ไตรภูมิกถา

Socail Like & Share

เตภูมิกถา
รตนตยปณามคาถา
๑    วนฺทิตฺวา สิรรสา พุทฺธํ        สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ
อิทํ เตภูมิสงฺเขปํ            ปวกฺขามิ กถํ อิธ

๒    สุจิรภชิตุกามํ            สชฺชนาลิยสโมหํ
มธุรสมตทานํ            ปารมีปารุฬฺหหกา
คุณยสรสคนฺธํ            กณฺณิกาจกฺกวณฺณํ
ชินจรณสโรชํ            ปีติปาโมชฺเชภิวนฺเท

๓    วิกสิตวิทิตานํ            สชฺชนโปรุปหนํ
สชนหทยสาเม            สาวนาภายุเทนฺตํ
อกุสลติมิรนฺธํ            ธํสนํ ปาตุภูตํ
มุนิวรมวลตฺถํ            ธมฺมทีปํภิวนฺเท

๔    สชนมนสโรชํ             พุทฺธิวารีสชผลํ
อุทิรินํ ภชิตนฺตํ             ธมฺมาลงฺการลงฺกตํ
วิมลธุวสสีลํ            รํสิปญฺญายุเปตํ
สีลาธรํ วรสํฆํ             อุตฺตมงฺเค อวนฺเท

๕-๙ ชโนรุณา วิภาเวนฺโต        เหมปาสาทปญฺญวา
สทฺธาจลผลาพนฺธิ        พาหุสจฺจธนาลํโย
กุปภูปนฺธยนฺโต โย        ราชา สูรานุรญฺชโก
สุโขเทยฺยนรินฺทสฺส        ลิเทยฺโย นาม อตุรโช
อภิราโม มหาปญฺโญ        ธิติมา จ วิสารโท
ทานสีลคุณูเปโต            มาตาปิตุภโรปิ จ
ธมฺมธโร สุกุสโล            สพฺพสตฺเถสุ ปากโฎ
อยํ ภูมิกถา นาม            รญฺญา เภเทน เตน จ
สชฺชนาลยฺยปุรมฺหิ        ฐปิตา ทยฺยภาสโต
ทุชฺฌิตุº  สาสนญฺเจว        สกฺกจฺจํ สพฺพโส สทา.

คำแปล
คาถานมัสการพระรัตนตรัย
๑    ข้าพเจ้า (องค์ผู้ทรงพระราชนิพนธ์) ขอนมัสการ พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระสัทธรรม และพระอริยสงฆ์อันสูงสุดด้วยเศียรเกล้า ในที่นี้ (ก่อน) แล้ว จักกล่าวกถาสังเขปว่าด้วยไตรภูมิดังต่อไปนี้

๒    ข้าพเจ้า ขอนมัสการ พระพุทธเจ้า ผู้ทรงชนะ (มารและ
เสนามาร) ผู้ประทานอมตธรรมเทศนาอันไพเราะ (แก่เวไนยสัตว์) ทรงประสงค์จะจำแนก (พระสัทธรรม) เพื่อความตั้งอยู่ยืนนาน (แห่งพระศาสนา) ทรงเป็นที่สักการะบูชา (ศูนย์รวมจิตใจ) ของประชาชนชาวศรีสัชชนาลัย ทรงเต็มเปี่ยมด้วยพระบารมี พระรัศมี ๖ ประการ (คือ ฉัทพัณณรังสี) แผ่สร้านออกเป็นประกาย ดุจช่อฟ้า ซึ่งประกาศถึงพระอธิคุณ (คือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาคุณ) และพระอิสริยยศอันน่าชื่นชมยินดี อันให้เกิดความปีติและปราโมทย์ (แก่ชนทั้งหลาย)

๓    ข้าพเจ้า ขอนมัสการ ซึ่งดวงประทีปคือพระธรรมอันพระมุนีเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้ว อัน (สามารถ) กำจัดความมืดมนอันธการคืออกุศลเสียได้ ทำให้ (กุศล) ปรากฏได้  อันเป็นเครื่องประดับและปลูก (ความเลื่อมใส) แก่คนทั้งหลาย ผู้มีใจเบิกบาน และแจ่มใสแล้ว อันผุดขึ้นด้วยแสงสว่างแห่งการฟังของข้าพเจ้าด้วยดวงใจ (ใคร่จะแสดง) แก่ชนชาวศรีสัชชาลัยทั้งหลาย

๔    ข้าพเจ้า ขอนมัสการ ซึ่งพระอริยสงฆ์ผู้ประเสริฐ ผู้ทรงไว้
ซึ่งศีลนั้น ผู้มีใจดุจดอกบัว (เป็นเครื่องบูชา) ของสาธุชน ผู้ประดับแล้ว ด้วยอาภรณ์คือพระธรรม ผู้มีน้ำ (ใจ) คงมั่น สะอาด ปราศจากมลทิน ประกอบด้วยรัศมีคือ ปัญญา เป็นผู้ที่ท่านจำแนกแล้วว่าเป็นบุคคล ควรกล่าวสรรเสริญ เต็มเปี่ยมด้วยฐานะ คือที่เกิดแห่งปัญญาเพียงดังแม่น้ำ

๕ – ๙    พระราชา ทรงพระนามว่า “พญาลิไทย” ผู้ทรงพระปรีชา
แตกฉาน เป็นพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์แห่งเมืองสุโขทัย (ทรงพระนามว่า พญาเลอไทย) มีพระปัญญา ผ่องใสบริสุทธิ์ดุจดังปราสาททองธรรมชาติ มีทรัพย์คือความเป็นผู้ทรงสดับมากเป็นเรือนประดับ (พระวรกาย) เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่เป็นที่สุดในแผ่นดิน (สุโขทัย) ประสูติในตระกูลกษัตริย์อันสูงเกียรติน่าสรร¬เสริญ ทรงมีพระหทัยรื่นรมย์ยิ่งนัก มีพระสติปัญญามั่นคงและองอาจยิ่ง เป็นผู้ทรง (ทศพิธ) มีพระปรีชาญาณอย่างยิ่ง ทรงมีพระเกียรติคุณปรากฏด้วยทรงรอบรู้ในศิลปศาสตร์ทั้งปวง ทรงพระประสงค์จะประกาศศาสนธรรมให้แพร่หลาย จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์ หนังสือ (ไตร) ภูมิกถานี้ขึ้นไว้เป็นภาษาไทย ที่เมืองศรีสัชชนาลัย เพื่อยกย่องเชิดชูพระศาสนาไว้ โดยเคารพ (ให้ปรากฏ) ตลอดกาล ทุกเมื่อ.

มหานครนิพพาน

silapa-0005 - Copy

มหานครนิพพาน ตามคติมหายานเรียกว่า เมืองสุขาวดี มีพื้นแผ่นดินเรียงรายด้วยทรายแก้ว สระโบกขรณี บริบูรณ์ด้วยน้ำเย็น เต็มไปกับดอกบัวบานอยู่มิขาด หมู่แมลงภู่เคล้าเกสรบัว และหมู่นกยูง นกกระเรียน นกจากพราก และราชหงส์แดง ราชหงส์ขาว มาร้องไพเราะทุกเมื่อ

นิมมานรดีเทวโลก

silapa-0006 - Copy

เป็นสวรรค์ชั้นกามาพจร

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

silapa-0007 - Copy

บุคคลผู้ใด คำรพยำเกรงบิดามารดาผู้เฒ่าผู้แก่ ในตระกูลแห่งตน แลมิได้ตระหนี่ยินดีในที่บริจาคทาน แลประกอบไปด้วยความอดกลั้นความโกรธเสียได้ ผู้นั้นได้เกิดในดาวดึงส์สวรรค์

พิภพอสูร
silapa-0008 - Copy
โรรุวนรก

silapa-0009 - Copy

นรกนี้ชื่อโรรุวนรก มีดอกบัวรุ่งเรืองด้วยเปลวไฟ สัตว์เกิดในดอกบัวนั้นจมอยู่เพียงคอ เพียงเอว เพียงเข่า สัตว์เหล่านี้เมื่ออยู่ในโลกมนุษย์ พูดปด เป็นพยานเท็จ กล่าวโทษผู้อื่น ชิงทรัพย์สินเงินทอง บ้านเรือนไร่นา ลูกเมียผู้อื่น หญิงนอกใจผัวไปคบชาย ชายไปคบหญิงเมียผู้อื่น ตายไปตกในนรกนี้

เปรตทั้งหลาย

silapa-0010 - Copy

ผู้ทำความชั่วต่างๆ ตายไปเกิดเป็นเปรตต่างๆ เช่น มหิทธิกาเปรต เปรตชิ้นเนื้อ เปรตงูเหลือม เป็นต้น

เปรตมีวิมาน

silapa-0011 - Copy

เปรตมีวิมาน ผู้พิพากษาคดีมิเป็นธรรม โดยเห็นแก่สินจ้าง ตายไปเกิดเป็นเปรต กลางวันเสวยทิพย์วิมาน กลางคืนเป็นเปรต มีเล็บมือเท่าแผ่นจอบขุดเนื้อสั้นหลังตัวเองกิน

อเวจีนรก

silapa-0012 - Copy

อเวจีนรก ลุกรุ่งเรืองด้วยเปลวไฟอยู่เป็นนิตย์ คนทำอนันตริยกรรม ๕ ทำลายพระพุทธรูป ทำลายเจดียฐาน ฆ่าสัตว์กินขายเป็นนิตย์ ตายไปตกในนรกนี้

เรื่องไตรภูมิกถานี้ แต่งขึ้นเมื่อใด แต่งขึ้นเมื่อปีระกา ศักราช ๒๓ เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ คํ่า วันพฤหัส พญาลิไทยทรงริเริ่มนิพนธ์ขึ้น พญาลิไทยทรงเป็นโอรสพญาเลลิไทย ผู้ครองเมืองศรีสัชชนาลัยและสุโขทัย พญาลิไทยทรงเป็นราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระอัยยกาเจ้าพญาลิไทยเมื่อทรงราชย์ ณ เมืองศรีสัชชนาลัย ได้ ๖ ปี ได้ทรงเริ่มแต่งไตรภูมิกถา เหตุใดจึงทรงนิพนธ์เรื่องนี้ขึ้น เหตุที่ทรงนิพนธ์เรื่องนี้ขึ้น ก็เพื่อจะนำคำสอนในพระอภิธรรมของพระพุทธเจ้ามาเทศนาถวายพระราชชนนี และเพื่อเผยแพร่พระธรรมให้เจริญรุ่งเรือง

เนื้อเรื่องไตรภูมิกถา พญาลิไทยทรงเก็บความมาจากคัมภีร์ใดบ้าง ทรงเก็บความจากคัมภีร์พระอรรถกถาจตุราคม อรรถกถา ฎีกาพระอภิธรรมาวดาร พระอภิธรรมสังคหะ พระสุมังคลวิลาสินี พระปปัญจสูทนี พระสารัตถปกาสินี พระมโนรถปูรณี พระลีนัตถปกาสินี พระอรรถกถาฎีกาพระวินัย พระธรรมบท พระมหาวัคค์ พระธรรมมหากถา พระมธุรัตถวิลาสินี พระธรรมชาดก พระชินาลังการ พระสารัตถทีปนี พระพุทธวงศ์ พระสารสังคหะ พระมิลินทปัญหา พระปาเลยยะ พระมหานิพาน พระอนาคตวงศ์ พระจริยาปิฎก พระโลกปัญญัติติ พระมหากัลป์ พระอรุณวตี พระสมันตปาสาทิกา พระวิสุทธิมัคค์ พระลักษณาภิธรรม พระอนุฎีกาหิงธรรม พระสารีริกพินิจฉัย พระโลกุปปัตติ ทรงรวบรวม เนื้อความพระธรรมเหล่านี้มาผสมผสานใหม่ให้ชื่อว่า ไตรภูมิกถา

เหตุใดพญาลิไทยผู้เป็นพระมหากษัตริย์ จึงทรงนิพนธ์พระคัมภีร์ไตรภูมิ กถานี้ได้ ทั้งนี้เพราะพระองค์ทรงรอบรู้พระไตรปิฎก และได้ทรงศึกษาจากสำนักพระสงฆ์ที่สำคัญๆ หลายแห่ง พระอาจารย์องค์แรกคือ พระมหาเถรมุนิพงศ์ ต่อจากนั้น ทางเล่าเรียนจากพระอโนมทัสสี พระมหาเถรธรรมปาลเจ้า พระมหาเถรสิทธัตถเจ้า พระมหาเถรพุทธพงศ์เจ้า พระมหาเถรปัญญานันทะ นอกจากนี้ ทรงเล่าเรียนจากราชบัณฑิตสองท่าน คือ อุปเสนราชบัณฑิต และ อทรายราชบัณฑิต และยังได้ทรงเล่าเรียนโดยการติดต่อทางพระราชสาสน์กับพระมหาเถรพุทธโฆษาจารย์ ณ เมืองหริภุญไชย์

ผู้ใดปรารถนาบรรลุสวรรค์นิพาน จงสดับฟังไตรภูมิกถาด้วยความตั้งใจ จริงอย่าได้ประมาท เพื่อว่าจะได้พบพระศรีอารยเจ้า เมื่อจะลงมาโปรดแก่ผู้รู้ทั้งหลายในโลกนี้

คณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเซียน