ศาลหลักเมือง:ประวัติความเป็นมาของศาลหลักเมือง

Socail Like & Share

ศาลหลักเมือง


เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงรับอัญเชิญเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ  เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้ว  ก็โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระนครมายังฝั่งตรงข้ามกับกรุงธนบุรี  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิกรณ์และพระยาวิจิตรนาวี  เป็นแม่กองก่อสร้างพระมหานคร  และพระบรมมหาราชวัง  ได้มีพิธียกเสาหลักเมืองขึ้นเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕  เวลาย่ำรุ่ง ๕๔ นาที

การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีตามตำรา  เรียกว่า  พระราชพิธีนครสถานโดยเฉพาะ  เอาไม้ชัยพฤกษ์มาทำเป็นเสาหลักเมือง  เอาไม้แก่นประดับนอก  กำหนดให้ความสูงของเสาเมื่ออยู่พ้นดินแล้ว ๑๐๘ นิ้ว  ฝังลงไปในดิน ๗๙ นิ้ว  มีเม็ดยอดสวมลงบนยอดหลังคาลงรักปิดทอง  ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงพระชันษา(ชะตา) พระนคร (เมือง)

หลักเมืองในสมัยต้น ๆ ไม่ได้มีสิ่งก่อสร้างปกคลุมเหมือนอย่างทุกวันนี้  คงเป็นเพียงศาลาปลูกไว้กันแดดกันฝนเท่านั้น  และมีแต่เสาหลักเมืองอย่างเดียว  ไม่มีเทวดาต่าง ๆ เข้ารวมอยู่เหมือนปัจจุบันคงจะปล่อยกันตามบุญตามกรรมไม่ได้ซ่อมแซมหลายรัชกาล  ปรากฎชำรุดมากในสมัยรัชกาลที่ ๔  จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นใหม่  ประกอบพิธีพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  แล้วบรรจุดวงพระชาตาเมืองให้เรียบร้อย  ลงด้วยแผ่นทองคำหนัก ๑ บาท  แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ก่อศาลาขึ้นใหม่ให้เป็นยอดปรางค์ตามแบบอย่างศาลาที่พระนครศรีอยุธยา  คือแบบที่เห็นกันในปัจจุบัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *