ชนิดของเครื่องเคลือบดินเผา

Socail Like & Share

เครื่องเคลือบดินเผาแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด
เครื่องเคลือบดินเผานักปราชญ์แบ่งได้เป็น ๕ ชนิด คือ

๑. เครื่องดินแดง (Terra cotta) หมายถึงเครื่องปั้นดินเผาอย่างชั้นต่ำไม่ เคลือบและน้ำซึมได้

๒. เครื่องดิน (Earthenware) คือเครื่องปั้นดินเผาที่ซึมนํ้าและเคลือบชั้น เดียว แต่บางท่านอธิบายว่าจะเป็นสีใดก็ตามเผาด้วยความร้อน ๙๐๕-๑๐๐๐° ซ.เครื่องหินเหล็ก

๓. เครื่องหิน (stoneware) คือเครื่องปั้นดินเผาที่ทึบแสงไม่ซึมน้ำ ลาง ท่านว่าเป็นสีอะไรก็ได้เผาด้วยความร้อนประมาณ ๑๒๐๐-๑๓๐๐° ซ. เวลาเคาะมีเสียงกังวาลกว่าเครื่องดินและแข็งแกร่งมาก เครื่องหินนั้น ท่านผู้รู้บางท่านว่าใช้ดินผสมด้วยหินฟั่นม้า ซึ่งป่นละเอียดแล้วจึงปั้น จึงทำให้แข็งแกร่งมาก เคยทำเครื่องหินทำเป็นกระปุกตกบนพื้นซีเมนต์ซึ่งถ้าเป็นเครื่องปั้นดินเผาธรรมดาแล้ว จะต้องแตกละเอียดแน่ แต่เครื่องหินไม่เป็นอะไรเลย แม้แต่รอยกะเทาะก็ไม่มี นับว่าแข็งแกร่งจริงๆ

๔. เครื่องหินเหล็ก (iron Stoneware) เป็นเครื่องหินที่ใช้น้ำเคลือบมีส่วนผสมเป็นเหล็ก (iron Oxide) เผาแล้วเป็นสีน้ำตาล

๕. เครื่องเปอร์ซเลน (Porcelain) หรือเครื่องจีน (chinaware) เป็น

เครื่องปั้นดินเผาชั้นดี ตัวดินมีสีขาวหรือสีอื่น ไม่ทึบแสง นํ้าซึมไม่ได้ ผิวพื้นอาจเป็นลายเสื่อหรืออาบด้วยน้ำเคลือบมีความแตกต่างจากเครื่องหินเห็นได้ชัดคือที่ไม่ทึบแสงกับทึบแสง ของประเภทนี้ เมื่อยกขึ้นส่องกับแสงสว่างก็จะเห็นเงาสิ่งที่ติดอยู่ด้านนอกเช่นมือที่จับถือ เนื้อละเอียด เวลาเคาะมีเสียงใสกังวาล ชนิดที่ดีมากใช้เถ้ากระดูกผสมด้วย เรียกว่า “โบนไชนา” (Bone-china) เครื่องเปอร์ซเลนนี้ บางท่านเรียกเป็นภาษาไทยว่าเครื่องถ้วย บางท่านเรียกว่าเครื่องกระเบื้อง บางท่านเรียกว่าเครื่องลายคราม แต่เครื่องลายครามนี้ คนส่วนมากเข้าใจว่าเป็นเครื่องเปอร์ซเลนของจีนที่มีสีเป็นคราม

เมื่อพูดถึงเครื่องปั้นดินเผาแล้ว ใครๆ ก็อดที่จะยกย่องเครื่องปั้นดินเผาของจีนไม่ได้ โดยเฉพาะสมัยราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ้อง และราชวงศ์เหม็ง สรรเสริญกันว่าเป็นอย่างเอก สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ว่า เครื่องเปอร์ซเลนเป็นของทำได้-แต่จีนชาติเดียวอยู่นานหลายร้อยปี ชาวประเทศอื่นจึงไปคิดเตาใช้ทดลองทำขึ้นได้บ้าง คือ ชาวอิตาลี เมื่อราว พ.ศ. ๒๐๑๓
ชาวญี่ปุ่น เมื่อราว พ.ศ. ๒๑๔๓
ชาวฝรั่งเศสราว พ.ศ. ๒๒๐๗
ชาวอังกฤษ ราว พ.ศ. ๒๒๑๔
ชาวเยอรมัน ราว พ.ศ. ๒๒๔๓

ดังนั้น เครื่องถ้วยชนิดนี้ จึงเรียกกันทั่วไปว่าเครื่องจีน หรือไชนาแวร์ แต่ไม่ใช่ว่าชาตินั้นๆ จะเอาตำราไปจากจีนก็หาไม่ ชาติเหล่านั้นคิดค้นขึ้นเอง แต่แน่ละ การที่จะคิดค้นขึ้นมาได้ก็ต้องได้เห็นตัวอย่างจากจีนก่อน อันนี้เป็นของแน่

ที่มา:วิชาภรณ์  แสงมณี