ลักษณะคำบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย

Socail Like & Share

คำบาลีและสันสกฤต คำไทยเรามีคำภาษาอื่น เช่น บาลีสันสกฤต เขมร จีน เป็นต้น ปนอยู่มาก แต่คำภาษาอื่นนอกจากบาลีและสันสกฤต มี ลักษณะอย่างเดียวกับคำภาษาไทย แต่คำบาลีและสันสกฤตมีลักษณะผิดกับภาษาไทยอยู่บ้าง จึงต้องคัดบางอย่างมากล่าวไว้เป็นพิเศษ ดังต่อไปนี้:-

พยางค์ประกอบหน้าศัพท์ คำจำพวกนี้เรียกว่า ‘อุปสรรค’ ใช้ประกอบหน้าศัพท์ เพื่อขยายความของศัพท์นั้นให้ต่างออกไป คล้ายคำวิเศษณ์ ในภาษาไทย แต่ไม่นบเบนกำหนึ่งต่างหากอย่างกำวิเศษณ์ ถีงที่นำมาใช้ใน ภาษาไทย ก็ต้องนับรวมเข้าเป็นคำเดียวกับคำข้างท้ายเหมือนกัน อุปสรรคนี้ โดยมากใช้นำหน้าแต่คำบาลีและสันสกฤตเท่านั้น ไม่ใคร่ใช้นำหน้าคำไทย เว้นแต่คำโบราณบางคำ เช่น ‘ทร’ ซึ่งแผลงมาจากอุปสรรค ‘ทุ’ แปลว่า ชั่ว ยาก ใช้นำหน้าคำ ‘หู’ และ ‘หน’ เป็น ‘ทรหู’ แปลว่า หูชั่ว หมายความว่าได้ยินข่าวร้าย และ ‘ทรหน’ แปลว่า ทางลำบาก ทางไกล เป็นต้น

อุปสรรคที่ใช้ชุกชุมในภาษาไทย มีดังนี้:-

silapa-0064 - Copysilapa-0065 - Copy

พยางค์ประกอบท้ายศัพท์ คำเหล่านี้ในภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมีอยู่ ๒ พวก เรียกว่า ‘ปัจจัย’ พวกหนึ่ง และ ‘วิภัตติ’ พวกหนึ่ง คำบาลี และสันสกฤต ต้องมี ปัจจัย และ วิภัตติ ประกอบอยู่ข้างท้ายแทบทั้งนั้น

๑. ปัจจัย นั้นใช้ประกอบท้ายศัพท์เดิม บางทีก็เชื่อมอยู่กับศัพท์เดิมทีเดียว บางทีก็ต่อท้ายออกมาให้เห็นได้ง่าย สำหรับเป็นเครื่องหมายบอก มาลากาล วาจก ลึงค์ ฯลฯ ของศัพท์นั้นๆ นับว่าเป็นส่วนสำคัญในไวยากรณ์ของเขา แต่ตกมาในภาษาไทย ไม่สู้สำคัญอะไรนัก เพราะศัพท์ที่เรานำมาใช้ มีปัจจัยประกอบสำเร็จมาในตัวแล้วทั้งนั้น เป็นแต่จำคำแปลและวิธีใช้ให้ได้ก็พอ จะเลือกคัดปัจจัยที่ใช้ในภาษาไทยชุกชุมมาไว้พอเป็นที่สังเกตดังต่อไปนี้

silapa-0066 - Copysilapa-0067 - Copy๒. วิภัตติ เป็นเครื่องหมายประกอบท้ายศัพท์ ต่อจากปัจจัยออกไปอีก ทีหนึ่ง ศัพท์ในภาษาบาลีและสันสกฤตนอกจากจำพวกนิบาต ซึ่งคล้ายกับสันธาน ในภาษาไทยแล้ว เป็นต้องมีวิภัตติประกอบอยู่ด้วยแทบทั้งนั้น ใช้ประกอบท้ายนาม เพื่อบอก การก พจน์ ฯลฯ เช่น โจโร โจรคนเดียว โจรา โจรหลายคน ‘โอ’ และ ‘อา’ เป็นวิภัตติ บอกกรรตุการก โจรํโจรคนเดียว โจเร โจรหลายคน ‘อํ’ และ ‘เอ’ เป็นวิภัตติบอกกรรมการก ดังนี้เป็นต้น ส่วนคำกริยาก็มีวิภัตติประกอบเหมือนกัน เพื่อบอก มาลา กาล วาจก ฯลฯ  เช่น กโรติ (เขากระทำ) กโรสิ (ท่านกระทำ) กโรมิ (ฉันกระทำ) ‘ติ’ ‘สิ’ ‘มิ’ นี้เป็นวิภัตติบอกเวลาปรัตยุบัน และเป็นเอกพจน์ เป็นต้น

วิภัตตินี้ เราไม่ได้นำมาใช้ในภาษาไทย เป็นแต่ติดมาบ้างในคำประพันธ์ เช่นกล่าวว่า ‘พระพุทโธ พระพุทธัง’ ฯลฯ แต่ก็เพื่อให้สัมผัสคล้องกันเท่านั้น ไม่ได้ประสงค์จะบอก การก หรือ พจน์ อย่างในภาษาของเขา เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องอธิบายให้พิสดารยิ่งกว่านี้

คำสมาสบาลีและสันสกฤต ในภาษาบาลีและสันสกฤต มีวิธีย่อคำหลายคำเขาเป็นคำเดียวเรียกว่าคำสมาส เช่น ‘เสฏฐิโน’ (ของเศรษฐี) กับ I ‘ปุตฺโต’ (ลูก) ย่อเข้าเป็น ‘เสฏฐิปุตฺโต’ เป็นคำเดียว แปลว่า ลูกเศรษฐี ดังนี้เป็นต้นก็ดี หรือศัพท์ที่มีคำคุณนามของบาลี เช่น ‘มหา บรม วร พระ (แผลงจาก วร) บรมราช’ ฯลฯ นำหน้าดังตัวอย่าง ‘มหาอุบาสิกา’ (อุบาสิกาใหญ่) ‘บรมครู’ (ครูยิ่งยอด) ‘วรพจน์’ (คำประเสริฐ) ‘พระหัตถ์’ (มือประเสริฐ) ‘พระบาท’ (เท้าประเสริฐ) ‘บรมราชวัง’ (วังหลวงประเสริฐ) เป็นต้นก็ดี คำสมาสอื่นๆ ที่เรานำมาใช้ในภาษาไทยมาก เช่น จักรปาณี สังสารทุกข์ เถรสมาคม ฯลฯ เป็นต้นก็ดี คำเหล่านี้ต้องนับว่าเป็นคำเดียวตามภาษาเดิมของเขา คือไม่ต้องแยกออกเป็น ‘จักร’ คำหนึ่ง และ ‘ปาณี’ คำหนึ่ง และคำสมาสพวกนี้นับเข้าในคำประสมของภาษาไทย ดังกล่าวแล้ว

ศัพท์ท้ายของคำสมาสที่ตั้งต้นด้วยสระ ต้องเชื่อมกันตามวิธีสนธิดังกล่าว แล้วในตำราอักขรวิธี เช่น ‘วร’ กบ ‘โอกาส’ เป็น ‘วโรกาส’ เป็นต้น

ข้อสังเกตคำสมาสบาลีและสันสกฤต ให้กำหนดตามหลักดังต่อไปนี้

๑. คำสมาสมักเรียงลำดับอย่างภาษาเดิมของเขา คือกลับกันกับภาษาไทย เช่น ‘ภูมิศาสตร์’ (แผ่นดิน-ตำรา) ‘นวกภูมิ’ (ใหม่-ชั้น) ดังนี้เป็นต้นอย่างหนึ่ง

๒. คำสมาสบางพวกเรียงลำดับอย่างเดียวกับภาษาไทย เช่น บุตรภรรยา’ เช่นนี้ให้สังเกตวิธีอ่าน เพราะคำสมาสต้องอ่านเสียงสระเนื่องกันอย่างภาษาเดิมของเขาว่า ‘บุด-ตระ-พัน-ระ-ยา’ ดังอธิบายแล้วในอักขรวิธี แต่ถ้าอ่านเสียงไม่เนื่องกันว่า ‘บุด พัน-ระ-ยา’ นับว่าเป็นคนละคำ

๓. แต่ถ้าคำสมาสอย่างข้อ ๒ นั้น เฉพาะมีคำที่ต้องออกเสียงสระ ‘อะ’ อยู่ท้ายคำหน้า เช่น ‘สมณพราหมณ์’ ดังนี้ คำ สมณะ ถึงแม้ว่าคำเดียวโดดๆ ก็ต้องออกเสียงสระ อะ ข้างท้ายอยู่แล้ว เช่นนี้ให้สังเกตวิธีเขียน คือ ถ้าประวิสรรชนีย์คั่นเสียว่า ‘สมณะพราหมณ์’ เช่นนี้นับว่าเป็นคนละคำ เพราะคำบาลี ที่อ่านเสียงสระอะ ข้างท้ายนั้น ต้องประวิสรรชนีย์ข้างท้าย เพื่อกันไม่ให้อ่านเป็นตัวสะกด เช่น เถระ สาธารณะ ธุระ สรณะ คณะ เป็นต้น แต่ถ้าต้องการให้เป็นคำสมาสต้องใช้เขียนอย่างภาษาเดิมของเขา คือ ไม่ประวิสรรชนีย์ในท่ามกลางดังนี้ สมณพราหมณ์ เถรสมาคม สาธารณชน ธุรวาหะ สรณคมน์ คณบดี เป็นต้น ดังได้อธิบายแล้วในอักขรวิธี แต่มีข้อยกเว้นบางคำ เช่นคำ ‘พระ’ ที่ประกอบหน้าคำอื่น เช่น ‘พระหัตถ์ พระบาท พระอู่’ ฯลฯ นับว่าเป็นคำ สมาส

ที่มา:พระยาอุปกิตศิลปสาร