พิธีชาตาเมืองในสมัยโบราณ

Socail Like & Share

พิธีชาตาเมืองในสมัยโบราณ

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า  พิธีสืบชาตานี้ได้เกิดมีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว  การสืบชาตาดังกล่าวก็เพื่อจะทำให้เกิดเป็นสิริมงคลเพื่อให้ชาติบ้านเมืองประสพแต่ความสุขความเจริญรุ่งเรืองอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพราะความเชื่อถือในเทวอารักษ์  ซึ่งอยู่เบื้องบน  จะเป็นผู้ช่วยอำนวยสิ่งต่าง ๆ ให้ตามที่ใจปรารถนาในเมื่อได้ทำการอย่างถูกต้องตามลัทธิผีสางเทวดา ได้วางไว้

ในการทำพิธีสืบชาตาเมืองนี้มีปรากฎในปั๊มหนังสา(สมุดข่อย) ซึ่งได้จ๋าร (จารึก) ไว้ด้วยตั๋วเมือง (อักขระพื้นเมืองโบราณว่ากันว่าเป็นภาษาไทยยวนซึ่งเป็นต้นตระกูลของ “คนเมือง” (คนพื้นเมือง) โบราณ

“ปั๊มหนังสา” หรือสมุดข่อย เล่มนั้น ได้จารึกถึงการสืบชาตาเมืองในสมัยของพระเจ้าเมืองแก้ว  ซึ่งเป็นกษัตริย์ลานนาไทย รัชกาลที่ ๑๓ สมัยราชวงศ์เม็งราย  ซึ่งขึ้นครองราชสมบัติในราว พ.ศ. ๒๐๓๘ ถึง พ.ศ. ๒๐๖๘ ว่า

ก่อนที่จะมีการทำพิธี ก็ได้มีการจัดเตรียมสิ่งของ ซึ่งเป็นเครื่องบูชา พระเสื้อบ้าน เสื้อเมือง คือ ผีบ้าน ผีเมือง และได้แต่งตั้งหัวหน้าผู้ประกอบและจัดทำพิธีดังกล่าวนั้นเรียบร้อยแล้ว

การสืบชาตาบ้าน  หรือสืบชะตาบ้านหรือสบใจต๋าบ้านนี้บรรดาชาวบ้านทุก ๆ คนเขาจะมาช่วยกัน ประกอบประเพณีดังกล่าว และถือว่าศักดิ์สิทธิ์นี้ตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งสำเร็จเรียบร้อยทุกประการทีเดียว โดยแยกย้ายกันไปช่วยกันทำคนละอย่าง สองอย่าง ตามความรู้ ความสามารถของตนเอง ซึ่งเป็นที่น่านิยมนับถือและน่าสรรเสริญน้ำใจ และในความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเป็นอย่างยิ่ง

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *