อรูปพรหม ๔ ชั้น

Socail Like & Share

อรูปาวจรภูมิ
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงท่านที่ไปเกิดในอรูปพรหม โลกอันไกลโพ้นด้วยอรูปปฏิสนธิต่อจากชั้นอกนิฏฐพรหม ขึ้นไปเบื้องบนว่างเปล่าไกลลิบลับ มีพรหมโลกอยู่อีก ๔ ชั้น คือ อากาสานัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนภูมิ และ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ อรูปาวจรภูมิพรหมโลกทั้งสี่ชั้นนี้เป็นที่อยู่ของท่านผู้ได้ฌานที่ ๕ ท่านเหล่านี้ไม่มีตัวตนแม้แต่น้อย ว่างเปล่ามีแต่จิตสถิตอยู่กลางหาว ด้วยเหตุนี้ที่อยู่ของท่านจึงชื่อว่าอรูปพรหมโลก

พรหมที่ไปเกิดในชั้นอากาสานัญจายตนภูมินั้น เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ คิดว่า ถ้าหากจะเพียรพยายามให้ใจหายไป จะเป็นอย่างไร ถ้ามีแต่ใจไม่มีร่างกาย เราจะทำร้ายใคร และใครจะทำร้ายเราไม่ได้ ควรปรารถนาให้ร่างกายนี้หายไป เหลือไว้แต่จิต แล้วเจริญภาวนาได้สำเร็จฌานทั้ง ๕ และปรารถนาว่า “เราจะเอาอากาศอันว่างเปล่าไม่มี อะไรเลยในอรูปพรหมโลกชั้นต้นเป็นที่อยู่ของเราต่อไป” แล้วเจริญภาวนาปรารถนาให้ร่างกายหายไป โดยเพ่งอากาศ เป็นอารมณ์ว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ความว่างเปล่าไม่มีที่สิ้นสุด เราจักเป็นผู้ไม่มีรูปร่าง” แล้วได้อากาสานัญจายตนฌานตลอดชีวิต เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว ได้ไปเกิดเป็นพรหมในพรหมโลกชั้นอากาสานัญจายตนภูมิ มีแต่ใจ ไม่มีรูปร่างหน้าตา มือเท้าแม้แต่น้อย มีอายุยืนได้ ๒๐,๐๐๐ กัลป์

นักบวชบางพวกเจริญภาวนาได้ฌาน ๕ ในชั้นต้นแล้ว ได้อากาสานัญ- จายตนสมาบัติ แต่หาได้อิ่มใจไม่ เพราะใจอยากจะได้สูงขึ้นไปกว่านั้น จึงไม่หยุดอยู่เพียงอากาสานัญจายตนสมาบัติ ปรารถนาจะให้ได้วิญญาณญจายตนสมาบัติ ซึ่งอยู่เหนืออากาศว่างเปล่าตลอดกาล ไม่เอาใจใส่อย่างอื่นเลย เอาใจใส่ภาวนาว่า “วิญญาณเป็นอารมณ์ไม่มีที่สิ้นสุด เราจักเป็นผู้ไม่มีรูปร่างด้วยวิญญาณนี้ให้ได้” ไม่เพ่งอย่างอื่นเลย เพ่งแต่วิญญาณจนตลอดชีวิต เมื่อสิ้นชีวิตแล้วได้ไปเกิดเป็นพรหมในพรหมโลกชั้นวิญญาณัญจายตนภูมิ มีอายุยืน ได้ ๔๐,๐๐๐ มหากัลป์

นักบวชบางพวกเจริญภาวนาได้ฌาน ๕ ในชั้นต้นแล้วได้วิญญาณัญ- จายตนสมาบัติ แต่หาได้อิ่มใจไม่ อยากจะได้ให้สูงขึ้นไปกว่าวิญญาณัญจายตนสมาบัตินั้นอีก เห็นว่าอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นสุขกว่า เย็นกว่า ปรารถนาจะให้ได้ถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ ซึ่งอยู่เหนืออากาศว่างเปล่าตลอดกาล จึงไม่เอาใจใส่อย่างอื่นเลย เอาแต่ภาวนาว่า “ไม่มีอะไร” ไม่เพ่งอย่างอื่นเลย เพ่งแต่ความไม่มีอะไรจนตลอดชีวิต เมื่อสิ้นชีวิตแล้วได้ไปเกิดเป็นพรหมในพรหมโลกชั้นอากิญ- จัญญายตนภูมิ มีอายุยืนได้ ๖๐,๐๐๐ มหากัลป์

นักบวชบางพวกเจริญภาวนาได้ฌาน ๕ ในชั้นต้นแล้ว ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติไม่อิ่มใจ เพราะใกล้กับพวกที่มีรูปจึงไม่ยินดี เหมือนคนที่อยู่ใกล้ศัตรู ซึ่งถือหอกถือดาบไม่อาจวางใจได้ คิดไม่อยากได้อากิญจัญญายตนสมาบัติอันมีในพรหมโลก ชั้นอากิญจัญญายตนภูมินั้นปรารถนาจะไปเกิดในพรหมโลกชั้นอื่นที่สูงขึ้นไป ห่างไกลพวกที่มีรูปซึ่งเปรียบเสมือนศัตรู จึงไม่เอาใจใส่อย่างอื่นเลย ตั้งใจจะไปให้ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติอย่างเดียว จึงภาวนาว่า “เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ขอให้เรานี้จงมีใจละเอียดเล็กน้อยยิ่งนักเหมือนหายไปในอากาศได้ร้อยเท่าพันเท่า ยิ่งกว่าใจพรหมชั้นต่ำ” ใจนั้นมีเหมือนไม่มีเพราะละเอียดเล็กน้อยยิ่งนัก มีอายุยืนได้ ๘๔,๐๐๐ มหากัลป์ และจะทำอะไรก็ไม่ได้เลย เพราะใจนั้นละเอียดเล็กน้อยที่สุด พรหมโลกชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้นมีสมาบัติยิ่งกว่าพรหมโลกทุกชั้น

พรหมในอรูปภูมินี้ แม้จะมีใจละเอียดประณีตและน้อยนิดก็ยังมีเจตสิก เป็นเพื่อนของจิตประกอบจิตอีก ๒๐ ดวง คือ โสภณเจตสิก(๑. สัทธา ความเชื่อ    ๒. สติ ความระลึกได้ ๓. หิริ ความละอายต่อบาป    ๔. โอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาป ๔. อโลภะ ความไม่โลภอยากได้อารมณ์ ๖. อโทสะ ความไม่โกร  ๗. ตัตรมัชฌัตตตา ความมีใจเป็นกลาง ๘. กายปัสสิทธิ ความสงบของเจตสิก ๙. จิตตปัตสัทธิ ความสงบของจิต ๑๐. กายลหุตา ความเบาของเจตสิก ๑๑. จิตตลหุตา ความเบาของจิต ๑๒. กายมุทุตา ความอ่อนของเจตสิก ๑๓. จิตตมุทุตา ความอ่อนของจิต ๑๔. กายกัมมัญญตา ความสมควรแก่การงานของเจตสิก
๑๔. จิตตกัมมัญญตา ความสมควรแก่การงานของเจตสิก
๑๕. จิตตกัมมัญญตา  ความสมควรแก่การงานของจิต ๑๖. กายปาคุญญตา  ความคล่องของเจตสิก ๑๗. จิตตปาคุญญตา  ความคล่องของจิต  ๑๘. กายุชุกตา  ความซื่อตรงของเจตสิก  ๑๙. จิตตุชุกตา ความซื่อตรงของจิต  ๒๐. ปัญญินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ต่างๆ ตามความเป็นจริง)

โสภณเจตสิกทั้ง ๒๐ ดวงนี้อาศัยอรูปาวจรจิตในอรูปโลก ถึงแม้ว่าใจจะ ละเอียดประณีตอย่างยิ่ง ก็ยังมีเพื่อนเพื่อให้อยู่เป็นสุขในสมาบัติได้ เมื่อ พระพุทธเจ้าเสด็จมาประสูติในโลกนี้ อรูปพรหมทั้งหลายก็มีศรัทธาเลื่อมใสพากันบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยใจ

คณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเซียน