พุทธภาษิต

Socail Like & Share

ธรรมที่เป็นภาษิต ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ก็มีเช่นกัน ซึ่งนอกเหนือจากหลักปฏิบัติอื่นๆ แล้ว จะกล่าวโดยสังเขปดังนี้

ยํ เว เสวติ ตาทิโส
คบคนเช่นใดก็เป็นเช่นนั้น

ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม
คบกับคนเลว นำทุกข์มาให้

ธีโร จ สุขสํวาโส
อยู่ร่วมกับคนอี นำสุขมาให้

นาสฺมเส อลิกวาทิเน
ไม่ควรไว้ใจคนพูดพล่อยๆ

วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ
เพราะความไว้วางใจ ภัยจึงตามมา

อติจิรํ นิวาเสน ปิโย ภวติ อปฺปิโย
เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักก็มักหน่าย

มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก
ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวจริงๆ

ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร
ผู้มีมิตรมีเพื่อนเลว ย่อมมีความประพฤติและที่เที่ยวเลวไปด้วย

ภริยา ปรมา สขา
ภรรยาเป็นยอดมิตร

ภตฺตา ปญฺญาณมิตฺถิยา
สามีเป็นสง่าของภรรยา

โย จ ปุตฺตานมสฺสโว
บุตรผู้ว่าง่ายย่อมประเสริฐกว่าบุตรทั้งหลาย

อิตฺถี ภณฺฑานมุตฺตมํ
สตรีเป็นของดีที่สุดกว่าสมบัติทางโลกทั้งหลาย

อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส
สตรีเป็นมลทินของผู้ถือพรหมจรรย์

พาโล อปริณายิโก
คนโง่ไม่ควรเป็นหัวหน้า

อุชฺฌตฺติพลา พาลา
คนเลวย่อมคอยจ้องจับผิดผู้อื่น

โย พาโล มญฺญติ พาลฺยํ ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
คนโง่ยอมรับว่าตัวโง่จะเป็นผู้ฉลาด เพราะความรู้ตัวนั้น

โย พาโล ปณฺฑิตมานี ส เว พาโลติ วุจฺจติ
คนโง่เข้าใจว่าตนฉลาด ท่านเรียกคนนั้นว่าคนโง่แท้

สุวิชาโน ภวํ โหติ ทุวิชาโน ปราภโว
ผู้มีวิชาดีมีความเจริญ ผู้มีวิชาเลวมีความเสื่อม

ธมฺมกาโม ภวํ โหติ ธมฺมเทสฺสี ปราภโว
ผู้ชอบธรรมเป็นคนเจริญ คนชังธรรมเป็นคนเสื่อม

ยถาวาที ตถาการี
คนดีพูดอย่างใด ทำอย่างนั้น

ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ
ในหมู่คน คนที่ฝึกตนเองดีแล้ว ดีที่สุด

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
ตนแล เป็นที่พึ่งของตน

นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ
ความรักอื่น เสมอด้วยรักตนไม่มี

อตฺตนาว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ
ตนทำชั่วเอง ก็ย่อมหม่นหมองเอง

อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ
ถ้าสอนคนอื่นอย่างใด ตนก็ควรทำอย่างนั้น

อตฺตนา โจทยตฺตนํ ปฏิมํเส ตมตฺตนา
พึงเตือนตนเอง พึงพิจารณาตนเอง

อตฺตานญฺจ น ฆาเตสิ
ไม่ควรฆ่าตนเองเลย

อตฺตานํ นาติวตฺเตยฺย
ไม่ควรลืมตัว

ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
ความประมาทเป็นทางของความตาย

สุกรํ สาธุนา สาธุ สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ
ความดีคนดีทำง่าย แต่คนชั่วทำได้ยาก

สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ
ความชั่วและไร้ประโยชน์แก่ตน เป็นของทำง่าย

ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ
การใดมีประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นทำยากนัก

นิสมฺม กรณํ เสยฺโย
ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า

กาลานุรูปํ ว ธุรํ นิยุญฺเช
พึงทำธุรการงานให้เหมาะแก่กาลเวลา

กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ ทีนปฺปณีตตาย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ทรามบ้างดีบ้าง

กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม(การกระทำ)

กาเมหิ โลกมฺหิ น อตฺถิ ติตฺติ
ความอิ่มความพอด้วยกามไม่มีเลยในโลก

อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ
ความอยากย่อมเสือกไสนรชน(ให้ไปทำนั่นทำนี่)

อนตฺถชนโน โกโธ โกโธ จิตฺตปฺปโกปโน
ความโกรธก่อให้เกิดความพินาศ ทำใจให้ปั่นป่วน

หนฺติ กุทฺโธ สมาตรํ
คนโกรธ ย่อมฆ่าแม่ตัวได้

มา โกธสฺส วสํ คมิ
อย่าลุอำนาจความโกรธ

โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
ฆ่าความโกรธได้ ย่อมอยู่เป็นสุข

ขนฺติ สาหสวารณา
ขันติย่อมห้ามความผลุนผลันได้

ขนฺติ หิตสุขาวหา
ขันตินำมาซึ่งประโยชน์สุข

ขนฺติ ธีรสฺสลงฺกาโร
ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์

จิตฺเตน นียติ โลโก
ชาวโลกถูกใจนำไป

วิหญฺญติ จิตฺตานุวตฺตี
ผู้ทำตามใจชอบ ย่อมลำบาก

จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาหํ
ใจที่ควบคุมดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้

จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อใจเศร้าหมอง(เมื่อตาย) หวังไปทุคติแน่

จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อใจผ่องใส(เมื่อตาย) หวังไปสุคติแน่

ชยํ เวรํ ปสวติ ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
ผู้ชนะย่อมก่อเวร(แก่ผู้แพ้) ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง

สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง

สพฺพรติ ธมฺมรติ ชินาติ
ความพอใจธรรม ย่อมชนะความพอใจทั้งปวง

อกฺโกเธน ชิเน โกธํ
พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธตอบ

อสาธุ สาธุนา ชิเน
พึงชนะคนเลวด้วยความดี

ชิเน กทริยํ ทาเนน
พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้

สจฺเจนาลิกวาทินํ
พึงชนะคนพูดเหลาะแหละด้วยพูดจริง

น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ
ความชนะที่กลับแพ้ได้ ไม่ดี

ตํ โข ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ นาวชิยฺยติ
ความชนะที่ไม่กลับแพ้นั่นแหละดี

อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
ชนะตนเองนั่นแล ประเสริฐ

ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
ความสิ้นตัณหาคือความอยากชนะทุกข์ทั้งปวง

ททํ มิตฺตานิ คนํถติ
ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีจิต

สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ
ปราชญ์ให้ความสุข(แก่ผู้อื่น) ตนเองนั้นก็ได้รับความสุข

ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
การครองเรือนที่จัดไม่ดีย่อมนำทุกข์มาให้

ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก
ความจนเป็นทุกข์ในโลก

อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก
การเป็นลูกหนี้เป็นทุกข์ในโลก

สนาถา วิหรถ มา อนาถา
พวกเธอจงอยู่โดยมีที่พึ่ง อย่าอยู่โดยไร้ที่พึ่งเลย

ทุกฺขํ อนาโถ วิหรติ
คนไม่มีที่พึ่ง อยู่ยาก

สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง

อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา
ทุกข์ย่อมไม่ตกไปถึงผู้สิ้นกังวล(ในสังขาร)

สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ
พระสัทธรรม(ทันสมัยเสมอ)ไม่เก่า

ธมฺมจารี สุขํ เสติ
คนพระพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

อาโรคฺยา ปรมา ลาภา
ความไร้โรคเป็นบรมลาภ

สนฺตุฏฐี ปรมํ ธนํ
ความสันโดษคือรู้จักพอ เป็นบรมทรัพย์

ชิคจฺฉา ปรมา โรคา
ความหิวเป็นโรคร้าย

วิสฺสาสา ปรมา ญาตี
ความคุ้นเคยเป็นญาติสนิท

กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา

กาลเวลาย่อมกินสัตว์ทั้งหมดพร้อมทั้งตัวกาลเวลาเอง

ขโณ โว มา อุปจฺจคา
ท่านทั้งหลายอย่าปล่อยขณะเวลาให้ล่วงไปเปล่าเลย

อิติ วีสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มานเว
ผลประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่มสาว ผู้ทอดทิ้งการงาน

นกฺขตฺตํ ปาฏิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา
ผลประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่

อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ กึ กริสฺสนฺติ ตารกา
ผลประโยชน์เป็นฤกษ์ของผลประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้

วโส อิสฺสริยํ โลเก
อำนาจเป็นใหญ่ในโลก

สาธุ โข สิปฺปกํ นาม อปิ ยาทิสกีทิสํ
ชื่อว่าศิลปะแล้ว แม้อย่างเดียวก็ใช้ได้

มตฺตญฺญุตา สทา สาธุ
ความรู้จักพอดี ให้สำเร็จประโยชน์เสมอ

โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา
เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก

อรติ โลกนาสิกา
ความริษยาทำให้โลกฉิบหาย

สพฺพญฺเจ ปฐวี ทชฺชา นากตญฺญุมภิราธเย
ถึงให้แผ่นดินทั้งหมดก็ทำให้คนอกตัญญูพอใจไม่ได้

สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ
สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่ว

นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา
ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี

พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร
พ่อแม่ท่านว่าเป็นพระพรหมเป็นบุพพาจารย์ของลูก

สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
โทษคนอื่นเห็นง่าย โทษของตนเองเห็นยาก

นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต
ผู้ที่ไม่เคยถูกว่าถูกนินทาเลยไม่มีในโลก

นตฺถิ โลเก รโห นาม
ชื่ว่าความลับไม่มีในโลก

อสชฺฌายมลา มนฺตา
ความรู้มีการไม่ทบทวน เป็นมลทิน

อนุฏฐานมลา ฆรา
บ้านเรือนมีการไม่หมั่นเช็ดถู เป็นมลทิน

มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ
ผิวพรรณมีความเกียจคร้านชำระ เป็นมลทิน

ปมาโท รกฺขโต มลํ
ผู้รักษามีความเลินเล่อ เป็นมลทิน

มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ
ความประพฤตินอกใจผัว เป็นมลทินของหญิง

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
ความบริสุทธ์ ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว

นาญฺดญ อญฺญํ วิโสธเย
คนหนึ่งจะให้อีกคนหนึ่งบริสุทธิ์แทนกันไม่ได้

อุกฺกฏฺเฐ สูรมิจฺจนฺติ
ในคราวคับขัน ย่อมต้องการคนกล้า

มนฺตีสุ อกุตูหลํ
ในการปรึกษาย่อมต้องการคนไม่พูดพล่าม

อาปทาสุ ถาโม เวทิตพฺโพ
พึงรู้ความสามารถในคราวมีอันตราย

สมฺมุขา ยาทิสํ จิณฺณํ ปรมฺมุขาปิ ตาทิสํ
ต่อหน้าประพฤติเช่นใด ลับหลังก็ประพฤติเช่นนั้น

เยสา สภา ยตฺถ น สนฺติ สนฺโต
สภาใดไม่มีสัตบุรุษ สภานั้นไม่ชื่อว่าสภา

รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ
ร่างกายของคนย่อมย่อยยับได้ แต่ชื่อเสียงและสกุลยังอยู่

อปฺปตฺโต โน จ อุลฺลเป
ยังไม่ได้ ไม่ควรพูดอวด

นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี

ปญฺญา ว ธเนน เสยฺดย
ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์สิน

ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ
คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางปัญญา

สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ
ฟังเป็นย่อมได้ปัญญา

สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา
ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา

ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย
ความสะสมความชั่วนำทุกข์มาให้

ปาปานํ อกรณํ สุขํ
การไม่ทำความชั่ว นำสุขมาให้

ปาปานิ กมฺมานิ กโรนฺติ โมพา
คนทำความชั่วเพราะความโง่เง่า

นตฺถิ อการิยํ ปาปํ มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน
คนมักพูดปดที่จะไม่ทำความชั่วอื่นนั้น ไม่มี

น ฆาสเหตูปิ กเรยฺย ปาปํ
ไม่ควรทำความชั่ว เพราะเห็นแก่กิน

วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ
ไหว้เขา ก็ย่อมได้รับไหว้ตอบ

คุณวา จาตฺตโน คุณํ
ผู้มีความดี จงรักษาความดีของตนไว้

ปุญญํ โจเรหิ ทุหรํ
ความดี อันโจรขโมยไปไม่ได้

ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ
ความดีเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกได้ถึงปรโลก

น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา
เมื่อจะตาย ไม่มีใครช่วยได้

สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งคนมีคนจนทั้งหมดล้วนมีความตายรออยู่ข้างหน้า

น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ
ทรัพย์สักนิดก้ติดตามคนตายไปไม่ได้

เนกาสี ลภเตสุขํ
กินคนเดียว ไม่ได้ความสุข

ผาตึ กยิรา อวิเหฐนํ ปรํ
ควรทำความเจริญ แต่อย่าเบียดเบียนเขา

ยาจโก อปฺปิโย โหติ ยาจํ อททมปฺปิโย
ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่พอใจ(ของผู้ถูกขอ) ผู้ถูกขอเมื่อไม่ให้ก็ไม่เป็นที่พอใจ(ของผู้ขอ)

น ตํ ยาเจ ยสฺส ปิยํ ชิคึเส
ไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นของรักของเขา

สจฺจํ เว อมตา วาจา
สัจวาจา เป็นอมตะแท้

หทยสฺส สทิสี วาจา
วาจาบ่งถึงใจ

โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ มุตฺวา ตปติ ปาปิกํ
พูดดีย่อมให้สำเร็จประโยชน์ พูดเลวทำให้เดือดร้อน

วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
คนพ้นทุกข์ได้ เพราะความเพียร

ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ
นักธุรกิจ ขยันทำงานให้เหมาะ ย่อมหาทรัพย์ได้

อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ
ควรรีบทำความเพียรในวันนี้

วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา
พึงพยายามไปจนกว่าจะถึงความสำเร็จสิ่งที่ต้องการ

อเวเรน จ สมฺมนฺติ
เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร

สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา
สติ จำเป็นในที่ทั้งปวง

สามญฺเญ สมโณ ติฏฺเฐ
สมณะพึงตั้งอยู่ในภาวะของสมณะ

กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
การได้เกิดเป็นคน เป็นการยาก

กิจฺฉํ มจฺจานชีวิตํ
การมีชีวิตอยุ่ของสัตว์โลกก็เป็นการยาก

กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
การเกิดของพระพุทธเจ้า ก็เป็นการยาก

กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
การได้ฟังพระสัทธรรม ก็เป็นการยาก

สุขา สงฺหสสฺส สามคฺคี
ความสามัคคีของหมู่คณะ ให้เกิดสุข

สุขํ ยาว ชรา สีลํ
ศีลนำสุขมาให้ ตลอดจนกระทั่งแก่

อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก
ความไม่เบียดเบียนกัน นำสุขมาให้ในโลก

อทสฺสเนน พาลานํ นิจฺจเมว สุขี สิยา
เพราะไม่เห็นคนพาล พึงมีความสุขเป็นนิตย์ทีเดียว

สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท
การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า นำสุขมาให้

สุขา สทฺธมฺมเทสนา
การแสดงพระสัทธรรม นำสุขมาให้

สุขํ สุปติ พุทฺโธ จ เยน เมตฺตา สุภาวิตา
ผู้เจริญเมตตาดีแล้ว ย่อมหลับและตื่นเป็นสุข

สพฺพตฺถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ
ละเหตุแห่งทุกข์(กิเลส)ได้ ย่อมเป็นสุขในที่ทั้งปวง

เตสํ วูปสโม สุโข
ความสงบแห่งสังขาร เป็นสุข

นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ
สุขยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี

นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
พระนิพพาน เป็นบรมสุข

พุทธภาษิตที่นำมากล่าวนี้ ได้ย่อมาจากหนังสือพุทธศาสนสุภาษิตเล่มหนึ่ง ซึ่งบรรจุพุทธภาษิตเอาไว้ ๕๐๐ ข้อ ธรรมที่ยกมาแสดงในที่นี้ เมื่อสังเกตแล้วจะเห็นว่า นำมาจากคัมภีร์อังคุตตรนิกาย เป็นส่วนมาก ส่วนพุทธภาษิตนั้นนำมาจากคัมภีร์ขุททกนิกายเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทั้งสองนิกายนี้ เป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งในพระสูตร ธรรมที่นำมากล่าวนี้เล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับจำนวนทั้ง ๘๔,๐๐๐ อย่าง

หากท่านมีความสนใจก็ให้ใช้ปัญญาพิจารณาและค้นคว้าศึกษาให้มากยิ่งขึ้นไป แล้วจะได้เห็นความมหัศจรรย์ ความยิ่งใหญ่ ความลึกซึ้ง ชวนให้ศึกษาของพระพุทธศาสนา และทำให้เกิดความประหลาดใจอย่างยิ่งในพระบรมอัจฉริยะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าขอถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ พระสงฆ์สาวกของพระองค์ว่าเป็นสรณะ

จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม
ขอพระสัทธรรมจงตั้งอยู่ตลอดกาลนาน เทอญ

ที่มา: จากหนังสือเรื่อง 1 ใน 84000 ของ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา