่า ๔๐ ปี จึงมีการบันทึกและจดจำระยะเวลาที่โรคจะหาย โดยเฉลี่ยจากผลการรักษาของแพทย์แผนโบราณที่รักษาได้ผลจริง ไม่ได้เขียนหรือพูดว่าตนเอง (พ.อ.ชม) รักษาหาย แต่บอกว่าสอนได้

สอนให้ทำได้ผลโดยประมาณ ดังนี้ ผู้ป่วยยังกินข้าวได้ เดินได้

โรคเอดส์, มะเร็ง, ไวรัสบี, ไวรัสที่ตับ ใช้เวลารักษาให้หายภายใน ๔ เดือน อาการดีขึ้นมากภายใน ๓ วัน หรือ ๕ วัน คือ นอนหลับยาวขึ้น อ่อนเพลียน้อยลง กินอาหารได้มากขึ้น อาการปวดลดลงมากหรือหายปวด

เรื้อนกวางชนิดดื้อยา ริดสีดวงทวาร, ไซนัส วัณโรคดื้อยา รักษาให้หาย ภายใน ๑ เดือน

เริม, งูสวัด รักษาให้หายได้ภายใน ๕ วัน

นิ่วในไต นิ่วในดี รักษาให้หายขาดโดยกินยา ไม่เกิน ๓ ครั้ง

ต่อมลูกหมากโต ปัสสาวะบ่อยๆ ภูมิแพ้ ไอ

เจ็บคอ รักษาให้หายได้ภายใน ๑ เดือน

ทั้งนี้รักษาด้วยยา และใช้ยาประกอบกับพลังจิต และให้งดของแสลงเป็นเรื่องสำคัญทุกคนเรียนได้รักษาโรคได้ผลในระยะเวลาดังกล่าว สอนโดยไม่คิดค่าสอน

“สิบรู้ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าลงมือทำ สิบลงมือทำไม่เท่าชำนาญ”

ความมุ่งหมาย เพื่อส่งเสริมให้เลื่อมใสทุกศาสนา และช่วยชีวิตคนจากโรคร้าย

วิธีสอนให้ใช้พลังจิตที่ได้ผลดีได้ผลเร็ว
ผู้สนใจจะใช้อำนาจจิตหรือพลังจิตของตนให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ได้เร็ว คือ ใช้เวลาเรียนเพียงวันเดียวก็ใช้พลังจิตให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ได้ เช่นใช้พลังจิตให้มีความจำดีเรียนเก่ง, ใช้พลังจิตช่วยให้ทำงานได้ผลดี ใช้พลังจิตรักษาโรคต่างๆ ที่ฝรั่งยังไม่มียารักษาที่ได้ผล เช่น โรคเอดส์, โรคมะเร็ง, วัณโรคบางประเภท, ไซนัส, เบาหวาน, หืด, ทอนซิลอักเสบ, ไวรัสบางชนิด, เรื้อนกวางแบบแห้ง, ต่อมลูกหมากโต, นิ่วในไตและในถุงนํ้าดี, งูสวัด, เริม, พิษสุนัขบ้าที่มีอาการแล้ว เหล่านี้ล้วนรักษาให้หายได้เร็วด้วยการใช้สมุนไพรหรือใช้ยาประกอบกับพลังจิตพลังคุณพระวิธีรักษาโรคโดยละเอียดได้กล่าว ไว้ใน “แพทย์สามแผนนำสมัย” ที่มีหัวข้อสำคัญครบถ้วน คือ ชื่อโรค, อาการ, วิธีรักษาของแสลง, การปฏิบัติตน และวิธีใช้สมาธิรักษาตนเองและรักษาผู้อื่น อ่านแล้วสงสัยก็ถามได้ไปเรียนเพื่อให้รักษาได้ผลดีก็ยินดีสอนให้ โดยไม่คิดค่าสอน ได้สอนศิษย์มาเป็นเวลา ๔๐ ปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ในปัจจุบันจนถึง พ.ศ. ๒๕๔๐ นี้มีบางอาจารย์นำเอาวิธีรักษาโรคต่างๆ แบบฝรั่งมาสอนในเมืองไทย แต่จะได้ผลดีเพียงใดย่อมพิจารณาได้ง่ายจากผลในการรักษาเปรียบเทียบกับวิธีของไทยที่ได้จากการสอนของพระอาจารย์ในดงลึก และความชำนาญในการค้นคว้าทดลองซึ่งผู้เขียน (พ.อ.ชม) ได้ทดลองรักษามากว่า ๔๐ ปี ขอยืนยันด้วยความสัตย์จริงว่า การเขียนทุกเรื่องพูดถึงและเปรียบเทียบระหว่างแพทย์ฝรั่ง แผนปัจจุบันและแผนโบราณของไทย ไม่มีการกล่าวถึงแพทย์แผนปัจจุบันของไทยเพราะย่อมจะรู้เห็นชัดเจนกันอยู่แล้ว ถ้าใช้สติปัญญาพิจารณาดูให้รอบคอบ ถ้าแพทย์แผนปัจจุบันไทยเห็นว่ามีข้อความพาดพิงถึงแพทย์แผนปัจจุบันไทยให้เสียหายหรือมีข้อความใดกระทบกระเทือนถึงโปรดแจ้งให้ผู้เขียน (พ.อ.ชม) ทราบด้วย จะแก้ไขโดยด่วน ถ้าทุกคนช่วยกันทำให้ แพทย์แผนปัจจุบันและแผนโบราณร่วมมือกันได้ด้วยความจริงใจทั้งไทยและฝรั่งก็จะช่วยชีวิตคนที่กำลังตายมากขึ้นทุกทีด้วยโรคที่แพทย์ที่ฝรั่งรักษาไม่ได้ผลหรือยังคิดยาไม่ได้ เพราะสภาพแวดล้อมทำให้โรคใหม่ๆ เกิดขึ้น โรคเก่าก็เปลี่ยนสภาพแปลกๆ ขึ้น ทำให้อาการปรากฎผิดไปจากเดิมตรวจรักษาไม่ได้ผลอีกด้วย เพราะเหตุที่จะกล่าวต่อไป การกล่าวถึงแพทย์ฝรั่งได้ไม่ใช่เดา แต่ผู้เขียนได้ไปเรียนวิชาทางโลกที่อเมริกา ๒ ครั้ง ดูงานหนึ่งครั้ง และเคยไปประเทศต่างๆ อ่านข่าวและตำราฝรั่งและพิจารณาด้วยสมาธิด้วยเรียนรู้จากพระอาจารย์ในดง ผู้มีฤทธิ์และเคยเป็นแพทย์แผนปัจจุบันไทยมาแล้วด้วย และผู้เขียนได้รักษาโรคต่างๆ มานานตลอด ๔๐ ปี “ร่วมมือกันนั้นดีกว่าพาล”

การเรียนการสอนแบบพระอาจารย์ในดงหรือนั่นคือ สอนแบบสมบูรณ์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งมีปรากฏในพระไตรปิฎก

วิธีสอนให้ใช้พลังจิตให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ได้จริงและได้ผลเร็วมีลำดับดังนี้

๑. สอนให้ทำสมาธิได้ถูกต้องเสียก่อน เพราะสมาธิสูงขึ้นก็เกิดพลังจิตสูงขึ้นโดยลำดับ ถึงไม่ประสงค์จะให้เกิดพลังแต่ก็จะเกิดพลังขึ้นเองโดยธรรมชาติ จึงต้องสอนให้ทำสมาธิให้ถูกต้อง โดยสอนให้ตรวจผลของสมาธิได้ด้วยตนเองว่าตนมีสมาธิระดับใดและจะฝึกให้ดีขึ้นอย่างไร?

๒. สอนให้ส่งพลังจิตออกไปภายนอกจากง่ายไปยาก คือสอนให้ส่งพลังจิตไปยังปูนที่นิ้วมือปล่อยพลังไปยังปูนทำให้ปูนเปลี่ยนรสได้ ทดลองให้เป็นคงกระพันก็ได้ ต่อไปให้ส่งพลังจิตไปยังนํ้าหรือนํ้ามันที่กำลังเดือดซึ่งร้อนประมาณ ๑๑๐ องศา ให้หมดพิษ ทุกคนเอามือล้วงลงในนํ้าเดือดได้ตักกินได้ไม่มีอันตราย ขั้นต่อไปให้ส่งพลังจิตไปยังโซ่เหล็กที่เผาไฟจนแดงเอามือแตะโซ่เหล็กที่ร้อนแดงนั้นได้ เอามือกอบโซ่เหล็กที่ร้อน แดงขึ้นได้ ก่อนทดลองทุกขั้นต้องสอนให้ตรวจสอบเสียก่อนว่าหมดพิษไม่มีอันตรายและกล้าทดลองทุกคน

๓. เมื่อแน่ใจว่าตนมีพลังจิตและสามารถส่งพลังจิตออกไปภายนอกได้จริงแล้ว จึงสอนให้ส่งพลังจิตไปรักษาโรคด้วยวิธีต่างๆ ได้ผลจริง ขั้นแรกสอนให้ใช้พลังจิตบังคับปรอทไร้โทษเข้าทางฝ่ามือเพื่อให้แล่นไปรักษาโรคในกายของคน แต่ในโอกาสนี้ต้องแสดงให้เห็นว่าอำนาจคุณพระอำนาจครูอาจารย์อำนาจพลังของบิดามารดานั้นสามารถอาราธนาให้มาช่วยทำให้ปรอทเข้าตัวคนไข้ได้โดยไม่ต้องใช้พลังจิตของตนไม่ต้อง ภาวนาคาถาอะไรปรอทก็วิ่งเข้าตัวคนได้ด้วยพลังคุณพระ เป็นการเกิดพลังความเชื่อที่พิสูจน์ทดลองได้ และด้วยเหตุนี้จึงใช้พลังคุณพระเป็นความเชื่อประกอบกับการใช้พลังสมาธิเป็นหลักสำคัญช่วยรักษาโรคต่างๆ ได้ ผลดี ได้ผลเร็ว โดยการอธิบายวิธีส่งพลังจิตไปรักษาโรค
เป็นอย่างๆ ต่อไป หรือการใช้ยาประกอบกับพลังจิต ทำอย่างไรก็อธิบายและทดลองให้ดูโดยไม่ปิดบังความรู้ ผู้เชื่อว่าพลังอื่นมาช่วยได้ก็ควรลองดูว่ามาช่วยได้จริงหรือไม่ และช่วยได้มากน้อยเพียงใด ใช้เวลาในการเรียนมากน้อยเพียงใดเพื่อประกอบการพิจารณา

กล่าวโดยสรุปพลังจิตที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ มี ๒ ประเภทคือ พลังความเชื่อและพลังของสมาธิ

๑. พลังที่เกิดจากความเชื่อ เป็นวิธีที่ฝรั่งใช้และนำมาสอนกันหลายสำนักต้องใช้เวลาเรียนมากกว่าจะเชื่อ

๒. พลังที่เกิดจากสมาธิ มีผลมากจากชั้นต้นจนถึงชั้นสูงสุด มีการแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ ถึงนิพพานได้

๓. การใช้พลังสมาธิเป็นหลัก ใช้ความเชื่อประกอบซึ่งเป็นวิธีที่ให้ผลดีที่สุดและทดลองให้เห็นจริงได้ เรียนรู้และพิสูจน์ให้เห็นแจ่มแจ้งได้

การสอนให้รักษาโรคแบบฝรั่ง จะสอนให้รักษาโรคเลย โดยที่ผู้เรียนยังไม่รู้แน่ชัดว่าตนมีพลังจะส่งไปรักษาโรคได้หรือไม่ ถ้ามีก็ไม่รู้ว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด นี่คือความสงสัยลังเลใจ ซึ่งเป็นนิวรณ์ ๕ ข้อสุดท้ายเป็นเครื่องขัดขวางไม่ให้เกิดความสำเร็จ ถ้าผู้ใดเชื่อได้สนิทก็ย่อมรักษาโรคได้ผลพอประมาณหรือดีบ้าง ภายหลังเขาได้สังเกตพิจารณาการใช้วิธีรักษาโรคแบบไทย ที่ได้ผลดีเพราะใช้สมาธิช่วย หลักสูตรการฝึกในระดับท้ายๆ ของฝรั่งเขาจึงสอนให้ใช้สมาธิช่วยด้วย ระยะเวลาเรียนยังใช้เวลาให้ได้ผลดีเป็นระยะเวลาหลายวันหรือหลายปี จึงได้ผลดีพอสมควร

แต่การที่ได้รับการสอนแบบพระอาจารย์ในดง สรุปรวมธรรมหมวดอื่นในพระไตรปิฎกมาร่วมอธิบายขยายความให้แจ่มแจ้ง มีขั้นตอนภาคปฏิบัติเป็นขั้นๆ จากง่ายไปยากจึงทำให้เรียนได้เร็ว ผู้ไม่เคยฝึกสมาธิเลย หรือฝึกได้เพียงสมาธิขั้นต้นก็สามารถเรียนรู้การทำสมาธิได้ถูกต้อง และรู้วิธีวัดได้เองว่าตนมีสมาธิระดับใด จะฝึกต่อไปให้ก้าวหน้าอีกอย่างไร และรู้ส่งอำนาจคุณพระ อำนาจสมาธิไปรักษาโรคต่างๆ ได้ผลดี ได้ผลเร็ว ตามที่กล่าวมาแล้วใช้เวลาเพียงวันเดียวก็เรียนได้จบและได้ผลถึงไปรักษาโรคต่างๆ ได้จริง

พระอาจารย์ในดงจะสอนเน้นในเรื่องการใช้พลัง คุณพระพลังจิตว่าเป็นวิชาที่ต้องผ่านไปไม่ยึดติด เป็นวิชาเด็กเล่น ที่ถูกคือเร่งฝึกสมาธิให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปเมื่อใช้ความพยายามและปฏิบัติตามคำสอนของ พระพุทธองค์ได้จริงก็ใช้เวลาเพียง ๓ เดือน ก็ได้ถึงสมาธิขั้นกลาง สมาธิขั้นกลางมีพลังดีกว่าขั้นต้นมาก

ขีดความสามารถของอำนาจจิตขั้นต้น อำนาจจิตขั้นต้นจะช่วยให้มีความสามารถทั้งทางกายและทางจิตใจดีขึ้นกว่าปกติเพิ่มความเข้มแข็งอดทนและขยันหมั่นเพียร ช่วยให้มีความจำดีมีสุขภาพดี เพิ่มความรู้ความเข้าใจในวิชาการต่างๆ ดีขึ้น ขวัญและกำลังใจดีขึ้น ในกรณีพิเศษ หรือการทดสอบอำนาจจิตขั้นนี้สามารถทดลองฟันหรือแทงด้วยแรงคนไม่เข้า ไม่มีอันตราย น้ำมันที่กำลังเดือด เอามือจุ่มลงไปได้ ตักกินได้โดยไม่มีอันตราย สามารถเดินลุยไปบนถ่านที่ติดไฟโดยไม่ต้องใส่รองเท้าสามารถเอามือจับโซ่ขนาดใหญ่ที่เผาไฟจนแดงได้ หรือเอามือกอบขึ้นได้ ใช้ในการรักษาโรคได้หรือช่วยส่งเสริมการรักษาอย่างอื่นให้โรคหายเร็วขึ้น ใช้ในการสะกดจิตได้ ช่วยให้มองเห็นภาพสิ่งของหรือเหตุการณ์ในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ได้ แต่ก็เป็นภาพเงาๆ ยังไม่ชัดเจนเหมือน สมาธิขั้นกลาง จึงมีส่วนผิดบ้างถูกบ้าง

ขีดความสามารถของอำนาจจิตขั้นกลาง อำนาจจิตขั้นกลางสามารถเพิ่มพูนความเข้มแข็งความอดทนและความขยันหมั่นเพียร ช่วยให้เกิดขวัญและกำลังใจ ช่วยให้มีความจำและความรู้ความเข้าใจได้ดีกว่าอำนาจจิตขั้นต้น ส่วนในกรณีอื่นๆ ก็มีขีดความสามารถสูงกว่าอำนาจ จิตขั้นต้น ตัวอย่างเช่น ในการทดลองฟันหรือแทงแรงๆ อำนาจจิตขั้นต้นยังปรากฏผลว่ามีอาการบวมแดง และมีอาการเจ็บช้ำได้ บางทีก็มีเลือดซึมออกมาบ้าง แต่อำนาจจิตขั้นกลางจะไม่มีอาการเจ็บไม่ช้ำบวม มองเห็นวัตถุในที่กำบังระยะไกล หรือเห็นเหตุการณ์ปัจจุบันและอนาคต อันใกล้ชัดเจนและถูกต้อง มีส่วนจะผิดพลาดน้อยมาก ในด้านความจำก็สามารถจำได้มากในระยะเวลาอันสั้น สามารถรับส่งข่าวด้วยกระแสจิตได้ (ถามและตอบกันได้ทางจิต) สะเดาะกุญแจให้หลุดได้, สามารถรักษาโรคได้ ผลดีกว่าอำนาจจิตขั้นต้น สามารถเปลี่ยนธาตุหรือวัตถุ อย่างหนึ่งให้เป็นอีกอย่างหนึ่งได้ และทำให้เป็นตัวสัตว์ที่มีชีวิตและวิญญาณได้ เช่นการทำใบไม้ให้เป็นแมลงภู่ หรือเป็นนก และทำให้ข้าวสารให้เป็นกุ้ง ความสามารถดังกล่าวมานี้ อาจารยัในประเทศไทยได้แสดงต่อหน้าที่ประชุมหลายครั้งมาแล้ว ในปัจจุบันก็มีทำได้หลายท่าน

ขีดความสามารถของอำนาจจิตขั้นสูง อำนาจจิต ขั้นสูงย่อมใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้เหมือนอำนาจจิตขั้นต้น และขั้นกลาง แต่มีขีดความสามารถสูงกว่า เช่น ทำได้ดี ทำได้เร็ว ถูกต้องแม่นยำกว่า และนอกนั้นยังมีขีดความสามารถนอกเหนือไปจากอำนาจจิตขั้นต้น และขั้นกลางอีกมากมายหลายอย่าง ตัวอย่างการแสดงอำนาจจิต ตลอดจนหลักการและวิธีการที่จะใช้อำนาจจิตขั้นสูงมีอยู่ในพระไตรปิฎกหลายแห่ง จะขอยกมาเพียงบางแห่ง เช่น น้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธีหลายประการคือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ (หายตัว) หรือทำให้วัตถุอื่นหายไป เดินทะลุฝ่ากำแพงหรือภูเขาไปได้น้อมจิตให้เกิด ทิพยโสต ได้ยินเสียงทิพย์กับเสียงมนุษย์ใกล้ไกลได้ เจโตปริยญาณกำหนดรู้ใจของผู้อื่นได้ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก ผุดขึ้นดำลง แม้นในแผ่นดินเหมือนในนํ้าก็ได้ เดินบนนํ้าเหมือนเดินบนดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ น้อมใจทำกองไม้ให้เป็นดินได้ หรือให้เป็นนํ้าได้ เป็นลมก็ได้ ทำให้ปรากฏคือมองเห็นอะไรไกลใกล้ได้แม้จะมีอะไรปิดบังก็เห็นได้และอำนาจจิตขั้นสูงแม้ถูกเผาทั้งเป็นก็ไม่มีอันตราย โจรไล่ฟันก็ไม่ได้ สัตว์ร้ายก็ไม่กล้าทำอันตราย จิตขั้นสูงสุดก็อาจสำเร็จวิชา ๓ อภิญญา ๖ หรือ วิชชา ๘ ประการ

บุญยิ่งใหญ่ที่จะนำความเจริญมาให้ตน
ขอเชิญชวนให้ศิษย์ที่เคยเรียนใช้พลังจิตพลังคุณพระจำนวนมากจากผู้เขียน (พ.อ.ชม) ช่วยรักษาโรคที่ฝรั่งยังไม่มียาที่จะรักษาได้ผลดีทำให้คนตายมากขึ้นทุกที โรคที่เคยรักษาหายก็ดื้อด้านรักษาไม่หาย อาการโรคเปลี่ยนแปลงจากเดิมมีโรคใหม่เกิดเพิ่มขึ้นอีก เพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปด้วยรังสีที่เกิดจากการทดลองอาวุธร้ายหลายประเทศต่อไปใช้ปรมาณูอย่างเปิดเผยลงบนพื้นดินในการรบนั่นแหละ จะเห็นโทษชัดเจน ฝรั่งยังคิดวิธีล้างรังสีไม่ได้ เขารักษาด้วยรังสีแต่ไม่รูวิธีลบล้างรังสีที่ส่งเข้าตัวคน ตามที่ผู้เขียนทดลองมามากพบรังสีปรอทที่ ปราศจากพิษเท่านั้นที่ลบล้างรังสีทางวิทยาศาสตร์ได้ การรักษาโรคต่างๆ ที่สอนศิษย์ใช้คุณพระและพลังสมาธิ จึงเป็นการเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้ดี กฎหมายเปิดโอกาสให้บรรยายเผยแพร่ศาสนาในที่เปิดเผยได้ ไม่มีใบประกอบโรคคิลป์ รักษาโรคเอดส์ มะเร็ง และอื่นๆ ได้ ภายหลังจากการห้ามรักษาที่ระยองได้อนุโลมให้รักษาได้ โดยไม่มีใบประกอบโรคศิลป์ หลังจากคนไข้เอดส์จำนวนมากเดินขบวน

พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าการรักษาโรคมี ๕ วิธี มีหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่ม ๔๗ หน้า ๖๓๒ กล่าวถึง วิธีรักษาโรค ๕ วิธีไว้ว่า การรักษาโรค ๕ อย่าง คือ “รักษาทางเสกเป่า, ทางผ่าตัด, ทางยา, ทางภูตผี, รักษาทางกุมาร” ดูได้จากพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยของกรมการศาสนา (ชุด ๘๐ เล่ม) แพทย์ฝรั่งไม่ใช้วิธีเสกเป่า (ใช้พลังคุณพระและพลังสมาธิ) และวิธีทางภูตผี (คือ วิชาถอนคุณไสยศาสตร์และผีเข้า) แพทย์ ๓ แผนนำสมัยใช้วิธีรักษาโรคทั้ง ๕ วิธี ที่ได้ผลดีมากก็คือใช้การ เสก เป่า ประกอบยา”

การฝึกสมาธิวิปัสสนามีความสำคัญที่ทำให้เกิดพลังจิตนำมาใช้ในการรักษาโรค ที่แก้ไม่ได้ผลนั้นเพราะ เหตุหลายประการที่ไม่ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ตัวอย่างเช่น ไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดสมาธิ พระพุทธองค์สอนว่า

๑. ความสุขสบายเป็นเหตุให้เกิดสมาธิ ต้องสร้างเหตุผลจึงจะเกิด,

๒. ไม่รู้ว่าที่ปฏิบัติสมาธิอยู่นั้นถูกหรือผิด จึงทำถูกบ้างผิดบ้าง,

๓. ฝึกวนเวียนอยู่ในตอนต้นๆ ไม่ก้าวหน้าต่อไป ขึ้นต้นเทียบว่าประถมหนึ่งภาวนาไปด้วยเมื่อสมาธิก้าวหน้าสูงขึ้นก็ลืมคำภาวนาเพราะจิตสงบเป็นสมาธิ เปรียบเหมือนได้ประถมสอง บางท่านสอนว่าลืมภาวนา ก็ให้เริ่มภาวนาใหม่ จึงวนเวียนอยู่แค่ประถมหนึ่งประถมสอง บางคนเมื่อลืมภาวนาลมหายใจละเอียดเบาจนไม่รู้สึกว่าหายใจซึ่งนับเป็นประถมสาม เกิดกลัวว่าจะตาย เพราะไม่ได้หายใจ จึงกลัวไม่กล้าฝึกอีก ในระดับนี้พระอาจารย์พุทธทาสสอนว่า การหายใจยังมีอยู่ แต่ไม่ปรากฏ เมื่อเข้าใจผิดในขั้นที่สามก็กลัวนึกว่าผิด เมื่อวนเวียนอยู่ ดังนี้จึงทำให้การฝึกไม่ก้าวต่อไป

๔. ไม่สอนไม่ฝึกจากง่ายไปยาก ฝึกข้ามขั้น ส่วนมากข้ามถึง ๒ ขั้นจึงฝึกไม่ถูกต้องไม่ก้าวหน้า รายละเอียดให้ดูวิธีฝึกสมาธิวิปัสสนาให้ได้ผลเร็วต่อไป

ที่มา:ชม  สุคันธรัต

การศึกษาเรื่องจิต

การฝึกจิต

การศึกษาเรื่องจิตนั้นมีเรื่องสำคัญแยกออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ การฝึกจิต และ การใช้อำนาจจิต

๑. การฝึกจิต ทำเพื่อให้เกิดความสงบ มีความสุข สบายปลอดโปร่งในด้านจิตใจ และความสงบนี้เองจะทำให้เกิดอำนาจจิตหรือพลังจิต (กำลังภายใน) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ นั้นอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ทำให้เกิดมีปัญญารู้เห็นสิ่งต่างๆ ตามสภาพตามความเป็นจริง ช่วยขัดเกลาให้จิตสะอาดขึ้นจนถึงจิตบริสุทธิ์ได้

๒. การใช้อำนาจจิต ให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ในทางโลก เช่นวิชาเหนียวคงใช้ทางป้องกันอันตรายหรือใช้ทางรักษาโรคก็ได้ วิชาดับพิษร้อนเช่นนํ้ามันเดือด เราส่งอำนาจจิตลงไปทำให้เย็น ขณะกำลังเดือดอยู่ก็เอามือล้วงดูได้ตักกินได้คนอื่นมาล้วงหรือตักกินก็ได้หรือเหล็กเผาไฟจนร้อนแดงเอามือจับได้ เอามือกอบขึ้นได้ เมื่อคนหนึ่งดับพิษร้อนแล้ว คนอื่นๆ ก็จับเหล็กแดงนั้นได้ วิชาดับพิษร้อนนี้ก็ใช้กันอันตราย เช่นเวลาวิ่งฝ่าออกจากไฟที่กำลังไหม้บ้านหรือใช้ดับพิษร้อนของคนที่ถูกน้ำร้อนลวก ถูกไฟไหม้ให้หายจากความทุกข์ทรมานได้ การใช้อำนาจจิตในการทำงาน การรักษาโรคต่าง ๆ การสะกดจิต การทำให้เกิดความจำดี การป้องกันภัยอันตราย การสะเดาะกุญแจ ดูทางใน การแปลงธาตุ การหายตัว การเพิ่มความ สามารถในการทำงาน ทำอาชีพให้ได้ผลดีขึ้น เหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นเรื่องการใช้อำนาจจิตและมีตำรามีวิธีทำ มีครู สามารถสอนได้ทำได้ดูได้จนถึงทุกวันนี้ ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงการเล่นกลหรือการสะกดให้เห็นไปเอง แต่หมายถึง การทำได้จริงด้วยอำนาจจิตอำนาจคุณพระ ซึ่งเรียกว่า “พลังจิต”

จิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความรอบคอบ ความถี่ถ้วนและความตั้งใจจริงจัง การเรียนฝึกจิต หรือใช้อำนาจจิตจึงจะก้าวหน้าไปได้ดี ก้าวหน้าไปได้เร็ว แต่ขออย่าได้ท้อถอย เพราะการเรียนใช้อำนาจจิตขั้นต้น และการฝึกให้ได้สมาธิขั้นต้นนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนเรียนได้สำเร็จในเวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในวันเดียวก็เรียนรู้และทำได้เองหลายอย่าง

การเรียนใช้อำนาจจิต ทำเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางโลก หรือส่งเสริมความก้าวหน้าให้ดีขึ้น นอกจากนั้น ยังมุ่งมั่นที่จะให้ได้ประโยชน์ทางธรรม คือ ฝึกจิตให้เกิดสมาธิขั้นต้นได้เพื่อให้รู้เท่าทันธรรมชาติทั้งปวงพอสมควร และกล่อมเกลาจิตใจให้มั่นคงสุขุมยึดความดีศีลธรรมเป็นหลักทางใจได้ดีขึ้น เป็นบันไดให้ก้าวไปสู่สมาธิขั้นกลาง และขั้นสูงต่อไปตามความปรารถนา ส่วนผู้ที่ไม่ต้องการจะฝึกใช้อำนาจจิตจะฝึกมุ่งไปสู่ความสุขสบายทางจิตใจ หรือทำใจให้สะอาดหมดจดก็ตั้งใจฝึกสมาธิวิปัสสนา เพื่อ สำเร็จประโยชน์สมดังความปรารถนาต่อไป แต่ควรจะเข้าใจให้ถูกต้องว่าการใช้อำนาจจิตเป็นนั้นไม่ต้องแบกหามไว้รู้แล้วไม่ใช้ จะใช้เมื่อมีความจำเป็น ดังนี้ก็ทำได้ และจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้ฝึกสมาธิวิปัสสนาได้มั่นคงยิ่งขึ้น เพราะรู้จักวิธีควบคุมจิตได้ดีกว่าธรรมดา และรู้วิธีใช้พลัง ในการป้องกันอันตราย ป้องกันภูตผีได้ทำให้กล้าที่จะฝึกจิตอย่างจริงจัง ไม่ระแวงไม่กังวลที่จะมีอันตรายใดๆ ผู้เขียนวิทยาศาสตร์ทางใจได้เปิดสอนให้ฝึกสมาธิ-วิปัสสนา ถูกวิธี ได้ผลเร็ว ฝึกให้ใช้พลังจิตให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ได้เองหลายอย่างในวันเดียวกัน รับสอนทุกศาสนา

คำสอนพระพุทธเจ้าและในพระไตรปิฎกมีสอนทั้งปัญญาวิมุติมุ่งสู่นิพพาน และเจโตวิมุติ ฝึกหนักไปทางสมาธิจนได้ฌานแสดงฤทธิ์ได้ แล้วจึงฝึกหนักไปทางนิพพาน บางศาสนาไม่ยอมไหว้พระก็ให้ถือเป็นครูเป็นอาจารย์ เขาก็เรียนได้ทดลองได้ รักษาได้ผลทั้งหญิงและชาย

ที่มา:ชม  สุคันธรัต

อาเศียรวาทของท่านมหาตมะคานธี

คานธี
การไม่ขโมย ย่อมไม่หมายเฉพาะแต่การไม่หยิบของๆ ผู้อื่น โดยมิได้รับอนุญาตเท่านั้น หากการมีไว้ซึ่งสิ่งของที่ไม่จำเป็น ก็นับเป็นการขโมยด้วยเหมือนกัน และลักษณาการเช่นนี้ ย่อมเปี่ยมไปด้วยหิงสา

ในการเสาะแสวงหาความสัตย์ เราควรจะต้องอ่านและครุ่นคิดถึงชีวิตของท่านผู้ทรงศีลบริสุทธิ์

บุคคลใดกระทำกิจใดด้วยความแน่วแน่ บุคคลนั้นย่อมสามารถกระทำกิจอื่น ให้บรรลุผลสำเร็จได้เช่นเดียวกัน

ความสุขอันแท้จริง มิได้เกิดขึ้นจากภายนอก หากเกิดจากภายในนั่นเอง

ทางตรงง่ายเช่นใด ก็ยากเช่นนั้น มิฉะนั้นแล้ว คนทั้งหมดก็ควรจะเดินบนทางตรง

ความเท็จแม้แต่น้อย ก็สามารถนำความพินาศมาสู่มนุษย์ได้ มีอุปมาเช่นเดียวกับยาพิษ แม้เพียงหยดเดียวย่อมทำลายน้ำนมทั้งหมด

คนเราขลาดที่จะประสบกับความจริง แต่กล้ากับความหลอกลวง และมักจะชื่นชมในความหลอกลวงเสียด้วย

ทะเลเป็นที่รวมแห่งน้ำฉันใด ถ้าเราประพฤติความแผ่เมตตา เราก็ย่อมจะเป็นที่รวมแห่งมิตรภาพฉันนั้น หากชาวโลกอยู่ด้วยมิตรภาพ สภาพของโลกคงจะเปลี่ยนแปลงไปจากโลกนี้มาก

ทำไมหนอ คนผู้รู้จักความสัตย์จึงไม่กล้ากล่าวคำสัตย์ กลัวอาย อายใคร คนชั้นสูงหรือ หรือคนชั้นต่ำ ทั้งคนชั้นสูงและคนชั้นต่ำย่อมเหมือนกันทั้งนั้น กล่าวคือความเคยชินย่อมสามารถกลืนมนุษย์ได้ ฉะนั้น ขอให้เราคิดดูให้ดี และละทิ้งความเคยชินที่ชั่วร้ายเสีย

ยิ่งมีความรู้สึกและเคยชินมากขึ้นเพียงใด ข้าพเจ้าก็ยิ่งเกิดความประจักษ์แจ้งขึ้นเพียงนั้น ว่ามนุษย์เรานี่แหละคือสาเหตุแห่งทุกข์และสุขของตนเอง

ผู้ที่ทำงานบนพื้นดินนั่นแหละ คือเจ้าของที่ดินอันแท้จริง

งานที่แท้ย่อมไม่ไร้ผลฉันใด ความสัตย์จริงก็ย่อมไม่เป็นที่เกลียดชังแก่ใครในขั้นสุดท้ายฉันนั้น

ไม่ควรหาความอิ่มเอิบให้แก่ความอยาก เมื่อเริ่มหาความอิ่มเอิบให้แล้ว ความอยากก็จะหาที่หยุดยั้งไม่ได้ หรือถ้าหยุดยั้งได้ก็ยากเต็มที

ผู้ที่บังคับตนเองไม่ได้ ย่อมจะไม่สามารถบังคับผู้อื่นได้อย่างแน่แท้

การที่จะเข้าใจตัวเองได้อย่างถ่องแท้ เราควรออกไปจากตัวของเราเองเสียก่อน แล้วจึงมองดูตนเองด้วยสายตาอันเป็นกลางจริงๆ

ผู้ใดช่วยเหลือคนอื่นแม้แต่น้อย ผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าไม่เป็นคนอยู่เปล่า

สิ่งใดที่เราเชื่อว่าดีและมีประโยชน์ มิใช่ที่คนอื่นเขาเชื่อการกระทำ สิ่งนั้นย่อมนำความสุขและความพอใจมาสู่ตัวเรา

การขอร้องความกรุณาจากผู้อื่น คือการบอกขายอิสรภาพของตนเอง

คนเราอยากเห็นอยากรู้สิ่งใด ก็ย่อมได้เห็นได้รู้สิ่งนั้น จงดูชาวสวนและนักปรัชญาเป็นตัวอย่าง ชาวนาย่อมรู้ย่อมเห็นเรื่องต้นไม้ของตนเป็นอย่างดี แต่นักปรัชญาย่อมจะไม่ทราบแม้เพียงว่า ต้นไม้นั้นอยู่ข้างนอกหรือข้างในสวน

เป็นความผิดอย่างอุกฤษฎ์กระไรหนอ ที่เราจะแนะนำให้ผู้อื่นเขารักษาความสะอาด ในเมื่อตัวของเราเองนั้นสกปรก

คนเราสามารถหลอกตนเองได้มากกว่า และดีกว่าหลอกผู้อื่น ความจริงข้อนี้ ท่านผู้รู้ย่อมทราบดีทุกคน

ความมีชีวิต จะได้หมายถึงการกิน การดื่ม และแสวงความเพลิดเพลินก็หามิได้ หากหมายถึงการรับใช้พระเป็นเจ้า นัยหนึ่ง คือมนุษย์ชาติด้วยใจจริงต่างหาก

คนเรา ถ้าทำอะไรเกินขอบเขตไป ก็รังแต่จะนำความทุกข์มาสู่ตัวเอง

คุณสมบัติเป็นสิ่งซึ่งซ่อนเร้นมิได้ ย่อมประจักษ์แจ้งอยู่บนใบหน้าแห่งบุคคลผู้เป็นเจ้าของเสมอ

ธรรมชาติของน้ำย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำฉันใด ความชั่วช้าก็ย่อมนำคนไปสู่ที่ต่ำฉันนั้น แต่ความดีนำคนไปสู่ที่สูง ฉะนั้นความดีจึงเป็นสิ่งที่ปฏิบัติยาก

การรับใช้สังคมที่ดีที่สุด ก็คือการพยายามทำให้สังคมเจริญ สังคมนั่นแหละจะบอกได้ว่า คนเราสูงหรือต่ำเพียงไหน

คนเราควรตายในเมื่อจำเป็น การตายเช่นนั้นแหละจึงจะเป็นการตายเพื่ออยู่

โชคชะตาและความพยายาม ย่อมแข่งขันกันอยู่ทุกวัน จงใช้ความพยายามให้เต็มที่เถิด ส่วนผลลัพธ์นั้นควรมอบให้พระเจ้าเป็นผู้ตัดสิน

น่าเสียใจน้อยไปหรือที่เรารู้ว่าสิ่งใดเป็นของควรทำแต่เราก็ทำสิ่งนั้นไม่ได้ ทุกคนควรคิดตอบปัญหานี้ให้แก่ตนเอง

ความผิดย่อมจะผ่านพ้นไปได้ด้วยการแก้ไข แต่ถ้าขืนปล่อยไว้มันจะเป็นเสมือนฝี ซึ่งอาจกลัดหนองถึงแตกยังผลให้ได้รับความเจ็บปวดอย่างแน่แท้

ความรีบร้อนเป็นบ่อเกิดแห่งความเสียหาย แต่ความมีใจเย็นนำมาซึ่งความสุขุม ภิตข้อนี้ ข้าพเจ้าเห็นความจริงอยู่ทุกขณะ

ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีระเบียบ ถ้าไม่มีระเบียบแม้ขณะเดียว สุริยะจักรวาฬทั้งมวลจะต้องถึงซึ่งกาลอวสาน

การเพิ่มพูนสิ่งของที่มีโดยปราศจากความจำเป็นย่อมเป็นการบาป

คนตาบอดมิใช่คนตาเสีย แต่คนตาบอดคือคนที่ปิดบังโทษของตนเองต่างหาก

อุดมคติเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่การปฏิบัติตามอุดมคติเป็นคนละเรื่อง

คนไม่มีอุดมคติ เปรียบเสมือนเรือที่ไม่มีหางเสือ

เราควรกล่าวว่าเรามีอุดมคติ ก็ต่อเมื่อเราพยายามที่นำตัวเราเข้าถึงอุดมคตินั้น

การสมาคมกับคนดี ทั้งๆ ที่เป็นกรณียกิจอันพึงกระทำแต่คนเรากลับไม่ทำ ตรงกันข้าม การสมาคมกับคนชั่วแม้จะเป็นสิ่งที่ไม่น่าปฏิบัติ แต่มนุษย์เรากลับชอบปฏิบัติ

แปลจากภาษาฮินดี โดยกรุณา  เรืองอุไร กุษลาสัย
ธนบุรี ๒๕ สิงหาคม ๒๔๙๕

อสัตย์ย่อมระงับด้วยสัจจะ ความโกรธย่อมระงับด้วยความรัก หิงหาการเบียดเบียนย่อมระงับด้วยการรับทุกข์เสียเอง กฎอันยืนยงสถาพรนี้เป็นกฎสำหรับคนทั่วไปด้วย มิใช่แต่จำเพาะนักบุญเท่านั้น

ความยุติธรรมที่ได้จากความรัก ก็คือ การยอมแพ้ แต่ความยุติธรรมที่จะได้จากกฎหมายนั้นคือ การลงทัณฑ์

ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ความรักนี้แหละที่ค้ำจุนโลก ที่ไหนมีความรัก ที่นั่นจึงจะมีชีวิต ชีวิตที่ปราศจากความรักคือความตาย เมื่อด้านหัวของเงินตราคือ สัจจะ ด้านก้อยก็คือความรัก

ข้าพเจ้าเชื่อและจัดเจนด้วยตัวเองมาเป็นเวลา ๓๐ ปี ว่าเราอาจจะชนะโลกได้ด้วยสัจจะและความรัก

สัจจะย่อมมีชัยแก่อสัตย์ ความรักย่อมมีชัยแก่ความชัง เทพเจ้าย่อมมีชัยแก่ผีปีศาจชั่วนิจนิรันดร์

ความรักนี้เองที่ปกครองมนุษยชน ถ้าหากให้หิงสาการเบียดเบียนอันเกิดจากความชิงชังครองเรา เราก็คงจะดับศูนย์ไปเสียนานแล้ว แต่กระนั้นเรื่องที่น่าเศร้าใจก็คือ ประชาชาติหรือหมู่ชนที่เรียกตัวว่าเป็นผู้เจริญแล้วนั้น ยังประพฤติตนเสมือนหนึ่งว่า รากฐานของสังคมอยู่ที่หิงสาการเบียดเบียนกัน

หนทางแห่งศานติ คือ หนทางแห่งสัจจะ ความมีสัจจะ สำคัญกว่ามีความศานติ

แต่ละคนย่อมต้องได้ ศานติ มาจากภายในตนเอง ศานติอันแท้จริงต้องไม่หวั่นไหวไปด้วยสิ่งแวดล้อมภายนอก

บางทีท่านจะไม่ทราบว่า ลูกชายคนดตๆ ของข้าพเจ้าคนหนึ่ง หาว่าข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระพุทธองค์ และผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู บางคนก็ไม่ยับยั้งที่จะหาว่าข้าพเจ้ากล่าวอ้างธรรมะของพระพุทธศาสนาภายใต้ลัทธิฮินดู ข้าพเจ้าก็พลอยเห็นด้วยกับคำกล่าวหาของลูกชายและสหายผู้นับถือศาสนาฮินดูนั้น และบางครั้งข้าพเจ้าเองก็ให้รู้สึกภาคภูมิใจในการที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า และข้าพเจ้าไม่มีรอที่จะประกาศในที่ประชุมนี้ว่า ข้าพเจ้าได้เป็นหนี้ความรู้สึกบันดาลใจอันได้จากพุทธประวัติเป็นอย่างมาก

ข้าพเจ้าขอปฏิเสธ ลัทธิศาสนาฮินดูไม่เชื่อเรื่องวรรณะ ข้าพเจ้าขอขจัดมันให้สิ้นไปทันที แต่ข้าพเจ้าเชื่อในเรื่องวรรณธรรม อันเป็นกฎข้อบังคับแห่งชีวิต ข้าพเจ้าว่าคนบางคนเกิดมาสำหรับเป็นผู้สอน บางคนเกิดมาเป็นผู้พิทักษ์รักษา และบางคนเป็นผู้ข้องเกี่ยวอยู่กับการพาณิชย์และกสิกรรม และบางคนก็เป็นผู้ประกอบหัตถกรรม มากเข้าๆ จนกระทั่งอาชีพเหล่านี้ได้กลายเป็นพันธุกรรม กฎของวรรณะจึงไม่ใช่สิ่งใดอื่นนอกจากเป็นกฎที่ถือว่า แรงงานนั้นไม่ศูนย์สิ้นเปล่าและหาค่ามิได้ ทำไมลูกชายข้าพเจ้าถึงไม่ควรเป็นคนกวาดถนน ถ้าหากว่าข้าพเจ้าเป็น

ข้าพเจ้ายอมรับ เพราะว่าข้าพเจ้าถือว่าอาชีพกวาดถนน ไม่มีทางต่ำไปกว่าอาชีพผู้สอนศาสนา

เศรษฐกิจของสังคมอันแท้จริง จะสอนให้เรารู้ว่าคนทำงาน เสมียน และนายจ้าง เป็นหน่วยหนึ่งที่แบ่งแยกจากกันไม่ได้ ไม่มีใครใหญ่กว่าหรือเล็กกว่าใคร ผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายจึงไม่ควรจะเป็นที่ขัดแย้งกัน แต่ควรจะเสมอเหมือนกันและต้องพึ่งพาอาศัยกัน

เมื่อใดก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ยินว่ามีวังใหญ่ๆ สร้างขึ้นใหม่ตามเมืองใหญ่ๆ ของอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นอินเดียในราชอาณาจักรอังกฤษ หรืออินเดียในความปกครองเจ้าผู้ครองของเราเอง ข้าพเจ้าก็ให้รู้สึกริษยาขึ้นมาทันที และข้าพเจ้าจะต้องอุทานออกมาว่า “อ๋อ นี่แหละเงินที่ได้มาจากกสิกร”

แม้ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญอหิงสา ข้าพเจ้าก็ทนไม่ได้แม้จะเพียงคิดให้อาหารเป็นทานแก่คนที่มีสุขภาพแข็งแรงและไม่ได้ประกอบการงานในทางสุจริต และหากข้าพเจ้ามีอำนาจข้าพเจ้าจะปิดโรงทานทุกแห่งที่แจกอาหารให้เป็นทาน เพราะมันทำให้เกียรติของชาติตกต่ำ ทั้งยังจะส่งเสริมความเกียจคร้าน ความหน้าไหว้หลังหลอก และแม้กระทั่งอาชญากรรม การให้ทานในทางผิดๆ เช่นี้ ไม่ได้เพิ่มพูนทรัพย์สินให้แก่ประเทศชาติเลย ไม่ว่าจะในทางวัตถุหรือจิตใจ ทั้งยังจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเมตตาจิตของผู้ให้เสียอีกด้วย จะนับเป็นการดีวิเศษและหลักแหลมเพียงไร ถ้าว่าผู้ให้นั้นจะไปเปิดสถานที่ที่จะให้อาหารเป็นทานในสิ่งแวดล้อมอันสะอาด และมีสุขภาพสมบูรณ์แก่หญิงและชายผู้จะทำงานให้แก่ตน

อหิงสากับความขลาด จะดำเนินกันไปด้วยดีไม่ได้ ข้าพเจ้านึกเอาว่าคนที่มีอาวุธครบมือเป็นคนที่มีใจขลาด การมีอาวุธในครอบครัวย่อมส่อให้เห็นความกลัว แม้จะไม่ใช่ความขลาดก็ตาม แต่อหิงสาอันแท้จริงนั้นจะมีไม่ได้ถ้าไร้ความรู้จักหวั่นเกรงต่อภัยอันตรายใดๆ

ความกล้า ความอดทน ความไม่หวั่นเกรง และที่สำคัญยิ่งคือ การเสียสละนั้นเป็นคุณลักษณะอันพึงมีในผู้นำของเรา

ความกลัวยังมีประโยชน์ แต่ความขลาดนั้นหาประโยชน์มิได้เลย ข้าพเจ้าไม่กล้าเอามือไปแหย่ในปากงู แต่การที่แลเห็นงูนั้นไม่จำต้องทำให้ข้าพเจ้าตกใจกลัว เรื่องยุ่งยากก็คือ เรามักจะตายกันหลายหน ก่อนที่ความตายจะมาคร่าเราจริงๆ

ความกล้าหาญตามที่รู้กัน ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตใจ กล้ามเนื้ออันเหนียวแน่นที่สุด ก็ยังรู้กันว่าสั่นได้ในเมื่อบังเกิดความหวาดกลัวขึ้นในจินตนาการ จิตใจต่างหากที่ทำให้กล้ามเนื้อสั่น

ชาติใดที่ดำเนินกิจการบริหาร ไปได้ด้วยความราบรื่นและได้ผลดีโดยไม่เกิดการแทรกแซงทางการเมืองมากนัก ชาตินั้นย่อมเป็นชาติประชาธิปไตยโดยแท้จริง ที่ไหนไม่มีสภาพเช่นนี้ รัฐบาลของที่นั้นย่อมเป็นประชาธิปไตยแต่เพียงในนาม

คนที่เป็นนักประชาธิปไตยโดยกำเนิด ย่อมเป็นผู้ที่มีวินัยดีมาแต่กำเนิดด้วย ประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นในตัวของเขาเอง ในเมื่อเขารู้จักเคารพกฎหมาย เคารพมนุษยธรรมและเทวธรรมจนเคยชิน ข้าพเจ้าขออ้างตัวเองเป็นนักประชาธิปไตยทั้งโดยสัญชาติญาณและการฝึกอบรม

ประชาราษฎร์เป็นราก รัฐเป็นผล หากรากหวาน ผลก็ต้องหวานด้วย

ข้าพเจ้ายกย่องคุณค่าของเสรีภาพของแต่ละบุคคล แต่ท่านต้องไม่ลืมว่าคนจะต้องเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่กับสังคม คนจะมีสภาพเช่นนี้ได้ก็ด้วยการปรับเอกัตตภาพของตัวเขาเอง ให้เข้ากับความต้องการในการก้าวหน้าของสังคม เราได้เรียนรู้ถึงการปรับเสรีภาพของแต่ละบุคคล ให้เข้ากับข้อบังคับของสังคม การเต็มใจยินยอมขึ้นอยู่กับข้อบังคับของสังคมเพื่อสวัสดิภาพของสังคมส่วนรวมนั้น ย่อมเพิ่มพูนทั้งส่วนตัวเองและทั้งสังคมที่ตนเองเป็นหน่วยหนึ่งอยู่

การปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละคนควรจะเป็นไปโดยเสรี ไม่ขึ้นต่อมติมหาชน ถ้าผู้ใดไม่อาจรักษาระดับความดีภายในตนเพราะกลัวมติมหาชน หรือเพราะเหตุผลอื่นใดที่คล้ายคลึงกันแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่สามารถจะรู้ถูกรู้ผิด และท้ายที่สุดก็จะสูญสิ้นความรู้สึกแยกแยะผิดหรือถูกนี้เสียสิ้น

คนเราจะสละสิทธิ์ของตนเสียได้ แต่จะละเมิดหน้าที่ของตนโดยไม่มีผิดต่อการละเลยหน้าที่เสียเลยไม่ได้ ผู้ที่ต้องการจะพูดและปฏิบัติสัจจะมักจะไม่ได้รับความนิยม และยังจะได้รับคำตำหนิติเตียนจากประชาชนอีกด้วย ข้าพเจ้าถือว่าเรื่องนี้เป็นหน้าที่อันผูกพันของผู้บำเพ็ญสัตยาเคราะห์

เป็นการดีที่จะเห็นตัวเองอย่างที่คนอื่นเห็นเรา จงพยายามทำเท่าที่เราจะทำได้ เราไม่เคยเห็นตัวเราเองเต็มที่อย่างที่เราเป็นจริง โดยเฉพาะในแง่ร้าย เราจะเห็นตัวเองได้ ก็ต่อเมื่อเราไม่รู้สึกเคืองผู้ที่วิจารณ์เรา แต่จะยอมรับด้วยความเต็มใจไม่ว่าในสิ่งใดที่เขาจะกล่าว

อย่าไปโทษผู้อื่น จงโทษตัวของท่านเอง แล้วท่านจะมีความสุขอย่างแท้จริง ถ้าท่านจะพยายามโทษผู้อื่น บางทีท่านจะเผานิ้วของท่านเอง

การพ่ายแพ้ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าท้อถอย แต่กลับทำให้ข้าพเจ้ามีความบริสุทธิ์ผุดผ่องขึ้น

คำว่า “พ่ายแพ้” จะต้องไม่ปรากฎอยู่ในพจนานุกรมของข้าพเจ้าเลย ทุกคนที่ได้รับคัดเลือกเข้าเป็นทหารประจำในกองทัพข้าพเจ้า ย่อมจะแน่ใจได้ว่า ไม่มีการพ่ายแพ้บังเกิดแก่ผู้บำเพ็ญสัตยาเคราะห์

ไม่มีการพ่ายแพ้ในการสารภาพความผิด เพราะการสารภาพนั้นเป็นชัยชนะอยู่ในตัวเองแล้ว

การสารภาพความผิดนั้น เหมือนกับไม้กวาดที่จะกวาดฝุ่นละอองออก และทำให้พื้นสะอาดขึ้นกว่าเก่า

การทำความผิดเป็นของธรรมดา สำหรับมนุษย์และถ้าค้นพบความผิดนั้นแล้ว แก้ไขและตั้งใจว่าจะไม่ทำอีกเป็นซ้ำสอง ก็ยิ่งน่ายกย่องนับถือยิ่งขึ้น

ศรัทธานี้เองที่นำเราฝ่าทะเลมรสุม ศรัทธานี้แหละที่เขยื้อนขุนเขา และศรัทธานี้ด้วยที่พาเรากระโจนข้ามมหาสมุทร ศรัทธานั้นไม่ใช่อื่นไกลเลย นอกจากสติรู้สำนึกที่ตื่นและมีชีวิตของคุณธรรมภายใน ผู้ใดที่เปี่ยมด้วยศรัทธานั้นแล้ว ย่อมไม่ต้องการสิ่งใดอีก

การทำงานโดยไร้ศรัทธา ย่อมเหมือนกับพยายามจะโจนลงสู่ก้นเหวที่ลึกไม่มีที่สิ้นสุด

ศรัทธาเป็นการดำเนินงานของหัวใจ ที่จะมีได้ก็ด้วยเหตุผลเท่านั้น

บุคคลใดที่ไร้ความสันโดษ ยิ่งมีสมบัติครอบครองมากเพียงไร ก็ยิ่งตกเป็นทาสความปรารถนาของตนเพียงนั้น บรรดานักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า คนเป็นได้ทั้งมิตรแลศัตรูของตนเอง การจะเป็นทาสหรือเป็นไท ย่อมอยู่ในกำมือของตนเองเช่นเดียวกัน

ความมุ่งหมายอันเด็ดเดี่ยวของมนุษย์ก็คือ เอาชนะนิสัยเก่าๆ ของตน เอาชนะความชั่วที่มีในตน และคงคืนความดีให้ไปสู่ทางที่ถูก ถ้าศาสนาใดไม่สอนเราให้สำเร็จผลดังกล่าว ศาสนานั้นย่อมไม่สอนอะไรให้แก่เราเลย

พระราชวังอันเรืองรอง ถ้าไร้ผู้อยู่ย่อมดูเหมือนวัตถุสลักหักพังฉันใด คนที่ไร้คุณธรรมก็เป็นฉันนั้น ถึงแม้จะมีสมบัติพัสถานสักเท่าใดก็ตาม

การเล่าเรียนทุกอย่าง จะเป็นการเรียนพระเวท เรียนภาษาสันสกฤต กรีก หรือละติน อย่างถูกต้อง จะไม่ทำให้เรามีอะไรขึ้นมาเลย ถ้าหากว่าการเรียนนั้นๆ ไม่ช่วยทำให้ใจบริสุทธิ์ขึ้น บั้นปลายของความรู้ทุกชนิดควรจะอยู่ที่การสร้างอุปนิสัย

ความรู้ที่ปราศจากคุณธรรม ย่อมเป็นอำนาจที่จะก่อความชั่วเท่านั้น ดังจะเห็นได้ในตัวอย่าง “โจรผู้เฉียบแหลม” และ “สุภาพบุรุษชาติชั่ว” อันมีมากหลายในโลกนี้

คนที่กอปรด้วยคุณธรรม ย่อมสร้างตนเองให้มีค่าขึ้นไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดๆ

ความใคร่ของมนุษย์เหิรได้เร็วยิ่งกว่าลม จะเอาชนะให้ได้เด็ดขาด ต้องอาศัยความอดทนไม่มีที่สิ้นสุด

การเอาชนะความใคร่ เป็นความพยายามอย่างยิ่งยวดของคนทั้งหญิงและชาย ถ้าผู้ใดเอาชนะความใคร่ไม่ได้ก็ย่อมหวังยากว่าผู้นั้นจะครองตนเองได้

นักรบรักที่จะตาย แต่ต้องตายในสมรภูมิ ไม่ใช่บนเตียงนอน

ถ้าเราไม่ได้มีชีวิตอยู่อย่างเสรีประชาชน เราก็ควรยินดีที่จะตาย

สงครามเพื่ออิสรภาพนั้น ไม่ได้ต่อสู้โดยไม่ต้องเสียอะไรมากมาย ถ้าคนไม่คิดจะมีชีวิตอยู่ในร่างของคนอื่นที่ไม่ใช่ของตนเองฉันใด ชาติก็ฉันนั้น ย่อมไม่ปรารถนาจะอาศัยอยู่ภายใต้ชาติอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นชาติใหญ่หรือดีน่านับถือสักเพียงไร

หลักการที่ย่อยไว้ไม่ดี ย่อมเลวกว่าอาหารที่ย่อยไม่ดี เพราะว่าอาหารที่ย่อยไม่ดีถึงจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายแต่ก็ยังมีทางแก้ แต่หลักที่ย่อยไม่ดีนั้น ย่อมจะทำลายจิตใจให้ย่อยยับ และไม่มีจะแก้ไขด้วย

จงดูน้ำ ถ้ามันอยู่ในสภาพแข็งตัว มันคงอยู่ได้แต่บนดิน จนกว่าเมื่อใดกลายเป็นไอไปแล้ว จึงจะลอยขึ้นสูงไปได้ แต่พอกลายเป็นไอไปแล้ว ก็จะขึ้นสู่ท้องฟ้า และท้ายที่สุดก็รวมตัวเข้าเป็นเมฆ หยาดลงมาเป็นฝน และก่อให้เกิดผลอันอุดมสมบูรณ์แก่แผ่นดิน เราเองก็เหมือนน้ำ เราต้องต่อสู้เพื่อกลั่นตัวเราจนกระทั่งอหัวการในตัวเราหมดไป และสบายตัวกลายเป็นคุณธรรมอันยืนยงแก่คนทั้งปวง

การพนันนั้นเลวยิ่งกว่ากาฬโรค หรือแผ่นดินไหว เพราะมันเป็นเครื่องบั่นทอนจิตใจ และคนที่ปราศจากจิตใจย่อมจะอยู่หนักแผ่นดิน การทำสงครามสู้รบกับการพนันนั้น ไม่ง่ายเท่ากับภัยจากกาฬโรคหรือแผ่นดินไหว เพราะผู้ประสบภัยจากสิ่งทั้งสองนี้ ย่อมร่วมมือกับการต่อสู้ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ผู้ประสบภัยจากการพนันกลับจะยินดีต้อนรับและกอดคอกับความทุกข์นั้น

ท่านไม่ควรจะหลงเชื่อในข้ออภิปรายอันยืดยาว ที่ว่าอินเดียไม่ควรจะบังคับในเรื่องเสพสุรา และควรจะให้ความสะดวกแก่ผู้จะต้องการเสพสุรา ที่จริงรัฐไม่ได้เคยจัดหาสิ่งที่จะก่อความชั่วให้แก่ประชาชน เราไม่ได้ให้ความสะดวกแก่ขโมยที่จะไปทำการขโมย ข้าพเจ้าถือการเสพสุราเป็นสิ่งน่าตำหนิร้ายแรงยิ่งกว่าการลักขโมย หรือการโสเภณี

ขโมยจะขโมยได้ก็แต่ทรัพย์สินเงินทอง แต่นักเลงสุราจะขโมยเกียรติยศทั้งของตนและของเพื่อนใกล้เรือนเคียง

ข้าพเจ้าถือว่า การเสพน้ำเมาในอินเดีย เป็นอาชญากรรมร้ายแรงยิ่งกว่าการลักเล็กขโมยน้อย ที่ข้าพเจ้าเห็นคนที่อดๆ อยาก กระทำกัน และก็ได้ถูกฟ้องร้องและลงโทษไปด้วยเหตุนั้น

แอลกอฮอล์จะกระตุ้นประสาทและของเสพติด จะทำให้ความรู้สึกผิดชอบตายด้าน

บริการใดที่ดำเนินไปโดยปราศจากความร่าเริงย่อมไม่ช่วยผู้ใดทั้งผู้ใช้และผู้รับใช้

ถ้าข้าพเจ้าไม่มีอารมณ์ขัน ข้าพเจ้าคงจะต้องฆ่าตัวตายไปเสียนานแล้ว

ทำไมจะต้องกังวลอยู่กับสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ มีใครบ้างที่ตายก่อนความตายจะมาถึง

ข้าพเจ้าเกรงว่าหญิงสาวสมัยใหม่ จะรักที่จะเป็นจูเลียตของโรเมโอตั้งครึ่งโหล หล่อนรักการผจญภัย หล่อนแต่งตัวไม่ใช่เพื่อกันแดด กันลม หรือกันฝน แต่เพื่อให้สะดุดตาคน

อาภรณ์อันแท้จริงของหญิงนั้นอยู่ที่อุปนิสัย และความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่ใช่ที่เงินทอง หรือเพชรนิลจินดา ชื่อของผู้หญิงบางคนชื่อนางสีดาหรือนางทมยันตี กลายเป็นชื่อศักดิ์สิทธิ์ ก็เพราะคุณงามความดีอันไร้ราคี ไม่ใช่เครื่องเพชรพลอยที่นางสวมอยู่เลย

ข้าพเจ้าไม่ใช่ผู้บูชาอันเหลวใหลและงมงาย ในสิ่งที่เรียกว่าของโบราณ ข้าพเจ้าไม่พักที่จะทำลายทุกอย่างที่เป็นสิ่งชั่วและผิดศีลธรรม ไม่ว่าจะเป็นของโบราณนานแค่ไหน แต่ถึงจะสงวนไว้เช่นนั้น ข้าพเจ้าก็ยังต้องสารภาพแก่ท่านว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้บูชาขนบประเพณีโบราณ และให้รู้สึกเจ็บใจที่คนซึ่งตื่นของสมัยใหม่ พากันดูถูกประเพณีโบราณ และไม่ไยดีมันเลยในชีวิต

เราชาวตะวันออก มักจะด่วนคิดว่า สิ่งต่างๆ ที่บรรพบุรุษวางไว้ให้เรานั้น ไม่ใช่อะไรเลยนอกจากเรื่องโชคเรื่องลาง แต่ข้าพเจ้าขอสรุปลงด้วยความรอบรู้ในสินทรัพย์อันหาค่ามิได้ของภาคตะวันออกว่า แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องโชคลาง แต่ถ้าเราเข้าใจมันดีพอ และนำมาใช้ให้ถูก มันย่อมจะทำให้เรามีชีวิตจิตใจและมีค่าสูงส่งขึ้น เพราะฉะนั้น ขออย่าให้เราหลงงมงายในความวูบวาบของชาวตะวันตกเลย
แปลจากภาษาอังกฤษ โดย ซ่อนกลิ่น พิเศษสกลกิจ, บรรจบ  พันธุเมธา

ที่มา:สวามี  สัตยานันทปุรี

มหาตมะคานธีผู้นำความสงบสุข

คานธี
ข่าวการถูกจับของท่านคานธีได้แพร่หลายไปทั่วอินเดียและทั่วโลก ทำให้โลกรู้สึกแปลกใจในความโหดร้ายของรัฐบาลอังกฤษที่อ้างตนว่าเป็นอารยชน แต่ลงอาญาท่านคานธีโดยไม่ฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม อย่างไรก็ดี การจับตัวท่านคานธีคราวนี้ ได้เป็นเหตุให้เกิดผล ๒ ประการ กล่าวคือทำให้การต่อสู้ของอินเดียเข้มแข็ง และรุนแรงยิ่งขึ้นกว่าเดิมทำให้อานุภาพของอังกฤษในต่างประเทสลดน้อยลงไปเป็นอันมาก

ในทันใดที่ท่านคานธีถูกจับตัวไปแล้ว ภรรยาของท่านก็ออกแถลงการณ์ลงในหนังสือพิมพ์ว่า

“สามีของแนได้ถูกพรากไปเสียแล้ว แต่การพรากของท่านจะไม่ขัดขวางการกู้อิสรภาพของประเทศ ซึ่งท่านรับเป็นภาระของตนไว้ ถ้าชาติดำเนินตามหลักการของสามีของฉันด้วยความจริงใจแล้ว ก็แปลว่าชาติได้ดำเนินกิจการด้วยกำลังใจอันทวีคูณ สมัยที่พวกทนายความจะต้องบอยค๊อตศาลได้มาถึงแล้ว อนึ่งสามีของฉันมีความไว้วางใจในสมรรถภาพของหญิง ฉะนั้นฉันจึงหวังว่าหญิงทั้งหลายควรจะแสดงตัวให้เห็นว่า พวกเขาสมที่จะได้รับความไว้วางใจจากท่าน ทั้งนี้โดยพยายามทุกลู่ทางในการบอยค๊อตผ้าต่างประเทศ และปิดประตูในการซื้อของเมา ฉันหวังอยู่อย่างแน่ใจว่า ประเทศอินเดียจะแสดงอิทธิเดชของตน โดยเข้าต่อต้านการกระทำอย่างฉุกเฉินของรัฐบาลให้จงได้”

นางสโรชินี นายดู ผู้เคยเป็นประธานแห่งสภาคองเกรสและผู้นำสำคัญคนหนึ่ง ออกแถลงการณ์เรื่องท่านคานธีถูกจับว่า

“รัฐบาลที่ทรงอำนาจรัฐบาลใดก็ตาม ไม่สามารถที่จะรับรองอิทธิพลอันมหึมาไพศาลของมหาตมะคานธีได้ มากไปยิ่งกว่าที่รัฐบาลอังกฤษได้รับรองไว้ โดยการจับตัวในราตรีอันดึกสงัด และลงอาญาด้วยอาศัยอำนาจกฎหมายแบบเผด็จการ ซึ่งไม่ต้องพึ่งศาลเป็นผู้อำนวยความยุติธรรมอันที่จริง ร่างกายอันบอบบางของท่านคานธี จะอยู่ภายในลูกกรงเหล็กแห่งเรือนจำหรือไม่นั้น มิใช่ข้อสำคัญ ความสำคัญของมหาตมะคานธีอยู่ที่คำขวัญของท่าน เพราะเราไม่สามารถที่จะแยกตัวท่านให้ออกจากคำขวัญของท่านได้ และคำขวัญนั้นท่านก็ได้มอบให้เป็นมรดกของชาติ คำขวัญนี้แหละจะแสดงอานุภาพเหนือความคิด และการกระทำของโลกถึงกับรัฐบาลที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจชอบที่สุดของโลก จะไม่สามารถผูกมัดหรือท้าได้แม้แต่น้อย”

มหาตมะคานธีถูกจับตัวไป ณ วันที่ ๕ เวลา ๑ นาฬิกาเวลารุ่งขึ้นเมื่อข่าวได้แพร่สพัดไปทั่วอินเดีย “หัรตา” ก็ได้เริ่มลุกขึ้นยืนเองโดยคองเกรสไม่ต้องชักชวนบรรดาห้างร้านทั้งหลายหยุดการซื้อขาย โรงงานต่างๆ หยุดการงานกันทั้งหมด แม้โรงงานของกรมรถไฟก็ได้ทำการหยุดงานทันที สมาคมพ่อค้าผ้าอินเดียประกาศปิดการซื้อขายเป็นเวลา ๖ วัน ทุกตำบล ทุกเมือง เริ่มมีการประชุม ชุมนุมกันอย่างมโหฬาร รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายมาตรา ๑๔๔ และฝ่ายประชาชนก็พากันขัดขืนกฎหมายนั้น เมื่อกระนั้นรัฐบาลจึงเริ่มใช้วิธียิง ในจังหวัดโสลาปรุ มหาชนที่ไร้การศึกษาได้แห่กันไปเผาสถานีตำรวจเสีย ๖ แห่ง รัฐบาลเรียกระดมพลและสั่งให้เพิ่มการยิงยิ่งขึ้น มีคนตาย ๒๕ คน ได้รับบาดเจ็บ ๑๐๐ กว่าคน ที่สถานีรถไฟปัญจบตลา มหาชนช่วยกันฉุดรถไฟไว้ไม่ให้ออกวิ่ง รัฐบาลสั่งให้ทำการยิ่งอีกคนได้รับบาดแผล ๑๕ คน ที่เมืองกัลกัตตารัฐบาลสั่งให้ยิงกรรมกรที่ทำหัรตาลไม่ยอมเข้าโรงงาน นอกจากการถูกยิงตายและมีบาดแผลนั้นแล้ว ในวันคัดค้านการจับตัวท่านคานธี ก็มีคนถูกจับมีจำนวนนับไม่ถ้วน ที่เมืองบอมเบ มหาชนไปประชุมกันคัดค้านการจับท่านคานธีกว่า ๕๐,๐๐๐ คน ถึงกับทางการคองเกรสต้องสร้างเวทีปาฐกถาขึ้น ๗ เวที ในเมืองกัลกัตตา เดลลี ลาโหร ฯลฯ ก็เป็นเช่นเดียวกัน

ใช่แต่เท่านั้น แม้ในต่างประเทศทั่วไป ก็มีการคัดค้านเช่นเดียวกัน ในปานามาและสุมาตราหยุดงาน ๒๔ ชั่วโมง เพื่อแสดงน้ำใจแก่ท่านคานธี หนัสือพิมพ์ต่างๆ แห่งประเทศฝรั่งเศษก็เสนอคำคัดค้านการจับตัวท่านคานธี คณะบาดหลวงแห่งอเมริกัน รวมกันยื่นเอกสารคำคัดค้านต่อ มร. แรมเซ แมคโดแนลด์ อัครมหาเสนาบดีอังกฤษ

แต่การคัดค้านอันมีขอบเขตอย่างกว้างขวางเช่นว่านี้ หาได้ทำลายความดื้อดึงของรัฐบาลให้หย่อนลงได้ไม่ ลอร์ดเอิรวิน (แฮลิแฟคส์) จึงออกคำแถลงการณ์ว่า

“ความมุ่งหมายของเรามิได้เปลี่ยนแปลงไปเลย รัฐบาลอังกฤษในอินเดีย หรือรัฐบาลอังกฤษของสมเด็จพระบรมราชาธิราช จะไม่ยกเลิกนโยบายที่ฉันได้แถลงไว้ในเดือนพฤศจิกายนที่แล้วมา”

ฝ่ายคองเกรสก็เคร่งครัดในหลักการของท่านคานธีอยู่ดังเดิม ฉะนั้นหลังจากที่ท่านคานธีได้ถูกจับตัวไปแล้ว คณะกรรมการบริหารแห่งคองเกรส ภายใต้อำนวนการของท่านบัณฑิต มติลาลเนหรู จึงได้จัดโครงการลง ๖ ข้อคือ
๑. การขัดขืนกฎหมายต้องดำเนินไปดังเดิม
๒. การบอยคอตผ้าอังกฤษ
๓. เริ่มเตรียมการขัดขืนกฎหมายภาษี (คือไม่ยอมเสียภาษี)
๔. ขัดขืนกฎหมายเกลืออาทิตย์ละครั้ง
๕. บอยค๊อต ธนาคาร บริษัทรับประกันชีวิต บริษัทเดินเรือ และบริษัทอื่นๆ ซึ่งอังกฤษเป็นเจ้าของ
๖. การปิดประตูการซื้อของเมา

คองเกรสดำเนินการด้วยความเพียรอดทนเพียงใด ความรุนแรงของรัฐบาลในการปราบปรามสถานการณ์ ก็ยิ่งเพิ่มทวีคูณขึ้นเพียงนั้น ดังจะได้เห็นจากรายการดังต่อไปนี้
๑. วันที่ ๒๑ เดือนพฤษภาคม ค.ศ.๑๙๓๐ พวกผู้รับอาสาพากันไปขัดขืนกฎหมายเกลือที่เมืองธรสนา มีจำนสย ๒,๕๐๐ คน ตำรวจราบกับตำรวจม้าเข้าโจมตีคณะนี้ โดยใช้ไม้ตะบองยาวเป็นอาวุธ มีผู้ได้รับบาดแผล ๒๙๐ คน ตายคนหนึ่ง
๒. วันที่ ๒๒ ธันวาคม ผู้รับอาสา ๑๐๐ คนและ มหาชน ๒,๐๐๐ คน ไปขัดขืนกฎหมายเกลือที่วาทาลา ผลจากการโจมตีของฝ่ายตำรวจม้า มีผู้ได้รับบาดแผล ๓๕ คน
๓. วันที่ ๑ เดือนธันวาคม มีผู้ไปขัดขืนกฎหมายเกลือที่เมืองวาทาลามีจำนวน ๑๕,๐๐๐ คน มีผู้ได้รับบาดแผล ๑๕๐ คน

วิธีการโจมตีคณะขัดขืนกฎหมาย ณ ตำบลต่างๆ ดังกล่าวมานี้ ตามที่รัฐบาลได้กระทำมาแล้ว มีอยู่อย่างไรบ้าง ขอท่านผู้อ่านทั้งหลายใช้วิจารณญาณของตนเองจากถ้อยคำดังต่อไปนี้ ซึ่งล้วนเป็นถ้อยคำของชาวต่างประเทศผู้ที่ได้พบได้เห็นมาแล้วด้วยตาตนเองทั้งสิ้น

มร.เวพ์มิลเลอรแห่งหนังสือพิมพ์ New Freeman
“ฉันทำหน้าที่ผู้ส่งข่าวมาแล้วราว ๑๘ ปี ตลอดเวลาที่ฉันเคยทำการส่งข่าวมาในประเทศนับได้ ๒๒ ประเทส ทั้งได้เป็นการขัดขืนกฎหมาย การจลาจล การกบฏ เป็นต้น มาแล้วอย่างนับไม่ถ้วน แต่ไม่เคยเห็นเหตุการณ์ข่มเหงที่น่าสลดใจมากยิ่งไปกว่าการข่มเหงพวกขัดขืนกฎหมายเกลือธรุสนบางคราวเหตุการณ์กลายเป็นสิ่งที่น่าสมเพชมาก ถึงกับฉันต้องหันหน้ามากลั้นน้ำตาเสียชั่วคราว ตาสิ่งที่แปลกที่สุดคือวินัยของพวกผู้รับอาสา ดูเหมือนว่าพวกเขาทุกคนเต็มเปี่ยมด้วยอุดมคติแห่งอหิงสาของคานธี”

มร.โสล โคมนฺ แห่งหนังสือพิมพ์ เดลีเฮรัลด์ลอนดอน
“ฉันได้สังเกตเหตุการณือยู่บนเนินเขา ในเมืองวาทาลา
เมื่อฉันยืนอยู่ในท่ามกลางแห่งพวกผู้รับอาสา ผู้มีใจโอบอ้อมอารี มีความมั่นคงมีความเพียรความกล้าหาญทุกคนแสดงความเป็นมิตรต่อแน แล้วได้สังเกตเห็นรัฐบาลผู้ร่วมชาติของฉัน กำลังดำเนินกิจการอันน่าหัวเราะและไร้เกียรติฉันรู้สึกอดสูใจเป็นล้นพ้น

อย่างไรก็ดีการที่ มร. โสลฺ โคมนฺ สังเกตวิธีการดำเนินการของรัฐบาล ย่อมเป็นกรณีแรกที่นำไปสู่การปรองดองระหว่างอังกฤษกับอินเดีย กล่าวคือทุกวันนี้ ถึงแม้งบประมาณของรัฐบาลอินเดียจะขาดไปกว่า ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ รูปี เพราะด้วยใช้เกินตัวในการปราบปรามการขัดขืนกฎหมาย ทั้งอุตสาหกรรมทอผ้าในประเทศอังกฤษก็หยุดชะงักลง โดยทำให้กรรมกรว่างงานนับเป็นหมื่นๆ ก็จริง แต่รัฐบาลก็ดื้อดึงดำเนินนโยบายการรุกรานอยู่เรื่อยไป ทั้งสภาปาลิเมนต์ ก็ไม่ค่อยเอาเรื่องกับอินเดียแม้แต่ประการใด เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ มร. โสลฺ โคมนฺ จึงได้ไปเยียมเยียนท่านคานธี ณ เรือนจำยารเวทา ๒ ครั้ง แล้วเขียนบทอันเกี่ยวแก่เหตุการณ์ในอินเดีย ลงในหนังสือพิมพ์เดลีเฮราลด์ ในบทนำนั้นท่านได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า

“แม้จะตกอยู่ในสมัยอันเข้าด้ายเข้าเข็มเช่นนี้ ก็ยังมีทางที่จะทำการปรองดองกันได้ และท่านคานธีก็เตรียมพร้อมที่จะแนะนำคองเกรสที่ให้งดการขัดขืนกฎหมาย แล้วร่วมมือกับการประชุมโต๊ะกลม โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ
๑. การประชุมโต๊ะกลม ต้องดำเนินการเพื่อวางร่างรัฐธรรมนูญ โดยมุ่งต่ออิสรภาพอันสมบูรณ์ของอินเดีย
๒. ต้องการยกเลิกภาษีเกลือ ห้ามการขายของเมาและห้ามผ้าต่างประเทศ
๓. ต้องปล่อยนักโทษการเมือง พร้อมกับเวลาที่คองเกรสเลิกการขัดขืนกฎหมาย

“รัฐบาลเตรียมที่จะทำการประนีประนอมอย่างมีเกียรติกับคานธีหรือ ยังมีโอกาสที่จะดำเนินการเจรจาได้ ฉันได้ไปเยี่ยมท่านคานธีในเรือนจำมา ๒ ครั้ง จึงแน่ใจว่าถ้ารัฐบาลมีความปรารถนาที่จะประนีประนอมจริง
คองเกรสคงยินดีประนีประนอมด้วย แต่ทว่ารัฐบาลดำเนินนโยบายประหัตประหารก็ไม่มีหวังที่จะเกิดความสงบ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะถึงความพินาศลง แต่ก็ยังมีช่องทางที่รัฐบาลจะพ้นจากข่ายอันตรายอันร้ายแรงเช่นนี้ได้ นั่นก็คือโดยรับรองอย่างจริงใจว่า มหาตมะคานธีผู้ซึ่งถูกกักขังในเรือนจำนั้น คือดวงวิญญาณของอินเดียโดยทั่วไปนั่นเอง”

พอบทนำของ มร. โสลฺ โคมนฺ นำลงประกาศหน้าหนังสือพิมพ์แล้ว ทำให้นิทรารมณ์ของสภาสามัญแห่งปาลิเมนต์ล้มสลายลงทันที หนังสือพิมพ์ต่างๆ ฝ่าย Tory ก็ได้แสดงความโกรธเคืองต่อความเพิกเฉยแห่งปาลิเมนต์

ส่วนในอินเดีย ผู้นำแห่งพรรค Liberal ๒ ท่านชื่อ เซอรเดชพาหาฑูร สปรู กับ ชยาการ ได้พยายามที่จะทำการประนีประนอม ระหว่างรัฐบาลอังกฤษกับคองเกรสเป็นที่สุดจึงได้ขออนุญาตเป็นพิเศษจากผู้สำเร็จราชการ เพื่อให้ท่านทั้ง ๒ คนเข้าเยี่ยมเยียนพูดจากับท่านคานธี บัณฑิตมติลาล เนหรู และบัณฑิต ยาวหัรลาลเนหรู ในเรือนจำได้ โดยมิให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจมาคอยเฝ้าอยู่ ท่านผู้สำเร็จราชการไม่ยอมตกลงตามคำขอร้องนี้ ท่านคานธีอยู่ในเรือนจำยารเวทาในมณฑลบอมเบ ส่วนบัณฑิตลาลเนหรูกับชวาหัรลาลเนหรูอยู่ในเรือนจำในนีตาลในสหมณฑลห่างจากกันประมาณ ๑๐๐ ไมล์ ท่าน ๒ คน จำต้องวิ่งไปวิ่งมาระหว่างเรือนจำทั้ง ๒ นี้ ในที่สุดท่านคานีให้ข้อตกลงแก่ท่านทั้ง ๒ นี้ว่า คองเกรสจะทำการประนีประนอมกับรัฐบาบได้ โดยถือหลัก ๓ ประการนี้ คือ
๑. อินเดียจะทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะพ้นจากราชอาณาจักรอังกฤษ
๒. รัฐบาลอินเดียต้องรับผิดชอบต่อชาติอินเดีย
๓. อินเดียมีสิทธิ์ที่จะควบคุมสิทธิพิเศษของอังกฤษ จนกระทั่งหนี้สินแห่งสงครามโลก ซึ่งอินเดียต้องมีสิทธิ์ที่จะไม่ยอมชำระให้

เป็นอันไม่ต้องสงสัยว่า เมื่อท่านผู้สำเร็จราชการเห็นข้อเงื่อนไข ๓ ข้อนี้เข้า การเจรจาเพื่อความประนีประนอมนั้น จะต้องล้มสลายลงทันที

เมื่อความพยายามของเซอรเตชพาหาทูรสัปรู และท่านชยาการ ต้องล้มลงโดยมิเป็นผลเช่นนี้ มร. โฮเลสจิอาเล็กซันเดอร ศาสตราจารย์สอน International Relations ที่มหาวิทยาลัย Selly Dak ก็ได้เดินทางเข้ามาอินเดีย โดยความมุ่งหมายที่จะทำการประนีประนอมกันอีก ความพยายามของท่านผู้นี้ ก็ได้ประสพผลเช่นเดียวกัน

ดังนั้นการประชุมโต๊ะกลมที่ประชุมกันที่ House of Lords ณ วันที่ ๑๒ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.๑๙๓๐ จึงไม่มีผู้แทนคณะพรรคคองเกรสแม้แต่ผู้เดียว มีเฉพาะสองคณะที่ได้เข้าประชุมโต๊ะกลมคราวนั้น คือคณะเจ้ากับคณะ Liberal เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ ที่องค์พระอธิราชทรงประทับร่วมประชุมด้วย อย่างไรก็ดี รัฐบาลรู้แล้วเป็นอย่างดีว่า ถ้าคองเกรสไม่เข้ามานั่งร่วมประชุมด้วยแล้ว ถึงจะมีการตกลงประการใดก็ตาม จะไม่เป็นที่พอใจของอินเดียเลย ทั้งทราบกันอยู่ดีด้วยว่า รัฐธรรมนูญแบบใดก็ตามที่คองเกรสไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง จะไม่นำมาซึ่งความสงบสันติสุขแก่ประเทศชาติ ลอร์ดเอิรวินจึงได้กล่าวไว้ในงานดินเนอร์ ของสมาคมชาวยุโรปแห่งกัลกัตตาว่า

“เราจะติเตียนนโยบายการขัดขืนกฎหมายแรงสักเพียงไรก็ตาม แต่ถ้าเราตีราคาแห่งความรักชาติที่แท้ และมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้ง ซึ่ง ณ บัดนี้กำลังดัดแปลงความคิดเห็นของอินเดียอยู่แล้วไซร้ เราจะรู้สึกได้ทันทีว่าเราได้ดำเนินงานผิดพลาดอย่างร้ายแรงทีเดียว เพราะเหตุนี้เอง ถ้ารัฐบาลดำเนินนโยบายแบบหักหาญ จะแก้ไขความตื่นเต้นดังนี้มิได้เป็นอันขาด”

แม้ มร.แรมเซ แมคโดแนลด์ อัครมหาเสนาบดีอังกฤษก็มีความซาบซึ้งในข้อนี้อยู่เหมือนกัน ฉะนั้น หลังจากที่ประชุมโต๊ะกลมได้เปิดประชุมมาแล้วกว่าสิบอาทิตย์ท่านจึงได้สั่งให้ปิดการประชุมโดยแถลงการณ์ว่า

“เนื่องด้วยการประชุมนี้ เป็นการประชุมที่สำคัญมากทั้งรัฐบาลก็มีเวลาพิจารณาน้อยด้วย รัฐบาลของพระราชาธิบดีจึงเห็นสมควรที่งดการประชุมไว้เพียงแค่นี้ก่อนทั้งนี้ก็เพื่อว่า รัฐบาลจะขอความเห็นของอินเดีย ในกิจการเท่าที่ได้กระทำมาแล้ว……ถ้าหากผู้ซึ่ง ณ บัดนี้ กำลังดำเนินการขัดขืนกฎหมาย มีความประสงค์ที่จะร่วมมือกับรัฐบาล รัฐบาลยินดีที่จะรับประโยชน์จากความช่วยเหลือของคณะพรรคนั้นเสมอ”

นี่คือสัญญาณทางอ้อมที่รัฐบาลหมดหนทาง ไม่สามารถดำเนินการประการใด โดยในที่ขัดขืนมติคองเกรสจึงได้หันมาขอประนีประนอมปรองดองกันอีกที ฉะนั้นไม่เป็นการแปลกเลยที่ ณ วันที่ ๒๖ เดือน มกราคม ค.ศ. ๑๙๓๐ เมื่อมหาตมะคานธีเสด็จจากการเจริญภาวนาประจำวันแล้ว จึงได้รับคำสั่งว่าให้ท่านพ้นจากโทษ ไม่เฉพาะแต่ท่านคานธีผู้เดียวแม้กรรมการทุกคนแห่งคณะบริหารคองเกรสที่ถูกจับไป ก็ได้ถูกปล่อยเป็นอิสระไม่มีเงื่อนไข การปราบปรามก็ยังต้องดำเนินคู่เคียงกันไปตามเคย

เมื่อท่านคานธียังอยู่ในเรือนจำ ท่านได้รับโทรเลขจากคณะผู้แทนอินเดียในประชุมโต๊ะกลม มีข้อความขอร้องให้ท่านพิจารณาคำแถลงการของท่านอัครมหาเสนาบดี ฉะนั้นตามคำร้องนั้น ท่านจึงขอร้องให้พักรอไว้จนกว่าคณะผู้แทนจะกลับมาสู่อินเดียแล้ว จึงจะพิจารณาถึงสถานการณ์และความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับอังกฤษทีหลังเพราะเหตุนี้เอง เมื่อคณะหนังสือพิมพ์ไปสัมภาษณ์ขอความเห็นในเรื่องประชุมโต๊ะกลมท่านจึงตอบว่า

“ฉันยังไม่สามารถที่จะลงมติอย่างเด็ดขาดได้ แต่สิ่งที่ทำให้ฉันรู้สึกกระวนกระวายใจนั้นคือ สถานการณ์ปัจจุบันนี้ถ้าที่ประชุมได้มอบอิสรภาพให้แก่อินเดียโดยแท้จริงแล้ว ป่านนี้เราคงจะรู้สึกถึงอิทธิพลแห่งอิสรภาพนั้นบ้าง ตรงกันข้ามฉันยังเห็นการปราบปรามอย่างคนใจดำ กำลังดำเนินไปตามเคย โดยไม่รู้จักหยุดหย่อน การข่มเหงราษฎรที่ไร้มลทิน ยังกระทำอยู่เช่นเคย ทรัพย์สมบัติของราษฎรผู้มีเกียรติและเป็นที่นับถือก็ยังถูกริบอยู่โดยไม่มีการฟ้อง่ร้องประการใด เมื่อเร็วๆ นี้ ทางการใช้อำนาจทำลายการแหของพวกผู้หญิง พวกทหารได้จับผมผู้หญิงเหล่านั้น แล้วเตะด้วยรองเท้าบู้ด ถ้ารัฐบาลดำเนินการปราบปรามตามแบบนี้ คองเกรสไม่สามารถที่จะร่วมมือกับรัฐบาลได้ ฉันเป็นผู้รักความสงบ แต่เหตุการณ์ต่างๆ ได้ทำให้ชีวิตฉันกลายเป็นชีวิตแห่งการต่อสู้ ถึงอย่างไรก็ดี ฉันจะพยายามทุกลู่ทาง เพื่อจะบรรลุถึงความสงบให้จงได้ คนนับหมื่นๆ ไว้วางใจในฉัน ดังที่เด็กไว้ใจมารดา การจับคนเหล่านั้นไปทรมาน ที่มิใช่เรื่องที่ชวนให้ฉันยินดีเลย”

ต่อมาอีกไม่กี่วัน คณะผู้แทนอินเดียที่ไปประชุมโต๊ะกลม คือ เซอรเตชพาหาทูร สัปรู ท่านชยากรเป็นต้น ก็ได้กลับมาถึงอินเดีย อาศัยความพยายามของท่านทั้ง ๒ นี้จึงได้มีการพบปะกันระหว่างท่านคานธีกับลอร์ดเอิรวิน ผู้สำเร็จราชการ คราวนี้รัฐบาลไม่ได้แสดงความดื้อดึงเช่นก่อน ทั้งนี้คงจะเป็นเพราะเหตุที่รัฐบาลเห็นมาแล้วว่า ถ้าปราศจากความร่วมมือของคองเกรส รัฐบาลจะไม่สามารถขบปัญหาอินเดียให้แตกหักได้

ก่อนที่จะพบปะเจรจากันคราวนี้ ท่านคานธีได้เขียนจดหมายถึงผู้สำเร็จราชการคือ ลอร์ด เอิรวิน ฉบับหนึ่ง โดยขึ้นต้นว่า “เพื่อนที่รักของฉัน ฉันขอพูดกับท่านในฐานะที่ท่านเป็นมนุษย์ มิใช่ในฐานะที่ท่านเป็นผู้สำเร็จราชการ” ในจดหมายฉบับนี้ท่านได้วางหลัก ๖ ประการเป็นเบื้องต้นแห่งการ “สงบศึก” กล่าวคือ
๑. การปล่อยนักโทษการเมือง
๒. การยกเลิกนโยบายปราบปราม
๓. การคืนทรัพย์สมบัติของผู้ถูกริบ
๔. การอนุญาตบรรดาข้าราชการที่ลาออกในสมัยขัดขืนกฎหมาย ให้กลับเข้ารับตำแหน่งเดิมอีก
๕. สิทธิในการทำเกลือ ในการปิดการซื้อของเมาและบอยค๊อตผ้าต่างประเทศ
๖. ตั้งคณะกรรมาธการ สืบและสอบสวนการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

การสนทนาได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ ๑๔ น. ๓๐ นาที (วันที่ ๑๗ เดือนกุมภาพันธ์ ๑๙๓๑) จนถึง ๑๘ น. ๑๐ นาที รวม ๓ วันติดๆ กัน แล้วได้เริ่มใหม่อีก ณ วันที่ ๒๗ เท่าที่ล่าช้าไป ๗ วันนั้น คงเป็นเพราะท่านผู้สำเร็จราชการคอยความเห็นรัฐบาลในอังกฤษ

การสนทนาที่เริ่มใหม่ ณ วันที่ ๒๗ และวันที่ ๒๘ เดือนกุมภาพันธ์นั้นได้หยุดชงักลงอีก ๒ อาทิตย์ แล้วเริ่มใหม่อีก ณ วันที่ ๓ เดือนมีนาคม ณ วันนั้นในเวลาเที่ยงคืน ท่านคานธีกับผู้สำเร็จราชการได้ตกลงกันทั้งสองฝ่ายให้สงบศึกทันที ในคืนนี้ รัฐบาลออกแถลงการณ์ว่า

“ท่านผู้สำเร็จราชการกับท่านคานธี มีการตกลงกันให้สงบศึกแล้ว ตามความตกลงนี้ ผู้ที่อาศัยอยู่ตามชายทะเลจะมีสิทธิเก็บทำและขายเกลือได้ นโยบายการปราบปรามจะถูกยกเลิก นักโทษการเมืองจะได้รับอภัยโทษเป็นอิสระทุกคน เว้นแต่ผู้มีความผิดในฐานฆ่าคนตาย คองเกรสจะมีสิทธิทำการปิดการซื้อของเมา และผ้าต่างประเทศได้ โดยไม่กีดขวางประตูห้างร้าน และรัฐบาลจะคืนทรัพย์สมบัติที่ริบไว้ให้กลับคืนทั้งหมด”

“ส่วนการสืบสวนและสอบสวนกิจการของตำรวจนั้น เนื่องจากอาจเป็นเหตุก่อให้เกิดการกล่าวหาแย้งกัน โดยไม่มีสิ้นสุด ท่านคานธีจึงมิได้ย้ำในข้อนี้อีก”

ดังนั้นมา ณ วันที่ ๔ ค.ศ.๑๙๓๑ เวลาเช้า สงครามอิสรภาพเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ ๖ เดือนเมษายน ค.ศ.๑๙๓๐ ได้ถึงความสงบลงโดยนำชัยชนะมาสู่ฝ่ายอหิงสา ฝ่ายสัจธรรม อำนาจอหิงสา อำนาจสัจธรรม จึงได้ล้มลงแทบเท้าของท่านมหาตมะคานธีผู้นำธงแห่งอหิงสา และสัจธรรมอย่างราบคาบ

ณ วันที่ ๖ ข้อตกลงภายใต้การเซ้นชื่อของท่านผู้สำเร็จราชการกับท่านคานธี ได้แผ่แพร่หลายไปทั่วอินเดีย คณะพรรคทุกคณะ ต้อนรับการสงบศึกด้วยความปิติปราโมทย์อย่างล้นเหลือ นักโทษการเมืองประมาณ ๗ หมื่นคน เดินแห่ออกจากเรือนจำ นำความยินดีร่าเริงไปสู่บ้านเมืองของตนหลังจากสงคราม ๑ ปี อินเดียเริ่มยิ้มออกสักหน่อย

ดังนั้น อาศัยความเสียสละ ความพยายามของท่านคานธีเมื่อทุกๆ คนกำลังหวังอยู่ว่า ท้องฟ้าแห่งสถานการณ์ทางการเมืองของอินเดีย คงจะมีแสงฉายแวบวับอยู่ด้วย รัศมีแห่งความสันติสุข ก็มาเกิดมีกลุ่มเมฆขึ้นอีกก้อนหนึ่ง ซึ่งนำความมืดมนต์มาครอบงำสถานการณ์ของอินเดียไว้อีกที

กล่าวคือดังได้กล่าวมาแล้วว่า ในอินเดียมีสมาคมลับสมาคมหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยดรุณชนทั้งนั้น มีวัตถุประสงค์ในอันที่จะกู้ประเทศให้เป็นอิสระด้วยนโยบายการประหัตประหาร การที่อังกฤาออกพระราชบัญญัติเราแลตต์ ก็เพื่อที่จะปราบปรามสมาคมนี้เอง ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการดำเนินหลักการไม่ร่วมมือของท่านคานธี อาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัตินั้นและกฎหมายอาญามาตราอื่นๆ รัฐบาลได้จับกุมนักโทษการเมืองทางประหัดประหารไว้นับจำนวนหลายร้อยคน ทั้งๆ ที่สมาคมนี้และนักโทษการเมืองเหล่านั้น เคยมีความหวังกันอยู่ว่า ถ้ามหาตมะคานธีประนีประนอมปรองดองกันกับรัฐบาลได้จริง คงจะบังคับรัฐบาลให้ปล่อยนักโทษการเมืองทางประหัตประหารด้วย แต่ว่าตรงกันข้ามกับความคาดหมายตามข้อตกลงระหว่างท่านคานธีกับผู้สำเร็จราชการ รัฐบาลได้สงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะจับกุมและปราบปรามนักโทษ และสมาคมการเมืองทางประหัตประหารนั้น

ตลอดเวลาที่ท่านคานธีดำเนินนโยบายการไม่ร่วมมือโดยการขัดขืนกฎหมาย สมาคมนี้หยุดการประหัตประหารทุกประการ ทั้งนี้ก็เพื่อให้โอกาสแก่คานธีในการดำเนินหลักอหิงสากู้ประเทศ เมื่อสมาคมนี้ได้เห็นชัดว่าท่านคานธียอมให้รัฐบาลสงวนไว้ซึ่งสิทธิปราบปรามสมาคมการเมืองทางประหัตประหาร สมาคมนี้ก็หมดหวังที่ว่าหลักการของท่านคานธีจะนำมาซึ่งอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ของอินเดีย จึงเริ่มทำการประหัตประหารอีกต่อไป ภายในเวลาไม่กี่เดือน อธิบดีกรมราชทัณฑ์กับอธิบดีกรมสันติบาลถูกยิงตาย ผู้สำเร็จราชการมณฑลเบงคอล กับผู้สำเร็จราชการมณฑลบอมเบก็ถูกยิงแต่ไม่ถึงตาย แคว้นหนึ่งในมณฑลเบงคอลชื่อว่าจตตครามถูกตัดออกจากราชอาณาจักรอินเดีย ประกาศตัวเป็นอิสรภาพอยู่ได้เพียง ๒๔ ชั่วโมง การจับกุมการลงอาญาประหารชีวิตจึงได้ดำเนินไปอย่างเคร่งครัด ในที่สุดสันติบาลพยายามจับสายลับสายหนึ่งแห่งสมาคมนี้ได้ศาลลงอาญาให้ประหารชีวิตหัวหน้าสายนั้นชื่อว่า ภกฺตสิงหะ กับพวกพ้องอีกหลายคน แต่ในการลงอาญาในคราวนี้ ศาลได้อาศัยอำนาจกฎหมาย ซึ่งตามข้อตกลงระหว่างท่านคานธีกับท่านผู้สำเร็จราชการ ลอร์เอิรวิน รัฐบาลได้ให้คำสัญญาไว้ว่าจะยกเลิกทันที

การไม่ดำเนินตามข้อตกลงนั้น เป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบสุขขึ้นทั่วอินเดียอีกครั้งหนึ่ง ประชาชนนำศพของภูตสิงหะ ผู้ถูกประหารชีวิตแห่ไปตามถนน อินเดียทั้งประเทศทำการหัรตาลคัดค้านคำพิพากษาของศาลช ประจวบกับเวลานี้เอง ถึงสมัยการประชุมประจำปีแห่งคองเกรส ณ เมืองกราจี ดรุณชนจัดตั้งสมาคมหนึ่งให้ชื่อว่า สมาคมเชิ้ตแดง เชิญท่านสุภาสจันทว สฺ แห่งเบงคอล เป็นประธานทำการคัดค้าน ทั้งนโยบายของรัฐบาลและกิจการของท่านคานธีที่ยังมิได้จักการกับรัฐบาล ดังนั้นเมื่อท่านคานธีเดินทางเข้ามาในคราวการประชุมคองเกรส พวกดรุณชนจึงได้โบกธงดำต้อนรับท่านคานธี และมอบดอกไม้แห้งสีดำให้ เพื่อแสดงถึงความเศร้าใจในกิจการของท่านคานธี ความตึงเครียดได้ก้าวขึ้นสู่ขีดสูงสุด ถึงกับเกิดมีความเกรงกลัวกัน ดรุณชนเหล่านั้นอาจจะพังที่ประชุมคองเกรสเสียก็ได้ ดังนั้น มหาตมะคานธีจึงเรียกคณะดรุณชนมาประชุมทั้งหมด แล้วเปิดการแสดงสุนทรพจน์ขึ้นมีใจความว่า

“การกระทำของดรุณชน มิได้เป็นเหตุให้ฉันโกรธเคืองแม้แต่น้อย ตรงกันข้าม ฉันรู้สึกยินดีที่ดรุณชนทุกคนแสดงท่าทางอย่างเคารพต่อฉัน พวกท่านจะทำร้ายฉันยิ่งกว่านี้ก็ได้ ทั้งสามารถจะฆ่าฉันเสียได้โดยไม่ต้องวางแผนผังประการใด แต่ตราบใดที่พระเจ้าทรงประสงค์ว่า ฉันยังจะรับใช้อินเดีย ตราบนั้นไม่มีใครสามารถทำร้ายฉันได้ แต่เมื่อวาระที่สุดของฉันมาถึง ก็ไม่มีใครสามารถช่วยชีวิตของฉันไว้ได้”

“การต่อสู้ของอินเดีย จะต้องอาศัยหลักสัจจะและหลักธรรมะ การต่อสู้ตามหลักนี้ คือ คานธีสมฺ (Gandhism) เวลานี้ดรุณชนกำลังค้านคานธีสมฺ แม้ความตายของฉันเองหรือเพื่อนๆ ของฉัน ก็จะไม่สามารถทำลายคานธีสมฺให้ดับสูญไปได้ เพราะคานธีสมฺอาศัยหลักอหิงสาและความสัจจะอินเดียได้ต่อสู้มาแล้ว และต้องต่อสู้ต่อไปตามหลักนี้เอง”

“เพราะฉะนั้น จึงขอร้องให้ดรุณชนทั้งหลายจงสละหลักหิงสา และวิธีการประหัตประหาร และยึดมั่นอยู่ในหลักอหิงสาอย่างถาวรแท้ ถึงดรุณชนทั้งหลายจะทำลายคองเกรสเสีย ก็ยังไม่สามารถที่จะเอาตัวภกฺตสิงหะคืนมาได้ ตรงกันข้ามพวกเขากลับจะถ่วงความเจริญของประเทศให้ล่าช้าไป ฉันมุ่งต่อสุวราช คือแบบการปกครองอย่างพระราม อันเป็นการปกครองด้วยสันติสุข และความรัก ซึ่งเราจะนำมาได้ก็โดยอาศัยอหิงสาเป็นกรณีนั่นแหละ นี่คือความฝันของฉัน ฉันดำรงชีวิต รับประทานอาหาร พูดจาสนทนาเป็นต้น ก็เพราะความฝันนี้เอง แต่ว่าวันไหนเสียงภายใน ฉันอ้าปากกล่าวว่า ประเทศไม่ต้องการฉันอีก และทั้งฉันเองก็แน่ใจว่า ชาติได้เลิกล้มการเชื่อฟังฉันเสียแล้ว วันนั้นแหละฉันจะถืออุโบสถ ทำการอดอาหารจนตาย”

อย่างไรก็ดี ท่านคานธีรับปากที่จะจัดการกับรัฐบาลและเจรจากับท่านผู้สำเร็จการ ความจริงการกระทำของดรุณชน มิได้แสดงความยุติธรรมต่อท่านคานธี เพราะว่าการตกลงระหว่างท่านคานธีกับท่านผู้สำเร็จราชการ มิใช่เป็นการตกลงอย่างเด็ดขาด เป็นเพียงแก่การสงบศึกชั่วคราวเท่านั้น โดยมีความมุ่งหมายเพื่อจะให้คองเกรสส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมสภาโต๊ะกลม การสงบศึกย่อมเป็นการกระทำกันในระหว่างฝ่ายที่เข้าทำสงครามกัน ฝ่ายที่ “เข้าสงคราม” นั้นคือฝ่ายอหิงสา มิใช่ฝ่ายที่ดำเนินตามหลักประหัตประหาร ฉะนั้นฝ่ายนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากการสงบศึกของอีกฝ่ายหนึ่ง หลังจากการตกลงในที่ประชุมโต๊ะกลม หากท่านคานธีไม่สามารถนำประโยชน์มาสู่อินเดียทั่วไป ดรุณชนฝ่ายที่ถือหลักประหัตประหารก็มีช่องทางที่อาจจะพูดได้ว่า หลักการของท่านคานธีมิสำเร็จผลสมความประสงค์ ฉะนั้นในการคัดค้านกิจการของท่านคานธีคราวนี้ ย่อมแสดงว่าเป็นการกระทำโดยความผลุนผลันใจร้อนเท่านั้น มิได้แสดงเหตุผลอันสมกับลักษณะแห่งนักการเมืองแท้

ฝ่ายรัฐบาลนั้นเล่า ก็มีความผิดเหมือนกัน ถ้ารัฐบาลมีความมุ่งหมายที่จะทำตัวเป็นมิตรกับอินเดีย โดยแท้จริงแล้วไซร้ ก็ไม่ควรดำเนินนโยบายปราบปรามขณะเมื่ออินเดียเพิ่งจะสงบลงใหม่ๆ เปรียบประดุจว่าในเมื่อไฟเกือบจะดับมิดับแหล่ ถ้ากะพือขึ้นในเวลานั้น ก็จะย่อมแสดงความโง่เขลาเต็มที่ มิหนำซ้ำเมื่อรัฐบาลได้ตกลงกันแล้วว่า จะยกเลิกกฎหมายฉุกเฉินทั้งหมดเสีย ก็ไม่ควรจะเอากฎหมายนั้นๆ มาใช้ในทางผิดสัญญาเช่นนี้ ซึ่งนับว่าเป็นการก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นโดยใช่เหตุ

การกระทำของรัฐบาลเท่าที่ได้เป็นไปดังนี้ คงจะเนื่องด้วยเหตุที่การสงบศึกนั้นมาประจวบกับเวลาราชการของท่านลอร์ดเอิรวินสิ้นสุดลง ลอร์ดวิลิงค์ดอนเข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนใหม่ ท่านผู้นี้มีชื่อว่าเป็นบุรุษผู้เคร่งครัดต่อหน้าที่ ดำเนินงานโดยไม่เหลียวแลใครและเห็นอกเห็นใจใครๆ เลย ฉะนั้นเมื่อท่านมาถึง ก็ตั้งต้นเปิดฉากนโยบายแบบเคร่งครัดขึ้นอีกที ความสงบทั้งมวลที่ลอร์ดเอิรวินได้สร้างสมอบรมมา ก็เกือบจะล้มสลายลงสิ้น ถ้าท่านคานธีไม่ประกาศให้คองเกรสยึดมั่นอยู่ในข้อตกลงอย่างมั่นคง งานชิ้นแรกแห่งนโยบายเคร่งครัดของท่านผู้สำเร็จราชการคนใหม่นี้ คือการใช้กฎหมายฉุกเฉินที่ยกเลิกแล้วมาปราบปรามคณะประหัตประหาร และงานชิ้นที่สองคือการไม่ยอมคืนทรัพย์สมบัติที่รัฐบาลสั่งให้ริบไว้ ให้แก่ชาวนาผู้เป็นเจ้าของที่ขัดขืนกฎหมายโดยไม่ยอมเสียภาษี

เมื่อเหตุการณ์ไม่สงบ เกือบจะระเบิดขึ้นเพราะความโง่เขลาของท่านผู้สำเร็จราชการในรัฐศาสโนบาย มหาตมะคานธีจึงต้องประกาศว่า ถ้ารัฐบาลไม่ยอมดำเนินตามข้อตกลงนั้นๆ แล้ว คองเกรสจะไม่ร่วมมือกับการประชุมโต๊ะกลม และตัวท่านก็ไม่หวังที่จะไปลอนดอนแทนคองเกรส ในการประชุมโต๊ะกลม คำประกาศของท่านได้ทำให้เกิดความตื่นเต้นขึ้นทั้งในอินเดียและอังกฤษ คณะพรรคการเมืองทุกคณะแสดงความเสียใจที่เหตุการณ์ได้เปลี่ยนรูปไปเสียเช่นนั้น

ถึงกระนั้นก็ดี ท่านคานธีก็ยังประกาศต่อไปว่าตราบใดที่รัฐบาลยังยอมรับว่าการสงบศึกยังไม่สิ้นสุดลง ตราบนั้นคองเกรสจะไม่ดำเนินนโยบายการขัดขืนกฎหมาย หากรัฐบาลประกาศยกเลิกการสงบศึกเมื่อใด คองเกรสจะเริ่มการขัดขืนกฎหมายสนองอีกครั้งหนึ่ง ถึงกระนั้น ท่านก็ยังหวังอยู่ว่าท่านผู้สำเร็จราชการ คงจะปฏิบัติตามข้อตกลง แล้วจัดตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณาเรื่องราวที่เกี่ยวแก่การไม่คืนทรัพย์สมบัติที่ริบไว้ ด้วยความหวังเช่นนี้ท่านจึงได้ขอสัมภาษณ์กับผู้สำเร็จราชการ ณ เมืองเดลลี

อนึ่ง ระยะเวลาประชุมโต๊ะกลมก็เข้ามาใกล้ผู้แทน่ฝ่ายคณะพรรคอื่นๆ ได้ออกเดินทางไปนานแล้ว เมื่อเที่ยวหรือที่จะออกจากท่าบอมเบอีกลำเดียว ถ้าไม่ทันเรือลำนั้นแล้วก็แปลว่า เป็นอันหมดหวังที่ท่านคานธีจะไปประชุมโต๊ะกลมได้ ฉะนั้นการสัมภาษณ์ระหว่างท่านคานธีกับผู้สำเร้จราชการคราวนี้จึงได้ดำเนินไปในระยะเวลาอย่างกระทันหันเหลือเกิน

ในที่สุด รัฐบาลยอมตามข้อตกลงของท่านคานธีแล้วจัดตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นพิจารณา เรื่องราวอันเกี่ยวแก่การไม่ยอมคืนทรัพย์สมบัติที่ริบไว้

การเจรจาได้สิ้นสุดลง ณ วันที่ ๒๗ เดือนสิงหาคมที่เมืองศิมลาเรือจะออกจากท่าเรือ ณ วันที ๒๙ ฉะนั้นทางการจึงต้องสั่งให้จัดขบวนรถพิเศษนำท่านคานธีไปส่งยังบอมเบให้ทันเวลาเรือออก

ครั้นมา ณ วันที่ ๒๙ เวลาเที่ยงวัน ท่านก็ลงเรือราชปุตานา พร้อมกับผู้แทนคองเกรสอีก ๒ คน คือ บัณฑิตมทนโมหนมาลวย กับ นางสโรชินี นายดู แล้วออกเดินทางไปยังเกาะอังกฤษ เพื่อนำชัยชนะแห่งอหิงสาและสัจธรรมมาสู่อินเดียต่อไป

คำขวัญที่ท่านให้แก่ชาติ ในคราวจะลาประเทศไปชั่วคราวนั้นมีอยู่ดังต่อไปนี้ คือ

“ถึงแม้ฉันจะมองไม่เห็นแววแห่งความหวังจับอยู่ที่ขอบฟ้าแม้แต่น้อยหนึ่งก็จริง แต่ฉันเป็นผู้ที่ชอบมองแต่แง่สุขแง่เดียว จึงถึงแม้จะหมดหวัง แต่ก็ยังหวังอยู่บ้าง ฉันมีศรัทธามั่นในพระเจ้า และดูเหมือนว่าพระองค์ได้ทรงทำลายเครื่องกีดขวางทางของฉันเสียทั้งหมดแล้ว ฉะนั้นฉันจึงหวังอยู่ว่าพระองค์จะทรงบัญชาใช้ฉันในนามของพระองค์ เพื่อให้รับใช้เพื่อนมนุษย์นั่นเอง”

“ถึงแม้คองเกรสจะเป็นเพียงคณะพรรค คณะหนึ่งก็จริง แต่มุ่งหมายที่จะแทนอินเดียทั้งหมด จึงสมที่จะได้รับความไว้วางใจของประเทศทั่วไป ดังที่ฉันได้รับอยู่ ฉันจะพยายามแทนประโยชน์ของคนทุกชั้น ทุกวรรณะที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของพลเมืองจำนวนล้านๆ ซึ่งเป็นพวกที่ไม่รู้จักเรียกร้องสิทธิของตนเองได้ เพราะว่าชีวิตของคองเกรสดำรงอยู่เพื่อคนจำพวกนี้เป็นสำคัญ”

“ฉันหวังว่า รัฐบาลประจำมณฑลต่างๆ เหล่ารัฐบุรุษ บริษัทอังกฤษต่างๆ จะช่วยเหลือคองเกรสให้บรรลุถึงผลสำเร็จแห่งวัตถุประสงค์ที่คองเกรสมุ่งหมายอยู่ คองเกรสเป็นตัวแทนอหิงสาและสัจธรรม จะสำเร็จผลได้ก็โดยอาศัยความสมานไม่ตรีจิตต่อฉันผู้แทนที่อ่อนน้อม เพื่อฉันจะได้นำชัยชนะมาสู่ประเทศให้จงได้”

ผลแห่งการไปเข้าร่วมประชุมโต๊ะกลมคราวนี้ คืออำนาจการบริหาร เว้นแต่การต่างประเทศ กับการทหารได้หลุดจากกำมืออังกฤษ ตกมาเป็นของอินเดียโดยชอบแล้ว และเพราะอำนาจการบริหารของรัฐบาลแห่งคณะคองเกรส ธงอังกฤษ ซึ่งปักอยู่ในแดนที่พระอาทิตย์ส่องแสงไม่รู้จักอวสานต์นั้นได้ล้มลงโดยไม่มีเวลาที่จะกลับโบกสบัดขึ้นในอินเดียได้อีก และธงไตรรงค์แห่งคองเกรสซึ่งได้รับการยินยอมโดยทั่วไปแล้ว ว่าเป็นธงชาติอินเดียได้กลับขึ้นโบกสบัดแทนอยู่ตามหลังคาตึกที่ทำงานรัฐบาล เพลงสรรเสริญบารมี คือ God save the King ได้ดับสูญหายเสียงไปโดยสิ้นเชิง แล้วเพลงชาติคือ วนฺเท มาตรมฺ ได้เริ่มขานเสียงสนั่นอยู่ทั่วทุกบ้านทุกมุม อินเดียทั่วประเทศท่านมหาตมะคานธีผู้ปฏิวัติอินเดียได้เชื้ออัญเชิญสมเด็จพระราชินีนาถ ผู้ทรงเดชานุภาพแห่งวัฒนธรรมเสด็จขึ้นสถิตเหนือรัตนบัลลังก์ พร้อมสรรพแล้ว ณ บัดนี้พระองค์ทรงเปล่งสุรสีหนาทประสาทมิตรภาพภราดรภาพเอื้ออำนวยวัฒนธรรม และอารยธรรมให้แก่ประชาโลกอย่างที่เคยได้เอื้ออำนวยมาแล้วแต่กาลก่อนโน้น

บทปริสิสต์
ระเบียบการย่อแห่งอาศรมสัตยาเคราะห์
วิธีดำเนินรายละเอียดเห็นว่าไม่จำเป็นที่จะเอามาลงในที่นี้ ทั้งนี้เนื่องด้วยเหตุที่ วิธีดำเนินรายละเอียดมักเปลี่ยนแปลงไปตามกาลและ เทศะ

วัตถุประสงค์  การเรียนรู้ซึ่งวิธีรับใช้มาตุภูมิ และการรับใช้มาตุภูมิด้วย
ศีล     ๑. ความตั้งมั่นอยู่ในสัจธรรม
๒. ความตั้งมั่นอยู่ในอหิงสา
๓. ความตั้งมั่นอยู่ในพรหมจรรย์
๔. การสังวรลิ้น
๕. การสังวรอทินทาน
หมายเหตุ  คำว่า อทินทาน กินความถึง การบริโภคสิ่งของที่เกินกว่าความจำเป็น
๖. การไม่ถือตัวเป็นเจ้าของสิ่งไร และไม่แสวงหาสิ่งที่ไม่จำเป็น
พรต หรือ กรณีที่จะต้องบำเพ็ญ
๑. การใช้สิ่งของเฉพาะที่เกิด หรือประดิษฐ์ขึ้นในมาตุภูมิอินเดีย และตั้งมั่นอยู่ในวัฒนธรรมอินเดีย
๒. ความไม่กลัวภัยจากรัฐบาล จนถึงความตาย

ที่มา:สวามี  สัตยานันทปุรี

มหาตมะคานธีผู้ประกาศสงครามอิสรภาพ

คานธี
เมื่อได้ปรากฎว่า รัฐบาลจะไม่ดำเนินตามมติมหาชนตามที่ท่านคานธีได้เสนอไว้ จึงเป็นอันว่าท่านจำต้องเตรียมพร้อมที่จะขัดขืนกฎหมายเนื่องจากท่านให้เวลาแก่ท่านผู้สำเร็จราชการ จนถึงวันที่ ๑๐ เดือนมีนาคม ค.ศ.๑๙๓๐ จึงตกลงว่า จะดำเนินการขัดขืนกฎหมาย ณ วันที่ ๑ เมษายน ๑๙๓๐ เพื่อจะดำเนินการแห่งการขัดขืนกฎหมาย ท่านได้จัดตั้งคณะบริหารขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่าคณะกรรมการสงคราม (War Council) เมื่อคำตอบของท่านผู้สำเร็จราชการมาถึงท่านโดยมีข้อความบ่งว่ารัฐบาลจะไม่แก้ไขนโยบายประการใดๆ ท่านจึงประกาศ “สงครามอิสรภาพ” ต่อรัฐบาลอังกฤาในนามแห่งคองเกรสว่า ประเทศอินเดียจะเริ่มทำสงครามอิสรภาพ แต่วันที่ ๖ เดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๓๐ โดยอาศัยหลักอหิงสาเป็นที่มั่น และการขัดขืนกฎหมายเป็นเครื่องอาวุธ

ดังได้ปรากฎอยู่ในจดหมายของท่านว่า ท่านได้เลือกกฎหมายเกลือเป็นขั้นแรกแห่งการขัดขืน ทั้งนี้โดยอาศัยเหตุผลว่า เกลือเป็นของจำเป็นแม้สำหรับคนอนาถาด้วย ฉะนั้นกฎหมายเกลือจึงนับว่า เป็นกฎหมายที่มีขอบเขตกว้างขวางที่สุด โดยบ่งถึงประชาชนทุกชั้น ทุกวัย ทุกเพศ โดยไม่มีการยกเว้นเลย ฉะนั้น ทุกๆ คนจึงมีโอกาสที่จะขัดขืนกฎหมายได้ ความจริง ไม่มีกฎหมายใดที่มีขอบเขตกว้างขวางดังกฎหมายเกลือ เหระเหตุนี้แหละท่านจึงได้เลือกกฎหมายเกลือเป็นขั้นแรก ตามกฎหมายนี้ประชาชนแม้ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ตามชายทะเล ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะน้ำทะเลมาทำเกลือเพื่อใช้ส่วนตัวหรือนำเอาไปขายเป็นสินค้าได้ ตามกฎหมายเกลือเป็นสินค้าของรัฐบาลโดยตรง การทำเกลือรัฐบาลลงทุนน้อยมาก แต่ขายโดยอัตราราคาแพงกว่าทุนที่ลงไปนั้นหลายเท่าจำนวนเงินนี้ รัฐบาลถือว่าเป็นภาษีเกลือ ฉะนั้นจึงเป็นอันว่าคำข้าวทุกๆ คำของชาวอินเดียตั้งแต่เด็กอ่อนจนถึงชราผู้จวนจะตาย ต้องเสียภาษีให้แก่รัฐบาล

การขัดขืนกฎหมายเกลือนี้ จึงหมายความว่า คนทุกคนจะพากันไปทะเล นำเอาน้ำทะเลมาทำเกลือโดยไม่ต้องขออนุญาตจากรัฐบาล ท่านได้วางโครงการขัดขืนกฎหมายไว้สามประการคือ

๑. ที่ไหนมีอากส ประชาชนจะมีสิทธิ์ทำเกลือและโดยมิต้องขออนุญาตจากรัฐบาล
๒. ประชาชนจะขนส่งเกลือที่ทำขึ้นแล้วได้ไม่ต้องยอมเสียภาษีให้รัฐบาล
๓. ประชาชนมีสิทธิจะจำหน่ายแจกจ่ายเกลือได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากรัฐบาล

มณฑลต่างๆ ที่ประชิดกับฝั่งทะเล ได้รับหน้าที่ให้จัดการงาน ส่วนมณฑลที่ตั้งอยู่ในที่ห่างไกล ก้ได้จัดส่งผู้รับอาสาไปยังที่ทำการขัดขืนกฎหมายเกลือ เพื่อเพิ่มกำลังงานแต่นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวแก่ประวัติอินเดียโดยทั่วไป ซึ่งไม่เป็นวิสัยแห่งหนังสือเล่มนี้ ฉะนั้นจึงขอกล่าวถึงพฤติการณ์ของท่านคานธีเฉพาะแต่ผู้เดียวเท่านั้น

เมื่อท่านได้จัดวิธีดำเนินการให้เรียบร้อยแล้ว ท่านได้ประกาศข่าวว่า ณ วันที่ ๑๑ คือ ก่อนวันกำหนดการเดินทางไปดำเนินงานขัดขืนกฎหมาย ท่านจะให้คำขวัญแก่ชนชาวอินเดียทั่วไป ดังนั้นเมื่อถึงวันที่ ๑๑ คนจึงพากันไปชุมนุมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสวรมติใกล้อาศรมของท่าน ตั้งแต่เช้าตรู่โดยมิรู้จักขาดสาย ซึ่งมีจำนวนนับเป็นพันๆ ครั้งตกเวลาเย็นมหาตมะคานธีก้าวออกจากอาศรมมายังที่ชุมนุมชนที่ประชุมเห็นรูปร่างของท่านผอมแบบบาง แต่ว่าส่อแสดงถึงอำนาจแห่งกำลังใจของท่าน ต่างได้เปล่งวาจาขึ้นเป็นเสียงเดียวกันว่า “วนฺเท มาตรมฺ”  “มหาตมะคานธี กิ ชัย” แล้วเสียงที่ลั่นออกจากลำคอแห่งชนนับเป็นพันๆ นั้น ได้ค่อยๆ หายไปกับกระแสลม ที่ประชุมเงียบสงัดประหนึ่งว่า ไม่มีคนแม้แต่คนเดียว มีแต่เสียงคลื่นในแม่น้ำสวรมติพัดมาตามสายลมกระจายเสียงไปทั่วที่ประชุมนำความเย็นใจสบายกายไปสู่ชุมชนที่กรำความร้อนมาตั้งแต่เช้า มหาตมะคานธีเข้าไปคำนับเหล่าประชาชนด้วยการยิ้ม อันมีประจำอยู่ที่ริมฝีปากของท่านเสมอ ยืนขึ้นบนเวทีที่เขาจัดให้เป็นพิเศษ แล้วให้คำขวัญแก่อาณาประชาราษฎรว่า

“วัตถุประสงค์ของเรามั่นคง อุบายของเราบริสุทธิ์และพระผู้เป็นเจ้าก็ทรงสถิตอยู่กับเรา ผู้ซึ่งยึดมั่นอยู่ในสัจจาเคราะห์ไม่มีการพ่ายแพ้ ขอให้สงครามของเราที่จะเริ่มขึ้นพรุ่งนี้ จงนำมาซึ่งสำเร็จผลเทอญ”

ปัญหาเกิดมีขึ้นกลางคันว่า ถ้าหากท่านคานธีถูกจับเสียแล้วไซร้ก็ใครเล่าจะเป็นผู้นำ ฉะนั้นท่านคานธีจึงได้แนะนำประชาชนให้ดำเนินการขัดขืนกฎหมาย ภายใต้การนำของคองเกรส แต่ถ้าหากในตำบลใดไม่มีคณะคองเกรส ท่านแนะนำว่าให้ถือตนของตนเป็นผู้นำ แล้วกล่าวเพิ่มเติมว่า “เมื่อการเฉลยปัญหาแห่งความกล้าหาญอยู่ที่อิสรภาพของประเทศหรือความตายของตน ปัญหาแห่งการเป็นผู้นำจะเกิดขึ้นได้อย่างไรเล่า

มา ณ วันที ๑๒ เป็นวันต้นแห่งการเดินทางเพื่อไปทำสงครามกู้อิสรภาพ ผู้แทนหนังสือพิมพ์ต่างๆ แห่งประเทศอินเดียและต่างประเทส เช่น อเมริกา อังกฤษ เป็นต้น มาคอยอยู่นอกอาศรมตั้งแต่เวลาย่ำรุ่ง ตั้งแต่คืนวานมา ประชาชนพากันมายืนอยู่ตามริมถนนที่ท่านคานธีจะนำกองทัพอหิงสาไปขัดขืนกฎหมาย ณ ฝั่งทะเล คือ เมืองทันที ซึ่งห่างไปจากอาศรมประมาณร้อยไมล์เศษ ท่านตกลงใจจะเดินเท้านำขบวนไปตลอดทางร้อยไมล์เศษ มีแต่แถวมนุษย์ ยิ่งไปกว่านั้นบรรดาต้นไม้ที่มีอยู่ตามริมถนนก็ยัดเยียดไปด้วยผู้คน

เวลาเช้าตรู่ หลังจากที่ท่านคานธีได้ทำการภาวนาแล้วท่านนุ่งผ้าสั้นๆ เพียงท่อนเดียว ใช้ผ้าอีกผืนหนึ่งคลุมตัวถือไม้สักเท้าอันหนึ่ง ออกมาจากบริเวณอาศรมแล้วปฏิญาณตนว่าตราบใดที่ชาวอินเดียทุกคนยังไม่มีเสื้อใส่ ฉันจะไม่สวมเสื้อจะนุ่งผ้าสั้นๆ และห่มผ้าเพียงผืนเดียว ประชาชนเมื่อเห็นท่านคานธีก็ร้องคำว่า “วนฺเทมาตรมฺ” มหาตมะคานธี กี ชัย” เป็นต้นขึ้น แล้วเจิมหน้าผากของท่านเป็นเครื่องหมายการนำมาซึ่งชัยชนะ (คือชัยดีลก) มหาตมะคานธีพร้อมด้วยพวกพรหมจารีย์ ๒๙ คน จึงเริ่มเดินทางต่อไป ฝ่ายทางราชการรัฐบาลมิได้จัดส่งตำรวจออกตรวจตราแม้แต่คนเดียว

มีผู้ส่งข่าวชาวอังกฤษคนหนึ่ง กล่าวถึงคนเดินขบวนของท่านคานธีคราวนี้ว่า “ทัศนียภาพที่ได้เกิดขึ้นก่อนพร้อมกัน และหลังจากเหตุการณ์อันใหญ่หลวงแห่งชาติคราวนี้นับว่าเป็นทัศนียภาพที่เต็มเปี่ยมไปด้วย ความตื่นตัว ความสง่าและทั้งเป็นเครื่องสกิดใจเตือนวิญญาณ ไม่มีภาที่จะบรรยายถึงทัศนียภาพอันนี้ได้ ความแรงกล้าแห่งความรักชาติที่ได้ปรากฎขึ้นในดวงจิตของอินเดีย ณ วันเดินขบวนเพื่อกู้ประเทศให้เป็นอิสระ ความรักชาติอันแรงกล้าเช่นนี้ ไม่เคยมีปรากฎในประวัติศาสตร์แห่งมนุษย์”

ท่านบัณฑิต มติลาลเนหรู ผู้เป็นบิดาของท่านยาวหลาลเนหรุได้กล่าวว่า การเดินขบวนกองทัพของพระรามไปลังกากลายเป็นเรื่องสำคัญในประวัติศาสตร์ ทุกๆสถานที่ๆ พระรามเสด็จผ่านไป ได้กลายเป็นปูชนียสถานฉันใด การเดินขบวนของท่านคานธีคราวนี้ ก็เป็นฉันนั้นจะกลายเป็นเรื่องสำคัญในประวัติศาสตร์ และทุกๆ เมืองที่ท่านผ่านไปนั้นจะกลายเป็นปูชนียสถานไปในอนาคต

ในการเดินขบวนคราวนี้ ท่านคานธีมิได้สวมรองเท้าโดยกล่าวว่า ฉันเป็นผู้แทนของพวกคนยากจนผู้ไม่มีผ้าจะนุ่งไม่มีเสื้อจะใส่ และไม่มีรองเท้าจะสวม ฉันจึงไม่ควรสวมรองเท้าเลย เมื่อประชาชนได้ฟังคำพูดดังนั้น ก็พากันไปนำเอาใบไม้อ่อนมาลาดตามถนนที่ท่านจะเดินไป ท่านได้กำหนดไว้ว่าจะเดินทางวันละ ๑๐ ไมล์ ณ สถานที่ๆ หยุดพักแห่งหนึ่ง ท่านได้กล่าวสุนทรพจน์ และนำประชาชนไม่ให้ร่วมมือกับรัฐบาลอังกฤษ เลิกซื้อสินค้าอังกฤษ นุ่งผ้าที่ทำในอินเดีย วันแรกแห่งการเดินทาง ท่านมาถึงเมืองอาสลาลี ณ ที่นั้นท่านแสดงความจำนงใจใจ “ตราบใดที่รัฐบาลจะไม่ยกเลิกกฎหมายเกลือ ฉันจะไม่กลับมาสู่อาศรมอีก คือยอมตายที่กลางถนน”

สิบวันผ่านพ้นไปแล้ว ท่านคานธีได้มาถึงเมืองบอรสาทสุนทรพจน์ที่ท่านแสดงไว้ ณ ที่นั้น มีข้อความสำคัญอยู่หลายข้อดังได้อ้างไว้ในข้างหลัง คือ

“การปกครองของอังกฤษในอินเดีย ได้นำมาซึ่งความเสื่อมทางศีลธรรม ทางวัฒนธรรม ทางจิตใจและทางวัตถุให้แก่มหาประเทศนี้ ฉันจะถือการปกครองนี้ว่าประหนึ่งเป็นคำสาลอินเดีย ฉันดำเนินงานทั้งนี้เพื่อจะทำลายระเบียบรัฐบาลนี้เสีย”

“ฉันเคยร้องเพลง “God save the King” มาแล้ว ทั้งได้สอนคนอื่นให้หัดร้องด้วย ฉันเคยมีความเชื่อถือในหลักการเมือง เช่นการยื่นคำร้อง การเฝ้าและการเจรจา แต่หลักการเหล่านี้มิได้เป็นผลเสียเลย ฉันทราบแลวว่า นี่มิใช่ทางจะเตือนสติรัฐบาลอังกฤษนี้ได้”

“การเผยแพร่ความเกลียดชังต่อรัฐบาลนี้ กลับเป็นธรรมของฉันเสียอีก สงครามของเราคือสงครามอหิงหาเรามิได้กระทำการทั้งนี้เพื่อจะห่าฟันหรือทำรายใคร แต่ฉันเห็นว่าย่อมเป็นธรรมของเราแท้ ที่จะจัดการให้คำสาปคือรัฐบาลนี้หมดฤทธิ์เดชและสิ้นสุดลงโดยพลันทีเดียว

ณ วันที่ ๒๙ ท่านกับคณะเดินทางมาถึงเมืองสุราษฎร์ ณ ที่นั้น ท่านได้แสดงสุนทรพจน์มีข้อความสำคัญที่แสดงความรักชาติที่แท้ดังต่อไปนี้

“เมื่อเช้าวานนี้เอง หลังจากเวลาภาวนา ฉันพูดกับเพื่อนๆ ของฉันว่า บัดนี้เราได้เข้ามาถึงจังหวัดที่เราจะทำการขัดขืนกฎหมาย ฉะนั้นเราควรจะพยายามให้มากขึ้นยิ่งกว่าก่อน เพื่อจะทำจิตใจของเราให้บริสุทธิ์หมดจด ทั้งฉันขอกล่าวคำตักเตือนซ้ำอีกว่า จังหวัดนี้ เป็นจังหวัดที่มีระเบียบเรียบร้อยดี ทั้งมีผู้ร่วมงานของเราหลายท่านด้วย เราคงจะได้รับการต้อนรับและความสรรเสริญมากยิ่ง แต่พวกเราทั้งหลายไม่ควรจะปล่อยตัวให้ลอยเหลิงเพราะคำสรรเสริญนั้น เรามิใช่เทวดา เราเป็นคนอ่อนแอมีช่องทางที่อาจจะถูกล่อลวงให้หลงทางก็ได้ มีโอกาสมากหลายที่จะพลาดจากกรณียกิจของเรา แม้เช้าวันนี้เองก็ปรากฎว่าเราได้หลงทาง กล่าวคือ ผู้ร่วมงานของเราซึ่งประจำสถานที่นี้ ได้จัดส่งนมมาทางรถยนต์มาให้เรารับ ซึ่งนับว่าเป็นการหมดเปลืองค่าใช้จ่ายมิใช่น้อย และซึ่งฉันเห็นว่าเป็นการไม่บังควรยิ่ง ฉันจึงได้คัดค้านอย่างแรงแต่การคัดค้านนี้จะได้บรรเทาทุกข์ของฉันให้สิ้นเชิงไปก็หาไม่ ตรงกันข้ามกลับทำให้เพิ่มความทุกข์ใจขึ้นอีกอย่างใหญ่หลวง โดยมารำพึงเห็นว่า “เมื่อประชาชนกำลังหิวข้าวอยู่ เราก็ยังกล้าทำการเลี้ยงโต๊ะกันได้”

“อาศัยเหตุการณ์เช่นนี้ ฉันจะมีสิทธิอะไรเล่าที่จะกล้าคัดค้านเงินเดือนของผู้สำเร็จราชการ อันมีอัตรา ๕๐๐๐ เท่าของเงินรายได้ของอินเดีย โดยคิดตามส่วนเฉลี่ยของอินเดีย เราจะทนดูความไม่ยุติธรรมเช่นนี้ได้อย่างไร ฉันไม่ติเตียนผู้สำเร็จราชการในฐานะเป็นบุคคล ท่านผู้นี้ไม่ต้องพึ่งเงินเดือนเลี้ยงชีพ พระเจ้าทรงอำนวยความมั่งคั่งให้ท่าน ทั้งแนได้คาดคะเนไว้ในจดหมายฉบับนั้นว่า ท่านคงบริจาคเงินก้อนนี้ทั้งหมดในทางการกุศล ต่อมาฉันก็ได้ทราบว่าความคะเนของฉันเป็นความจริง ถึงกระนั้น ฉันก็ยังคัดค้านเสมอ ไม่ให้ท่านรับเงินเดือนแพงถึงเช่นนี้ ฉันไม่สามารถที่จะให้โว๊ตเพื่อรับเงินเดือนๆ ละ ๒๐,๐๐๐ รูปี แม้เดือนละ ๒,๑๐๐ รูปี ก็ไม่ยอม แต่ฉันคัดค้านได้เมื่อไร ตราบใดที่ฉันยังดำรงชีพอยู่โดยใช้เงินมากไปกว่า ๗ สตางค์ต่อ ๑ วัน ซึ่งเป็นรายได้ของอินเดียโดยคิดเฉลี่ย ฉันไม่สามารถที่จะคัดค้านหลักการรับเงินเดือนแพงเช่นนั้นได้ ฉันคัดค้านได้ต่อเมื่อค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตไม่สูงกว่ารายได้คิดเฉลี่ยของประเทศ พวกเรากำลังเดินอยู่ในนามของพระเจ้า พวกเราประกาศตนว่ากำลังต่อสู้ในนามของผู้ไม่มีข้าวกิน ไม่มีผ้านุ่ง ไม่มีงานทำ ฉันได้ขอดูบัญชีการใช้จ่ายเงินเพื่อเลี้ยงดูฉัน ฉันจะไม่รู้สึกแปลกใจเลย ถ้าฉันเห็นว่า ท่านทั้งหลายได้จ่ายเงินมากกว่า ๗ สตางค์ ๕๐ เท่า เมื่อฉันต้องการส้มเพียง ๑๒ ผล ท่านนำมาให้ ๑๒๐ ผล เมื่อฉันต้องการนมเพียงขวดเดียว ท่านนำมาให้ ๔ ขวด พวกเราอาจรับทุกๆ สิ่งที่ท่านทั้งหลายนำมาให้ทั้งนี้ก็โดยคิดว่าถ้าเราไม่รับไว้ ท่านทั้งหลายคงรู้สึกเสียใจ แล้วท่านทั้งหลายจงคิดดูว่า ฉันเขียนจดหมายส่งไปยังผู้สำเร็จราชการ โดยใช้ปากกาหมึกซึมที่ท่านเอามาให้เป็นของขวัญ การให้ของขวัญเช่นนี้เหมาะสำหรับท่านหรือของฉัน การเขียนจดหมายด้วยปากกาหมึกซึม จะบังเกิดผลอย่างวิเศษหรือ

ถ้าเราดำรงชีวิตตามแบบนี้แล้วไซร้ ก็ตรงกับภาษิตที่ว่า “อาหารที่ขโมยเอามา คือ ประดุจการรับประทานปรอทสดๆ “ และฉันเห็นว่า การดำรงชีวิตโดยใช้เงินเหนือไปกว่ากำลังของประเทศที่ยากจน ก็เป็นการรับประทานอาหารที่ขโมยมานั่นเอง ถ้าเราดำรงชีวิตเหนือไปกว่ารายได้ ทั้งฉันก็มิได้นำขบวนนี้มา เพื่อว่าจะดำรงชีพเหนือไปกว่าเงินรายได้ของเรา ฉันหวังว่า ผู้รับอาสานับจำนวนพันๆ จะเข้ามาร่วมงาน ถ้าปล่อยให้พวกเขาดำรงชีพอย่างฟุ่มเฟือยเช่นนี้ เขาจะไม่สามารถต่อต้านกำลังต่อสู้ได้ ชีวิตของฉันเต็มไปด้วยธุระมากมาย ถึงกับไม่สามารถที่จะติดต่อเป็นส่วนตัว แม้กับคน ๘๐ คน ที่เข้ามาก่อนได้ ฉะนั้นฉันจึงไม่มีทางใด นอกจากที่จะเปิดเผยความในใจแก่มหาชนทั่วไป ฉันขอร้องให้ท่านทั้งหลายเข้าใจในจุดหมายแห่งคำขวัญของฉัน ถ้าท่านไม่เข้าใจ ก็ไม่มีหวังที่จะบรรลุถึงสุวราช โดยทางที่เราดำเนินอยู่ได้ เราต้องเป็นผู้รับฉันทะของมหาชนที่ถูกปิดปากไว้”

นี่แหละคือจิตใจของผู้นำอินเดีย ผู้ไม่ยอมรับของขวัญหรือของตอบแทน และยังไม่ยอมดำรงชีพโดยใช้จ่ายมากไปกว่ารายได้ในส่วนเฉลี่ยของชาติ ไม่ต้องสงสัยว่า สุนทรพจน์คราวนี้ ได้ก่อให้เกิดอิทธิพลขึ้นอย่างมากมาย พวกผู้รับอาสาได้สำรวมตนเคร่งครัดยิ่งขึ้นไปกว่าก่อน ประชาชนไม่มีใครกล้าให้ของขวัญแก่ท่านคานธีหรือพวกผู้รับอาสา นอกจากที่จะให้สำหรับใช้สอยในการรับใช้ประเทศ แต่ว่าเมื่อท่านคานธีตัดหนทางไม่ให้ของขวัญแก่ท่าน ทั่วอินเดียได้สถาปนาภาพของท่านไว้ในห้วงหทัยเพื่อทำสักการะบูชาตลอดไป

ในที่สุด วันที่ ๕ เดือนเมษายน ค.ศ.๑๙๓๐ เวลาเช้าท่านกับคณะของท่าน ก็ได้มาถึงเมืองทันทีที่เป็นจุดมุ่งหมาย ตลอดเวลาแห่งการเดินทาง ไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลทำการปราบปรามขัดขวางหรือห้ามแม้แต่ประการไร ความสงสัยจึงเกิดมีขึ้นมาว่า ณ วันที่ ๖ ซึ่งเป็นวันเริ่ม “สงครามอิสรภาพ” โดยการขัดขืนกฎหมายเกลือนี้ รัฐบาลจะดำเนินนโยบายเป็นอย่างไร สถานการณ์แห่งอินเดียถึงความตรึงเครียดจนถึงวาระที่สุด หัวเมืองริมทะเลทุกๆ เมืองต่างเตรียมการขัดขืนกฎหมายเกลือไว้พร้อมสรรพ เป็นแต่คอยท่านคานธีให้เปิดฉากการขัดขืนขึ้นเป็นครั้งแรกก่อน คองเกรสได้จัดเตรียมการล่วงหน้าไว้ก่อนแล้ว เป็นแต่คอยฟังข่าวแห่งการขัดขืนกฎหมาย ซึ่งท่านคานธีเป็นผู้นำ ว่าจะแพร่หลายไปทั่วถึงเมื่อใด สำนักต่างๆ ก็จะได้เริ่มการขัดขืนตามทันทีเมื่อนั้น

วันที่ ๕ เมื่อท่านมาถึงเมืองทันทีแล้ว ท่านได้ให้สัมภาษณ์แก่บริษัทส่งข่าว Associated Press ว่า

“ฉันขอแสดงความขอบคุณพระผู้เป็นเจ้า ในการที่งานขั้นแรกได้สำเร็จไปด้วยดี ทั้งฉันขอแสดงความขอบใจรัฐบาลที่ได้ดำเนินนโยบายการไม่เอื้อมมือเข้ามาเกี่ยวข้อง ตลอดเวลาที่ฉันนำขบวนมา เมื่อเร็วๆ นี้รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างเด็กๆ ในการจับกุมท่านวลุลภไภ และท่านเสนคปุตะ ฉะนั้นฉันจึงไม่นึกฝันว่า รัฐบาลจะไม่เอื้อมมือเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในที่นี้ขอกล่าวว่า ฉันไม่ใช่คนโง่ถึงกับที่จะเข้าใจเอาเองว่า เพราะรัฐบาลหมดความสามารถจึงมิได้ดำเนินนโยบายที่แล้วๆ มา คือยั่วประชาชนให้เกิดความเคืองแค้นก่อน แล้วลงอาญาตามหลัง ฉันปรารถนาจริงๆ ที่จะได้เห็นนโยบายการไม่เอื้อมมือเข้ามาเกี่ยวข้องคราวนี้นั้น สามารถดัดแปลงจิตใจและนโยบายของรัฐบาลให้มั่นคงถาวร แต่ว่ามันไม่มีหวังที่จะเป็นไปได้แน่ เพราะรัฐบาลได้เคยขัดขืนประชามติภายในสภานิติบัญญัติ และทั้งได้ดำเนินนโยบายอย่างข่มขี่เสียด้วยซ้ำ เหตุการณ์เหล่านี้ย่อมส่อให้เห็นชัดว่า นโยบายการแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวจากประเทศอินเดียอย่างไร้เมตตากรุณาคงจะดำรงอยู่โดยประการทั้งปวง ฉะนั้นฉันจึงตีความแห่งการไม่ร่วมมือเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังรัฐบาลได้ดำเนินมาในคราวนี้ว่า รัฐบาลอังกฤษถึงจะเป็นมหาอำนาจก็จริง แต่ยังมีความหวาดกลัวต่อมติสากลโลก ที่ไม่เห็นพ้องต้องด้วยนโยบายปราบปรามการผันผวนทางการเมืองที่เป็นไปในทางอหิงสาอยู่”

“ฉะนั้น บัดนี้เราจึงต้องคอยดูต่อไปว่า รัฐบาลจะทนดูการขัดขืนกฎหมายเกลือ ที่ประชาชนมีจำนวนนับไม่ถ้วน จะลงมือกระทำกัน ตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไปอย่างไร ฉันหวังว่าข้อตกลงของคณะบริหารแห่งคองเกรส จะได้รับความนิยมชมชอบจากมหาชนอย่างแพร่หลาย ตามที่ฉันสังเกตมาแล้ว ฉันยังมองไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องถอนคำประกาศที่ฉันได้ประกาศไว้ก่อนนั้น กล่าวคือ สโมสร สมาคม หรือคณะทุกคณะทั่วอาณาจักรอินเดีย มีอิสระที่จะขัดขืนกฎหมายเกลือ ซึ่งจะเริ่มแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไปได้  ถ้าพระเจ้าทรงประสงค์แล้วไซร้ ฉันพร้อมด้วยมิตรสหายทั้งปวง จะขัดขืนกฎหมายตั้งแต่พรุ่งนี้ (คือ วันที่ ๖ เดือนเมษายน) เวลาเช้า ๖ น. ๓๐ นาที เป็นต้นไป วันที่ ๖ เดือนเมษายน เป็นวันแสดงอาบัติและชำระตนให้บริสุทธิ์สำหรับเรา เพราะวันนี้เป็นวันที่รัฐบาลทำการฆาตกรรมที่เมืองชาลิยานวาลาวาค ฉะนั้นพวกเราจึงต้อนรับวันนั้นด้วยการภาวนาและสมาทานอุโบสถศีล ฉันหวังว่าทั่วอินเดียจะถือสัปดาห์ๆ หนึ่ง ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่พรุ่งนี้ว่าเป็นสัปดาห์แห่งชาติ (National Week) ฉันตั้งใจแน่วแน่ว่า เราทำการเสียสละยิ่งเพียงใด เราทำตนให้บริสุทธิ์ยิ่งเพียงใด ความสำเร็จผลอันประเสริฐยิ่งที่พลเมืองนับจำนวนล้านๆ พยายามจะบรรลุถึงอยู่นั้น จะเข้ามาใกล้เพียงนั้น”

ในที่สุดราตรีกาลอันมืดมนต์ แห่งความไร้อิสรภาพได้ผ่านพ้นไปโดยไม่มีวันจะกลับคืน วันที่ ๖ ได้เบิกอรุณทอแสงแห่งอิสรภาพแผ่ซ่านไปทั่วอาณาเขตอินเดียเบื้องบนมีกลุ่มเมฆเป็นคลื่นซ้อนซับสลับกันเป็นทิวแถว อาบไปด้วยแสงทองแห่งอาทิตย์อุทัย ประหนึ่งเป็นกนกอาส์นสำหรับรับเทพนิกรจะมานั่งคอยดูสงครามอิสรภาพที่จะเริ่มขึ้น ณ บัดนี้ เบื้องหน้ามหาสมุทรอินเดียเต้นเร่าๆ อยู่กับพระพาย บรรเลงเพลงมหาฤกษ์มหาชัย คอยต้อนรับผู้นำสงครามอิสรภาพอยู่ ณ ชายฝั่งทะเล ท่านคานธีตื่นขึ้นแต่เช้าตรู่ทำการภาวนารวมด้วยมิตรสหาย แนะนำพวกผู้รับอาสาว่า หากตัวท่านถูกจับ ขอให้ตั้งท่านอาพุพาสตยาพชี เป็นผู้นำแทนต่อไป

แล้วมหาตมะคานธี พร้อมด้วยพรหมจารีย์ ๘๔ คน ค่อยๆ เดินไปยังฝั่งทะเล ประชาชนนับพันๆ กำลังคอยกันอยู่ตั้งแต่วันวาน ผู้แทนหนังสือพิมพ์ในประเทศต่างเตรียมพร้อมที่จะจับปากกาบันทึกเหตุการณ์ทุกประการไว้ อย่างละเอียดละออ แต่ข้อที่น่าสังเกตก็คือ ณ ที่นั้นไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลอยู่แม้แต่สักคนเดียว

ท่านคานธีเกาะบ่านางสาวอาพุพาสยาพชี ผู้เป็นบุตรีของท่านอาพุพาสตยาพชีอยู่ ผู้นำอื่นๆ และพวกผู้รับอาสาที่เป็นพรหมจารีย์เดินตามหลังลงไปยังชายหาดเพื่ออาบน้ำ เมื่ออาบน้ำสำเร็จเสร็จไปแล้ว ท่านก็ลงมือเก็บเกลือซึ่งมีอยู่กระจัดกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเล โดยทำหน้าที่ในฐานะเป็นผู้นำขัดขืนกฎหมายเกลือ และผู้รับอาสาอื่นๆ ก็ดำเนินตามนางสโรชินี นายดู ผู้ที่เป็นผู้นำอินเดียคนหนึ่ง ได้ต้อนรับท่านคานธีโดยให้สมัญญาว่า “ท่านผู้ละเมิดกฎหมาย”

ครั้นก่อการขัดขืนกฎหมายสำเร็จพิธีแล้ว ท่านได้ประกาสคำแถลงการณ์ลงในหน้าหนังสือพิมพ์ทุกฉบับว่า

“บัดนี้พิธีการขัดขืนกฎหมายเกลือได้กระทำกันแล้ว ฉะนั้นทุกๆ คนที่กล้าเสี่ยงภัยในการถูกฟ้องตามกฎหมายมาตรานี้มีอิสระที่จะทำการขัดขืนกฎหมายทำเกลือได้ในที่ทุกแห่งและทุกเวลา ฉันขอแนะนำว่า พวกผู้รับอาสาจะต้องทำเกลือทุกคน และถ้าเราทำเกลือชนิดบริสุทธิ์ได้ เราควรจะเอาเกลือนั้นไปใช้ และทั้งได้แนะนำพลเมืองให้ช่วยด้วยทั้งพวกผู้รับอาสาก็ควรจะบอกกล่าวแก่พลเมืองเสียด้วยว่า การนำเกลือเถื่อนไปใช้นี้ อาจจะเป็นเหตุให้เขาถูกฟ้องร้องก็เป็นได้ หรืออีกนัยหนึ่งพวกผู้รับอาสาควรจะอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจ ในผลร้ายที่จะสืบเนื่องมาแต่การไม่ยอมเสียภาษีเกลือ และทั้งควรอธิบายถึงวิธีการขัดขืนกฎหมายว่า เขาทำกันเพื่อจะบังคับให้รัฐบาลเลิกภาษีเกลือเสีย”

“สงครามเพิกถอนภาษีเกลือ เราต้องดำเนินกันตลอดสัปดาห์แห่งชาติ คือจนถึงวันที่ ๑๓ เดือนเมษายน ผู้ซึ่งไม่ติดงานอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ต้องช่วยทำการโปรปะกันดา เพื่อบอยค๊อตผ้าต่างประเทศ และให้ใช้ผ้าอินเดียแทนทั้งต้องพยายามทอผ้าให้ได้มากยิ่งขึ้นตามมีตามเกิด ส่วนการยกเลิกการซื้อขายของมึนเมา ฉันกำลังเตรียมคำขวัญสำหรับหญิงอินเดีย ซึ่งฉันมีความไว้วางใจเพิ่มขึ้นทุกทีว่าจะช่วยกู้ประเทสให้เป็นอิสระได้มากกว่าชาย ฉันยังเห็นว่าหญิงจะอธบายความลึกซึ้งแห่งอหิงสาได้ดีกว่าชาย ทั้งนี้มิใช่เพราะเหตุที่หญิงเป็นเพศอ่อนแอ ดังที่ชายพากันเข้าใจ แต่เพราะเหตุที่หญิงมีความกล้าหาญชอบธรรม และมีนิสัยเสียสละยิ่งกว่าชายหลายเท่า”

หลังจากการแสดงสุนทรพจน์ดังข้างต้นนี้ มีคนหนึ่งถามท่านว่าตลอดสัปดาห์แห่งชาตินี้ ท่านจะทำอะไรบ้าง ท่านตอบว่า “ฉันมีธุระที่จะต้องทำมาก” และหัวเราะดังแล้วพูดเพิ่มเติมต่อไปว่า “ฉันจะปลุกใจประชาชนให้ทำเกลือเถื่อน”

การขัดขืนกฎหมายโดยท่านคานธี เป็นเพียงแต่พิธีสัญญาณให้อินเดียดำเนินการขัดขืนขึ้นในทันทีทันใดเท่านั้น ฉะนั้นเมื่อข่าวการขัดขืนได้แพร่สพัดไปทั่วอินเดียโดยทางโทรศัพท์และโทรเลข ประชาชนก็ลุกขึ้นเริ่มดำเนินการขัดขืนกฎหมายเกลือขึ้นหลายร้อยแห่ง ถึงรัฐบาลจะได้รักษานโยบายการไม่เอื้อมมือไปเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของท่านคานธี เฉพาะผู้เดียวก็จริง แต่ส่วนการเคลื่อนไหวในที่อื่นๆ หาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้นการจับกุมของรัฐบาลจึงได้ดำเนินไปพร้อมๆ กับการขัดขืนกฎหมายของประชาชน พวกผู้รับอาสาทำเกลือเถื่อนบรรจุเกลือใส่ห่อเล็กๆ พาไปเที่ยวขายตามถนนอย่างเปิดเผย ประชาชนพากันมาซื้อประดุจเป็นของศักดิ์สิทธิ์ บางคนรับซื้อโดยบริจาคเงินราคานับร้อยรูปี พันรูปีก็มี จำนวนเงินเหล่านี้ได้นำไปใช้ในการดำเนินกิจการของคองเกรส ตลอดสัปดาห์แห่งชาติการทำและการซื้อขายเกลือได้ดำเนินไปในทำนองนี้ สมัยนั้นท่านบัณฑิตชวาหัรวาลเป็นประธานของคองเกรส วันที่ ๑๓ เป็นวันสุดท้ายแห่งสัปดห์แห่งชาติ ท่านชวาหัรวาลถูกจับวันนั้น จำนวนผู้ที่ถูกลงอาญาถึงจำคุกตลอดสัปดาห์นั้นมีถึง ๒๐๐ กว่าคน เมื่อสัปดาห์หนึ่งผ่านพ้นไปแล้ว ท่านคานธีมีความพอใจในการดำเนินกิจการของประชาชน จึงกล่าวคำขวัญว่า

“อาศัยข่าวตามที่ฉันได้รับมาจนบัดนี้ ฉันเข้าใจว่าการขัดขืนกฎหมายโดยมหาชน แสดงอานุภาพเหนือรัฐบาลแล้วอย่างมากมาย และทั้งรัฐบาลก็ไม่ยอมปล่อยให้ผู้นำทั้งหลายลอยตัวเป็นอิสระ ฉันขอขอบใจรัฐบาล”

“ถ้ารัฐบาลจะปล่อยพวกขัดขืนกฎหมาย ให้ดำเนินการตามอำเภอใจ ก็คงจะกลายเป็นเหตุการณ์ที่น่าพิศวงมาก แต่ว่าถ้ารัฐบาลจะทำการทรมานตัวพวกผู้ขัดขืนกฎหมาย และริบทรัพย์สมบัติของเขา โดยไม่ดำเนินตามกฎหมาย ก็จะเป็นการกระทำอย่างป่าเถื่อนแท้”

“ส่วนการกล่าวหา และลงอาญาตามกฎหมายนั้นเราไม่ว่าอะไร เพราะนั่นเป็นผลลัพธ์ที่ผู้ขัดขืนกฎหมายจะต้องรับ ผู้ขัดขืนกฎหมายจะบรรลุผลสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อเขาไม่ยอมบิดพริ้วประการไร ทั้งประชาชนที่เขาเป็นผู้แทนก็จะไม่ท้อใจเมื่อเขาถูกจับ นี้เป็นเวลาที่ทุกคนจะต้องดำเนินหน้าที่ ๒ ประการ คือ หน้าที่แห่งผู้นำ กับหน้าที่แห่งผู้ตาม”

“บัดนี้ได้ถูกจำคุกแล้วหลายๆ คน ฉะนั้นถ้าในสมัยนี้พวกนักเรียนและนิสิต ไม่บอยค๊อตโรงเรียนและมหาวิทยาลัยของรัฐบาล และทั้งไม่ลงมือทำการขัดขืนกฎหมายเพื่อกู้ประเทศแล้วไซร้ ฉันจะรู้สึกเสียใจมิใช่น้อย”

การร้องเรียกนักเรียนและนิสิตคราวนี้ ได้ผลเกิดคาดยิ่งกว่าคราวที่แล้วมา มหาวิทยาลัยกลับเป็นสถานที่ว่างเปล่าอยู่อีกครั้งหนึ่ง ถึงกับทางการจำต้องประกาศหยุดเทอมเป็นพิเศษ คราวนี้มิใช่เฉพาะแต่นิสิต แม้พวกศาสตราจารย์ก็มีหลายท่านที่ได้ทำการบอยค๊อตมหาวิทยาลัยและสมัครเป็นผู้ขัดขืนกฎหมาย มิหนำซ้ำเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลก็มีอีกหลายคน พวกทนายความนับจำนวนร้อย ก็ได้ทำการบอยค๊อตรัฐบาลและศาล และมาสมัครเข้าพวกเป็นผู้ขัดขืนกฎหมาย

สัปดาห์แห่งชาติได้ผ่านพ้นไปแล้ว โดยนำกำลังมาสู่คองเกรสอย่างมากมาย รัฐบาลเห็นว่า นโยบายการลงอาญาไม่สามารถจะระงับเหตุการณ์นี้ได้แม้แต่น้อย หากแต่กลับช่วยส่งเสริมให้ทวีขึ้นเท่านั้น จึงเปลี่ยนนโยบายเก่า ดำเนินนโยบายใหม่ คือไม่กล่าวหาผู้ซื้อขายเกลือ แต่แย่งชิงริบเอาเกลือนั้นไปเสีย

ท่านคานธีจึงประกาศคำสั่งแก่พวกผู้ขัดขืนกฎหมายโดยด่วนว่า

“รัฐบาลคงเห็นว่า การจัดการตามกฎหมาย เป็นการยุ่งยากมาก แต่ว่ารัฐบาลได้ตั้งต้นกิจการแล้วเป็นอย่างดี ฉะนั้นขอให้รัฐบาลสำเร็จผลด้วยดี ถ้ารัฐบาลดำเนินนโยบายการขู่เข็ญ รัฐบาลจะเห็นว่าประชาชนอินเดียเตรียมพร้อมอยู่ ขอให้ประชาชนทั้งหลาย จงช่วยกันป้องกันเกลือที่ติดอยู่กับตัวไว้ให้จงดี อย่ายอมให้ใครช่วงชิงเอาไปได้เป็นอันขาด แต่การป้องกันต้องกระทำโดยไม่คิดปองร้าย โดยไม่โกรธเคืองและโดยไม่ใช้ผรุสวาจาตำรวจมีทางง่ายที่สุด ถ้าจะจับเอาเกลือนั้นให้ได้ คือจับตัวผู้ที่มีเกลือไป เมื่อจับตัวเจ้าของเกลือไปได้แล้ว เกลือก็จะต้องตกเป็นของตำรวจอยู่เอง แต่ทว่าการริบเกลือนั้น ตำรวจจะริบได้ก็ต่อเมื่อได้ฟ้องร้องแล้ว ก่อนนั้นเราจะไม่ยอมให้ริบเอาไป”

ผลแห่งคำประกาสนี้ก็คือ ทำให้เรือนจำเต็มไปด้วยพวกขัดขืนกฎหมาย ถึงกับรัฐบาลต้องสร้างเรือนจำชั่วคราวขึ้นหลายแห่ง ประชาชนทั้งหญิงชายถูกจับนับจำนวนมิใช่เป็นพันๆ แต่เป็นหมื่นๆ

แต่ทว่าการจับกุมลงอาญาเช่นว่านี้ หาได้บันดาลผลให้ระงับความตื่นตัวในคราวนี้ลงได้ไม่ ยิ่งรัฐบาลจับกุมมากเพียงใด คนก็เข้ามารับตำแหน่งของผู้ที่ถูกจับไปแทนทันที ใช่แต่ชายเท่านั้น แม้จำนวนหญิงก้ได้เพิ่มทวีคูณขึ้นทุกที ถึงกับท่านคานีเห็นจำเป็นที่จะห้ามหญิงไม่ให้เกี่ยวข้องกับการขัดขืนกฎหมายเกลือ โดยออกคำแถลงการณ์ว่า

“หญิงไม่ควรร่วมมือกับชาย ในการขัดขืนกฎหมายเกลือฉันยังชอบใจรัฐบาลอยู่ โดยคะเนว่ารัฐบาลคงจะไม่ต่อสู้กับเพศหญิง ฉะนั้นถ้าเราจะยั่วรัฐบาลให้ทำเช่นนั้นแล้วไซร้ก็เป็นอันว่านั่นเป็นความผิดของเรานั่นเอง ตราบใดที่รัฐบาลจำกัดอำนาจของตนไว้เพียงภายในพวกเพศชาย ตราบนั้นการขัดขืนกฎหมายเกลือ ก็เป็นเพียงสงครามแห่งพวกชายแต่เพศเดียว แต่ว่าเมื่อใดรัฐบาลกล้าข้ามเขตกำหนดนี้ หญิงจะได้โอกาสที่จะต้องรับความหักหาญของรัฐบาลมากมายทีเดียวขออย่าเปิดโอกาสให้ใครๆ ล่วงพูดได้ว่า พวกชายเราหนีไปแอบอยู่ข้างหลังหญิง ทั้งนี้โดยอ้างว่า ถ้าเอาหญิงออกหน้าในการขัดขืนกฎหมาย รัฐบาลจะไม่หักหาญพวกผู้ขัดขืนตามโครงการที่ฉันได้วางไว้ หญิงมีงานเต็มมืออยู่แล้วจึงไม่จำเป็นที่จะเข้าไปเสี่ยงอันตราย ในการขัดขืนกฎหมายเกลือเลย”

ดังนั้น หญิงจึงได้รับหน้าที่คือ การช่วยปิดการซื้อสินค้าต่างประเทส การซื้อของเมา การเที่ยวสั่งสอนประชาชนเป็นต้น

ในไม่ช้า บรรดาเรือนจำของอินเดีย คับคั่งไปด้วยพวกขัดขืนกฎหมาย ท่านผู้นำทั้งหลายจะได้พ้นไปจากกำมือแห่งอำนาจการทรมานก็หาไม่ นอกจากท่านคานธีคนเดียว ผู้นำอื่นแทบทุกท่านได้เปลี่ยนตำแหน่งเป็นแขกของรัฐบาล พักอยู่ในเรือนจำ แต่รัฐบาลยังไม่กล้าพอที่จะลงมือจับท่านคานธี

เมื่อรัฐบาลเห็นว่า การจับกุมมิได้บังเกิดผลประการไรจึงเลิกการจับกุม และเริ่มใช้วิธีขับไล่โดยการทุบตีพวกผู้ขัดขืนกฎหมาย จากที่ชุมนุมหรือที่ทำเกลือ การขัดขืนกฎหมายทำกันอย่างแรงกล้า ในมณฑลเบงคอลมากกว่ามณฑลอื่นๆ รัฐบาลจึงออกประกาศกฎหมายฉุกเฉินเฉพาะมณฑลเบงคอล ครั้งแรกสำหรับชั่วเวลา ๖ เดือน แล้วต่อมมาให้เพิ่มเวลาอีก ๖ เดือน ส่วนการขับไล่โดยวิธีทุบตีก็ทำกันอยู่ทั่วมณฑล แต่มหาชนมิใช่พระอรหันต์หรืออริยบุคคล ฉะนั้นเมื่อถูกทุบตีเรื่อยๆ ไปโดยไม่รู้จักหยุดหย่อน ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่ในเวลาบางครั้งบางคราวในที่บางแห่ง เขาต้องตีตอบบ้าง เมื่อเหตุการณ์ชนิดนี้ปรากฎขั้น รัฐบาลก็ฉวยโอกาสจากเหตุการณ์นี้ทันที แล้วได้สั่งให้ยิงด้วยปืนแทนการตี รัฐบาลคงหวังว่า ถ้าเริ่มใช้วิธียิงด้วยปืน ท่านคานีคงจะเลิกล้มการขัดขืนกฎหมายดังได้กระทำมาแล้วในคราวก่อนแต่คราวนี้ ความหวังของรัฐบาลได้ผิดความคาดหมายทีเดียวแทนที่จะเลิกการขัดขืนกฎหมายท่านกลับออกแถลงการณ์ว่า “ถ้ารัฐบาลไม่เลิกจับพวกผู้ขัดขืนกฎหมายเกลือหรือไม่ยกเลิกภาษีเกลือ รัฐบาลจะได้เห็นว่า ชาวอินเดียทุกคนยินดีที่จะยอมรับลูกปืน แทนการรับความทรมาน”

ประชาชนจะรักษาความเรียบร้อยสักเท่าไรก็ตาม ท่านคานธีจะออกแถลงการณ์กี่ฉบับก็ตาม รัฐบาลหาได้ยกเลิกการปราบปรามประการไรไม่ ปืนกล รถเกราะ ฯลฯ เดินขบวนไปตามถนนสายใหญ่สายเล็กแทบทุกวัน กลุ่มทหารยืนคอยเฝ้าอยู่ตามมุมและสี่แยกถนน ตลอดวันตลอดคืน การจับกุม การทรมาน การเฆี่ยนตีได้ทวีคูณเพิ่มขึ้นทุกที หนังสือพิมพ์ทุกฉบับลงบทนำ แนะนำมหาชนให้ต่อต้านอำนาจรัฐโดยไม่ยอมถอยหลังแม้แต่ก้าวเดียว ทั้งได้คัดค้านนโยบายของรัฐบาลอย่างแรงกล้า ถึงกับรัฐบาลเห็นเป็นการจำเป็นที่จะต้องปิดปากหนังสือพิมพ์ โดยออกกฎหมายควบคุมการพิมพ์สำหรับการฉุกเฉินชั่วคราว รัฐบาลร้องเรียกเงินประกันจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ หนังสือพิมพ์คองเกรสซึ่งถือหลักการว่า จะไม่ยอมเสียเงินให้แก่รัฐบาลไม่ว่าในทางใดทางหนึ่งนั้นตกลงต้องพิมพ์ด้วยเครื่องโรเนียว ในเรื่องการออกกฏหมายควบคุมการพิมพ์คราวนี้ ท่านคานธีออกแถลงการณ์ว่า

“พระราชบัญญัติการพิมพ์ที่ตายมานานแล้ว บัดนี้รัฐบาลได้ปลุกให้ฟื้นขึ้นเป็นกฎหมายสำหรับความฉุกเฉินแต่เราได้คาดไว้แต่ก่อนว่า รัฐบาลจะทำเช่นนั้นกฎหมายฉบับใหม่นี้มีข้อบังคับร้ายแรงกว่าฉบับเก่า”

“เราเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตามที แต่เป็นความจริงที่เวลานี้เราอาศัยอยู่ภายในกฎอัยการศึก ที่จริงกฎอัยการศึกก็คือความชอบใจของผู้บังคับบัญชานั่นเอง ณ บัดนี้ผู้สำเร็จราชการดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชา และเมื่อท่านเห็นสมควร ท่านจะละเมิดกฎหมายทั้งหมด ทั้งกฎหมายทั่วไปและข้อบัญญัติ (Statute) แล้วออกกฤษฎีกาตามความชอบใจ อย่างไรก็ดี ฉันเห็นว่า สมัยแห่งการนอบน้อมต่อการเผด็จการของรัฐบาลอังกฤษ ได้ผ่านพ้นไปแล้วโดยไม่มีเวลากลับมาอีก”

“ฉันหวังว่า ประชาชนจะไม่คร้ามกลัวพระราชกฤษฎีกานี้เลย ถ้าหากว่าพวกหนังสือพิมพ์สมที่จะได้ชื่อว่าเป็นผู้แทนเสียงมหาชนจริงแล้วไซร้ จะไม่เกรงกลัวต่อพระราชกฤษฎีกาเลย ขอให้พวกเราทั้งหลายจงจำคติของท่านโทโรว่า ภายใต้การปกครองอย่างชนิดกดขี่ ผู้ซื่อสัตย์ไม่สามารถจะทำตัวเป็นคนมั่งมีขึ้นได้เลย เราตั้งใจแล้วว่าจะมอบร่างกายของเราแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล โดยไม่บ่นรำพันแม้แต่คำเดียว ฉะนั้นขอให้เราตั้งใจอีกครั้งหนึ่งว่า เราเตรียมพร้อมที่จะมอบทรัพย์สมบัติของเราให้แก่รัฐบาลแต่จะไม่ยอมขายจิตใจของเราให้แก่อำนาจอังกฤษ”

“ฉะนั้นฉันจึงต้องขอร้องต่อนักหนังสือพิมพ์ และผู้พิมพ์โฆษณาทั้งหลายว่า อย่ายอมให้เงินประกันแก่รัฐบาล หากเมื่อไรรัฐบาลสั่งให้ท่านไปชำระเงินประกัน ขอให้ท่านทั้งหลายขัดขืนคำสั่งและท้ารัฐบาล โดยการพิมพ์หนังสือพิมพ์หรือมิฉะนั้นหยุดการพิมพ์เสียทีเดียว ขอให้ท่านทั้งหลายจงยอมให้รัฐบาลริบทรัพย์สิ่งของทั้งหมด แต่อย่าให้เงินประกันเป็นอันขาด บัดนี้อิสรภาพได้มาถึงประตูบ้านของเราแล้วและเพื่ออิสรภาพนี้เอง คนนับเป็นพันๆ ได้รับความทรมานมาแล้ว ฉะนั้นจงอย่าเปิดโอกาสให้ใครๆ ต่อว่าได้ว่าในงานสงครามอิสรภาพนี้ คณะหนังสือพิมพ์มิได้มีการร่วมมือด้วย รัฐบาลจะริบตัวพิมพ์และเครื่องพิมพ์ได้ แต่ทว่าปากกาและสิ่งที่ยิ่งไปกว่านั้นคือปากคน รัฐบาลริบเอาไปไม่ได้ ถึงฉันอาจจะยอมรับได้ว่า รัฐคงมีอำนาจทำลายทั้งปากกา และปากคน แต่สิ่งที่รัฐบาลทำลายมิได้และนับว่าเป็นสิ่งสำคัญนั้น คือมติความคิดของชาติ”

เป็นธรรมดาที่เมื่อคำแถลงการณ์ของคานธี ได้ประกาศแพร่หลายทั่วอินเดียแล้ว คณะหนังสือพิมพ์ฝ่ายอินเดียก็ต่างได้ช่วยกันขัดขืนกฎหมายการพิมพ์ฉบับความฉุกเฉิน และไม่ยอมเสียเงินค่าประกัน รัฐบาลจึงสั่งให้ลงมือริบเครื่องพิมพ์ต่างๆ ทันที การปิดปากหนังสือพิมพ์เช่นนี้ ได้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนขึ้นแม้ภายในคณะรัฐบาลด้วยกันเองด้วย ถึงกับประธานแห่งสภานิติบัญญัติกลางต้องยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง โดยอ้างเหตุผลในใบลาที่ท่านเสนอไปยังผู้สำเร็จราชการว่า

“ฉันเห็นว่า ถ้าฉันร่วมมือกับเพื่อนร่วมชาติด้วยกันในงานสงครามอิสรภาพ ฉันคงจะมีโอกาสรับใช้ประเทศได้มากกว่าดำรงอยู่ในตำแหน่งเป็นประธานสภาดังนี้ บัลลังก์แห่งความเป็นประธานดูเหมือนว่า เป็นบัลลังก์อันเต็มเปี่ยาไปด้วยหนาม ฉันขอร้องต่อรัฐบาลให้เลิกการถือเกียรติแล้วหันไปเจรจาปรองดองกับท่านคานธี……ฉันเชื่ออย่างจริงใจว่า ท่านปรารถนาที่จะขบปัญหาแห่งอินเดียให้แตกหักได้ เพราะในอังกฤษท่านมีอานุภาพเหนือคณะพรรคต่างๆ ฉะนั้นขอให้ท่านจงมีจิตใจเป็นผู้กล้าหาญ พอสมกับสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ถ้าท่านทำได้เช่นนั้น ท่านจะได้ชื่อว่านำประโยชน์ยิ่งมาสู่ประเทศอินเดีย และอังกฤษทั้งสอง โดยที่ไม่มีใครเคยทำมาแต่ก่อนเลย หากท่านดำเนินการไม่สำเร็จอินเดียจะต้องอำลาอังกฤษเป็นแน่”

เมื่อเหตุการณ์ถึงความตึงเครียดเช่นนี้ ก็ไม่มีปัญหาที่ท่านคานีจะต้องตกเป็นเหยื่อแห่งอำนาจปราบปรามของรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง

ดังนั้น มา ณ วันที่ ๔ เดือนพฤษภาคม ค.ศ.๑๙๓๐ ในเวลาเที่ยงคืน แสงไฟฟ้าอันฉายมาจากมือตำรวจก็ได้ส่องลงบนใบหน้าของท่านคานธี ผู้นอนหลับอยู่ในจังหวัดกราจี เรื่องการถูกจับคราวนี้ นางสาวสเลดหญิงอังกฤษผู้หนึ่ง ซึ่งเรียกท่านคานธีเป็นบิดาและเปลี่ยนชื่เดิม คือ Slade เป็นมีราเทวีได้ประพันธ์โดยใช้สำนวนโวหารอย่างไบเบิลไว้ว่า

“ในยามดึกอันเงียบสงัดนั้น พวกเขาได้ด้อมเข้ามาเหมือนนายโจร เพื่อจะลักเอาท่านไป เพราะว่าเมื่อพวกเขาประสงค์ที่จะจับกุมท่าน ก็เกิดมีความกลัวมหาชนซึ่งบูชาท่านว่า เป็นผู้แทนของพระผู้เป็นเจ้า”

มหาตมะคานธีเห็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายที่ตำรวจ ก็เข้าใจในวัตถุประสงค์ของเขาได้ทันที จึงยิ้มแล้วถามว่า

“ฉันขอเวลาชำระฟันหน่อยได้ไหม”

เจ้าหน้าที่ตำรวจตอบว่า “ได้ครับ”
ท่านหยิบเอาแปรงจิ้มลงในเกลือเถื่อน แล้วยกขึ้นสีฟันของท่าน ขณะที่ท่านกำลังสีฟันอยู่นั้น ท่านได้ถามเจ้าหน้าที่ว่า “ฉันขอทราบหน่อยได้ไหมว่า ฉันถูกจับในฐานะอะไรบ้าง

เจ้าหน้าที่จึงอ่านหมายสั่งจับให้ท่านฟังว่า
“เนื่องจากรัฐบาบได้มองเห็นแล้วว่า ความเคลื่อนไหวของ มร.เอม. คานธี เป็นการเคลื่อนไหวที่น่าเกรงกลัวจึงสั่งให้จำกัดอยู่ภายในข้อบัญญัติมาตราที่ ๒๕ แห่ง ค.ศ.๑๘๒๙ และให้ลงอาญาจำคุกตราบเท่าที่รัฐบาลเห็นชอบและบัดนี้ให้ย้ายตัวจำเลย ไปอยู่ที่เรือนจำกลางแห่งจังหวัดยารถทา

ท่านคานธีรู้สึกขอบอกขอบใจเจ้าหน้าที่เป็นอันมาก แล้วรีบเตรียมเนื้อเตรียมตัวไปเป็นแขกของรัฐบาลต่อไป ก่อนเดินทางท่านได้มอบจดหมายฉบับหนึ่ง ซึ่งจ่าหน้าซองถึง ลอร์ดเอิรวิน ผู้สำเร็จราชการให้แก่เจ้าหน้าที่และมอบคำขวัญให้แก่ผู้อาสา แล้วหยิบเอาย่าม ๒ ใบและเครื่องทำด้ายเครื่อง ๑ มา แล้วมอบตัวเองให้แก่เจ้าหน้าที่ ขณะที่เจ้าหน้าที่จับเอาท่านไปนั้นเป็นเวลา ๑ นาฬิกา ๑๐ นาที เจ้าหน้าที่เชิญตัวท่านไปยังรถยนต์ซึ่งตำรวจเตรียมมาคอยรับท่านอยู่แล้ว รถยนต์ก็พาท่านไปยังเมืองโปริพลิใกล้บอมเบ จากที่นั้นท่านก็ถูกนำขึ้นรถไฟไปยังเมืองยารเวทา ในเวลาขึ้นรถรัฐบาลห้ามไม่ให้ใครไปส่งเยี่ยมเยียน หรือชุมนุมกันที่สถานี แต่ผู้แทนหนังสือพิมพ์ ๒ คน ชื่อว่า มร.อาสมิด บารเลตต์ แห่ง London Telegraphกับ มร.เนคเล แห่งคณะหนังสือพิมพ์อเมริกา ได้รับอนุญาตเป็นพิเศษให้ไปคอยดู มหาตมะคานธีที่สถานีได้ ในการพรรณาถึงเหตุการณ์นี้ มร.อาสมิด บารเลตต์ได้กล่าวไว้ว่า

“ในขณะที่พวกเรากำลังคอยรถกันอยู่นั้น เรารู้สึกว่ารอบๆ ตัวมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีอานุภาพอย่างน่าแปลกประหลาดที่สุดทีเดียว เพราะเราทุกคนกำลังรู้สึกอยู่ในใจว่า เราเป็นพยานแห่งเหตุการณ์อันหนึ่ง ซึ่งจะปรากฎอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ชั่วกัลปาวสาน กล่าวคือการับผู้แทนพระเจ้าแท้หรือปลอมก็แล้วแต่เพราะแท้ก็ดี หรือปลอมก็ดี คานธีย่อมได้รับบูชาอย่างเป็นพระอรหันต์ จากพลเมืองอินเดียกันเป็นล้านๆ ใครจะรู้ได้เล่าว่า อีกร้อยปีข้างหน้า พลเมืองอินเดียประมาณ ๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐ คน จะไม่บูชาคานธีในฐานะเป็นอวตารของพระเจ้า ในขณะที่เราคอยรถอยู่ เราเห็นว่าเป็นการเหลือวิสัยเหลือเกินที่จะอดนึกคิดเช่นนี้เสียมิได้ จึงรู้สึกว่าการจับกุมท่านผู้วิเศษเช่นนี้ในเวลาเช้าตรู่ นับว่าเป็นการไม่สมควรเลย”

คำขวัญของท่านคานธี
ถ้าเราสามารถดำเนินกิจการ ให้เป็นไปเช่นนี้ได้เสมอก็เป็นอันว่า อิสรภาพอันสมบูรณ์ จะเป็นของเราแน่นอนทั้งอินเดียก็เป็นอันได้แสดงตัวอย่างสมค่าแก่อินเดียให้โลกเห็นอิสรภาพที่เราได้มาโดยไม่มีการเสียสละ จะไม่ดำรงคงอยู่ชั่วกาลนาน ฉะนั้นประชาชนจำต้องเสียสละโดยไม่รู้จักอวสาน การเสียสละที่แท้ย่อมมีแต่การรับความทรมานแต่ฝ่ายเดียวคือเราต้องยอมตายโดยไม่ยังใครให้ตาย ณ บัดนี้เกียรติยศและสิ่งอื่นทุกๆ สิ่งของอินเดียอยู่ที่เกลือเพียงกำมือเดียว เรายอมให้รัฐบาลตีกำมือของเราให้แตกสลาย แต่จะไม่ยอมแบกำมือออก

เมื่อฉันถูกจับแล้ว ท่านทั้งหลายจงอย่าเพิกท้อใจ เพราะผู้นำแห่งสงครามนี้คือพระเจ้า มิใช่ฉัน พระเจ้าทรงสถิตอยู่ในดวงหทัยของเราทุกคน ถ้าเรามีความไว้ใจในตัวเอง พระเจ้าจะทรงนำเราเป็นแน่ ทางเดินของเราได้กำหนดไว้อย่างแน่นอนแล้ว หมู่บ้านทุกหมู่ต้องเก็บและทำเกลือ สตรีทั้งหลายต้องช่วยกันทำการปิดการซื้อของเมาและผ้าต่างประเทศในบ้านทุกหลังทุกเรือน ชายชราและเด็กๆ ต้องทำด้วย ประชาชนต้องช่วยกันเผาผ้าต่างประเทศในสาธารณสถานให้หมดสิ้น ชาวฮินดู อิสลาม ปารสี และคริสตัง ต้องกอดคอซึ่งกันและกัน นักเรียนทั้งหลายต้องออกจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ข้าราชการทั้งหลายต้องลาออกจากหน้าที่ราชการ มารับใช้ประเทศดังข้าราชการผู้กล้าหาญอื่นๆ ได้กระทำกันอยู่ อาศัยการกระทำเช่นนี้แหละเราจะบรรลุถึงอิสรภาพอันสมบูรณ์โดยง่ายดาย

ที่มา: สวามี  สัตยานันทปุรี

คานธีกับพายุแห่งสงครามอหิงสา

คานธี
เมื่อการพบปะกันระหว่างผู้นำทั้งหลายกับท่านผู้สำเร็จราชการ มิได้เป็นผลสำเร็จดังกล่าวแล้ว ก็มิเป็นการแปลกเลย ที่อินเดียจะต้องตื่นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง พอดีกับเวลานี้เองถึงเวลาประชุมประจำปีแห่งคองเกรส ณ เมืองลาโหร ท่านบัณฑิตยาวหรัลลาเนหรู ได้รับเลือกเป็นประธาน เนื่องจากการประชุมคราวนี้ได้กระทำกัน หลังจากการเจรจาระหว่างท่านคานธีกับผู้สำเร็จราชการ คองเกรสจึงเต็มไปด้วยความตื่นเต้นเป็นอันมาก ถึงกับเกิดมีเสียงทั่วไปว่า ต่อไปนี้คองเกรสควรจะวางหลักการอย่างที่เป็นไป เพื่อตัดความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับอินเดียโดยเด็ดขาดทีเดียว ความจริงตราบเท่าเวลานั้น คองเกรสยังยึกวัตถุประสงค์คือ อิสรภาพโดยไม่ยึดถือเอาอำนาจอังกฤษเป็นสำคัญ ซึ่งแสดงว่าคองเกรสยังไม่พึงปรารถนาที่จะตัดความสัมพันธ์อังกฤษลงโดยเด็ดขาด ในการประชุมแห่ง ค.ศ.๑๙๒๘ ฝ่ายเบงคอลเสนอญัตติให้เปลี่ยนวัตถุประสงค์เดิมเป็นอิสรภาพสมบูรณ์ คือ โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้อกับอังกฤษ แต่ท่านคานธีขอร้องให้เป็นเพียงการฝากญัตติไว้ก่อน โดยท่านยังคงมีความไว้วางใจในความจริงใจของรัฐบาลอังกฤษ มาในคราวนี้เมื่อท่านเห็นว่ารัฐบาลไม่ยอมรับสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญอย่างที่เท่าเทียมกับอาณาเขตอื่นๆ ท่านจึงได้เสนอญัตติต่อสภาคองเกรส ให้เปลี่ยนวัตถุประสงค์เดิมเป็นอิสรภาพสมบูรณ์ทีเดียว ในการเสนอญัตินี้ท่านได้แถลงความเห็นว่า

“คองเกรส ขอรับรองการกระทำของคณะบริหารในอันที่เกี่ยวแก่คำแถลงการณ์ของคณะผู้นำ แห่งบรรดาคณะพรรคการเมือง ซึ่งตอบคำประกาศของท่านผู้สำเร็จราชการอันเกี่ยวแก่ Dominion Status ประกาศมา ณ วันที่ ๓๑ เดือนตุลาคม ทั้งขอชมเชยความพยายามของท่านผู้สำเร็จราชการที่ท่านได้กระทำความตื่นเต้นแห่งชาติ เพื่อสุวราช ผการปกครองด้วยตนเอง) ให้สิ้นสุดลงด้วยความสงบเรียบร้อย แต่ว่าคองเกรสได้ตริตรองถึงผลแห่งการพบปะกันระหว่างท่านผู้สำเร็จราชการปัจจุบันนี้ ถ้าคองเกรสจะส่งผู้แทนไปเข้าประชุมโต๊ะกลมจะมิได้รับผลอะไรเลย”

“อนึ่ง ตามญัตติที่ได้เสนอต่อสภาคองเกรส ณ เมืองกัลกัตตาในปีที่แล้วมานั้น บัดนี้คองเกรสขอประกาศว่าในวัตถุประสงค์ของคองเกรส คำว่า สุวราชจะหมายถึงอิสรภาพสมบูรณ์…และดังนั้น คองเกรสจึงหวังว่าฝ่ายต่างๆ ในสภาคองเกรสจะพยายามโดยประการทั้งปวง ในการบรรลุถึงอิสรภาพอย่างสมบูรณ์”

“และเพื่อเป็นก้าวแรกในการจัดกำลัง เพื่อกู้อิสรภาพและการวางนโยบายแห่งคองเกรสให้สมกับการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ สภาคองเกรสจึงได้ประกาศขอให้บอยค๊อต สภาผู้แทนราษฎรกลางและสภาผู้แทนราษฎรประจำมณฑลและประกาศให้บรรดาสมาชิกแห่งคองเกรสทราบกันโดยทั่วไปว่า ตั้งแต่นี้ไปสมาชิกคองเกรสจะไม่เกี่ยวข้องกับงานฝ่ายนิติบัญญัติ โดยทางตรงก็ดี หรือทางอ้อมก็ดี และทั้งสมาชิกคองเกรสผู้ซึ่ง ณ บัดนี้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้ว จะต้องยื่นใบลาออกทันทีด้วย”

“ทั้งสภาคองเกรสก็ได้ขอร้องให้ชาติดำเนินตามวิธีการที่คองเกรสได้วางไว้ เพื่อทำการปฏิสังขรณ์ตนเอง และมอบอำนาจให้แก่คณะกรรมการคองเกรสแห่งอินเดียทั่วไปว่า เมื่อใดคณะนั้นเห็นควรจะมีสิทธิในการที่จะแนะนำให้คองเกรสใช้นโยบายการขัดขืนกฎหมาย โดยราษฎรรวมทั้งการไม่ยอมเสียภาษี เฉพาะในที่ใดที่หนึ่งหรือในอินเดียทั่วไป แล้วแต่จะเห็นสมควรตามกาละและเทศะ”

เหล่าสมาชิกสภาคองเกรส ก็ได้เห็นพ้องตามญัตติและหลักการ ดังที่ท่านคานธีได้เสนอมานั้น วัตถุประสงค์ของคองเกรส จึงเปลี่ยนมาเป็นอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ตราบเท่าทุกวันนี้

อนึ่ง ได้กล่าวแล้วว่า เมื่อท่านคานธียังต้องโทษอยู่ในเรือนจำยารเวทา สมาชิกคองเกรสฝ่ายที่ดินดำเนินนโยบายข้างที่จะสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แล้วดำเนินหลักการไม่ร่วมมือขึ้นภายในสภานั้นด้วย ครั้นมาในคราวประชุมคองเกรสครั้งนี้ เมื่อท่านคานธีได้เสนอหลักการให้บอยค๊อตสภา ผู้แทนราษฎรตามที่ปรากฎในสุนทรพจน์ข้างต้น บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นฝ่ายด้านคณะคองเกรส จึงได้ยื่นใบลาออกจากสมาชิกสภาแทบทุกคน สภาผู้แทนราษฎรเปิดประชุมใหม่เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนมกราคม ๑๙๓๐ ในการเปิดสภา ท่านผู้สำเร็จราชการได้แสดงสุนทรพจน์ใส่ร้ายหลักการของท่านคานธี โดยอ้างเหตุผลว่าการกระทำอย่างที่ท่านคานธีแนะนำอยู่นั้น จะเกิดผลคือความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นทั่วประเทศอินเดีย ท่านจึงได้แนะนำให้คณะพรรคคองเกรสเลิกรับหลักการไม่ร่วมมือแล้วทำการประนีประนอมกับรัฐบาลอีกที มหาตมะคานธีแสดงวิจารณ์สุนทรพจน์ของท่านผู้สำเร็จราชการ นำลงประกาศในหน้าหนังสือพิมพ์ Young India ว่า

“ท่านผู้สำเร็จราชการสมควรที่ได้รับความขอบคุณจากสมาชิกคองเกรสทุกคน เพราะท่านได้ทำฐานะของรัฐบาลกับฐานะของเราให้กระจ่างชัดขึ้น”

“ท่านผู้สำเร็จราชการคงไม่เดือดร้อน ที่เราต้องคอย Dominion Status จนกว่าพวกเศรษฐีทั้งหลายจะลงมาถึงระดับแห่งพวกกรรมการ ซึ่งมีรายได้คิดเฉลี่ยวันละ ๗ สตางค์ หากคองเกรสมีอำนาจ คองเกรสจะต้องยกฐานะของพวกชาวนาผู้ยากจนเหล่านี้ ให้สูงขึ้นพอที่จะเลี้ยงชีพได้ด้วยความสะดวก พยายามให้สูงขึ้นสู่ระดับเดียวกับพวกเศราษฐีทั้งหลาย คองเกรสจะแนะนำพวกชาวนาให้เข้าใจซาบซึ้งดีว่าความตกต่ำแห่งฐานะของเขามิได้เกิดมีขึ้นเพราะโชคชะตาของตนเอง แต่เกิดขึ้นเพราะการปกครองดังที่ดำเนินอยู่ ณ บัดนี้ เมื่อชาวนาเกิดมีความเข้าใจขึ้นเช่นนี้ ถ้าจะไม่มีใครเข้าไปช่วยเหลือพวกเขาแล้วไซร้ พวกเขาอาจจะก่อการปฏิวัติขึ้นโดยไม่เลือกเฟ้นว่า ทางไหนผิดทางไหนถูก ทั้งจะไม่เลือกเฟ้นว่า ทางไหนอาศัยหลักอหิงสาและทางไหนอาศัยหลักปองร้าย แต่คองเกรสยังหวังอยู่ว่าจะนำพวกชาวนาไปในทางที่ถูกเสมอ”

พร้อมกับคำวิจารณ์คราวเดียวกันนี้ ท่านเสนอข้อเงื่อนไข ๑๑ ข้อแก่ผู้สำเร็จราชการ โดยบันทึกความเห็นว่า ถ้ารัฐบาลมีความประสงค์ ที่จะทาการประนีประนอมกับคองเกรส รัฐบาลต้องดำเนินตามข้อเงื่อนไขเหล่านี้ คือ
๑. ห้ามไม่ให้ขายของมึนเมาแก่ประชาชนทั่วไป
๒. ลดอัตราแลกเปลี่ยนเงินเป็น ๑ ชิลลิง ๔ เพนนี
๓. ลดภาษีที่ดินลง ๕๐ เปอร์เซนต์ และมอบอำนาจการขึ้นลงภาษีให้เป็นสิทธิของสภาผู้แทนราษฎร
๔. เลิกการเก็บภาษีเกลือ
๕. ลดการใช้จ่ายในทางการทหาร ๕๐ เปอร์เซนต์ก่อน
๖. ลดเงินเดือน ข้าราชการชั้นสูงลง ให้เหลือไว้เพียงครึ่งหนึ่งของเงินเดือนที่เคยได้
๗. พิกัดอัตราผ้าต่างประเทส เพื่อบำรุงผ้าอินเดีย
๘. ออกพระราชบัญญัติวางเขตจำกัดรักษาฝั่งทะเล
๙. ปล่อยนักโทษการเมือง
๑๐. ล้มเลิกตำรวจสันติบาลแผนกการเมือง
๑๑. ออกใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้ป้องกันตัวได้

ข้อเงื่อนไขเหล่านี้ ท่านได้ส่งไปยัง มร. แรมเซย์ แมกโนแนลด์ อัครมหาเสนาบดีอังกฤาในสมัยนั้น แต่ทั้งผู้สำเร็จราชการ และอัครมหาเสนาบดี หาได้เอาใจใส่ต่อคำขอร้องของท่าน หรือคองเกรส หรือประเทศชาติ แม้แต่ประการใดไม่

ดังนั้น ท่านคานธีกับคองเกรส จึงลงมือเตรียมการเพื่อประกาศนโยบายการขัดขืนกฎหมายทั่วประเทศอินเดีย

การดำเนินนโยบายการขัดขืนกฎหมายโดยมหาชนทั่วไปดังกล่าวนี้ ท่านให้สมัญญาว่า “สงครามอิสรภาพ” (War of Independence) แต่ก่อนที่ท่านจะประกาศ “สงครามอิสรภาพ” ต่อรัฐบาลอังกฤษ ท่านได้ยื่นคำขาด คือ Ultimatum ต่อท่านผู้สำเร็จราชการ ในการส่งคำเด็ดขาดนี้ ท่านได้เลือกชาวอังกฤษผู้เป็นศิษย์ของท่านคนหนึ่ง ชื่อว่า เรยิแนลด์ เรบอลด์ เป็นผู้ถือจดหมาย ทั้งนี้ท่านได้อ้างเหตุผล คือเพื่อจะแสดงให้โลกเห็นว่า การต่อสู้ของอินเดียกับอังกฤษนี้ มิได้บ่งถึงชาวอังกฤษเป็นจุดหมาย หากบ่งถึงรัฐบาลอังกฤษเท่านั้นเอง อินเดียไม่ได้ถือว่าชาวอังกฤษเป็นศัตรูของตนเลย แต่ว่าเพื่อจะทำลายรัฐบาลอังกฤษให้สิ้นสุดลงไปจากอินเดีย อินเดียจึงต้องต่อสู้ตราบใดที่ยังมีโลหิตแม้แต่หยดเดียว

ข้อความในคำเด็ดขาด ที่ท่านคานธียื่นต่อท่านผู้สำเร็จราชการนี้ ประดุจเป็นเข็มทิศในการหาความเข้าใจในมติของท่านคานธี ซึ่งผู้อ่านจะเห็นได้ชัดเมื่อได้อ่านถ้อยคำเหล่านั้นแล้วอย่างดี กล่าวคือ

“เหตุไฉนฉันจึงถือการปกครองของอังกฤษเป็นคำสาปอินเดียเล่า”

“เพราะการปกครองแบบนี้ ทำให้พลเมืองนับล้าน ซึ่งถูกปิดปากพูดไม่ออก กลายเป็นคนยากจนเข็ญใจ ทั้งนี้ด้วยอาศัยกรณี คือการแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ในทางการทหารและตำรวจ”

“ในทางการเมือง การปกครองแบบนี้ ทำให้เรากลายเป็นทาสไป การปกครองแบบนี้ ได้เจาะรูที่ใต้พื้นฐานแห่งวัฒนธรรมของเรา และอาศัยนโยบายคือการไม่ยอมให้ถืออาวุธ การปกครองแบบนี้ ทำให้เราเสื่อมลงในทางใจ….”

“ถ้าอินเดียต้องการที่จะดำรงอยู่ในฐานะเป็นชาติ ถ้าเราต้องการที่จะกำจัดความตายของประชาชน เพราะเหตุขาดอาหาร เราต้องหาทางแก้ไขโดยด่วน การประชุมโต๊ะกลมที่รัฐบาลดำริอยู่นั้น มิใช่ทางแก้ไขเป็นแน่ การแก้ไขนี้มิใช่เรื่องการทำความเข้าใจกันด้วยการโต้เถียง เรื่องนี้เกี่ยวแก่กำลังที่สามารถแข่งขันกันได้ กล่าวคือ ทำความเข้าใจกันหรือไม่ก็แล้วแต่ แต่อังกฤษจะต้องสงวนการพานิชและผลประโยชน์ของตนในอินเดีย ด้วยอาศัยกำลังตามมีตามเกิด ฉะนั้นอินเดียจึงต้องปลูกกำลัง พอที่จะช่วยตัวเองให้พ้นจากกำมือของมฤตยูไว้”

“และทุกๆ วัน ฉันมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นทุกทีว่ากำลังที่จะสามารถต่อต้านกำลังปองร้ายของรัฐบาลอังกฤษได้นั้น คือกำลังอหิงสา-ความไม่ปองร้าย หลายคนเห็นว่าอหิงสามิใช่กำลังชนิดที่ว่องไว ความชำนาญของฉันถึงจะไม่กว้างขวางมากนักก็จริง แต่ได้แสดงให้เห็นมาแล้วว่ากำลังอหิงสาสามารถที่จะเปลี่ยนรูปเป็นกำลัง ชนิดว่องไว้อย่างร้ายแรงขึ้นได้ ฉันจึงตั้งใจที่จะปล่อยกำลังอหิงสาชนิดนี้ ให้คณะพรรคต่างๆ ที่มุ่งจะกู้ประเทศด้วยอำนาจการปองร้ายด้วย ถ้าเรามัวนั่งอยู่เฉยๆ แปลว่า ยอมปล่อยให้อำนาจหิงสากำเริบเสิบสานมากยิ่งขึ้น เนื่องจากฉันมีความเชื่อถืออย่างแน่วแน่ ในความสำเร็จผลแห่งกำลังอหิงสา ฉันจึงเห็นว่าถ้าฉันยังจะมัวคอยโอกาสอยู่อีกโดยไม่รีบเร่งกระทำอะไรแล้ว ฉันก็จะต้องรับบาปกำลังอหิงสานี้จะปรากฎขึ้นทางการขัดขืนกฎหมาย โดยมหาชนซึ่งเป็นการกระทำเฉพาะชั่วคราว โดยพวกพรหมจารีย์ในอาศรมสัจจาเคราะห์เป็นผู้ขัดขืน แต่ในที่สุดบรรดาคนผู้ซึ่งปรารถนาที่จะสมัครขัดขืนกฎหมายจะต้องรวมกัน”

“แต่ว่าความจริงไม่เคยมีใครบรรลุชัยชนะ โดยไม่เสี่ยงอันตราย บางคราวถึงกับต้องเสี่ยงอันตรายชนิดร้ายแรงที่สุด แต่ทว่า ก็การที่จะดัดสันดานของชาติซึ่งกินเลือดเนื้อของชาติที่เก่าแก่กว่า มีพลเมืองมากกว่า และมีวัฒนธรรมสูงกว่าตนนั้นได้ เราย่อมต้องเสี่ยงอันตรายทุกประการ”

“แต่ถ้าพณะท่านเห็นว่า ไม่มีทางใดที่จะจัดการกับความชั่วร้ายเหล่านี้ได้ และทั้งจดหมายของฉันก็ไม่สามารถสบใจพณะท่านได้ ภายในวันที่ ๑๑ เดือนมีนาคม ค.ศ.๑๙๓๐ ฉันพร้อมด้วยพรหมจารีย์ผู้ร่วมงานแห่งอาศรม จะละเมิดสิทธิที่รัฐบาลสงวนไว้ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติเกลือฉันเห็นว่า ตามแง่ของพวกยากจน การเก็บภาษีเกลือนับว่าเป็นการที่ไร้ยุติธรรมมากที่สุด เนื่องจากความเคลื่อนไหวเพื่อกู้ประเทศให้เป็นอิสระ บ่งถึงการกำจัดความยกาจนเป็นของสำคัญ ฉันจึงเริ่มดำเนินการขัดขืนกฎหมาย ด้วยการขัดขืนกฎหมายอันนี้ก่อน เป็นการแปลกมิใช่น้อย ที่พวกเราได้นอบน้อมต่อการผูกขาดเช่นนี้ มาแล้วนานนัก ฉันทราบว่า พณะท่านมีสิทธิที่จะทำลายโครงการของฉันเสียด้วยการจับกุมตัวฉัน แต่ฉันหวังอยู่ว่า คนนับจำนวนหมื่นๆ จะมารับหน้าที่แทนฉันทั้งยินดีที่จะยอมรับอาญาทุกประการ เพราะการขัดขืนกฎหมายเกลือ”

ไม่ต้องสงสัยว่า คำตอบของท่านผู้สำเร็จราชการจะต้องเป็นคำตอบอย่างสั้นๆ และขาดน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อประเทศอินเดียที่กำลังตกอยู่ในข่ายแห่งความวิบัติ ในคราวตอบจดหมายฉบับนี้ ท่านผู้สำเร็จราชการได้แสดงความเสียใจที่ “ท่านคานธีกำลังคิดนโยบาย ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดการขัดขืนกฎหมายขึ้น และเป็นอันตรายต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน”

ท่านคานธีวิจารณ์คำตอบของท่านผู้สำเร็จราชการลงในหนังสือพิมพ์ Young India ว่า

“ฉันได้ยอมคุกเข่าลง เพื่อขอข้าวเพียงก้อนเดียว สำหรับอินเดียวที่ยากจน แต่พวกฉันกลับได้รับก้อนหินแทนก้อนข้าว เมื่อใดถามปัญหาโดยใช้กำลังอาวุธช่วย เมื่อนั้นแหละชาติอังกฤษให้คำตอบเป็นอย่างดี ฉะนั้นฉันจึงไม่แปลกใจในคำตอบของท่านผู้สำเร็จราชการ มีความสงบเรียบร้อยแต่อย่างเดียวซึ่งชาติ(อินเดีย) รู้จัก คือความสงบเรียบร้อยแห่งเรือนจำ ประเทศอินเดียคือเรือนจำอันไพศาลหลังหนึ่ง ฉันไม่ยอมนับถือกฎหมายของอังกฤษ ตรงกันข้ามฉันถือว่าเป็นหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ของฉัน ที่จะทำลายความสงบเรียบร้อยซึ่งเป็นไปในเชิงการบังคับ และซึ่งกำลังจะบีบหัวใจของชาติให้สลายลง เพราะขาดลมหายใจ”

ที่มา:สวามี  สัตยานันทปุรี

ผ้าอินเดียกับการต่อสู้กับอังกฤษของคานธี

คานธีอาการก่อนที่จะเกิดพายุ
สี่ปีแห่งการเตรียมตัวได้ผ่านพ้นไปแล้ว คองเกรสก็ได้ผ่านเหตุการณ์ไปหลายประการ ถึงกับได้เปลี่ยนวัตถุประสงค์เดิมให้เป็นอิสรภาพโดยสมบูรณาญาสิทธิ์ การค้าขายของอังกฤษตกต่ำลงอย่างอนาถใจ การนุ่งผ้าต่างประเทศ โดยเฉพาะผ้าอังกฤษชาวอินเดียรู้สึกว่า ทำลายเกียรติยศของตนและของชาติ ถึงกับประชาชนพากันไปเที่ยวหาผ้าต่างประเทศจากบ้านต่างๆ มาเผาเสีย เหตุการณ์เช่นนี้มีขึ้นเกือบทุกเวลาเย็น และแทบทุกมณฑล จังหวัด อำเภอ หมู่บ้าน เป็นต้น แต่รายที่นับว่าสำคัญในทางการเมือง คือ รายที่เกิดขึ้น ในเมืองกัลกัตตาเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ.๑๙๒๙ พวกผู้รับอาสาฝ่ายคองเกรส เที่ยวค้นหาผ้าต่างประเทศมากองเป็นพเนินไว้ในสวน ตำบลหนึ่ง ณ เมืองกัลกัตตาหลายกอง แม้พวกเศรษฐีคฤหบดีผู้ที่เคยสะสมผ้ามีราคาสูงไว้ก่อนๆ มานาน ก็ได้นำผ้าเหล่านั้นมาให้คองเกรสเผาสิ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นตัวอย่างแก่มหาชนว่า ผ้าต่างประเทศเป็นผ้าทำลายมนุษยธรรม เป็นผ้าที่เป็นเครื่องขัดขวางในทางกู้อิสรภาพของประเทศ กู้ฐานะของชาติ คือเป็นผ้าที่ไม่บริสุทธิ์ ที่ชาวอินเดียผู้รักชาติและเกียรติยศไม่ควรจะใช้และเก็บงำรักษาไว้

ในการเผาผ้าคราวนี้ ท่านคานธีได้ทำหน้าที่เป็นประธาน และก่อนที่จะจุดไฟขึ้นที่กองผ้านั้น ท่านได้แสดงสุนทรพจน์มีข้อความที่สำคัญว่า

“ผ้าอินเดีย เป็นเครื่องมืออันสำคัญในการต่อสู้กับอังกฤษ ถ้าเราดำเนินหลักการเช่นนี้ได้อย่างจริงจัง เราคงจะไม่ต้องขัดขืนกฎหมายก็ได้ ฉันเองก็ไม่ต้องการที่จะแนะนำให้ประเทศขัดขืนกฎหมายถ้าไม่จำเป็น ถ้ารัฐบาลอยากเล่นงานฉันหวังอย่างแน่นอนว่า เราจะจัดการกับรัฐบาลได้ โดยมหาชนไม่จำเป็นที่จะต้องขัดขืนกฎหมายหรือไม่ยอมเสียภาษี ซึ่งเป็นวิธีการอันหนึ่งแห่งการขัดขืนกฎหมาย ขอให้ท่านทั้งหลายเชื่อฉันเถิดว่า ฉันจะพยายามทุกประการ ที่จะไม่ยอมให้ประเทศตกอยู่ในข่ายอันตรายเช่นนี้”

“ฉันรู้ว่า ฉันต้องรับผิดชอบในนโยบายดังว่านี้ฉันทราบว่าในประเทศอันไพศาลเช่นอินเดีย การดำเนินนโยบายขัดขืนกฎหมาย และการไม่ยอมเสียภาษีจะเป็นเหตุให้เกิดผลร้ายอย่างหนักหนาทีเดียว แต่ผู้ซึ่งต้องการอิสรภาพ จำเป็นจะต้องเสี่ยงอันตรายอย่างใหญ่หลวง จึงจะบรรลุถึงอิสระอันมีค่าล้ำเลิศนั้นได้”

การเผาผ้านี้ เป็นเหตุให้รัฐบาลกล่าวหาท่านว่าเป็นผู้ทำลายความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของมหาชน จึงจับส่งศาล ขอให้ศาลลงโทษ ท่านให้การต่อศาลว่า

“ฉันกล้าพูดว่า ในการตั้งตัวเป็นผู้รักษากฎหมายคราวนี้ ทางการแห่งตำรวจเป็นฝ่ายผิด และควรจะสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่กับฉัน คือ ทางการแห่งตำรวจควรจะเป็นจำเลยและฉันควรจะเป็นโจทก์”

“ฉันขอรับรองว่า มหาชนได้รักษาความสงบเรียบร้อยเป็นอย่างดี ทั้งได้ประพฤติตัวตามหลักศีลธรรมอย่างเรียบร้อย”

“สถานที่ๆ เราเลือกสำหรับเผาผ้านั้น ห่างไกลจากบ้านเรือนมาก ทั้งได้ทำการป้องกันอันตรายไว้แล้วเป็นอย่างดี ฉะนั้นจึงนับว่าเป็นหน้าที่ของตำรวจ ที่ไม่ควรจะกระเสือกกระสนเข้าไปในหมู่ชนที่ทำกิจการอย่างสงบเรียบร้อยอยู่นั้น ตามความเห็นของฉัน การต้องเกี่ยวข้องกับตำรวจคราวนี้ เป็นการไม่สมควร ไม่สุภาพ ไม่พึงปรารถนา และเป็นการข่มขี่อย่างร้ายแรง”

ศาลคงเชื่อตามคำพูดของท่านคานธี มิหนำซ้ำการเผานั้นได้กระทำกันในที่เปิดเผยทั่วกัลกัตตา ตั้งแต่เด็กจนผู้ใหญ่ย่อมทราบกันอยู่ดีแล้วว่า ทางคองเกรสหรือมหาชนได้รักษาความสงบเรียบร้อยโดยมิต้องสงสัยการณ์ชนิดนี้ขึ้น  ฉะนั้นตำรวจจึงต้องจับ และศาลก็ต้องตัดสินว่าท่านคานธีเป็นฝ่ายผิด ทั้งนี้เพื่อจะรักษาหน้าที่ของรัฐบาลไว้เท่านั้น ศาลจึงปรับท่านคานธีเพียง ๑ รูปี แต่นโยบายของคองเกรสมีอยู่ว่า จะไม่ยอมเสียค่าปรับแม้แต่สตางเดียว ท่านคานธีจึงแจ้งให้ศาลทราบว่า ท่านไม่มีเงินที่จะเสียค่าปรับได้ เพราะทรัพย์สมบัติเท่าที่ท่านเคยมีอยู่เป็นของตน ท่านได้มอบให้แก่ชาติหมดแล้ว เวลานี้ท่านไม่มีแม้แต่สตางค์เดียวที่เป็นของตน จึงยินดีที่จะรับโทษอาญาแทนค่าปรับ ศาลตอบว่า ศาลได้รับค่าปรับของท่านไว้แล้ว เป็นที่น่าแปลกใจมิใช่น้อยที่ยังไม่มีใครทราบว่า ใครเป็นผู้เสียค่าปรับแทนท่านคานธีจนบัดนี้ ศาลก็ไม่ยอมเปิดเผยชื่อ แต่มหาชนพากันสงสัยว่า เพื่อเป็นการรักษาหน้ารัฐบาลได้ออกให้เอง”

ตรงกับเวลาทีเดียว สภาปิลิเมนต์มีการเลือกตั้งกันใหม่ คณะพรรคกรรมกร (Labour Party) เข้ามาเป็นคณะรัฐบาล ภายใต้อัครมหาเสนาบดี คือ มร. แรมเซย์แมคโดแนลด์ งานชิ้นสำคัญที่รัฐบาลชุดนี้ได้กระทำขึ้นคือ การทำสนธิสัญญาระหว่างไอยคุปต์กับอังกฤษ มอบอำนาจการปกครองคืนให้แก่ไอยคุปต์ อินเดียเห็นกิจการของรัฐบาลเช่นนั้นจึงหวังว่า รัฐบาลอังกฤษคงจะคืนอำนาจการปกครองเท่าที่สงวนไว้ให้แก่อินเดียเหมือนกัน มีคณะกรรมาธิการชุดหนึ่งภายใต้ความควบคุมของเซอรยอนไซมอน ผู้เป็นประธานมาเยี่ยมอินเดีย เพื่อดูเหตุการณ์ทางการเมืองไว้ แล้วจะได้เสนอรายงานต่อสภาปาลิเมนต์ เพื่อรับไว้พิจารณา

ณ บัดนั้น ลอร์ด แฮลิแฟกส์ (สมัยนั้นท่านมีชื่อว่า ลอร์ด เออร์วิน) ครองตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการอินเดียอยู่ ท่านมีความเอื้อเฟื้อต่อความตื่นตัวของอินเดีย จึงได้รับความนิยมจากอินเดียเป็นอย่างยิ่ง ท่านมีความประสงค์ที่จะให้ชาวอินเดียเข้าเป็นสมาชิก แห่งคณะกรรมการไซมอนด้วย และแนะนำให้รัฐบาลอังกฤษเรียกประชุมโต๊ะกลม เพื่อพิจารณาเรื่องอินเดียให้สิ้นสุดลง อินเดียก็มีความมุ่งหมายที่จะแนะนำให้รัฐบาลอังกฤษเรียกประชุมโต๊ะกลม โดยมีสมาชิกทั้งอังกฤษและอินเดียเช่นเดียวกัน ฉะนั้นท่านจึงรีบกลับประเทศอังกฤษ เพื่อจะจัดการเรื่องนี้ให้สำเร็จเรียบร้อย เมื่อท่านเดินทางกลับมาถึงอินเดียแล้ว ท่านได้ออกแถลงการณ์ถึงการงานที่ท่านได้กระทำมา ให้เป็นที่เปิดเผยแก่อินเดียทั่วไป แถลงการณ์นั้นมีข้อความสำคัญดังต่อไปนี้

“จุดประสงค์แห่งนโยบายของรัฐบาลอังกฤษ ได้กล่าวไว้ในคำประกาศแห่งเดือนสิงหาคม ค.ศ.๑๙๑๗ ว่าจะค่อยๆ ผดุงหลักการอันเกี่ยวแก่การปกครองตัวเอง โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้อำนาจการปกครองแก่อินเดีย ในฐานะเป็นส่วนสำคัญแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ดังที่ฉันได้ชี้แจงมาแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ฉันได้รับพระราชดำรัสแนะนำจากพระเจ้าจักรพรรดิ์ ซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าว่า แผนการณ์ที่สภาปาลิเมนต์ได้กำหนดไว้ใน ค.ศ.๑๙๑๙ นั้น ควรจะเป็นทางนำอินเดียมาสู่สถานะอันสมควร ภายในบริเวณแห่งอาณาเขตของพระองค์ คณะรัฐมนตรีของพระองค์ได้ประกาศแล้วประกาศเล่าว่า ความประสงค์ของรัฐบาลอังกฤษนั้นคือ เมื่อถึงเวลาอันสมควรแล้ว อินเดียจะเป็นภาคีสมาชิกแห่งราชอาณาจักร โดยมีสิทธิเท่าเทียมกับอาณาเขตอื่นๆ แต่เนื่องจากมีความสงสัยเกิดขึ้นในอังกฤษและอินเดียว่า ควรจะตีความหมายแห่งคำว่า ”ความประสงค์ของรัฐบาลอังกฤา” เป็นอย่างไรแน่ รัฐบาลของพระราชาธิราช จึงได้มองสิทธิให้ฉันกล่าวชัดออกมาว่า ตามคำประกาศแห่ง ค.ศ.๑๙๑๗ รัฐบาลเห็นว่า ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย คือจะผดุงฐานะการเมืองของอินเดียให้เท่าเทียมกับอาณาเขต (Dominion Status)”

“ฉันไม่จำต้องกล่าวว่า การงานของรัฐบาลของพระราชาธิราช จะปลูกความนิยมแห่งคณะพรรคทุกคณะในอินเดียได้ และฉันเชื่อว่า ทุกๆ คนเขาเป็นใครก็ตามหรืออยู่ที่ไหนก็ตาม ผู้ปรารถนาความดีของอินเดีย มีความประสงค์ที่จะกำจัดความไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน ซึ่ง ณ บัดนี้ปรากฎอยู่ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับอังกฤษ”

“ฉันแน่ใจทีเดียวว่า ทางดำเนินเท่าที่ได้เสนอไว้แล้วนั้น นับว่าเป็นผลที่สืบเนื่องมากจากความปรารถนาที่แท้จริง ในอันที่จะนำความสุขมาสู่ชีวิตการเมืองของอินเดีย”

คำแถลงการณ์ของท่านผู้สำเร็จราชการอินเดีย ได้รับการต้อนรับจากคณะพรรคต่างๆ และประชาชนโดยทั่วไป เว้นแต่มณฑลเบงคอลมณฑลเดียว ยังยึดมั่นอยู่ในหลักคือการไม่ยอมประนีประนอมกับรัฐบาล ต้องต่อสู้เรื่อยๆ ไป จนกว่าจะบรรลุถึงอิสรภาพอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ดี เพื่อจะพิจารณาคำแถลงการณ์นั้น บรรดาคณะพรรคจึงได้นัดกันมาเปิดประชุมกันที่เมืองเดลลี มหาตมะคานธีได้รับหน้าที่ร่างคำแถลงการณ์ ตอบคำแถลงของท่านผู้สำเร็จราชการ เมื่อท่านร่างคำแถลงการณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้นำคำแถลงการณ์นั้นไปให้ที่ประชุมพิจารณาดูที่ประชุมเห็นชอบตามข้อความที่ท่านได้แสดงไว้ในคำแถลงการณ์ จึงได้นำมาลงประกาศให้เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป คำแถลงการณ์ฉบับนี้ นับว่าเป็นคำแถลงการณ์ฉบับสำคัญยิ่ง เพราะเป็นหลักความเห็นส่วนรวมของคณะพรรคทั้งหมดแห่งอินเดีย มีข้อที่สำคัญระบุไว้ในฉบับนั้นว่า

“เราขอชมความจริงใจ ซึ่งปรากฎอยู่ในคำประกาศทั้งขอชมความประสงค์ของรัฐบาลอังกฤษ ที่จะทำการประนีประนอมกับความเห็นของอินเดีย เราหวังว่าจะร่วมมือกับรัฐบาลของพระราชาธิราชเพื่อจัดวางเค้าโครงแห่งรัฐธรรมนูญ อันเท่าเทียมกับอาณาเขตอื่นๆ (Dominion Constitute) และเหมาะกับความประสงค์ของอินเดีย แต่พวกฉันเห็นว่าเป็นการจำเป็นอย่างยิ่ง ที่รัฐบาลควรจะดำเนินบางประการ ทั้งต้องชี้แจงถึงข้อความบางข้อ ให้เป็นที่แน่ชัดลงไปเสียด้วย ทั้งนี้เพื่อจะปลูกความไว้วางใจของคณะพรรคนั้นๆ ให้มีความไว้วางใจในรัฐบาล แล้วจะได้เข้ามาร่วมมือกับรัฐบาลด้วย”

“กิจการเบื้องต้นซึ่งพวกฉันเห็นว่า เป็นการจำเป็นอย่างยิ่ง ในการที่จะดำเนินการประชุมโต๊ะกลมให้สำเร็จได้นั้นคือรัฐบาลควร
ก. ดำเนินนโยบายประนีประนอมอย่างที่จะนำความสงบมาสู่ประเทศได้
ข. ควรปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด
ค. ให้คำสัญญาว่าคณะพรรคทุกคณะมีสิทธิที่จะส่งผู้แทนของตนเข้าเป็นสมาชิกในการประชุมโต๊ะกลมได้
ง. ต้องถือผู้แทนฝ่ายคองเกรสเป็นฝ่ายสำคัญเพราะคองเกรสเป็นคณะพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย”

เมื่อคำแถลงการณ์ของผู้นำทั้งหลาย ได้ถูกนำออกประกาศแล้ว ท่านผู้สำเร็จราชการก็เชิญบรรดาผู้นำแห่งอินเดียมาปรึกษาหารือถึงเรื่องการประชุมโต๊ะกลม การพบปะระหว่างคณะผู้นำกับผู้สำเร็จราชการ ได้เปิดขึ้นที่เมืองเดลลี ณ วังของผู้สำเร็จราชการ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๒๙ ทั่วประเทศต่างมีหวังกันเป็นอย่างยิ่งว่า ทำอย่างไรเสีย คราวนี้จะต้องมีการประนีประนอมกันอย่างถาวรเป็นแน่ แต่เป็นเรื่องน่าแปลกใจมิใช่น้อยที่หลังจากประชุม ซึ่งกินเวลาตั้ง ๓ ชั่วโมงเต็มนั้น ทั้งฝ่ายรัฐบาลและผู้นำกลับออกคำแถลงการณ์ว่า การประชุมกันระหว่างผู้สำเร็จราชการกับผู้นำทั้งหลาย มิได้ประสพผลสำเร็จเสียแล้ว

ข้อที่ทำให้การประชุมมิได้บรรลุผลสำเร็จนั้น คือคณะคองเกรส เกิดขอร้องให้ท่านผู้สำเร็จราชการให้คำสัญญาว่าการประชุมโต๊ะกลมนั้น จักมีวัตถุประสงค์ คือ ร่างเค้าโครงแห่งรัฐธรรมนูญอันเท่าเทียมกับอาณาเขตอื่นๆ ดังคำประกาศของท่านผู้สำเร็จราชการเอง และว่าร่างรัฐธรรมนูญนั้นเมื่อเข้าสู่สภาปาลิเมนต์แล้ว รัฐบาลจะต้องเป็นฝ่ายสนับสนุน แต่ท่านผู้สำเร็จราชการไม่กล้ายอมให้คำสัญญา ดังที่คองเกรสได้ขอร้อบง โดยอ้างเหตุผลประกอบว่า การให้สัญญาอย่างแน่ชัดตายตัวเช่นว่านี้ หรือการที่รัฐบาลจะรับปากว่าจะสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญนั้น ย่อมเป็นการตัดสิทธิของสภาปาลิเมนต์ จึงเป็นอันว่า การประชุมนั้นได้ปิดลงโดยไร้ผล นี่แหละคือความจริงใจแห่งรัฐบาลอังกฤษ

ที่มา:สวามี  สัตยานันทปุรี

มหาตมะคานธีประธานสภาคองเกรส

คานธี
เมื่ออดอาหารผ่านพ้นไปแล้วโดยมีผลสมความประสงค์ เวลาแห่งการประชุมสภาคองเกรส ประจำปี ค.ศ.๑๙๒๔ ก็มาถึง ตราบเท่าวันนี้ท่านยังมิได้รับตำแหน่งเป็นประธานแห่งสภา ทั้งนี้มิใช่เพราะเหตุที่ประชาชนมิได้ขอร้องให้ท่านเป็นประธาน หากท่านยังไม่ยอมรับตำแหน่งอันมีเกียรตินั้น ทั้งได้ปฏิเสธทุกคราวที่ประชาชนขอร้องให้ท่านเป็นประธาน ความจริงท่านดำรงอยู่ในตำแหน่งประธานหรือไม่ก็ตามที กิจการของคองเกรสย่อมดำเนินไปภายใต้ความควบคุมของท่านเสมอ อย่างไรก็ดี มาในคราวนี้ประชาชนไม่ยอมให้ท่านคัดค้านความปรารถนาของคนทั่วประเทศที่อยากเห็นท่านดำรงอยู่ในฐานะเป็นประมุขแห่งคองเกรส ท่านเห็นความจำนงของประเทศเป็นเอกฉันท์จึงยอมรับตำแหน่งเป็นประธานสภาคองเกรสได้นัดประชุมกันที่เมืองเวลคาม สุนทรพจน์ที่ท่านได้แสดงในฐานะเป็นประธานแห่งคองเกรสและประมุขแห่งชาติ มีข้อสังเกตอยู่หลายข้อ ซึ่งบ่งถึงความคิดเห็นของท่านในอันที่เกี่ยวแก่อนาคตแห่งชาติ และนโยบายที่ประเทศพึงดำเนิน

ในที่นี้ ควรจะกล่าวไว้ด้วยว่า สมัยที่ท่านคานธีได้รับเลือกเป็นประธานแห่งคองเกรส ประเทศตกอยู่ในข่ายอันตรายอย่างมากมาย ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่านโยบายการไม่ร่วมมือโดยอาศัยหลักอหิงสา จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ดำเนินต้องไม่คิด หรือประทุษร้ายต่อฝ่ายปราบปราม หรือรัฐบาล ซึ่งถ้าจะกล่าวตามหลักแห่งจิตวิทยา เป็นการลำบากสำหรับมหาชนที่จะดำเนินได้ เพราะว่านิสัยของคนธรรมดามีอยู่ว่าถูกตีเมื่อใดต้องตีตอบเมื่อนั้น การยกโทษให้แก่ผู้ตี ย่อมเป็นการเหลือวิสัยสำหรับคนธรรมดา มหาชนประกอบขึ้นด้วยคนธรรมดาในการปราบปรามหลักการไม่ร่วมมือ ซึ่งมหาชนมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยนั้น รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายอย่างไร้มนุษยธรรมดังที่ท่านคานธีได้กล่าวไว้ ฉะนั้นจึงนับว่าเป็นของธรรมดาที่มหาชนอาจพลาดพลั้ง จากหลักอหิงสา ตีตอบเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลบ้างก็เป็นได้ เหตุการณ์ชนิดนี้ได้เกิดขึ้นหลายราย แต่รายที่ร้ายที่สุด เกิดขึ้นที่เมืองเจารีโจรา ณ ที่นั้นพวกมหาชนพากันไปเผาสถานีตำรวจ และตีพวกพลตำรวจจนถึงตายหลายคน

อาศัยเหตุการณ์อันผิดหลักอหิงสาเช่นนี้ ท่านจึงมีความเห็นว่า ประเทศยังไม่เตรียมพร้อมพอที่จะดำเนินตามหลักอหิงสาได้ ฉะนั้นท่านจึงตกลงใจอย่างเด็ดขาดว่า ก่อนแต่จะประกาศนโยบายการขัดขืนกฎหมาย ควรจะยังประเทศให้เตรียมรับ และยึดมั่นอยู่ในหลักอหิงสาเสียก่อนโอกาสแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ให้คณะคองเกรสรับพิจารณาก็ได้มาถึง โดยที่ท่านได้รับเลือกเป็นประมุขแห่งคองเกรสในสุนทรพจน์ของท่านคราวนี้ ท่านได้ยุติลงด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้ว่า

“ในฐานะที่ฉันเป็นสมาชิกแห่งคองเกรส และปรารถนาที่จะให้คองเกรสตั้งอยู่ด้วยความเป็นเอกฉันท์ ฉันจึงขอแนะนำให้งดหลักการไม่ร่วมมือไว้ชั่วคราวเพราะฉันเห็นว่า ชาติยังเตรียมพร้อมไม่พอ แต่ส่วนตัวฉันตราบใดที่รัฐบาลยังดำเนินหลักการดังที่ดำเนินอยู่ ณ บัดนี้ ฉันจะไม่ยอมร่วมมือด้วยเลย สำหรับฉันการไม่ร่วมมือ มิใช่จะเป็นเพียงนโยบายแต่อย่างเดียว แต่นับว่าเป็นกรณียกิจของตนที่อาศัยศรัทธาเป็นแดนเกิด การไม่ร่วมมือและการขัดขืนกฎหมาย เป็นเสมือนอย่างละกิ่งสองกิ่งแห่งต้นไม้ต้นเดียวกันคือสัจจาเคราะห์ สัจจาเคราะห์เป็นเสมือนอย่างต้นกัลปพฤกษของฉัน สัจจาเคราะห์คือการแสวงหาความจริงและความจริงคือพระเจ้า อหิงสาคือแสงที่จะเปิดเผยความจริงให้แก่ฉัน อิสรภาพเป็นส่วนหนึ่งแห่งความจริง สัจจาเคราะห์ได้บรรลุผลสำเร็จมาแล้วในอาฟริกาใต้ จัมปารันและที่อื่นๆ อีกหลายแห่ง สัจจาเคราะห์ต้องต่างจากความคิดร้าย หรือความเกลียดชังทุกประการ ฉะนั้นจึงไม่เกลียดชาวอังกฤษ และเกลียดไม่ลงด้วย แต่ฉันไม่ยอมที่จะแบกแอกของเขา ในการทำลายหลักการและระเบียบการของอังกฤษ ฉันจะต่อสู้จนตัวตาย แต่ฉันจะต่อสู้ตามหลักอหิงสา ฉันมีความไว้วางใจในสมรรถภาพของอินเดียว่า อินเดียสามารถจะต่อสู้กับรัฐบาลอังกฤษตามหลักอหิงสาได้ การทดลองนี้ได้ปรากฎเป็นผลมาแล้ว คราวนี้ก็ได้ผล แต่ไม่ถึงขนาดเท่าที่ได้หวังหรือคาดหมายไว้ กระนั้นก็ดีฉันยังไม่หมดหวังเลย ตรงกันข้าม ฉันเชื่อว่าอินเดียต้องบรรลุถึงผลสำเร็จ โดยอาศัยทางสัจจาเคราะห์นี้เอง การงดชั่วคราวนี้ก็เป็นเพียงการทดลองประการหนึ่ง ถ้าเราสามารถดำเนินตามหลักวิธีการที่แนได้วางแบบแผนไว้แล้วคงจะไม่ต้องดำเนินหลักการไม่ร่วมมือเลย แต่ทว่าวิธีการนั้นไม่เป็นผลสำเร็จ ก็ต้องเริ่มดำเนินหลักการไม่ร่วมมือใหม่อีก ฉันได้กล่าวมาแล้วหลายครั้งหลายหนว่า สัจจาเคราะห์ไม่ผิดคาดและสัจจาเคราะห์แต่อย่างเดียว พอที่จะสถาปนาความจริงได้ ขอให้พวกเราทั้งหลายจงเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในสัจจาเคราะห์อย่างแท้จริง ความพยายามเช่นว่านี้ไม่ต้องอาศัยคุณสมบัติชนิดที่แม้คนเลวที่สุดก็หาไม่ได้ เพราะว่าสัจจาเคราะห์เป็นคุณสมบัติแห่งวิญญาณภายใน สัจจาเคราะห์มีอยู่ในใจของเราทุกคน อิสรภาพเป็นสิทธิแต่กำเนิดของเราฉันใด สัจจาเคราะห์ก็ฉันนั้น คือเป็นสิทธิแต่กำเนิด ขอให้พวกเราทั้งหลายจงรู้ถึงข้อนี้”

เมื่อการประชุมคองเกรสเสร็จสิ้นลงแล้ว ท่านก็ลงมือดำเนินการทันที อาทิเช่น เที่ยวสั่งสอนประชาชนทั่วอาณาจักรอินเดียให้ตั้งมั่นอยู่ในหลักอหิงสา เลิกการทะเลาะวิวาทระหว่างกันและกัน สมานความสามัคคีให้ตัดสินคดีกันเองโดยไม่ต้องพึ่งศาล เลิกใช้สินค้าต่างประเทศโดยเฉพาะผ้าอังกฤษนุ่งห่มผ้าที่ทอขึ้นในอินเดีย เลิกรับของมึนเมา และให้เตรียมตัวเพื่อขัดขืนกฎหมายถ้าจำเป็นในอนาคต ดังนี้เป็นต้น ภายใต้การนำของท่านคานธี ทั่วประเทศได้ตื่นตัวขึ้นเพื่อกำจัดความบกพร่องที่แล้วๆ มาเสียและผดุงความดีของตนให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อว่าหากในอนาคตเกิดปะทะกันขึ้นระหว่างอังกฤษกับอินเดีย อินเดียจะต้องเป็นฝ่ายชนะ เพราะอาศัยความดีและความชอบธรรมเป็นกรณีนั่นเอง

ที่มา:สวามี  สัตยานันทปุรี