แดนนรก

Socail Like & Share

สัตว์ที่ในนรกนั้น เกิดขึ้นด้วยรูปกายโตใหญ่ทันใด โดยมีรูปธรรม ๒๘ อย่างครบบริบูรณ์ รูปธรรม ๒๘ อย่าง นั้น คืออะไร คือ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เพศหญิง เพศชาย หัวใจ ชีวิต เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต ความว่าง แดนนรกการบอก กล่าวด้วยท่าทาง การบอกกล่าวด้วยวาจา ความเบา (ลหุตา) ความอ่อน (มุทุตา) ความสามารถในการงาน (กัมมัญญตา) ความเจริญเติบโต (อุปจยะ) ความสืบต่อ (สันตติ) ความเสื่อมแห่งรูป (รูปปัสสชรตา) ความไม่เที่ยงแห่งรูป (รูปัสสอนิจจตา)

ธาตุดิน ได้แก่ กระดูกและหนัง ธาตุนํ้า ได้แก่ นํ้าที่ไหลอยู่ในร่างกาย ธาตุไฟ ได้แก่ ความร้อนที่อยู่ในเลือด ธาตุลม ได้แก่ลมที่หมุนเวียนอยู่ในร่างกาย

ตาคือสิ่งที่ทำให้เห็น หูคือสิ่งที่ทำให้ได้ยิน จมูกคือสิ่งที่ทำให้ได้กลิ่น ลิ้นคือสิ่งที่ทำให้รู้รสอันเปรี้ยว ฝาด และรสอื่นๆ กายคือสิ่งที่ทำให้รู้สัมผัส ให้รู้เจ็บ รู้ปวด จากการสัมผัส รูปคือสิ่งที่เห็นด้วยตา เสียง คือสิ่งที่ได้ยิน
กลิ่นคือสิ่งที่รู้ด้วยจมูก เช่น กลิ่นหอม รส คือ สิ่งที่สัมผัสด้วยลิ้น และสัมผัส คือ สิ่งที่แตะต้องได้ เพศหญิง คือ ความเป็นหญิง เพศชาย คือ ความเป็นชาย หัวใจ คือสิ่งที่สำคัญที่สุดซึ่งอยู่ภายในร่างกาย ชีวิต คือสิ่งทำให้ร่างกายดำรงอยู่ เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต คืออาหารที่กินเข้าไป อากาศ คือความว่างที่มีอยู่ภายในร่างกาย การบอกให้ทราบด้วยทำทาง การบอกกล่าวด้วยวาจา คือ การบอกให้ทราบด้วยคำพูด ความเบา คือรูปอันรู้ไปโดยฉับพลัน ความอ่อน คือ ความอ่อนละมุน ความสามารถในการงาน คือความสามารถในการทำงานอันเหมาะสม อุปจยะ คือรูปอันเกิดเพิ่มพูนได้ สันตติ คือ รูปอันเกิดทดแทนได้ รูปปัสสชรตา คือ รูปที่เสื่อมสภาพได้ รูปปัสสอนิจจา คือ รูปที่ไม่ยั่งยืน

รูปต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ๒๘ อย่างนี้มีอยู่ในชีวิตสัตว์ในนรก

สัตว์ที่เกิดในนรกนั้นเพราะทำบาปด้วยใจร้าย ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ ดวง ดวงแรก คือ ทำบาปโดยไม่รู้ว่าเป็นบาป และกระทำบาปเองด้วยใจกล้าและยินดี ดวงที่สอง คือ ทำบาปโดยไม่รู้ว่าเป็นบาปและกระทำบาปโดยมีสิ่งชักจูง ดวงที่สาม คือ ทำบาปโดยรู้ว่าเป็นบาป และกระทำบาปด้วยใจกล้าและยินดี ดวงที่สี่ ทำบาปโดยรู้ว่าเป็นบาปและกระทำบาปด้วยความยินดีและมีสิ่งชักจูง ดวงที่ห้า ทำบาปโดยไม่รู้ว่าเป็นบาป และกระทำบาปด้วยใจวางเฉย ไม่ยินดียินร้าย ดวงที่เจ็ด ทำบาป โดยรู้ว่าเป็นบาป และกระทำบาปโดยไม่มีสิ่งชักจูง ด้วยใจวางเฉย ไม่ยินดียินร้าย ดวงที่แปดทำบาปโดยไม่รู้ว่าเป็นบาป และกระทำบาปโดยมีสิ่งชักจูง ด้วยใจวางเฉย ไม่ยินดียินร้าย ดวงที่เก้า คือ ทำบาปด้วยความโกรธ และกระทำบาปด้วยใจกล้า และใจร้าย ดวงที่สิบ คือทำบาปด้วยความโกรธ และกระทำบาปโดยมีสิ่งชักจูง ดวงที่สิบเอ็ด คือ ทำบาปโดยไม่เชื่อในบาปและบุญ และกระทำบาปด้วยใจวางเฉย ดวงที่สิบสอง ทำบาปด้วยจิตฟุ้งซ่าน เปรียบเหมือน เอาก้อนหิน ทุ่มทิ้งลงในกองขี้เถ้าให้ฟุ้งกระจาย และกระทำบาปด้วยใจวางเฉย อกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวงนี้ หากเกิดขึ้นแก่ผู้ใด คนนั้นก็จะไปเกิดในที่ที่ทนทุกข์ทรมาน ซึ่งเรียกว่า อบายภูมิ ๔

เหตุที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายมีใจร้ายและทำให้สัตว์ทั้งหลายไปเกิดในอบายภูมิ ๔ นั้น มือยู่ ๓ ประการคือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง ซึ่งชักจูงให้คนทำบาป ความโลภ คือ ความอยากได้ในทรัพย์สินของผู้อื่น จึงฆ่าหรือทำร้ายผู้อื่นเพื่อแย่งเอาทรัพย์สิน ความโกรธ คือ ความขัดเคืองผู้อื่น ความเกลียดชังผู้อื่น ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น การจับผิดใส่ร้ายผู้อื่น ความหลงคือ ความไม่รู้ในพระธรรม มีจิตใจเป็นพาล หลงงมงาย ใจบาป ไม่ยุติธรรม และความไม่รู้จักอิ่ม เหตุสามประการนี้จักพาให้สัตว์ทั้งหลายไปเกิดในที่ทนทุกข์ทรมาน คือ อบายภูมิ ๔

สภาพการทำบาปของสัตว์ทั้งหลายมี ๑๐ จำพวก คือ กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ กายกรรม ๓ ได้แก่ การฆ่าคนและสัตว์ด้วยมือและเท้าของตน การลักทรัพย์ของผู้อื่นที่ไม่ได้ให้แก่ตน และการเป็นชู้กับภรรยาและสามีของผู้อื่น วจีกรรม ๔ ได้แก่ หนึ่ง การกล่าวเท็จ สอง การกล่าวคำส่อเสียดยุยงให้ผู้อื่นผิดใจกัน สาม การกล่าวย้อนคำหยาบคาย ติเตียน นินทา ถ้อยคำบาดใจผู้อื่น และถ้อยคำหยาบช้า สี่ การกล่าวคำเพ้อเจ้อไร้สาระ การกล่าวเช่นนี้เรียกว่า ดิรัจฉานกถา มโนกรรม ๓ ได้แก่ หนึ่ง ความดื้อรั้น เห็นผิดเป็นชอบ เห็นถูกเป็นผิด ลอง ความโกรธแค้นผู้อื่นและเห็นว่าเป็นศัตรู ยอมเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อแก้แค้น ความโกรธไม่มีวันสิ้นสุด สาม ความตั้งใจทำร้ายผู้อื่น คิดฆ่าเพื่อชิงทรัพย์สิน สภาพการทำบาปของสัตว์ทั้งหลายมี ๑๐ จำพวก ดังกล่าวนี้

เจตสิก คือสภาวะเกิดขึ้นกับใจชักจูงให้ทำบาป มี ๒๗ ประการคือ ความกระทบอารมณ์ ความเสวยอารมณ์ ความจำอารมณ์ ความตั้งใจ ความมีใจเป็นสมาธิ ความดำรงชีวิตอยู่ ความใคร่ครวญไตร่ตรอง ความตรึกแต่จะทำบาป ความตรองแต่ในเรื่องบาป การตัดสินใจอย่างเด็ดขาดที่จะทำบาป ความพยายามทำบาป ความชื่นชมยินดีในการทำบาป ความพอใจที่จะทำบาป ความหลงมัวเมาในการทำบาป ความไม่ละอายต่อบาป ความไม่เกรงกลัวต่อบาป ความฟุ้งซ่าน ความโลภ ความดื้อรั้น ความถือตัว ความโกรธ ความริษยา ความตระหนี่ ความ รำคาญใจ ความหดหู่ใจ ความง่วงเหงา ความลังเลสงสัย เจตสิกทั้ง ๒๗ ดังกล่าวแล้ว เป็นเหตุชักจูงใจให้กระทำบาป

คณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเซียน